‘ทำไมคนถึงชอบฟังเพลงเศร้า’ รู้จักกับหนึ่งในวิธีการเยียวยาจิตใจผ่านความเจ็บปวด

‘ความสุขมักถูกซ่อนเอาไว้ในความเจ็บปวด’ คำกล่าวนี้ผู้เขียนไม่ได้ทึกทักขึ้นมาเอง แต่ความเจ็บสามารถสร้างความสุขแบบแปลกๆ ให้เราได้จริง จากฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) หรือฮอร์โมนแห่งความสุขที่ปล่อยออกมาเวลาเราทำกิจกรรมที่สนุกหรือเพลิดเพลินไปกับมัน เช่น ออกกำลังกาย ทานของอร่อย นวดสปา หรือการมีเซ็กซ์ ขณะเดียวกัน ถ้าลองนึกดูดีๆ หลายครั้งเราก็ ‘เพลิดเพลิน’ ไปกับกิจกรรมที่มีความทรมานแฝงอยู่ มาก-น้อย ช้า-เร็วต่างกันไป เช่น การกินเผ็ด เล่นเครื่องเล่นหวาดเสียว ดูหนังผี ไปจนถึงการดูหนังหรือฟังเพลงเศร้า โดยเฉพาะช่วงที่เรากำลังอกหัก สิ่งนี้เรียกว่า ‘Tragedy Paradox’ หรือความย้อนแย้ง ที่ใช้ในสถานการณ์เมื่อคนเราพยายามจะทำอะไรสักอย่างเพื่อลดหรือบรรเทาความเศร้าในชีวิต แต่ก็เจอความสุขในความสวยงามของความเศร้านั้นไปด้วย นอกจากนี้ ในระหว่างที่เรากำลังฟังเพลงเศร้า ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนโพรแลกทิน (Prolactin) ที่สร้างขึ้นเมื่อน้ำตาเราไหล ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกบันเทิงไปกับเพลงที่ฟังดูเจ็บปวด หรือเมื่อกำลังมีประสบการณ์กับอารมณ์คลื่นความถี่ต่ำ เช่น เศร้า โหยหาถึงคนที่คิดถึง เครียด โดยจะช่วยให้รู้สึกผูกพันและเชื่อมต่อกับสิ่งที่เรารู้สึกว่ามีความหมาย ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้คือตัวเดียวกับฮอร์โมนที่จะปล่อยออกมาตอนที่เราจะได้เป็นพ่อคนแม่คน และได้ยินเสียงลูกร้องไห้ สิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนที่ปลอดภัยต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราทั้งที่ปล่อยออกมาตอนฟังเพลงเศร้า เป็นเพราะระบบรับรู้ของเราจับได้ว่า ‘เรากำลังฟังเพลงเศร้า เพื่อให้นึกถึงช่วงเวลาที่เศร้าตอนนั้น แต่เราไม่ได้กำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่ทรมานหดหู่ตอนนี้’ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเกิดการแยกกันระหว่างเรื่องจริงตรงหน้ากับอารมณ์ที่เกิดขึ้น (Dissociation) ความเจ็บปวดทางจิตใจที่หนักหนาจนใจรับไม่ไหวก็ไม่เกิดขึ้น ทว่ากลายเป็นความผ่อนคลายหรือสบายใจเข้ามาแทนที่ […]

