สำรวจคลัสเตอร์แคมป์คนงาน ส่องมาตรการควบคุมโควิดดีพอหรือยัง?

ขณะที่คลัสเตอร์แคมป์คนงานยังคงออกข่าวอยู่เรื่อยๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็เพิ่มขึ้นทวีคูณ ด้วยจำนวนแรงงานที่ง่ายต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวงกว้าง และส่งผลกระทบตั้งแต่แรงงานระดับรากหญ้าไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ เราจึงชวนมาสำรวจความเป็นอยู่ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ พร้อมส่องมาตรการในแคมป์คนงานว่ารัดกุมมากน้อยแค่ไหน

เราจะอยู่ที่ไหนก็ได้ที่ตัวเองพอใจ ในแบบจ่ายไหว โดยไม่อิงกับที่ทำงานอีกต่อไป

ปีที่ผ่านมาโควิด-19 เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของโลกใบนี้ไปโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันเมื่อประเทศชั้นนำได้แจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ทั่วถึงประชาชนส่วนมากแล้ว สิ่งที่คุ้นตาก็เริ่มมีมาให้เห็น เมืองเริ่มกลับมาคึกคัก ผู้คนนำชีวิตชีวามาสู่ท้องถนน ร้านอาหารเปิดขายตามปกติ มหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์เต็มไปด้วยนักศึกษา  แต่บาดแผลที่ไวรัสทิ้งไว้ให้ยังไม่หายดี โดยเฉพาะย่านศูนย์กลางธุรกิจหรือ CBD (Central Business District) พื้นที่ใจกลางเมืองที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ที่ส่อแววว่าอาจจะไม่กลับมาคึกคักในเร็ววันอย่างที่เห็นได้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้บริษัทจะเปิดให้กลับมาทำงานได้แล้ว แต่พนักงานกว่าครึ่งหนึ่งยังเลือกที่จะทำงานจากโซฟาในห้องนั่งเล่น แวะทานมื้อสายบนเก้าอี้บาร์และท็อปครัวที่ทำจากหินอ่อน มากกว่าไปแออัดยัดเยียดกันที่ใจกลางเมือง และดื่มน้ำล้างแก้วจากร้านกาแฟราคาแพงใต้สำนักงานเพื่อกระตุ้นสมองให้พร้อมรับแรงกดดันตลอดเวลา CBD ยังไม่ได้รับวัคซีน ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 ย่านศูนย์กลางธุรกิจชั้นนำของโลกเต็มไปด้วยความเงียบเหงา พนักงานกว่า 4.5 ล้านคน ไม่ได้รับอนุญาตให้ประจำการอยู่ที่ออฟฟิศเหมือนเคย เมื่อเวลาล่วงเลยไปร่วมขวบปีในขณะที่ประเทศไทยเริ่มปูพรมฉีดวัคซีนเมื่อต้นเดือนมิถุนายน และประกาศว่าจะเปิดประเทศในอีก 120 วันให้หลัง สหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วประเทศไปแล้วกว่า 300 ล้านโดส และเตรียมส่งมอบให้โครงการ COVAX อีก 500 ล้านโดส ล่าสุด นิวยอร์กเกอร์ สามารถออกมาสูดอากาศในที่สาธารณะได้โดยไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย และกฎข้อบังคับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็แทบจะยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง  แม้การฉีดวัคซีนจะเข้าถึงอเมริกันชนส่วนใหญ่แล้ว แต่ CBD ดูจะยังหาวัคซีนเข็มแรกของตัวเองไม่เจอ ตัวเลขจาก Kastle Systems […]

