ออกแบบเรือ ‘Going Merry’ ให้พร้อมออกเดินทางตามหา One Piece

“ฉันจะเป็นราชาแห่งโจรสลัดให้ได้เลย!” ประโยคปลุกใจที่ไม่ใช่ว่าใครได้ยินแล้วจะแบกเป้ออกเรือเพื่อพาตัวเองไปสู่การเป็นโจรสลัดเบอร์ต้นได้ เพราะการเป็นราชาแห่งโจรสลัดจะคำนึงถึงแค่สมบัติที่ปลายทางอย่างเดียวไม่ได้ แต่กว่าจะไปถึงปลายทางนั้น ประสบการณ์ระหว่างการเดินทาง ผู้ร่วมทาง และแน่นอนว่าเรือโจรสลัดที่จะพาเราออกเดินทางก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยพาเราให้ไปถึงยังฝั่งฝัน ก่อนจะออกเดินทางไปยัง ‘Grand Line’ เพื่อตามรอยลูฟี่และโจรสลัดกลุ่มหมวกฟางในภารกิจตามหาสมบัติที่จะเข้าฉายใน Netflix สิ้นเดือนนี้ เราขออาสาเป็นช่างซ่อมบำรุงแห่งโรงงานอุซปเพื่อเปลี่ยนเรือ ‘Going Merry’ ให้เป็นเวอร์ชันใหม่ที่พร้อมใช้งาน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตกลางทะเล และพากลุ่มโจรสลัดของเราไปตามหา One Piece กันให้ได้ เอาล่ะ พวกรุกกี้ทะเลสีฟ้าหน้าใหม่ จัดกระเป๋า ตั้งล็อกโพสให้ดี แล้วออกไปผจญภัยกันเลย! ความปลอดภัยคือหัวใจของการเดินเรือ ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเดินเรือสู่มหาสมุทรที่กว้างใหญ่ โดย Going Merry ในเวอร์ชันอัปเกรดนี้จะมีอุปกรณ์เสริมเพิ่มเข้ามา เช่น ถังดับเพลิงในกรณีที่เกิดไฟไหม้จากกิจกรรมต่างๆ บนเรือ เรือบดหรือเรือลำเล็กเพื่อใช้สำหรับการอพยพหาก Going Merry โดนโจรสลัดกลุ่มอื่นโจมตี นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตามจุดต่างๆ บนเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวเรือพลัดตกลงน้ำหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเจอพายุจนเรือโคลงเคลงทรงตัวไม่ได้ หรือแล่นเรือฝ่าน้ำตกรีเวิร์สเมาน์เทนเพื่อมุ่งสู่แกรนไลน์ เข็มขัดเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นตัวยึดให้ทุกคนติดอยู่กับเรือ และถ้าเกิดอุบัติเหตุตกทะเล ใครที่กินผลปีศาจเข้าไปก็ไม่ต้องกลัวว่าจะหมดแรงแล้วจมสู่ก้นทะเล เพราะเราได้เตรียมห่วงยางหรือชูชีพสำหรับช่วยเหลือเอาไว้ให้แล้ว ออกแบบเรือใหญ่ให้ครอบคลุมทุกการใช้งาน ผู้ร่วมทางในการออกตามหาสมบัตินั้นไม่ได้มีแต่คนทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีเผ่าพันธุ์อื่นๆ ที่มีทั้งส่วนสูงใหญ่เกินคนทั่วไป และเล็กจิ๋วจนแทบมองไม่เห็น การออกแบบสิ่งต่างๆ […]