Urban Eyes 43/50 เขตมีนบุรี

อีกหนึ่งเขตที่อยู่ทางตะวันออกของกรุงเทพฯ คือเขตมีนบุรี ซึ่งพื้นที่ของเขตนี้เป็นที่ราบลุ่มมีคลองตัดผ่านหลายสาย ภายใต้การปกครองที่มีสองแขวง ได้แก่ แขวงมีนบุรีและแขวงแสนแสบ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ในแขวงมีนบุรีจะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจและการอยู่อาศัย ส่วนแขวงแสนแสบนั้นจะเต็มไปด้วยแม่น้ำลำคลองและพื้นที่การเกษตร ส่วนที่มาที่ไปของชื่อ ‘มีนบุรี’ นั้นแปลว่า ‘เมืองปลา’ เนื่องจากตำบลแสนแสบมีบริเวณที่เป็นบ่อปลาจำนวนมาก และนอกเหนือไปจากนั้น ชื่อนี้เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยในวันนี้เราจะลองมาถ่ายทอดเขตมีนบุรีผ่านภาพถ่ายแนวสตรีทโฟโต้ให้ทุกคนชมกัน ตลาดน้ำขวัญ-เรียม ━ ถ้าไปเขตมีนบุรีก็ควรไปตลาดน้ำขวัญ-เรียม เพราะมีมุมถ่ายภาพเยอะแยะ มีร้านก๋วยเตี๋ยวเรืออร่อย มีตลาดนัดขายของกินเล่นทานได้เรื่อยๆ แถมยังอยู่ติดกับวัดบางเพ็งใต้และวัดบำเพ็ญเหนือ ถ้าวันเสาร์-อาทิตย์ไหนเป็นวันพระ ช่วงเช้าประมาณ 7 โมงคนจะมากันอย่างเนืองแน่น เพราะพระท่านจะพายเรือให้ผู้คนมาตักบาตร เป็นกิจกรรมที่น่ามาลองทำสักครั้ง ตลาดมีนบุรี ━ ตลาดแห่งนี้ตั้งอยู่กลางแหล่งชุมชน มีหลากหลายตลาดที่อยู่ติดๆ กัน ส่วนใหญ่ขายของกิน เสื้อผ้า และของใช้สอย เป็นโซนที่ครึกครื้น คนผ่านไปผ่านมาเยอะ บางจุดของตลาดก็เป็นจุดเริ่มต้นของขนส่ง และตอนที่ลงพื้นที่ไปทำโปรเจกต์ถ่ายภาพอยู่นี้ก็กำลังมีการสร้างรถไฟฟ้า ส่งผลให้มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางบริเวณเกาะกลางถนนเต็มไปหมด ยังไงก็หวังว่าจะสร้างเสร็จในเร็ววันนี้ สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ━ สวนสาธารณะที่นี่เป็นลานค่อนข้างกว้าง มีอุปกรณ์ออกกำลังกายอยู่บ้าง แต่ที่เราอยากให้โฟกัสมากๆ ก็คือ ที่นี่มีทางเดินเลียบคลองแสนแสบที่มีระยะยาวพอสมควร เหมาะแก่การวิ่งออกกำลังกาย อีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือมีที่จอดรถเยอะมาก […]

เปลี่ยนถนนให้เป็นมิตรกับมอ’ไซค์ ขับขี่ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวอุบัติเหตุ

ไปเลยค่ะพี่สุชาติ! ในช่วงเวลาเร่งด่วนของแต่ละวัน ไม่มีการเดินทางไหนที่จะสะดวกไปกว่าการใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ไม่ว่าจะเป็นพี่วินฯ พี่แกร็บ หรือใครมีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเองก็คงจะเลือกขับพาหนะสองล้อแทนการใช้รถยนต์ เพราะการจราจรในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ไม่ค่อยน่าไว้ใจ อย่างน้อยถ้าหากรถติดจนเกินไป มอเตอร์ไซค์เหล่านี้ก็ยังพาเราลัดเลาะไปตามช่องทางเล็กๆ เพื่อให้ไปถึงจุดหมายได้ทันเวลา แม้ว่าสัดส่วนของมอเตอร์ไซค์บนท้องถนนจะมีอยู่มาก แต่ถนนหลายๆ เส้นกลับไม่ค่อยเป็นมิตรกับจักรยานยนต์เท่าไหร่ อาจเป็นเพราะมองว่ารถประเภทนี้มีความคล่องตัว สามารถหลบเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายกว่า จนลืมนึกไปว่าถนนควรให้ความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ทุกคน ไม่ว่าจะใช้พาหนะแบบไหนก็ตาม คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่และเส้นทางต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ขับขี่ได้อย่างสบายใจ และใช้ถนนได้อย่างเต็มที่แบบไม่ต้องเสี่ยงเจ็บตัวจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด 1) สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์  ปัญหาที่คนขี่มอเตอร์ไซค์เจออยู่เสมอคือการกลับรถ เพราะต้องใช้จุดกลับรถเดียวกันกับรถยนต์ ทำให้เสี่ยงที่จะโดนรถใหญ่เบียดจนรถล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ เราจึงอยากช่วยลดอุบัติเหตุจากเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยการเพิ่ม ‘สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์โดยเฉพาะ’ ในบริเวณที่มีพาหนะต่างๆ กลับรถเป็นจำนวนมาก เพื่อเปิดเส้นทางและป้องกันไม่ให้มอเตอร์ไซค์ต้องไปเบียดกับรถยนต์ประเภทอื่นๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สะพานกลับรถมอเตอร์ไซค์ก็มีให้เห็นอยู่บ้าง แต่บางที่อาจถูกปิดการใช้งานไปเพราะเชื่อว่าหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นสะพานลอย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุลอยฟ้า สะพานกลับรถของเรานั้นจะทำการกั้นโซนแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับคนเดินเท้าที่มาใช้สะพานนี้ด้วย 2) พื้นที่หลบฝน ลดอุบัติเหตุ ภาพที่เห็นกันจนชินตาคือ เวลาที่ฝนตกหนักๆ มอเตอร์ไซค์ทั้งหลายจะต้องรีบหาที่จอดรถใต้สะพานหรือพื้นที่ที่มีหลังคาเพื่อหลบฝนและรอให้ฝนเบาลงก่อนถึงจะออกเดินทางต่อ เพราะถ้าฝืนขับขี่ต่อไปก็อาจจะเจอน้ำท่วมขังหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ แต่ไม่ใช่ถนนทุกเส้นที่จะมีสะพานให้หลบฝน ดังนั้นเราจึงอยากเพิ่ม ‘พื้นที่หลบฝน’ บริเวณริมฟุตพาท ที่มาพร้อมหลังคาและเสากั้นสำหรับป้องกันไม่ให้รถยนต์เข้าไปจอดขวางทาง ซึ่งการทำพื้นที่หลบฝนของเรานี้อาจจะต้องกระจายไปหลายๆ จุด เนื่องจากฟุตพาทในเมืองค่อนข้างเล็กและจะต้องลดทางเดินเท้าลง ทำให้ไม่สามารถทำจุดพักขนาดใหญ่เพื่อรองรับมอเตอร์ไซค์หลายคันได้ […]