ไม่มีเงินเรียนหมอได้ไหม

เด็กต่างจังหวัดหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยิน ‘ทุนเรียนดี แต่ยากจน’ ผ่านมา 20 ปี ทุนนี้ก็ยังคงอยู่ จนกลายเป็นสิ่งที่เด็กในประเทศนี้ต้องมาแย่งชิงกัน ทั้งๆ ที่เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาฟรี (ที่ฟรีจริงๆ) ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงระดับปริญญาตรีเหมือนในหลายประเทศ แต่ปัจจุบันประเทศไทยให้เด็กเรียนฟรีในโรงเรียนรัฐแค่ระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น ทำให้ทุกปีช่วงเปิดภาคการศึกษาเราจะได้เห็นข่าวเด็กสอบติดคณะต่างๆ โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์แต่ไม่มีเงินเรียน อย่างกรณีนักเรียนหญิงอายุ 18 ปี ในจังหวัดกาฬสินธุ์สอบติดแพทย์ แต่ทางบ้านฐานะยากจน ทำให้ผู้ใจบุญและชาวเน็ตพร้อมใจโอนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือจนได้เงินบริจาคกว่า 3.7 ล้านบาท หลังจากมีข่าวออกไป เรื่องนี้ก็กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงกันอย่างหนัก หนึ่งในนั้นคือประเด็นที่ว่า “ทำไมประเทศนี้ให้ความสำคัญกับคนที่สอบติดแพทย์มากกว่าเด็กที่สอบติดคณะอื่นๆ” ไปจนถึง “คณะแพทย์ฯ มีทุนมากมายให้นักศึกษาที่มีฐานะยากจน” เมื่อสังคมตั้งคำถาม เราจึงพาทุกคนมาหาคำตอบว่าทำไมอาชีพหมอถึงถูกให้ความสำคัญในสังคมไทย และถ้าอยากเรียนแล้วไม่มีเงินจะเรียนได้ไหม | ค่านิยมของคนรุ่นเก่า “เก่งขนาดนี้ ทำไมไม่เรียนหมอ”“เป็นหมอแล้วได้เงินดีนะ มีค่าตอบแทนสูง”“หมอเป็นอาชีพมั่นคง ไม่ตกงาน” ในปี 2500 ได้มีการสำรวจ ‘ค่านิยมในการประกอบอาชีพของเด็กไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพระนครและเขตธนบุรี’ พบว่า ‘แพทย์’ คืออาชีพที่เด็กๆ ในยุคนั้นใฝ่ฝันอยากเป็นมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่าเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ รองลงมาก็ครู ทหาร ตำรวจ และเข้ารับราชการ […]

ทำไมถนนปูดเก่ง จนรถพากันเหินไม่หยุด

ใครขับรถไปจนถึงเดินบนฟุตพาทแล้วอาจชำเลืองตาไปเห็นกับสภาพ ‘ถนนปูด’ ที่ปูดเก่งไม่ไหว จนพาให้รถหลายคัน ทั้งรถยนต์ ไปจนถึงมอเตอร์ไซค์เหินเวหา ล้มระเนระนาดมานับไม่ถ้วน แล้วสภาพถนนปูดนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบกัน ก่อนอื่นชวนทำความเข้าใจก่อนว่า ถนนในบ้านเรามีทั้ง ‘ถนนลาดยางมะตอย’ หรือ ถนนแบบผิวทางอ่อน (Flexible Pavement) ซึ่งจะใช้หลักการออกแบบตามมาตรฐานของสถาบันยางมะตอย (Asphalt Institute) โดยจะมีอายุการใช้งานราว 20 – 30 ปี กับอีกรูปแบบถนนคือ ‘ถนนคอนกรีต’ หรือ ถนนแบบผิวทางแข็ง (Rigid Pavement) ใช้หลักการออกแบบตามวิธีของสมาคมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement Association : PCA) โดยจะมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 40 – 50 ปี สาเหตุถนนปูดคืออะไร สำหรับอาการถนนบวม (Upheaval) หรือเรียกง่ายๆ ว่าถนนปูดนั้น เป็นความเสียหายด้านการใช้งาน (Functional Failure) ประเภทการเปลี่ยนรูปร่าง (Distortion) และมักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับถนนประเภทลาดยางมะตอยที่มีชั้นถนนเป็นดินเดิมของพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสาเหตุของการเกิดมีดังนี้ […]

รัฐสภาแบบไหนที่ใช่ ส่องการออกแบบที่ฟังเสียงประชาชน

รัฐสภาในแต่ละประเทศที่ถูกสร้างขึ้นมาสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดการปกครองของพื้นที่นั้นด้วย เมื่อสิทธิ์และเสียงของประชาชนต้องการถูกยอมรับ การออกแบบรัฐสภาก็ควรคำนึงถึงประชาชนมาเป็นอันดับแรก

