‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ สะอาดจนไม่ต้องล้าง และมีผักทุกฤดูกาลให้กินทั้งปี

เมื่อไรก็ตามที่เราได้ยินคำว่า ‘อาหารที่ผลิตจากโรงงาน’ ถึงจะไม่รู้สึกแย่สักเท่าไหร่ แต่ก็คงไม่ใช่ตัวเลือกต้นๆ สำหรับคนรักสุขภาพแน่นอน ยิ่งนักเขียนนิยายคนไหนใช้คำบรรยายว่า ‘โรงงานผลิตพืช’ ผู้อ่านอย่างผมคงนึกไปถึงสถานที่แออัดซอมซ่อ บรรยากาศทะมึนๆ มีคนงานใช้สารพันสารเคมี แล้วประกอบผักสักต้นขึ้นมาทีละส่วนบนสายพานการผลิตเป็นแน่แท้ แต่นับเป็นโชคดีของคุณผู้อ่าน Urban Creature ที่เฟซบุ๊กมีระบบโชว์ภาพปกก่อนจะลิงก์เข้ามายังบทความเรื่องนี้ เพราะคุณคงเห็นแล้วแน่ๆ ว่าโรงงานผลิตพืชแห่งนี้เป็นคนละเรื่องกับที่ผมเคยนึกถึง เพราะดูสะอาดสบายตา มีผักสีเขียวที่ดูสดกรอบ หน้าตาไม่เลว แถมพนักงานยังไม่ทำหน้าทำตาอึมครึมใส่กันอีกด้วย ผมจึงอยากชวนมารู้จักฟาร์มผักใจกลางเมืองที่ใช้หลอดไฟแทนแสงอาทิตย์ ผ่านมุมมองของ วา-ยวิษฐา คนธรรพ์สกุล กรรมการผู้จัดการ LED Farm ที่มีผักสดคุณภาพดีให้เรากินตลอดปี คุณภาพเหมือนกันทุกล็อต แถมควบคุมสารอาหารได้อย่างกับออกมาจากโรงงาน (ก็ออกมาจากโรงงานนั่นแหละ) อดีตผลิตหลอดไฟ ปัจจุบันทำโรงงานพืช การต่อสู้ด้วยราคาเป็นสนามที่บรรดาผู้ประกอบการไม่อยากลงไปเล่นมากที่สุด เช่นเดียวกับ ซีวิค มีเดีย จำกัด บริษัทแม่ของ LED Farm ที่เคยเป็นเต้ยในธุรกิจผลิตจอภาพ หลอด LED แต่โดนอุตสาหกรรมใหญ่จากแดนมังกรเข้ามาแข่งขันเรื่องราคาที่ถูกกว่าถึงเท่าตัว จึงเลือกเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจใหม่ เริ่มศึกษาวิธีคิดและนวัตกรรมใหม่โดยยึดพื้นฐานเดิมเป็นตัวตั้ง  ทายาทรุ่นลูกอย่างวาเล่าให้ฟังว่า ชิงชัย คนธรรพ์สกุล คุณพ่อของเธอไปเห็นโมเดลการปลูกพืชด้วยหลอดไฟแอลอีดีจากประเทศญี่ปุ่น ที่เรียกว่า PFAL (Plant […]

