ฮาวทูชาร์จแบตฯ กายใจในเมืองใหญ่ที่ดูดพลังเราทุกวัน คุยกับนักละครบำบัด ‘กิ๊ฟท์ ปรีห์กมล’

ในฐานะคนที่จากบ้านเกิดมาอยู่เมืองใหญ่หลายปี สิ่งที่ทำใจให้ชินไม่ได้สักทีคือความรู้สึกไม่มีพลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉันไม่อาจเรียกตัวเองว่าเพื่อนสนิทกับขนส่งสาธารณะ ไม่ชอบความแออัด กะเวลาไม่ได้ ถ้าจะเดินทางครั้งหนึ่งก็ต้องเผื่อเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ไหนจะฝุ่นควันในอากาศและสถานการณ์บ้านเมืองที่ทำให้หัวร้อนได้ทุกวัน  ‘เมืองนี้สูบพลัง’ คือความคิดตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกต่อมาที่หลายคนน่าจะมีเหมือนกันคือ ‘ฉันอยากออกไปจากที่นี่ แต่ยังไปไหนไม่ได้’ ด้วยเหตุผลนับร้อยพันที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันคอยฉุดรั้งไว้ นั่นคือเหตุผลที่ฉันมาพบกับ ‘กิ๊ฟท์-ปรีห์กมล จันทรนิจกร’ หญิงสาวผู้ที่หลายคนอาจรู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง Ma.D Club for Better Society กิจการเพื่อสังคมที่ซัปพอร์ตกลุ่มคนผู้อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมเมื่อหลายปีก่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพจิตจากตัวเธอเองและคนรอบข้างในช่วงเวลานั้น ทำให้ปรีห์กมลสนใจด้านจิตใจและการบำบัดมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะละครบำบัดที่ทำงานกับเธอได้ดีเป็นพิเศษ หลังจาก Ma.D ปิดตัวลงในปลายปี 2018 เธอจึงเดินทางไปเรียนต่อ MA Drama and Movement Therapy ที่ The Royal Central School of Speech and Drama ประเทศอังกฤษ และกลับมาทำงานที่นี่ในฐานะนักละครบำบัด และในฐานะคนทำงานเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ปรีห์กมลคือคนที่เราอยากขอคำปรึกษาเรื่องการกลับมาดูแลกายใจในเมืองสูบพลังที่เรา (จำเป็น) ต้องใช้ชีวิตอยู่ เล่าให้ฟังหน่อยสิว่าหลักของละครบำบัดที่คุณทำอยู่คืออะไร และมันต่างจากการบำบัดแบบอื่นอย่างไร สำหรับเรา […]

เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด

ลองมองไปรอบตัว เราจะพบกับผู้คนหลากหลายช่วงวัยอยู่ร่วมกันในสังคม หนึ่งในช่วงวัยที่พบเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ‘ผู้สูงอายุ’ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดสังคมสูงวัยจากสัดส่วนของประชากรอายุ 60 – 65 ปีขึ้นไป แบ่งตามลำดับดังนี้  1) ‘สังคมสูงวัย’ (Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ 2) ‘สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์’ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ3) ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ (Super Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ ประชากรโลกกำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ World Population Prospects 2022 คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรบนโลกนี้มีมากถึง 8 พันล้านคน โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีอยู่ราว 10 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 […]

7 กลุ่มโรคร้ายที่คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด

เดือนแห่งการเริ่มต้นใหม่เวียนกลับมาอีกครั้ง เชื่อว่าหลายคนคงตั้ง New Year’s Resolution หรือเป้าหมายชีวิตที่อยากทำให้สำเร็จในปีกระต่ายเอาไว้บ้างแล้ว ทั้งเรื่องการงาน การเงิน การใช้ชีวิต รวมถึงการดูแลสุขภาพ  ‘สุขภาพ’ ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ที่หลายคนอยากปฏิวัติให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะหากละเลยหรือปล่อยให้สุขภาพย่ำแย่ วันใดวันหนึ่งอาจล้มป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล แย่ที่สุดคือการเป็นโรคร้ายที่รุนแรงถึงชีวิต ใครๆ ก็อยากสุขภาพดีปลอดโรคกันทั้งนั้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คอลัมน์ City By Numbers จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า โรคใดบ้างที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดในปีที่ผ่านมา และต้นตอสาเหตุของโรคต่างๆ มาจากอะไร เผื่อใครลองปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้รอบคอบมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายเหล่านี้ ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ปี 2564 เปิดเผยว่า หากจำแนกตามอัตราเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน สามารถแบ่งสาเหตุการเสียชีวิตได้เป็น 7 กลุ่มโรคร้ายดังต่อไปนี้ 1) มะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด 128.50 คน2) หลอดเลือดในสมอง 55.50 คน3) ปอดบวม 49.70 คน4) หัวใจขาดเลือด 33.50 […]