O’right แบรนด์ความงามจากไต้หวันที่มีส่วนช่วยดูแลโลก จนได้การรับรอง Zero Carbon เป็นแบรนด์แรก

ปัจจุบันองค์ประกอบของการมองหาผลิตภัณฑ์ความงามสักแบรนด์ แค่ใช้แล้วผิวรอดผมสวยคงไม่พอ แต่ต้องพาโลกของเรารอดไปพร้อมๆ กันด้วย ทุกวันนี้คนไทยอาจคุ้นหูกับคำว่า ‘Zero Carbon’ ที่หมายถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์กันมากขึ้นผ่านงานประชุมใหญ่อย่าง COP26 และ COP27 ที่ผ่านมา แต่ใครจะรู้ว่า คำว่า Zero Carbon ที่พูดถึงกันไม่ใช่แค่ภาพใหญ่ที่ขับเคลื่อนเฉพาะภายในภาครัฐหรือองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะสำหรับวงการผลิตภัณฑ์ความงามเองก็มีหลากหลายแบรนด์ที่พยายามทำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการผลิตให้ได้มากที่สุดเพื่อช่วยโลกของเรา คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปรู้จักกับ ‘O’right’ แบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงามจากประเทศไต้หวันที่มีส่วนผสมเป็นออร์แกนิกและวีแกนแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แถมยังได้รับการรับรองว่าเป็นแบรนด์แรกที่ Zero Carbon ตั้งแต่ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงกิจกรรม CSR แนวคิด ‘สีเขียว’ O’right เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและความงามสัญชาติไต้หวันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพของผู้คน และดีต่อสุขภาพของโลกไปพร้อมๆ กัน ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมี ‘Steven Ko’ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง O’right มีความตั้งใจในการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนให้เป็นมิตรกับโลกมากขึ้น โดยเขามองว่าสิ่งที่จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้คือ การมุ่งไปสู่การเป็น Zero Carbon นั่นเอง ปณิธานนี้สะท้อนตั้งแต่ในโลโก้ของแบรนด์ O’right […]

