น้ำมันแพง คนใช้รถสาธารณะลำบาก เมื่อค่ารถไฟฟ้าสูงลิบและค่ารถเมล์ขึ้นรวดเดียว 17 บาท

เชื่อไหม ถ้าเราบอกว่า เดือนมีนาคม 2565 คือเดือนที่มีแต่ของขึ้นราคา ไม่ใช่เรื่องเกินจริง เพราะราคาน้ำมันที่กลับมาสูงแตะราคา 50 บาทต่อลิตร ทำให้หน่วยงานรัฐออกมาบอกประชาชนว่าต้องใช้ขนส่งสาธารณะเพื่อประหยัดน้ำมันแทน ตัดภาพมาที่อีกมุมหนึ่งของกรุงเทพฯ ในวันที่ 1 มีนาคม 2565 มีการประกาศยกเลิกให้บริการรถเมล์ครีม-แดงในเส้นทาง ‘สาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง’ ซึ่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เดินรถเมล์ธรรมดาในเส้นทางสายนี้มากว่า 46 ปี โดยได้ส่งไม้ต่อให้กับบริษัทเอกชนที่ใช้รถเมล์ปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้บริการในเส้นทาง ‘สาย 7 ศึกษานารีวิทยา-หัวลำโพง’ ฟังเผินๆ ดูจะมีแต่ข้อดี เพราะการผลัดใบให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพนำรถเมล์ไฟฟ้าเข้ามาให้บริการแทนรถเมล์เก่า ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในเมืองให้ดียิ่งขึ้น แต่ทำไมรถเมล์ใหม่นี้กลับกลายเป็นเรื่องคนนำมาถกเถียงขึ้นมาได้… ว่าแต่จะเถียงกันเรื่องอะไร ตามเรามาสำรวจการเปลี่ยนแปลงนี้ไปพร้อมๆ กันได้เลย รถเมล์ใหม่มาพร้อมราคาใหม่ที่สูงขึ้น แม้ข้อดีของรถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ จะมาพร้อมกับความเป็นมิตรต่อผู้คนในเมืองมากขึ้น ทั้งเรื่องมลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางเสียงที่หายไป ผู้ใช้รถเข็นก็สามารถขึ้นรถได้ง่ายกว่าเดิม เพราะทางขึ้นรถเมล์รุ่นนี้ไม่มีขั้นบันได แต่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกลับมาพร้อมกับค่าเดินทางที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากรถเมล์ สีครีม-แดงธรรมดา ที่เก็บค่าโดยสารราคา 8 บาทตลอดสาย เมื่อเปลี่ยนเป็นรถใหม่ก็เปลี่ยนการคิดค่าโดยสารมาเป็นเรตตามระยะทาง เริ่มต้นที่ 15 บาท แตะเรตสูงสุด 25 บาท […]

Inujima เกาะศิลปะที่เลิกถลุงแร่มาดูแลสิ่งแวดล้อม

พูดถึงเกาะศิลปะของญี่ปุ่น ชื่อของ Naoshima คงขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ ใครมีเวลามากหน่อย อาจจะเคยแวะไป Teshima หรือ Shodoshima ที่อยู่ใกล้ๆ กัน จริงๆ แล้วในน่านน้ำทะเล Seto Inland ยังมี Inujima เกาะศิลปะอีกแห่งที่กรุบกริบไม่แพ้กัน แถมยังมีสตอรี่เข้มข้นและสภาพแวดล้อมแตกต่างจากเกาะศิลปะอื่นๆ ที่นี่เคยเป็นอดีตที่ตั้งโรงถลุงแร่ทองแดงซึ่งตัวโรงงานยังอยู่ในสภาพดีและถูกปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะสุดเท่ แถมยังมี Art House กระจายตัวอยู่ทั่วเกาะอย่างเก๋ ดูเผินๆ ก็กรุบกริบตามมาตรฐานจริตงานอาร์ตร่วมสมัยญี่ปุ่น แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่สถาปัตยกรรมและงานศิลปะบนเกาะนี้กำลังพยายามทำคือการสร้างมูลค่าใหม่ให้กับโรงงานที่อดีตเคยสร้างความเสียหายให้สิ่งแวดล้อมและนำความเดือดร้อนมาให้คนในชุมชน ถ้ายังไม่เคยไป วันนี้เราจะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับความใส่ใจที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนของอินุจิมะ เกาะศิลปะไซซ์เอสที่มีความยาวรอบเกาะ 36 กม. พื้นที่ 0.54 ตร.กม. และคนอยู่อาศัยประมาณ 50 คน Inujima Seirensho Art Museum อินุจิมะอยู่ในเขตจังหวัดโอคะยะมะ เป็นเกาะหลักในบรรดาหมู่เกาะอินุจิมะและเป็นเกาะเดียวที่มีคนอาศัยอยู่ เป็นเกาะชิลๆ ที่เดินประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงก็ทั่วแล้ว สมัยก่อนนิยมตั้งบนเกาะเพราะอยากลดมลภาวะทางอากาศในตัวเมืองและเพื่อความสะดวกในการขนส่งวัสดุต่างๆ คนในเกาะลงทุนตั้งโรงงานถลุงแร่ทองแดงในปี 1909 แต่อยู่ได้แค่ […]