ทัวร์ย่าน ‘สุขุมวิท-บางนา’ แบบอินไซด์ทั้งสายกินสายเก๋าฉบับชาวสุนาเนี่ยน

ไม่กี่ปีมานี้ ‘สุขุมวิท-บางนา’ ได้ชื่อว่าเป็นย่านที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ สุขุมวิทเป็นย่านธุรกิจ CBD (Central Business District) ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิตทันสมัย และแหล่งรวมคาเฟ่ทุกสไตล์ตามซอกซอยต่างๆ หรือเมื่อขยับออกไปอีกนิดแถบชานเมืองอย่างบางนา ก็เต็มไปด้วยหมู่บ้านจัดสรรและชุมชนเก่า รวมทั้งศูนย์รวมงานอีเวนต์ที่ไบเทค บางนา ที่คึกคักอยู่ตลอดปี เพราะสุขุมวิท-บางนา มีขนาดที่ใหญ่มาก ไหนจะยังมีย่านรองอย่างเช่น ลาซาล พระโขนง อุดมสุข ปุณณวิถี ฯลฯ ที่ล้วนอัดแน่นไปด้วยสถานที่และเรื่องราวต่างๆ อีกเพียบ  สบโอกาสเปิดศักราชใหม่ คอลัมน์ Neighboroot ได้เจ้าบ้านย่านนี้อย่าง SUNAneighbormove แพลตฟอร์มออนไลน์น้องใหม่ที่ตั้งใจสร้างคอมมูนิตี้ย่าน ‘สุนา’ (สุขุมวิท+บางนา) ให้เป็นที่รู้จักและขับเคลื่อนชุมชนให้สนุกกว่าเดิม มาเป็นผู้พาออกสำรวจและทำความรู้จักความพิเศษของย่านนี้มากขึ้น ผ่านสถานที่ต่างๆ แบบพอเรียกน้ำย่อย เพื่อช่วยปรับมุมมองที่มีต่อย่านนี้ใหม่ เพราะโซนสุนายังมีอะไรมากมายที่ชวนให้ค้นหา ทั้งเรื่องราววัฒนธรรมย่อย ร้านรวงอาหารรสเด็ด และธุรกิจของคนในย่านที่กำลังโตวันโตคืน เป็นมูฟเมนต์ใหม่ๆ ที่กำลังเติมชีวิตชีวาให้ย่านนี้มีสีสันยิ่งขึ้นกว่าที่เคย เริ่มต้นวันดีๆ ที่ ‘Roots’ ร้านกาแฟเมล็ดไทยที่ใส่ใจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ก่อนจะเริ่มต้นสำรวจย่านสุนา หากได้เครื่องดื่มเย็นๆ ปลุกความสดชื่นสักแก้วคงจะดีไม่น้อย พอดีกับที่ทางเพจ SUNA พาเรามาเริ่มต้นทริปที่ Roots […]

The Hope of Us สวมบทเป็นผู้รอดชีวิตใน The Last of Us และช่วยให้ผู้คนพ้นวิกฤตเชื้อรากลายพันธุ์