บ้านในไทย ทำไมต้องล้อมรั้ว

สเต็ปการสร้างบ้านในเกมเดอะซิมส์ที่หลายคนคุ้นเคย ส่วนใหญ่คงจะเริ่มจากการสร้างตัวบ้าน ตกแต่งภายใน ตกแต่งบริเวณภายนอก ก่อนจะปิดท้ายด้วยการล้อมรั้วบ้านอย่างมิดชิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากความเคยชินของคนไทย เพราะในประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม หมู่บ้านจัดสรร หรือแม้แต่บ้านในต่างจังหวัด ที่อยู่อาศัยเหล่านี้มักมีรั้วล้อมรอบบ้านด้วยกันทั้งนั้น แต่พอดูหนังและซีรีส์จากฝั่งตะวันตกกลับพบว่า บ้านที่ปรากฏอยู่บนจอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีรั้วบ้านเป็นกิจจะลักษณะชัดเจนเหมือนกับบ้านในประเทศไทย หรือบางหลังอาจจะมีแค่รั้วเตี้ยๆ จนเกิดความสงสัยว่ารั้วลักษณะนั้นจะสามารถป้องกันอะไรได้บ้าง การมีรั้วบ้านสำคัญกับการอยู่อาศัยในประเทศไทยมากน้อยขนาดไหน ทำไมบ้านในต่างประเทศแทบจะไม่มีรั้วบ้านให้เห็นกันเลย และหากจะสร้างรั้วบ้านด้วยตัวเองนั้นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอะไรบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปหาคำตอบเกี่ยวกับรั้วบ้านกัน ทำไมบ้านในไทยต้องมีรั้ว ไม่ว่าจะเป็นบ้านในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด เรามักจะเห็นรั้วประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะรั้วปูน รั้วเหล็ก หรือรั้วไม้ทำมือ ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ในการกำหนดพื้นที่ของบ้านแต่ละหลังได้อย่างชัดเจน จนทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า รั้วบ้านนี้จำเป็นมากแค่ไหนสำหรับบ้านสักหลัง อาจเป็นเพราะว่าบ้านคือสถานที่ที่มอบความเป็นส่วนตัวให้เราได้มากที่สุด หลายคนจึงต้องการความสบายใจในการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านโดยไม่ต้องระแวดระวังภัยมากนัก แม้ว่ารั้วบ้านจะไม่ใช่ข้อบังคับตามกฎหมาย แต่การมีรั้วล้อมรอบตัวบ้านจะช่วยเพิ่มทั้งความสวยงามให้กับตัวบ้าน เพิ่มความเป็นส่วนตัวจากสายตาของคนภายนอกที่อาจสอดส่องเข้ามา รวมถึงยังเป็นการสร้างความปลอดภัยอีกหนึ่งชั้นจากผู้บุกรุกได้อีกด้วย ถ้ารั้วบ้านช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้าน แล้วทำไมบ้านในต่างประเทศถึงไม่ค่อยมีรั้วกั้น ยกตัวอย่างเช่นบ้านในสหรัฐอเมริกาที่เห็นกันตามหนังหรือซีรีส์ส่วนใหญ่มักจะไม่มีรั้วบ้านกำหนดขอบเขต สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะเรื่องของวัฒนธรรมที่หลายคนมองว่า ถ้าเพื่อนบ้านเคารพพื้นที่ส่วนตัวของกันและกันอยู่แล้ว รั้วบ้านก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเท่าไรนัก และการสร้างรั้วก็อาจจะเป็นการไปเบียดเบียนพื้นที่ของเพื่อนบ้านได้ด้วย อีกเหตุผลคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำรั้วเพิ่มเติมที่ค่อนข้างสูง ผู้คนจึงไม่นิยมสร้างรั้ว รวมไปถึงการอยู่อาศัยในชุมชนที่มีรั้วรอบขอบชิดและปลอดภัยมากพออยู่แล้ว การสร้างรั้วเพื่อป้องกันภัยก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับชาวอเมริกันสักเท่าไร แต่ไม่ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะไม่มีรั้วเลย เพราะยังมีบางครอบครัวที่สร้างรั้วขนาดไม่สูงมากเพื่อกั้นไม่ให้เด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงออกไปจากบริเวณบ้าน โดยส่วนใหญ่รั้วพวกนี้จะไม่ได้เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของบ้านมากนัก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบ้านที่มาพร้อมรั้วสูงเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวและป้องกันอันตรายจากปัจจัยภายนอก […]

ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?

กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

เจ้าของพื้นที่รู้ ผู้อยู่สบายใจ ตึกสูงแบบไหนถูกกฎหมายควบคุมอาคาร

‘กฎหมายควบคุมอาคาร’ อาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน ชนิดที่ว่าถ้าไม่ได้กำลังจะซื้อที่ดินสำหรับปลูกสิ่งก่อสร้างหรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ไหนสักแห่ง เราคงไม่มีทางหยิบตัวบทกฎหมายนี้ขึ้นมาศึกษาอย่างจริงๆ จังๆ แต่จากหลากหลายเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา เราเชื่อว่าหลายคนอาจกำลังสนใจตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างกันมากขึ้น เพราะเริ่มร้อนๆ หนาวๆ ว่าตึกสูงที่เรากำลังใช้ชีวิตกันอยู่ มีส่วนไหนที่ผิดเพี้ยนไปจากที่เขียนไว้ในข้อกฎหมายบ้างหรือไม่ วันนี้ Urban Creature ขออาสาขมวดย่อกฎหมายควบคุมอาคารในหมวด 1 ที่ว่าด้วยลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างภายนอกอาคารและแนวอาคารออกมาให้ทุกคนทำความเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น เผื่อเป็นเช็กลิสต์คร่าวๆ สำหรับคนที่กำลังจะเช่าหรือซื้อคอนโดฯ ในตึกสูงช่วงนี้ เข้าใจกฎหมายควบคุมอาคาร ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ‘พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร’ หรือที่ใครหลายคนเรียกกันจนติดปากว่า ‘กฎหมายอาคาร’ คืออะไร พ.ร.บ.ควบคุมอาคารที่เราใช้กันทุกวันนี้เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของความปลอดภัยของอาคาร เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร ถ้าพูดถึงอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในตัวกฎหมายจะใช้วิธีการแบ่งจากขนาดพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นได้ออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร และกรณีพื้นที่อาคารเกิน 30,000 ตารางเมตร ดูอาคารยังไง ออกแบบแบบไหนไม่ผิดกฎหมาย ใน 2 กรณีที่ว่านี้มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่ที่ขนาดของถนนสาธารณะที่ติดกับตัวพื้นที่ โดยกรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ถนนสาธารณะต้องมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร และยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรเช่นกัน […]

ชวนดู 6 มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ดีไซน์เด่น ฟังก์ชันครบครัน แถมประหยัดพลังงาน

ด้วยเหตุผลเรื่องประหยัดพลังงาน ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง ค่าดูแลรักษาต่ำ ไร้มลภาวะทางเสียงและกลิ่นควัน ทำให้ ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ เป็นยานพาหนะที่ป็อปปูลาร์ในยุคนี้ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หรือ EVAT ระบุว่า ยอดจดทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสะสมถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 อยู่ที่ 1.8 หมื่นคัน ซึ่งก้าวกระโดดไกลกว่าปี 2564 ที่มียอดจดทะเบียนราว 7,302 คัน ถือได้ว่านี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เข้าสู่อีกยุคของยานพาหนะยอดฮิตในไทย ในช่วงที่ตลาดมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าถูกพูดถึงมากขึ้น คอลัมน์ City by Numbers พาไปดู 6 มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่นยอดฮิต ที่เราคัดเลือกมาให้ตามความหลากหลายของดีไซน์ ราคา ขนาด และสมรรถนะการทำงาน เพื่อเป็นตัวเลือกให้คนที่กำลังมองหารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าอยู่ AJ – C-LION จากแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง ‘AJ’ สู่การเป็นผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ราคาจับต้องได้และเน้นฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ AJ รุ่น C-LION มีมอเตอร์ 2,000 วัตต์ วิ่งได้ด้วยความเร็ว 50 – 60 กม./ชม. ชาร์จไฟราว […]