จัดสวนขวดและตู้เลี้ยงไม้เยียวยาใจ ‘Curve Studio’ | THE PROFESSIONAL

“พอพื้นที่สีเขียวมันน้อยลง คนก็อยากได้พื้นที่สีเขียวเล็กๆ นี้มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันก็ควรจะมีพื้นที่สีเขียวใหญ่ๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เขามีภาพจำดีๆ แล้วอยากจะถ่ายทอดเก็บไว้ดูในวันอื่นของเขาบ้าง” ‘เอิร์ท-พลานนท์ จันทร์เซียน’ จาก ‘Curve Studio’ นักจัดสวนขวดและตู้เลี้ยงต้นไม้ อดีตผู้ไม่ชอบการปลูกต้นไม้เพราะเกลียดกลัวสัตว์เลื้อยคลาน แต่การลาออกจากงานที่ต้องทำด้วยความเครียดทำให้เขาได้ลองสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ชอบดูบ้าง เมื่อได้มาสัมผัสธรรมชาติจากการจัดสวนในขวดแก้ว กิจกรรมนี้ก็ช่วยปลดล็อกจากความเครียด จนเขาได้พบกับความสร้างสรรค์ การผ่อนคลาย และการเยียวยาจิตใจ THE PROFESSIONAL วันนี้พาทุกคนพักสายตาไปชมสิ่งน่าสนใจสีเขียวๆ ทำความรู้จักกับอาชีพ ‘นักจัดสวนขวด’

สีสันบรรทัดทอง – ไฟและฟอนต์บนป้ายร้านรวงสีสัน

ถนนบรรทัดทองเต็มไปด้วยร้านอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านดังเก่าแก่หรือร้านใหม่ๆ นอกจากรสชาติอาหารเด็ดโดนลิ้น แต่ละร้านล้วนแข่งขันกันเรียกลูกค้าด้วยป้ายไฟสีสันสดใส ดีไซน์เก๋ๆ เพื่อดึงดูดสายตาทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ‘ป้ายไฟหน้าร้าน’ ถือเป็นสิ่งที่ลงทุนแล้วคุ้มค่า ยิ่งป้ายไฟสว่างแค่ไหน ยิ่งทำให้หน้าร้านมีความสวยงาม โดดเด่นมาแต่ไกล ลูกค้าสังเกตเห็นร้านค้าง่ายขึ้น กระตุ้นให้อยากลิ้มลองรสชาติอาหารของร้าน ขณะเดียวกัน บรรทัดทองยังเป็นย่านใกล้ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า และมหาวิทยาลัย ทำให้คนที่สัญจรไปมาแถวนั้นมีจำนวนมาก การแข่งขันจึงสูงตามไปด้วย จึงไม่แปลกใจถ้าเราจะเห็นร้านอาหารหน้าใหม่ที่เปิดตัวพร้อมป้ายร้านขนาดใหญ่ ตกแต่งแบบจัดเต็ม แฝงไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใครแวะไปแถวนั้น กินข้าวเสร็จแล้วลองไปเดินเล่นย่อยอาหาร สังเกตหน้าร้านรวงกันได้ เพลินดีทีเดียว หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘แพรรี่ ธัญพิชชา’ Set Designer คนไทยในฮอลลีวูดที่ได้ออกแบบฉากให้ซีรีส์ Netflix

ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพหญิงสาวผู้สวมแว่นตาที่นั่งอยู่หน้าคอมฯ บนหน้าจอเต็มไปด้วยภาพทำเนียบขาวของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมคำอธิบายประกอบอย่างละเอียด เร็วเท่าความคิด, ภาพทำเนียบขาวที่เธอดีไซน์ในหัวปรากฏขึ้นในพื้นที่ว่างเปล่าข้างตัว…ถ้าเรื่องราวดำเนินในยุคนี้ มีตัวละครหลักเป็นคนนิสัยแบบนี้ ทำเนียบขาวควรจะมีหน้าตาเป็นยังไง…เธอออกแบบตั้งแต่ข้างนอกตึกไปจนถึงพื้นที่ภายใน ชั้นที่ 1 ถึง 5 เจาะลงไปถึงรายละเอียดเล็กๆ กระทั่งสีผนังและกลอนประตู นี่คือสิ่งที่ ‘แพรรี่-ธัญพิชชา ไตรวุฒิ’ ต้องทำในซีรีส์ใหม่ของ Netflix เรื่อง The Residence ซึ่งว่าด้วยคดีฆาตกรรมในทำเนียบขาว ย้อนกลับไปราวต้นปี 2023 เธอได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในทีมนักออกแบบฉาก (Set Designer) ประจำโปรเจกต์นี้ ความเจ๋งคือเธอเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่เป็นทีมงานเบื้องหลัง และเท่าที่เรารู้ เธอเป็นคนไทยหนึ่งในไม่กี่คนที่มีโอกาสได้ทำงานให้หนังและซีรีส์ฮอลลีวูด ไม่เคยฝันว่าจะมาถึงตรงนี้ได้เหมือนกัน-เธอสารภาพกับเราในเช้าที่เราวิดีโอคอลคุยกัน ก่อนจะเริ่มเล่าเรื่องราวอดีตเด็กสาวช่างฝันผู้รักศิลปะ ผู้ที่กว่าจะค้นพบว่าตัวเองชอบออกแบบฉากก็ตอนได้ทำละคอนถาปัดในรั้วจามจุรี ก่อนจะตัดสินใจเดินตามฝันในวัยใกล้ 30 จนสำเร็จ แน่นอนว่าหลังจากฟังเธอเล่าจบ ภาพจำที่เรามีต่อฉากในหนังหรือซีรีส์ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซีนแรกกรุงเทพฯ, 2011 ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพเด็กหญิงธัญพิชชาในโรงภาพยนตร์ หน้าจอปรากฏภาพจากหนังในตำนานอย่าง Star Wars และ Jurassic Park เด็กหญิงหัวเราะคิกคัก สนุกสนานไปกับเรื่องราว ไม่รู้หรอกว่าวันหนึ่งตัวเองจะได้ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโลกในจอ […]

Urban Eyes 42/50 เขตราษฎร์บูรณะ

ราษฎร์บูรณะเป็นเขตหนึ่งในฝั่งธนฯ ที่ค่อนข้างเงียบสงบ เชื่อมระหว่างตัวเมืองกับพระประแดง (สมุทรปราการ) และยังเป็นหัวถนนของถนนพระราม 2 เขตนี้มีชุมชนกระจายตัวกันแต่ไม่ถึงกับแออัดหนาแน่นทุกหัวมุมถนน เรียกว่าเป็นเขตที่อยู่อาศัยที่คนผ่านไปผ่านมากันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อก่อนเขตนี้มีสวนสาธารณะขนาดใหญ่อยู่ติดกับสำนักงานใหญ่ของธนาคารกสิกร แต่ตอนนี้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นไซต์ก่อสร้างไปแล้ว เนื่องจากจะมีทางด่วนสายใหม่เข้ามา หลังจากสอบถามพี่พนักงานกวาดถนนของ กทม. ทำให้ทราบว่ายังมีสวนสาธารณะริมคลองอยู่อีกแห่งหนึ่ง ส่วนในเขตนี้ยังมีสถานที่อะไรที่น่าสนใจอีก ตามไปดูกัน วัดบางปะกอก ━ วัดนี้สะอาดสะอ้าน ที่นี่นับถือหลวงปู่พริ้ง ถึงกับมีอาคารและรูปปั้นหลวงปู่ให้คนเข้าไปเคารพสักการะ ซอยสุขสวัสดิ์ 26 ━ ในซอยนี้ช่วงเย็นมีคนเข้า-ออกอยู่เยอะ แถมยังมีตลาดนัดเล็กๆ อยู่ข้างในให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอย จังหวะแสงเงาลงมากำลังสวย ช่วงเย็นน่ามาเดินเล่นมากๆ หรือจะเดินออกมาที่ถนนสุขสวัสดิ์ฝั่งตรงข้ามช่วงป้ายรถเมล์ก็ได้ ช่วงเย็นที่คนรอรถเยอะๆ แสงลงกำลังสวยเช่นกัน วัดราษฎร์บูรณะ ━ เป็นวัดที่ค่อนข้างเงียบสงบ ตั้งอยู่บริเวณสามแยก ถนนราษฎร์บูรณะตัดกับถนนราษฎร์พัฒนา วัดนี้ยังดูใหม่เอี่ยม มีสีสัน น่ามาเที่ยวเล่นและกราบไหว้ สวน 15 นาที ━ ที่นี่เป็นสวนใหม่ อาจจะเพราะสวนข้างๆ สำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรปิดตัวลง ส่วนที่มาของชื่อสวน 15 นาทีคือ เป็นสวนที่เดินครบรอบภายใน 15 นาทีนั่นเอง ซึ่งข้อมูลนี้เราได้มาจากพนักงาน กทม.ที่อยู่แถวนั้น […]