“มนุษย์นั้นทำสงครามกับเชื้อไวรัสมาทุกยุคสมัย แม้จะมีผู้คนที่ต้องสูญเสียชีวิตมากมาย แต่มนุษย์ก็ยังเป็นฝ่ายชนะอยู่เสมอ”  แต่ในปี 2003 คือจุดเริ่มต้นความพ่ายแพ้ของมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง เพราะเชื้อราคอร์ไดเซป (Cordyceps) ได้ปนเปื้อนไปกับพืชผลทางการเกษตรที่ถูกส่งออกไปทั่วโลก เมื่อผู้คนบริโภคเข้าไปเชื้อราก็จะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย มนุษย์ที่ติดเชื้อจะเสียการควบคุมและมีพฤติกรรมดุร้าย วิ่งเข้าโจมตีกัดกินคนอื่นๆ เพื่อหวังแพร่เชื้ออย่างไม่เลือกหน้า จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มจากร้อยคนเป็นอีกหลายล้านล้านคนทั่วโลกในเวลาไม่นาน เกิดเป็นโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก บ้านเมืองพังพินาศ มีเหตุการณ์นองเลือด มีเหตุจลาจล มีอุบัติเหตุที่ยากจะควบคุม รวมถึงการแย่งชิงอำนาจ ฯลฯ สงครามระหว่างเชื้อรากับมนุษย์ได้ทำให้ทุกอย่างบนโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันหวนคืน บางอย่างดับสูญ บางคนก็สูญเสียคนรักและครอบครัว ทุกคนต่างดิ้นรนเอาชีวิตรอดท่ามกลางความโกลาหล กว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ก็ผ่านเวลาไป 20 ปี  คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้เราจึงขอสวมบทบาทเป็นผู้รอดชีวิตในปี 2023 ที่อาศัยอยู่ใน Boston Quarantine Zone หรือพื้นที่กักกันผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อจากโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่มวลมนุษยชาติในโลกต้องพบเจอในเกมยอดนิยมที่ถูกนำมาสร้างเป็นซีรีส์อย่าง ‘The Last of Us’ ในเวลาที่ทุกฝ่ายกำลังหาทางออกของวิกฤตการณ์สำคัญครั้งนี้ เราในฐานะผู้รอดชีวิต จึงมองเห็นว่าความเป็นอยู่ที่ดีจะช่วยให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปได้ จึงทำการเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ดังนี้ สร้างระบบคัดกรองที่เป็นมิตรกับทุกคน ‘Boston Quarantine Zone’ หรือ ‘Boston QZ’ […]

‘ญี่ปุ่น’ กับการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมการเดินทาง ‘ระบบรถไฟ’

‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์และความก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน วัฒนธรรมอาหารที่โด่งดังไปทั่วโลก รวมถึงสวัสดิการและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างรอบด้าน จนทำให้แดนปลาดิบติดท็อป 10 ประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลกแทบทุกปี หนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกของญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรมากที่สุดคือ ‘เครือข่ายรถไฟ’ ที่มาพร้อมชื่อเสียงเรื่องความทันสมัย ความสะอาด และการตรงต่อเวลา ขนาดที่ว่าถ้ารถไฟขบวนไหนออกเร็วหรือช้าแค่หลักวินาที ทางบริษัทรถไฟจะรีบออกแถลงการณ์ขอโทษผู้โดยสารทันที จากความสะดวกสบายของระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้ชีวิตของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับการเดินทางด้วยรถไฟ เห็นได้จากสัดส่วนผู้โดยสารที่ใช้งานระบบรถไฟในกรุงโตเกียวที่มีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมหานครนิวยอร์กและกรุงลอนดอน ที่มีสัดส่วนดังกล่าวประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ และ 19 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ชวนไปสำรวจว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในเครือข่ายรถไฟที่ดีที่สุดในโลก โดยพาผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายปลายทางได้เกือบทุกที่ทั่วประเทศ แถมยังครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทุกกลุ่ม เปลี่ยนให้เอกชนดูแลเครือข่ายรถไฟ ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ผู้ดูแลบริหารเครือข่ายรถไฟทั่วเกาะญี่ปุ่นคือ ‘กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น’ หรือ ‘Japan Railways Group (JR Group)’ ที่แต่เดิมรัฐเป็นเจ้าของ แต่เมื่อปี 1987 รัฐบาลได้ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) โอนกิจการให้เอกชนเข้ามาดูแล เพื่อแก้ไขสองปัญหาหลักๆ ได้แก่ การเป็นองค์กรขนาดใหญ่อุ้ยอ้ายจนบริหารงานยาก และการดำเนินงานภายใต้อิทธิพลทางการเมืองจนสร้างความเสียหายให้องค์กร อย่างการสร้างเส้นทางรถไฟที่ไม่ทำกำไรเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง […]

