7 คำศัพท์มาแรงเกี่ยวกับเทรนด์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในอนาคต

ในยุคปัจจุบัน นอกจากผู้คนจะให้ความสำคัญกับเรื่องรอบตัวกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียม อีกประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจสุดๆ คือ ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ เพราะพวกเขาเชื่อว่าโลกต้องได้รับการรักษาและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันผลกระทบที่รุนแรงจากวิกฤตโลกรวน เพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องความยั่งยืนจึงกลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงทั่วโลก แทบทุกอุตสาหกรรมต้องหยิบเรื่องนี้มาพูดถึง ภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่ธุรกิจของคนตัวเล็กๆ เองก็พยายามชูนโยบายสีเขียวและใส่ดีเอ็นเอความยั่งยืนในมิติต่างๆ ให้บริษัทของตัวเอง ทั้งแง่สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปทำความเข้าใจเรื่อง ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ แบบเจาะลึกมากขึ้นผ่าน 7 คำศัพท์ที่กำลังมาแรงเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ ตั้งแต่แนวคิดการออกแบบเขตเชิงระบบนิเวศ ระบบเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืนรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบทุนนิยมและการบริโภคอย่างมีจิตสำนึก ซึ่งทั้งหมดล้วนมีเป้าหมายทำให้วงจรความยั่งยืนเกิดขึ้นจริงในสังคมของเรา 01 | Eco-district เพราะสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ส่วนรวมควรรับผิดชอบร่วมกัน จึงเป็นที่มาของคำว่า ‘Eco-district’ หรือ ‘เขตเชิงระบบนิเวศ’ ซึ่งหมายถึงการกำหนดวางแผนผังเมือง เพื่อรวบรวมเป้าหมายเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคมเข้าด้วยกัน รวมถึงลดผลกระทบทางระบบนิเวศที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในพื้นที่ใกล้เคียง ตัวเมือง และภูมิภาคให้น้อยลงด้วย มากไปกว่านั้น Eco-district ยังโฟกัสที่การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่หลากหลายและใช้งานได้จริง ทั้งด้านที่อยู่อาศัย […]

‘อุตสาหกรรม K-POP กับปัญหาขยะพลาสติก’ เมื่อความรักไอดอลเกาหลีไม่ได้มาพร้อมกับการรักษ์โลก

ในขณะที่วัฒนธรรมการฟังเพลงเปลี่ยนผ่านจากการฟังแบบแอนะล็อกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่แค่ปลายนิ้วคลิกก็สามารถเข้าถึงเสียงเพลงบนโลกออนไลน์ได้เป็นล้านล้านเพลง แต่เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา สมาคมอุตสาหกรรมแผ่นเสียงแห่งอเมริกา (RIAA) กลับรายงานว่า ชาวอเมริกันซื้อซีดีเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2020 เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นครั้งแรกที่ยอดขายเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงต่อเนื่องมานานถึง 17 ปี การเพิ่มขึ้นของตลาดซีดีในอเมริกาหลังจากซบเซามานานนั้นมีเหตุผลหลายประการ แต่จากข้อมูลใน Billboard พบว่า การออกอัลบั้มของวง BTS ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยอดขายแผ่นซีดีกระโดดขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากการจำหน่ายอัลบั้มของ Adele และ Taylor Swift ส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะวัฒนธรรมกลุ่มแฟนคลับของศิลปินเกาหลีมีความแตกต่างจากชาติอื่นๆ โดยมี ‘Physical Album หรือ อัลบั้มแบบจับต้องได้’ เป็นจุดร่วม ผ่านการสร้างเงื่อนไขของอุตสาหกรรมเคป็อปที่ส่งผลให้มีการซื้อ-ขายอัลบั้มในปริมาณมากๆ  จากปกติที่เวลาชอบศิลปินคนไหน เราก็มักสนับสนุนด้วยการซื้ออัลบั้มของเขาสัก 1 – 2 อัลบั้มเพื่อเก็บสะสม ทว่าเมื่อเป็นศิลปินเคป็อปเมื่อไหร่ การที่แฟนคลับคนเดียวซื้ออัลบั้มถึงหลักร้อยก็ดูจะกลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย เนื่องจากมีคัลเจอร์แฟนด้อมที่เหนียวแน่นมากๆ กับสิทธิพิเศษที่จะตามมาเป็นเหตุผลรองรับ แต่ใช่ว่าทุกคนที่จะยอมรับเรื่องนี้ได้ เพราะไม่กี่ปีมานี้ได้เกิดกลุ่มคนที่ออกมารณรงค์ถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการซื้อ-ขายอัลบั้มที่มากเกินความจำเป็นของอุตสาหกรรมเคป็อปอย่างหนัก จนตัวค่ายและศิลปินเองต้องออกมาปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ อุตสาหกรรมที่เป็นตัวการหลักในการผลิตขยะพลาสติก ในปัจจุบัน ปริมาณขยะพลาสติกถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับรัฐบาลในประเทศเกาหลีใต้อยู่ไม่น้อย เพราะในขณะที่หลายประเทศกำลังรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง และดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี แต่ระหว่างปี […]

