Oceanix Floating City เมืองลอยน้ำ แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แห่งโลกอนาคต

“เวลาเป็นสิ่งเดียวที่ย้อนกลับมาไม่ได้ เมื่อเวลาเปลี่ยน ทุกสิ่งรอบตัวเราก็เปลี่ยนตามเช่นกัน” ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติหรือจำนวนประชากรทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัย ไปจนถึงความแออัดของผู้คน ทั้งหมดนี้กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวจนทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก ต่างพากันรวมพลังสมองผุดแนวคิดเพื่อช่วยรับมือกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือแนวคิดเมืองลอยน้ำ หรือ Oceanix City แห่งนิวยอร์ก ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง ‘UN-Habitat’ ผู้ทำงานด้านการพัฒนาเมืองแบบยั่งยืน ‘บริษัทเอกชน Oceanix’ ‘สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์’ (Massachusetts Institute of Technology : MIT) และ ‘สมาคมวิชาชีพที่สนับสนุนการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก’ (The Explorers Club) ผนึกกำลังผลักดันการสร้าง ‘เมืองลอยน้ำ’ ให้เกิดขึ้นจริง “หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเราจะต้องอยู่บนเมืองลอยน้ำด้วยนะ หรือพื้นดินบนโลกใบนี้มันไม่พอให้พวกเราอยู่แล้ว” | โลกเปลี่ยน วิถีชีวิตเปลี่ยน และความจริงอันน่ากลัวนี้กำลังจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว เพราะจากผลวิจัยระบุว่า ภายในช่วงเวลานับจากนี้จนถึง พ.ศ. 2573 ประชากรประมาณร้อยละ 60 ของโลก จะต้องเผชิญกับความกดดันทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบข้างอย่างร้ายแรง ด้วยสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไป ภัยพิบัติสร้างผลกระทบโดยตรงกับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ กว่าร้อยละ 90 […]

สงสัยกันไหม ทำไมตึกส่วนใหญ่มักมีหน้าตาเหมือนขั้นบันได

ทำไมบางตึกชอบดีไซน์ปาดเฉียง ? ทำไมบางตึกต้องหั่นยอดตึกเป็นขั้นบันได ? เวลานั่งรถไฟฟ้าวิ่งผ่านใจกลางเมือง เรามักจะพบกับทัศนียภาพของตึกสูงอยู่รายรอบ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าตึกสูงในประเทศไทยอย่างออฟฟิศ หรือคอนโดมิเนียมในเมืองส่วนใหญ่ ทำไมถึงต้องมีรูปร่างหน้าตาเป็นขั้นบันได บางตึกเฉียงไปเฉียงมา เหล่าสถาปนิกเขามีแนวคิดอย่างไร จะด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม หรือแค่เรื่องบังเอิญ เรามาร่วมไขคำตอบไปด้วยกัน ! | รูปร่างของตึกนั้นมีที่มา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ยอดอาคารสูงมีลักษณะเป็นขั้นบันไดหรือปาดเฉียง สาเหตุมาจากกฎหมายบ้านเราที่ควบคุมความสูงของอาคารเพื่อสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัยของคนในเมือง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 จากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีใจความว่า “ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด ความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด” หมายความว่า ถ้าเราต้องการรู้ว่า อาคารมีความสูงเกินที่กฎหมายกำหนดหรือเปล่า หรือตึกนั้นสามารถสร้างได้สูงสุดกี่เมตร ต้องเริ่มจากวัดความยาวแนวราบจากจุดที่จะสร้างตึกถึงหน้าเขตที่ดินฝั่งตรงข้ามนำมาคูณสอง จะเท่ากับความสูงของตึกที่สามารถสร้างได้ จากตัวอย่างในรูป เช่น ความสูงของตึก ณ จุด A ที่สามารถสร้างได้ คำนวณจาก ระยะทาง X นำไปคูณสอง เท่ากับ 30 X […]

Dublin’s Homelessness Tour Guide : สร้างอาชีพให้คนไร้บ้าน เทรนเป็น ‘ไกด์พาเที่ยวดับลิน’

สร้างอาชีพให้คนไร้บ้าน เทรนเป็น ‘ไกด์พาเที่ยวดับลิน’ พร้อมเปิดโครงการ ‘Dublin Homeless Walking Tours’ ให้ไกด์โฮมเลสพานักท่องเที่ยวทัวร์เดินเท้า ลัดเลาะดับลินทุกซอกทุกมุมอย่างเต็มอิ่ม