FYI

Worker and the City เมืองในฝันของ ‘คนทำงาน’

เราอยากชวนแรงงานทุกคนตั้งคำถามว่า ในขณะที่พวกเราทำงานสร้างความเจริญให้เมือง แล้วเมืองให้อะไรตอบแทนเราบ้าง ไม่ว่าเมืองไหนย่อมต้องการประชากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และทำงานได้ดี เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน จะมีสักกี่เมืองที่นึกถึงคนทำงานหรือแรงงานอย่างครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรมในการทำงาน นโยบายค่าจ้างที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต สวัสดิการ หรือกระทั่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคนทำงานเองก็ตาม  เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ในประเทศที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนทำงานแห่งนี้ เราจึงชวนแรงงานหลากหลายอาชีพมาบอกเล่าถึงภาพเมืองในฝันที่เป็นมิตรต่อพวกเขา  เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนคือคนทำงาน และเราทุกคนควรมีสิทธิ์เรียกร้องคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองที่อาศัยอยู่ จงอย่าลืมว่าเราเป็นหนึ่งใน 99 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้ การที่ทำงานหนักแล้วอยากให้เมืองเห็นคุณค่าของคนทำงานบ้าง นั่นคือความชอบธรรมของเราทุกคน มารุต ปุริเสอาชีพ : พนักงานจัดเรียงสินค้า และสมาชิกสหภาพคนทำงาน “เมืองในฝันของผมคือ มีที่อยู่อาศัยฟรีสำหรับทุกคน ใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วอย่างมีคุณค่า มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรี มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าคอยแบกรับประชาชนในยามลำบาก มีสิทธิแรงงานดีๆ ที่คุ้มครองเรา ทำพื้นที่กิจกรรมสาธารณะให้ผู้คนได้แสดงออกและคิดเห็นโดยไร้การแทรกแซง รวมถึงทำขนส่งมวลชนให้ดีๆ ลดค่าครองชีพ เพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็นหกร้อยห้าสิบบาทต่อวัน เพื่อที่คนทำงานจะได้มีเงินเก็บ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง “เพราะคนทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พวกเขาคิดว่าเมืองหลวงจะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สุดท้ายกลับต้องมานั่งวินมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้าน นั่งรถสองแถวออกจากซอย เพื่อมารอรถเมล์ ทานอาหารราคาถูกๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รัฐไม่สนับสนุน อย่างผมเองต้องเดินไปทำงานเพื่อให้เหลือเงินกินข้าวเที่ยง ระหว่างทางที่เดินก็พบเจอมลพิษและทางเท้าที่แคบ มีสิ่งกีดขวางมากมาย จนบางทีก็คิดว่า […]

