จากเต้าหู้ยี้อายุ 70 ปี สู่ Have a nice bean แบรนด์น้ำเต้าหู้เจียงใหม่ที่อยากให้คนกิน Have a nice day

เช้านี้เชียงใหม่อากาศเย็นกำลังดี เรามาถึง The Goodcery ร้านขายของชำย่านช้างม่อยตั้งแต่ประตูเปิด ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าร้านขายของชำขนาดสองคูหาแห่งนี้จะกลายเป็น Safe Space ที่เราปวารณาตนว่าจะมาทุกครั้งถ้าได้มาเชียงใหม่ อาจเพราะที่นี่ไม่ได้มีดีแค่ขายวัตถุดิบและของกินคัดสรรจากทั่วไทย แต่ยังมีร้านกาแฟ ร้านขนมปัง ร้านอาหารฟิวชัน ทุกสิ่งที่เราต้องการภายในที่เดียว แต่เช้านี้ สิ่งแรกที่เข้าปากเราไม่ได้อยู่ในลิสต์นั้น แต่เป็นน้ำเต้าหู้ของ Have a nice bean ที่วางเด่นหราอยู่ในตู้แช่ของร้าน ปกติเราไม่ค่อยกินน้ำเต้าหู้ ยิ่งเต้าหู้ก้อนหรือเต้าหู้ยี้นี่ไม่ต้องพูดถึง แต่ความเข้มข้นของน้ำเต้าหู้แบรนด์นี้ทำให้เราลองเปิดใจ Have a nice tofu Have a nice bean คือแบรนด์น้ำเต้าหู้สุดเข้มข้นจากเชียงใหม่ ฝีมือ ‘ฝน-รวิพร พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ทายาทรุ่นสามของธุรกิจเต้าหู้ยี้ห่อใบไผ่ตราลูกโลกที่มีอายุกว่า 70 ปี ย้อนไปราว 70 ปีก่อน อากงของฝนอพยพจากเมืองจีนแบบเสื่อผืนหมอนใบมาอยู่ย่านหัวลำโพง หาบเร่ขายอาหารแถวเยาวราชอยู่พักใหญ่ก่อนจะเปิดธุรกิจของดองบรรจุกระป๋องของตัวเอง อากงขายทั้งซีเซ็กฉ่าย ตั้งฉ่าย ขิงดอง และจับพลัดจับผลูมาทำเต้าหู้ยี้ ‘ทวีผล พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ผู้เป็นทั้งป๊าของฝนและเป็นลูกชายคนที่ 3 ของอากงเล่าให้ฟังว่า กว่าสินค้าจะติดตลาดก็ลำบากใช่เล่น […]

The Hope of Us สวมบทเป็นผู้รอดชีวิตใน The Last of Us และช่วยให้ผู้คนพ้นวิกฤตเชื้อรากลายพันธุ์

“มนุษย์นั้นทำสงครามกับเชื้อไวรัสมาทุกยุคสมัย แม้จะมีผู้คนที่ต้องสูญเสียชีวิตมากมาย แต่มนุษย์ก็ยังเป็นฝ่ายชนะอยู่เสมอ”  แต่ในปี 2003 คือจุดเริ่มต้นความพ่ายแพ้ของมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง เพราะเชื้อราคอร์ไดเซป (Cordyceps) ได้ปนเปื้อนไปกับพืชผลทางการเกษตรที่ถูกส่งออกไปทั่วโลก เมื่อผู้คนบริโภคเข้าไปเชื้อราก็จะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย มนุษย์ที่ติดเชื้อจะเสียการควบคุมและมีพฤติกรรมดุร้าย วิ่งเข้าโจมตีกัดกินคนอื่นๆ เพื่อหวังแพร่เชื้ออย่างไม่เลือกหน้า จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มจากร้อยคนเป็นอีกหลายล้านล้านคนทั่วโลกในเวลาไม่นาน เกิดเป็นโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก บ้านเมืองพังพินาศ มีเหตุการณ์นองเลือด มีเหตุจลาจล มีอุบัติเหตุที่ยากจะควบคุม รวมถึงการแย่งชิงอำนาจ ฯลฯ สงครามระหว่างเชื้อรากับมนุษย์ได้ทำให้ทุกอย่างบนโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันหวนคืน บางอย่างดับสูญ บางคนก็สูญเสียคนรักและครอบครัว ทุกคนต่างดิ้นรนเอาชีวิตรอดท่ามกลางความโกลาหล กว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ก็ผ่านเวลาไป 20 ปี  คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้เราจึงขอสวมบทบาทเป็นผู้รอดชีวิตในปี 2023 ที่อาศัยอยู่ใน Boston Quarantine Zone หรือพื้นที่กักกันผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อจากโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่มวลมนุษยชาติในโลกต้องพบเจอในเกมยอดนิยมที่ถูกนำมาสร้างเป็นซีรีส์อย่าง ‘The Last of Us’ ในเวลาที่ทุกฝ่ายกำลังหาทางออกของวิกฤตการณ์สำคัญครั้งนี้ เราในฐานะผู้รอดชีวิต จึงมองเห็นว่าความเป็นอยู่ที่ดีจะช่วยให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปได้ จึงทำการเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ดังนี้ สร้างระบบคัดกรองที่เป็นมิตรกับทุกคน ‘Boston Quarantine Zone’ หรือ ‘Boston QZ’ […]

