สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา  แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม  แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]

ขออนุญาต Educate นะคะอีเก่งกิจ : ฉอดเรื่อง Political Correctness กับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“เขียนชื่อผมลงไปเลยนะว่าอีเก่งกิจ เออ อีเก่งกิจนั่นแหละ เขียนแบบนั้นเลย”  รศ. ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นเสียงบอกเราอย่างยียวน หลังจากการพูดคุยกันเรื่องความถูกต้องทางการเมือง PC หรือ Political Correctness จบลงสดๆ ร้อนๆ สารภาพว่าหลังจากได้ติดตามการตั้งประเด็นทางสังคมและการโต้ตอบความคิดอันดุเดือดของเขาบนโลก Twitter มาตั้งแต่ต้นปี 2564 เมื่อได้เข้าไปเยือนพื้นที่ของ @Kengkij2 วลีหนึ่งที่ผุดขึ้นมาบนหัวคือ ‘ปังสัส’ ไม่อยากจะสปอยล์ แต่อยากให้ไปหาอ่านเอาเอง เพราะตั้งแต่ไล่สายตาอ่าน Bio ของเขาที่ระบุว่า ‘ทวิตเตอร์มีไว้ด่า ไม่ได้มีไว้คุยวิชาการ #คอมทวิต non-pc’ เราก็สนใจตัวตนบนโลกออนไลน์ของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยไบโอมันๆ และความสับในโลกนกฟ้า ซึ่งค่อนข้างตรงกันข้ามกับบทบาทอาจารย์และนักวิชาการ ยิ่งทำให้เราสนใจในวิธีคิด เพราะเก่งกิจเขวี้ยงหมวกนักวิชาการทิ้งถังขยะ แล้วใช้คีย์บอร์ดฉอดยับสับแหลก ดีเบตเผ็ดแซ่บจนนักฉอดทวิตต้องรีพลายกันร่างแหลกกันไปข้าง อีหน้าไหนจะมา War เป็นต้องเจอสรรพอาวุธสุดจะปังของเขา ด้วยฝีปากกล้าท้ารบ จบทุกสกิลในคนเดียวชนิดที่ว่า Non Stop ความ Non PC เราเลยตัดสินใจคุยเรื่องความ PC […]

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

หนี้สาธารณะ ภาระหนี้ที่ส่งผลต่อทุกคนตั้งแต่ลืมตาตื่น จนอาจยาวนานถึงหลับตาตาย

‘หนี้สาธารณะ’ คำคุ้นหูที่ทำหลายคนส่ายหัว และอาจมองเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่จำเป็นต้องรู้ แต่ถ้าบอกว่าสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อค่ารถสาธารณะที่เราใช้บริการทุกวัน หรือค่าอาหารกลางวันที่เรากินทุกมื้อ สิ่งเหล่านี้มีราคาต้องจ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ พูดง่ายๆ คือมีเงินเท่าเดิม แต่ของทุกอย่างกลับแพงขึ้น แล้วแบบนี้หนี้สาธารณะยังเป็นเรื่องไกลตัวอยู่ไหม?  หนี้สาธารณะกำลังอยู่รอบตัวเรา และอาจทำให้โปรเจกต์ใหญ่ๆ อย่างรัฐสวัสดิการ อินเทอร์เน็ตฟรีเพื่อประชาชน ระบบขนสาธารณะราคาถูก ระบบการศึกษาที่ดี อาจเกิดขึ้นไม่ได้ในประเทศไทยอีกต่อไป รายงานล่าสุดเมื่อมิถุนายน 2564 สะท้อนว่าปัจจุบันคนไทยกำลังใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับหนี้สาธารณะที่เกาะบนหลังจำนวนกว่า 8,825,097.81 ล้านบาท เมื่อเทียบสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดภายในประเทศ (GDP) จะอยู่ที่ 55.20 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขเหล่านี้ทวีความสำคัญกับชีวิตของเรามหาศาล เราจึงต้องรู้และเข้าใจข้อมูลชุดนี้แบบห้ามละสายตา  เรื่องยากๆ ชวนปวดหัวเหล่านี้ทำให้เราต้องไปพูดคุยกับ ‘ดร.เดชรัต สุขกำเนิด’ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อคลายข้อสงสัย และเปลี่ยนเรื่องหนี้ให้กลายเป็นเรื่องน่าเรียนรู้ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น หนี้สาธารณะ หนี้ที่ไม่ได้ร้องขอ แต่ทุกคนจำเป็นต้องช่วยจ่ายทุกสลึง กล่าวให้ง่ายที่สุด หนี้สาธารณะตอนนี้คือหนี้ที่รัฐบาลก่อ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่รัฐใช้เงินในแต่ละปีมากกว่ารายได้ที่หามา เรียกง่ายๆ ว่า ‘งบประมาณขาดดุล’ หรือภาษาชาวบ้านว่า เงินช็อต สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเงินไม่พอใช้ คือการที่รัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องกู้หนี้ยืมสินจากแหล่งเงินต่างๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อสร้างสมดุลของบัญชีรายรับ-รายจ่าย […]

