‘Loreto Bay Village’ ชุมชนยั่งยืนที่เป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม

‘Loreto Bay Village’ การพัฒนาและวิธีการจัดการชุมชนของเขาจะเป็นอย่างไรที่จะยืนหยัดอยู่บนคำว่า ‘ยั่งยืน’ ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง

รถเมล์ไทยหลังโควิด-19

แม้เครื่องบินจะหยุดชะงักเมื่อโรคระบาดมา แต่เชื่อว่าคนไทยเองยังจำเป็นต้องเดินทางอยู่ ดังนั้นรถสาธารณะอย่าง ‘รถเมล์’ ยังคงขายดีอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งที่ผู้ใช้บริการจะคำนึงเป็นอันดับแรกคงหนีไม่พ้นความสะอาด และความปลอดภัย เราเลยลองจินตการดีไซน์รถเมล์ไทยหลังโควิด-19 มาให้ดูกัน แล้วเพื่อนๆ ล่ะ อยากให้รถเมล์ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบไหนกันบ้าง

10 คำถามคาใจ อะไรจะเปลี่ยนไปหลังโควิด-19 จบลง

Urban Creature จึงเกิด 10 คำถามคาใจที่อยากชวนทุกคนมาร่วมแก้ไขหาคำตอบด้วยกัน ตั้งแต่รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ? การปรับตัวของอาคารสำนักงาน ? ผู้คนจะหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น ? หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ สเปรย์ฆ่าเชื้อ จะกลายเป็นของที่ทุกคนมีติดกระเป๋า ? การดีไซน์เมืองจะเปลี่ยนไป ? รวมถึงร้านอาหารที่นั่งน้อยลง เน้นส่งเดลิเวอรี่ ? ไปจนถึงพลังงานทดแทนจะเข้าถึงง่ายขึ้น ?

แปลงโฉม ‘เต็นท์’ เป็น ‘ห้องเรียน’ แบบมีระยะห่างทางสังคม

‘Curl la Tourelle Head Architecture’ กับโปรเจกต์การออกแบบพื้นที่ในโรงเรียนรูปแบบเต็นท์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19

‘Keret House’ แคบแต่ครบ บ้านที่เล็กสุดในโลก

คำว่า ‘ที่สุดในโลก’ มักจะมาพร้อมกับความพิเศษเสมอ อย่างบ้านหลังหนึ่งในประเทศโปรแลนด์ที่ชื่อว่า ‘Keret House’ เป็นบ้านที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ที่แทรกอยู่ระหว่างตึกเก่าสองหลังในใจกลางกรุงวอร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์

‘โรงรับจำนำกรุงเทพฯ’ ที่พึ่งยามขัดสนเปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินบรรเทาโควิด

หากพูดถึงที่พึ่งยามข้าวยากหมากแพง สถานที่แรกที่คนจะนึกถึงคงเป็น ‘โรงรับจำนำ’ หรือ ‘โรงตึ๊ง’ ในอดีตโรงรับจำนำเป็นที่ที่ใครก็หลีกเลี่ยงด้วยตัวโรงรับจำนำเป็นผนังทึบ มีลูกกรงเหล็ก ดูน่ากลัวไม่เป็นมิตร และหวาดหวั่นว่าจะถูกกดราคา มิหนำซ้ำเดินออกมายังรู้สึกอับอายหรืออับจนหนทาง ทั้งที่ในความเป็นจริงโรงรับจำนำเป็นแหล่งเงินกู้ที่ได้เงินเร็วและง่าย ขอแค่มีทรัพย์สินมาค้ำประกัน อีกทั้งดอกเบี้ยยังถูกกว่าบัตรเครดิต สินเชื่อ หรือเงินกู้นอกระบบ เรียกว่าเป็นมิตรแท้ที่พึ่งพายามทุกข์ยาก

Y จีน ? สาววายเต็มเมือง แต่ทำไมจีนยังคงปิดกั้น

ชวนทุกคนมาหาคำตอบ ว่าทำไมชาวจีนถึงชอบดูซีรีส์วาย ทั้งยังผลิตสื่อออกมามากมายแม้รัฐจะแบนก็ตาม

เรื่องเล่า ‘เยาวราช’ สามยุค จาก 10 สถานที่กลิ่นอายไทยจีนถิ่นมังกร

ชวนทุกคนย้อนรอยความทรงจำของเยาวราชในช่วงสามยุค ผ่านเรื่องเล่าจาก 10 คน 10 สถานที่ให้กรุ่นกลิ่นลูกครึ่งไทยจีน

พิธีไล่ ‘ห่า’ โรคระบาดหนักยุค ร.2

“ไอ้ห่า” เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินคำด่านี้กันใช่ไหม มันมีที่มาจากคำว่า โรคห่า เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกโรคระบาดที่เกิดขึ้นในอดีต พอเห็นว่าโรคระบาดใดๆ ก็ตามที่คร่าชีวิตผู้คนไปเยอะ ชาวบ้านก็จะเรียกว่า ห่าลง มันซะเลย เพราะแต่ก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีและการแพทย์ที่ดี อีกทั้งชาวสยามยังเข้าไม่ถึงความรู้ด้านสุขอนามัย อันที่จริงบ้านเมืองเราต้องเจอกับโรคระบาดมานับครั้งไม่ถ้วน หากย้อนกลับไปในช่วงโรคระบาดยุคพระเจ้าอู่ทอง ก็มีนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์กันว่าโรคห่าในตอนนั้น แท้จริงแล้วคือกาฬโรค หรือในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็คาดกันว่าเป็นไข้ทรพิษ จนมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ก็เกิดห่าลงอีกครั้ง โดยห่าในครั้งนี้ คือ อหิวาตกโรค ซึ่งหนักเอาการถึงขนาดทุกตารางนิ้วบริเวณวัดสระเกศเต็มไปด้วยซากศพและฝูงแร้งนับร้อย จนเป็นที่มาของวลีที่เราคุ้นเคยอย่าง แร้งวัดสระเกศ อหิวาต์ ทำห่าลงสยาม โรคห่าในยุครัชกาลที่ 2 คือ อหิวาตกโรค เป็นโรคระบาดประจำถิ่นของประเทศในแถบเอเชียที่จะเวียนมาในทุกฤดูแล้งและหายไปช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ที่มักเจอในของสุกๆ ดิบๆ และมีพาหะคือแมลงวัน ซึ่งเชื้อโรคนี้จะถ่ายทอดผ่านทางอุจจาระของผู้ป่วย โดยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียน ทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต  ยิ่งวิถีชีวิตริมแม่น้ำของคนสมัยก่อน ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคและป่วยเป็นอหิวาตกโรคนี้ได้ง่าย เมื่อผู้คนขับถ่ายลงแม่น้ำ ความแย่ก็เกิดกับคนที่ต้องกินต้องใช้น้ำต่อๆ กันจนไม่รู้เลยว่าใครป่วยหรือไม่ป่วยกันแน่ จากบันทึกของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ผู้แต่ง และผู้ตีพิมพ์หนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และศาสนาที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น […]

1 30 31 32 33 34 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.