
Featured
กระดูกเทียมจาก ‘3D Printing’ นวัตกรรมแพทย์ที่ช่วยผู้ป่วยให้มีชีวิตใหม่อีกครั้ง
เปิดห้องทดลองสิ่งประดิษฐ์จาก ‘3D Printing’ นำมาใช้ในวงการแพทย์ ที่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นการรักษาผู้ป่วยให้รอดชีวิตมากกว่าเคย ผ่านการคุยกับ ‘รศ.นพ.ม.ล. ชาครีย์ กิติยากร’ หัวหน้าศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (Mind Center) ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ริเริ่มนำ 3D Printing มาทดลองรักษาผู้ป่วย และอยากพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ให้เข้าถึงคนไทยได้อย่างแพร่หลาย มาดูกันว่าสิ่งประดิษฐ์จากเครื่อง 3D Printing จะมีอะไรบ้าง ต้องติดตามกัน !
ล้วงลึกสกรีนพรินต์แบบเนิร์ดๆ ที่ The Archivist
“ผลิตงานพรินต์ด้วยมือ จะสู้พรินต์คอมพิวเตอร์ได้ไหม ?”
สารตั้งต้นที่สร้างความอยากรู้อยากเห็นเวลาไปดูงานตามแกลอรี ที่มองผิวเผินอาจมีความต่างเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อมองดูอย่างถี่ถ้วนกลับพบว่ามันแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง ‘มิน-มิญชญา ชโยสัมฤทธิ์’ จากสตูดิโอ @The Archivist ผู้คลุกคลีเรื่องงานพรินต์สกรีนอย่างช่ำชองจะพาเราไปเข้าใจถึงเทคนิคซิลค์สกรีนจนเกือบเนิร์ด พร้อมทั้งเผยเสน่ห์งานพิมพ์ที่มีมากกว่าแค่ทาบบล็อก แล้วปาดสี แต่จะปลุกพลังการดูงานศิลป์ในตัวเราให้สนุกยิ่งขึ้นไปอีก !
‘แคกตัสบำบัดซึมเศร้า’ ยาแห่งความสุขที่ทำให้ ‘แมว วีรณา’ อยากตื่นมาเจอเช้าวันใหม่
ค่ำวันศุกร์หลังเลิกงาน ช่วงเวลาของสายฝนซัดกระหน่ำโปรยปรายลงมาอย่างไม่ขาดสาย คงไม่ใช่แค่เราคนเดียวที่ต้องรีบเดินฝ่าดงฝนไปขึ้นรถกลับบ้านในแถบชานเมืองเพื่อหลีกหนีจากสังคมอันแสนวุ่นวาย ระหว่างทางบนถนนวิภาวดีรังสิตอันแสนน่าเบื่อที่รถกำลังเคลื่อนตัวเป็นระยะ เรานั่งเอามือท้าวคางแล้วมองออกไปนอกกระจกรถซึ่งเต็มไปด้วยเม็ดฝนแต่ยังคงพอมองเห็นแสงสว่างสีส้มเลือนลางจากข้างทางสาดส่องเข้ามาบ้าง ณ ขณะหนึ่งเราเผลอพูดกับตัวเองออกมาเบาๆ ว่า “เหนื่อยเนอะ” เป็นเพราะเรากำลังก้าวเข้ามาในโลกของการทำงานจริง คงเหมือนที่ใครหลายคนเคยเล่าให้ฟังว่า “ภาระอันยิ่งใหญ่มักมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง” มันเป็นแบบนี้นี่เอง
เที่ยวภูเก็ตฉบับเจ้าถิ่น เมืองที่ไม่ได้มีดีแค่ทะเล
เรื่องราวประวัติศาสตร์ของภูเก็ตจากรากที่แท้จริงในมุมที่เราไม่เคยรู้มาก่อน จากปากของเจ้าถิ่นทำให้การท่องเที่ยวครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การเดินถ่ายรูปสวยๆ แล้วจบ แต่ภายใต้ภาพสวยงามของสถาปัตยกรรม และสีสันที่สดใสของตึกรามบ้านช่อง ยังคงแฝงไปด้วยเรื่องราวมากมายที่รับรองว่าเป็นมุมที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน
พี่อ้ำ-ฤทัยวรรณ กับมุมมองความเป็น ‘เป็ด’
ทำได้หลายอย่างแต่ไม่เก่งสักอย่าง เหมือนเป็ด ที่ว่ายน้ำได้ เดินได้ บินได้ แต่ก็ไปไม่สุด นิยามของเป็ด หนึ่งในสภาวะที่เป็นสาเหตุให้คนยุคใหม่กังวลกันมากขึ้น “คนที่ทำได้หลายอย่าง แต่ไม่สุดสักทาง เป็นเหมือนกับเป็ด ที่บางครั้งก็เดิน บางครั้งก็ว่ายน้ำ บินได้แต่ก็ไปไม่สุด”คำนิยามของมนุษย์เป็ดที่สร้างความกังวลให้กับมนุษย์ที่ไม่ได้เชื่อว่าเราต้องมีฝันตายตัว ไม่ได้เชื่อว่าการไปถึงยอดเขาเท่านั้นถึงเรียกว่าสำเร็จ แล้วเป็ดเหล่านี้จะโบยบินอย่างเป็นสุขได้อย่างไร ค้นหาคำตอบผ่านบทสนทนาระหว่าง Urban Creature กับ พี่อ้ำ-ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ รุ่นพี่มากประสบการณ์ หากต้องนิยามว่าพี่อ้ำทำอะไรมาบ้าง พี่อ้ำเคยอยู่ทั้งวงการการศึกษา โฆษณา โปรดักชั่น เขียนบท จนปัจจุบันเป็นคนทำสื่อ รุ่นพี่ผู้มากความสามารถคนนี้บอกว่าตัวเองก็เป็นเป็ด Insight ในตอนนี้จึงจะพาไปลงลึกบทเรียนจากเป็ดรุ่นพี่ที่อยากส่งต่อเป็ดรุ่นน้องให้คลายความกังวลและมองความเป็ดให้เป็นของขวัญ นั้นอาจหมายหนทางสู่ความสุขที่เป็ดทุกคนพึ่งมี