LARQ กระบอกน้ำใบแรกของโลกที่ทำความสะอาดตัวเองและน้ำให้ปลอดภัยดื่มได้ใน 60 วินาที

ซาร่า (นามสมมติ) คุณเคยประสบปัญหานี้หรือไม่ อยากลดพลาสติกใจจะขาด แต่เจออากาศร้อนๆ ทีไร ก็ต้องแวะเข้าไปซื้อน้ำมาดื่มให้เย็นชุ่มชื่นหัวใจทุกที  ใช่ค่ะ จอร์จ​ (นามสมมติ) ครั้นจะพกกระบอกน้ำติดตัวแต่บางทีก็มีกลิ่นเหม็นอับเหมือนไม่ได้ล้างมาหลายวัน ดื่มแต่ละทีแทบจะเบือนหน้าหนี มันทำให้ชีวิตของฉันลำบากมากๆ เลยล่ะ  อย่าพึ่งตกใจไปซาร่า เพราะถ้าคุณใช้กระบอกน้ำของ LARQ ที่มีเทคโนโลยี UV-C LED ปัญหาทุกอย่างจะหมดไป ชีวิตของคุณจะดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น เพราะมีแสงยูวีคอยฆ่าเชื้อโรคให้โดยไม่ต้องเสียเวลาล้างกระบอกน้ำ แถมยังทำให้น้ำประปา หรือน้ำจากแหล่งน้ำในธรรมชาติ สะอาดจนดื่มได้ภายใน 60 วินาที  โอ้วว มันเยี่ยมไปเลยค่ะจอร์จ แล้วถ้าฉันอยากได้บ้างต้องทำอย่างไร  ไม่ต้องด่วนตัดสินใจหรอกซาร่า และก็ไม่ต้องรีบต่อสายไปที่ไหน ลองอ่านบทความข้างล่างนี่ก่อน แล้วค่อยตัดสินใจก็ไม่เสียหายยย  (เหตุการณ์ข้างต้นก็เป็นเรื่องสมมติ แต่เหตุการณ์ข้างล่างเป็นเรื่องจริง) กระบอกน้ำทำความสะอาดตัวเองใบแรกของโลก ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ LARQ มีคำอธิบายตัวตนของพวกเขาแบบง่ายๆ ด้วยถ้อยคำไม่กี่ประโยคว่า ‘LARQ ถือกำเนิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ที่เรียบง่าย ด้วยการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาผสมผสานกับการออกแบบที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ เพื่อช่วยให้ผู้คนเข้าถึงน้ำดื่มบริสุทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน’ อย่างที่ทราบกันตั้งแต่ประถมวัยครับว่า ‘น้ำ’ คือต้นกำเนิดของชีวิต และเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตอยู่ทั้งในเชิงอุปโภคและบริโภค เพียงแต่ว่าในหลายสิบปีให้หลังมานี้ บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุน้ำดื่มกลายเป็นขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลที่เริ่มกระทบกระเทือนและเป็นอันตรายต่อชีวิตของพวกเรามากขึ้นเรื่อยๆ Justin Wang ในฐานะ […]

‘ขนมจีบวรวิทย์’ ร้านขนมจีบยุคจอมพล สฤษดิ์ ความอร่อยแห่งชลบุรีที่เยาวราชยังต้องง้อ

“เฮีย เอาขนมจีบยี่สิบบาท” “ใส่ซอสกินเลยเปล่า” “กินเลยเฮีย” เสียงทุ้มติดสำเนียงจีนดังขึ้นหน้าตึกแถวโบราณยาม 7 โมงเช้าในตลาดล่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชลบุรี มองเข้าไปเห็นบรรยากาศความเก่าแก่ของครอบครัวคนจีน ด้านหน้ามีตู้กระจกใสซึ่งมีขนมจีบเรียงราย เคียงด้วยซึ้งหลังใหญ่ปล่อยควันโขมง และเมื่อควันค่อยๆ จางลงตามสายลม ก็ปรากฏภาพ เก๊า-วรวิทย์ วิจิตรกุลสวัสดิ์ อากงวัย 80 เจ้าของบทสนทนาข้างต้นที่มีรอยยิ้มแต้มใบหน้าเสมอ และเป็นเจ้าของ ขนมจีบวรวิทย์ (เก๊า) ชลบุรี ร้านเก่าแก่ในตำนานอายุ 62 ปีที่อยู่คู่เมืองชลฯ มาตั้งแต่สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ “มาแล้วเหรอหนู เดินเข้าไปดูข้างในได้ไม่เป็นไร บ้านเก่าหน่อยนะ” อากงว่าหลังเราเอ่ยทักทาย ก่อนเดินนำเข้าไปในบ้านเพื่อพบกับ อาม่าไพลิน วิจิตรกุลสวัสดิ์ ที่กำลังนั่งห่อขนมจีบอย่างคล่องแคล่วอยู่กับหลานสาวอย่าง หนิง-พจนา แซ่ลิ้ม และใกล้กันนั้นมี ต้น-ปิติ วิจิตรกุลสวัสดิ์ ลูกชายคนโตกำลังเทขนมจีบร้อนๆ ส่งกลิ่นหอมฟุ้งจากซึ้งใส่ถาด บรรยากาศครอบครัวอบอุ่น ช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ สร้างความรู้สึกประทับใจให้เราตั้งแต่แรกเห็น พลางคิดในใจว่า คุ้มค่าแล้วที่ตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อเดินทางมาเยือนร้านขนมจีบวรวิทย์แต่เช้าตรู่ จีบของตระกูล เราหย่อนตัวลงบนม้านั่งไม้โบราณ ตรงข้ามคืออาม่าที่สองมือกำลังหยิบแผ่นแป้ง หรือที่เรียกว่าเปลือกขึ้นมาตัดขอบให้ได้ขนาดพอดี […]