Oho! แอปฯ สั่งของกินเมนูพิเศษที่ทั้งอร่อย ถูกกว่า และได้ช่วยร้านค้าลดขยะอาหาร

ในสายตาของคนที่รักของเซลล์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะไปไหน ซื้ออะไร เรามักตาเป็นประกายเสมอเมื่อเห็นส่วนลด แม้แต่อาหารที่กดสั่งเดลิเวอรีทุกวัน เชื่อว่าหลายคน (ที่เป็นคนแบบเรา) ไม่พลาดที่จะเช็กโค้ดโปรโมชัน บางครั้งถึงกับตั้งเวลาปลุกให้เข้าไปออเดอร์ช่วง Flash Sale ให้ทัน ฟังดูเหมือนจริงจังไปนิด แต่เราก็ทำถึงขนาดนั้นเลย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้อาหารที่ลดราคาแบบสุดๆ แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย เรารู้จักแอปพลิเคชัน Oho! ครั้งแรกราวกลางปีที่ผ่านมา ในฐานะแอปฯ สั่งอาหารที่ละลานตาไปด้วยการลดราคาอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เลขเปอร์เซ็นต์สุดว้าวนั้นจูงใจให้คนรักของเซลล์อย่างเราโหลดมาใช้ ก่อนจะพบว่าแอปฯ นี้มีความพิเศษมากกว่าราคาที่ลดแล้วลดอีกไปมากโข แท้จริงแล้ว Oho! คือแอปฯ ขายอาหารเมนูป้ายเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารใกล้หมดอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่บางเมนูมีความสดใหม่และคุณภาพอยู่ในระยะเวลาจำกัด ถ้าปล่อยไว้นาน คุณภาพนั้นจะดร็อปลงจนร้านค้าต้องจำใจทิ้งไป  Oho! เกิดขึ้นเพราะอยากช่วยแบ่งเบาภาระนั้นจากร้านอาหาร ทุกเมนูบนแอปฯ จึงลดราคาได้แบบจัดหนักจัดเต็มอย่างที่เห็น ฟังดูเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้น ‘วริทธิ์ธร มังกรทองสกุล’, ‘สมิทธ์ ชัยชาญชีพ’ และ ‘Richard Armstrong’ ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนตั้งใจอยากให้ Oho! เป็นแอปฯ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากแบ่งเบาภาระโลกจากปัญหา Food Surplus […]

ส่อง 5 แชนเนลยูทูบสุดฟิน ที่ต่อให้ไม่ใช่ช่วงกินข้าวก็ดูเพลินจนหยุดไม่ได้

หยุดปีใหม่ทั้งที ทำอะไรกันดีนะ หลายคนอาจใช้ช่วงวันหยุดนี้กลับบ้านไปหาครอบครัว อยู่กับคนที่คุณรัก หรือจองทริปไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ แต่สำหรับคนติดบ้านอย่างเรา ขอเพียงแค่มีแอร์เย็นๆ ผ้าห่มอุ่นๆ และช่องยูทูบดีๆ สักแชนเนล ก็ทำให้ช่วงเวลาปีใหม่เต็มไปด้วยความสุขได้แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงมีแชนเนลยูทูบที่มักเปิดเป็นประจำเวลากินข้าว ที่กดเข้าไปดูเมื่อไหร่ ก็เพลินจนหยุดดูไม่ได้ เผลออีกทีก็ไล่ดูจนจะหมดแชนเนลซะแล้ว วันนี้เราเลยขอเอาใจสายติดบ้านด้วยการแนะนำ 5 ช่องยูทูบสุดฟินที่ดูเพลินจนหยุดไม่ได้ ใครเป็นแฟนคลับช่องไหนหรืออยากแนะนำแชนเนลใหม่ๆ ก็คอมเมนต์มาบอกกันได้นะ Haohed Studioทำของจิ๋วให้แจ๋ว ในแบบไทยๆ หลายคนอาจเคยเห็นช่องยูทูบต่างประเทศที่มีคนทำโมเดลขนาดเล็กเพื่อเป็นฉากให้ของเล่นอย่างเช่นรถเหล็กกันมาบ้าง แต่ใครจะคิดว่าการทำของจิ๋วๆ แบบนี้ก็มีคนไทยทำเหมือนกัน  ‘Haohed Studio’ เป็นช่องยูทูบไทยของ ‘ซัน-สุริยุ โซ่เงิน’ และ ‘หนึ่ง-จุฑามาศ กระตุฤกษ์’ ที่สร้างสรรค์ฉากโมเดลขนาดเล็กในแบบ Thai Style ผ่านการประกอบด้วยมืออย่างประณีตและใส่ใจทุกดีเทล รวมถึงถ่ายทอดภาพจำในวัยเด็กออกมาเป็นโมเดลต่างๆ จนเปลี่ยนความชอบนี้เป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ได้จริง รับรองได้ว่าช่อง Haohed Studio จะมีฉากโมเดลที่มีดีเทลสวยๆ ให้ดูเพลิน ไม่แพ้แชนเนลจากต่างประเทศเลยทีเดียว ดูวิดีโอสัมภาษณ์ Haohed Studio จากทาง Urban Creature ได้ที่ www.youtube.com/watch?v=_t6O5_fg6Z8  Jungle […]

