Green Insight
เจาะลึก ตีแผ่ ประเด็นสิ่งแวดล้อมทั้งในไทยและทั่วโลก
ห้องเรียนสอนให้ ‘คนอยู่ร่วมกับน้ำ’ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
ล้อรถหมุนไปท่ามกลางต้นหนาวเคล้าฝน เราเดินทางไปชุมชนทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อไปพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำฯ ชุมชนทุ่งสง สถานที่ที่ทำให้เราเข้าใจในประโยคที่ว่า ‘สายน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต’
‘เสียงจากลำน้ำโขง’ ชีวิตเหือดหายบนสายน้ำที่ไม่อาจหวนคืน
“ผืนดินแตกระแหง ดินแดนแห่งความแห้งแล้ง” คือวาทกรรมที่สร้างภาพจำให้แดนอีสาน ในความจริงอีสานเคยอุดมสมบูรณ์กว่านี้ ชาวบ้านสามารถทำประมงน้ำจืด ทำเกษตรริมสองฝั่งแม่น้ำ แต่ 20 ปีให้หลัง ‘แม่น้ำโขง’ เส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิต กลับเผชิญชะตากรรมจากผลกระทบของการสร้างเขื่อน ระดับน้ำที่ผันผวนและปัญหาอื่นๆ นับไม่ถ้วน ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องและนับวันยิ่งวิกฤต ส่งผลต่อระบบนิเวศ รวมถึงวิถีชีวิตของคนริมโขงที่เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ
‘แยก-ทิ้ง-เก็บ’ สไตล์เยอรมัน จนได้แชมป์โลกรีไซเคิลขยะ
เวลาเจอขยะ 1 ชิ้น คุณทำอย่างไร หยิบไปทิ้งเลย หรือยืนคิดสักประเดี๋ยวว่าเจ้าขยะชิ้นนี้ควรจัดการอย่างไร สำหรับชาวเยอรมนีคงเป็นอย่างหลัง พวกเขาจะประมวลผลการจัดการเหล่าขยะอย่างตั้งใจ จะเริ่มคิด วิเคราะห์ ไปจนถึงแยกชิ้นส่วนขยะ ให้สมกับตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกด้าน ‘การรีไซเคิลขยะชุมชน’ ในปี 2017 ซึ่งรีไซเคิลได้ถึง 56.1% (จัดอันดับโดย Eunomia บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอิสระในสหราชอาณาจักร) เราเองในฐานะที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเลยมีเรื่องราวการแยกขยะแบบฉบับเยอรมนีมาฝากกัน เริ่มตั้งแต่นโยบายรัฐในการจัดการ การแยก การลดปริมาณขยะ ไปจนถึงโครงการต่างๆ จากภาคเอกชนที่สนับสนุนการลดขยะในเมือง | ฉันแยกและทิ้งแบบมีระบบ นโยบายการทิ้งขยะในครัวเรือนของประเทศเยอรมนีมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละเมือง ซึ่งขึ้นกับรัฐอีกทีว่ามีรูปแบบการกำจัดขยะอย่างไร แต่โดยรวมแล้วการแยกขยะในครัวเรือนแบ่งได้ตามนี้ 1.ขวดน้ำ กระป๋อง ขวดแก้วที่มีค่ามัดจำขวด – นำไปคืนเพื่อรับเงินตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ (ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละที่จะรับคืนขวดแบบไหนด้วยนะ) นอกจากนี้อาจวางไว้ข้างถังขยะ ให้ผู้คนที่หาเงินจากการเก็บขวดคืนมารับไป 2.ขยะรีไซเคิล เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวดแก้วสีต่างๆ อะลูมิเนียม – เหล่านี้จะมีรายละเอียดเฉพาะของแต่ละเมือง เช่น มิวนิกจะตั้งคอนเทนเนอร์รอบเมืองให้คนทิ้งขยะรีไซเคิลที่ล้างมาเรียบร้อยแล้ว 3.เสื้อผ้าและรองเท้า – บริจาคได้ตามตู้รับบริจาครอบเมืองต่างๆ มีหลายองค์กรที่เปิดรับ เช่น สภากาชาดเยอรมนี ซึ่งรับบริจาคเพื่อนำไปขายมือสองต่อให้กลุ่มคนรายได้น้อย […]
ส่องนโยบายสิ่งแวดล้อมโลกปี 2021
