ไต้หวันขยายสิทธิให้คู่รัก LGBTQ+ รับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกันได้

เมื่อพูดถึงการเปิดกว้างเรื่อง ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ‘ไต้หวัน’ น่าจะเป็นประเทศที่โอบรับความหลากหลายทางเพศมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะเป็นประเทศแรกที่ให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่สิทธิที่ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันได้หลังจากแต่งงานยังไม่เท่าเทียมกับคู่แต่งงานชายหญิง เพราะกฎหมายยังห้ามไม่ให้คู่แต่งงานเพศเดียวกันรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกัน เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไต้หวันพูดเรื่องความเสมอภาคได้อย่างไม่เต็มปาก แต่ล่าสุดไต้หวันได้ผลักดันการแก้กฎหมายที่ยังละเมิดความเท่าเทียมทางเพศ โดยอนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศในทุกๆ ด้าน ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มีความเสมอภาคมากที่สุดในเอเชีย ‘ไต้หวัน’ ประเทศแรกในเอเชียที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เดิมการแต่งงานของเพศเดียวกันยังเป็นข้อห้ามทางด้านกฎหมายในไต้หวัน จนกระทั่งปี 2560 ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาและตัดสินว่ากฎหมายข้อนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิและความเสมอภาคของพลเมืองตามหลักรัฐธรรมนูญ รัฐสภาไต้หวันจึงต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล ทำให้ในปี 2562 รัฐสภาไต้หวันได้ผ่านร่างกฎหมายให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากฝ่ายอนุรักษนิยม แต่ไต้หวันก็สามารถเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  แต่งงานกับชาวต่างชาติได้ถ้าประเทศคู่รักรองรับสมรสเท่าเทียม การสมรสเท่าเทียมทำให้คู่รัก LGBTQ+ ได้รับสิทธิเกือบเท่าเทียมคู่รักชายหญิง แต่พวกเขายังถูกจำกัดสิทธิเรื่อง ‘การแต่งงานกับชาวต่างชาติ’ และ ‘การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม’ ที่ยังคงจำกัดสิทธิบางอย่างอยู่ เพราะตามกฎหมายเดิม ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันจะแต่งงานกับชาวต่างชาติได้ก็ต่อเมื่อ คู่รักมาจากประเทศที่มีกฎหมายรองรับสมรสเท่าเทียมเท่านั้น เช่น ถ้าคู่รักเป็นชาวไทยก็จะไม่สามารถแต่งงานกันได้ เพราะประเทศไทยยังไม่บังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 การสมรสเท่าเทียมของไต้หวันก็มีความเท่าเทียมมากขึ้น หลังจากกฎหมายเพิ่มสิทธิรองรับการแต่งงานคู่รัก […]

ร่วมออกแบบนโยบายเพื่อยกระดับ ‘การท่องเที่ยวชุมชนของสระบุรี’ ให้เป็นเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

‘สระบุรี’ คือจังหวัดเมืองรองในภาคกลางที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก มีพื้นที่ราบสลับกับพื้นที่ภูเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมผสมผสานกับพื้นที่การเกษตร ทว่านอกจากเป็นเมืองทางผ่านที่สำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศแล้ว สระบุรียังเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์กระจายตัวอยู่มากมาย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะชุมชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสักของสระบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นมาไม่น้อยกว่า 150 ปี ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายของชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทยวน ลาวเวียง พวน มอญ และจีน ทำให้สระบุรีมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ที่กำลังรอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สระบุรีและอีก 3 จังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา กลับต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการท่องเที่ยวชุมชนในมิติต่างๆ เช่น ชุมชนไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือภาคธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การเปลี่ยนกรอบความคิดของคนในชุมชน การสร้างผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนามาตรฐานของสินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น เพื่อยกระดับและพัฒนา ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ ของสระบุรีให้กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทาง Thailand Policy Lab และ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation […]