District Cooling System ทางออกการลดอุณหภูมิแบบรักษ์โลกของสิงคโปร์  

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสาเหตุมาจากการสะสมความร้อนของเมือง อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง ทำให้แต่ละเมืองเริ่มมองหาเครื่องมือหรือนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาให้ความร้อนในเมืองลดลง หนึ่งในนั้นคือ ‘สิงคโปร์’ ที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งโครงการ ‘Cooling Singapore’ ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2017 เพื่อแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนโดยตรง ผ่านการออกแบบเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และนำนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘District Cooling System (DCS)’ เข้ามาช่วย ดับร้อนด้วย Cooling Singapore ปรากฏการณ์ UHI ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเป็นทุนเดิม มีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากการเพิ่มจำนวนป่าคอนกรีตบริเวณใจกลางเมือง จนทำให้อุณหภูมิในตัวเมืองสิงคโปร์สูงกว่านอกเมืองถึง 7 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก 1.4 – 4.6 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกด้วย ซึ่งถ้าสิงคโปร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ หมายความว่าผู้คนอาจต้องใช้พลังงานในการสร้างความเย็นมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น ดังนั้นสิงคโปร์จึงต้องหาวิธีควบคุมอุณหภูมิเมืองไม่ให้ร้อนขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด สิงคโปร์จึงจัดตั้งทีมวิจัยสำหรับดำเนินโครงการ […]

Havfarm ฟาร์มแซลมอนกลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบเพื่อประมงยั่งยืน

ประเทศไหนส่งออก ‘ปลาแซลมอน’ มากที่สุดในโลกกันนะ? คำถามนี้เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่เราสังเกตเห็นกระแสการกินปลาแซลมอนในไทยและทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมดูไม่มีท่าทีลดลงเลย เมื่อลองหาข้อมูลจึงพบว่า ‘นอร์เวย์’ คือประเทศอันดับหนึ่งที่ผลิตและส่งออกเจ้าปลาเนื้อสีส้มมากที่สุด หรือคิดเป็น 47.2 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกแซลมอนทั่วโลก นอกจากจะยืนหนึ่งในตลาดส่งออกปลาแซลมอน นอร์เวย์ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนโยบายและกฎระเบียบด้านการประมงที่เข้มงวดที่สุดในโลก ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดโควตาการจับปลา การปกป้องลูกปลาวัยอ่อน รวมไปถึงการส่งหน่วยลาดตระเวนตรวจสอบกิจกรรมการตกปลา เพื่อรักษาระบบนิเวศและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล วันนี้ Urban Creature จะพาทุกคนไปรู้จัก ‘Havfarm’ ฟาร์มปลาแซลมอนขนาดใหญ่กลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบจากแนวคิดและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าฟาร์มปลานอกชายฝั่งแห่งนี้จะเป็น Game Changer ของอุตสาหกรรมปลาแซลมอนในนอร์เวย์ ที่มุ่งเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แนวคิดเบื้องหลังการออกแบบ Havfarm คืออะไร และโปรเจกต์นี้จะมีส่วนในการปฏิวัติอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์อย่างไรบ้าง เราขอชวนทุกคนขึ้นเรือมุ่งหน้าออกทะเลไปสำรวจพร้อมๆ กัน ทำไมต้องฟาร์มแซลมอนกลางทะเล? ย้อนไปเมื่อปี 2015 Nordlaks บริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเก่าแก่ของนอร์เวย์มีแนวคิดริเริ่มโครงการ Havfarm เพื่อเตรียมรับมือกับความต้องการบริโภคสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ ซึ่งรายงานจากโครงการ Blue Food Assessment ได้คาดการณ์ว่า ความต้องการบริโภคสัตว์น้ำทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วงราว 3 ทศวรรษต่อจากนี้ (ระหว่างปี […]