พาไปดู ‘เวียนนา’ เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกประจำปี 2023

‘เวียนนา’ คือเมืองที่หลายคนยกให้เป็นเมืองที่โรแมนติกที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ใครที่เคยดูหนังเรื่อง Before Sunrise คงพอจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก โดยเฉพาะซีนที่คู่พระนางเดินเที่ยว พูดคุยกัน และกระโดดขึ้นลงรถแทรม โดยมีความคลาสสิกของกรุงเวียนนาเป็นฉากหลัง ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย ขนส่งมวลชนที่สะดวกสบาย และตัวเมืองที่รายล้อมไปด้วยแลนด์มาร์กทางประวัติศาสตร์ ก็ไม่ได้มีให้เห็นกันแค่ในหนังเท่านั้น แต่ในโลกแห่งความจริง ทั้งหมดนี้คือส่วนประกอบหลักที่ทำให้เวียนนาเป็นหนึ่งในต้นแบบของเมืองที่มีมาตรฐานและคุณภาพชีวิตดีที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดในปี 2023 กรุงเวียนนาถูกยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง หลังจาก Economist Intelligence Unit (EIU) ยกให้เมืองหลวงของประเทศออสเตรียเป็น ‘เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก’ ติดต่อกันเป็นปีที่สอง จากการจัดอันดับทั้งหมด 173 เมืองทั่วโลก เวียนนาได้คะแนนสูงที่สุดถึง 98.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยได้คะแนนความน่าอยู่ยอดเยี่ยมทั้งด้านความมั่นคง โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพ การศึกษา รวมถึงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บ้านเมืองที่มีเสถียรภาพ ข้อแรกที่ทำให้เวียนนากลายเป็นเมืองตัวท็อปด้านความน่าอยู่คือ ‘เสถียรภาพและความมั่นคง’ (Stability) ที่ได้ 100 คะแนนเต็ม ซึ่งความมั่นคงที่ว่านี้ประเมินจากหลายปัจจัย ได้แก่ ค่าแรง ค่าเช่าบ้าน ความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นคงทางการเมือง […]

The Barbie Dreamhouse จะเป็นอย่างไรถ้าเราหลุดเข้าไปอยู่ในบาร์บี้แลนด์

ทุกคนน่าจะรู้จัก ‘Barbie’ ในฐานะของตุ๊กตาที่โด่งดังทั่วโลก แต่หากใครที่เป็นแฟนบาร์บี้หรือนักสะสมของเล่นย่อมรู้ดีว่า ตุ๊กตาของเล่นที่อยู่ในความทรงจำของเด็กๆ นั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่มาก บาร์บี้นั้นได้แรงบันดาลใจมาจาก Bild Lilli หรือตัวการ์ตูนในนิตยสารที่กลายมาเป็นตุ๊กตาหญิงสาวสัญชาติเยอรมนีผู้มีลุคเจ้าเล่ห์ เซ็กซี่ มีเสน่ห์น่าหลงใหล โดย ‘Ruth Handler’ ได้ซื้อมาให้ ‘Barbara’ ลูกสาวของเธอที่ชื่นชอบการเล่นตุ๊กตาเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้ใน ค.ศ. 1959 แฮนด์เลอร์เปิดบริษัท Mattel และผลิตตุ๊กตาบาร์บี้ออกมาวางขาย เพื่อเพิ่มของเล่นสำหรับเด็กผู้หญิงให้มีความหลากหลายมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน บาร์บี้ก็กลายมาเป็นภาพแทนของหญิงสาวที่มีรูปลักษณ์สวยงามตามอุดมคติในยุคก่อน จนมีหลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า บาร์บี้ทำให้หลายคนเป็นโรคคลั่งผอมหรือหมกมุ่นกับ Beauty Standard เกินไป แบรนด์ตุ๊กตาชื่อดังจึงพยายามลบภาพจำเหล่านั้นออกและปรับตัวตามยุคสมัย เพื่อทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วบาร์บี้คือโลกที่ทุกคนเป็นได้ทุกสิ่ง ตามคอนเซปต์ที่ว่า ‘Barbie You Can Be Anything’ จนถึงปัจจุบันบาร์บี้มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 63 ปี จากตุ๊กตาหญิงสาวผมบลอนด์ ตาสีฟ้า เอวคอด เลิศหรู รูปลักษณ์สมบูรณ์แบบ ถูกพัฒนาให้มีความหลากหลายทั้งเรื่องของเชื้อชาติ รูปร่าง หน้าตา สีผิว อาชีพ ฯลฯ […]