ลัดเลาะ ‘ท่องธน’ ผจญภัยล่าขุมทรัพย์ ที่ซ่อนอยู่ใน ‘บางกอกใหญ่’

เชื่อว่านิยามคำว่า ‘ฝั่งธนฯ’ ของแต่ละคนมีความแตกต่าง แต่ไม่ว่าอาณาเขต ‘ธนบุรี’ ในความรู้สึกนึกคิดของคุณจะกว้างใหญ่เพียงใด เพียงแค่ฟากซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ไกลจรดทะเลบางขุนเทียน หรือยาวไปถึงชายแดนกรุงเทพฯ ติดปริมณฑลอย่างบางแค-หนองแขม ก็ตามที รู้หรือไม่ว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้เริ่มที่ย่านบางกอกใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองของกรุงธนบุรี ราชธานีเก่าของเมืองไทย คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้เลยขออาศัยไกด์บุ๊กนำทางติดกระเป๋า พร้อมแอปพลิเคชันเกม ‘ท่องธน’ (Game of Thon) สวมบทนักผจญภัย โดยมีสมาชิกกลุ่มยังธนและผู้พัฒนาเกมเป็นคนนำทีม เปิดแมปฝั่งธนฯ ตะลุยบางกอกใหญ่ ในชุมชนวัดนาคกลาง หาขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ทั้งโบราณสถาน ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่สัญลักษณ์เมืองไทยอย่างพระปรางค์วัดอรุณฯ แต่ยังรวมไปถึงผู้คนริมคลองมอญและร้านรวงของคนในย่านที่เป็นเสมือน Hidden Gem หากอยากลองชิมลางร่วมตี้ แค่โหลดเกมและจัดทีมก็ออกมาร่วมสนุกได้ หรือหากอยากรู้จักฝั่งธนฯ แบบทะลุปรุโปร่ง หยิบไกด์บุ๊กท่องธนใส่กระเป๋าแล้วออกย่ำเท้าไปพร้อมกัน เมื่อจบภารกิจท่องธนครั้งนี้แล้ว ไม่แน่ว่าคำนิยามและความรู้จักของคุณที่มีต่อฝั่งธนฯ อาจเปลี่ยนไป เรานั่งย้อนเขียนถึงเรื่องราวการผจญภัยนี้ที่ฝั่งพระนคร มองย้อนออกไปริมแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องไปไม่ไกลคือ ‘วังเดิม’ ศูนย์กลางการปกครองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวของกรุงธนบุรี ที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของกองทัพเรือ ติดกับวัดอรุณราชวรารามฯ หากอ้างอิงตามประวัติศาสตร์กระแสหลัก ภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาสิ้นสภาพไป เกิดการสถาปนาเมืองแห่งใหม่ขึ้นมาไม่ไกลจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา ราชธานีแห่งนี้ตั้งอยู่ได้ประมาณ 15 ปี ก่อนเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญที่ทำให้มีการย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำ […]

ชีวิตแบบ Spider-Neighbor ฮีโร่ของไทย เพื่อนบ้านคนใหม่ใน Bangklyn (Earth-112)