OITA – One Village One Product โออิตะ จังหวัดเล็กๆ ในญี่ปุ่น ต้นแบบ ‘หนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์’

เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ‘โอทอป (OTOP)’ ผลิตภัณฑ์อันโด่งดังของคนไทย วันนี้ Urban Creature จึงพาบินลัดฟ้าไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ไปดูพื้นที่ต้นแบบของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย ที่อยู่ใน โออิตะ (Oita) จังหวัดที่ได้รับฉายาว่าเป็น “เกียวโตน้อยแห่งคิวซู” เมืองเล็กๆ ที่ไม่ได้หรูหราฟู่ฟ่า แต่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์มากมาย ทั้งจากธรรมชาติ อาหารการกิน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายของผู้คน รวมไปถึงวิธีการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองจนเกิดความยั่งยืน ผ่านโครงการ One Village, One Product (OVOP) หรือหนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับหลายประเทศทั่วโลก | หมู่บ้านโอยามา ณ ที่แห่งนี้ คือต้นกําเนิด OVOP เพราะความยากจนแร้นแค้นของผู้คน จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ 2504 ชาวบ้านกว่า 1000 หลังคาเรือนในหมู่บ้านโอยามา จังหวัดโออิตะจึงได้รวมตัวกันลุกขึ้นมา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์โครงการ “บ๊วย และเกาลัดแบบใหม่” (New Plum and Chestnut: NPC) ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพาะปลูกบ๊วยและเกาลัดโดยใช้รูปการเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาแทนการปลูกข้าวที่เป็นพืชหลักเดิม […]

“โรงเรียนดนตรีในชุมชนคลองเตย” ที่ใช้ดนตรีและศิลปะ สร้างโลกใบใหม่ให้เด็กคลองเตย

ภาพของบ้านหลังเล็กสี่เหลี่ยมที่ถูกตีด้วยไม้เก่าๆ มุงหลังคาด้วยสังกะสีที่เกือบขึ้นสนิม อยู่ในพื้นที่อันน้อยนิดที่หลายพันชีวิตอาศัยอยู่ ปรากฏให้เราเห็นจนชินตา ผ่านพื้นที่ที่เรียกกันว่า “ชุมชนคลองเตย” ภาพลักษณ์ของชุมชนที่คนกล่าวถึง คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วย ยาเสพย์ติด การพนัน อาชญากรรม และการฉกฉิงวิ่งราว ด้วยปัญหาเหล่านี้ จึงทำให้เกิดกลุ่มคนเล็กกลุ่มหนึ่งที่อยากจะสร้างโอกาสทางสังคม รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี พร้อมเปิดโลกที่แตกต่างผ่านการเรียนดนตรีและศิลปะให้กับน้องๆในชุมชนคลองเตย จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “Khlong Toey Music Program” โรงเรียนดนตรีขนาดเล็กในละแวกชุมชน 70 ไร่ ของคลองเตยนั่นเอง ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2555  คือจุดเริ่มต้นของโรงเรียนดนตรีที่มีชื่อว่า “Khlong Toey Music Program” ถูกก่อตั้งโดย 2 สาวชาวฝรั่งเศสและชาวไทย โดยได้รับทุนสนับสนุนเบื้องต้นจากมูลนิธิ Playing For Change องค์กรที่ให้การสนับสนุนโครงการสอนดนตรีกับชุมชนต่างๆ ทั่วโลก แรกๆ ทั้งสองเข้าไปเรียนรู้และทำความเข้าใจกับคนในชุมชน ก่อนจะเริ่มชักชวนให้เด็กๆ มาเรียนดนตรีด้วยกันในทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จากวันนั้นที่มีเพียงไม่กี่คน จนมาถึงตอนนี้โครงการมีเด็กๆ อยู่ในความดูแลกว่า 30 คน โดยมีการสอนดนตรี และสอนกาโปเอย์ราสลับกันไป และแม้จะมีเด็กเพิ่มมากขึ้น แต่ขนาดของโรงเรียนยังคงเท่าเดิม […]

The Lost Generation : เด็ก Gen Z กับช่องโหว่ทางการศึกษาไทย

ศึกษาของเด็กไทยกำลังถูกกวนด้วย ‘Disruption’ หรือ ‘สภาวะการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือในช่วงเวลาสั้นๆ’ และเด็กที่ได้รับผลกระทบด้านการศึกษามากที่สุด ณ ขณะนี้คงไม่พ้นเด็ก ‘Generation Z’ ที่ต้องปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว เพื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่รุ่นต่อไป อะไรคือช่องโหว่ที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทยของเด็กยุคเจนฯ Z เรามาหาคำตอบไปพร้อมกัน