เปลี่ยนถนนให้เป็นมิตรกับมอ’ไซค์ ขับขี่ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวอุบัติเหตุ

ไปเลยค่ะพี่สุชาติ! ในช่วงเวลาเร่งด่วนของแต่ละวัน ไม่มีการเดินทางไหนที่จะสะดวกไปกว่าการใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ไม่ว่าจะเป็นพี่วินฯ พี่แกร็บ หรือใครมีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเองก็คงจะเลือกขับพาหนะสองล้อแทนการใช้รถยนต์ เพราะการจราจรในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ไม่ค่อยน่าไว้ใจ อย่างน้อยถ้าหากรถติดจนเกินไป มอเตอร์ไซค์เหล่านี้ก็ยังพาเราลัดเลาะไปตามช่องทางเล็กๆ เพื่อให้ไปถึงจุดหมายได้ทันเวลา แม้ว่าสัดส่วนของมอเตอร์ไซค์บนท้องถนนจะมีอยู่มาก แต่ถนนหลายๆ เส้นกลับไม่ค่อยเป็นมิตรกับจักรยานยนต์เท่าไหร่ อาจเป็นเพราะมองว่ารถประเภทนี้มีความคล่องตัว สามารถหลบเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายกว่า จนลืมนึกไปว่าถนนควรให้ความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ทุกคน ไม่ว่าจะใช้พาหนะแบบไหนก็ตาม คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่และเส้นทางต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ขับขี่ได้อย่างสบายใจ และใช้ถนนได้อย่างเต็มที่แบบไม่ต้องเสี่ยงเจ็บตัวจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด 1) สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์  ปัญหาที่คนขี่มอเตอร์ไซค์เจออยู่เสมอคือการกลับรถ เพราะต้องใช้จุดกลับรถเดียวกันกับรถยนต์ ทำให้เสี่ยงที่จะโดนรถใหญ่เบียดจนรถล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ เราจึงอยากช่วยลดอุบัติเหตุจากเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยการเพิ่ม ‘สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์โดยเฉพาะ’ ในบริเวณที่มีพาหนะต่างๆ กลับรถเป็นจำนวนมาก เพื่อเปิดเส้นทางและป้องกันไม่ให้มอเตอร์ไซค์ต้องไปเบียดกับรถยนต์ประเภทอื่นๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สะพานกลับรถมอเตอร์ไซค์ก็มีให้เห็นอยู่บ้าง แต่บางที่อาจถูกปิดการใช้งานไปเพราะเชื่อว่าหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นสะพานลอย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุลอยฟ้า สะพานกลับรถของเรานั้นจะทำการกั้นโซนแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับคนเดินเท้าที่มาใช้สะพานนี้ด้วย 2) พื้นที่หลบฝน ลดอุบัติเหตุ ภาพที่เห็นกันจนชินตาคือ เวลาที่ฝนตกหนักๆ มอเตอร์ไซค์ทั้งหลายจะต้องรีบหาที่จอดรถใต้สะพานหรือพื้นที่ที่มีหลังคาเพื่อหลบฝนและรอให้ฝนเบาลงก่อนถึงจะออกเดินทางต่อ เพราะถ้าฝืนขับขี่ต่อไปก็อาจจะเจอน้ำท่วมขังหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ แต่ไม่ใช่ถนนทุกเส้นที่จะมีสะพานให้หลบฝน ดังนั้นเราจึงอยากเพิ่ม ‘พื้นที่หลบฝน’ บริเวณริมฟุตพาท ที่มาพร้อมหลังคาและเสากั้นสำหรับป้องกันไม่ให้รถยนต์เข้าไปจอดขวางทาง ซึ่งการทำพื้นที่หลบฝนของเรานี้อาจจะต้องกระจายไปหลายๆ จุด เนื่องจากฟุตพาทในเมืองค่อนข้างเล็กและจะต้องลดทางเดินเท้าลง ทำให้ไม่สามารถทำจุดพักขนาดใหญ่เพื่อรองรับมอเตอร์ไซค์หลายคันได้ […]

