‘ทีทีบี’ กับการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน ผ่านปรัชญา ‘Make REAL Change เปลี่ยน… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’ มุ่งสร้างตามกรอบ B+ESG

ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนมากขึ้น แนวคิดในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องเปลี่ยนผ่านสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ หรือ ‘ทีทีบี’ ที่ใส่ใจประเด็นนี้มาอย่างยาวนาน ได้ตอกย้ำในการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนผ่านกรอบแนวคิด ‘B+ESG’ ที่ผสมผสาน B (Business) เข้ากับ ESG (Environment, Social และ Governance) เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าของธนาคารดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง นอกจากกลยุทธ์ B+ESG แล้ว ทีทีบียังทำงานภายใต้ปรัชญา ‘Make REAL Change เปลี่ยน… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’ ล่าสุดได้สร้างสรรค์นำวัสดุรีไซเคิลมาต่อยอดผลิตของที่ระลึก เพื่อส่งมอบความสุขให้กับลูกค้า โดยเน้นที่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยังใช้งานได้จริง รวมไปถึงสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งสังคมและโลกของเราน่าอยู่มากกว่าเดิม ประชากรมากขึ้นทำให้ขยะกลายเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวมากขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะมีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอยู่ตลอด แต่ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ยังคงทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกเป็นทางเลือกเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต จนเกิดปัญหาตามมา คือขยะพลาสติก ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งในการทำลายสิ่งแวดล้อมของเรา ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษเปิดเผยว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณขยะทั้งหมด หรือมีประมาณ 12 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้มีประมาณ 0.5 […]

คนรวยใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า ต่อให้คนจนใช้ถุงผ้าก็ช่วยลดโลกร้อนไม่ได้

ปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน จนทำให้คนทั้งโลกออกมารณรงค์เพื่อปกป้องโลกของเราด้วยวิธีต่างๆ เช่น ลดการใช้พลาสติก พกถุงผ้าไปช้อปปิง รณรงค์ไม่ใช้สินค้า Fast Fashion ลดการใช้พลังงาน และอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ต่อให้คนทั่วไปหันมารักโลกและพยายามสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยหยุดภาวะโลกร้อนได้ เพราะมีรายงานระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทั่วโลกคือ ‘กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก’ นั่นเอง รายงานที่ว่านี้ไม่ได้โจมตีกลุ่มคนรวยแต่อย่างใด แต่สื่ออย่าง ‘The Guardian’, องค์กรไม่แสวงหากำไร ‘Oxfam’, สถาบันสิ่งแวดล้อม ‘Stockholm Environment Institute’ และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ได้ร่วมมือกันศึกษาความไม่เท่าเทียมที่เกิดจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และพบว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ปล่อยคาร์บอนมากกว่ากลุ่มคนที่ยากจนที่สุดถึง 66 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว การใช้ชีวิตแบบปกติของคนรวยทำให้สภาพอากาศไม่ปกติ ผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอาจไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของกลุ่มคนรวยมากเท่าไรนัก เพราะหากอากาศร้อนก็แค่เปิดเครื่องปรับอากาศทุกตัวในบ้านหลังใหญ่ หรือแค่เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ที่อากาศเย็นก็ได้ ซึ่งกิจกรรมที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองทั้งสิ้น แถมยังปล่อยมลภาวะกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ในขณะที่กลุ่มคนจนต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยที่ไม่เคยมีโอกาสแม้แต่จะได้ขึ้นเครื่องบินสักครั้ง คนรวยเหล่านี้จึงอาจไม่ได้ตระหนักว่าการใช้ชีวิตแบบปกติในทุกๆ วันนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายโลกและเพื่อนร่วมโลกหรือไม่ เช่น ในปี 2019 มีจำนวนรถ SUV เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก […]

‘บางจาก’ ส่งต่อความเข้าใจเรื่องการเดินทางด้วยพลังงานสะอาด ผ่านงานสัมมนา ‘Greenovative Forum 2023: Regenerative Fuels Sustainable Mobility’