People-friendly Signs ออกแบบป้ายหาเสียงอย่างสร้างสรรค์และเป็นมิตรกับเมือง

สำหรับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือเลือกตั้งนายกฯ คนใหม่ หนึ่งในประเด็นที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางก็คือเรื่อง ‘ป้ายหาเสียง’ เพราะในหลายพื้นที่ป้ายหาเสียงหลากขนาด หลากสี ถูกติดตั้งไว้ริมถนนจนเกะกะทางเท้า บดบังทัศนียภาพ และขัดขวางการจราจรของผู้คน ซึ่งจากกระแสเหล่านี้ก็ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์ที่ผู้สมัครหลายรายลุกขึ้นมาปฏิวัติดีไซน์ป้ายหาเสียงให้เป็นมิตรกับคนเมืองมากขึ้น เช่น ป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส ป้ายขนาดเท่าเสาไฟ ป้ายที่นำไปรีไซเคิลได้ รวมไปถึงกลยุทธ์ลดการติดป้ายและติดเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนน้อยที่สุด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการติดตั้งป้ายเหล่านี้ก็ยังก่อให้เกิดปัญหาและความรำคาญใจต่อการใช้ชีวิตของคนในประเทศอยู่ไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากช่วยเหล่าผู้สมัครต่อยอดไอเดียการทำป้ายหาเสียงให้น่าสนใจกว่าเดิม ผ่านการออกแบบป้ายหาเสียงตามพื้นที่และบริเวณต่างๆ ที่จะช่วยให้บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นระเบียบและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น เพราะเราเชื่อว่าการออกแบบป้ายหาเสียงที่คำนึงถึงการใช้ชีวิตของประชาชนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร อีกทั้งยังสะท้อนความหวังในการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย  การดีไซน์ป้ายหาเสียงจะเป็นอย่างไร และจะติดตั้งบริเวณใดบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! หมายเหตุ : ทั้งหมดเป็นแนวคิดที่เราอยากให้เกิดขึ้น หากประเทศไทยไม่มีเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือกฎระเบียบใดๆ เกี่ยวกับการติดป้ายหาเสียง 01 | หาเสียงแบบไม่ขวางทางใครด้วยป้ายสไตล์มินิมอล ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายครั้งป้ายหาเสียงของเหล่าผู้สมัครเลือกตั้ง ถูกติดตั้งตามท้องถนนอย่างกระจัดกระจายและไม่เป็นระเบียบ ในบางพื้นที่ป้ายจำนวนมากวางทับซ้อนกันจนไม่น่ามอง ส่วนในบางพื้นที่ก็มีป้ายชำรุดเสียหาย เนื่องจากพายุฝนลมแรงและฝีมือของคนมือบอน ทำให้บ้านเมืองสกปรก รกรุงรัง ที่หนักไปกว่านั้น ยังอาจทำให้ประชาชนที่สัญจรไปมาประสบอุบัติเหตุได้ด้วย เราจึงอยากติดตั้งป้ายหาเสียงให้เป็นระเบียบและเรียบง่ายที่สุด โดยเอาไอเดียมาจากการติดตั้งป้ายหาเสียงในต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ […]

ทำความเข้าใจสงคราม ‘รัสเซียบุกยูเครน’ ผ่าน 5 สถานที่

นับตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงตอนนี้ ครบ 2 เดือนแล้วที่รัสเซียเริ่มทำสงคราม ‘รุกราน’ ยูเครน ทำให้เกิดคลื่นผู้อพยพกว่า 11 ล้านคนในทวีปยุโรป ผู้คนบาดเจ็บ สูญเสียชีวิต และเมืองต่างๆ ถูกทำลายอย่างราบคาบหลังเปลี่ยนเป็นสมรภูมิสงคราม คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ตอนนี้อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2 วันก่อนรัสเซียปฏิบัติการทางการทหาร มีรายงานอย่างหนาหูว่า ทหารรัสเซียกว่าหนึ่งแสนคนตั้งกองกำลังประชิดเขตแดนของประเทศยูเครน และประธานาธิบดีรัสเซียอย่าง วลาดิเมียร์ ปูติน ก็ได้ประกาศรับรองเอกภาพของเขตการปกครองลูฮานส์ (Luhansk) และดอแนตสก์ (Donetsk) ทางตะวันออกของยูเครน แต่ปูตินก็ยังยืนยันหนักแน่นว่ารัสเซียไม่มีแผนบุกยูเครนแน่นอน  2 วันถัดมา เราจึงรู้ว่าคำกล่าวนั้นเป็นเพียงลมปาก รัสเซียเริ่มเปิดฉากบุกยูเครนจากทางเหนือ ตะวันออก และทางใต้ สื่อตะวันตกหลายแห่งรายงานตรงกันว่า การระดมกองกำลังทหารและสรรพาวุธของรัสเซียครั้งนี้มีจำนวนมากที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา  มีการวิเคราะห์กันว่า ฝ่ายรัสเซียหวังลึกๆ ว่าการรุกรานยูเครนในครั้งนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เริ่มไวจบไว เหมือนการบุกยึดดินแดน ‘ไครเมีย’ ภายใต้การปกครองของยูเครนเมื่อปี 2014 แต่สถานการณ์ไม่ได้เป็นดังหวัง เพราะชาติตะวันตกทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ช่วยเหลือยูเครน […]

