เหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของนักเขียนการ์ตูน ‘สะอาด’

ขอออกตัวก่อนว่าเราไม่ใช่นักอ่านมังงะตัวยงหรือชื่นชอบงานเขียนประเภทการ์ตูนอะไรขนาดนั้น และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเลือกหยิบงานของ ‘สะอาด’ มาอ่านช้าเหลือเกิน เมื่อเทียบกับคนรอบๆ ตัวที่รู้จักและอ่านงานของเขาตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รู้จักเขาเอาซะเลย เพราะเท่าที่จดจำได้ ชื่อของ ‘สะอาด’ น่าจะเป็นชื่อของคนทำงานสร้างสรรค์กลุ่มแรกๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวด้านการเมือง และแสดงจุดยืนของตัวเองอย่างเข้มแข็งผ่านปากคำให้สัมภาษณ์ในหลากหลายสื่อ รวมถึงผลงานการ์ตูนที่เผยแพร่ผ่านช่องทางของเขาเอง และลงตามสื่อออนไลน์ที่เขาร่วมงานด้วย ชายผู้ออกเดินทางตามเสียงของตัวเอง, ครอบครัวเจ๋งเป้ง, บทกวีชั่วชีวิต, การศึกษาของกระป๋องมีฝัน และให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต คือผลงานส่วนหนึ่งที่ผ่านมาของนักเขียนการ์ตูนรุ่นใหม่คนนี้ นอกจากลายเส้นที่ไม่เนี้ยบ มุกตลกร้าย และคาแรกเตอร์ตัวละครที่มีเสน่ห์ (ปนกวนๆ) สิ่งที่ทำให้ผลงานของสะอาดเป็นที่ชื่นชอบของนักอ่านจำนวนมาก น่าจะหนีไม่พ้นประเด็นสังคมที่เขาสอดแทรกไว้ในการ์ตูน ตั้งแต่เรื่องอาชีพการงานของคนทำงานสร้างสรรค์ที่ไม่ได้รับการสนับสนุน การศึกษา ชาติพันธุ์ สิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ยังไม่นับการดำเนินเรื่องที่ชวนให้ติดตาม รู้สึกร่วมไปกับตัวละคร และทิ้งท้ายด้วยความหวังเล็กๆ ที่ทำให้คนอ่านอย่างเราเกือบน้ำตาคลอ ด้วยเหตุนี้ เราจึงชวน ‘สะอาด’ หรือ ‘ภูมิ-ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์’ มาบอกเล่าถึงเหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขา ตั้งแต่มังงะเรื่องแรกที่ชอบ เรื่องที่เปลี่ยนชีวิตและแนวคิด นักเขียนมังงะที่ชื่นชม ตัวการ์ตูนที่ยกนิ้วให้ ไปจนถึงมังงะที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน เราจำการ์ตูนเรื่องแรกที่อ่านไม่ได้ แต่จำเรื่องแรกที่อ่านแล้วชอบมากๆ ได้ คือเรื่อง ‘จอมโจรอัจฉริยะ’ นักเขียนคือ โกโช […]

TÁR : เมื่อเวลาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมคว่ำบาตร และพลวัตของอำนาจไม่อาจแยกจากเรื่องเพศ

