Mappa บ้านของนักออกแบบการเรียนรู้ที่อยากให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกันดีไซน์สังคมที่ดีกว่าเดิม

ในฐานะคนที่เรียนหนังสือแบบท่องจำมาตลอด การได้ฟัง ‘มิรา เวฬุภาค’ ผู้ก่อตั้ง Mappa และทีมเล่าเรื่องราวการเรียนรู้แบบใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยนั้นช่างน่าฉงนสงสัย ในขณะเดียวกันก็น่าตื่นเต้นเหลือเกิน เราเคยได้ยินเรื่องโรงเรียนทางเลือก โฮมสคูล และแอปฯ ส่งเสริมการเรียนรู้มาบ้าง ทั้งยังเคยฟังเด็กๆ โอดครวญด้วยความห่อเหี่ยวใจเรื่องระบบการศึกษาบ้านเราหลายหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ Pain Point และแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เกิด Mappa ในวันนี้ หลายคนรู้จักพวกเขาในฐานะสื่อออนไลน์ที่ผลิตคอนเทนต์สนุกๆ บนพื้นฐานความเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และสร้างได้จากทุกสิ่ง แต่แท้จริงแล้ว Mappa ไม่ใช่แค่สื่อ พวกเขาคือแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาที่อยากผลักดันให้การเรียนรู้ของเด็กไทยไปไกลกว่ากรอบเดิมๆ ผ่านเครื่องมืออันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ บอร์ดเกม สื่อการเรียนรู้ ไปจนถึงคอร์สอบรมมนุษย์ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณครู หรือคนที่มีพื้นที่เรียนรู้ ไม่ได้เรียนแค่เรื่องวิชาการจ๋า แต่อยากให้เด็กๆ ได้มีสกิลซึ่งโรงเรียนอาจจะลืมสอนไป เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สุนทรียภาพ กระบวนการคิด ฯลฯ มากกว่านั้น ผู้ก่อตั้งอย่างมิรายังอยากปลุกปั้น ‘Learning Designer’ หรือ ‘นักออกแบบการเรียนรู้’ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยยกระดับการศึกษาในอนาคตให้เด็กเจเนอเรชันต่อไปได้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายกว่าเก่า เช้านี้ที่น่าฉงนสงสัยและน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษ ทีม […]

Urban Eyes 39/50 เขตบางบอน

ตัวเราอยู่ใกล้ๆ กับเขตบางบอน แต่ไม่เคยรู้เลยว่าพื้นที่เขตนี้ใหญ่ขนาดไหน พอได้มาดูแผนที่ก็พบว่าเขตนี้กินพื้นที่ค่อนข้างยาว มีถนนเอกชัยตัดผ่านกลาง และถนนกาญจนาภิเษกเฉี่ยวมาหน่อย ปกติเราเข้าออกถนนเอกชัยในช่วงสั้นๆ แต่คราวนี้มาลงพื้นที่ถ่ายรูปที่บางบอน เลยได้มีโอกาสสำรวจถนนเอกชัย ถือว่าเป็นถนนที่ดี เดินทางปลอดภัย ไม่ค่อยมีสิ่งก่อสร้าง มีสะพานลอยและฟุตพาทที่คนเดินได้ รวมถึงตลาดนัดขนาดเล็ก-ใหญ่อยู่เป็นช่วงๆ และสวนสาธารณะที่ใหญ่มากๆ แต่จากข้อมูลที่ได้มาเหมือนตัวสวนยังไม่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเสียที ว่าแต่เราไปที่ไหนมาบ้าง ลองไปดูกัน วัดบางบอน ━ เนื่องจากวัดนี้มีโรงเรียนอยู่ติดกัน ช่วงเลิกเรียนก็จะมีผู้ปกครองมารอรับเด็กๆ ทำให้มีคนเยอะ ค่อนข้างวุ่นวาย แต่ด้วยสถานที่ที่มีพื้นที่จอดรถเป็นลานใหญ่ ทำให้จอดรถได้สบาย ไม่แออัด แถมโบสถ์ก็สวยงาม น่าไปแวะเวียนเยี่ยมชม 101 market ━ ที่นี่เหมือนศูนย์อาหารมากกว่าตลาด เพราะส่วนใหญ่มีแต่ร้านอาหาร ภายใต้โครงสร้างหลังคาใหญ่ แสงช่วงบ่ายจะเข้าหลังร้านอาหาร ส่วนจุดที่เราชอบมากๆ คือตามร้านอาหารจะมีผ้าใบสีสดๆ มาช่วยบังแดด ทำให้ด้านหลังของบูทร้านอาหารเกิดเป็นช่องสี ถ้าโชคดีน่าจะได้ภาพแนว Silhouette สวยๆ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ บางบอน (สวน 9 เนิน) ━ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เพิ่งสร้างได้ไม่นานเท่าไหร่ ยังไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่ แต่เท่าที่สัมผัสดูก็มีพื้นที่ร่มเงาอยู่บ้าง คนส่วนใหญ่จะมาช่วงเย็นเพื่อมาเดินเล่น วิ่งออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน […]