ไม่ให้เงินพ่อแม่ เราจะเป็นคนอกตัญญูไหม

ถ้าไม่มีเงินให้พ่อแม่ เราจะกลายเป็นคนอกตัญญูไหม เชื่อว่าประโยคข้างต้นเป็นคำถามที่ติดอยู่ในใจใครหลายคน โดยเฉพาะคนวัยเริ่มต้นทำงานในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงลิ่วสวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือน้อยลง บางคนอาจจะเอาตัวรอดเลี้ยงดูตัวเองได้สบายๆ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องรัดเข็มขัดให้แน่นหรือใช้ชีวิตเข้าเนื้อพอสมควร ปัญหาของคนรุ่นใหม่หลายคนที่เริ่มทำงานได้ไม่นาน ไม่เพียงแค่จัดการเงินเลี้ยงดูตัวเองให้อยู่รอดในแต่ละวัน แต่ยังต้องแบ่งให้ครอบครัวส่วนหนึ่ง ด้วยค่านิยมที่ปลูกฝังกันมายาวนานว่า ‘ให้เงินพ่อแม่ = เด็กกตัญญู’ แม้ว่าถ้าให้เงินไปแล้ว พวกเขาอาจจะใช้ชีวิตลำบากมากกว่าเดิม แต่ถ้าไม่ให้ก็อาจจะโดนสังคมมองว่าเป็น ‘เด็กอกตัญญู’ แนวคิดดังกล่าวเริ่มทำให้เราตั้งคำถามในใจว่า หากเราไม่มีเงินมากพอที่จะให้พ่อแม่ใช้จ่ายอย่างสุขสบาย หรือเราไม่ให้เงินพวกท่านเพราะรู้สึกยังไม่พร้อมทางการเงิน ท้ายที่สุดแล้วเราจะกลายเป็นคนไม่ดีในสายตาคนรอบตัวหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนไปหาคำตอบเหล่านี้พร้อมกัน กตัญญูกตเวทีคืออะไร อ้างอิงจากวารสารมานุษยวิทยาศาสนา (Journal of Religious Anthropology : JORA) อธิบายความหมายของคำว่า ‘กตัญญูกตเวที’ คือ ผู้ที่รู้ระลึกคุณของผู้มีพระคุณและทำคุณประโยชน์ตอบแทน โดยความกตัญญูในสังคมไทยมักมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) การทำความดีเพื่อหวังผลประโยชน์ คือการตอบแทนคนที่ช่วยเหลือเรา ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการตั้งนิยามในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต สังเกตได้จากค่านิยมการมีลูกสมัยก่อนที่ว่า ‘มีลูกเพื่อให้พวกเขาเลี้ยงดูตอนแก่’ 2) การทำความดีด้วยโดยไม่หวังผลตอบแทน ลักษณะนี้สอดคล้องกับคำว่า ‘บุพการี’ ในพุทธศาสนา แปลว่า ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลประโยชน์ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมีภาพจำความกตัญญูกตเวทีกับรูปแบบแรกที่ต้องตอบแทนผู้ที่ช่วยเหลือเรา  […]