2029 Start Up เอเชียจะปัง ส่วนไทยอาจจะพัง?ชวนมองปัจจัยที่ทำให้ไทยไม่ตกขบวน

รู้หรือไม่ว่า ตอนนี้เราอยู่ในช่วง 10 ปีทองของธุรกิจสตาร์ทอัปในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยเตรียมพร้อมหรือยังนะ ที่จะคว้าโอกาสนี้! ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ และต่างชาติเองก็เริ่มทยอยถอนตัวการลงทุนในไทย อ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของ KKP Research เกียรตินาคินภัทรปี 2021 กล่าวว่าในปัจจุบันไทยเริ่มไม่ใช่จุดสนใจของโลก และต่างชาติเข้ามาลงทุนลดลง ด้วยการพัฒนาคนและเทคโนโลยีต่ำ รวมไปถึงกฎระเบียบไม่เอื้อในการส่งเสริมการตลาด เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่เริ่มฟื้นฟูตัวได้อย่างเวียดนามสวนทางกับวงการสตาร์ทอัปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ในช่วงเติบโตอย่างทวีคูณไปจนถึงปี 2029 อ้างอิงข้อมูลจากบริษัท ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ จำกัดปี 2021 รวมถึงรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ประจำปี 2564 (Asian Development Outlook 2021) ให้ข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศเอเชียกำลังพัฒนาและคาดจะเติบโต 7.7% ในปี 2021 และ 5.6% ในปี 2022 10 ปี เอเชียแหล่งเวลคัม ‘เทคโนโลยีใหม่’ สาเหตุที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นแหล่งเนื้อหอมในยุคนี้ อ้างอิงข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ของ Kevin Aluwi ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Gojek ปี 2021 เผยว่าแถวบ้านเรามีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก และมีไลฟ์สไตล์เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ใช้ในพื้นที่มากมาย […]

The Vessel สถาปัตยกรรมเก๋ทำให้คนอยากตายจริงหรือ?

ในช่วงระยะเวลาเพียงปีกว่าๆ The Vessel แลนด์มาร์กไอคอนิกสุดหรูในแมนฮัตตัน มหานครนิวยอร์ก มีคนเลือกมาจบชีวิตแล้วถึง 4 คน และใช่ ที่น่าตกใจกว่าเดิมคือทั้งสี่เป็นเพียงคนหนุ่มสาวอายุ 14, 19, 21 และ 24 ปีเท่านั้น ทำไมสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภาพลักษณ์หรูมากด้วยดีเทลนี้ ถึงกลายเป็นพื้นที่ของการฆ่าตัวตายติดต่อกันเสียอย่างนั้น ทั้งๆ ที่ภาคเอกชนก็พยายามปั้นให้เป็นพื้นที่ที่มีดีไซน์แปลกใหม่ แถมยังมองเห็นทิวทัศน์ของนิวยอร์กได้อย่างน่าตื่นใจ ใครผ่านไปมาก็ต้องหยุดมองเพราะมันโดดเด้งจากพื้นที่แบบไม่มีใครเทียบรัศมี The Vessel เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาสเปซริมแม่น้ำ Hudson ฝั่งตะวันตกของเมือง โปรเจกต์นี้มีทั้งสำนักงานออฟฟิศ ที่พักอาศัย ห้างร้าน และพื้นที่สาธารณะ บนเนื้อที่ 70 ไร่ ซึ่งถูกเรียกว่า Pseudo-Public Space ถ้าให้นิยามง่ายๆ มันคือพื้นที่สาธารณะที่สร้างและพัฒนาโดยเอกชน กรณีของสถาปัตยกรรมวงกตที่หลายคนขนานนามว่ามีลักษณะเหมือนรวงผึ้ง เป็นส่วนหนึ่งในโปรเจกต์อลังการงานสร้างของ Hudson Yards Redevelopment พื้นที่นี้เปิดให้เข้าชมฟรีในชั่วโมงแรกที่เปิดทำการ นอกเหนือจากเวลานี้จะคิดค่าตั๋วบุคคลทั่วไปราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบก็เข้าชมได้แบบฟรีๆ  ก่อนไปถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย สถาปัตยกรรมนี้เป็นงานศิลปะแบบ Interactive ที่คิดค้นโดย […]

