ฉีดครบโดสแล้วหายเลย? ฉีดแล้วตายใครเยียวยา? ถาม-ตอบ ‘วัคซีนโควิด-19’ อะไรที่ควรรู้

การมีอยู่ของวัคซีนโควิด-19 ทำให้เกิดคำถามมากมายวิ่งเข้ามาในหัวแทบทุกวัน ยิ่งคนไทยซึ่งไม่สามารถเลือกยี่ห้อวัคซีนฉีดเอง แถมวัคซีน 2 ชนิดอย่าง Sinovac และ AstraZeneca ที่ใช้ฉีดในประเทศยังเกิดข้อครหาด้านประสิทธิภาพและอาการแพ้ ยิ่งทำให้ประชาชนอย่างพวกเรากังวลเข้าไปอีก

ยิ่งหยุดพัก งานยิ่งปัง?

วันศุกร์ทีไร ‘มนุษย์แรงงาน’ ดี๊ด๊าทุกที เพราะเป็นวันสุดท้ายของการทำงานในสัปดาห์! เพื่อชาร์จพลังกลับไปลุยงานต่อวันจันทร์ ว่าแต่การหยุดพัก 2 วันหลังจากเคร่งเครียดกับงานมายาวๆ 5 วันนั้นช่วยให้สมองและร่างกายเราพร้อมกลับไปทำงานจริงหรือเปล่า เพราะยังว่ากันว่าหลังจากได้พักยาวๆ แล้ว เมื่อกลับไปทำงานอีกครั้ง ประสิทธิภาพของคนทำงานจะดีขึ้น จนผลงานที่ออกมาเต็มไปด้วยคุณภาพ เรื่องนี้จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ชวนค้นคำตอบฉลองวันแรงงานกัน  ทำ 5 พัก 2 มาจากไหน ย้อนกลับไปศตวรรษที่ 19 สมัยที่ยังไม่มีกฎหมายแรงงาน ทำให้นายจ้างกำหนดเวลาเข้า-ออกงาน รวมถึงชั่วโมงทำงานอย่างไรก็ได้ บางที่ดีหน่อยให้หยุดพัก 1 วัน ไม่เสาร์หรืออาทิตย์ขึ้นอยู่กับวันประกอบพิธีของแต่ละศาสนา แต่บางที่ก็แย่เกินใครเพราะไม่มีวันหยุด และให้พนักงานโหมทำงานมากถึง 14 ชั่วโมง/วัน เนื่องจากงานหนักจนคนทำงานทนไม่ไหว จึงเกิดการนัดหยุดงานเพื่อออกมาประท้วง ท้ายที่สุดพี่น้องแรงงานเลือดนักสู้ก็ได้เวลาทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และหลายประเทศบรรจุเข้าข้อกฎหมาย ประกอบกับปัญหาการขอหยุดงานไม่ตรงกันของแต่ละศาสนาที่ยากต่อการจัดการ และประสิทธิภาพการทำงานตกลง จึงมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดงานประจำสัปดาห์ไปโดยปริยาย  ปี 1926 ‘เฮนรี ฟอร์ด’ เจ้าของฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอเมริกา คือนายทุนแรกที่ทดลองให้คนงานทำงานแค่ […]