แป้งตรางู ผมรู้คุณก็ใช้! ความเย็นจับใจที่ลดโรคร้อนให้คนไทยว่าเกินร้อยปี

เมืองไทยมี 3 ฤดู-ร้อน ร้อนมาก ร้อนมากที่สุด (ลากเสียงยาวไปจนสุดหนึ่งลมหายใจ) ต้อนรับสู่เดือนที่ร้อนระอุที่สุดแห่งปี ตำแหน่งนี้เป็นของเดือนไหนไปไม่ได้นอกจาก เมษายน ซึ่งอุณหภูมิพุ่งปรี๊ดแตะ 40 องศาเซลเซียส เพราะร้อนจนทนไม่ไหว เหงื่อไหล ไคลย้อย ลามไปจนถึงผดผื่นขึ้น เราจึงงัดสารพัดวิธีคลายร้อนแบบฉบับคนไทยออกมาใช้  แต่… นั่งตากพัดลมก็เจอแต่ลมร้อน เปิดแอร์ฯ ก็แสนจะเปลืองไฟ น้ำเย็น ไอศกรีมก็ช่วยได้ประเดี๋ยวประด๋าว ถ้าอย่างนั้นคงต้องหยุดร้อนด้วยวิธีคลาสสิกที่ยายเคยสอน แค่อาบน้ำแล้วประแป้งเย็นให้สดชื่น  กระป๋องเหล็กสีขาว โลโก้งูมีศรปักสีเขียว แป้งเย็นตรางู แป้งเย็นเจ้าแรกของโลก เรารู้ คุณหลายคนก็ใช้! “ร้อนเหลือ เหงื่อไหล ใช้แป้งหอม Prickly Heat ทาแล้วเย็นสบาย หายผื่นคัน” เมื่อ พ.ศ. 2435 ดร.โทมัส เฮย์วาร์ด เฮย์ก่อตั้งห้างขายยาอังกฤษตรางู ซึ่งเป็นร้านขายยาแห่งแรกในประเทศไทย ที่ด้านบนเปิดคลินิก และด้านล่างมีเภสัชกรคอยขายยา เปิดมาร่วม 36 ปี ก่อนขายต่อให้หมอล้วน ว่องวานิช ผู้ริเริ่มแป้งตรางูในปี 2490 ตามด้วย […]

SHUND แบรนด์เมืองแพร่ที่เปลี่ยนภาพจำไม้สักผีสิงเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่เข้ากับบ้านทุกหลัง

รางวัลของดีประจำจังหวัดและดาวเด่นประจำกูเกิล (เมื่ออยากรู้ว่าไม้สักที่ไหนปังสุด) เพราะเสิร์ชว่า ‘ไม้สักเมือง…’ หรือ ‘ไม้สักจังหวัด…’ ก็ขึ้นมาเป็นชื่อแรกๆ ได้แก่ แทม แท แด แดม แทม แถ่ม แทม แทม แท้มมมมม ‘ไม้สักเมืองแพร่’ นั่นเอง! (ปรบมือ) “มีผีไหมอะ” “หมดยุคไปแล้วเปล่า” เป็นปกติค่ะท่านผู้อ่าน มีคนรักก็ต้องมีคนชัง ถ้าย้อนไปหลายทศวรรษ ไม้สักแทบเป็นไอเท็มสร้างรายได้แก่ประเทศไทยมากที่สุด ยิ่งเป็น ‘แพร่’ จังหวัดศูนย์รวมช่างฝีมือไม้สักยิ่งไม่ต้องพูดถึง ได้ยินชื่อไม้สักต้องนึกถึงแพร่ไปโดยปริยาย แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแต่ไม้สักไม่เปลี่ยนตาม ยังคงลวดลายแกะสลักดอกไม้ ลายไทย ทาสีเข้มปรี๊ด และฝากความดึกดำบรรพ์ไว้ตามหนังผี หรือละครพีเรียด จนทำให้ไม้สักเป็นทางเลือกสุดท้ายของคนรุ่นใหม่ที่อยากซื้อเฟอร์นิเจอร์มาแต่งบ้าน ฉะนั้น! ไม่เปลี่ยนภาพจำคร่ำครึตั้งแต่วันนี้ก็ไม่รู้จะวันไหน ‘เจตน์ สุขสกล’ ทายาทรุ่นสี่ลูกหลานช่างไม้สักเมืองแพร่ประจำโรงงานไม้อายุ 50 ปี จึง Rebrand, Remindset และ Redesign ไม้สักเดิมๆ ให้เป็น ‘SHUND’ (ชุนด์) แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่แต่ละชิ้นมีชิ้นเดียวบนโลกเพราะลายไม้ไม่เหมือนกันสักชิ้น ดีไซน์ร่วมสมัยเห็นแล้วไม่กลัวผีโผล่ […]