เยี่ยมคนเกาหลีย่านอโศก สัมผัสวัฒนธรรมแดนโสมใจกลางกรุงเทพฯ

ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่นะครับที่ความเป็นเกาหลี ทั้งซีรีส์ อาหาร ศิลปิน เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า จะเป็นอะไรก็ตามแต่ก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตพวกเราอย่างไม่รู้สึกแปลกแยกไปแล้ว ตอนนี้ทั้งคนใกล้ตัว หรือไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ดูจะผูกพันกับวัฒนธรรมเกาหลีมากขึ้นไปทุกที  ชาวเกาหลีที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยก็มีไม่น้อยโดยเฉพาะช่วงสุขุมวิทตอนต้น และที่ข้ามไปไม่ได้เด็ดขาดก็คือแถวอโศกนี่แหละ โดยมีโคเรียนทาวน์ยืนหนึ่งเรื่องเกาหลีมาร่วมสามสิบปี แถมในช่วงราวสิบปีนี้ก็มีศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีมาเปิดอีกต่างหาก  คอลัมน์ Neighboroot ขอพาทุกคนไปคุยกับเจ้าของร้านอาหารเกาหลีร้านแรกๆ ในโคเรียนทาวน์ พร้อมพาตะลุยย่านสัมผัสวัฒนธรรมแดนโสมใจกลางกรุงเทพฯ กันดีกว่า ว่าจะมีอะไรให้พวกเราค้นหาอีกบ้าง!  ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ประเทศไทยยังไม่ได้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมเกาหลีมากเท่าไหร่ ไม่ต้องพูดถึงโคเรียนทาวน์ ที่ถ้าพูดชื่อไปก็รับรองได้เลยว่าไม่มีใครร้องอ๋อเหมือนสมัยนี้แน่ๆ  ประวัติโดยย่อคือ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2532 โคเรียนทาวน์มีชื่อว่า สุขุมวิทพลาซ่า เพราะตั้งอยู่บริเวณตอนต้นของถนนสุขุมวิท แล้วก็ยังไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับคำว่าเกาหลีเลยแม้แต่น้อย จนกระทั่งชาวเกาหลีที่ย้ายถิ่นฐานมายังประเทศไทยเริ่มเข้ามาเปิดร้านอาหารกันมากหน้าหลายตา และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนภาครัฐขนานนามให้ว่า โคเรียนทาวน์ เพราะถือว่าที่นี่เป็นแหล่งรวมร้านอาหารเกาหลีที่มากที่สุดของไทย  ว่าแต่เรื่องราวของโคเรียนทาวน์เป็นมายังไง ชาวเกาหลีเข้ามาทำอะไรที่สุขุมวิทตอนต้น เราชวนขับ Swap & Go จาก PTT Station นานาใต้ ที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยเมตร มาฟังจากปาก Jang Won BBQ ร้านอาหารเกาหลีสูตรต้นตำรับ ซึ่งเป็นร้านแรกๆ […]