สิ่งพิมพ์กับการอ่าน ความสร้างสรรค์ที่ทำให้เมืองมีชีวิต กับ PUBAT | Unlock the City EP.18

หนึ่งในตัวชี้วัดความน่าอยู่ของเมืองที่นิตยสารระดับโลก Monocle เคยนำมาใช้คือ ‘จำนวนร้านหนังสืออิสระในเมือง’ เนื่องจากตัวเลขเหล่านี้เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมการอ่าน การเขียน และการพิมพ์ของชาติ  ยิ่งเมืองไหนเป็นเมืองหนังสือ มีนโยบายที่โอบอุ้มและซัปพอร์ตนักเขียน คนทำหนังสือ และนักอ่าน เมืองนั้นยิ่งมีเสน่ห์และอบอวลไปด้วยกลิ่นอายความคิดสร้างสรรค์ แถมวัฒนธรรมเหล่านี้ยังล้วนส่งผลดีทางอ้อมให้อุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างการท่องเที่ยว การศึกษา เศรษฐกิจ เป็นต้น  คำถามที่สำคัญคือ แล้วเมืองไทยอยู่ตรงไหนของพื้นที่สร้างสรรค์ส่วนนี้ ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง กับ ‘อนรรฆ พิทักษ์ธานิน’ กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ชวนกันมาสนทนาถึงความเชื่อมโยงของการอ่านและการพัฒนาเมือง ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/pDGfAHAY8d8 Spotify : http://bit.ly/3GNWIu8 Apple Podcasts : https://bit.ly/3WjvUHZ Podbean : https://bit.ly/3iKpPqb #UrbanCreature #UrbanCreaturePodcast #UnlocktheCity

‘สถานีกลางบางซื่อ’ จากชุมทางสู่จุดเชื่อมขนส่งมวลชนที่มีชื่อใหม่ ‘กรุงเทพอภิวัฒน์’

ผู้เขียนจำได้ว่าสมัยเดินทางไปมาเลเซียครั้งแรกช่วงปี 2559 รู้สึกประทับใจกับความเป็นระบบระเบียบของระบบขนส่งมวลชนในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ระบบขนส่งมวลชนที่ว่าคือรถไฟฟ้าบนดินที่แผนผังและกระบวนการซื้อตั๋วนั้นเข้าใจง่าย และยิ่งประทับใจมากขึ้นเมื่อเดินทางไปต่อรถที่ KL Sentral หรือศูนย์กลางของระบบทั้งหลายทั้งปวง ใครจะเปลี่ยนสายรถไฟ ต่อรถไปสนามบิน หรือหารถบัสไปรัฐอื่นต้องมาลงที่นี่ บรรยากาศภายใน KL Sentral จึงไม่เคยว่างเว้นจากผู้คนที่เดินขวักไขว่กันไปมาราวกับมดงาน ภายในมีร้านอาหาร ร้านค้าให้ช้อปปิงรอเวลาพอประมาณ รวมถึงใครจะนัดเจอเพื่อนหรือนัดรับญาติที่มาจากต่างเมืองก็มากันที่นี่ หลังจากทริปนั้นผู้เขียนมีโอกาสได้กลับไปมาเลเซียอีก 2 ครั้งในช่วง 2 ปี และทุกครั้งก็ต้องมาเยือน KL Sentral เพื่อต่อรถรา  ที่เล่าเรื่องของ KL Sentral เพราะในตอนนี้กรุงเทพฯ ก็มีสถานที่แบบนั้นแล้วในชื่อของ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ หรือ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ สถานีรถไฟหลักของกรุงเทพฯ ที่เพิ่งเปิดใช้งานเมื่อปี 2564 แทนสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่กำลังถูกลดบทบาทลงเรื่อยๆ พร้อมกันนั้นยังพ่วงเป็นจุดเปลี่ยนสายของรถไฟฟ้าไปด้วย ด้วยตำแหน่งที่ตั้งที่ค่อนไปทางทิศเหนือของกรุงเทพฯ สถานีกลางบางซื่อเป็นประตูเปิดขึ้นไปยังจังหวัดปทุมธานี เส้นทางที่เปิดใช้งานแล้ว ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มที่มุ่งตรงไปยังหลักสี่ ดอนเมือง และแถวรังสิต ซึ่งในอนาคตทางการมีแผนจะขยายต่อไปให้ถึงอยุธยา  ส่วนทิศอื่นๆ เช่น ตะวันออก บางซื่อก็ขยายต่อไปถึงฉะเชิงเทราได้ ในขณะที่ตะวันตกไปต่อได้ถึงนนทบุรีและนครปฐม เรียกได้ว่าด้วยตำแหน่งที่ตั้งของสถานีกลางบางซื่อ […]