ส่องปัญหาสังคมและโครงสร้างผ่านมอ’ไซค์ไทย

“บ้านเช่าได้ แต่มอเตอร์ไซค์ต้องซื้อ” นี่คือประโยคเปรียบเปรยที่ดูไม่ไกลเกินจริง เพราะเราเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ทั้งความสะดวกและความคล่องตัวในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ารถยนต์หรือขนส่งสาธารณะ และการใช้ประกอบอาชีพต่างๆ หลายครอบครัวจำเป็นต้องมียานพาหนะประเภทนี้ เพราะบริเวณที่พวกเขาอาศัยอยู่ไม่มีขนส่งมวลชนที่เข้าถึงได้เลย ความต้องการที่เยอะขึ้นและประโยชน์ของมอเตอร์ไซค์ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนในประเทศนี้ ทำให้ในปัจจุบันไทยมีการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มากกว่า 22 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 กว่า 4.5 แสนคัน คนไทยใช้มอ’ไซค์มากที่สุดในโลก ใครที่ต้องเดินทางออกจากบ้านเป็นประจำโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ คงเคยสังเกตว่าท้องถนนมีมอเตอร์ไซค์ขวักไขว่เต็มไปหมด ส่วนในซอยต่างๆ ก็มียานพาหนะสองล้อเข้าออกให้เห็นตลอดทั้งวัน หรือแม้แต่ตอนเดินอยู่บนทางเท้า จู่ๆ ก็มีคนขี่มอเตอร์ไซค์สวนมาเสียอย่างนั้น ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมบ้านเราถึงมีมอเตอร์ไซค์เยอะขนาดนี้ หลายคนไม่ได้คิดไปเองแน่นอน เพราะข้อมูลจาก Pew Research Center ปี 2023 เปิดเผยว่า ประเทศไทยมี ‘การใช้งานจักรยานยนต์มากที่สุดในโลก’ โดยสัดส่วนของครัวเรือนในประเทศไทยที่เป็นเจ้าของจักรยานยนต์อย่างน้อยหนึ่งคันมีมากถึง 87 เปอร์เซ็นต์ พูดให้เห็นภาพคือ จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดราว 18 ล้านครัวเรือน จะมีจักรยานยนต์รวมกันอย่างน้อย 15 ล้านคัน สถิตินี้ยังพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกอยู่ในภูมิภาค ‘เอเชียแปซิฟิก’ โดยประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนการถือครอบครองมอเตอร์ไซค์รองจากไทย […]