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์ หลังห่างหายจากงานกำกับไปนานกว่า 16 ปี ล่าสุดผู้กำกับมากฝีมืออย่าง Todd Field ก็กลับมาพร้อมกับผลงานภาพยนตร์เรื่อง Tár ที่เปิดตัวครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส (Venice Film Festival) เมื่อปีที่ผ่านมา และล่าสุดก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 6 สาขาด้วยกัน รวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Tár นั้นเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของ Lydia Tár (รับบทโดย Cate Blanchett) วาทยกรหญิงผู้แสนเก่งกาจและมากประสบการณ์ ความสามารถของเธออยู่ในระดับที่หาตัวจับได้ยากในแวดวงดนตรี แน่นอนว่าสถานะทางสังคมที่เป็นทั้งวาทยกรเอกและอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์นับร้อยพัน นั่นอาจเป็นจุดสูงสุดของอาชีพการงานที่ใครคนหนึ่งจะไปถึงได้ หากแต่ช่วงชีวิตคนเราต่างก็แปรผันไปตามสถานการณ์ เมื่อมือเอื้อมแตะถึงขอบฟ้า แต่เท้ายังย่ำอยู่ในโคลนตม ก็ไม่แปลกที่ต่อให้แม้จะยืนอยู่ในจุดที่สูงแค่ไหนก็พร้อมร่วงหล่นลงมาได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะกับ Tár ศิลปินมากความสามารถที่เต็มไปด้วยรอยด่างพร้อยและข้อบกพร่องนับไม่ถ้วน ซ้ำยังทำในสิ่งที่ก้าวข้ามเส้นแบ่งศีลธรรมและจริยธรรมอยู่หลังม่านมานานแรมปี แน่นอนว่าความสำเร็จในแง่ของรายได้และคำวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้คงเป็นที่ประจักษ์อย่างไม่มีข้อกังขา แต่ความสำเร็จอีกนัยหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ การหยิบจับประเด็นที่สังคมให้ความสนใจมาบอกเล่า โดยทำให้เรื่องราวเหล่านั้นยังคงอยู่ในบทสนทนา จนเกิดการพูดคุยถกเถียงกันต่ออย่างไม่รู้จบหลังจากที่ลุกออกจากโรงหนังไป ‘เวลา’ คือตัวแปรสำคัญของวัฒนธรรมคว่ำบาตร ในช่วงปีหลังมานี้ ทุกครั้งที่มีประเด็นร้อนของเหล่าคนดังที่เกิดข้อโต้แย้งกันบนโซเชียลมีเดีย หลายคนอาจคุ้นหูและผ่านตากับคำว่า ‘วัฒนธรรมคว่ำบาตร (Cancel Culture)’ มาไม่มากก็น้อย ซึ่งความหมายโดยกว้างของคำนี้คือ การเลิกสนับสนุนผลงานของเหล่าศิลปินที่มีปัญหา (Problematic) […]

Urban Eyes 25/50 เขตบางคอแหลม Bang Kho Laem

เขตบางคอแหลมเป็นเขตที่เราผ่านบ่อย โดยเฉพาะถนนเจริญกรุง ถนนพระรามสาม ถนนจันทน์ และถนนเจริญราษฎร์ แต่ก็ไม่เคยเข้าไปเดินตามตรอกซอกซอย ถึงจะรู้มาบ้างว่าเขตนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่หนาแน่นมาก แต่เราไม่ได้คาดคิดว่าจะมีชุมชนอยู่เยอะขนาดนี้ แต่ก่อนไปชมโปรเจกต์ Bangkok Eyes สัปดาห์นี้ เรามีความพิเศษหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ แบรนด์กล้อง Lumix ได้ให้กล้องรุ่น S1R มาลองใช้ เป็นกล้องที่เปลี่ยนเลนส์ได้ เซนเซอร์ Full Frame โดยกล้องรุ่นนี้เป็นหนึ่งในซีรีส์ที่ลงท้ายด้วยตัว R เพราะฉะนั้นเราจะได้ภาพความละเอียดสูงเป็นพิเศษ 47.3 Megapixels บวกกับเลนส์ Lumix 24-105 f/4.0 ตลอดช่วง  นอกจากนี้ แบรนด์ยังใช้ L-mount เป็นเมาต์เดียวกันกับของ Leica และ Sigma ทำให้เราใช้เลนส์ของสองแบรนด์นี้ได้ด้วย เป็นการเพิ่มตัวเลือกสำหรับผู้ใช้งาน เริ่มด้วยแลนด์มาร์กประจำเขตหรือกรุงเทพฯ ก็ว่าได้ กับ Asiatique (เอเชียทีค) แหล่งท่องเที่ยวริมน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเขตนี้ แนะนำให้ไปช่วงเย็นๆ เพราะเรือจะเริ่มมาส่งนักท่องเที่ยวเวลานั้น ถ้าไปก่อนเวลาจะไม่ค่อยมีคน เนื่องจากที่นี่เน้นตลาดเย็นถึงค่ำ บางร้านก็ปิดเที่ยงคืน ช่วงเย็นๆ ค่ำๆ คนจึงเยอะมากๆ […]