ไปเที่ยว ‘ราชเทวี’ สำรวจศิลปวัฒนธรรมโบราณและร่วมสมัยใจกลางกรุงเทพฯ

เราเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่เคยมาเยือนกรุงเทพฯ หรืออาศัยอยู่ในเมืองนี้ คงรู้จักและเคยได้ยินชื่อเขต ‘ราชเทวี’ ย่านธุรกิจใจกลางเมืองที่คั่นกลางระหว่างสองจุดหมายปลายทางสำคัญอย่าง ‘พญาไท’ และ ‘สยาม’ ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและไลฟ์สไตล์ของคนเมือง เพราะเป็นทั้งจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และที่ตั้งของศูนย์การค้าทันสมัยมากมาย ราชเทวีจึงกลายเป็นโลเคชันโดดเด่นและน่าอยู่อาศัยแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย ทว่า ราชเทวีไม่ได้เป็นแค่ ‘ทำเลทอง’ กลางเมืองเท่านั้น แต่งานสร้างสรรค์โลกสมัยใหม่หลายรูปแบบก็มีจุดเริ่มต้นอยู่ในย่านริมคลองแสนแสบแห่งนี้เช่นกัน  วันนี้ Urban Creature ขออาสาเป็นไกด์พาทุกคนไปทัวร์ย่านนี้ในมุมมองที่ต่างไปจากเดิม ผ่านการสำรวจ Art & Culture ที่แฝงตัวอยู่ในอณูของย่าน อย่างกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตลายเส้นการ์ตูนญี่ปุ่นที่โอบล้อมสวนสาธารณะสีเขียวใจกลางเมือง และอาร์ตสตูดิโอที่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือเยียวยาจิตใจและเชื่อมโยงคนในสังคมเข้าหากัน เป็นศิลปะยุคใหม่ที่เหมาะสำหรับคนที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ ออกจากแกลเลอรี และมาเสพงานสร้างสรรค์กลางแจ้ง รวมไปถึงคนที่อยากเปิดประสบการณ์ใหม่จากการลงมือทำศิลปะด้วยตัวเอง และถ้าศึกษาประวัติศาสตร์ลึกลงไป ราชเทวีถือเป็นย่านเก่าแก่ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานครมายาวนาน ใต้ภาพความเป็นเมือง แหล่งสังสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ที่นี่คือที่ตั้งของชุมชนมุสลิมแขกจามอายุกว่า 230 ปี ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องภูมิปัญญาการทอผ้าคุณภาพดีมายาวนาน และยังมีมัสยิดแห่งแรกของฝั่งพระนคร ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของชุมชนแห่งนี้ เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ที่ควรค่าแก่การไปเยือน และอนุรักษ์ไว้ ราชเทวีในสายตาของเราจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นย่านหนึ่ง ที่ศิลปวัฒนธรรมของโลกเก่าเดินทางข้ามกาลเวลามาบรรจบกับงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย ข้อดีของราชเทวีก็คือโลเคชันที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง คนทุกเพศทุกวัยเดินทางมาได้โดยระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ แถมยังเดินได้ยาวๆ หมดห่วงเรื่องการปล่อยมลพิษจากการใช้รถยนต์ส่วนตัว เป็นจุดท่องเที่ยวที่มีเรื่องราวน่าสนใจ […]

สำรวจป้ายหาเสียงในฤดูกาลเลือกตั้งกรุงเทพฯ ติดแบบไหนพัง ตั้งตรงไหนปัง ลองมาดูกัน

ในฤดูเลือกตั้ง นอกจากจะได้เห็นภาพการปรากฏตัวของแคนดิเดตนักการเมืองหลายคนบ่อยๆ ทั้งในหน้าสื่อ และการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ สิ่งที่เห็นได้ถี่ไม่แพ้กันก็คือ ‘ป้ายหาเสียง’ และ ‘ประกาศหาเสียง’ ของแคนดิเดตแต่ละคนหรือแต่ละพรรค ที่จัดเต็มด้วยสโลแกน และนโยบายการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน 2565 นี้ ภาพบรรยากาศป้ายมากมายที่เราเคยเห็นในศึกการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ต่างทยอยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ใช่ เราหมายถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสภากรุงเทพฯ (ส.ก.) นั่นแหละ อีกไม่นาน คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองในคูหาอีกครั้ง หลังจากรัฐริบเอาเสียงของประชาชนไปนานหลายปี ซึ่งคนกรุงจะได้เข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 หลังยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว เมื่อมีการคอนเฟิร์มแน่ชัด ผู้สมัครหลายคนก็เริ่มติดป้ายหาเสียงแบบไม่มีใครยอมใคร แถมยังมีการเริ่มปิดประกาศและติดตั้งป้ายก่อนมีการประกาศหมายเลขประจำตัวผู้สมัครในวันที่ 31 มีนาคม – 4 เมษายน 2565 เสียด้วยซ้ำ ถ้าสังเกตดีๆ ในโลกออนไลน์ตอนนี้เริ่มมีคอนเทนต์เกี่ยวกับการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ เยอะขึ้นเรื่อยๆ มีคนถ่ายภาพป้ายเลือกตั้งที่พบเจอมาแชร์ต่อมากมาย ทั้งในมุมตลกขบขัน มุมซีเรียส มุม Complain ไปจนถึงข้อเสนอ และเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการออกแบบคอนเทนต์ ดีไซน์ป้ายหาเสียง ไปจนถึงความเหมาะสมของการติดตั้งป้ายในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพาทุกคนออกไปสำรวจเมืองในย่านต่างๆ […]