ถ้าครูฟังอยู่ อยากให้รู้ว่า ‘หนูเหนื่อย’ ฟังความในใจของเด็กไทยในวันที่ต้องกลับมาเรียนออนไลน์

โจทย์การบ้านวันนี้ : ให้นักเรียนเขียนถึงความรู้สึกของการเรียนออนไลน์ในครึ่งเทอมนี้ มีอะไรอยากระบาย อยากบอกเล่าให้ครูฟัง พิมพ์มาได้เต็มที่เลย นี่เป็นโจทย์การบ้านจริงของเด็กมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่คุณครูโรงเรียนแห่งหนึ่งมอบให้พวกเขาได้รับบทผู้พูด ระบายความในใจจากการเรียนออนไลน์เต็มระบบมาตลอดระยะเวลาหนึ่งเทอม ตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 เด็กไทยจำนวนมากกำลังถูกพรากช่วงชีวิตในวัยเรียนและความทรงจำที่มีค่าไป เด็กไทยต้องปรับตัวเรียนออนไลน์ทั้งๆ ที่ไม่พร้อม ทั้งสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์การเรียน และที่น่าเสียดายคือพวกเขาไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ได้เจอเพื่อน ไม่ได้เจอคุณครู ไม่มีโอกาสเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และนักเรียนบางคนที่ย้ายโรงเรียนหรือขึ้นระดับชั้นใหม่ อาจจะไม่มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนร่วมห้องตัวเป็นๆ ด้วยซ้ำนี่คือคำตอบของเด็กที่มีตัวตนจริงๆ ซึ่งล้วนระบายความรู้สึกออกมาจากใจ จนทำให้เราคิดถึงวัยเด็กอีกครั้ง ถ้าฟังเสียงของพวกเขาจบแล้ว เราอยากชวนให้ทุกคนกลับมาฟังเสียงของลูกหลานในบ้าน และหันกลับไปถามความรู้สึกของพวกเขากันว่าวันนี้ “หนูเหนื่อยไหม?” หนูเรียนออนไลน์จนตาจะพังแล้ว เราล้วนโตมากับคำเตือนของผู้ใหญ่ว่า อย่าจ้องหน้าจอคอมและโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน เพราะจะทำให้สายตาเสีย หรือแม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็ออกมาเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์นานเกิน 2 ชั่วโมง  ทว่าเป็นที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจุบันเด็กต้องอยู่หน้าจอคอมเพื่อเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่าวันละ 6 ชั่วโมง ​ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะตาล้า (Digital eye strain) ปวดตา ตาแห้ง แสบตา หรือบางคนอาจจะถึงขั้นปวดศีรษะร่วมด้วย และคำว่าเรียนออนไลน์อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน เพราะนั่นหมายถึงการมีอุปกรณ์การเรียนที่มากกว่าสมุดและปากกา คือคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โต๊ะ และเก้าอี้ในการเรียนของเด็ก บ้านที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ […]

The Lost Year : เด็กไทยสูญเสียอะไรบ้างในยุคโควิด-19?