ติดตาม ‘Spider-Man’ มาตั้งแต่เวอร์ชันแรก ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีฮีโร่คนนี้อยู่ในจักรวาลอื่นๆ ด้วย แต่ ‘Spider-Man : Across the Spider-Verse’ ก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนบนจักรวาลนี้ ก็สามารถเป็นฮีโร่แมงมุมได้ด้วยเหมือนกัน พอได้เห็น Spider-Man ในภาพที่แตกต่างกันออกไปมากมายแล้วก็แอบนึกสงสัยว่า ถ้าหากมีไอ้แมงมุมในประเทศไทยของเราบ้างจะเป็นอย่างไร จะสามารถเดินทางข้ามตึกโดยเท้าไม่แตะพื้นเหมือนที่นิวยอร์กได้หรือเปล่า หรือจะต้องเผชิญกับรถจำนวนมากบนท้องถนนเหมือนกับที่มุมแบตตันกันนะ คอลัมน์ Urban Isekai ขอพาทุกคนไปติดตาม ‘Spider-Neighbor’ ฮีโร่เพื่อนบ้านที่แสนดีในเวอร์ชันที่ต้องใช้ชีวิตที่เมือง ‘Bangklyn’ กันว่า ในโลกหมายเลข 112 นี้ชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรบ้าง Daily Life : ถึงจะมีตัวช่วยทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป แต่การเดินทางก็ยังยากลำบากเหมือนเดิม ครั้งหนึ่ง Spider-Neighbor เคยมีชีวิตธรรมดาเหมือนกับ Spider-Man ในโลกอื่นๆ ก่อนหน้านี้เขาเป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาเดินทางในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เคยเดินสะดุดฟุตพาทเพราะกระเบื้องไม่เสมอกันจนทำให้เลือดท่วมมาแล้ว แต่หลังจากโดนแมงมุมกัดจนกลายเป็น Spider-Neighbor เขาก็มีตัวช่วยอย่างใยแมงมุมที่ควรจะช่วยร่นเวลาเดินทางในเมืองได้ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของ Bangklyn ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตึกสูงที่มีน้อยและตั้งอยู่ห่างกันจนไม่สามารถโหนตัวข้ามตึกได้ รวมถึงเสาไฟฟ้าและสายไฟระโยงระยางที่กีดขวางการห้อยโหน ทำให้ต้องโหนตัวระดับที่ต่ำและใกล้กับพื้นดิน ซึ่งวิธีนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ชนอีกด้วย […]

ญี่ปุ่นกับนโยบายเช่าและขายบ้านราคาถูก ที่หวังแก้ปัญหาคนกระจุก บ้านร้างกระจาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำเอารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นปวดหัวไม่แพ้กับปัญหาสังคมผู้สูงอายุเลยคือ การเพิ่มจำนวนของ ‘บ้านร้าง’ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนหมู่เกาะ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต่างไปจากเดิม จนไม่ต้องการเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้อและบำรุงรักษาบ้านอีกต่อไป เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนพากันทิ้งบ้าน เดินทางเข้าหัวเมืองใหญ่เพื่อเช่าหรือซื้อห้องพักบนตึกสูงประเภทคอนโดฯ แทน เนื่องจากมองว่ามีความสะดวกสบายและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบ้านในรูปแบบเดิมๆ ปัญหาที่ตามมาคือการกระจุกตัวของผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมากบริเวณใจกลางเมืองใหญ่ เพราะไม่อยากให้บ้านถูกทิ้งไว้จนเปล่าประโยชน์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา และออกมาตรการผลักดันให้บ้านที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้กลับมามีเจ้าของอีกครั้ง ด้วยการเปิดขายบ้านราคาถูกและออกนโยบายช่วยเหลือในส่วนต่างๆ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผุดขึ้นของบ้านร้างในประเทศญี่ปุ่น ไปจนถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ต้องการกระจายคนไปตามบ้านร้างต่างๆ ทั่วประเทศ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แค่ใจกลางเมือง จำนวนบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น ถ้าจะพูดว่า ในตอนนี้แดนอาทิตย์อุทัยกำลังตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะการเก็บสถิติในปี 2018 พบว่า ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้างที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเกาะมากถึง 8.49 ล้านหลัง และสถาบันวิจัยโนมูระยังคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านหลังภายในปี 2023 แต่เนื่องจากเทรนด์การเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมที่อยู่อาศัยมือหนึ่งในรูปแบบคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น และไม่นิยมซื้อบ้านมือสองอีกต่อไป ทำให้จำนวนบ้านร้างมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัยหรือรับช่วงต่ออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งความนิยมคอนโดฯ มือหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารที่ระบุว่า เมื่อปี 2018 ญี่ปุ่นมีที่อยู่อาศัยซึ่งรวมทั้งบ้านและคอนโดฯ ทั้งหมด 62.41 ล้านยูนิต และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65.46 ล้านยูนิตภายในปี 2023 กราฟที่เพิ่มสูงขึ้นชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่งกำลังเติบโตขึ้น […]