MILKBREW COFFEE ร้านกาแฟนมสุดชิกในอาคารมรดกทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ความผูกพันที่มีกับจังหวัดซะกะพาเรากลับไปเยี่ยมที่นี่ทุกครั้งที่มีโอกาส เมืองลูกรักที่แอบแวะไปบ่อยๆ คือ Ureshino ซึ่งมีทั้งเครื่องปั้นดินเผาเก๋ไก๋ อนเซ็น ชาเขียวและคาเฟ่กรุบกริบ สร้างความเพลิดเพลินแบบไม่เคยทำให้ผิดหวัง และแล้วทริปล่าสุด ซะกะก็กัมบัตเตะ (พยายาม) นำความกรุบกริบใหม่ๆ มาทำให้ประหลาดใจอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่ชาเขียวของดังประจำเมือง แต่เป็นร้านกาแฟในย่านอนุรักษ์อันเงียบสงบที่ได้รับความสนใจจากสื่อมากมายเพราะความกรุบกริบหลายสิ่ง คุณ MILKBREW COFFEE เป็นร้านกาแฟนมสุดชิกภายในอาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม การตกแต่งภายในดูล้ำอย่างไม่รุกรานความเก่าแก่ นอกจากนี้ยังนำเสนอกาแฟรูปแบบใหม่ที่นมได้รับบทเด่นไม่แพ้กันเพราะ Hirotaka Nakashima คุณพี่เจ้าของร้านคือทายาทของ Nakashima Farm ฟาร์มนมชื่อดังซึ่งเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมจนได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาแล้ว ยามบ่ายวันอาทิตย์ที่มีแดดออกหลังหิมะเพิ่งหยุดโปรยปราย ฮิโระทะกะพร้อมแจกแจงความกรุบกริบที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วให้เราฟังอย่างละเอียดยิบ เขาบอกว่าคาเฟ่แห่งนี้ไม่ใช่ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม แต่เป็นร้าน Monozukuri ที่แปลว่าการผลิต เพราะพวกเขามีแบ็กกราวนด์ที่แข็งแกร่งในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยังไงล่ะ ชงนมกับกาแฟ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า MILKBREW COFFEE คืออะไร ทุกคนน่าจะรู้จักกาแฟ Cold Brew (กาแฟสกัดเย็น) อยู่แล้ว MILKBREW COFFEE เป็นกาแฟนมที่เกิดขึ้นจากหลักการเดียวกันนั้น แต่แทนที่จะนำกาแฟไปแช่น้ำก็แช่นมสดจากเต้าของพี่วัวในฟาร์มจนได้กาแฟนมที่มีความละมุน รสเบาๆ แต่สัมผัสได้ถึงกลิ่นหอมและเอกลักษณ์ของกาแฟได้อย่างชัดเจน ฮิโระทะกะค้นพบความอร่อยนี้โดยบังเอิญเมื่อเขาซื้อ Cold Brew Pack […]

ชาวคอนโดฯ ทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีตึกสูงมาสร้างข้างๆ บดบังวิวที่เคยมองเห็น