500 Cafe : Fetish & BDSM Cafe พื้นที่เปิดกว้างที่อยากสร้างบทสนทนาเรื่องรสนิยมทางเพศ

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะพูดถึงเรื่องเซ็กซ์หรือรสนิยมทางเพศได้อย่างเปิดเผยในสถานที่สาธารณะอย่างร้านกาแฟหรือคาเฟ่ทั่วไป ยิ่งเป็นการพูดถึงรสนิยมทางเพศที่มีความเฉพาะเจาะจงขึ้นไปอีกอย่าง Fetish และ BDSM ที่ไม่ได้เป็นเรื่องคุ้นชินในไทยด้วยแล้ว ยิ่งเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่ ‘ตอง-ศานตรส ชูชีพ’ ผู้บริหารร้าน ‘FORFUN STORE’ ที่ขายสินค้าเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับและอุปกรณ์เกี่ยวกับ Fetish และ BDSM มาก่อน ตัดสินใจเช่าห้องแถวฝั่งตรงข้ามร้านเดิม เพื่อเปิด ‘500 Cafe’ เป็นอีกหนึ่งสถานที่นัดพบแห่งใหม่ของคนในคอมมูนิตี้ 500 Cafe เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่อยากให้คาเฟ่แห่งนี้เป็นเหมือนศูนย์รวมของคนที่ชื่นชอบรสนิยมทางเพศในรูปแบบ Fetish และ BDSM ได้มาพูดคุยกัน และทำให้ลูกค้าทั่วไปเข้าใจความชอบในอีกรูปแบบหนึ่งมากขึ้น Fetish & BDSM คือรสนิยมทางเพศ ไม่ใช่เรื่องแปลก ก่อนจะไปพูดคุยเรื่องตัวร้าน เราคิดว่าหลายคนอาจยังไม่ค่อยรู้จักคำว่า Fetish และ BDSM ที่อยู่ในชื่อร้านกันมากนัก ขนาดตองเองยังบอกกับเราว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่มองเข้ามาและรู้สึกว่าความชอบเหล่านี้เป็นเรื่องประหลาดหรืออาจถึงขั้นวิตถาร เราเลยขอให้ตองช่วยแนะนำรายละเอียดเรื่องนี้แบบพื้นฐาน 101 ให้ผู้อ่านก่อน “ถ้าคุณชอบเซ็กซ์ในรูปแบบที่ต้องมีอุปกรณ์ มีการแต่งตัวร่วมด้วย หรือเห็นเท้า รองเท้า ถุงเท้า อวัยวะในร่างกาย หรือใส่เสื้อผ้าบางประเภทแล้วมีอารมณ์ เราจะเรียกคนที่ชอบและคลั่งไคล้แบบนี้ว่า […]

เสียงจากเด็กฝั่งธนฯ ผู้เฝ้ามองย่านของตัวเองที่กำลังขยายตัว กับ แบงค์​ Environman | คนย่านเดียวกัน EP.9

รายการ ‘คนย่านเดียวกัน’ เอพิโสดนี้ ชวน ‘แบงค์-ศุภฤกษ์ กัลปพงศ์’ Assistant Content Director จากเพจ Environman ที่ทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างขันแข็งมาพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงถิ่นที่อยู่อาศัยและการเติบโต ชีวิตวัยเด็กของเขาโตมาในสำเหร่ ย่านจากฝั่งธนฯ ที่หลายคนคุ้นชื่อแต่อาจไม่รู้ที่ตั้ง จนมาถึงปัจจุบันที่อยู่ในจุดที่เมืองกำลังขยาย มีรถไฟฟ้าเข้าถึง  แน่นอนว่าความเจริญคือสิ่งที่ดี ทว่าสิ่งที่หายไปกับความก้าวหน้านี้กลับกลายเป็นพื้นที่สีเขียวที่มีความสำคัญต่อชีวิตคนเมือง ในฐานะของคนที่ขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้มาโดยตลอด ชายหนุ่มมองปรากฏการณ์เมืองขยายยังไง และความทรงจำของย่านสำเหร่ในอดีตจนถึงตอนนี้ของเขาเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน มาสำรวจผ่านเสียงของเขากัน ติดตามฟัง ‘คนย่านเดียวกัน’ ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/iX6QWA091VE Spotify : http://bit.ly/3XWuQKL Apple Podcasts : http://bit.ly/3INEsmW Podbean : http://bit.ly/3lRjNoT

