CITY
อัปเดตทุกเทรนด์ชีวิตคนกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่น่าสนใจรอบโลกได้ที่ Urban Creature เพื่อเปิดโลกไอเดียเกี่ยวกับชีวิตวิถีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เทรนด์การใช้ชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวมากมายในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจต่อภาพรวมของสังคม ที่จะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมและประเทศของเราจะได้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ’ เจาะทุกประเด็นที่คนเมืองควรรู้
เมื่อไม่นานนี้เรามีโอกาสไปเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็น ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4’ และได้พูดคุยกับคณะที่ปรึกษาร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ เกี่ยวกับความสำคัญของการปรับผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ครั้งนี้ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง แล้วดีกับเมืองอย่างไร ไปติดตามพร้อมกันเลย
Co-Design Lab : โลกที่เปลี่ยนผ่าน นวัตกรรมที่เปลี่ยนไป กับ ‘ราชการไทย’ที่(อยาก)เปลี่ยนแปลง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จึงร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อพัฒนาการให้บริการของภาครัฐ สำหรับอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐได้ง่ายขึ้น
Finding the Shades of Blue ตะลอนเที่ยวย่านอารีย์ เช็กลิสต์ร้านฮิตโทน ‘สีน้ำเงิน’
วันหยุดเข้ามาทักทายกันทั้งที เราจะพาทุกคนไปตามล่าร้านเก๋ในโทน ‘สีน้ำเงิน’ ที่มีหลากหลายเฉดให้เราค้นหาแรงบันดาลใจ ตั้งแต่ร้านอาหารสไตล์ฟิวชันบรรยากาศดี คาเฟ่นั่งกินนั่งเล่นชิลล์ๆ ร้านจักรยานสุดวินเทจ ช้อปปิ้งเสื้อผ้าแฟชัน หรือทำกิจกรรมเวิร์คช็อปจัดดอกไม้ วางแผนวันว่างให้พร้อมแล้วชวนเพื่อนไปตามรอยกับพวกเรากันเถอะ
‘สยาม-ราชเทวีที่รัก’ ฟังเรื่องย่านจากปากเจ้าถิ่น
‘สยาม-ราชเทวี’ ย่านที่เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจที่มีชื่อเสียงมาหลายยุคหลายสมัย เช่น โรงภาพยนตร์ ย่านที่พักอาศัย ห้างร้านต่างๆ เราจึงพาคุณมาสัมผัสเรื่องราว จาก 3 มุมมอง 3 ไลฟ์สไตล์ของเจ้าถิ่นย่านสยามและราชเทวีตัวจริงเสียงจริงที่จะตอบคําถามว่า “ทําไมพวกเขาถึงรักที่นี่”
SATI Foundation : ‘สติ’ มูลนิธิที่อยากให้เด็กใช้ชีวิตอย่างมีสติ
เด็กน้อยน่ารักที่เราเห็นหน้าแล้วอยากหยุดเวลาตรงนั้นไว้ สักวันก็ต้องเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ แต่จะเติบโตไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะครอบครัวหรือสภาพแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กในทุกวันนี้ก็มีอยู่มากมายเหลือเกิน “มูลนิธิสติ” จึงเกิดขึ้นมา เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้เด็กน้อยอย่างมีสติ
‘พนัสนิคม’ ตำบลที่เริ่มจากศูนย์ สู่เมืองยั่งยืนระดับประเทศ
รู้หรือไม่ว่า ‘พนัสนิคม’ ตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เคยติดอันดับ 1 ใน 1,000 เมืองระดับโลกที่มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพคนเมืองดีใน พ.ศ. 2553
SAVE PAPERS SAVE TREES ยุคไร้กระดาษ เพื่อโลกสีเขียวที่ใกล้เป็นจริง
รู้หรือไม่ ปีหนึ่งเราจะใช้กระดาษกันมากที่สุดกี่แผ่น ? จากผลศึกษาโครงการกระดาษเพื่อต้นไม้ โดยมูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา พบว่าเฉลี่ยหนึ่งคนใช้กระดาษไป 12,000 แผ่น/ปี หมายความว่าเราต้องตัดต้นไม้ประมาณ 18 ต้น/คน และถ้ารวมทั้งประเทศต้องตัดต้นไม้มากถึง 66.3 ล้านต้น/ปี ดูจากตัวเลขแล้วเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ต้องสูญเสียทรัพยากรสีเขียวเพื่อตอบสนองการใช้งานของคน ก่อนที่จะเป็น ‘กระดาษ’ ที่ใช้กันทุกวันนี้ ทุกคนคงทราบกันดีว่ามาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนมากขึ้น แต่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เราสามารถลดการใช้กระดาษในชีวิตประจำวันได้มากกว่าที่เคย อย่างการสแกน QR Code ชำระสินค้า, ซื้อของออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือการพรีเซนต์งานบนสไลด์แทนการพิมพ์เอกสาร