เมื่อไม่นานนี้ มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตึก One City Centre ตึกสำนักงานสร้างใหม่ที่อยู่ติดกับตึก 98 Wireless คอนโดมิเนียมสุดหรูที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ  ข้อถกเถียงที่ว่าคือ ทำไมตึกที่ดูใหญ่โตขนาดนี้ถึงสร้างติดกับคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยได้อย่างใกล้ชิดสุดๆ จนสร้างความรู้สึกกังวลใจให้ผู้คนในแถบนั้น นอกจากประเด็นความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยที่น่าขบคิดต่อแล้ว การที่มีสิ่งก่อสร้างมาตั้งตระหง่านบดบังทิวทัศน์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวเพิ่มมูลค่าการซื้อ-ขายของห้องที่อยู่บนชั้นสูงๆ ก็ดูเป็นปัญหาใหญ่ และในอนาคต เราคาดเดาว่ากรุงเทพฯ น่าจะมีกรณีแบบนี้ให้เห็นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคที่คนรุ่นใหม่เลือกอยู่คอนโดมิเนียมมากกว่าบ้านเดี่ยวในสมัยก่อน คำถามสำคัญคือ ถ้าหากวันหนึ่ง คอนโดฯ ที่เราทำงานเก็บเงินเช่าหรือซื้อ เพื่อให้ได้มองวิวสวยๆ เกิดมีตึกสูงใหญ่มาสร้าง บดบังสิ่งที่เคยเห็นทั้งหมด เราในฐานะเจ้าของห้องจะทำอะไรได้ไหม สิทธิของผู้อยู่อาศัย และตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อมูลชุดใดที่ควรรู้และตั้งคำถามต่อบ้าง เราจึงชวน แทนศร พรปัญญาภัทร กรรมการผู้จัดการ และสถาปนิกผังเมือง บริษัท เออเบิ้น รูม จำกัด ที่คลุกคลีกับการทำงานพัฒนากรุงเทพฯ มาเกือบสิบปี มาพูดคุยถึงประเด็นนี้ รวมถึงบริบทรอบข้างที่อาจเป็นประโยชน์กับคนเมืองในอนาคต อาคารสูงกวนตาเป็นปัญหากวนใจ เริ่มด้วยข้อควรรู้เกี่ยวกับอาคารสูงให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ที่จริงแล้วประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับอาคารมาตั้งแต่ปี 2533 แต่เมื่อเริ่มมีการพัฒนาอาคารสูงกันมากขึ้น รัฐจึงบัญญัติคำว่าอาคารสูงขึ้นในปี 2543 โดยนิยามของอาคารสูงตามกฎหมายคือ อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรหรือ 8 […]

ตามหาประวัติศาสตร์ในอารีย์ ย่านที่ชิกที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ

ร้านรวงเก๋ๆ ร้านอาหารรสเลิศ คาเฟ่ฮิปๆ บาร์ลับ และครีเอทีฟสเปซมากมาย น่าจะเป็นภาพจำแรกที่เกิดขึ้นของหลายๆ คนเมื่อได้ยินชื่อย่านอารีย์ แม้ชื่อของอารีย์จะติดลิสต์ย่านชิกของชาวกรุงเทพฯ รุ่นใหม่มาเกือบ 10 ปี แต่ที่จริงแล้วความเก๋ความฮิปของย่านนี้ก่อตัวอย่างเข้มข้นมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 2540 เนื่องจากการเข้ามาของเหล่านักสร้างสรรค์ที่อยากเนรมิตสถานที่และบรรยากาศให้เป็นไปในแบบที่พวกเขาพึงพอใจ สร้างแรงบันดาลใจให้ชีวิต จึงไม่แปลกที่อารีย์จะกลายเป็นย่านที่มีกลิ่นอายของความสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวามาจนถึงทุกวันนี้ แน่นอน ความเจริญและบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดความผ่อนคลาย จนคนอยากมาพักผ่อนหย่อนใจคือจุดเด่นของย่านนี้ แต่ขณะเดียวกันมีใครรู้บ้างว่าเบื้องหลังความสร้างสรรค์และร่วมสมัยของอารีย์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน อาคาร ร้านค้าเก่าแก่ที่พบเห็นได้ไม่ยากหากได้ลองสำรวจพื้นที่และพูดคุยกับผู้คนดูสักนิด ครั้งนี้ Urban Creature จึงขอพาทุกคนไปตามหาร่องรอยประวัติศาสตร์ของอารีย์จากปากผู้อาศัย ความเก่าแก่ของสถานที่ และบริเวณต่างๆ ของย่านชิกย่านนี้ผ่านการเดินทางโดยการใช้บริการมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและแพ็กเกจสวอพหรือสลับแบตเตอรี่ของ Swap & Go ที่สะดวก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เหมาะสมกับการใช้สัญจรในย่านใดย่านหนึ่งที่ระยะทางไม่ไกลจนเกินไป เข้าตรอกออกซอยได้ว่องไวกว่าเดินเท้า แต่ก็ไม่พลาดชื่นชมวิวทิวทัศน์ระหว่างทางไปด้วย เที่ยวทั่วย่านได้ง่ายๆ กับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Swap & Go สถานี ปตท. สนามเป้า เราสตาร์ทการเดินทางด้วยการมารับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่เช่าไว้จาก Swap & Go พร้อมสมัครแพ็กเกจสวอพแบตเตอรี่แบบไม่จำกัด ณ จุดให้บริการ Swap […]

City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

1 17 18 19 20 21 47

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.