7 สารคดีว่าด้วย ‘เซ็กซ์’ ที่ไม่ให้แค่ความเสียว แต่บอกเล่าความเชื่อ วัฒนธรรม และสังคมด้วย

เมื่อพูดถึง ‘เซ็กซ์’ หลายคนคงนึกถึงกิจกรรมทางเพศที่เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางร่างกายของมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์ยังอาจเชื่อมโยงกับอารมณ์ ความรู้สึก ค่านิยม วัฒนธรรม ฯลฯ มากไปกว่านั้น เซ็กซ์ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในแวดวงธุรกิจอย่างการผลิตหนังโป๊และสื่อลามกอนาจาร ที่สร้างรายได้มหาศาลและกระตุ้นความกระสันให้ผู้ชมนับล้าน คอลัมน์ Urban’s Pick รวบรวม 7 สารคดีดูสนุกว่าด้วยเรื่องเซ็กซ์แบบเน้นๆ ที่จะพาทุกคนไปเปิดโลกเรื่องเพศที่ไม่ได้มีแค่เรื่องลามก แต่ยังลงลึกถึงประวัติศาสตร์และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเพศศึกษา อิทธิพลของเซ็กซ์ต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไปจนถึงเบื้องหลังอุตสาหกรรมหนังโป๊ที่ไม่ได้สนุกและเร้าใจเหมือนเบื้องหน้าเสมอไป 01 | Hot Girls Wanted (2015) ชีวิตที่ไม่ง่ายของดาราหนังโป๊มือสมัครเล่น แม้ว่าปัจจุบันสังคมจะเริ่มยอมรับอาชีพ ‘Sex Creator’ มากขึ้น แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเบื้องหลังอุตสาหกรรมสื่อลามกก็ยังเต็มไปด้วยปัญหาสังคมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กสาวที่ตัดสินใจก้าวเข้าสู่วงการนี้เยอะขึ้นเรื่อยๆ ‘Hot Girls Wanted’ คือสารคดีที่บอกเล่าถึงความขื่นขมในอุตสาหกรรมหนังโป๊ขนาดเล็ก ที่ดึงดูดผู้หญิงวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยเข้ามาเป็น ‘ดาราหนังโป๊มือสมัครเล่น’ เพราะทำไม่ยากและรายได้ดี โดยเรื่องนี้จะพาผู้ชมไปดูตั้งแต่การเปิดรับสมัครเด็กสาวมาเล่นหนังโป๊ จนถึงช่วงที่พวกเธอเข้าวงการและเริ่มถ่ายทำหนังโป๊เป็นครั้งแรก มากไปกว่านั้น ตลอดเวลา 84 นาทีของสารคดียังพาไปทำความเข้าใจความคิดของเหล่าดาราหนังโป๊มือใหม่ รวมถึงตีแผ่ความยากลำบากที่พวกเธอต้องเผชิญ เช่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำหนังโป๊ ความบาดหมางกับสมาชิกในครอบครัว การโดนบุลลี่จากคนรอบตัว ฯลฯ รับชม Hot […]

ดราม่าหลังกล้อง และความเสวที่ไม่ได้บิลด์กันง่ายๆ ของ ‘ครูแพรว’ แอ็กฯ เสวที่คนตามหลักแสน