Veggiology แบรนด์น้ำผักผลไม้ที่เชื่อว่าธรรมชาติเยียวยาโรคภัยและอยากให้คุณรักตัวเอง
Veggiology แบรนด์น้ำผักผลไม้ที่เชื่อว่าธรรมชาติเยียวยาโรคภัยและอยากให้คุณรักตัวเอง
cheww.co ยาสีฟันเม็ดรีฟิลดูแลสุขภาพช่องปากและโลกให้สดชื่น
ทุกเมื่อเชื่อวันของเราจะต้องแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทั้งกลั้วปาก บ้วนปาก แปรงฟัน เพื่อลมหายใจสดชื่นต้อนรับวันใหม่ cheww.co แบรนด์ยาสีฟันชนิดเม็ดที่ก้าวเข้าสู่สนามแข่งผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ๆ ให้กับคนที่อยากใช้ไลฟ์สไตล์แบบรักษ์โลก โดยความตั้งใจแรกคือการลดขยะพลาสติกที่เกิดจากหลอดยาสีฟัน
“ผู้หญิงมีสิทธิ์พูดเรื่องเซ็กซ์” กับ Pomme Chan นักวาดที่เชื่อว่าเซ็กซ์ไม่ใช่เรื่องน่าอาย
“ผญมีสิทธิ์พูดเรื่องเซ็กส์” กับ พี่ปอม-ธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง หรือ Pomme Chan นักวาดภาพประกอบหญิงที่ชวนถกเรื่องเพศที่ผู้หญิง ผู้ชาย และ LGBTQ+ ถูกกดทับมาตลอดตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา ที่ทำงาน และวาทกรรมในสังคม เพราะไม่ว่าเพศไหนก็มีสิทธิ์พูดเรื่องเซ็กส์ได้เท่ากัน
Husk Décor Objects เสก ‘เปลือกข้าวสาร’ เป็นภาชนะรักษ์โลกช่วยชาวนาไทย
ช่วงใกล้สิ้นเดือนมนุษย์งานทั้งหลายคงคุ้นเคยกับสำนวนนี้ ซึ่งเปรียบเปรยถึงยามยากที่ไม่มีเงินซื้อข้าวจนต้องกินแกลบ แกลบที่ดูไร้ค่ามีประโยชน์อย่างมากก็แค่เป็นส่วนผสมในข้าวหมู เราเองก็นึกไม่ถึงว่าจะเพิ่มมูลค่าได้อย่างไร แต่เมื่อเราได้มาเจอภาชนะรูปทรงเก๋ในชื่อแบรนด์ ‘Husk Décor Objects’ ที่ดึงดูดให้เราหยิบขึ้นมาดูใกล้ๆ ก็พบว่ามันทำมาจากแกลบ !
นิทรรศการผ้าทอ จู๋ๆ จิ๋มๆ
นิทรรศการ Ping Pong Show ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างศิลปินนักวาดภาพประกอบ Pomme Chan และแบรนด์ผ้าที่เชี่ยวชาญด้านพื้นผิวอย่าง OneMoreThing ในคอนเซ็ปต์ Sex & Nation มองประเทศ ผ่านเพศศึกษา
‘หนังใหญ่’ สลักรอยไทยจารึกในภูมิปัญญา
“ก็เป็นห่วงว่าสมบัติของชาติ อันเป็นวิชาที่บรรพชนได้รังสรรค์ไว้นี้ … สืบต่อไปได้โดยสมบูรณ์”. ครูวีระ มีเหมือน ครูภูมิปัญญาไทยผู้มีใจรักศาสตร์แห่งผืนหนัง พูดถึงร่องรอยการสืบสานหนังใหญ่ที่กำลังเลือนลางลงไปทุกทีด้วย จึงเป็นที่มาของพิพิธภัณฑ์กุฎีไศเลนทร อ.สามโก้ จ.อ่างทอง สถานที่ส่งต่อเรื่องราว ‘หนังใหญ่’ ศิลปะวัฒนธรรมคู่คนไทยตั้งแต่อดีตกาล. เราจึงหยิบเรื่องราวคุณค่าและมุมมองที่จะตอบคำถามว่าสิ่งเหล่านี้ควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างไร ผ่าน ‘หนังใหญ่’สลักรอยไทยจารึกในภูมิปัญญา
6 ตุลา ทำไมต้อง ‘แขวน’
6 ตุลาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ถูกบันทึกลงในประวัติศาสตร์ว่า เป็นวันจัดนิทรรศการ ‘แขวน’ 6 ตุลา On Site Museum ที่รวมเอาหลักฐาน ข้อเท็จจริง พื้นที่ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นประจักษ์พยานของเหตุการณ์เมื่อ 44 ปีที่แล้วว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง.เพื่อทำความเข้าใจ และไม่ปล่อยให้เรื่องราววันที่ 6 ตุลาถูกซ่อนไว้ เราจึงไปชมนิทรรศการ ‘แขวน’ ซึ่งจัดแสดงที่โถงหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่วันที่ 1-11 ตุลาคม 2563