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

FYI

#แพทย์ลาออก เสียงสะท้อนจากเหล่าบุคลากรทางการแพทย์

จากกระแส #แพทย์ลาออก ที่กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายต่อหลายคน ทั้งคนที่กำลังเรียนอยู่ กำลังอยู่ในช่วงทำงานใช้ทุน หรือกระทั่งทำงานมานานแล้ว ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นคนทำงานเหมือนๆ กับทุกอาชีพ ที่ต้องการระบบการทำงานที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นพิษ Work-life Balance ที่เหมาะสม และคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน ด้วยวาระนี้เอง Urban Creature จึงติดต่อไปหา 5 บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นที่ให้พวกเขาส่งเสียงสะท้อนถึงระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ทั้งยังทำให้คนทำงานหมดแรงหมดใจไปเรื่อยๆ อ. อายุ 24 ปีแพทย์จบใหม่ที่พยายามอยู่ในระบบให้ได้ เราเป็นแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในระบบราชการได้ราวๆ 1 เดือน เหตุผลที่ตัดสินใจยังอยู่ในระบบเพราะการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาที่เราสนใจ เราโชคดีที่จับฉลากได้อยู่จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งต้องแก่งแย่งกับเพื่อนๆ จากโควตาภาคกลางอันน้อยนิด บางคนโชคร้ายต้องไปอยู่ไกลบ้านมากๆ บางคนต้องไปอยู่จังหวัดที่พูดชื่อขึ้นมาก็ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ประเทศไทยด้วยซ้ำ การทำงานในทุกๆ วันมีความเครียดและกดดัน ทั้งคนไข้ปริมาณมหาศาลที่ต้องตรวจให้หมดในเวลาอันจำกัด การต้องอดนอน ทำงานติดต่อกันหลายวัน รวมถึงความเครียดจากสตาฟฟ์เวลาปรึกษาปัญหาของคนไข้ กลายเป็นว่าบางครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ยากๆ คนเดียว ทั้งที่เราเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ การเป็นหมอเคยเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบและสนุกเวลาทำงาน แต่ด้วยระบบและสิ่งแวดล้อม มันค่อยๆ บั่นทอนแพสชันของเราและเพื่อนไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ในหัวคิดไปเป็นวันๆ ว่าเราจะผ่านวันนี้ไปยังไงให้สุขภาพจิตของเรายังดีเหมือนเดิม โอ๊ต อายุ 23 […]