สำหรับคนที่ Follow เธออยู่แล้ว เรารู้กันดีว่าช่อง ‘ครูแพรว’ ไม่ใช่ช่องสอนหนังสือ เราไม่ได้ติดตามครูแพรวในฐานะครู แต่คือ Porn Creator ทรานส์เจนเดอร์ยอดนิยม เจ้าของแอ็กเคานต์ OnlyFans ที่มีจำนวน Subscribers จากทั่วโลกหลักพัน และมียอด Followers ในช่องทางอื่นๆ เรือนแสน สารภาพตามตรง เราเคยคิดว่าชื่อแอ็กเคานต์เป็นแค่กิมมิกให้จำง่ายเฉยๆ แต่พอได้นั่งคุยกับ ‘แพรว-แพรวไพลิน กสิวัฒนา’ แบบตัวต่อตัวกันในบ่ายวันนี้ เราถึงรู้ว่าเธอเป็นครูจริงๆ นอกจากบทบาทคนทำคลิปเสียว ครูแพรวคือหนึ่งในหุ้นส่วนและครูของโรงเรียนสอนแต่งหน้า กันคิ้ว และสอนบุคลิกภาพแห่งหนึ่งในขอนแก่น แถมเธอยังเป็นนางงามที่เพิ่งคว้ามงกุฎ Miss Trans Thailand มาหมาดๆ เมื่อปี 2022 และกำลังปลุกปั้นช่องยูทูบที่ทำคอนเทนต์เมาท์มอยและไลฟ์สไตล์ของตัวเองขึ้นมาอย่างมุ่งมั่น เส้นทางชีวิตก่อนหน้านี้ของเธอก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ตั้งแต่รู้ว่าอยากใช้ชีวิตแบบไหน ครูแพรวก็ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตแบบนั้น แต่ชีวิตก็คือชีวิต มันไม่มีอะไรง่ายและไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป คอลัมน์ The Professional คราวนี้ เราจึงอยากชวนครูแพรวมาทบทวนเส้นทางที่ผ่านมา แล้วสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากชีวิตและการทำงานในฐานะ Porn Creator กับอีกสารพัดบทบาทของเธอให้เราฟัง นี่คือบทเรียนที่เธอไม่เคยเล่าหน้ากล้อง ไม่เปิดเผยบน […]

จากราชบุรีถึงอเมริกา ฟังเสียงเพลงจากชีวิตของ ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ วง Selina and Sirinya

“ถ้าจังหวะมันไม่ได้ก็แค่พักไว้ก่อนและฝึกฝนไปด้วย ชีวิตต้องมีรายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดการ แต่ถ้าเวลาผ่านไปแล้วเราไม่ทำสิ่งที่รัก แน่นอนว่ามันย้อนกลับไปไม่ได้ ทุกวันคือต้องทำ ยิ่งทำก็ยิ่งก่อตัว “เราอยากให้เพลงที่ทำช่วยเยียวยาคนอื่น เป็นส่วนหนึ่งในความสร้างสรรค์ที่ให้แรงบันดาลใจ และส่งเสริมสังคมให้ดีขึ้น” ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ ครองตนเป็นศิลปินมาจนถึงปัจจุบันในวัย 39 ปี เริ่มตั้งแต่เขาเติบโตเล่าเรียนในบ้านเกิดที่จังหวัดราชบุรี พอย่างเข้าวัยรุ่นก็เรียนที่ช่างศิลปสุพรรณ และไปเป็นเด็กวิจิตรศิลป์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงมหาวิทยาลัย ช่วงเวลานี้เองที่เขาได้พบรักกับสองสิ่ง หนึ่งคือ Selina (เซลิน่า) แบ็กแพ็กเกอร์สาวชาวอเมริกันที่มาเที่ยวที่ไทย สองคือ วงดนตรีที่ร่วมสร้างขึ้นมากับเพื่อนซี้สุดซัดมาด ‘เอ๊ะ-นที ศรีดอกไม้’ ในนาม Selina and Sirinya จากการพบรักก่อตัวเป็นสิ่งที่รัก ชีวิตศิลปินของรามได้ออกเดินทางครั้งใหญ่ เขาโยกย้ายไปอยู่กับครอบครัวที่มีภรรยาและลูกอีกสองคนที่ประเทศอเมริกาเป็นเวลาสิบกว่าปี เดือนไหนที่อาชีพคนสวนในฟาร์มกัญชาของเขาสามารถหยุดงานได้ รามจะพาครอบครัวบินกลับมาที่ไทย และใช้ชีวิตออกทัวร์เล่นดนตรีกับเพื่อน  เรานึกถึงบทสนทนาข้ามทวีปในช่วงสิ้นปีที่ได้คุยกับราม ถึงจุดเริ่มต้นของการไปใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกา เรื่องราวเหล่านั้นประกอบด้วยงานเพลง ความฝัน ความนึกคิด ความเป็นศิลปิน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เขาอาศัยอยู่ เนื่องในเดือนกุมภาพันธ์นี้ วง Selina and Sirinya กำลังมีทัวร์เปิดอัลบั้มสามที่กรุงเทพฯ คอลัมน์ Think Thought […]