ทุกประเทศต่างนำสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้มาปรับใช้กับชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งช่วยทำให้การใช้กระดาษน้อยลงและรู้จักใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่ามากขึ้น เราไปดูกันดีกว่า ว่าพวกเขามีแนวทางการลดใช้กระดาษกันอย่างไร ‘กระดาษ’ เกี่ยวอะไรกับ ‘สภาวะโลกร้อน’ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า สภาวะโลกร้อนคือ ชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสารพิษอื่นๆ สะสมอยู่ในอากาศของเรา หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ ‘ก๊าซเรือนกระจก’ นั่นเอง จับตัวกันเหมือนชั้นผ้าห่มหนาๆ ยิ่งได้รับความร้อนจากแสงแดดมากเท่าไหร โลกที่อยู่ใต้ชั้นผ้าห่มผืนนี้ก็จะมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย ทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน ฤดูกาลผิดเพี้ยนไปจากปกติที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต โดยสาเหตุหลักของการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้มาจากสิ่งใกล้ตัวและความคุ้นชินในปัจจุบันอย่าง การเผาขยะในครัวเรือน การปล่อยสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมจากฝีมือมนุษย์ที่ค่อยๆ ทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง […]
หญ้าทะเล ป่าโกงกาง วิถีธรรมชาติเพื่อบำบัดธรรมชาติของ “ชุมชนบ้านมดตะนอย”
รักทะเลเวลามีเธอด้วย ‘เธอ’ สำหรับเราในที่นี้ หมายถึง มนุษย์และธรรมชาติรอบผืนน้ำสีครามที่อยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย เหมือนที่ ‘ชุมชนบ้านมดตะนอย’ ชุมชนเล็กๆ ในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งอบอวลไปด้วยกลิ่นอายทะเล เกลียวคลื่น หาดทรายสะอาด และระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เลือกใช้วิธี ‘ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ’ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ให้ธรรมชาติ | บำบัดธรรมชาติ ความสวยงามของทะเลที่โอบล้อมชุมชนบ้านมดตะนอย คือสิ่งที่เราประทับใจทุกครั้งเมื่อได้มาเยือน รวมถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่เป็นกันเอง และอยู่อย่างเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งถึงแม้ก่อนหน้านี้ชุมชนบ้านมดตะนอย จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน จนเกิดภัยแล้งที่รุนแรงและยาวนานกว่าปกติ แต่ปัญหานี้ก็ได้รับการเยียวยาด้วยวิธี ‘ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ’ ผ่านความร่วมมือของเอสซีจี หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน และเครือข่ายจิตอาสา จ.ตรัง ร่วมมือกันใช้ธรรมชาติรอบตัวอย่าง ‘หญ้าทะเล’ และ ‘ป่าโกงกาง’ มาบำบัดภัยแล้ง และภาวะโลกร้อน เอสซีจียังจัดโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ตลอดจนปลายน้ำ มาเป็นแนวทางดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องกว่า 10 ปี ช่วยให้ชุมชนแก้ปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี พร้อมชวนจิตอาสามาร่วมสืบสาน […]
Oceanix Floating City เมืองลอยน้ำ แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แห่งโลกอนาคต
“เวลาเป็นสิ่งเดียวที่ย้อนกลับมาไม่ได้ เมื่อเวลาเปลี่ยน ทุกสิ่งรอบตัวเราก็เปลี่ยนตามเช่นกัน” ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติหรือจำนวนประชากรทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัย ไปจนถึงความแออัดของผู้คน ทั้งหมดนี้กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวจนทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก ต่างพากันรวมพลังสมองผุดแนวคิดเพื่อช่วยรับมือกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือแนวคิดเมืองลอยน้ำ หรือ Oceanix City แห่งนิวยอร์ก ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง ‘UN-Habitat’ ผู้ทำงานด้านการพัฒนาเมืองแบบยั่งยืน ‘บริษัทเอกชน Oceanix’ ‘สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์’ (Massachusetts Institute of Technology : MIT) และ ‘สมาคมวิชาชีพที่สนับสนุนการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก’ (The Explorers Club) ผนึกกำลังผลักดันการสร้าง ‘เมืองลอยน้ำ’ ให้เกิดขึ้นจริง “หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเราจะต้องอยู่บนเมืองลอยน้ำด้วยนะ หรือพื้นดินบนโลกใบนี้มันไม่พอให้พวกเราอยู่แล้ว” | โลกเปลี่ยน วิถีชีวิตเปลี่ยน และความจริงอันน่ากลัวนี้กำลังจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว เพราะจากผลวิจัยระบุว่า ภายในช่วงเวลานับจากนี้จนถึง พ.