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

ธงไพรด์หรือธงรุ้งสำคัญไฉน | Now You Know

Now You Know เอพิโสดนี้ ขอเล่าเบื้องหลังของ ‘ธงสีรุ้ง’ (Rainbow Flag) ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาว LGBTQIAN+ ยุคนั้นประเด็นเกี่ยวกับเพศเป็นเรื่องที่ซีเรียสขนาดไหน และทำไมเราจึงไม่ควรนำสีรุ้งมาทำการตลาดโดยปราศจากความเข้าใจที่แท้จริง

FYI

#แพทย์ลาออก เสียงสะท้อนจากเหล่าบุคลากรทางการแพทย์

จากกระแส #แพทย์ลาออก ที่กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายต่อหลายคน ทั้งคนที่กำลังเรียนอยู่ กำลังอยู่ในช่วงทำงานใช้ทุน หรือกระทั่งทำงานมานานแล้ว ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นคนทำงานเหมือนๆ กับทุกอาชีพ ที่ต้องการระบบการทำงานที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นพิษ Work-life Balance ที่เหมาะสม และคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน ด้วยวาระนี้เอง Urban Creature จึงติดต่อไปหา 5 บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นที่ให้พวกเขาส่งเสียงสะท้อนถึงระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ทั้งยังทำให้คนทำงานหมดแรงหมดใจไปเรื่อยๆ อ. อายุ 24 ปีแพทย์จบใหม่ที่พยายามอยู่ในระบบให้ได้ เราเป็นแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในระบบราชการได้ราวๆ 1 เดือน เหตุผลที่ตัดสินใจยังอยู่ในระบบเพราะการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาที่เราสนใจ เราโชคดีที่จับฉลากได้อยู่จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งต้องแก่งแย่งกับเพื่อนๆ จากโควตาภาคกลางอันน้อยนิด บางคนโชคร้ายต้องไปอยู่ไกลบ้านมากๆ บางคนต้องไปอยู่จังหวัดที่พูดชื่อขึ้นมาก็ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ประเทศไทยด้วยซ้ำ การทำงานในทุกๆ วันมีความเครียดและกดดัน ทั้งคนไข้ปริมาณมหาศาลที่ต้องตรวจให้หมดในเวลาอันจำกัด การต้องอดนอน ทำงานติดต่อกันหลายวัน รวมถึงความเครียดจากสตาฟฟ์เวลาปรึกษาปัญหาของคนไข้ กลายเป็นว่าบางครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ยากๆ คนเดียว ทั้งที่เราเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ การเป็นหมอเคยเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบและสนุกเวลาทำงาน แต่ด้วยระบบและสิ่งแวดล้อม มันค่อยๆ บั่นทอนแพสชันของเราและเพื่อนไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ในหัวคิดไปเป็นวันๆ ว่าเราจะผ่านวันนี้ไปยังไงให้สุขภาพจิตของเรายังดีเหมือนเดิม โอ๊ต อายุ 23 […]