จากขยะสู่ขุมทรัพย์ เมื่อกากโกโก้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าสำคัญของไอวอรีโคสต์

โกโก้หนึ่งในผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก กำลังเจอบทบาทใหม่นอกจากมอบรสชาติสุดล้ำลึกเป็นของขวัญแก่มวลมนุษย์ เพราะที่ไอวอรีโคสต์ ประเทศผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตประชากรที่ทำงานด้านนี้กว่า 6 ล้านคน หลังจากที่เติมพลังงานให้ผู้คนทั่วโลกมาอย่างยาวนาน โกโก้ กำลังจะเป็นต้นกำเนิดพลังงานที่จะขับเคลื่อนแดนงาช้างแห่งนี้  ไม่เหมือนกับข้าว ส้ม หรือแอปเปิล บางคนอาจจะนึกภาพต้นหรือโกโก้ไม่ออก ผู้บริโภคคุ้นเคยกับโกโก้ในฐานะเครื่องดื่ม ขนม ไอศกรีมรสโปรด ในฐานะผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาแล้วและวางขายอยู่บนชั้นวางที่ซูเปอร์มาร์เก็ต จากผลสีเหลืองขนาดประมาณฝ่ามือมีแต่ ‘เมล็ดโกโก้’ ที่ถูกมองว่าเป็นทอง ส่วนที่เหลือคือตะกอนดินที่ทิ้งไปได้ในทันที ทำให้ปริมาณกากโกโก้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล  แต่ของเหลือทิ้งเหล่านั้นกำลังจะเปลี่ยนสถานะเป็นขุมทรัพย์ทางด้านพลังงานหมุนเวียนของไอวอรีโคสต์ หลังจากประสบผลสำเร็จในโครงการนำร่อง ไอวอรีโคสต์ จึงเริ่มเดินเครื่องในโรงงานชีวมวลที่ผลิตไฟฟ้าจากกากของโกโก้ ที่ตั้งอยู่ใน Divo นครเอกของการผลิตโกโก้ เป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า  กากโกโก้เหล่านี้จะถูกนำไปเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับกังหันลม ในลักษณะที่คล้ายกับเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วไป โดยโรงงานเพียงแห่งเดียวจะผลิตกำลังไฟได้เทียบเท่ากับความต้องการใช้งานของ 1.7 ล้านคน ผลิตไฟฟ้าได้เป็นจำนวน 46 – 70 เมกะวัตต์ต่อปี และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4.5 ล้านตัน เมื่อเทียบการผลิตแบบดั้งเดิม  เพิ่มพลังไฟฟ้า ลดก๊าซเรือนกระจก  ไม่ต่างจากนานาประเทศทั่วโลกที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แม้จะเป็นประเทศที่ใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลัก ไอวอรีโคสต์หวังว่าพวกเขาจะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ […]

น้ำมูกทะเล อุณหภูมิทะเลสูงสุด Gulf Stream อ่อนกำลังสุดในรอบพันปี ทะเลกำลังบอกอะไร