ปฏิทินหมุนเข้าปี 2021 เข็มชีวิตเดินไปข้างหน้าในขณะที่นาฬิกาโลกกำลังนับถอยหลัง ในปีที่ผ่านมาการละลายของแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่กรีนแลนด์เดินเข้าสู่จุดที่ไม่มีวันหวนกลับ ภัยธรรมชาติหลายอย่างกำลังรุมเร้าจนสถานการณ์ของโลกตั้งอยู่ในความไม่แน่นอน แม้ธรรมชาติกำลังสะสมขุมกำลังเพื่อเดินหน้าเข้าโจมตี แต่ทั่วโลกกำลังหาทางหยิบยื่นสันติ ถึงสถานการณ์ระหว่างประเทศจะเต็มไปด้วยข้อขัดแย้ง แต่นานาชาติเห็นไปในทางเดียวกันว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรอไม่ได้ ในปี 2021 นี้คืออีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในการแก้ปัญหาโลก ก่อนที่จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าจะลงเอยเช่นไรในปี 2030 . ตามไปดูนโยบายสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในปีหน้า ที่ขยับเขยื้อนกันตั้งแต่ระดับโลกไปจนถึงเอกชน THE WORLD AGREEMENT : ทั่วโลกลงนามเพื่อสิ่งแวดล้อม ย้อนกลับไปในปี 2015 ท่ามกลางสนามการค้าที่คุกรุ่นและระอุไม่ต่างจากอุณหภูมิของโลกที่ค่อยๆ สูงขึ้น หลายประเทศต่างลงนามเพื่อเข้าร่วม ‘ข้อตกลงปารีส’ (Paris Agreement) ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อหวังว่าสถานการณ์ของโลกจะดีขึ้น นับจากการบังคับใช้ข้อตกลงปารีสในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2016 เพื่อหวังให้สิ่งแวดล้อมพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น สถานการณ์ของโลกกลับย่ำแย่ราวตลกร้าย จนผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กล่าวว่าข้อตกลงปารีสไม่เพียงพอจะป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ก่อนยุคอุตสาหกรรม หรือขีดจำกัดที่ 2 องศาเซลเซียส ตามคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ แต่ทิศทางของแต่ละประเทศในอนาคตเต็มไปด้วยความน่าสนใจหลังจากเวลา 5 ปีที่ผ่านมายังไม่เห็นผล นอกจากในปี 2030 จะครบกำหนดสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในข้อตกลงปารีส สำหรับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 – […]
ทำไมการซักผ้าถึงทำให้โลกร้อน
เวลาที่ใครถาม “ทำไมไม่ชอบซักผ้า ?” จงตอบกลับไปว่า “มันสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ !” ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องจ้อจี้ แต่ที่ไหนได้มันคือเรื่องจริง !! เมื่อวารสารวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการของ Jay S. Golden ระบุว่า กระบวนการซักผ้าเฉพาะสหรัฐอเมริกาสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากกว่า 225 ล้านเมตริกตันต่อปี มีการใช้ไฟฟ้า 191,000 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง (GWh) และใช้น้ำมากกว่า 847 ล้านแกลลอน ยิ่งถ้าบ้านไหนใช้น้ำร้อนซักผ้าด้วยละก็จะยิ่งผลิตคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากการซักผ้าด้วยน้ำอุณหภูมิปกติอีก 1.59% เลยทีเดียว แม้ตัวเลขเหล่านี้จะมาจากอเมริกันชน แต่คนไทยอย่างเราก็ไม่ควรมองข้าม เพราะขั้นตอนการซักผ้าแทบจะคล้ายกันทั้งหมด เผลอๆ เหมือนกันทั้งโลกเลยด้วย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการแยกผ้า โยนเสื้อผ้าลงถัง ไปจนถึงการใช้เครื่องอบผ้าก็ตาม ซึ่งขั้นตอนที่สร้างคาร์บอนมากสุด คือ ‘การอบ’ เพราะต้องอาศัยไฟฟ้าอย่างหนักเพื่อทำให้ผ้าแห้ง โดยคิดเป็น 5.8% ต่อการปล่อยคาร์บอนฯ ในการซักผ้าหนึ่งครั้ง เห็นว่าหลายบ้านเลือกใช้ ‘เครื่องอบผ้า’ แทนการแขวนบนราวตากผ้า โดยเฉพาะคนอเมริกันที่เรามักจะเห็นภาพห้องซักรีดใต้ดินแบบ 3 in 1 คือ ซัก อบ […]