‘Rainy Day People’ มนุษย์เมืองใต้ฝนฟ้าที่ไม่เป็นใจ

“ดูท่าเหมือนฝนจะตก หยิบร่มติดตัวไปด้วยเป็นยันต์กันฝน” นี่คือประโยคที่หลายคนพูดล้อเล่นกันบ่อยๆ ในช่วงที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาสภาพอากาศในป่าคอนกรีตที่ร้อนระอุอย่างกรุงเทพมหานครได้ แม้จะมีกรมอุตุนิยมวิทยาคอยพยากรณ์ให้ก็ตาม บางวันบอกว่าจะตกหนัก แต่ดันไม่หนักบริเวณที่เราอยู่ บางวันบอกว่าฟ้าจะสว่างสดใส แต่เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่างกลับมีฝนตกโปรยปรายเสียอย่างนั้น การหลบฝนใต้ร่มเงาสะพาน สวมถุงกันผมชื้น หรือฝืนเดินฝ่าม่านน้ำไป เลยอาจถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเมืองอย่างเราๆ ล้วนต้องปรับตัวและใช้ชีวิตเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่คาดเดายากมานานแล้ว จนบางครั้งก็อาจลืมไปว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับปัญหาจนกลายเป็นความเคยชินไปแล้วหรือเปล่า ระหว่างติดฝนจนกลับบ้านไม่ได้ครั้งหนึ่ง เราจึงลองมองพฤติกรรมของ ‘มนุษย์เมืองใต้ฝน’ ที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งน่าสังเกต น่าสนใจ และน่าคิดตาม ทำให้เราอยากบันทึกเอาไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเราต่างต้องเอาตัวรอดกันให้ได้ในมหานครแห่งนี้ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

จาก ‘Quattro Design’ สู่ ‘qd’ กับภารกิจคัดสรรเฟอร์นิเจอร์ที่ดึงตัวตนของผู้ใช้ผ่านสายตาดีไซเนอร์

เวลาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์สำหรับแต่งบ้าน คุณคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง ความสวยงาม ความสบาย หรือฟังก์ชั่นการใช้งาน หรือถ้าคุณกำลังแต่งบ้านแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เราอยากพาคุณไปรู้จักกับ ‘เหมี่ยว-พราวพรรณ เลาหพงศ์ชนะ’ ผู้ก่อตั้ง กรรมการผู้จัดการ และดีไซน์ ไดเร็คเตอร์ของ ‘Quattro Design’ ผู้จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์นำเข้า ออกแบบ และผลิตเฟอร์นิเจอร์ระดับพรีเมียม ที่ทำการตลาดในไทยจนครองใจผู้คนมานานกว่า 15 ปี แต่การเจอเหมี่ยวครั้งนี้ถือว่าพิเศษกว่าครั้งไหนๆ เพราะเราจะได้พบกับตัวตนใหม่ของ Quattro Design หลังจากรีแบรนด์ดิ้งเป็น ‘qd’ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดเฟอร์นิเจอร์ และทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์การเลือกซื้อของตกแต่งบ้านที่ดียิ่งขึ้น เพราะ qd เชื่อว่า ‘บ้าน’ ไม่ใช่เพียงที่อยู่อาศัย ‘เฟอร์นิเจอร์’ จึงไม่ใช่แค่การตกแต่งเพื่อความสวยงาม แต่ยังเป็นความสุนทรีย์ที่มีองค์ประกอบของเรื่องราว ความรู้สึก และฟังก์ชั่นที่ตอบสนองความต้องการ รวมไปถึงสะท้อน ‘ตัวตน’ ของผู้อยู่อาศัยออกมาได้ดีที่สุด รีแบรนด์ใหม่ เข้าใจตัวตนผู้บริโภคมากขึ้น เหมี่ยวเริ่มต้นเล่าว่า จากการอยู่ในวงการเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านภายใต้แบรนด์ Quattro Design มานานกว่า 15 ปี ทำให้เธอมองเห็นว่าผู้บริโภคมีมุมมองต่อที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]