ฝูงปลาแหวกว่ายบนผืนน้ำ สัตว์ทะเลน้อยใหญ่หลากสายพันธุ์ใช้ชีวิตตามวัฏจักรของตัวเอง นั่นคือสิ่งที่ควรดำเนินไปอย่างเรียบง่าย ทว่าความเป็นจริงกลับโหดร้าย เพราะพวกมันถูกแทรกแซงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ มลพิษทางน้ำ และพฤติกรรมของมนุษย์บางกลุ่ม “น้ำมูกทะเลทำให้หายใจไม่ออก เหมือนขาดออกซิเจน” “ปะการังฟอกขาวจนรู้สึกเหมือนกำลังจะตาย” “กลืนพลาสติก แทนที่จะอิ่ม แต่กลับทรมาน” “น้ำทะเลเปลี่ยนสี ไม่ได้สวยเหมือนฝัน แต่แลกมากับชีวิตโลมา” “อวนผืนยักษ์ ใครเอามาวางไม่รู้ แต่มันกำลังทำร้ายระบบนิเวศของเรา” มิอาจทราบได้ว่าพวกมันพูดภาษาเดียวกันใต้น้ำ เกี่ยวกับหนทางเอาตัวรอดกันวันต่อวันบ้างไหม แต่คงมีสัตว์ทะเลสักตัวเป็นแน่ที่ภาวนาให้ตัวเองพูดภาษามนุษย์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ไม่รัก ก็อย่าทำลาย ปี 2021 ทะเลยังคงเจ็บปวด 01 น้ำมูกทะเล น้ำมูกที่ไหลจากโพรงจมูกผู้คน คงเทียบสเกลความเยอะ ความหยึย ความเสียหาย และความอันตรายต่อร่างกาย กับท้องทะเลไม่ได้ เพราะผืนน้ำและสัตว์ทะเล ไม่มียาลดน้ำมูกให้บรรเทาอาการภายในไม่กี่ชั่วโมงเหมือนคน ตุรกีกำลังเผชิญน้ำมูกทะเล ที่ปกคลุมทะเลมาร์มาราไปจนถึงทางใต้ของอิสตันบูล น่าเศร้าที่สุดคือ ตายทั้งสัตว์ทะเล และอาชีพชาวประมง น้ำมูกทะเล หรือเมือกทะเล คือตะกอนสีเขียวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นสารเมือกหนานิ่มๆ คล้ายน้ำมูก ซึ่งเกิดจากการที่สาหร่ายทะเลได้รับสารอาหารมากเกินไป เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นจนส่งผลให้อุณหภูมิในทะเลขึ้นสูง และมลพิษทางน้ำจากกองขยะ ของเสียในทะเลที่ไม่ผ่านการบำบัด และน้ำเน่า ส่งผลให้น้ำมูกเหล่านี้เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่พร้อมดูดออกซิเจนในน้ำจนพวกมันหายใจไม่ออก และตาย Meric […]

‘สวีเดน’ ตัดต้นไม้เยอะยังไง ให้เป็นตัวท็อปด้านสิ่งแวดล้อม

วันที่ได้รับโจทย์จากกองบรรณาธิการ Urban Creature ให้ตามหาคำตอบว่า ‘ประเทศไหนตัดต้นไม้เยอะ แต่ยั่งยืนที่สุด’ ไม่ทันได้กดเสิร์ชกูเกิล ก็ใช้ความรู้ (เท่าที่มี) ตัดสินไปแล้วว่า ‘ไม่มี’  แต่เอาเข้าจริงพอนั่งค้นคว้าหามรุ่งหามค่ำ สารพัดตัวเลขและข้อมูลถาโถมจนระบบปฏิบัติการสมองเกือบ Error ก็พบข้อมูลที่น่าสนใจจนอยากค้นต่อ  “สวีเดนเป็นเจ้าแห่งการส่งออกไม้เป็นอันดับ 3 ของโลก”  แต่สวีเดนก็เป็นประเทศที่สิ่งแวดล้อมดีจนติดท็อปของโลกเหมือนกัน สรุปแล้วรักษ์โลกจริงหรือเปล่าวะ  เพราะจำได้ว่าสมัยเรียนหนังสือคุณครูสอนว่าอย่าตัดต้นไม้ทำลายป่า เพราะสัตว์ป่าจะไร้ที่อยู่อาศัย ทำลายความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งปัญหาที่ตามมาอาจใช้เวลาแก้มากกว่าการปลูกต้นไม้ขึ้นมาใหม่ จนเข้าใจว่า ‘คน’ และ ‘ป่าไม้’ ต้องแยกขาดออกจากกันเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ไว้ให้ธรรมชาติยังคงอยู่แบบเดิม แล้วทำไมสวีเดนถึงยิ่งตัดต้นไม้เท่าไหร่ ยิ่งกอดตำแหน่งตัวท็อปด้านสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ตัดต้นไม้ ≠ ทำลายป่า เสมอไป ก่อนไปดูแนวคิดการสร้างป่าของสวีเดน เราขอเสนอความน่าสนใจเล็กๆ ของประเทศสวีเดนให้ฟัง นั่นคือ การใช้อุตสาหกรรมป่าไม้เป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งสร้างงานให้กับประชากรในประเทศ และสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากการส่งออก แต่ลองค้นต่อไปอีกสักนิด เราพบว่าสวีเดนมีพื้นที่ประเทศทั้งหมด 40.8 ล้านเฮกตาร์ แต่มีพื้นที่ป่าไม้ครอบคลุมมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และมีต้นไม้ประมาณ […]