การเดินทางด้วยพาหนะต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ปัจจุบันจึงมีทางเลือกมากมายในการเดินทางที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิง ซึ่งเป็นพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งต่อความเข้าใจถึงการพัฒนาชีวิตแห่งอนาคตบนความยั่งยืนให้ทุกภาคส่วน ‘บางจาก’ ได้จัดงานสัมมนา ‘Greenovative Forum 2023: Regenerative Fuels Sustainable Mobility’ ชวนทุกคนมาร่วมพูดคุยและทำความเข้าใจถึงการเดินทางด้วยพลังงานสะอาด หวังสร้างความเป็นมิตรให้สิ่งแวดล้อม และรักษาความสะอาดให้โลกเราเดินหน้าต่อไปได้ การเดินทางและการขนส่งยังมีความต้องการใช้เชื้อเพลิงอย่างมาก ซึ่งเชื้อเพลิงที่จะตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืน คือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Regenerative Fuels ที่เป็นโมเลกุลสะอาด ไม่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ  แต่สำหรับ ‘การบิน’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบสำคัญของการเดินทาง ขนส่ง ยังไม่สามารถใช้แบตเตอรี่มาทดแทนการใช้น้ำมันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักมาก ทำให้ต้องหาเชื้อเพลิงอื่นสำหรับการเดินทางในภาคการบิน ดังนั้น เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF จึงเป็นทางเลือกพลังงานที่จะตอบโจทย์ ในปัจจุบันหลายสายการบินจะมีการแจ้งปริมาณ Carbon Emissions ของแต่ละเที่ยวบิน เพื่อเป็นทางเลือกในการช่วยลดคาร์บอนแก่ผู้โดยสาร แต่นั่นยังไม่ใช่ทางเลือกที่จะช่วยลดการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศได้มากเท่าไรนัก แถมบางเที่ยวบินยังมีราคาสูงจนอาจทำให้หลายคนไม่สามารถเข้าถึงการโดยสารรูปแบบนี้ได้ แน่นอนว่าจากธุรกิจการท่องเที่ยวที่ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทิศทางของธุรกิจการบินยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เหล่าองค์กรจากหลายประเทศที่ตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงมองหาช่องทางในการลดปริมาณคาร์บอน เพื่อช่วยให้การเดินทางด้วยเครื่องบินสะอาดขึ้น ทั้งยังเป็นการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2030 […]

Sustainable Tourism Goals เปลี่ยนการท่องเที่ยวไทยให้สนุกและยั่งยืน กับแคมเปญ ‘STGs เที่ยว 4 ดี’

การท่องเที่ยวของคนยุคนี้ไม่ได้นึกถึงแค่ความสนุกและความสวยงามของจุดหมายปลายทางเหมือนแต่ก่อนแล้ว เพราะการพักผ่อนหย่อนใจที่ได้มาต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดีต่อโลกของเราด้วย ข้อมูลจาก World Travel & Tourism Council ปี 2023 เปิดเผยว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ช่วยยืนยันว่า ‘การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’ (Sustainable Tourism) ได้กลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ การรณรงค์การท่องเที่ยวที่แคร์สิ่งแวดล้อมจึงถือเป็นความท้าทายที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อพาประเทศไทยก้าวสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอันดับต้นๆ ของโลกให้ได้ นี่คือเหตุผลที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดเป้าหมายที่จะยกระดับและสร้างมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ‘Sustainable Tourism Goals: STGs’ และจัดทำโครงการ ‘STGs เที่ยว 4 ดี ดีต่อโลก ดีต่อเรา’ ขึ้นมา แคมเปญนี้จะช่วยสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร คอลัมน์ Green Insight ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนด้วยแนวคิด STGs การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษให้กับโลกของเราไม่น้อย เพราะมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ราว 8 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากทั่วโลก โดยปริมาณหลักๆ มาจากการเดินทาง การบริโภคสินค้าและบริการ ซึ่งรวมถึงอาหารและที่พัก เพื่อทำให้ประเทศไทยพร้อมเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน […]

ถอดแนวคิด “เมืองคาร์บอนต่ำ” ชั้นนำเอเชีย ทำอย่างไรให้ชีวิตดี กู้โลกเดือดด้วย?