สัญญาณไฟเหลือง เตรียมหยุด หรือ เตรียมเหยียบ

ฮันแน่~ ชอบเร่งเครื่องตอนเห็นไฟเหลืองกันหรือเปล่า ถ้าเคยทำหรือยังทำอยู่อยากให้ลองอ่านเรื่องราวเหล่านี้ดูสักนิด แล้วคุณอาจจะเปลี่ยนความคิดใจเย็นลง เมื่อไฟสีเหลืองอำพันแสดงอยู่บนเสาสัญญาณจราจร เราต้องทำตัวอย่างไรดี หลักการทำงานง่ายๆ ของไฟจราจรคือการใช้สีบ่งบอกสัญญาณการขับขี่ ไฟเขียวคือสัญญาณให้รถวิ่ง ในทางกลับกันไฟแดงคือสัญญาณบ่งบอกว่าให้หยุดรถ ทว่าไฟเหลืองกลับมีความพิเศษมากไปกว่านั้น เพราะสำหรับบางคนเห็นไฟแล้วเตรียมตัวหยุด แต่หลายคนเมื่อเห็นไฟเหลืองก็เปลี่ยนตัวเองเป็นวัวกระทิงที่พร้อมพุ่งกระโจนใส่ไฟเหลืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมีโอกาสก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้สูงกว่าปกติ | ขับรถฝ่าไฟเหลืองผิดมั้ยนะ คำตอบคือผิด แต่มีข้อยกเว้นบางกรณีอ้างอิงตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ระบุไว้ว่าผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้ สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้น เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฏต่อไป เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้ขับเลยเส้นรถหยุดไปแล้วขณะเกิดไฟเหลืองให้ขับรถเลยไปได้ เท่ากับว่าถ้าขับรถผ่านเส้นหยุดก่อนที่ไฟเหลืองขึ้นมีโทษปรับ 1,000 บาท นั่นเอง | แต่ในบางครั้งเราก็ไม่ได้ตั้งใจขับรถฝ่าไฟเหลือง หากไม่นับในบางครั้งที่เราอาจไม่ได้ตั้งใจจะทำผิด แต่การออกแบบสัญญาณไฟจราจรดันไม่เอื้อต่อการขับขี่เท่าที่ควร เช่น สัญญาณไฟจราจรบางแยกไม่มีตัวเลขนับถอยหลังระบุให้ชัดเจน หนำซ้ำบางแยกไฟเขียวยังไม่มีฟังก์ชันกะพริบเพื่อส่งสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ก่อนจะเปลี่ยนเป็นไฟเหลือง แต่จะเปลี่ยนแบบฉับพลันในขณะที่รถขับด้วยความเร็ว ทำให้ชะลอรถไม่ทันเพราะการเบรกกะทันหันอาจจะเกิดอุบัติเหตุตามมาได้ จึงต้องตัดสินใจขับรถฝ่าไปในที่สุด ความจริงตามกฎจราจรประเทศไทยมีระยะเวลาไฟเหลืองเฉลี่ยราว 3 วินาทีบวกกับระยะเวลาไฟแดงของจุดอื่นอีก 2 วินาทีเพื่อความปลอดภัย โดยระยะเวลาดังกล่าวถูกคำนวณให้คนขับมีเวลาเพียงพอเพื่อจะหยุดรถทันเมื่อขับขี่รถด้วยความเร็วตามกฎหมาย แต่หากขาดสัญญาณบอกก่อนเปลี่ยนสีก็ยากที่จะคำนวณระยะในการเบรกรถได้ ซึ่งพบว่าแยกไหนมีระยะเวลาไฟเหลืองต่ำกว่า 3 วินาที สามารถแจ้งสำนักจราจรฯ กทม. มาแก้ไขให้ตรงมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยเช่นกัน […]

ทำไมมอเตอร์ไซค์ห้ามขึ้นสะพาน ความเหลื่อมล้ำบนถนน ดีต่อรถยนต์แต่ไม่เอื้อพาหนะสองล้อ

ภาพอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำบนสะพานถูกกั้นด้วยกระจกรถยนต์หนาไม่กี่มิลลิเมตรที่ขับผ่านไปคันแล้วคันเล่า ถ้ามองจากวิวบนพาหนะ 4 ล้อ บ้างอาจคิดว่าเจ้าของมอเตอร์ไซค์เหล่านั้นน่าสงสาร บ้างอาจคิดว่าขับมอเตอร์ไซค์อันตรายจนรีบบอกลูกที่นั่งเบาะข้างๆ ว่าอย่าไปขับเชียวนะ บ้างอาจคิดว่าทำผิดกฎหมาย ‘ห้ามขึ้นสะพาน’ เองนี่ หรืออาจคิดว่าคนขับมอเตอร์ไซค์ผิดตั้งแต่เลือกขับแล้ว เพราะกฎหมายเข้มงวดสารพัดสิ่งถูกบังคับใช้กับคนขับมอเตอร์ไซค์เป็นส่วนใหญ่ แม้อุบัติเหตุบางส่วนเกิดขึ้นเพราะคนขับรถยนต์ และลักษณะการออกแบบของสะพานก็ตาม นั่นน่ะสิ ทำไมคนขับมอเตอร์ไซค์ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ (มีจำนวน 21,452,050 คัน มากกว่ารถยนต์กว่า 10 ล้านคันเลยนะ) ถึงห้ามขึ้นสะพานฝ่ายเดียว ตามมาตรา 139 (1) ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 3 กล่าวว่า ห้ามรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิดเดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ รวม 39 สาย  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาตให้มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานจากกลุ่มประชาชนตัวอย่างในเขต กทม. 1,254 คน พบว่า ร้อยละ 51.12 ไม่เห็นด้วย เพราะสะพานข้ามแยกค่อนข้างลาดชัน ไม่เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ เนื่องจาก ‘รถยนต์’ […]

ฉีดครบโดสแล้วหายเลย? ฉีดแล้วตายใครเยียวยา? ถาม-ตอบ ‘วัคซีนโควิด-19’ อะไรที่ควรรู้

การมีอยู่ของวัคซีนโควิด-19 ทำให้เกิดคำถามมากมายวิ่งเข้ามาในหัวแทบทุกวัน ยิ่งคนไทยซึ่งไม่สามารถเลือกยี่ห้อวัคซีนฉีดเอง แถมวัคซีน 2 ชนิดอย่าง Sinovac และ AstraZeneca ที่ใช้ฉีดในประเทศยังเกิดข้อครหาด้านประสิทธิภาพและอาการแพ้ ยิ่งทำให้ประชาชนอย่างพวกเรากังวลเข้าไปอีก

ยิ่งหยุดพัก งานยิ่งปัง?

วันศุกร์ทีไร ‘มนุษย์แรงงาน’ ดี๊ด๊าทุกที เพราะเป็นวันสุดท้ายของการทำงานในสัปดาห์! เพื่อชาร์จพลังกลับไปลุยงานต่อวันจันทร์ ว่าแต่การหยุดพัก 2 วันหลังจากเคร่งเครียดกับงานมายาวๆ 5 วันนั้นช่วยให้สมองและร่างกายเราพร้อมกลับไปทำงานจริงหรือเปล่า เพราะยังว่ากันว่าหลังจากได้พักยาวๆ แล้ว เมื่อกลับไปทำงานอีกครั้ง ประสิทธิภาพของคนทำงานจะดีขึ้น จนผลงานที่ออกมาเต็มไปด้วยคุณภาพ เรื่องนี้จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ชวนค้นคำตอบฉลองวันแรงงานกัน  ทำ 5 พัก 2 มาจากไหน ย้อนกลับไปศตวรรษที่ 19 สมัยที่ยังไม่มีกฎหมายแรงงาน ทำให้นายจ้างกำหนดเวลาเข้า-ออกงาน รวมถึงชั่วโมงทำงานอย่างไรก็ได้ บางที่ดีหน่อยให้หยุดพัก 1 วัน ไม่เสาร์หรืออาทิตย์ขึ้นอยู่กับวันประกอบพิธีของแต่ละศาสนา แต่บางที่ก็แย่เกินใครเพราะไม่มีวันหยุด และให้พนักงานโหมทำงานมากถึง 14 ชั่วโมง/วัน เนื่องจากงานหนักจนคนทำงานทนไม่ไหว จึงเกิดการนัดหยุดงานเพื่อออกมาประท้วง ท้ายที่สุดพี่น้องแรงงานเลือดนักสู้ก็ได้เวลาทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และหลายประเทศบรรจุเข้าข้อกฎหมาย ประกอบกับปัญหาการขอหยุดงานไม่ตรงกันของแต่ละศาสนาที่ยากต่อการจัดการ และประสิทธิภาพการทำงานตกลง จึงมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดงานประจำสัปดาห์ไปโดยปริยาย  ปี 1926 ‘เฮนรี ฟอร์ด’ เจ้าของฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอเมริกา คือนายทุนแรกที่ทดลองให้คนงานทำงานแค่ […]

