‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

คนไทยทำไมไม่ดูหนังไทย เพราะน่าเบื่อหรือถูกปิดกั้นอิสระทางความคิด

ชวนตั้งคำถามหนังไทย ทำไมฉายแล้วไม่ปังเท่าหนังต่างประเทศ คงต้องมองกลับไปยังจุดเริ่มต้นของสภาพแวดล้อมการทำหนังในบ้านเรา ผ่านมุมมองของคนแวดวงหนังกับ ‘คุณมิ้ว – ศริญญา มานะมุติ’ หนึ่งในผู้ก่อตั้งโรงหนัง Bangkok Screening Room ที่จะมาฉายภาพกว้างของวงการหนังในบ้านเราให้เรารู้ว่า สาเหตุที่คนไทยไม่ดูหนังไทยเป็นเพราะอะไร ?

คนไทยกินข้าวทุกวัน แต่ทำไมชาวนาจนลง?

เมื่อข้าวคืออาหารหลักของคนไทย แต่ทำไมพี่น้องชาวนาจนลงทุกวัน ? ชวนฟังเสียงชาวนากับ ‘E-Rice Thai Farmers’ กลุ่มชาวนาจากภาคอีสานที่รวมตัวกันขายข้าวเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เพื่อให้ชาวนาไทยไม่ถูกเอาเปรียบ

คุณรู้จักถนนไทยดีแค่ไหน

ภาพถนนเป็นหลุมเป็นบ่อกลายเป็นภาพชินตาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร จากปัญหาเพียงเล็กน้อยกลายเป็นตอใหญ่ของปัญหาถนนไทยที่หยั่งรากลึกมานานแสนนาน

ถนน กทม. ดีพอให้เป็นทางรอดเมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือยัง

‘ถนน’ มีไว้ทำอะไร ? หน้าที่หลักของถนน คือ การเคลื่อนย้ายสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่งให้ถึงจุดหมายที่ไม่ใช่เเค่รถวิ่งเท่านั้น เเต่ยังทำหน้าที่เป็นเส้นทางอพยพคนไปยังจุดปลอดภัยอีกด้วย

คนไทยไม่อ่านหนังสือ หรือพื้นที่การอ่านมีไม่มากพอ?

บรรยากาศห้องสมุดที่เราคุ้นเคยคงเป็นสถานที่น่าเบื่อเชยๆ ไว้ค้นคว้ารายงานส่งครู ขณะที่ห้องสมุดในต่างประเทศกลับมีรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่ห้องสมุดที่หรูหราโอ่อ่าราวขุมทรัพย์ ไปจนถึงห้องสมุดจิ๋วในตู้โทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งเปิดกว้างให้นักอ่านทุกประเภท ชวนเราย้อนคิดว่า ทำไมบ้านเราถึงมีภาพจำว่า ห้องสมุดมีไว้สำหรับการเรียนการสอน หรือนักวิชาการเท่านั้น ?

‘สตรีทฟู้ดไทย’ ทำอย่างไรจะทวงแชมป์ที่หนึ่งของโลก ?

คุณคือคนหนึ่งที่เผชิญกับรถติดเป็นประจำ เคยไหมที่มองผ่านกระจกรถไปเจอ ‘รถเข็นขายอาหาร’ ริมฟุตบาทแล้วเกิดอาการหิว หรือเมื่อไหร่ที่เดินเท้าแล้วอดใจไม่ไหวต้องแวะ ‘ร้านข้างทาง’ ด้วยหน้าตาและกลิ่นสุดยั่วกระเพาะ

‘แยกกันอยู่ หรืออยู่ด้วยกัน’ ออกแบบให้คน ธรรมชาติ และเมืองอยู่ร่วมกัน ทำได้อย่างไร ?

บริษัทภูมิสถาปนิกในประเทศสวิสเซอร์แลนด์จึงถ่ายทอดแนวคิดสร้างพื้นที่ว่างจากการปูคอนกรีตบนพื้นให้มีระยะห่าง เพื่อให้ต้นไม้ได้ยืดราก เหยียดลำต้นอย่างเต็มที่ และกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

เผยโฉมหน้าศัตรูที่มองไม่เห็น ‘Coronavirus’ นักวิทย์ฯ ศึกษาโครงสร้างไวรัสจิ๋วได้อย่างไร ?

ไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดหนักไปทั่วโลกในตอนนี้ การเรียนรู้โครงสร้างของไวรัสโคโรน่า รวมถึงศึกษาการทำงานของมันกับเซลส์ในร่างกายเรา จึงเป็นกุญแจสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ ที่จะนำไปสู่การคิดค้นวัคซีนมาหยุดยั้งการแพร่ระบาดนี้

‘ฝุ่นเยอะ รถติด ไม่ปลอดภัย’ เมืองที่อาศัยทำให้เราเป็นบ้าได้ไหม ?

จิตใจที่ผิดปกติที่ถูกกระตุ้นมาจากสภาพแวดล้อมตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วมีที่มาอย่างไร ธรรมชาติสามารถผ่อนคลายความกดดันนี้ได้หรือไม่ มาร่วมกันพิจารณาหาคำตอบให้กับตัวเองกัน

Bangkok Road Signs : สัญลักษณ์กลางถนน เจอแบบนี้ต้องทำไง

เครื่องหมายจราจรคือ “สัญลักษณ์จราจร” ที่ใช้สำหรับควบคุมจราจร มักเป็นสัญญาณแสงไฟ ป้าย ลายต่างๆ เพื่อเป็นตัวกำหนด หรือเป็นข้อบังคับการเคลื่อ นตัวของจราจร ทั้งการจอด การเตือน รวมถึงแนะนำทางจราจรแบ่งเป็ น 3 ประเภทหลักๆ คือ สัญญาณไฟจราจร, ป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจรอื่นๆ เช่น เครื่องหมายบนพื้นทาง และขอบทางเท้า

Save Our Planet: เมื่อโลกเต็มไปด้วยขยะ แล้วเราจะใช้ชีวิตอยู่อย่างไร

ในวันที่ความสามารถในการจัดการขยะพลาสติก สวนทางกับปริมาณของกองภูเขาขยะ การหาทางออกด้วย “การสร้างสิ่งทดแทน” เพื่อให้เราทุกคนได้ใช้ชีวิตใน “เมืองไร้พลาสติก” (Zero Waste) จึงเกิดขึ้น

1 5 6 7 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.