เริ่มต้นวันเสียงนาฬิกาปลุก เราลุกขึ้นจากที่นอนด้วยความขี้เกียจจะใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ไปอีกวัน หยิบโทรศัพท์เข้าทวิตเตอร์เป็นอย่างแรกเพื่ออ่านเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้เหมือนกับอ่านหนังสือพิมพ์ตอนเช้า และเป็นอีกวันที่เราเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ และตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มขึ้นอีกแล้ว เพิ่มขึ้นทุกวันๆ ทวีตขอความช่วยเหลือทั้งหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด ข่าวการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือไม่ทันเวลา โพสต์ขายของที่เห็นได้ทั่วไปบนทวิตเตอร์ที่ตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤตโรคระบาดนี้มาก็เริ่มแยะขึ้นทุกวัน จนเราเกิดคำถามว่า เราอยู่กับโควิดกันมานานแค่ไหนแล้วนะ? คำตอบคือ 1 ปี 6 เดือน 30 วัน และที่น่าเศร้ายิ่งกว่าคือสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดูจะไม่ดีขึ้นในเร็วๆ นี้ บ้านที่ตอนนี้เป็นทั้งที่กิน ที่นอน ที่เรียน ที่เล่น ที่ทำงานก็คงจะมีสถานะเช่นนี้ไปอีกนาน มองออกไปนอกหน้าต่างก็เห็นเพียงถนนว่างเปล่า จากถนนที่มักจะคึกคักด้วยรถราในช่วงสายไปจนถึงเย็นของวัน ออกจากบ้านแต่ละครั้งเราไปได้ไกลสุดแค่ซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน ไม่รู้ว่าคุณป้าที่ขายผักที่ตลาดแล้วสนิทกับคุณยายเราจะเป็นอย่างไรบ้าง คุณพี่รถไอติมที่มักเข้ามาขายช่วงบ่ายของวันก็ไม่เจอเป็นเดือนแล้ว หรือคุณลุงขายผลไม้ที่กินประจำตอนไปเรียนที่คณะจะยังสบายดีอยู่ไหม ทุกคนได้รับผลกระทบและสูญเสียสิ่งสำคัญในชีวิตไปกับวิกฤตโรคระบาดในรูปแบบที่ต่างกัน คนกลุ่มหนึ่งที่เรานึกถึงอยู่เสมอคือผู้คนวัยเดียวกับเรา ตั้งแต่การระบาดในระลอกแรกพวกเราถูกจำกัดพื้นที่ในการใช้ชีวิตมานาน ไม่มีโอกาสได้ไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย สูญเสียโอกาสใช้ชีวิตให้เต็มที่สมวัย ถูกพรากความฝันและตัวตนไปไม่ต่างกับผู้คนวัยอื่นๆ วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ประกาศให้เป็น ‘วันเยาวชนสากล (International Youth Day)’ เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงเสียงและการมีส่วนร่วมของเยาวชนในเรื่องต่างๆ ของเยาวชน เราในฐานะนิสิตที่เรียนออนไลน์มานาน กำลังจะเรียนจบ […]

ติด Covid-19 รัฐจ่ายอะไรให้บ้าง?

แม้จะมีข่าวโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินเพิ่มอยู่เป็นระยะ แต่ถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้วผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการรักษา ‘ฟรี’ เนื่องจากเป็นโรคติดต่ออันตราย และถือว่าผู้ติดเชื้อเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนที่จะส่งบิลไปเรียกเก็บกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แล้วรัฐออกอะไรให้เราบ้าง แต่ละกระบวนการมีราคาเท่าไหร่ สิทธิ์ของเรามีแค่ไหน ดูกันได้ที่นี่ ค่าตรวจ 2,300 บาท  ราคาแรกที่รัฐต้องจ่ายเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ถ้าเป็นการคัดกรองเฉพาะบุคคลไม่ได้ตรวจหาเป็นกลุ่มจะนิยมด้วยกัน 2 วิธีคือ RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเพราะมีความแม่นยำสูงตรวจได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายและทราบผลได้ใน 24 ชั่วโมง และอีกวิธีคือ Rapid Antigen Test ที่ใช้งานง่ายกว่าและทราบผลได้ในเวลาไม่เกิน 30 นาที ข้อเสียคือไม่สามารถตรวจหาเชื้อโรคที่ปริมาณน้อยได้ ทำให้ไม่แม่นยำเท่า RT-PCR ซึ่งแต่เดิมตรวจฟรีเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสัมผัสสูง แต่ปัจจุบันมีการเปิดจุดตรวจฟรีเพิ่มขึ้นในพื้นที่เสี่ยงโดยใช้วิธี Walk-in หรือรับบัตรคิวล่วงหน้า  RT-PCR 2,300 บาท  Rapid Antigen Test 1,200 บาท เฉพาะในกรณีฉุกเฉิน (*หากตรวจร่วมกับ RT-PCR ไม่เกิน 500 บาท)  รายละเอียดเพิ่มเติม : shorturl.at/envIJ ค่ารักษา […]