ส่องปัญหาสังคมและโครงสร้างผ่านมอ’ไซค์ไทย

“บ้านเช่าได้ แต่มอเตอร์ไซค์ต้องซื้อ” นี่คือประโยคเปรียบเปรยที่ดูไม่ไกลเกินจริง เพราะเราเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ทั้งความสะดวกและความคล่องตัวในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ารถยนต์หรือขนส่งสาธารณะ และการใช้ประกอบอาชีพต่างๆ หลายครอบครัวจำเป็นต้องมียานพาหนะประเภทนี้ เพราะบริเวณที่พวกเขาอาศัยอยู่ไม่มีขนส่งมวลชนที่เข้าถึงได้เลย ความต้องการที่เยอะขึ้นและประโยชน์ของมอเตอร์ไซค์ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนในประเทศนี้ ทำให้ในปัจจุบันไทยมีการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มากกว่า 22 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 กว่า 4.5 แสนคัน คนไทยใช้มอ’ไซค์มากที่สุดในโลก ใครที่ต้องเดินทางออกจากบ้านเป็นประจำโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ คงเคยสังเกตว่าท้องถนนมีมอเตอร์ไซค์ขวักไขว่เต็มไปหมด ส่วนในซอยต่างๆ ก็มียานพาหนะสองล้อเข้าออกให้เห็นตลอดทั้งวัน หรือแม้แต่ตอนเดินอยู่บนทางเท้า จู่ๆ ก็มีคนขี่มอเตอร์ไซค์สวนมาเสียอย่างนั้น ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมบ้านเราถึงมีมอเตอร์ไซค์เยอะขนาดนี้ หลายคนไม่ได้คิดไปเองแน่นอน เพราะข้อมูลจาก Pew Research Center ปี 2023 เปิดเผยว่า ประเทศไทยมี ‘การใช้งานจักรยานยนต์มากที่สุดในโลก’ โดยสัดส่วนของครัวเรือนในประเทศไทยที่เป็นเจ้าของจักรยานยนต์อย่างน้อยหนึ่งคันมีมากถึง 87 เปอร์เซ็นต์ พูดให้เห็นภาพคือ จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดราว 18 ล้านครัวเรือน จะมีจักรยานยนต์รวมกันอย่างน้อย 15 ล้านคัน สถิตินี้ยังพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกอยู่ในภูมิภาค ‘เอเชียแปซิฟิก’ โดยประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนการถือครอบครองมอเตอร์ไซค์รองจากไทย […]

คนไทยกินอะไรก็ได้  แต่ทำไมดื่มนมแล้วท้องเสีย

เรามักเห็นข่าวบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้งว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศไทยมีอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษหลังจากชิมเมนูเด็ดของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ยำ ของดอง ที่ล้วนมีของดิบ ของสด และของหมักดองเป็นส่วนประกอบหลัก หรือแม้แต่ผักบางชนิดที่มีพิษอ่อนเมื่อกินแบบดิบๆ อย่างถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ถั่วงอก หรือมะเขือเทศ ยังถูกนำมาประกอบอาหารอยู่บ่อยๆ โดยไม่ส่งผลอะไรกับกระเพาะอาหารของคนไทยเลยแม้แต่น้อย ดูเหมือนว่าคนไทยจะกินได้แทบทุกอย่าง แต่สิ่งที่คนไทยจำนวนไม่น้อยแพ้คือ ‘นมจากสัตว์ทุกชนิด’ ที่มักทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องเสีย ซึ่งมีสาเหตุจาก ‘ภาวะแพ้แล็กโทส’ ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมอาการแพ้น้ำตาลชนิดนี้ถึงเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก และถ้ายังอยากดื่มนมแต่ไม่อยากปวดท้องจะมีทางไหนที่ช่วยได้บ้าง คนไทยกินอะไรก็ได้ แต่ตกม้าตายเมื่อดื่มนม ไม่ว่าจะเป็นของดิบ ของสด ของดอง คนไทยสามารถนำวัตถุดิบเหล่านี้มาประยุกต์จนกลายเป็นอาหารยอดฮิตที่กินเมื่อไรก็ได้ ตราบใดที่ขั้นตอนการประกอบอาหารสะอาดและถูกสุขลักษณะ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะท้องเสีย แต่ถ้าเป็น ‘นมสด’ ที่หน้าตาดูไม่เป็นพิษเป็นภัย กลับเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนดื่มแล้วต้องรีบมองหาห้องน้ำรอทุกครั้ง เพราะมักมีอาการตามมาอย่างปวดท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง หรืออาจจะถึงขั้นท้องเสียเลยก็ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจาก ‘การแพ้แล็กโทส’ ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมจากสัตว์ทุกชนิด ทำให้หลายคนเลี่ยงการดื่มนมแทนที่จะเสี่ยงขับถ่ายผิดปกติ เหตุผลนี้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการดื่มนมต่ำมากเมื่อเทียบกับชาติอื่น โดยข้อมูลล่าสุดจากกรมอนามัยเผยว่า ในปัจจุบันนี้คนไทยดื่มนมเพียง 21.5 ลิตร/คน/ปี ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีอัตราการบริโภคนม ดังนี้ – เกาหลีใต้ 29.5 […]