เมื่อวิกฤต “โลกร้อน” รุนแรงขึ้นเป็น “โลกเดือด” ยังมีสัญญาณที่ดีที่หลายประเทศเริ่มหาวิธีเปลี่ยนให้ ‘เมือง’ ศูนย์รวมของผู้คนและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยแก้วิกฤตดังกล่าว พร้อมทำให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้ ด้วยแนวคิดการพัฒนา ‘เมืองคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon City)’ ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลกเดือด ไม่ว่าจะมาจากกิจกรรมของภาคธุรกิจหรือการใช้ชีวิตของผู้คน วิธีการสร้าง ‘เมืองคาร์บอนต่ำ’ ทำได้หลากหลาย แต่ต้องอาศัยการ “ร่วม-เร่ง-เปลี่ยน” ด้วยกัน ตั้งแต่ ‘ภาครัฐ’ ที่ต้องออกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม วางผังเมืองที่เอื้อให้คนเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยมีระบบขนส่งสาธารณะครอบคลุม หรือสร้างแรงจูงใจให้คนเลือกอุปโภคบริโภคได้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ‘ภาคเอกชน’ ที่ต้องใช้หลัก ESG (Environmental, Social, Governance) ดำเนินธุรกิจ เช่น ลงทุนในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ ก่อสร้างโดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือเพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและยั่งยืน รวมทั้ง ‘ประชาชน’ ที่ต้องตระหนักรู้และมีส่วนร่วมลดการสร้างคาร์บอนในชีวิตประจำวัน ภายในงาน ‘ESG Symposium 2023 : ร่วม เร่ง เปลี่ยน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ’ ที่ SCG และพาร์ทเนอร์หลายภาคส่วนจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผู้นำจากหลายประเทศชั้นนำในเอเชียมานำเสนอวิธีการสร้าง ‘เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ’ ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่ง Urban Creature […]

8 วิธีที่ทำให้การอยู่อาศัยในคอนโดฯ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน

คนเมืองยุคนี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น เนื่องจากทำเลตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ตอบโจทย์การเดินทาง สะดวกสบาย ดูแลง่าย และมีราคาที่จับต้องได้มากกว่าการซื้อบ้านเป็นหลัง แต่พอเป็นคอนโดฯ ที่มีพื้นที่จำกัด ก็อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยทำอะไรกับพื้นที่ห้องไม่ได้มากนัก ไม่เหมือนกับบ้านที่เราอาจตกแต่ง ปรับแต่ง หรือเพิ่มเติมส่วนสีเขียว เพื่อทำให้ที่อยู่อาศัยมีชีวิตชีวา เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงอย่างนั้น การอยู่อาศัยในคอนโดฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะกรีนไม่ได้ เพราะยังมีอีกหลายวิธีให้เราปรับเปลี่ยนหรือเสริมนิดๆ หน่อยๆ เพื่อทำให้ห้องเล็กๆ ของเราดีต่อใจ ร่างกาย และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนหลอดไฟเป็นไฟ LED ไฟ LED มีข้อดีกว่าหลอดไส้ทั่วไป เนื่องจากใช้พลังงานต่ำกว่ามากสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ อายุการใช้งานทนทานถึง 20 ปี มีขนาดเล็กและสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย จึงเหมาะกับการเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายๆ ในคอนโดฯ ของเรา ตกแต่งคอนโดฯ ด้วยวัสดุเหลือใช้ ทุกคนน่าจะเคยได้รับของตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย หรือมีเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้ใช้หรือไม่อินแล้ววางอยู่ แต่ไม่รู้จะทำยังไง แทนที่จะใช้เฟอร์นิเจอร์และสิ่งของประดับที่ซื้อใหม่มาตกแต่งบ้าน ลองเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นแทน หรือถ้าไม่สปาร์กจอย จะลองทาสีตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูสนุกสนานและใหม่ขึ้น เพื่อช่วยลดของเสียที่จะถูกทิ้งในกองขยะ และยังเป็นการเพิ่มอายุการเก็บรักษาของวัสดุเหล่านี้ อีกทั้งการใช้ของเก่ามาตกแต่งจะช่วยเพิ่มกลิ่นอายการตกแต่งที่น่าสนใจให้ห้องหับของเราได้ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ แน่นอนว่าพฤติกรรมรักโลกที่ทำได้ง่ายๆ ที่บ้านที่คนนึกถึงเป็นอย่างแรกๆ คือ การกินอาหารออร์แกนิก […]