เจาะลึกนโยบายพัฒนาเมือง กับนักผังเมืองพรรคก้าวไกล | Unlock the City EP.28

เมื่อพรรคก้าวไกลคือพรรคที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะได้จัดตั้งเป็นรัฐบาล Urban Creature ชวนนักผังเมืองรุ่นใหม่ไฟแรง ‘ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์’ ว่าที่ ส.ส. เขต 21 กรุงเทพฯ มาคุยกันถึงเรื่องนโยบายผังเมืองให้ประชาชนเห็นภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาพใหญ่ของพรรค และนโยบายภาพย่อยของเขต

‘รัฐสภา’ ย้อนดูความเป็นมาของสถานที่เริ่มต้นในการพัฒนาประเทศและต่อสู้ทางอุดมการณ์

หลังจากสถานีการเลือกตั้งอันแสนดุเดือดจบลง สถานีต่อไปที่ประชาชนจับตามองคือ กระบวนการที่รัฐบาลชุดใหม่เข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา แน่นอนว่าเมื่อพูดถึง ‘รัฐสภา’ สถานที่แห่งนี้ย่อมเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปอยู่แล้ว เพราะเป็นสถานที่ที่มีไว้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายเข้าไปประชุมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมถึงถ้าหากฝ่ายรัฐบาลทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ฝ่ายค้านก็จะอภิปรายไม่ไว้วางใจ เหมือนอย่างที่เห็นกันตามสื่อต่างๆ ในยุครัฐบาลที่ผ่านมา แม้จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ประกอบด้วยอิฐ หิน ดิน ทราย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘รัฐสภา’ คือฉากหลังสำคัญในการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของเหล่านักการเมืองทุกยุคทุกสมัย ในช่วงเวลาที่สายลมแห่งการเปลี่ยนผ่านพัดพาสู่การเมืองไทย คอลัมน์ Urban Tales จะมาเล่าถึงประวัติศาสตร์รัฐสภาของประเทศไทยว่ามีความเป็นมายังไง แต่ละแห่งมีคอนเซปต์และความสำคัญอย่างไรบ้าง รัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า สถานที่แห่งแรกที่ใช้เป็นรัฐสภาคือ ‘พระที่นั่งอนันตสมาคม’ ซึ่งเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิตนั่นเอง ส่วนเหตุผลที่สภาผู้แทนราษฎรเข้าไปประชุมในนั้น นั่นก็เพราะในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัชกาลที่ 7 อนุญาตให้ใช้พระที่นั่งฯ เป็นสถานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยใช้ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุม ต่อมาในปี 2489 รัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดให้รัฐสภาไทยเป็นแบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนฯ และพฤฒสภา (สภาสูงหรือสภาอาวุโส) จึงกำหนดให้ใช้พระที่นั่งอภิเศกดุสิตเป็นที่ประชุมของพฤฒสภาอีกแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นหนึ่งปี หรือปี 2490 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ส่งผลให้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุมเพียงแห่งเดียว […]