เมืองเสียงดัง เราเสียงดัง กรุงเทพฯ ติดอันดับ 9 เมืองเสียงดังที่สุดในโลก

แดดยามสายฉายเข้ามาผ่านหน้าต่างห้องทำงาน กาแฟคั่วอ่อนเพิ่งดริปจบมาหมาดๆ ไออุ่นและกรุ่นคาเฟอีนช่วยออกแรงผลักให้สมองเริ่มประมวลผล แต่แล้วรถบรรทุกขนาดใหญ่ก็ถอยหลังเครื่องกระหึ่มเข้ามาอย่างช้าๆ พร้อมกับเสียงสัญญาณแหลมกวนประสาท ต่อด้วยเสียงเพื่อนพนักงานที่ตะโกนคุยกันระหว่างบุหรี่หลังมื้อเช้า อีกสักพักเสียงเคลื่อนย้ายสิ่งของก็ดังขึ้นต่อเนื่องนานกว่าชั่วโมง ความเงียบสงบเมื่อครู่พาสมาธิเตลิดไปไกลกว่าจะเรียกคืนมาได้ก็เสียเวลาอยู่หลายนาที  เหตุการณ์เช่นนี้เป็นปัญหามลภาวะทางเสียงรูปแบบหนึ่งในอีกหลายพันปัญหามลภาวะทางเสียงที่เราหลายคนต่างพบเจอ เมื่อต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันกับผู้คนในสังคม ปัจจุบันเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ มีประชากรมากเกือบถึงหกล้านคน พูดได้ว่านอกจากเสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติแล้ว เราต่างเป็นแหล่งกำเนิดเสียงภายในเมืองเช่นเดียวกัน ด้วยปัญหามลภาวะทางเสียงส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึก และปัญหาของเสียงที่ดังขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติเรื่อยไปเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองในระยะยาว ในวันที่เมืองยังมีเสียง คอลัมน์ City by Numbers ขอพาทุกคนไปสำรวจดูว่า ย่านไหนในกรุงเทพมหานครที่มีเสียงดังที่สุด ไปฟังกันว่าเสียงที่ได้ยินอยู่นั้นยังคงเป็นเสียงที่ดังปกติหรือเปล่า พื้นที่สาธารณะเสียงดังได้แค่ไหน ข้อมูลระดับเสียงที่อนุญาตจากองค์การอนามัยโลก (WHO) คือ 55 เดซิเบล (dB) สำหรับพื้นที่พักอาศัยกลางแจ้ง และ 70 dB สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์และที่ที่มีการจราจรติดขัด  หูของมนุษย์นั้นสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่ 0 dB ขึ้นไป เพื่อให้นึกระดับความดังของเสียงออกมากยิ่งขึ้น เราขอลองยกตัวอย่างเปรียบเทียบดังนี้  – ระดับเบามาก 0 – 20 dB เช่น เสียงกระซิบ เสียงลมหายใจ หรือเสียงในป่า– ระดับเบา […]