Sexy Red Light District จะเป็นอย่างไรถ้าประเทศไทยทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมาย

‘ประเทศไทย’ ถือเป็นดินแดนแห่ง ‘ศูนย์กลางการค้าประเวณี’ ที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก จนทำให้นักท่องเที่ยวมากมายต่างมีหมุดหมายข้ามทวีปมาเพื่อสัมผัสบริการทางเพศหลากหลายรูปแบบ เว็บไซต์ Havocscope ที่เก็บข้อมูลผู้ค้าบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ในปี 2557 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของประเทศไทยสามารถทำรายได้มากกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี และอีกห้าปีต่อมาก็ขยับเป็นสองล้านล้านบาท ซึ่งอาจกลายเป็นรายได้หลักของประเทศเลยทีเดียว แม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยจะเฟื่องฟูและทำรายได้มหาศาล แต่ไฉนการค้าประเวณีในประเทศนี้ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แถมสังคมยังมองว่าธุรกิจเหล่านี้ทำให้เกิดอาชญากรรม การค้ามนุษย์ และยังเป็นเรื่องผิดบาปเพราะขัดต่อศีลธรรมทางศาสนา รวมไปถึงการมีเอี่ยวเก็บส่วยแบ่งกันรวยของเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบและผู้ทรงอิทธิพลต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือกฎหมาย และอาจเป็นเหตุผลที่แก้ไม่ได้หากธุรกิจนี้ยังเป็นสีเทา คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองให้ประเทศไทยสามารถปัดเป่าความสกปรกของธุรกิจสีเทานี้ให้กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความน่าจะเป็นอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น ยกระดับอาชีพ Sex Worker เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบอาชีพ ‘Sex Worker’ หรือผู้ให้บริการทางเพศ มักได้รับการตีตราจากมุมมองทางศีลธรรมของสังคมว่าเป็นอาชีพที่ไร้ซึ่งเกียรติใดๆ และเป็นต้นตอของปัญหาการเกิดอาชญากรรมต่างๆ นั่นเพราะว่าอาชีพ Sex Worker เป็นอาชีพลับเฉพาะ การเปลี่ยนให้มีกฎหมายคุ้มครองการค้าประเวณี ทำให้ธุรกิจค้าบริการทางเพศโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จะช่วยคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ ของผู้ค้าบริการ รวมถึงการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ได้ เป็นต้น ทั้งกำหนดให้ผู้ค้าบริการมีบัตรประจำตัวสองใบ ได้แก่ ใบประกอบวิชาชีพและใบรับรองสุขภาพ รวมถึงกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจสถานค้าบริการต้องเสียภาษี เพื่อจะได้มีสวัสดิการต่างๆ เฉกเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ปรับพื้นที่และกำหนดเขต Sex […]