หากวันหนึ่งคุณหูหนวกจะพบอะไรบ้าง ในเมืองไร้เสียงที่ชื่อว่ากรุงเทพฯ

‘…………..’ หากวันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าเสียงที่ได้ยินกลายเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมด กลายเป็นเสียงแห่งความเงียบงัน ที่ดังก้องกังวานจนคุณไม่ได้ยินเสียงของผู้อื่นหรือแม้กระทั่งเสียงของตัวเอง คุณหันไปหยิบโทรศัพท์ที่เคยตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอน 7 โมงเช้า แต่เช้าวันนี้กลับไม่ได้ยินเสียงปลุกชวนรำคาญหูอีกต่อไป สัมผัสได้เพียงแรงสั่นไหวจากโทรศัพท์เท่านั้น และภาพที่คุณเห็นจากตาดวงเดิมกลายเป็นเหมือนโลกใบใหม่ ที่มือไปถูกปุ่ม Mute ไว้ตลอดกาล คุณจะทำอย่างไรต่อในเช้าวันนี้  แค่เรื่องสมมุติ ‘หากวันหนึ่งกลายเป็นคนหูหนวก’ ยังทำให้เราเป็นกังวลไม่น้อย เพราะการได้ยินเป็นสัมผัสสำคัญของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสาร Urban Creature จึงอยากจะชวนทุกคนไปรู้จักโลกของคนหูหนวกผ่านการพูดคุยกับ ปรียานุช ศศิธรวัฒนกุล หรือนุ้ย และล่ามภาษามือ เต็มศิริณ ชลธารสีหวัฒน์ หรือไข่มุก ตัวแทนจากสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตภายในเมืองของคนหูหนวก เพื่อให้คนหูดีและคนหูหนวกได้เข้าใจกันและกันมากขึ้น หากวันหนึ่งคุณหูหนวก จะพบกับอะไรบ้าง การสื่อสารที่ใช้ภาษามือและภาษากายแทนภาษาพูด – ปัญหาพื้นฐานในชีวิตประจำวันของคนหูหนวกคือเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากคนหูหนวกใช้ภาษามือสื่อสารเป็นภาษาแรก และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ทำให้การใช้ภาษาไทยของคนหูหนวกอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร อาจไม่เข้าใจความหมายของคำทุกคำ เวลาเขียนรูปประโยคภาษาไทยก็มักจะเขียนตามไวยากรณ์ภาษามือของคนหูหนวก อย่างประโยคที่ว่า ‘ฉันกินข้าว’ แต่คนหูหนวกจะเขียนประโยคดังกล่าวเป็น ‘ข้าวฉันกิน’ สลับตำแหน่งคำ เหมือนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้คนอ่านอาจจะเกิดความฉงนสงสัยและไม่เข้าใจสิ่งที่คนหูหนวกจะสื่อสาร และเมื่อคนหูหนวกเจอรูปประโยคยาวๆ เขาจะอ่านและแปลความหมายทีละคำ ทำให้ไม่เข้าใจรูปประโยคยาวนั้นเท่าไหร่ แต่เขาจะเข้าใจรูปประโยคสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้สื่อสารบ่อย รูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสารกับคนหูหนวกจึงควรเป็นประโยคคำพูดสั้นๆ […]

ใบสั่งจราจร ไม่หนี ไม่จ่าย ได้ปะ

โดนใบสั่งจราจร ไม่หนี ไม่จ่าย ได้ปะ เป็นคำถามไท้ยไทยที่เราพบบ่อย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวินัยการขับขี่ของคนไทยได้เป็นอย่างดี เพราะคำตอบดังกล่าวทุกคนต่างรู้อยู่แก่ใจว่า ‘ควรจะต้องจ่าย’ หากคุณทำผิดกฎหมาย เหตุผลสำคัญที่คนทำผิดกฎจราจรส่วนใหญ่เพิกเฉยต่อการจ่ายค่าปรับ เกิดขึ้นจากระบบใบสั่งจราจรยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลกรมการขนส่งทางบกได้ทั้งหมด จึงทำให้ใบสั่งบางใบไม่ได้อยู่ในระบบ และเมื่อไม่อยู่ในระบบ ใบสั่งก็จะมีอายุความเพียง 1 ปี เหตุผลประการต่อมาคือ มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการติดตามเรียกเก็บค่าปรับใบสั่งทุกใบที่ออกมานับ 10 ล้านใบต่อปี จึงกลายเป็นปัญหาใบสั่งคั่งค้างในระบบ และผู้คนที่ได้รับใบสั่งต่างเพิกเฉยเพราะขาดการติดตามให้ไปชำระค่าปรับตามกฎหมาย ที่ตลกร้ายสำหรับเรื่องนี้ คือสถิติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.ต. เอกราช ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง กล่าวในเวทีสัมมนาเรื่องถนนไว้ว่า ในปี 2562 มีการแจกใบสั่งสูงถึง 11,839,622 ใบ ราว 12 ล้านใบ แต่มีผู้มาชำระค่าปรับเพียงแค่ 2,141,818 ใบ หรือ 18.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เทียบกับสถิติผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่จักรยานยนต์ประมาณ 30 ล้านคน และรถยนต์ประมาณ 10 ล้านคน นับเป็นการกระทำผิดสูงถึงราว 1 ใน 5 ของผู้ขับขี่บนท้องถนน […]