‘Orkney’ หมู่เกาะในสกอตแลนด์ ต้นแบบเมืองพลังงานไฮโดรเจน
สาธารณูปโภคพื้นฐานที่กลายเป็นปัจจัยในการใช้ชีวิตและการขับเคลื่อนเมืองไปข้างหน้า อย่างหนึ่งคือ ‘ไฟฟ้า’ ในอดีตไฟฟ้าคือตัววัดความเจริญที่บ้านไหนเมืองไหนไฟฟ้าเข้าถึงถือว่าพัฒนาแล้ว ทุกวันนี้ความต้องการใช้พลังงานของคนทั้งโลกมากขึ้นทุกปี แต่การผลิตกระแสไฟฟ้านั้นมีส่วนสำคัญที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน
คืนชีพป่าหลังไฟไหม้ เร็วหรือช้า ‘โลกร้อน’ คือกุญแจสำคัญ
ชวนทุกคนมาทำความเข้าใจวิธีการฟื้นตัวของป่า รวมถึงหาเหตุผลว่าโลกร้อนเกี่ยวข้องอย่างไรกับการเรียกคืนป่าอีกครั้ง
‘เอซ-ธนบูรณ์’ คนต้นคิด ‘Greenery’ เพื่อนคู่คิดการกินดี และถนอมโลกอย่างยั่งยืน
Greenery คอมมูนิตี้ที่อยากเห็นสังคมตระหนักถึงความสำคัญของอาหารปลอดภัย และการบริโภคอย่างยั่งยืน
ชายหาดครึ่งโลก อาจหายไปภายในปี 2100
ในวารสาร Science Climate Change โดยนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยร่วมของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC-JRC) รวมถึงมหาวิทยาลัยในสเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์ ได้รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเล อาจทำให้ชายหาดกว่าครึ่งโลกหายไปภายในปี ค.ศ. 2100
ธุรกิจขนสัตว์ ‘แคชเมียร์’ เมื่อความต้องการสวนทางกับทรัพยากร
แคชเมียร์เป็นมรดกมีค่า ที่ส่งออกเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากทองแดงและทองคำ เมื่อแพะผลัดขนในฤดูใบไม้ผลิที่อากาศเริ่มอุ่นขึ้น พวกเขาจะหวีขนของมันอย่างทะนุถนอม โดยเสื้อจัมเปอร์ 1 ตัวต้องใช้แพะถึง 4 ตัวเลยทีเดียว แต่ยิ่งอุตสาหกรรมแคชเมียร์เติบโตมากเท่าไหร่ วิถีดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ ก็ยิ่งถูกทำลายไปมากเท่านั้น
ส่องสัตว์โลกเสี่ยงสูญพันธุ์จาก ‘ภาวะโลกร้อน’
ไม่ใช่แค่ ‘มนุษย์’ ที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่เหล่าสัตว์น้อยใหญ่ รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ล้วนได้รับความเจ็บปวดจากเหตุการณ์นี้ไม่ต่างกัน เพราะพวกมันกำลังจะสูญพันธุ์ !
แยกขยะเป็นจะเห็นค่า คุ้ยเรื่องขยะกับ ‘ชูเกียรติ’ ผู้เปลี่ยนขยะอาหารเป็นปุ๋ยธรรมชาติ
‘ชูเกียรติ โกแมน’ คือหนึ่งในทีมงานสวนผักคนเมือง ที่เห็นความสำคัญของการแยกขยะ และเห็นค่าของขยะอาหาร จนหยิบมาทำเป็นปุ๋ยหมักธรรมชาติ พร้อมคิดค้นระบบกล่องปุ๋ยหมักที่ทำได้ทุกบ้าน เราชวนพี่ชูเกียรติมาร่วมพูดคุยถึงการจัดการขยะอาหาร ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก ความสำคัญของการแยกขยะ ตลอดจนช่วยไขความกระจ่างว่า ทำไมประเทศไทยถึงยังก้าวสู่สังคม Zero Waste ไม่ได้เสียที