Starboard แบรนด์กีฬาทางน้ำของแชมป์โลก Windsurf ที่ผลิตบอร์ดจากขยะทะเล ขยะครัวเรือน

ท่ามกลางฤดูกาลที่เงียบสงบสองฟากฝั่งของทะเลไทยทั้งอ่าวไทยและอันดามันกำลังเฝ้ารอวันที่คลื่นลมจะหวนกลับมา เพื่อต้อนรับนักเซิร์ฟจากทั่วทุกสารทิศให้กลับมาวาดลวดลายบนปลายคลื่นอีกครั้ง  ในฐานะกีฬาที่ต้องเอาร่างกายออกไปปะทะสายน้ำ จึงทำให้ความนิยมของกีฬาประเภทนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมกับแนวคิดเรื่องการปกปักรักษาธรรมชาติ  เมื่อสองปัจจัยผสานกันไปราวกับเกลียวคลื่นเราเลือกที่จะเดินทางไปพูดคุยกับ สเวน รัสมุสเซ่น (Svein Rasmussen) อดีตนักกีฬาวินด์เซิร์ฟแชมป์โลก ผู้ก่อตั้ง Starboard ผู้ผลิตเซิร์ฟบอร์ดและอุปกรณ์กีฬาทางน้ำที่ไม่คิดจะทำ CSR แต่มีภารกิจหลักเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เคยเก็บขยะบนชายหาดตั้งแต่บางแสนถึงสัตหีบ ปลูกต้นโกงกางเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นับ 650,000 ต้น แถมยังคิดภาษีให้ตัวเองเมื่อจำเป็นต้องใช้พลาสติก จนไม่ได้หยุดความนิยมอยู่ที่นักโต้คลื่น แต่กลายเป็นที่รักของทุกคนที่มีใจให้สิ่งแวดล้อม  แบรนด์ที่กำเนิดท่ามกลางดวงดาว  ย้อนกลับไปในปี 1994 ริมชายหาดแห่งหนึ่งของฮาวายในวันที่ฟ้าเปิดและมองเห็นดวงดาวได้ชัดเจน นักกีฬาวินด์เซิร์ฟที่ประสบความสำเร็จระดับโลกในวัย 30 ปี กำลังมองหาคลื่นลูกใหม่ให้กับชีวิตหลังเกษียณ  แม้จะมีไอเดียอยู่เต็มหัว แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับชายที่เอาจริงเอาจังเรื่องกีฬาตั้งแต่เด็ก และไม่ได้สนใจเรื่องโรงเรียนแม้แต่น้อยที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจสักอย่างหนึ่ง  “ตั้งแต่เด็กกีฬาเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เลือดลมของผมสูบฉีด ผมไม่ได้รู้อะไรมากนักเพราะไม่เคยทุ่มเทให้การเรียน เพราะฉะนั้น คงไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้แน่ๆ สิ่งที่แน่นอนคือเวลานี้เหมาะที่สุดในการจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ และผมรู้ดีมากเกี่ยวกับวินด์เซิร์ฟ ตอนนั้นไอเดียเกี่ยวกับธุรกิจอัดแน่นอยู่เต็มหัว สิ่งเดียวที่ผมยังไม่แน่ใจคือจะเรียกมันว่าอะไรดี “คืนนั้นผมนั่งอยู่ที่ฮาวาย พยายามค้นหาชื่อที่เหมาะ ในขณะที่คำตอบยังไม่ออกมาให้เห็นก็มองดูดวงดาวไปเรื่อยเปื่อย พร้อมคิดไปด้วยว่าดาวแต่ละดวงต้องการจะบอกอะไรเรา  “ผมชอบดาราศาสตร์ จึงพอรู้ว่าดาวแต่ละดวงมีความหมายในตัวเอง ตอนนั้นเองผมคิดว่าชื่อ Star (ดวงดาว) ก็เป็นอะไรที่โอเคแล้ว แต่ในเมื่อดวงดาวมันเรียงกันเป็นแนว (Border) และเรากำลังจะผลิตบอร์ด (Board) ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่าแบรนด์นี้ต้องชื่อ […]