สรุปแนวทางล้อมคอกก่อนซ้ำรอยโรงงานระเบิดใกล้ชุมชน

เสียงระเบิดดังสนั่นตอนตี 3 ของเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม เป็นต้นเหตุของแฮชแท็ก #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ กลายเป็นประเด็นร้อนประจำสัปดาห์ที่ประชาชนทั่วทุกสารทิศต่างให้ความสนใจ ทั้งภาพความเสียหายจากแรงระเบิดของบ้านเรือน ภาพไฟกำลังลุกไหม้และควันดำพวยพุ่งขึ้นฟ้า หรือภาพมุมสูงทำให้เห็นความใกล้ของระยะโรงงานและชุมชน ส่งผลให้ประชาชนตั้งข้อสงสัยที่ตั้งโรงงานอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยได้หรือ ก่อนพาทุกคนไปหาคำตอบที่สงสัย ‘โรงงานกิ่งแก้ว’ หรือ ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกสัญชาติไต้หวัน ก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2532 บริเวณซอยกิ่งแก้ว 21 จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพจากดาวเทียม LANDSAT-5, Sentinel-2 และ Thaichote (ไทยโชต) เผยให้เห็นที่ตั้งโรงงานในอดีตอยู่กลางทุ่งนา ภายหลังเกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร สนามบินสุวรรณภูมิ หรือห้างสรรพสินค้า กลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่รอบโรงงาน โรงงานผิดที่ตั้งอยู่ในชุมชน? อย่างที่เรารู้กันว่า ‘กฎหมายผังเมือง’ มีแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือผังสี เพื่อบอกประเภทการใช้งาน ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย สถาบันการศึกษา ไปจนถึงเกษตรกรรม ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่า ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ จัดตั้งขึ้นก่อน ‘ผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2537’ (ฉบับแรก) […]

ทำไมต่างประเทศถึงรื้อทางด่วน

แท็กซี่ : สวัสดีครับ ไปไหนครับสมศรี : ไปสนามบินดอนเมืองค่ะ ขึ้นทางด่วนเลยนะพี่ หนูรีบ! ในวันที่เร่งรีบ การเดินทางด้วย ‘ทางด่วน’ คงเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่คนเมืองใช้เพื่อหลีกหนีการจราจรที่หนาแน่นในกรุงเทพฯ และย่นระยะเวลาให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น ซึ่งพอมองดูแล้วการมีทางด่วนก็ทำให้ชีวิตการเดินทางของเราง่ายขึ้นนี่นา แล้วทำไมอยู่ๆ ต่างประเทศถึงลุกขึ้นมารื้อทางด่วนกันนะ ‘ทางหลวงที่ควบคุมการเข้าถึง’ หรือที่เรียกกันว่า ‘ทางด่วน’ (Expressway) เป็นทางหลวงประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งตามหลักแล้วตลอดเส้นทางจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก มีแสงสว่าง จุดพักรถ รวมไปถึงระบบตรวจจับความเร็ว อาจเปิดให้ใช้ในลักษณะถนนที่เก็บค่าผ่านทางหรือไม่ก็ได้ ‘ลองไอส์แลนด์มอเตอร์พาร์กเวย์’ (Long Island Motor Parkway) ในเกาะลองไอส์แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา คือทางด่วนเส้นแรกของโลก สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ รวมถึงความต้องการที่จะเดินทางให้รวดเร็วมากขึ้น โดยทางด่วนเส้นนี้เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปี 1908 เป็นถนนที่ประกอบด้วยฟังก์ชันทันสมัยหลายอย่าง เช่น พื้นเอียงบริเวณทางโค้ง ราวกันอันตราย คอนกรีต และยางมะตอยเสริมแรง มีประโยชน์ขนาดนี้ แล้วทำไมถึงยังรื้อทิ้ง ‘เกาหลีใต้’ เป็นเรื่องที่เราประหลาดใจพอสมควร เมื่อได้ยินข่าวว่าเกาหลีใต้ได้ตัดสินใจรื้อทางด่วนสายสำคัญในกรุงโซลทิ้ง และแทนที่ด้วยเลนสำหรับรถบัสที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทางด่วนดังกล่าวหรือที่คนเกาหลีเรียกว่า […]

1 3 4 5 6 7 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.