ศ. 2573 ประชากรประมาณร้อยละ 60 ของโลก จะต้องเผชิญกับความกดดันทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบข้างอย่างร้ายแรง ด้วยสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไป ภัยพิบัติสร้างผลกระทบโดยตรงกับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ กว่าร้อยละ 90 […]
สงสัยกันไหม ทำไมตึกส่วนใหญ่มักมีหน้าตาเหมือนขั้นบันได
ทำไมบางตึกชอบดีไซน์ปาดเฉียง ? ทำไมบางตึกต้องหั่นยอดตึกเป็นขั้นบันได ? เวลานั่งรถไฟฟ้าวิ่งผ่านใจกลางเมือง เรามักจะพบกับทัศนียภาพของตึกสูงอยู่รายรอบ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าตึกสูงในประเทศไทยอย่างออฟฟิศ หรือคอนโดมิเนียมในเมืองส่วนใหญ่ ทำไมถึงต้องมีรูปร่างหน้าตาเป็นขั้นบันได บางตึกเฉียงไปเฉียงมา เหล่าสถาปนิกเขามีแนวคิดอย่างไร จะด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม หรือแค่เรื่องบังเอิญ เรามาร่วมไขคำตอบไปด้วยกัน ! | รูปร่างของตึกนั้นมีที่มา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ยอดอาคารสูงมีลักษณะเป็นขั้นบันไดหรือปาดเฉียง สาเหตุมาจากกฎหมายบ้านเราที่ควบคุมความสูงของอาคารเพื่อสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัยของคนในเมือง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 จากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีใจความว่า “ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด ความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด” หมายความว่า ถ้าเราต้องการรู้ว่า อาคารมีความสูงเกินที่กฎหมายกำหนดหรือเปล่า หรือตึกนั้นสามารถสร้างได้สูงสุดกี่เมตร ต้องเริ่มจากวัดความยาวแนวราบจากจุดที่จะสร้างตึกถึงหน้าเขตที่ดินฝั่งตรงข้ามนำมาคูณสอง จะเท่ากับความสูงของตึกที่สามารถสร้างได้ จากตัวอย่างในรูป เช่น ความสูงของตึก ณ จุด A ที่สามารถสร้างได้ คำนวณจาก ระยะทาง X นำไปคูณสอง เท่ากับ 30 X […]
Dublin’s Homelessness Tour Guide : สร้างอาชีพให้คนไร้บ้าน เทรนเป็น ‘ไกด์พาเที่ยวดับลิน’
สร้างอาชีพให้คนไร้บ้าน เทรนเป็น ‘ไกด์พาเที่ยวดับลิน’ พร้อมเปิดโครงการ ‘Dublin Homeless Walking Tours’ ให้ไกด์โฮมเลสพานักท่องเที่ยวทัวร์เดินเท้า ลัดเลาะดับลินทุกซอกทุกมุมอย่างเต็มอิ่ม
OITA – One Village One Product โออิตะ จังหวัดเล็กๆ ในญี่ปุ่น ต้นแบบ ‘หนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์’
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ‘โอทอป (OTOP)’ ผลิตภัณฑ์อันโด่งดังของคนไทย วันนี้ Urban Creature จึงพาบินลัดฟ้าไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ไปดูพื้นที่ต้นแบบของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย ที่อยู่ใน โออิตะ (Oita) จังหวัดที่ได้รับฉายาว่าเป็น “เกียวโตน้อยแห่งคิวซู” เมืองเล็กๆ ที่ไม่ได้หรูหราฟู่ฟ่า แต่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์มากมาย ทั้งจากธรรมชาติ อาหารการกิน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายของผู้คน รวมไปถึงวิธีการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองจนเกิดความยั่งยืน ผ่านโครงการ One Village, One Product (OVOP) หรือหนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับหลายประเทศทั่วโลก | หมู่บ้านโอยามา ณ ที่แห่งนี้ คือต้นกําเนิด OVOP เพราะความยากจนแร้นแค้นของผู้คน จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ 2504 ชาวบ้านกว่า 1000 หลังคาเรือนในหมู่บ้านโอยามา จังหวัดโออิตะจึงได้รวมตัวกันลุกขึ้นมา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์โครงการ “บ๊วย และเกาลัดแบบใหม่” (New Plum and Chestnut: NPC) ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพาะปลูกบ๊วยและเกาลัดโดยใช้รูปการเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาแทนการปลูกข้าวที่เป็นพืชหลักเดิม […]