เมื่อให้คนอยู่ เป็นผู้ออกแบบ “Superkilen Park” สวนสาธารณะใหญ่ ใจกลางกรุงโคเปนเฮเกน

ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2012 ที่ผ่านมา กรุงโคเปนเฮเกน ได้เปิดตัวสวนสาธารณะแห่งใหม่ ที่มีชื่อว่า “Superkilen Park” สวนสาธารณะความยาว 750 เมตร ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการผสมผสานวัฒนธรรมที่แตกต่างไว้ในพื้นที่เดียวกัน จากความหลากหลายทางเชื้อชาติของประชากรในพื้นที่มีมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก

อีก 3 ปีข้างหน้า การก่อสร้างโดยใช้หุ่นยนต์และโดรนจะกลายเป็นจริง !

ตึกอาคารในโลกปัจจุบัน มีเทคโนโลยีก่อสร้างที่ล้ำหน้าขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น 3D Printing ที่สามารถพิมพ์ชิ้นส่วนของบ้าน หรือแม้แต่พิมพ์บ้านทั้งหลัง ไปจนถึงแนวคิดที่จะนำหุ่นยนต์มาสร้างโลกอนาคตก็ดูเป็นจริงขึ้นทุกวัน

Bangkok Road Signs : สัญลักษณ์กลางถนน เจอแบบนี้ต้องทำไง

เครื่องหมายจราจรคือ “สัญลักษณ์จราจร” ที่ใช้สำหรับควบคุมจราจร มักเป็นสัญญาณแสงไฟ ป้าย ลายต่างๆ เพื่อเป็นตัวกำหนด หรือเป็นข้อบังคับการเคลื่อ นตัวของจราจร ทั้งการจอด การเตือน รวมถึงแนะนำทางจราจรแบ่งเป็ น 3 ประเภทหลักๆ คือ สัญญาณไฟจราจร, ป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจรอื่นๆ เช่น เครื่องหมายบนพื้นทาง และขอบทางเท้า

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่เชื่อมทุกย่านเข้าด้วยกัน

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่กำลังจะเปิดทดลองขึ้นฟรี 5 สถานี จะมีอะไรบ้างและไปทำความรู้จักกับสายสีน้ำเงินให้สนิทขึ้นกันเลย

7 ธุรกิจต้นแบบที่คืนกำไรให้สังคม

แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) ถูกนิยามขึ้นครั้งแรกโดยศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2549 7 ธุรกิจต้นแบบที่คืนกำไรให้สังคม คำว่า ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) คือธุรกิจที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และการเงินไปพร้อมๆ กัน โดยใช้การบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจมาบวกกับความรู้และนวัตกรรมสังคม มีความยั่งยืนทางการเงิน โดยที่มาของรายได้สามารถอยู่ในรูปแบบการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ การระดมทุนโดยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน ไปจนถึงการขอรับบริจาค 01 | อภัยภูเบศร พลังสมุนไพรไทยเพื่อคนไทย ‘อภัยภูเบศร’ หรือ สมุนไพรอภัยภูเบศร ชื่อนี้คุ้นหูคุ้นตาคนไทยยิ่งนัก เพราะเลื่องชื่อลือชาเรื่องการใช้สมุนไพร อภัยภูเบศรลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจเพื่อสังคมเมื่อ พ.ศ. 2561 ซึ่งนอกจากขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรไทยแล้ว ยังมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนไทย อีกทั้งในกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และผลกำไรมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ถูกนำกลับไปลงทุนซ้ำ เพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคมหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือคืนประโยชน์ให้แก่สังคม ปัจจุบัน อภัยภูเบศรยังทำงานร่วมกับเกษตรกรและหมอยาพื้นบ้าน ซึ่งในปีล่าสุดมีการรับซื้อสมุนไพรจากเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรนับ 500 ราย รวมกว่า 80 ล้านบาทอีกด้วย […]

Save Our Planet: เมื่อโลกเต็มไปด้วยขยะ แล้วเราจะใช้ชีวิตอยู่อย่างไร

ในวันที่ความสามารถในการจัดการขยะพลาสติก สวนทางกับปริมาณของกองภูเขาขยะ การหาทางออกด้วย “การสร้างสิ่งทดแทน” เพื่อให้เราทุกคนได้ใช้ชีวิตใน “เมืองไร้พลาสติก” (Zero Waste) จึงเกิดขึ้น

1 37 38 39 40 41 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.