Seaspiracy ไม่บอกอะไร เมื่อประมงทำร้ายทะเล แต่ถ้าหยุดกินปลาตามสารคดีก็เป็นหายนะของคนจน

บรรณาธิการบริหารแห่ง Urban Creature บอกทีมในเช้าวันประชุมกองบรรณาธิการว่า “ภายในปี 2048 มหาสมุทรอาจว่างเปล่า ไร้สิ่งมีชีวิต” หลังจากเมื่อคืนพี่แกใช้เวลาจดจ่อกับ Seaspiracy ภาพยนตร์สารคดีใน Netflix ที่ตีแผ่อุตสาหกรรมประมงซึ่งทำร้ายสิ่งมีชีวิตในทะเลไปมหาศาล ทั้งอวนจับปลาที่สร้างขยะและฆ่าสัตว์น้อยใหญ่มากกว่าพลาสติก ปัญหาการจับสัตว์น้ำพลอยได้ที่เน้นกวาดทุกสปีชีส์ในทะเลด้วยอวนขนาดใหญ่ที่คลุมโบสถ์ได้ทั้งหลัง แรงงานทาสที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ฟาร์มสัตว์ทะเลที่เข้ามาแย่งพื้นที่ป่าโกงกางซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญบนโลกจนเกิด Climate Change รวมไปถึงการชี้ให้ทุกคนหยุดกินปลาเพื่อจบทุกปัญหา หลากเสียงในห้องประชุมเริ่ม “เชี่ย แล้วต้องทำไงวะ” “กูดูจบแล้วอยากเลิกกินปลา” “โหดร้ายว่ะ” “คืนนี้จะกลับไปดู” ขึ้นมาจนกลายเป็นเสียงนอยซ์ เย็นวันนั้น เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ฉันใช้ไปกับการดู Seaspiracy พร้อมความรู้สึกหดหู่ที่เกิดขึ้น แต่เดี๋ยวก่อน…หลังจากที่สติแตกไปครู่หนึ่ง อยู่ดีๆ ก็คิดขึ้นว่า “เคยเรียนข่าวมา หาข้อมูลเพิ่มเติมและอัปเดตมันหน่อยเป็นไง” อวนสร้างความเสียหายต่อทะเลมากแค่ไหน การลดใช้พลาสติกไม่จำเป็นเลยหรือเปล่า การจับสัตว์น้ำพลอยได้ต้องเร่งแก้ไขก่อนที่มันจะสูญพันธุ์หรือไม่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทะเลส่งผลเสียอย่างไร ตกลงแรงงานทาสในไทยมีอยู่ไหม และการเลิกกินปลาเป็นคำตอบที่ดีจริงหรือในวันที่ชาวประมงพื้นบ้านยังคงเลี้ยงชีพด้วยการหาปลา ทุกคำถาม มีคำตอบ ขอเวลาไม่นาน เพ่งสายตาให้มั่น ไล่อ่านทุกบรรทัด ไปเจาะข้อมูลเอกสารที่สารคดีไม่ได้บอก และความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านประมงในไทยกัน ลุย […]