หยุดยืนหรือแบ่งช่องเดิน? ใช้บันไดเลื่อนยังไงให้ว่องไวและปลอดภัยที่สุด

ช่วงเวลาไพร์มไทม์บนสถานีรถไฟฟ้าของมนุษย์เงินเดือน ต้องเข้าแถวเรียงเดี่ยวชิดขวา ปล่อยบันไดเลื่อนฝั่งซ้ายโล่งโจ้งเพื่อเป็นช่องทางเร่งด่วนให้คนรีบทำเวลา แต่การแบ่งฝั่งให้คนยืนและเดินช่วยเคลื่อนย้ายคนได้เยอะจริงหรือเปล่า ความน่าสนใจของข้อสันนิษฐานนี้ คือข้อมูลจากเอกสารวิชาการ ‘Estimation of Capacity of Escalators in London Underground’ โดย Paul Davis และ Goutam Dutta ที่ลงพื้นที่สำรวจสถานีรถไฟใต้ดิน ‘Holborn Station’ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้งานมากถึงปีละ 56 ล้านคน พบว่ามีการแบ่งฝั่งบันไดเลื่อนสำหรับการเดินและยืน คำนวณจากความยาวบันไดเลื่อน 24 เมตร ฝั่งเดินใช้เวลา 46 วินาที และฝั่งยืนใช้เวลา 138 วินาที เพื่อไปถึงที่หมาย  Paul Davis และ Goutam Dutta สองนักวิจัยไหว้วานให้นายสถานีขอความร่วมมือผู้โดยสารให้ยืนทั้งสองฝั่งบันไดเลื่อน ถึงแม้จะมีบางส่วนที่ยังเผลอยืนแบ่งฝั่งด้วยความเคยชินก็ตาม แต่ผลสรุปของพวกเขาพบว่า การยืนทั้งสองฝั่งใช้เวลา 59 วินาทีเพื่อไปถึงที่หมาย นั่นหมายความว่าฝั่งคนเดินจะเสียเวลาเพิ่ม 13 วินาที แต่คนยืนจะลดเวลาได้มากถึง 79 […]

‘ต้นไม้’ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ไหม?

เมื่อฝุ่นอนุภาคจิ๋วยังคงลอยฟุ้งอยู่ทั่วอากาศไม่มีท่าทีจะจางหาย จนทำให้ต้องกลับมานั่งคิดว่า กรุงเทพฯ ยังพอมีทางเลือกไหนบ้าง ที่ทุกคนสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5

‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

คนไทยทำไมไม่ดูหนังไทย เพราะน่าเบื่อหรือถูกปิดกั้นอิสระทางความคิด

ชวนตั้งคำถามหนังไทย ทำไมฉายแล้วไม่ปังเท่าหนังต่างประเทศ คงต้องมองกลับไปยังจุดเริ่มต้นของสภาพแวดล้อมการทำหนังในบ้านเรา ผ่านมุมมองของคนแวดวงหนังกับ ‘คุณมิ้ว – ศริญญา มานะมุติ’ หนึ่งในผู้ก่อตั้งโรงหนัง Bangkok Screening Room ที่จะมาฉายภาพกว้างของวงการหนังในบ้านเราให้เรารู้ว่า สาเหตุที่คนไทยไม่ดูหนังไทยเป็นเพราะอะไร ?

คนไทยกินข้าวทุกวัน แต่ทำไมชาวนาจนลง?

เมื่อข้าวคืออาหารหลักของคนไทย แต่ทำไมพี่น้องชาวนาจนลงทุกวัน ? ชวนฟังเสียงชาวนากับ ‘E-Rice Thai Farmers’ กลุ่มชาวนาจากภาคอีสานที่รวมตัวกันขายข้าวเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เพื่อให้ชาวนาไทยไม่ถูกเอาเปรียบ

คุณรู้จักถนนไทยดีแค่ไหน

ภาพถนนเป็นหลุมเป็นบ่อกลายเป็นภาพชินตาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร จากปัญหาเพียงเล็กน้อยกลายเป็นตอใหญ่ของปัญหาถนนไทยที่หยั่งรากลึกมานานแสนนาน

ถนน กทม. ดีพอให้เป็นทางรอดเมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือยัง

‘ถนน’ มีไว้ทำอะไร ? หน้าที่หลักของถนน คือ การเคลื่อนย้ายสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่งให้ถึงจุดหมายที่ไม่ใช่เเค่รถวิ่งเท่านั้น เเต่ยังทำหน้าที่เป็นเส้นทางอพยพคนไปยังจุดปลอดภัยอีกด้วย

คนไทยไม่อ่านหนังสือ หรือพื้นที่การอ่านมีไม่มากพอ?

บรรยากาศห้องสมุดที่เราคุ้นเคยคงเป็นสถานที่น่าเบื่อเชยๆ ไว้ค้นคว้ารายงานส่งครู ขณะที่ห้องสมุดในต่างประเทศกลับมีรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่ห้องสมุดที่หรูหราโอ่อ่าราวขุมทรัพย์ ไปจนถึงห้องสมุดจิ๋วในตู้โทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งเปิดกว้างให้นักอ่านทุกประเภท ชวนเราย้อนคิดว่า ทำไมบ้านเราถึงมีภาพจำว่า ห้องสมุดมีไว้สำหรับการเรียนการสอน หรือนักวิชาการเท่านั้น ?

1 5 6 7 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.