Cafemom By RIN ธุรกิจไท้ยไทยที่ลบภาพจำ ‘หมอตำแย’ ด้วยวิธีทำ ‘อยู่ไฟ Delivery’

‘อยู่ไฟ’ คือภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่เรามักเห็นจากหมอตำแยในละครย้อนยุค การอยู่ไฟอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราพูดในบริบทสังคมไทยในสมัยหลายสิบปีก่อน แต่เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วการอยู่ไฟคืออะไร ทำไมคุณแม่หลังคลอดถึงต้องอยู่ไฟ ทั้งๆ ที่แพทย์แผนปัจจุบันก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องอยู่ไฟกันแล้ว แต่หากเราบอกคุณว่า ในปี 2021 การอยู่ไฟได้พัฒนารูปแบบมาจนกระทั่งเดลิเวอรี่ ให้คุณแม่หลังคลอดใช้บริการได้ง่ายและสะดวกโดยไม่ต้องออกจากบ้าน อีกทั้งกระแสตอบรับของธุรกิจดังกล่าวได้รับความนิยมจากคุณแม่สมัยใหม่มาก ชนิดที่ว่าต้องจองคิวล่วงหน้าถึง 2 เดือนก่อนคลอดลูกน้อยด้วยซ้ำ คุณอาจไม่เชื่อ สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะพาทุกคนไปรู้จัก Cafemom By RIN ธุรกิจไท้ยไทยที่เข้ามาเปลี่ยนภาพจำหมอตำแยในละคร ให้กลายมาเป็นธุรกิจอยู่ไฟเดลิเวอรี่ ที่พร้อมเคาะประตูให้บริการคุณแม่ถึงหน้าบ้าน อยู่ไฟ ‘วิชาดูแลแม่หลังคลอด’ คำถามที่เราสงสัยมาโดยตลอดก่อนจะเริ่มพูดคุยกับ รินทรัตน์ พลอยศรี หรือ เต้ย เจ้าของธุรกิจ Cafemom By RIN อยู่ไฟเดลิเวอรี่ คือคำถามที่ว่า จริงๆ แล้วมันคืออะไร ทำไมหลังคลอดคุณแม่สมัยก่อนถึงต้องอยู่ไฟ “การอยู่ไฟเป็นทางเลือกในการดูแลร่างกายของคุณแม่หลังคลอด ที่สอดแทรกไปด้วยกุศโลบายของคนไทยสมัยก่อน เพื่อช่วยบำบัดร่างกายและจิตใจที่เหนื่อยล้าจากการให้กำเนิดลูก การอยู่ไฟจะช่วยดูแลสุขภาพภายในร่างกายให้กลับมาสมดุลอีกครั้ง และคุณแม่ก็จะได้พักผ่อนไปในเวลาเดียวกัน” หลังจากทราบถึงเหตุผลของการอยู่ไฟแล้ว เราสงสัยต่อว่าแล้วการอยู่ไฟมีข้อดีอะไรบ้าง “ตามตำราของแพทย์แผนไทย การอยู่ไฟเป็นการปรับสมดุลภายในร่างกายของผู้หญิง ซึ่งคุณแม่หลังคลอดเสียสมดุลในร่างกายไปเยอะ ทั้งเสียเลือด สารอาหาร […]

ภูเก็ต พัชทรีทัวร์ กับเรือท่องเที่ยวไฟฟ้าลำแรกในไทย ภารกิจไม่ใช่กำไรแต่เป็นปกป้องทะเล