ดอกไม้จากธรรมชาติ อาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเสมอไป

‘ดอกไม้’ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายหลากหลายและแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท จึงมักถูกนำมาใช้ในโอกาสสำคัญและเทศกาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี แสดงความรัก ให้เป็นของขวัญ หรือแม้แต่การมูเตลูเองก็ต้องใช้ดอกไม้ในการกราบไหว้ขอพรด้วยเหมือนกัน แต่หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ดอกไม้แสนสวยเหล่านี้คือตัวการที่ทั้งสร้างขยะและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพราะถึงแม้ว่าผลผลิตจากธรรมชาติเหล่านี้จะย่อยสลายกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติได้ด้วยตัวเอง แต่กว่าจะถึงเวลาย่อยสลายนั้น ทั้งดอกไม้และขยะจากดอกไม้กลับสร้างมลพิษที่ค่อยๆ ทำลายสิ่งแวดล้อม ดอกไม้สร้างมลพิษ ในบางภูมิประเทศไม่สามารถปลูกดอกไม้บางประเภทได้ ทำให้ต้องอาศัยการขนส่งดอกไม้ทางไกลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งในกระบวนการขนย้ายนั้นจำเป็นต้องใช้การทำความเย็นเพื่อรักษาความสดใหม่ของดอกไม้เอาไว้ แม้ว่าตัวดอกไม้จะไม่ได้ปล่อยมลพิษออกมาโดยตรง แต่ไม่ว่าจะเป็นพาหนะอย่างเครื่องบิน รถยนต์ หรือเครื่องทำความเย็นจากการขนส่งนั้น ต่างก็มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมออกมา ไม่ใช่แค่การขนส่งดอกไม้ข้ามพื้นที่เท่านั้นที่ปล่อยของเสียซึ่งไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่การสะสมของดอกไม้สดที่รอวันย่อยสลายเอง เมื่อถูกทับถมกันเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นขยะอินทรีย์นั้น ก็ยังเป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่าเลยทีเดียว หรือในประเทศอินเดียที่มักใช้ดอกไม้ในการสักการบูชาเทพเจ้า ซึ่งตามความเชื่อแล้ว ดอกไม้ที่นำไปบูชาไม่สามารถทิ้งลงถังขยะได้ สุดท้ายจึงถูกนำไปคืนสู่ธรรมชาติด้วยการปล่อยลงแม่น้ำสายใหญ่ โดยที่เราไม่รู้เลยว่าในดอกไม้แต่ละดอกนั้นมียาฆ่าแมลงและสารเคมีตกค้างอยู่มากเท่าไหร่ และสารเคมีเหล่านั้นจะแพร่กระจายอยู่ในแหล่งน้ำที่ผู้คนนำน้ำมาใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นอันตรายต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและชีวิตของประชาชนในประเทศอีกด้วย เปลี่ยนขยะจากดอกไม้ให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง การจะห้ามใช้ดอกไม้เพื่อลดการสร้างขยะอาจเป็นไปได้ยาก แต่หากมีวิธีลดขยะดอกไม้ลงได้บ้าง ก็อาจจะช่วยรักษาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นจึงมีธุรกิจที่ยังมองเห็นถึงความสำคัญของดอกไม้ไปพร้อมๆ กับการหาทางแก้ไขปัญหาขยะดอกไม้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการรีไซเคิลและการอัปไซเคิลด้วยการเปลี่ยนดอกไม้ที่ดูเหมือนจะนำไปใช้งานต่อไม่ได้แล้วให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง อย่างในประเทศอินเดียที่ในแต่ละปีมีจำนวนดอกไม้หลายล้านตันจากการบูชาเทพเจ้า และกลายเป็นมลพิษทางน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ก็มีธุรกิจอย่าง ‘Phool.co’ ที่นำขยะดอกไม้เหล่านั้นมารีไซเคิลใหม่ให้กลายเป็นธูปหอม กระดาษ และสีน้ำ ทำให้ช่วยลดดอกไม้ที่กำลังจะถูกทิ้งไปได้ในปริมาณมาก และยังช่วยลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ในทางชีวภาพได้ด้วย หรือในประเทศไทยเองก็มีร้านดอกไม้อย่าง ‘Flower in […]