‘รัฐสภา’ ย้อนดูความเป็นมาของสถานที่เริ่มต้นในการพัฒนาประเทศและต่อสู้ทางอุดมการณ์

หลังจากสถานีการเลือกตั้งอันแสนดุเดือดจบลง สถานีต่อไปที่ประชาชนจับตามองคือ กระบวนการที่รัฐบาลชุดใหม่เข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา แน่นอนว่าเมื่อพูดถึง ‘รัฐสภา’ สถานที่แห่งนี้ย่อมเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปอยู่แล้ว เพราะเป็นสถานที่ที่มีไว้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายเข้าไปประชุมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมถึงถ้าหากฝ่ายรัฐบาลทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ฝ่ายค้านก็จะอภิปรายไม่ไว้วางใจ เหมือนอย่างที่เห็นกันตามสื่อต่างๆ ในยุครัฐบาลที่ผ่านมา แม้จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ประกอบด้วยอิฐ หิน ดิน ทราย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘รัฐสภา’ คือฉากหลังสำคัญในการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของเหล่านักการเมืองทุกยุคทุกสมัย ในช่วงเวลาที่สายลมแห่งการเปลี่ยนผ่านพัดพาสู่การเมืองไทย คอลัมน์ Urban Tales จะมาเล่าถึงประวัติศาสตร์รัฐสภาของประเทศไทยว่ามีความเป็นมายังไง แต่ละแห่งมีคอนเซปต์และความสำคัญอย่างไรบ้าง รัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า สถานที่แห่งแรกที่ใช้เป็นรัฐสภาคือ ‘พระที่นั่งอนันตสมาคม’ ซึ่งเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิตนั่นเอง ส่วนเหตุผลที่สภาผู้แทนราษฎรเข้าไปประชุมในนั้น นั่นก็เพราะในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัชกาลที่ 7 อนุญาตให้ใช้พระที่นั่งฯ เป็นสถานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยใช้ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุม ต่อมาในปี 2489 รัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดให้รัฐสภาไทยเป็นแบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนฯ และพฤฒสภา (สภาสูงหรือสภาอาวุโส) จึงกำหนดให้ใช้พระที่นั่งอภิเศกดุสิตเป็นที่ประชุมของพฤฒสภาอีกแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นหนึ่งปี หรือปี 2490 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ส่งผลให้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุมเพียงแห่งเดียว […]

ร้านไหนเปิดถูกกฎหมาย ร้านไหนทุนจีน ดูได้จากการออกใบเสร็จ

หลังจากเกิดกระแสร้านชาบูหม่าล่าหม้อไฟและสายพานฮิตขึ้นมาแบบฉุดไม่อยู่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้มองไปทางไหนก็มีแต่ร้านหม้อไฟสไตล์จีนหลากหลายรูปแบบเต็มเมืองไปหมด โดยเฉพาะบริเวณห้วยขวางและถนนบรรทัดทองที่มีร้านอาหารทั้งที่เปิดแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายจากกลุ่มทุนจีนปะปนกันอยู่ตลอดสองฝั่งถนน จนบางคนถึงกับตั้งฉายาใหม่ให้เป็นไชนาทาวน์แห่งที่ 2 และ 3 ที่ดูเหมือนว่าจะมีแห่งที่ 4 5 หรือ 6 ตามมาในอนาคตอันใกล้ หากรัฐไม่มีมาตรการการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด ในอนาคตพื้นที่เหล่านี้อาจเต็มไปด้วยร้านอาหารทุนจีนผิดกฎหมาย เนื่องจากใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายในการลักลอบเปิด และทำให้ลูกค้าหลงเข้าไปใช้บริการโดยไม่รู้ตัว เห็นปัญหาแบบนี้แล้ว ถ้าเราอยากกินหม่าล่าขึ้นมา แต่ไม่อยากสนับสนุนร้านอาหารทุนจีนผิดกฎหมาย ต้องทำอย่างไรดี วันนี้ Urban Creature ขอแนะนำวิธีง่ายๆ ในการดูว่าร้านไหนเป็นร้านค้าปลีกที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนอย่างถูกต้องกับกรมสรรพากรผ่านบิลใบเสร็จที่เราจะได้รับหลังจากชำระค่าบริการ 🧾 ร้านแบบไหนต้องออกใบเสร็จให้ลูกค้าบ้าง ปกติแล้วบิลใบเสร็จที่เราได้มาทุกครั้งหลังซื้อของหรือกินอาหาร จะถูกเรียกชื่อเต็มๆ ว่า ‘ใบกำกับภาษีอย่างย่อ’ เป็นเอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วมีหน้าที่ต้องจัดทำและออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ โดยกิจการที่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในที่นี้คือกิจการที่เป็นการขายสินค้าในลักษณะ ‘ขายปลีก’ เช่น ร้านขายยา ร้านขายของชำ หรือห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงกิจการที่ให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม และกิจการประเภทซ่อมแซมทุกชนิดนั่นเอง ซึ่งใบกำกับภาษีอย่างย่อจะเกิดขึ้นได้หลังจากที่ผู้ประกอบกิจการยื่น ‘จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม’ และ ‘ยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษี’ ต่อ ‘กรมสรรพากร’ เท่านั้น 🧾 ใบเสร็จที่ถูกกฎหมายต้องเป็นอย่างไร แต่การที่ผู้ประกอบกิจการจะออกใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับเราได้ ลำพังเพียงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีต่อกรมสรรพากรคงไม่พอ […]

การปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทย เพิ่มขึ้นเท่าไรในช่วงระยะเวลา 10 ปี

วันวันหนึ่งคุณหมดเงินไปกับค่าครองชีพเท่าไหร่ ทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายจิปาถะเล็กๆ น้อยๆ ที่พอรวมกันก็หลายร้อยบาท จากนั้นลองหันมาดูจำนวนเงิน 300 กว่าบาท ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน ที่แค่ใช้จ่ายในแต่ละวันก็แทบไม่เพียงพอแล้ว ไหนจะค่านู่นค่านี่ที่ต่อแถวปรับราคาขึ้นแทบทุกปี แต่ในขณะเดียวกัน ค่าแรงของคนทำงานในประเทศนี้กลับยังแช่แข็งที่เรตเดิม จริงอยู่ว่ามีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ก็เพิ่มขึ้นในจำนวนแค่หลักหน่วยถึงหลักสิบเท่านั้น ซึ่งเอาเข้าจริงจำนวนเงินที่ว่านี้ก็ไม่ได้ช่วยให้คนทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้เท่าไหร่เลย ค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่เริ่มต้น 300 บาทมาตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีการปรับขึ้นไปกี่ครั้ง และในแต่ละครั้งนั้นมากน้อยแค่ไหน เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละวันหรือไม่ คอลัมน์ City by Numbers หาคำตอบมาให้แล้ว ไทยกับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน แม้ว่าเราจะเคยชินกับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่ 300 บาท/วัน แต่ความจริงแล้วอัตราค่าแรงถูกปรับจากปี 2554 ให้เป็นมาตรฐานเท่ากันทั่วประเทศทุกจังหวัดเมื่อปี 2556 และคงอัตรานี้มานานกว่า 4 ปี จนมีการปรับอีกครั้งในปี 2560 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ค่าแรงขั้นต่ำในไทยมีการปรับขึ้นทั้งสิ้น 5 ครั้ง ดังนี้ ปี 2556 ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้นที่ 300 บาท/วัน (ทั่วประเทศ) […]

เช่าหรือซื้อที่อยู่อาศัย เสียเงินแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน

หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า ‘การเช่าบ้านคือการทิ้งเงินเปล่า’ เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘พื้นที่อยู่อาศัย’ แต่คนจำนวนไม่น้อยกลับมองว่า การจ่ายค่าเช่าทุกๆ เดือนนั้นไม่ใช่การลงทุนหรือทำให้ผู้เช่ามีทรัพย์สินที่จับต้องได้ แต่ถ้าหากนำค่าเช่านั้นไปลงทุนซื้อบ้านของตัวเองสักหลัง ท้ายที่สุดแล้วบ้านหลังนั้นก็จะเป็นทรัพย์สินที่เราถือครองได้ตลอดชีวิต ขณะเดียวกัน ไม่ใช่ทุกคนจะมีเงินก้อนใหญ่สำหรับซื้อบ้านได้ แถมการกู้เงินซื้อบ้านยังอาจสร้างภาระผูกพันให้ผู้ซื้อนานถึง 20 – 30 ปี ซึ่งยอดผ่อนแต่ละเดือนอาจมีราคาสูงกว่าค่าเช่าบ้านรายเดือน ทำให้กว่าจะได้เป็นเจ้าของบ้านเต็มตัว ว่าที่เจ้าของบ้านคนใหม่คงต้องประหยัดอดออมรวมไปกับการซื้อบ้าน จนอาจไม่มีเวลาหรือไม่มีเงินที่จะใช้จ่ายให้กับกิจกรรมที่ยังไม่จำเป็น ระหว่างการซื้อบ้านหรือการเช่าบ้านอยู่ ตกลงแล้วตัวเลือกไหนจะดีและเหมาะสมกับเราที่สุด เราขอชวนผู้อ่านไปเปรียบเทียบเงื่อนไขและความคุ้มค่าพร้อมกัน ที่อยู่อาศัยในเมืองมีราคาสูง จากการวิเคราะห์ของเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ Realtor.com พบว่า พื้นที่ของเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกานั้นมีราคาสูง เนื่องจากเป็นแหล่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่จนทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยเติบโตไปด้วย ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้มีมูลค่าที่สูงขึ้น ซึ่งถ้าหากจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่แล้ว การจ่ายค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนจะช่วยประหยัดเงินได้มากกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้ซื้อบ้านถาวร เช่นเดียวกันกับในกรุงเทพฯ ที่แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในเมือง ทำให้ผู้คนจากหลายพื้นที่ต้องเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในเมือง แน่นอนว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ในทำเลทองหรือใกล้ตลาดแรงงานจึงมีราคาสูงขึ้นตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น คอนโดมิเนียมใกล้รถไฟฟ้าสถานีเพลินจิต ราคาซื้อจะอยู่ที่ 4.29 – 6.8 ล้านบาทต่อห้อง ซึ่งในบริเวณใกล้เคียงสถานีเดียวกันนั้น หากเป็นราคาเช่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ 13,900 บาทต่อเดือนขึ้นไป จะเช่าหรือซื้อขึ้นอยู่กับการวางแผนอนาคต สำหรับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ การจะซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ที่มีราคาจับต้องได้จึงอาจเป็นไปได้ยากในตอนนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ในตลาดอสังหาฯ ยังมีที่อยู่อาศัยจำนวนมากที่ปล่อยเช่าในราคาหลายระดับ ตั้งแต่ราคาต่ำกว่า […]

Household คนไทยและถิ่นที่อยู่

‘ที่อยู่อาศัย’ คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นทั้งพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่ที่ให้ความสุขสบายทั้งกายและใจ ดังนั้นการมีบ้านหรือที่อยู่สักแห่งเป็นของตัวเองนั้นจึงเป็นความฝันและเป้าหมายของใครหลายคน แต่การจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในตอนนี้แทบกลายเป็น ‘ความฝัน’ ที่เอื้อมไม่ถึงของคนไทยจำนวนไม่น้อย ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทำให้ทุกคนต้องรัดเข็มขัดให้แน่นกว่าเดิม รวมถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างวัสดุการสร้างบ้าน ค่าที่ดิน หรือดอกเบี้ยการกู้เงินที่สูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จนทำให้คนที่ตั้งใจจะซื้อที่อยู่เป็นทรัพย์สินของตัวเองต่างต้องเลื่อนโครงการในฝันนี้ออกไปเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วเมื่อไหร่ถึงจะได้มีบ้านในครอบครองเสียที คอลัมน์ Overview เดือนพฤษภาคมนี้ ชวนทุกคนไปสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์การเช่าอยู่ที่กำลังมาแรง ไปจนถึงแนวโน้มของที่อยู่อาศัยที่จะรองรับวิถีชีวิตของผู้คนในอนาคต ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองสูง ปัจจุบันที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ มูลค่าของตัวบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่ปรับตัวขึ้น รวมไปถึงราคาประเมินที่ดินเมื่อต้นปี 2566 ที่ปรับขึ้นถึง 8.93 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ราคาซื้อขายที่อยู่ต้องปรับขึ้นตาม โดยทำเลไหนที่เป็นแหล่งตลาดงานและเดินทางสะดวก ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ตัวอย่างทำเลในกรุงเทพฯ ที่ใกล้แหล่งทำงานและขนส่งสาธารณะที่มีราคาสูง ได้แก่  – ถนนเพลินจิต 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสีลม 750,000 – 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสาทร 450,000 […]

1 3 4 5 6 7 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.