Sexualbulary 8 คำศัพท์ที่บอกเล่าถึงความหลากหลายของรสนิยมทางเพศ

หากพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับ ‘เซ็กซ์’ แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือเรื่องของรสนิยมทางเพศ ซึ่งเป็นการนิยามถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจทางเพศ ของแต่ละบุคคล โดยรสนิยมทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ระบุเพศตัวเองว่าตรงกับเพศกำเนิด หรือคนที่อยู่ในกลุ่มของ LGBTQIA+ ก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วรสนิยมทางเพศแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ รักต่างเพศ รักร่วมเพศ รักสองเพศ และไม่ฝักใฝ่ทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภายใต้กลุ่มใหญ่เหล่านี้ยังมีรสนิยมทางเพศกลุ่มย่อยอีกมากมายที่หลายคนอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน คอลัมน์ Urban’s Pick ขอพาไปเรียนรู้ 8 คำศัพท์เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ ซึ่งจะทำให้เราได้เรียนรู้และเห็นความหลากหลายในสังคมมากขึ้น ทั้งนี้ คำศัพท์ที่เรายกตัวอย่างมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความหลากหลายเท่านั้น ยังมีรสนิยมทางเพศอีกมากมายที่รอให้ทุกคนได้ทำความรู้จัก และค่อยๆ เรียนรู้ไปด้วยกัน Asexual  เริ่มกันด้วยคำศัพท์ที่หลายคนอาจคุ้นเคยอยู่แล้ว เพราะเป็นส่วนหนึ่งในตัวย่อของ LGBTQIA+ นั่นคือ ตัว A ที่ย่อจากคำว่า ‘Asexual’ ซึ่งเป็นรสนิยมทางเพศที่ช่วงหลังมานี้ถูกพูดถึงบ่อยขึ้น แต่คนจำนวนไม่น้อยยังอาจสับสนในความหมายอยู่ดี  Asexual คือรสนิยมทางเพศที่ระบุถึงคนที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศ ไม่สนใจการมีเซ็กซ์กับใคร แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถมีเซ็กซ์ได้เลย เพียงแค่จะมีอารมณ์ทางเพศน้อยไปจนถึงไม่มี ทั้งนี้ Asexual อาจมีทั้งคนที่มีความรู้สึกรักใคร่ในตัวบุคคลอื่น และคนที่ไม่มีความรู้สึกนั้น ทั้งนี้ […]

Sexploration ล้วงลับ จับปัญหาเรื่องเพศ ที่ทำอย่างไรไทยก็ไม่เปิดกว้างเสียที

ในขณะที่ประเทศไทยเรียกตัวเองว่าเป็น ‘เมืองพุทธ’ และกีดกัน ‘อบายมุข’ ทุกวิถีทาง แต่ต่างชาติกลับรู้จักไทยเพราะ ‘สถานเริงรมย์’ ชื่อดังที่มาจาก ‘การท่องเที่ยวทางเพศ (Sex Tourism)’  เพราะไม่ว่าจะเป็นย่านพัฒน์พงศ์ ซอยคาวบอย ซอยธนิยะ หรือพัทยา เหล่านี้ล้วนเป็นสถานที่สำหรับแสวงหาความสำราญในยามค่ำคืน มีเม็ดเงินสะพัด จนสร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศ แต่ไม่ว่าการท่องเที่ยวรูปแบบนี้จะทำรายได้มากแค่ไหน ตัวเลขเหล่านี้กลับไม่เคยถูกนับรวมเข้าไปในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เลยสักครั้ง เพราะการท่องเที่ยวทางเพศไปจนถึงการซื้อขายและเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร ยังถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทย และถูกมองในเชิงลบจากประชาชนบางกลุ่ม เนื่องจากได้รับการปลูกฝังและเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนผ่านมุมมองทางศีลธรรม ทำให้เรื่องเพศในไทยเป็นเสมือนเรื่องต้องห้ามที่ไม่สามารถพูดคุยได้อย่างเปิดเผย คอลัมน์ Overview ประจำเดือนกุมภาพันธ์ขอหยิบเอาอีกแง่มุมหนึ่งในสังคมอย่างปัญหาเรื่องเพศออกมาสำรวจกันอีกครั้ง พร้อมชวนหาคำตอบว่าทำไมไทยถึงไม่สามารถเปิดกว้างเรื่องเพศอย่างประเทศอื่นเขาได้เสียที  สถิติการท่องเที่ยวทางเพศในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องตลกร้ายอยู่ไม่น้อยที่สถานบริการทางเพศกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งคนไทยและต่างชาติรู้ดี แต่ตำรวจไทยกลับ (แกล้ง) ไม่รู้ จนถึงขนาดว่าในปี 2562 ตำรวจได้ลงพื้นที่สำรวจวอล์กกิ้งสตรีทที่พัทยา แต่กลับไม่พบว่ามีการขายบริการทางเพศในบริเวณนั้น ทั้งๆ ที่หากย้อนกลับไปเมื่อในปี 2557 เว็บไซต์ Havocscope ได้เก็บข้อมูลผู้ขายบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ประเทศไทยมีผู้ให้บริการทางเพศมากกว่า 250,000 คน จากทั้งหมดประมาณ 13.8 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ […]