เป้าหมายปีใหม่นี้คือ ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ เพื่อปลอบประโลมหัวใจอย่างแท้จริง

หลายคนที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะใครที่ย้ายจากบ้านในต่างจังหวัดมาปักหลักใช้ชีวิตและฝากความหวังความเจริญไว้กับเมืองใหญ่นี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทุ่มสุดตัวเสมอมาคือ ‘หน้าที่การงาน’ เพราะนั่นหมายถึงความก้าวหน้าในอาชีพของตัวเอง การมีเงินมากพอที่จะอยู่อย่างสบายและไม่ทำให้ครอบครัวต้องลำบาก และการมีตัวตนอย่างภาคภูมิใจในสังคมที่คนจะล้นเมืองแห่งนี้  ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คงเป็นสโลแกนที่ใครๆ ได้ยินบ่อยมากเมื่อปีที่ผ่านมา ปีนี้เราเลยอยากชวนให้ลองมาปรับสมดุลชีวิตเป็น ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ จะได้ไหม เพราะเราเชื่อว่ายิ่งวันเวลาผ่านไป สังคมที่มีแต่การแข่งขันขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้เราหลงลืมไปเลยว่าการพักผ่อนนั้นไม่ใช่แค่สิ่งสำคัญ แต่เป็น ‘ที่สุดของความจำเป็น‘ เราเลยอยากชวนทุกคนมาลองสร้างความตั้งใจใหม่จากที่ผ่านมา หลายคนอาจทุ่มให้งานจนหมดตัวแล้ว ปีนี้ลองมาเผื่อพื้นที่อบอุ่นๆ ให้การพักผ่อนเพื่อหัวใจที่ชุ่มชื่นขึ้นบ้างดีกว่า โทรศัพท์ยังชาร์จทุกวันเลย ทำไมไม่ยอมชาร์จแบตฯ ร่างกาย ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนเราหรือเปล่า วันไหนที่รู้สึกตัวเองนิสัยไม่ดี หงุดหงิดอะไรไปทั่ว จะมานึกขึ้นได้ทีหลังว่าวันนั้นนอนน้อย พอๆ กับคนรักสุขภาพทั้งหลายที่เห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าวันนั้นต้องเลือกระหว่างการ ‘นอนให้พอ’ หรือ ‘ไปออกกำลังกาย’ ขอเลือกการนอนมาก่อนเสมอ เพราะร่างกายเราจะแข็งแรงหรือสุขภาพจิตจะดีขึ้นไม่ได้เลย ถ้ารากฐานของเรานั้นสั่นคลอน เมื่อไหร่ที่เหลือบมองโทรศัพท์มือถือแล้วเห็นแบตฯ เหลืออยู่รอมร่อ เราจะรีบหาที่ชาร์จอย่างไม่มีรีรอ ในขณะเดียวกัน หากความเหนื่อยล้าที่สั่งสมมานานในวันนั้นหรือตลอดสัปดาห์นั้น ทำให้พลังการใช้ชีวิตของเราเหือดแห้งเต็มที สิ่งที่จะดูสมเหตุสมผลที่สุดคือการชาร์จพลังของเราให้ไปต่อได้นั่นเอง ไม่ใช่ทู่ซี้ทำสิ่งที่ทำอยู่ต่อไปอย่างไม่ยอมฟังเสียงร่างกาย การพักผ่อนเพื่อดูแลตัวเองให้ดี คือการว่ายทวนกระแสสังคมทุนนิยมที่บ้าคลั่ง […]