หาดป่าตองที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน ย่านเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และของอร่อย ฝูงปลาที่แหวกว่ายอยู่ในปะการังที่สิมิลัน พระอาทิตย์ตกดินที่แหลมพรหมเทพ หรือเขาตะปูที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ อะไรที่ทำให้นักท่องเที่ยวติดอกติดใจภูเก็ตจนขึ้นชื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับโลกที่มีบทความแนะนำเต็มไปหมด หันกลับมามองที่ปัจจุบันแม้จะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เป็นตอนกลางของช่วง High Season คลื่นลมมรสุมไม่มีทีท่าว่าจะกระหน่ำเข้ามา แต่ภูเก็ตกลับไม่มีนักท่องเที่ยวหนาตาอย่างที่เคย ในช่วงที่ธุรกิจกำลังซบเซาหัวเรือใหญ่ของภูเก็ต พัชทรีทัวร์ บริษัทนำเที่ยวที่อยู่คู่ภูเก็ตมากว่ายี่สิบปีอย่างโกดำ-ไชยา ระพือพล กลับเลือกเปลี่ยนหมากบนหน้ากระดาน ด้วยการเปิดตัวเรือนำเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ การปฏิวัติวงการในครั้งนี้ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะขอเดินทางข้ามสะพานสารสิน เพื่อเรียนรู้มิติใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ไม่ได้หวังกำไรแต่เอาธรรมชาติเป็นตัวตั้ง  ภูเก็ตในความทรงจำ ย้อนกลับไปราวๆ 20 ปีที่แล้ว อาชีพแรกของโกดำหลังข้ามทะเลมาที่ภูเก็ตคือการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่โรงแรมฮิลตัน ภูเก็ต อาร์คาเดีย รีสอร์ต แอนด์ สปา โรงแรมเก่าแก่ที่มีวิวทะเลเป็นหาดกะรน อะคาเดมีที่ฝึกปรือวิชาให้ลูกชาวสวนที่มีปริญญาประดับตัวอย่างโกดำเรียนรู้สารพันวิชาในธุรกิจท่องเที่ยวก่อนจะลงจากเขาเหลียงซาน และเริ่มก้าวแรกในฐานะเจ้าของกิจการ “แต่ก่อนเป็นลูกชาวสวน มาจากกระบี่แบบไม่มีอะไรเลย มีแต่ความรู้ พอมาที่นี่ก็ได้โอกาสได้ฝึกทำอะไรหลายอย่าง พัชทรีทัวร์คือที่ทำงานที่ที่สอง ช่วงแรกเมื่อประมาณสักยี่สิบปีที่แล้วก็เช่าเรือแคนูมาทำทัวร์ล่องเรือ ผมชอบทำอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือการอนุรักษ์ หัวใจเราเป็นอย่างนี้”  เพราะมีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร แถมยังงดงามไปทั่วทุกตารางนิ้ว ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวของภูเก็ตเป็นที่หมายปองของใครต่อหลายคน ยิ่งจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากเท่าไหร่ ธุรกิจก็ยิ่งเฟื่องฟูมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีผลทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเมืองติดอันดับประเทศและสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติ แต่โกดำกลับมองว่า ยิ่งมีปริมาณผู้เล่นในเกมมากเท่าไหร่ และทุกคนสนใจแต่ตัวเลข สิ่งนี้ย่อมไม่ใช่การแข่งขันที่ยั่งยืน รวมถึงธรรมชาติที่เคยงดงามได้เสียหายลงไปทุกวัน “เราไม่ได้แข่งกันให้มันดีขึ้น เราแข่งกันให้มันเลวลง […]

FYI

แนวคิดของสยามพิวรรธน์ที่ใช้ Universal Design ออกแบบศูนย์การค้าให้เท่าเทียมกับทุกคน