Idol Ambassador ไม่ได้สร้างมูลค่าให้แค่แบรนด์ แต่ยังส่งเสริมสังคมวัตถุนิยมในเกาหลีใต้

ที่ผ่านมา ‘วงการเคป็อป’ และ ‘สินค้าแบรนด์เนม’ แทบจะกลายเป็นของคู่กันมาตลอด เหล่าแฟนคลับล้วนต้องติดตามแฟชั่นของศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นสนามบิน แฟชั่นในงานอีเวนต์ หรือกระทั่งแฟชั่นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานเพลง เพราะอยากรู้ว่าแบรนด์ไหนน่าทำความรู้จัก หรือมีสินค้าอะไรให้ซื้อใช้ตามศิลปินคนโปรดได้บ้าง ยิ่งในช่วงหลังๆ มานี้ เรามักเห็นแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ทำการตลาดโดยเลือกใช้ศิลปินเกาหลีในฐานะ ‘แบรนด์แอมบาสเดอร์’ (Brand Ambassador) เพื่อเป็นตัวแทนโปรโมตสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เพื่อขยายฐานผู้บริโภคที่มากกว่าแค่กลุ่มคนที่ชื่นชอบแฟชั่น นั่นคือเหล่าแฟนคลับและผู้ติดตามวงการเคป็อปที่ส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางขึ้นไป ส่งผลให้มูลค่าการจับจ่ายสินค้าแบรนด์เนมในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะอันดับสูงที่สุดของโลก แน่นอนว่าเม็ดเงินปริมาณมหาศาลที่เพิ่มขึ้นนี้คือผลประโยชน์ที่แบรนด์ต่างๆ ได้รับโดยตรง แต่ในขณะเดียวกัน การจับจ่ายใช้สอยสินค้าราคาแพงอาจเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมวัฒนธรรมวัตถุนิยมในประเทศเกาหลีให้เพิ่มมากขึ้น เพราะแฟนคลับย่อมอยากใช้สินค้าแบบเดียวกับศิลปินที่ชอบ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นแฟนคลับและแสดงออกถึงฐานะทางสังคม จนบางครั้งอาจกลายเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ มากกว่าจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาเพราะชื่นชอบหรือใช้งานจริงๆ ‘เกาหลีใต้’ ประเทศแห่งวัตถุนิยม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘เกาหลีใต้’ คือประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของ ‘บิวตี้สแตนดาร์ด’ (Beauty Standard) ที่ผู้คนต้องสวยหล่อตรงตามมาตรฐานที่สังคมกำหนดไว้ ไปจนถึงเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับต่างๆ ที่อย่างน้อยต้องมีสักชิ้นที่เป็นสินค้าจากแบรนด์หรูแบรนด์ดัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตัวเอง เพราะคนเกาหลีจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าสินค้าเหล่านี้เป็นเสมือนใบเบิกทางที่จะช่วยให้พวกเขามีตัวตนในสังคมมากขึ้น จากค่านิยมนี้ ส่งผลให้สังคมเกาหลีใต้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ค่อนข้างยกย่องเชิดชูคนที่มีภาพลักษณ์ดี มีฐานะ ดูร่ำรวย และใช้สินค้าราคาแพงเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง อินฟลูเอนเซอร์และยูทูบเบอร์ ‘ซงจีอา’ […]

ลดเวลาทำงานเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ ช่วยสร้างสมดุลชีวิตคนทำงานและลดการใช้พลังงานได้จริง