Urban Eyes 19/50 เขตทุ่งครุ

ทุ่งครุเป็นเขตหนึ่งที่เราไม่ค่อยได้ไปนานมากแล้ว เขตนี้เป็นเขตที่อยู่สุดขอบกรุงเทพฯ ติดกับย่านพระประแดง สมุทรปราการ โดยมีถนนประชาอุทิศตัดผ่านจากตอนบนลงล่าง และมีถนนกาญจนาภิเษกตัดผ่านทางด้านล่างอีกที หากอยากเข้าตัวเมืองไวๆ แค่ขับรถไปไม่ไกลก็เจอกับทางด่วนแล้ว แต่หากอยากเดินทางถ่ายรูปในเขตนี้ คงต้องพึ่งขนส่งสาธารณะแถวนี้อย่างรถสองแถว รถกระป๊อ และรถเมล์ที่ผ่านไปผ่านมาสักหน่อย หากให้ลิสต์แลนด์มาร์กเขตนี้ เราขอเลือกที่แรกเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) ที่อยู่ทางตอนบนของเขต เพราะแน่นอนว่าถ้ามีมหาวิทยาลัยที่ไหน แถวนั้นย่อมต้องมีร้านอาหารอร่อยๆ เปิดเพียบแน่นอน ที่ ม.บางมดก็เช่นเดียวกัน จากที่ลองเดินรอบๆ มหา’ลัย เราว่ายังไงก็ไม่อดตายแน่ๆ ของกินเพียบ สถานที่ข้างในก็ดูเรียบร้อย แสง-เงาสวย วันไหนมีงานรับปริญญาน่าจะถ่ายรูปสนุกนะ ต่อมาคือสวนธนบุรีรมย์ สวนนี้ค่อนข้างใหญ่ บรรยากาศดี ร่มรื่น น่าพักผ่อนมากๆ มีโซนสนามเด็กเล่นและที่ยกน้ำหนักออกกำลังกาย ส่วนเลนวิ่งนี่ใครมาแรกๆ อาจต้องคลำทางดูหน่อย เพราะต้องเดินเข้าไปในสวนก่อนแล้วเลี้ยวไปเลี้ยวมาสักหน่อยถึงจะเจอกับทางวิ่งวนรอบสวน เราเองยังเกือบหาทางออกจากสวนไม่เจอ วัดหลวงพ่อโอภาสีก็เป็นสถานที่ที่น่าสนใจเหมือนกัน สีของกำแพงวัดสดใส มีรูปปั้นเยอะ น่าแวะไปเยี่ยมชม นอกจากนี้ ศูนย์กีฬาบางมดที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยบางมดก็มีพื้นที่กว้างขวาง ลู่วิ่งเหมาะแก่การออกกำลังกาย แถมข้างในยังมีพิพิธภัณฑ์เด็กที่ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์จะมีคนแน่นแทบตลอดเวลา ปิดท้ายที่ถนนประชาอุทิศซึ่งตัดผ่านจากด้านบนของตัวเขตลงมาถึงด้านล่าง ตลอดข้างทางมีชุมชน ตลาด และวิวสนุกๆ ให้ถ่ายอยู่เรื่อยๆ น่าจะถูกใจคนที่ชอบถ่ายรูปเมือง ทุ่งครุเป็นเขตหนึ่งที่เราไม่ค่อยได้ไปนานมากแล้ว เขตนี้เป็นเขตที่อยู่สุดขอบกรุงเทพฯ ติดกับย่านพระประแดง […]

เปิดช่องโทรทัศน์ไทย รายการเด็กหายไปไหนหมด

เมื่อนึกถึงวันวานเก่าๆ บรรยากาศชวนให้นึกถึงช่วงเวลาตอนเด็กที่คุณแม่ถักเปียให้ในตอนเช้าระหว่างที่เรากำลังนั่งดูรายการเจ้าขุนทองก่อนไปโรงเรียน ส่วนตอนเย็นหลังเลิกเรียน เมื่อกลับบ้านมาเปิดโทรทัศน์ก็จะมีรายการเด็กสลับสับเปลี่ยนให้ดูทุกวัน หรือแม้แต่วันเสาร์อาทิตย์ที่ยอมตื่นมาดูรายการสนุกๆ แต่เช้า  พอนึกย้อนกลับไปแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เด็กยุคนี้จะเคยดูรายการต่างๆ ในโทรทัศน์เหมือนที่เราเคยดูในวัยเด็กบ้างไหมนะ แต่เมื่อลองเปิดโทรทัศน์และเปลี่ยนช่องไปเรื่อยๆ กลับพบว่า รายการเด็กที่เคยมีอยู่เกือบทุกช่องหายไปแทบจะหมดแล้ว ไม่ใช่แค่รายการเก่าๆ เท่านั้นที่หายไป แต่รายการใหม่ก็แทบจะไม่มีให้เห็นเลย  คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กมีน้อยลงเรื่อยๆ และในอนาคตรายการประเภทนี้ยังจำเป็นสำหรับประเทศไทยหรือไม่ เนื้อหารายการเด็กที่ไม่เหมือนเดิม หากพูดถึงรายการสำหรับเด็ก หลายคนอาจมองว่าช่องโทรทัศน์ของไทยมีการ์ตูนให้ดูเยอะอยู่แล้ว ทว่ารายการเด็กที่เรากำลังพูดถึงไม่ใช่แค่สื่อเพื่อความสนุกหรือความบันเทิงเท่านั้น แต่หมายถึงรายการที่แฝงไปด้วยความรู้รอบตัวมากมายที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ให้แก่เด็ก  ตัดภาพมาที่รายการเด็กในตอนนี้ ถ้าไม่นับช่องการ์ตูนจากต่างประเทศ รายการอื่นๆ มักเน้นไปที่การแข่งขันโดยมีเด็กเป็นตัวหลักของรายการ เช่น การแข่งขันชิงรางวัลด้วยการร้องเพลงหรือเล่นเกม กลายเป็นว่ากลุ่มคนที่ดูรายการเหล่านี้กลับไม่ใช่เด็ก แต่เป็นผู้ใหญ่ที่อยากติดตามความน่ารักของเด็กๆ ที่ร่วมรายการแทน รายการเด็กทำกำไรได้ไม่ดี ในปี 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีข้อกำหนดว่า ช่องโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องมีรายการสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเหมาะสมและไม่เป็นภัยต่อการพัฒนาทั้งสติปัญญา อารมณ์ และสังคมของเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 60 นาที ในช่วง 16.00 – 18.00 น. ของทุกวัน และ […]