‘สิงคโปร์’ กลยุทธ์ดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศด้วยการเป็นฮับความบันเทิงของเอเชีย

ไหนใครวางแพลนไปคอนเสิร์ตวง Coldplay หรือ Taylor Swift ที่จัดกันแบบจุใจถึง 6 รอบที่สิงคโปร์บ้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นคนรอบตัวเดินทางไปประเทศสิงคโปร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไปดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวพักผ่อนด้วยตัวเองก็ตาม เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นผลลัพธ์จากความพยายามของรัฐบาลสิงคโปร์มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 เพื่อผลักดันให้สิงคโปร์ขึ้นเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ เบื้องหลังความสำเร็จของแผนพัฒนานี้คืออะไร สิงคโปร์ดำเนินงานอย่างไรถึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว คอลัมน์ City in Focus จะพาไปหาคำตอบ ประเทศเกิดใหม่ มองหาจุดขายเรื่องการท่องเที่ยว หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของประเทศ สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ได้ไม่นาน จากการแยกตัวออกจากมาเลเซียมาเป็นประเทศอิสระที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 1965 ในช่วงแรกที่ตั้งประเทศ สิงคโปร์ต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศเปิดใหม่ที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่จะดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้มากนัก และครั้นจะไปตามหามรดกทางวัฒนธรรมเดิมหรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะคนในประเทศมีความหลากหลายทางเชื้อชาติจนยากจะหาวัฒนธรรมร่วม จุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์ในตอนนั้นจึงเป็นการสร้างแผนนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศให้เติบโตด้วยเทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมภายในเมือง เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาแทน ทั้งหมดนี้นำมาสู่การพยายามผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ (The Events and Entertainment Capital of Asia) ครั้งแรกในปี 2007 ที่ผลิดอกออกผลอย่างเด่นชัดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลผลักดันประเทศผ่านการวางนโยบาย แต่การจะทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชียได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการวางนโยบายที่ดีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน […]

ไขปริศนาต้นตอปัญหารถติดในกรุงเทพฯ | Unlock the City EP.30

ในยุคสมัยที่เมืองใหญ่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัย คนกรุงเทพฯ กลับยังต้องปวดหัวและแอบเสียน้ำตาให้การจราจรบนท้องถนนทุกวัน ปัญหาของกรุงเทพฯ ที่หลายคนยกให้เป็นอันดับหนึ่งตลอดกาลคือ ‘รถติด’ ไม่ว่าใครจะพยายามแก้ไขยังไง แต่ปัจจัยอื่นๆ ที่เกาะเกี่ยวอยู่มากมายทำให้ยากที่จะทำสำเร็จ เพราะปัญหารถติดของประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีมากกว่าแค่ปัญหาเรื่องปริมาณรถยนต์หรือระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่ครอบคลุม โดยต้องย้อนกลับไปตั้งแต่เรื่องโครงสร้างเมือง ลำดับของถนน ความยาวของซอย รูปแบบที่อยู่อาศัยของเมือง รวมไปถึงระบบไฟจราจร ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ของรายการ Unlock the City จะใช้เลนส์นักผังเมืองมาอธิบายถึงต้นตอปัญหารถติดให้ฟังในเอพิโสดนี้

1 25 26 27 28 29 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.