คนไทยกินอะไรก็ได้  แต่ทำไมดื่มนมแล้วท้องเสีย

เรามักเห็นข่าวบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้งว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศไทยมีอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษหลังจากชิมเมนูเด็ดของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ยำ ของดอง ที่ล้วนมีของดิบ ของสด และของหมักดองเป็นส่วนประกอบหลัก หรือแม้แต่ผักบางชนิดที่มีพิษอ่อนเมื่อกินแบบดิบๆ อย่างถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ถั่วงอก หรือมะเขือเทศ ยังถูกนำมาประกอบอาหารอยู่บ่อยๆ โดยไม่ส่งผลอะไรกับกระเพาะอาหารของคนไทยเลยแม้แต่น้อย ดูเหมือนว่าคนไทยจะกินได้แทบทุกอย่าง แต่สิ่งที่คนไทยจำนวนไม่น้อยแพ้คือ ‘นมจากสัตว์ทุกชนิด’ ที่มักทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องเสีย ซึ่งมีสาเหตุจาก ‘ภาวะแพ้แล็กโทส’ ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมอาการแพ้น้ำตาลชนิดนี้ถึงเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก และถ้ายังอยากดื่มนมแต่ไม่อยากปวดท้องจะมีทางไหนที่ช่วยได้บ้าง คนไทยกินอะไรก็ได้ แต่ตกม้าตายเมื่อดื่มนม ไม่ว่าจะเป็นของดิบ ของสด ของดอง คนไทยสามารถนำวัตถุดิบเหล่านี้มาประยุกต์จนกลายเป็นอาหารยอดฮิตที่กินเมื่อไรก็ได้ ตราบใดที่ขั้นตอนการประกอบอาหารสะอาดและถูกสุขลักษณะ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะท้องเสีย แต่ถ้าเป็น ‘นมสด’ ที่หน้าตาดูไม่เป็นพิษเป็นภัย กลับเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนดื่มแล้วต้องรีบมองหาห้องน้ำรอทุกครั้ง เพราะมักมีอาการตามมาอย่างปวดท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง หรืออาจจะถึงขั้นท้องเสียเลยก็ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจาก ‘การแพ้แล็กโทส’ ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมจากสัตว์ทุกชนิด ทำให้หลายคนเลี่ยงการดื่มนมแทนที่จะเสี่ยงขับถ่ายผิดปกติ เหตุผลนี้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการดื่มนมต่ำมากเมื่อเทียบกับชาติอื่น โดยข้อมูลล่าสุดจากกรมอนามัยเผยว่า ในปัจจุบันนี้คนไทยดื่มนมเพียง 21.5 ลิตร/คน/ปี ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีอัตราการบริโภคนม ดังนี้ – เกาหลีใต้ 29.5 […]

‘สิงคโปร์’ กลยุทธ์ดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศด้วยการเป็นฮับความบันเทิงของเอเชีย

ไหนใครวางแพลนไปคอนเสิร์ตวง Coldplay หรือ Taylor Swift ที่จัดกันแบบจุใจถึง 6 รอบที่สิงคโปร์บ้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นคนรอบตัวเดินทางไปประเทศสิงคโปร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไปดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวพักผ่อนด้วยตัวเองก็ตาม เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นผลลัพธ์จากความพยายามของรัฐบาลสิงคโปร์มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 เพื่อผลักดันให้สิงคโปร์ขึ้นเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ เบื้องหลังความสำเร็จของแผนพัฒนานี้คืออะไร สิงคโปร์ดำเนินงานอย่างไรถึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว คอลัมน์ City in Focus จะพาไปหาคำตอบ ประเทศเกิดใหม่ มองหาจุดขายเรื่องการท่องเที่ยว หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของประเทศ สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ได้ไม่นาน จากการแยกตัวออกจากมาเลเซียมาเป็นประเทศอิสระที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 1965 ในช่วงแรกที่ตั้งประเทศ สิงคโปร์ต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศเปิดใหม่ที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่จะดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้มากนัก และครั้นจะไปตามหามรดกทางวัฒนธรรมเดิมหรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะคนในประเทศมีความหลากหลายทางเชื้อชาติจนยากจะหาวัฒนธรรมร่วม จุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์ในตอนนั้นจึงเป็นการสร้างแผนนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศให้เติบโตด้วยเทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมภายในเมือง เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาแทน ทั้งหมดนี้นำมาสู่การพยายามผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ (The Events and Entertainment Capital of Asia) ครั้งแรกในปี 2007 ที่ผลิดอกออกผลอย่างเด่นชัดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลผลักดันประเทศผ่านการวางนโยบาย แต่การจะทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชียได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการวางนโยบายที่ดีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน […]

Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม

ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]

1 2 3 4 5 6 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.