เสน่ห์ของจังหวัดชัยภูมิ และปัญหาดาร์กๆ ที่คนนอกพื้นที่ไม่ค่อยรู้ กับหมออุ๋ย | คนย่านเดียวกัน EP.6

‘อุ๋ย-ชุมพร ปานเปีย’ คือคุณหมอผู้ที่เติบโตและทำงานอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดที่ใครหลายคนอาจนึกภาพบรรยากาศ ผู้คน และสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่ไม่ออก เนื่องจากเป็นเมืองรองและไม่ได้มีความโดดเด่นในแง่สถานที่ท่องเที่ยวมากนัก ในฐานะคนทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้านในพื้นที่ อุ๋ยจะพาไปสำรวจว่าจังหวัดนี้มีเสน่ห์อย่างไร รวมถึงมุมดาร์กๆ อย่างปัญหาการทำแท้งเถื่อน ที่เปลี่ยนมุมมองความคิดของหมออุ๋ยไปอย่างสิ้นเชิง ติดตามฟัง ‘คนย่านเดียวกัน’ ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/o5gsN70HjDA Spotify : http://bit.ly/3QFrXfG Apple Podcasts : http://bit.ly/3WcHS62 Podbean : http://bit.ly/3GF57zT

ร้านจัดดอกไม้ที่เปลี่ยนขยะให้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน | Urban เจอนี่

“เราเห็นแต่ความสวยงามของดอกไม้ แต่ถ้าเรามองลงไปในรายละเอียดลึกๆ แล้ว มันก็สร้างมลพิษที่เราไม่ได้คิดถึงเหมือนกัน” หลายคนอาจไม่รู้ว่า ‘อุตสาหกรรมจัดดอกไม้ขาย’ คือหนึ่งในวงการที่สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ตั้งแต่การปลูกในปริมาณมากเพื่อรองรับความต้องการในโอกาสวันสำคัญ ซึ่งมาพร้อมกับการใช้ยาฆ่าแมลง การขนส่งเพื่อการส่งออกและนำเข้าดอกไม้ ที่ต้องใช้พลังงานและก่อมลพิษจำนวนมหาศาล นี่ยังไม่รวมถึงการใช้วัสดุประเภทพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในการจัดดอกไม้แต่ละครั้ง เช่น โฟมและสารเคมีที่เป็นพิษ ปลายทางของช่อดอกไม้จึงกลายเป็นของที่กองกันเป็นภูเขาขยะ และปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมาก Urban เจอนี่ ครั้งนี้อยากชวนทุกคนไปทำความรู้จัก Flower in Hand by P. ร้านจัดดอกไม้ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยการอัปไซเคิลขยะดอกไม้ให้เป็นสินค้าหลากหลาย ทั้งช่อดอกไม้แห้ง กรอบรูป และการ์ด ด้วยความหวังว่ากระบวนการนี้จะช่วยลดขยะและทำให้ดอกไม้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน

Introvert’s City ถ้าเมืองนี้เป็นเมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต

จะดีแค่ไหนถ้าเมืองของเราออกแบบให้เข้ากับมนุษย์ ‘Introvert’ มากขึ้น เพื่อให้การท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ไม่สูบพลังชีวิต ต้องกลับมานอนติดห้องไปอีกหลายวัน จนหลายคนรู้สึกว่า เรานี่ช่างไม่เหมาะกับการออกไปข้างนอกซะเลย ทั้งที่ความจริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้การออกจากบ้านของประชากร Introvert สูญเสียพลังงานมากกว่าชาว Extrovert นั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเมืองของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้คำนึงถึงคนกลุ่มนี้เท่าไหร่นัก ทั้งที่ผลสำรวจของ The Myers-Briggs Company พบว่ามีผู้คนทั่วโลกมากถึง 56.8 เปอร์เซ็นต์เป็น Introvert ด้วยซ้ำ เพื่อให้การใช้ชีวิตในเมืองเป็นของทุกคน คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบ ‘เมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต’ ในรูปแบบของตัวเอง ที่ทำให้การออกจากบ้านของผู้คนกลุ่มนี้ไม่เป็นเรื่องยากจนเกินไป โดยเน้นที่การออกแบบพื้นที่ให้คำนึงถึงชาว Introvert มากขึ้น 01 | Private Zone in Public Space โดยปกติแล้ว พื้นที่สาธารณะหลายแห่งมักสร้างขึ้นเพื่อนำพาให้ผู้คนในสังคมออกมามีปฏิสัมพันธ์กัน แต่ถ้าหากเราอยากใช้พื้นที่สาธารณะไปพร้อมๆ กับความเป็นส่วนตัวและไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นมากจนเกินไปล่ะ สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องยากไม่น้อยเลยทีเดียว เราจึงขอหยิบเอาแนวคิด ‘Private Zone in Public Space’ ที่เป็นเหมือนหลุมหลบภัยเล็กๆ ในพื้นที่ใหญ่ๆ มาตอบโจทย์ชาว Introvert […]

ส่องปรากฏการณ์บุลลี่ในสังคมเกาหลีผ่าน The Glory ที่คว้ารางวัลซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

ประเทศเกาหลีใต้มีคำสามัญที่ใช้เรียกความรุนแรงในโรงเรียนว่า ‘학교폭력’ (ฮักกโยพงนย็อก) และมีคำศัพท์เฉพาะอย่างคำว่า ‘왕따’ (วังต้า) ที่ไม่มีคำแทนความหมายแบบแน่นอนในภาษาอังกฤษ แต่แปลความได้ราวๆ ว่า ‘เหยื่อที่ถูกบุลลี่’ โดยคำขั้วตรงข้ามของวังต้าคือ ‘일진’ (อิลจิน) หมายถึง ‘คนที่ชอบรังแกคนอื่นๆ และทำผิดกฎเป็นประจำ’ แค่ชุดคำไม่กี่คำ น่าจะพอทำให้เราเห็นกันแล้วว่า ศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยเฉพาะเหล่านี้ คือหลักฐานและชื่อเรียกของสิ่งที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในสังคมเกาหลีใต้ นี่คือความรุนแรงที่เกิดจริง ทั้งในกรณีที่มีคนออกมาพูดถึงปัญหาที่ตัวเองเผชิญ หรือเรียกร้องความเป็นธรรมจากสิ่งที่เกิดขึ้น และในกรณีที่มันถูกเก็บงำไว้กับผู้ที่ถูกกระทำตลอดไป และใช่ นั่นหมายถึงความเจ็บปวดรวดร้าวที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ และวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว The Glory เป็นซีรีส์เรื่องล่าสุดของนักแสดงสาวชื่อดัง ‘ซงฮเย-กโย’ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในผลพวงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมเกาหลี และไม่ใช่แค่ซีรีส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนัง นวนิยาย และเรื่องราวใน WEBTOON ที่เป็นผลผลิตสะท้อนแง่มุมของสังคมที่ผู้คนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เลวร้ายรูปแบบนี้ หลังจากปล่อยซีรีส์พาร์ต 1 ออกมาไม่นาน The Glory ก็กวาดอันดับ 1 ในด้านยอดการรับชมบนแพลตฟอร์ม Netflix ได้ถึง10 ประเทศ ตั้งแต่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย […]

1 32 33 34 35 36 81

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.