ชีวิตออนไลน์กับราคาที่ต้องจ่าย เราเสียเงินเยอะแค่ไหน กับค่า Subscription ในแต่ละเดือน

ในแต่ละวันเราใช้ชีวิตอยู่บนออนไลน์มากแค่ไหน เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มนุษย์มีวิถีชีวิตเปลี่ยนไป หลายคนหันไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาความบันเทิง สร้างคอนเทนต์ พบปะผู้คน หรือกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่กดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาไว้ในสมาร์ตโฟนของตัวเอง และหากใครที่ต้องการใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์แบบไหลลื่น สะดวกสบาย ไร้ข้อจำกัด ก็ต้องยอมจ่ายเงินค่า ‘Subscription’ หรือ ‘ค่าสมาชิกรายเดือน’ เพื่ออัปเกรดแอปฯ ต่างๆ ให้พรีเมียมและเข้าถึงการใช้งานที่หลากหลายมากกว่าเดิม เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่ Subscribe แอปฯ แบบรายเดือนเอาไว้ คงเลือกใช้วิธีชำระเงินด้วยการตัดบัตรเครดิตหรือตัดบัญชี เพื่อความสะดวกสบายและง่ายต่อการต่ออายุการใช้งาน เลยอาจไม่ได้คำนวณว่าพวกเขาต้องเสียเงินให้กับค่าสมาชิกไปทั้งหมดกี่บาท  คอลัมน์ City by Numbers เลยขอรับหน้าที่เป็นฝ่ายบัญชีช่วยคำนวณรายจ่ายสำหรับค่า Subscription ทั้งหลาย ว่าในแต่ละเดือนชาวโซเชียลต้องเสียเงินกับการใช้ชีวิตบนออนไลน์นี้ไปเท่าไรกันบ้าง และทบทวนว่าในอนาคตอันใกล้ที่ช่องทางออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้นกว่าเดิมนั้น เราพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับบริการเหล่านั้นหรือเปล่า ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง หลังจากเลิกงานมาเหนื่อยๆ เราเองก็อยากหลีกหนีความวุ่นวายจากโลกแห่งความจริงด้วยการเข้าไปสิงอยู่ในสตรีมมิงแพลตฟอร์มที่รวบรวมความบันเทิงหลากหลายเอาไว้ ทั้งรายการทีวี ซีรีส์ และภาพยนตร์ แถมยังนอนดูอยู่บ้านได้แบบสบายๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงภาพยนตร์ให้เสียเงิน เสียแรง และเสียเวลา  ด้วยเหตุนี้ บริการสตรีมมิงจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในตอนนี้ไปเสียแล้ว โดยค่าใช้จ่ายต่อเดือนของสตรีมมิงออนไลน์แต่ละเจ้าอยู่ที่ 99 – 419 บาทขึ้นอยู่กับแพ็กเกจ แต่เชื่อเลยว่าหลายคนคงไม่ได้สมัครสมาชิกแค่เจ้าเดียวเท่านั้น […]

7 คำศัพท์มาแรงเกี่ยวกับเทรนด์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในอนาคต

ในยุคปัจจุบัน นอกจากผู้คนจะให้ความสำคัญกับเรื่องรอบตัวกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียม อีกประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจสุดๆ คือ ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ เพราะพวกเขาเชื่อว่าโลกต้องได้รับการรักษาและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันผลกระทบที่รุนแรงจากวิกฤตโลกรวน เพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องความยั่งยืนจึงกลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงทั่วโลก แทบทุกอุตสาหกรรมต้องหยิบเรื่องนี้มาพูดถึง ภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่ธุรกิจของคนตัวเล็กๆ เองก็พยายามชูนโยบายสีเขียวและใส่ดีเอ็นเอความยั่งยืนในมิติต่างๆ ให้บริษัทของตัวเอง ทั้งแง่สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปทำความเข้าใจเรื่อง ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ แบบเจาะลึกมากขึ้นผ่าน 7 คำศัพท์ที่กำลังมาแรงเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ ตั้งแต่แนวคิดการออกแบบเขตเชิงระบบนิเวศ ระบบเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืนรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบทุนนิยมและการบริโภคอย่างมีจิตสำนึก ซึ่งทั้งหมดล้วนมีเป้าหมายทำให้วงจรความยั่งยืนเกิดขึ้นจริงในสังคมของเรา 01 | Eco-district เพราะสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ส่วนรวมควรรับผิดชอบร่วมกัน จึงเป็นที่มาของคำว่า ‘Eco-district’ หรือ ‘เขตเชิงระบบนิเวศ’ ซึ่งหมายถึงการกำหนดวางแผนผังเมือง เพื่อรวบรวมเป้าหมายเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคมเข้าด้วยกัน รวมถึงลดผลกระทบทางระบบนิเวศที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในพื้นที่ใกล้เคียง ตัวเมือง และภูมิภาคให้น้อยลงด้วย มากไปกว่านั้น Eco-district ยังโฟกัสที่การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่หลากหลายและใช้งานได้จริง ทั้งด้านที่อยู่อาศัย […]

BAM Fest เทศกาลที่อยากสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ไม้ไผ่ไทย ต่อยอดไปสู่ระดับโลก

ไผ่ เป็นพืชท้องถิ่นที่เราทุกคนคุ้นตากันเป็นอย่างดี สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ด้วยว่าไม้ไผ่นั้นได้ฝังรากอยู่กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเรามาอย่างช้านาน ตั้งแต่คราวบรรพบุรุษของเราที่รู้จักวิธีการนำไม้ไผ่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ทำเป็นไม้จิ้มฟันยันสร้างบ้าน ปัจจุบันไม้ไผ่ยังได้รับการยกย่องให้เป็นวัสดุทางเลือกที่น่าสนใจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นวัสดุที่ยั่งยืน (Sustainable Materials) ทำให้นักออกแบบทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสร้างสรรค์งานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีภาพจำเกี่ยวกับไม้ไผ่ว่าเป็นวัสดุที่ถูกใช้เพียงชั่วคราว ไม่คงทนเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทำให้ภาพจำเกี่ยวกับไผ่เช่นนั้นเริ่มไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เมื่อนักวิจัยของประเทศจีนได้ค้นพบวิธีการที่สามารถนำไม้ไผ่มาใช้สร้างรถไฟความเร็วสูงได้สำเร็จ นี่คือความมหัศจรรย์ของไม้ไผ่  อนาคตของไม้ไผ่จึงไม่ได้เป็นแค่อาหารของหมีแพนด้าอีกต่อไป แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดต่อไปได้อีกมาก ในวันที่เรากำลังเผชิญกับราคาวัสดุที่มีแนวโน้มแต่จะพุ่งสูงขึ้นในแต่ละปี ความเป็นไปได้ที่กำลังเกิดขึ้นกับไม้ไผ่ ทำให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนใจหยิบไม้ไผ่ขึ้นมา และชักชวนให้ผู้คนหันกลับมาสนใจวัสดุท้องถิ่นของเรา และร่วมมือกันพัฒนาไม้ไผ่ในนามของ BAM Fest กำเนิด BAM Fest “ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่น่ามหัศจรรย์มาก เป็นวัสดุในอุดมคติ (Ideal Materials) ที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ด้วยความที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติจึงทำให้มันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นไม้พื้นถิ่นที่หาได้ง่ายในประเทศของเรา ใช้เวลาในการปลูกจนโตใช้งานไม่นานเมื่อเทียบกับวัสดุไม้อื่นๆ ราคาก็ไม่แพงจนเกินไป เข้าถึงง่าย และยังมีความยั่งยืนด้วยการปลูกทดแทนได้ไม่ยาก ไม้ไผ่จึงกลายเป็นวัสดุทางเลือกที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ “การเกิดขึ้นของ BAM Fest เริ่มต้นมาจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. มีความสนใจในตัววัสดุไม้ไผ่และอยากจะทำให้คนอื่นๆ หันมาสนใจ เห็นศักยภาพ และมาร่วมมือช่วยกันสร้างนวัตกรรมและพัฒนาวัสดุนี้ให้ดียิ่งขึ้น […]

1 2 3 4 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.