เมื่อปีที่แล้วฝั่งยุโรปเผชิญปัญหาอากาศที่ร้อนจัดกว่าปกติ ทางฝั่งปากีสถานเจอฝนตกหนักจนน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ มองไปที่ธารน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกก็ก่อตัวในระดับต่ำกว่าที่เคยมีมา รวมถึงปัญหามลพิษทางอากาศหรือมลพิษต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้นในทุกพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้พลังงานและทรัพยากรของเราทุกคน นักวิทยาศาสตร์จาก EU Copernicus องค์กรสังเกตการณ์ความเป็นไปด้านธรรมชาติของโลก บอกว่า ‘โลกร้อนไม่ใช่ปัญหาในอนาคต แต่มันคือปัญหาในปัจจุบัน’ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความท้าทายให้เราทุกคนในฐานะประชากรโลก เพื่อหาวิธีรับมือ ปรับตัว และเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ที่นำไปสู่ความยั่งยืนให้ได้มากยิ่งขึ้น ในหลายอุตสาหกรรมต่างตั้งเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุดตามวาระที่กำหนด อีกหลายภาคส่วนก็พยายามรณรงค์ลดการเผาผลาญพลังงานที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และยังมีการหาแนวทางการแก้ปัญหาโลกร้อนนี้กันอีกมากมายหลายวิธี คอลัมน์ Green Insight อยากพาไปดูอีกหนึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่น่าสนใจ นั่นคือ การลดเวลาการทำงานให้เหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ สิ่งนี้จะมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน ลดเวลางาน เพิ่มเวลาชีวิตให้คนทำงาน ช่วงโควิดที่ผ่านมา รูปแบบการใช้ชีวิตได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และในช่วงเวลาวิกฤตของโรคระบาดก็ทำให้เห็นแล้วว่า ‘การทำงาน’ ได้แปรเปลี่ยนไปในทิศทางอื่นๆ เช่นกัน 4 Day Week Global กลุ่มองค์กรอิสระไม่แสวงผลกำไร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แห่งสหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัยบอสตันแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ค้นคว้าและวิจัยการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน จนกลายเป็นต้นแบบของการทำงานรูปแบบใหม่กับหลายประเทศทั่วโลก หลังจากการทดลองครั้งแรกในสหราชอาณาจักรประสบความสำเร็จ และพบว่าการทำงาน 4 […]

ไม่ต้องงดเนื้อสัตว์ตลอดไป ก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้แค่กินอาหารให้เหมาะสม

อากาศร้อนขึ้นทุกวัน จนหลายคนเริ่มตระหนักถึงภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้เป็นแค่งานวิจัยหรือคำขู่จากการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป ถึงแม้จะดูไม่น่าเชื่อ แต่นอกจากการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งให้น้อยลงแล้ว อาหารการกินของเราในทุกๆ มื้อก็มีส่วนส่งผลกระทบต่อโลกด้วยเหมือนกัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการผลิตวัตถุดิบไปจนถึงมื้ออาหารที่มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่บนจาน แต่ขณะเดียวกัน อาหารก็เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต เพราะเราคงไม่สามารถงดกินข้าวเพื่อคืนความยั่งยืนให้โลกได้ แล้วจะมีหนทางไหนบ้างที่ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแบบหน้ามือเป็นหลังมือ คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปดูฮาวทูการกินที่ยังคงสนุกกับมื้ออาหาร และเป็นส่วนหนึ่งในการรักโลกไปพร้อมๆ กัน อาหารจากเนื้อสัตว์ทำโลกร้อน เราเรียนรู้กันมาตั้งแต่เด็กจนโตว่าสัตว์บางประเภท เช่น วัว หมู ไก่ ปลา แกะ ถูกสร้างมาให้เป็นอาหารของมนุษย์ แต่เรากลับไม่รู้เลยว่าการมีอยู่และเพาะพันธุ์สัตว์เหล่านี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่จำนวนมากนั้นกำลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำร้ายโลกอยู่ เพราะการทำปศุสัตว์จำเป็นต้องใช้พื้นที่มหาศาล จนอาจส่งผลให้พื้นที่ป่าและต้นไม้ลดลง กระทบต่อการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่น้อยลงตามไปด้วย กลายเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของวิกฤตโลกร้อน นอกจากนี้ ทุกขั้นตอนของการผลิตเนื้อสัตว์ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรและปล่อยของเสียไปรบกวนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำและพลังงานปริมาณมากในการเลี้ยงสัตว์ ทำความสะอาดโรงฆ่าสัตว์ การขนส่งอาหารและเนื้อสัตว์ รวมถึงการแปรรูปอาหาร ที่เป็นปัจจัยของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น คาร์บอนฟุตพรินต์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร คาร์บอนฟุตพรินต์ หรือ รอยเท้าคาร์บอน คือปริมาณการปล่อยและการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน โดย 1 ใน 4 ของการเกิดก๊าซเรือนกระจกนั้นมาจากกระบวนการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ก็ตาม […]