Urban Eyes 24/50 เขตพญาไท

เขตพญาไทน่าจะเป็นหนึ่งในเขตกรุงเทพฯ ที่อัดแน่นไปด้วยแหล่งการค้า การบริการ และที่อยู่อาศัย หลายย่านในเขตถูกจัดให้เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวิถีชีวิตคนเมือง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เพราะอย่างที่หลายคนทราบว่าร้านอาหารดีๆ คาเฟ่เท่ๆ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตนี้ แต่ถ้าได้ลงไปสำรวจพื้นที่ เดินตามตรอกซอกซอยแบบจริงจัง จะเจอร้านรวงเหล่านี้มากกว่าที่คาดไว้เยอะมาก ไม่ว่าตัวร้านจะตั้งใจเป็นร้านลับหรือไม่ลับก็ตาม เริ่มต้นการเดินทางในเขตพญาไทที่ถนนพหลโยธิน ซึ่งเขตนี้เป็นต้นสายของถนนพอดี เราประทับใจทางเท้าที่นี่มากๆ เพราะทั้งกว้างขวาง เดินง่าย และค่อนข้างสะอาด ถ้ามีแบรนด์แฟชั่นระดับไฮเอนด์มาลงที่ถนนเส้นนี้ คงมีบรรยากาศไม่ต่างจาก Fifth Avenue ของเมืองนิวยอร์กเลย ยิ่งช่วงตอนเที่ยงที่พนักงานออกมาพักกินข้าว คนก็แทบจะแน่นเต็มฟุตพาท ส่วนตอนเลิกงานคนก็เยอะไม่แพ้กัน ถือเป็นถนนที่มีความเคลื่อนไหวและสะท้อนถึงชีวิตคนเมืองได้เป็นอย่างดี ขยับมายังย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ ที่ระหว่างทางมีร้านสวยๆ คอนเซปต์เจ๋งๆ เรียงรายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านของหวาน ร้านขายของที่ระลึก ฯลฯ เรียกได้ว่ามีร้านอยู่แทบทุกอาณาบริเวณ ขนาดเป็นซอยลึกก็ยังมีร้านลับซุกซ่อนตัวอยู่ การหาโมเมนต์ถ่ายภาพแนวสตรีทตามร้านเหล่านี้อาจจะยากหน่อย แต่ถ้าอยากถ่ายรูป Portrait สนุกๆ ต้องยกให้แถวนี้เป็นอันดับหนึ่งเลย ปิดท้ายด้วยสถานที่ที่ผู้อ่านอาจยังไม่รู้กัน นั่นคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปกติแล้วถ้าดูใน Google Maps เราแทบจะไม่เห็นพื้นที่สีเขียวในละแวกเขตพญาไทเท่าไหร่ แต่โชคดีที่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เราได้ไปร่วมกิจกรรม Ari EcoWalk […]

1 26 27 28 29 30 80

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.