Universal Design แนวคิดสร้างความเท่าเทียม เบื้องหลังการสร้างศูนย์การค้าให้เข้าถึงง่าย มาจากแนวคิด “อารยสถาปัตย์” (Universal Design)การออกแบบสิ่งต่างๆ ทั้งโครงสร้างอาคาร สภาพแวดล้อม หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ เพศ คนพิการหรือคนที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายก็สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเท่าเทียม  การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ราวจับบนทางเดินสำหรับผู้สูงอายุ ทางลาดชันที่มีความชันในระดับมาตรฐานที่คนนั่งวีลแชร์สามารถเข็นขึ้นลงเองได้ การออกแบบป้ายหรือปุ่มต่างๆ บนผนังให้อยู่ในระยะคนนั่งรถเข็นใช้งานคล่องตัว หรือจะเป็นการใช้วัสดุพื้นกันลื่นในสนามเด็กเล่น เพื่อให้เจ้าตัวเล็กไม่ลื่นเจ็บตัวบ่อย ไอคอนสยาม ดีไซน์ครอบคลุมทุกการใช้งาน ด้วยความตั้งใจของสยามพิวรรธน์ในการหยิบแนวคิด Universal Design มาใช้กับอาคารต่างๆ เริ่มต้นด้วยไอคอนสยาม ศูนย์การค้าย่านฝั่งธนบุรีที่สามารถมาเที่ยวได้ทั้งรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีเจริญนครหรือจะนั่งเรือมาลงที่ท่าเรือไอคอนสยามเข้าอาคารได้ทันที การดีไซน์ใส่รายละเอียดโดยคำนึงถึงการใช้งานตั้งแต่ทางเดินต่างๆ เชื่อมจากระบบขนส่งสาธารณะ พื้นที่ภายในอาคาร ไปจนถึงอาคารจอดรถ เพราะคิดถึงไลฟ์สไตล์ของคนมาเที่ยวไม่ได้แวะเล่นแค่โซนใดโซนหนึ่ง แต่คิดเผื่อพวกเขาว่ามาจากไหนหรือต้องไปเจอกับอะไรบ้างให้ครอบคลุมการใช้งานทั้งหมด เช่น หากคนพิการ ผู้สูงอายุ หรือ คนตั้งครรภ์ มาจากท่าเรือ ต้องออกแบบสะพานข้ามฝั่งให้มีความชันและความสูงของราวจับพอดีเพื่อให้รถเข็นรถไม่หกล้ม หรือผู้สูงอายุนั่งวีลแชร์อยากขึ้นไปดูสินค้าต้องขึ้นบันได ก็มีทางลาดชันที่รถเข็นขึ้นได้สบายๆ พื้นที่จอดรถแบ่งเป็นสัดส่วนทั้งรถและทางเดิน หากนำรถยนต์มาเที่ยวเอง แล้วกลัวจะหาช่องจอดรถที่ไม่สะดวกสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือมีเด็กเล็กต้องดูแลเป็นพิเศษ ไอคอนสยามจึงสร้างโซนจอดรถ Priority Parking แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนแยกไว้ชัดเจนใกล้กับทางเข้าอาคาร ลงจากรถเพียงไม่กี่ก้าวก็เข้าอาคารได้เลย นอกจากนั้นยังมีดีเทลเล็กๆ อย่างขนาดทางเท้าที่มีความกว้างเพียงพอต่อการเคลื่อนย้ายรถเข็นได้ทุกประเภทอีกด้วย […]

‘ซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน’ วิธีแก้ปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรฉบับ ธ.ก.ส.

“น่าสนใจนะเนี่ย” ระหว่างคุยกับ คุณประทีป ภูลา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาสี่แยกอินโดจีน เราพูดประโยคข้างต้นไปหลายครั้ง เพราะว้าวกับสิ่งที่ ธ.ก.ส. ทำเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของลูกค้าเกษตรกร ว้าวอย่างไร (รู้หน่า ว่าคำถามนี้ผุดขึ้นมา) 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้วยการพักไปซูเปอร์มาร์เก็ตนอกบ้าน แล้วเปลี่ยนมาสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน ที่เปิดประตูเดินออกมาแค่สี่ห้าก้าวก็เจอผักสวนครัวตามรั้วมาเด็ด ผัด ต้ม กินได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อผักสักบาท 2. ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างรายได้ชำระหนี้ระยะยาว ด้วยการเปลี่ยนจากทำไร่เชิงเดี่ยวมาเป็นไร่สวนผสม และเพิ่มมูลค่าการขายโดยให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เกษตรกรไม่รู้มาก่อน หลายคนรู้คร่าวๆ ว่า ธ.ก.ส. มีภาพลักษณ์แข็งแกร่งว่าเป็นธนาคารที่ให้ความช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร แต่ยังไม่รู้วิธีคิดแก้ปัญหาว่าลงมือทำอย่างไร วันนี้จึงชวนรู้จักแนวทางสร้างความเข้มแข็งและฟื้นฟูเกษตรกรของ ธ.ก.ส. ที่ไม่ควรพลาดแม้แต่บรรทัดเดียว 01 ปัญหากวนใจเกษตรกร ‘หนี้’ คือสิ่งที่คุณประทีปบอกว่ากวนใจเกษตรมากที่สุด แต่บางครั้งหนี้ที่เกิดขึ้นกลับเกิดจากเรื่องควบคุมไม่ได้หลายอย่าง ภาพรวมหนี้สินจากอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ที่คุณประทีปเคยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาบางกระทุ่ม ชี้จำนวนตัวเลขจากสมาชิกในอำเภอกว่า 5,000 คน มีหนี้สินรวม 2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหามาจากภัยธรรมชาติ บางปีน้ำท่วม บางปีน้ำแล้ง […]