หากวันหนึ่งคุณหูหนวกจะพบอะไรบ้าง ในเมืองไร้เสียงที่ชื่อว่ากรุงเทพฯ

‘…………..’ หากวันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าเสียงที่ได้ยินกลายเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมด กลายเป็นเสียงแห่งความเงียบงัน ที่ดังก้องกังวานจนคุณไม่ได้ยินเสียงของผู้อื่นหรือแม้กระทั่งเสียงของตัวเอง คุณหันไปหยิบโทรศัพท์ที่เคยตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอน 7 โมงเช้า แต่เช้าวันนี้กลับไม่ได้ยินเสียงปลุกชวนรำคาญหูอีกต่อไป สัมผัสได้เพียงแรงสั่นไหวจากโทรศัพท์เท่านั้น และภาพที่คุณเห็นจากตาดวงเดิมกลายเป็นเหมือนโลกใบใหม่ ที่มือไปถูกปุ่ม Mute ไว้ตลอดกาล คุณจะทำอย่างไรต่อในเช้าวันนี้  แค่เรื่องสมมุติ ‘หากวันหนึ่งกลายเป็นคนหูหนวก’ ยังทำให้เราเป็นกังวลไม่น้อย เพราะการได้ยินเป็นสัมผัสสำคัญของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสาร Urban Creature จึงอยากจะชวนทุกคนไปรู้จักโลกของคนหูหนวกผ่านการพูดคุยกับ ปรียานุช ศศิธรวัฒนกุล หรือนุ้ย และล่ามภาษามือ เต็มศิริณ ชลธารสีหวัฒน์ หรือไข่มุก ตัวแทนจากสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตภายในเมืองของคนหูหนวก เพื่อให้คนหูดีและคนหูหนวกได้เข้าใจกันและกันมากขึ้น หากวันหนึ่งคุณหูหนวก จะพบกับอะไรบ้าง การสื่อสารที่ใช้ภาษามือและภาษากายแทนภาษาพูด – ปัญหาพื้นฐานในชีวิตประจำวันของคนหูหนวกคือเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากคนหูหนวกใช้ภาษามือสื่อสารเป็นภาษาแรก และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ทำให้การใช้ภาษาไทยของคนหูหนวกอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร อาจไม่เข้าใจความหมายของคำทุกคำ เวลาเขียนรูปประโยคภาษาไทยก็มักจะเขียนตามไวยากรณ์ภาษามือของคนหูหนวก อย่างประโยคที่ว่า ‘ฉันกินข้าว’ แต่คนหูหนวกจะเขียนประโยคดังกล่าวเป็น ‘ข้าวฉันกิน’ สลับตำแหน่งคำ เหมือนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้คนอ่านอาจจะเกิดความฉงนสงสัยและไม่เข้าใจสิ่งที่คนหูหนวกจะสื่อสาร และเมื่อคนหูหนวกเจอรูปประโยคยาวๆ เขาจะอ่านและแปลความหมายทีละคำ ทำให้ไม่เข้าใจรูปประโยคยาวนั้นเท่าไหร่ แต่เขาจะเข้าใจรูปประโยคสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้สื่อสารบ่อย รูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสารกับคนหูหนวกจึงควรเป็นประโยคคำพูดสั้นๆ […]