Urban Eyes 38/50 เขตสวนหลวง

เขตนี้เป็นเขตที่เราเล็งมานานแล้ว เพราะตอนไปถ่ายภาพที่เขตพระโขนง เราค่อนข้างมั่นใจว่าวัดแม่นาคพระโขนงต้องอยู่เขตพระโขนงแน่ๆ แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ เพราะวัดอยู่ในเขตสวนหลวงนี่เอง และยังติดกับเขตประเวศที่เราเคยมาถ่ายภาพแล้ว  วันนี้มีโอกาสได้ลงพื้นที่ไปถ่ายภาพเขตสวนหลวงสักที พอได้ไปก็ไม่ผิดหวังเลย ยิ่งสำรวจและหาข้อมูลเกี่ยวกับเขตนี้ก็ได้รู้ว่า ช่วงถนนอ่อนนุชของเขตสวนหลวงมีวัดเลียบคลองพระโขนงเต็มไปหมด แถมยังมีคอมมูนิตี้มอลล์น่ารักๆ ให้ไปช้อปปิงด้วย และฝั่งทิศตะวันออกและทิศเหนือของเขตนี้ก็มีคอมมูนิตี้มอลล์ขนาดค่อนข้างใหญ่ให้ไปเดินเที่ยวเล่นกัน ส่วนช่วงกลางๆ ของเขตมีหมู่บ้านขึ้นเป็นดอกเห็ดเลย ถือว่าเป็นเขตหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่บรรยากาศดี น่าอยู่ วัดมหาบุศย์ (แม่นาคพระโขนง) ━ ตำนานของแม่นาคพระโขนง ถ้าเข้าไปในวัดจะพบกับเรื่องราวของแม่นาคว่าเป็นมายังไง รวมถึงประวัติของ ‘อาจารย์พวน ช้างเจริญ’ ผู้ปลุกตำนานแม่นาคพระโขนง ส่วนใครอยากมาดูดวง ที่นี่ก็มีหมอดูให้เลือกทำนายกันเยอะเลย วัดยาง พระอารามหลวง ━ ในวัดมีคอกโค-กระบืออยู่ทางซุ้มประตูวัด ซึ่งเรามองว่าเป็นซีนที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน อาจจะเพราะหน้าซื่อๆ ของเจ้าโค-กระบือก็เป็นได้ สถานที่ภายในวัดก็ดูสะอาด มีการบูรณะอยู่ตลอดเวลา บรรยากาศสงบ อยู่ติดกับคลองพระโขนง น่าไปนั่งวิปัสสนาทำสมาธิดี Pickadaily Bangkok ━ คอมมูนิตี้มอลล์ที่มีการออกแบบสไตล์ยุโรป ใครขับรถผ่านบนถนนอ่อนนุชต้องสะดุดตาแน่ๆ ใครเป็นสายถ่ายภาพพอร์เทรตไม่น่าพลาดกับที่นี่ Thanya Park ━ ที่นี่ค่อนข้างเงียบเหงา จากที่เราถามพนักงานในนั้นมา ช่วงเย็นแทบไม่มีคนแล้ว หลักๆ คนมาทำพาสปอร์ตกันมากกว่า […]