ตั้งเซ่งจั้ว ร้านขนมเปี๊ยะ 88 ปีแห่งฉะเชิงเทรากับรสและสูตรที่ในประเทศจีนยังหากินยาก

ชวนรู้จัก ‘ตั้งเซ่งจั้ว’ แบรนด์ของครอบครัวคนทำขนมเปี๊ยะแห่งฉะเชิงเทรา ที่เสิร์ฟความประณีตมาร่วม 90 ปี

พก : ร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ของคู่รักที่พกหนังสือและหนังดีไปหาคนดูได้ทุกที่

ภาพทิวดอย ทุ่งนา และฟ้าใส ค่อยๆ เคลื่อนผ่านไปบนกระจกของรถยนต์ที่กำลังแล่นไปตามทางลดเลี้ยวเลียบสันดอยของจังหวัดเชียงราย ที่นั่งด้านหลังถูกปรับให้กลายเป็นพื้นที่บรรทุกหนังสือจำนวนหลายเล่ม และเครื่องฉายภาพยนตร์คุณภาพเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้คือการพาหนังสือและหนังคุณภาพดีไปนำเสนอให้กับผู้คนในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย “พวกเราเชื่อว่าหนังที่ดี หนังสือที่ดี ทำงานกับหัวใจของผู้คนให้ไหวไปกับเนื้อหาที่ได้รับ และสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นได้ แต่จะทำยังไงให้หนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปถึงที่ผู้คนได้มากที่สุด วิธีการที่ดีที่สุดที่พวกเราคิดก็คือ การพกหนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปหาผู้คน เราสองคนจึงเริ่มต้นทำ ‘พก’ ขึ้นมา” พก คือชื่อร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ที่จะพกหนังสือและหนังคุณภาพพาไปสู่ผู้คนในวงกว้างทั่วทุกพื้นที่เท่าที่จะเป็นไปได้ของ ‘เป๊ก-ธวัชชัย ดวงนภา’ และ ‘ดา-สุดารัตน์ สาโรจน์จิตติ‘ คู่รักนักทำภาพยนตร์สารคดี ที่ตัดสินใจย้ายชีวิตจากกรุงเทพฯ มาอยู่ที่จังหวัดเชียงราย และเริ่มต้นทำโปรเจกต์ ‘พก’ ขึ้นมา รถยนต์เดินทางมาถึงที่หมาย ณ สตรอเบอรี่สวนหลังบ้าน (Backyard Strawberry) ร้านคาเฟ่เล็กๆ ที่ตั้งอยู่หน้าไร่สตรอว์เบอร์รีและผักออร์แกนิกที่ปลูกเพื่อนำมาเสิร์ฟเป็นเมนูภายในร้าน เป๊กและดาค่อยๆ ช่วยกันนำของที่พวกเขาพกมาลงจากรถ นำผ้าดำมาขึงรอบบริเวณใต้ถุนร้าน นำเก้าอี้มาวาง เอาจอมากาง และตั้งเครื่องฉาย ดัดแปลงพื้นที่ใต้ถุนให้กลายเป็นโรงหนังใต้ถุนเธียร์เตอร์ที่พร้อมฉายภาพยนตร์คุณภาพดีให้ผู้คนที่นี่ หลังจากนั้นพวกเขาก็ขนเอากระเป๋าลงจากรถและนำมาวางเปิดบนโต๊ะ ในกระเป๋าเต็มไปด้วยหนังสือจำนวนมากที่พวกเขาคัดสรรกันมาอย่างดี เท่านี้ ‘พก’ ก็พร้อมแล้วที่จะให้ผู้คนได้เข้ามาชมว่าพวกเขาได้พกพาเรื่องราวอะไรมาบ้าง ขอเชิญก้าวเท้าตามเรามา และไปดูกันดีกว่าว่าเป๊กและดาได้พกเรื่องราวอะไรมากับพวกเขาบ้าง พบปัญหาจึงต้อง ‘พก’ เป๊กและดาประกอบอาชีพนักทำภาพยนตร์สารคดี นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นประเด็นในสังคมมานานนับสิบปี การงานเช่นนี้ได้พาพวกเขาได้เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พบเจอกับผู้คนและเรื่องราวน่าสนใจและน่าอดสูจำนวนมาก “การทำงานสารคดีทำให้เราได้เดินทางไปในหลายที่ เจอผู้คนมากมาย นั่นทำให้เราเห็นทั้งปัญหาในสังคม […]

1 8 9 10 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.