ออกแบบสวนในเมืองสไตล์ ‘นักพฤกษศาสตร์’ ให้ต้นไม้นักฟอกอากาศมีบ้านที่ดีหลังเดียวกับคน

ชวนฟังความในใจของ ‘ต้นไม้’ สิ่งมีชีวิตที่พูดไม่ได้ว่ารู้สึกอย่างไรกับการยืนต้นใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมทุกวันนี้ รวมไปถึงมุมมองการออกแบบพื้นที่อย่างไรให้ต้นไม้อยู่ร่วมกับคนและเมืองอย่างยั่งยืน

Our Land เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเอกชนแห่งกาญจนบุรีที่มนุษย์และสัตว์อยู่ร่วมกันได้

พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า Our Land แห่งจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเปลี่ยนมุมมองที่ว่าคนกับสัตว์ป่าอยู่ร่วมกันไม่ได้ เพื่อให้เราเข้าใจและรู้สึกว่าธรรมชาติคือบ้านอีกหลังหนึ่งของเรา และสัตว์ป่าก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างคุณค่าต่อโลกใบนี้เช่นกัน

กำแพงกันคลื่นไร้เงา EIA ทางออกที่ไม่ยั่งยืน ต้นเหตุหาดแหว่งและชายฝั่งขาดสมดุลธรรมชาติ

ฉันเป็นเด็กในเมืองที่ใช้ชีวิตท่ามกลางป่าคอนกรีต กว่าจะแล่นรถออกไปชายทะเลก็ต้องรอโอกาสเหมาะสม เช่น พักร้อน หรือวันหยุดเทศกาล มันเลยทำให้ฉันไม่ได้คลุกคลีกับหาดทรายและผืนทะเลบ่อยนัก จนกระทั่งฉันสะดุดประเด็น #กำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA บนโลกออนไลน์ ที่ต้องคลิกเข้าไปดูความเป็นไปของชายหาด ฉันจึงพบว่าผลลัพธ์ของมันสร้าง ‘รอยเว้า’ และ ‘กลืนกินชายหาด’ อย่างไม่น่าเชื่อ การกัดเซาะที่มาของกำแพงกันคลื่น ฉันคว้าความสงสัยที่มีต่อสายตรงหา ผศ. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ‘การกัดเซาะชายฝั่ง’ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจาก ‘คลื่น’ หรือ ‘ลม’ โดยพัดตะกอนจากที่หนึ่งไปทับถมอีกที่หนึ่ง ทำให้แนวชายฝั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลบนเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้วิศวกรรมทางชายฝั่งเชิงโครงสร้างแบบ ‘กำแพงกันคลื่น’ สร้างติดชายฝั่ง ทำหน้าที่ป้องกันการกัดเซาะของดินจากคลื่นและกระแสน้ำ เพื่อไม่ให้พื้นที่หลังกำแพงเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะช่วย ‘ชะลอ’ หรือ ‘ลด’ การกัดเซาะชายฝั่งได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้กำแพงกันคลื่นจะช่วยแก้ปัญหาได้จริง แต่กลับไม่ครอบคลุมพื้นที่ใกล้เคียง ตามปกติแล้วคลื่นจะซัดชายฝั่งเข้า-ออก ทำให้ทรายไหลไปตามคลื่นและกระแสน้ำ โดยมีหาดทรายเป็นตัวชะลอความแรงของคลื่น ซึ่งหากสร้างกำแพงกันคลื่นขึ้นมา […]

ห้องเรียนสอนให้ ‘คนอยู่ร่วมกับน้ำ’ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

ล้อรถหมุนไปท่ามกลางต้นหนาวเคล้าฝน เราเดินทางไปชุมชนทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อไปพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำฯ ชุมชนทุ่งสง สถานที่ที่ทำให้เราเข้าใจในประโยคที่ว่า ‘สายน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต’

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.