ร้านไหนเปิดถูกกฎหมาย ร้านไหนทุนจีน ดูได้จากการออกใบเสร็จ

หลังจากเกิดกระแสร้านชาบูหม่าล่าหม้อไฟและสายพานฮิตขึ้นมาแบบฉุดไม่อยู่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้มองไปทางไหนก็มีแต่ร้านหม้อไฟสไตล์จีนหลากหลายรูปแบบเต็มเมืองไปหมด โดยเฉพาะบริเวณห้วยขวางและถนนบรรทัดทองที่มีร้านอาหารทั้งที่เปิดแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายจากกลุ่มทุนจีนปะปนกันอยู่ตลอดสองฝั่งถนน จนบางคนถึงกับตั้งฉายาใหม่ให้เป็นไชนาทาวน์แห่งที่ 2 และ 3 ที่ดูเหมือนว่าจะมีแห่งที่ 4 5 หรือ 6 ตามมาในอนาคตอันใกล้ หากรัฐไม่มีมาตรการการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด ในอนาคตพื้นที่เหล่านี้อาจเต็มไปด้วยร้านอาหารทุนจีนผิดกฎหมาย เนื่องจากใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายในการลักลอบเปิด และทำให้ลูกค้าหลงเข้าไปใช้บริการโดยไม่รู้ตัว เห็นปัญหาแบบนี้แล้ว ถ้าเราอยากกินหม่าล่าขึ้นมา แต่ไม่อยากสนับสนุนร้านอาหารทุนจีนผิดกฎหมาย ต้องทำอย่างไรดี วันนี้ Urban Creature ขอแนะนำวิธีง่ายๆ ในการดูว่าร้านไหนเป็นร้านค้าปลีกที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนอย่างถูกต้องกับกรมสรรพากรผ่านบิลใบเสร็จที่เราจะได้รับหลังจากชำระค่าบริการ 🧾 ร้านแบบไหนต้องออกใบเสร็จให้ลูกค้าบ้าง ปกติแล้วบิลใบเสร็จที่เราได้มาทุกครั้งหลังซื้อของหรือกินอาหาร จะถูกเรียกชื่อเต็มๆ ว่า ‘ใบกำกับภาษีอย่างย่อ’ เป็นเอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วมีหน้าที่ต้องจัดทำและออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ โดยกิจการที่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในที่นี้คือกิจการที่เป็นการขายสินค้าในลักษณะ ‘ขายปลีก’ เช่น ร้านขายยา ร้านขายของชำ หรือห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงกิจการที่ให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม และกิจการประเภทซ่อมแซมทุกชนิดนั่นเอง ซึ่งใบกำกับภาษีอย่างย่อจะเกิดขึ้นได้หลังจากที่ผู้ประกอบกิจการยื่น ‘จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม’ และ ‘ยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษี’ ต่อ ‘กรมสรรพากร’ เท่านั้น 🧾 ใบเสร็จที่ถูกกฎหมายต้องเป็นอย่างไร แต่การที่ผู้ประกอบกิจการจะออกใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับเราได้ ลำพังเพียงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีต่อกรมสรรพากรคงไม่พอ […]

‘เข้าใจสิ่งใหม่ และไม่ลืมสิ่งเก่าที่มีประโยชน์’ จี๊บ เทพอาจ ผู้ร่วมชุบชีวิตลิโด้

“เราไม่ค่อยปล่อยโอกาสเท่าไหร่ ถ้ามีอะไรที่ทำได้หรือรู้สึกว่าทำแล้วไม่ขัดกับตัวเอง ส่วนใหญ่จะทำหมด” ‘จี๊บ-เทพอาจ กวินอนันต์’ บอกเล่าให้เราฟัง เมื่อถามว่าทำไมผู้บริหารในแบบฉบับของเขาถึงมีสารพัดสิ่งที่ต้องจัดการเต็มไปหมด จี๊บเล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้เขาแบ่งการงานของชีวิตเป็นสองส่วนหลักๆ หนึ่งคือ ฝั่งเครื่องดื่ม ที่มีทั้งการดูแลในส่วนที่อิมพอร์ตเข้ามา อาทิ Budweiser, Hoegaarden ฯลฯ และสร้างโรงงานผลิตสุรา Thai Spirit Industry Co.,Ltd. ที่ผลิตคราฟต์เบียร์ยี่ห้อขุนแผน และมีบริษัท รอยัล เกทเวย์ จำกัด ดูแลการจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม Full Moon, โซจูยี่ห้อคอมเบ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนสอนต้มเบียร์อุดมคติ รวมถึงธุรกิจร้านอาหาร HOBS เป็นต้น การงานส่วนที่สองคือ ฝั่งงานเอนเตอร์เทนเมนต์ เขาทำงานบริหาร 8 ค่ายเพลง นำโดย LOVEiS Entertainment และอีก 7 ค่าย ได้แก่ marr, LIT Entertainment, kiddo records, PROM+, Juicey, HolyFox, […]

1 33 34 35 36 37 96

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.