Deinfluencer เทรนด์รีวิวสินค้าและโฆษณาที่จริงใจ เพื่อไม่ทำให้ใครตกเป็นทาสการตลาด

‘อินฟลูเอนเซอร์’ (Influencer) ถูกนิยามว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลในยุคที่โซเชียลมีเดียครองโลก เพราะเมื่อใดก็ตามที่บรรดาอินฟลูฯ สร้างคอนเทนต์ พูดถึงสิ่งต่างๆ หรือยกย่องสิ่งใดๆ ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโดยตรงต่อสาวกหรือผู้ติดตามอย่างแน่นอน ยิ่งกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีอิทธิพลต่อการรีวิวหรือโฆษณาสินค้าทั้งหลาย ย่อมมีส่วนทำให้การมองเห็นหรือการเข้าถึงสินค้านั้นๆ มีมากยิ่งขึ้น The Influencer Marketing Benchmark Report 2023 ได้ทำการสำรวจผู้คนทั่วโลก ทั้งจากแบรนด์สินค้าที่นิยมใช้อินฟลูเอนเซอร์มาเป็นพรีเซนเตอร์ เหล่าบริษัทเอเจนซี และหลากหลายหน่วยงานประชาสัมพันธ์ ซึ่งผลสำรวจได้ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตในมูลค่า Influencer Marketing ของสหรัฐอเมริกา จากในปี 2016 มีมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ เคลื่อนสูงถึง 16.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 และคาดว่าจะขยับเพิ่มเป็น 21.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 อันดับหนึ่งของการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์คือ ‘แฟชั่นและความงาม’ รองมาคือ ‘เกม’ ตามด้วย ‘การท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์’ อีกลำดับเป็น ‘กีฬา’ ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าปีที่แล้วถึงสามเท่า ส่วนต่อมาเป็นเรื่อง ‘ครอบครัวและบ้าน’ ต่อด้วย ‘สุขภาพ’ และ ‘อื่นๆ’ โดยโซเชียลมีเดียยอดนิยมที่มักจะพบเจอเหล่าอินฟลูเอนเซอร์คือ TikTok, […]

การเติบโตของ ‘ตลาดสินค้ามือสอง’ อาจกำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในทางอ้อม

รายงานประจำปี 2021 ของ thredUP แพลตฟอร์มตัวกลางออนไลน์สำหรับซื้อขายเสื้อผ้ามือสองคุณภาพสูง พบว่า ในระยะเวลาเพียงหนึ่งปี (2021 – 2022) ตลาดเสื้อผ้ามือสองเติบโตเพิ่มสูงขึ้นถึง 24 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะขยายตัวจนมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ (7 ล้านล้านบาท) ในปี 2025 การคาดการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในยุคปัจจุบันเริ่มหันมาสนใจการซื้อสินค้ามือสองมากขึ้น และตัวเลขเหล่านี้ยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้ อันเป็นผลมาจากการตระหนักรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าตามกระแส (Fast Fashion) และปัญหาสิ่งแวดล้อม ทว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดดของตลาดมือสองในระยะเวลาอันสั้นเช่นนี้ อาจไม่ได้ส่งผลเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอไป คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปดูอีกแง่มุมหนึ่งของตลาดสินค้ามือสองที่หลายครั้งอาจไม่ได้กรีน แต่กำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมอยู่ คนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แม้เทรนด์การซื้อสินค้ามือสอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์เครื่องใช้จะไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่หลังจากธุรกิจขายของออนไลน์เติบโตขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ฐานลูกค้าสินค้ามือสองที่แต่เดิมมีเพียงส่วนน้อย เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกลายเป็นเทรนด์มาแรงของผู้คนทั่วโลก โดยผลสำรวจจาก GlobalData 2022 พบว่า ตลาดมือสองในทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดตลาดที่เติบโตขึ้นจากการประมาณการเติบโตถึง 8 เท่าในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับตลาดสินค้าโดยทั่วไปในท้องตลาด รองลงมาคือทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย เอเชีย และยุโรปตามลำดับ […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.