ใบสั่งจราจร ไม่หนี ไม่จ่าย ได้ปะ

โดนใบสั่งจราจร ไม่หนี ไม่จ่าย ได้ปะ เป็นคำถามไท้ยไทยที่เราพบบ่อย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวินัยการขับขี่ของคนไทยได้เป็นอย่างดี เพราะคำตอบดังกล่าวทุกคนต่างรู้อยู่แก่ใจว่า ‘ควรจะต้องจ่าย’ หากคุณทำผิดกฎหมาย เหตุผลสำคัญที่คนทำผิดกฎจราจรส่วนใหญ่เพิกเฉยต่อการจ่ายค่าปรับ เกิดขึ้นจากระบบใบสั่งจราจรยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลกรมการขนส่งทางบกได้ทั้งหมด จึงทำให้ใบสั่งบางใบไม่ได้อยู่ในระบบ และเมื่อไม่อยู่ในระบบ ใบสั่งก็จะมีอายุความเพียง 1 ปี เหตุผลประการต่อมาคือ มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการติดตามเรียกเก็บค่าปรับใบสั่งทุกใบที่ออกมานับ 10 ล้านใบต่อปี จึงกลายเป็นปัญหาใบสั่งคั่งค้างในระบบ และผู้คนที่ได้รับใบสั่งต่างเพิกเฉยเพราะขาดการติดตามให้ไปชำระค่าปรับตามกฎหมาย ที่ตลกร้ายสำหรับเรื่องนี้ คือสถิติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.ต. เอกราช ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง กล่าวในเวทีสัมมนาเรื่องถนนไว้ว่า ในปี 2562 มีการแจกใบสั่งสูงถึง 11,839,622 ใบ ราว 12 ล้านใบ แต่มีผู้มาชำระค่าปรับเพียงแค่ 2,141,818 ใบ หรือ 18.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เทียบกับสถิติผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่จักรยานยนต์ประมาณ 30 ล้านคน และรถยนต์ประมาณ 10 ล้านคน นับเป็นการกระทำผิดสูงถึงราว 1 ใน 5 ของผู้ขับขี่บนท้องถนน […]

หยุดยืนหรือแบ่งช่องเดิน? ใช้บันไดเลื่อนยังไงให้ว่องไวและปลอดภัยที่สุด

ช่วงเวลาไพร์มไทม์บนสถานีรถไฟฟ้าของมนุษย์เงินเดือน ต้องเข้าแถวเรียงเดี่ยวชิดขวา ปล่อยบันไดเลื่อนฝั่งซ้ายโล่งโจ้งเพื่อเป็นช่องทางเร่งด่วนให้คนรีบทำเวลา แต่การแบ่งฝั่งให้คนยืนและเดินช่วยเคลื่อนย้ายคนได้เยอะจริงหรือเปล่า ความน่าสนใจของข้อสันนิษฐานนี้ คือข้อมูลจากเอกสารวิชาการ ‘Estimation of Capacity of Escalators in London Underground’ โดย Paul Davis และ Goutam Dutta ที่ลงพื้นที่สำรวจสถานีรถไฟใต้ดิน ‘Holborn Station’ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้งานมากถึงปีละ 56 ล้านคน พบว่ามีการแบ่งฝั่งบันไดเลื่อนสำหรับการเดินและยืน คำนวณจากความยาวบันไดเลื่อน 24 เมตร ฝั่งเดินใช้เวลา 46 วินาที และฝั่งยืนใช้เวลา 138 วินาที เพื่อไปถึงที่หมาย  Paul Davis และ Goutam Dutta สองนักวิจัยไหว้วานให้นายสถานีขอความร่วมมือผู้โดยสารให้ยืนทั้งสองฝั่งบันไดเลื่อน ถึงแม้จะมีบางส่วนที่ยังเผลอยืนแบ่งฝั่งด้วยความเคยชินก็ตาม แต่ผลสรุปของพวกเขาพบว่า การยืนทั้งสองฝั่งใช้เวลา 59 วินาทีเพื่อไปถึงที่หมาย นั่นหมายความว่าฝั่งคนเดินจะเสียเวลาเพิ่ม 13 วินาที แต่คนยืนจะลดเวลาได้มากถึง 79 […]

1 4 5 6 7 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.