The Town of Music เมื่อกรุงเทพฯ อยากเป็นเมืองคอนเสิร์ต แต่…

ใครๆ ก็บอกว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ต ไม่ว่าศิลปินจะมาจากไหน เมื่อเจอแฟนคลับชาวไทยที่ร้องตามทุกคำ แอดลิปได้ทุกโน้ตเข้าไป ก็ติดใจวนกลับมาเล่นคอนเสิร์ตที่ไทยเกือบทุกปี ยิ่งหลังจากปิดประเทศไป 2 ปี คอนเสิร์ตทั้งไทยและเทศต่างพากันจ่อคิวยาวล้นไปถึงต้นปีหน้า เราจึงไม่แปลกใจที่กรุงเทพฯ จะมีอีกฉายาว่า ‘กรุงเทพฯ เมืองคอนเสิร์ต’ แต่พอมาขบคิดดูดีๆ แล้วเมืองกรุงเทพฯ เหมาะสำหรับจัดคอนเสิร์ตจริงหรือ เพราะเมื่อมองย้อนกลับไปดูการจัดคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง เราต่างพบหลากหลายปัญหาที่มักถูกพูดถึง แต่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือสนับสนุนอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตที่เดินทางลำบาก ค่าบัตรที่ค่อนข้างสูง ไหนจะระบบการศึกษาที่ไม่ค่อยเอื้อให้คนที่อยากทำงานในอุตสาหกรรมดนตรีสักเท่าไหร่ จะดีกว่าไหมถ้าเมืองนี้จะไม่ใช่แค่สถานที่จัดคอนเสิร์ต แต่สนับสนุนและส่งเสริมระบบนิเวศทางดนตรีให้ยั่งยืน 01 | Concert Live in Bangkok (แค่ในนาม)สถานที่จัดไกล การเดินทางไม่ครอบคลุม ปัจจุบันมีหลายคอนเสิร์ตที่จัดในประเทศไทยแล้วใช้ชื่อต่อท้ายว่า ‘Live in Bangkok’ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นแค่กรุงเทพฯ เฉพาะในนาม เพราะไม่ว่าจะเป็นอิมแพ็ค อารีน่า และ ธันเดอร์โดม ที่เมืองทองธานี, แจ้งวัฒนะ ฮอลล์ ที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ หรือเอ็มซีซี ฮอลล์ ที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ต่างตั้งอยู่ที่จังหวัด ‘นนทบุรี’ ด้วยกันทั้งนั้น […]

‘Sharenting’ พ่อแม่ยุคใหม่ โพสต์รูปลูกอย่างไร ไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก

คุณจำได้ไหมว่ามีแอ็กเคานต์โซเชียลมีเดียเป็นของตัวเองตอนอายุเท่าไหร่ หากย้อนกลับไปในวันที่เริ่มมีตัวตนบนโลกออนไลน์สำหรับหลายๆ คน เราคิดว่าน่าจะเป็นช่วงประถมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมต้นที่เริ่มสมัคร Facebook และอัปโหลดรูปตัวเองบนโลกออนไลน์เป็นครั้งแรก แต่กับสมัยนี้ หลายบ้านเริ่มสร้างตัวตนให้ลูกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ รูปอัลตราซาวนด์กลายเป็นรูปแจ้งเกิดในโลกออนไลน์ของเด็กรุ่นใหม่ แถมพอโตขึ้นมาหน่อย ไม่ว่าจะทำอะไรก็มักถูกพ่อแม่บันทึกไว้เป็นรูปภาพและวิดีโอโพสต์ลงบนออนไลน์เต็มไปหมด ‘ใครๆ เขาก็ลงรูปลูกตัวเองกันทั้งนั้น’‘บ้านไหนจะโพสต์รูปลูกตัวเองก็เรื่องของเขา อย่าไปยุ่ง’‘ทำไมพ่อแม่ถึงจะไม่มีสิทธิ์โพสต์รูปลูกตัวเองล่ะ’ จากความคิดเห็นเหล่านี้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนกลับมาตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วการที่พ่อแม่ทำแบบนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะผลกระทบอาจไม่ตกอยู่ที่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งเท่านั้น พ่อแม่ยุคใหม่ ให้ชาวเน็ตช่วยเลี้ยงลูก ย้อนกลับไปในปี 2010 พ่อแม่ทั่วโลกต่างโพสต์รูปลูกตัวเองลงบนออนไลน์เป็นเรื่องปกติ จนสำนักข่าว ‘Wall Street Journal’ คิดค้นศัพท์ใหม่อย่าง ‘Sharenting (n.)’ เพื่อใช้นำเสนอปรากฏการณ์นี้ ก่อนได้รับการบันทึกลงใน Collins English Dictionary เมื่อปี 2016 และใช้อย่างกว้างขวางต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน Sharenting เกิดขึ้นจากการผสมคำระหว่าง Share และ Parenting เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของพ่อแม่ยุคใหม่ที่โพสต์ภาพและวิดีโอของลูกตัวเองบนโซเชียลมีเดียจนเกินพอดี  จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2010 พบว่า มีทารกกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และเด็กอายุน้อยกว่า 2 […]

จัดงานสเกลใหญ่ ควรมีมาตรการอย่างไร เพื่อป้องกันเหตุการณ์ Crowd Crush

จากเหตุการณ์ ‘ฝูงชนเบียดกันตาย (Crowd Crush)’ จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 154 ราย บริเวณย่านอิแทวอน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ทั่วโลกหันกลับมาสนใจเกี่ยวกับวิธีรับมือหากพบเจอสถานการณ์ดังกล่าว รวมไปถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับสถานที่หรืองานเทศกาลที่ต้องรองรับคนจำนวนมาก หากย้อนกลับไปในอดีต ก็มีหลายเทศกาลที่เกิดการรวมตัวของฝูงชนจนเกิดการ Crowd Crush ขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลดนตรี พิธีกรรมทางศาสนา หรือการชมกีฬานัดสำคัญ แต่ครั้นจะยกเลิกทุกกิจกรรมในอนาคตเพื่อตัดปัญหาตั้งแต่ต้นลมก็คงไม่ใช่วิธีที่ถูกนัก  วันนี้ Urban Creature จึงขอหยิบเอามาตรการความปลอดภัยเบื้องต้นสำหรับการจัดงานที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากมาฝากกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้จัดสำหรับการวางแผนงาน และผู้เข้าร่วมที่ต้องการประเมินความเสี่ยงสำหรับตัวเอง แค่ไหนถึงเรียกว่า Crowd Crush? แม้ส่วนใหญ่สื่อไทยจะใช้คำว่า ‘Crowd Crush’ หรือที่แปลเป็นไทยว่า ‘ฝูงชนเบียดกันตาย’ ในการรายงานข่าว แต่ความจริงแล้วสถานการณ์ดังกล่าวยังสามารถอธิบายด้วยคำว่า ‘Crowd Surge’ ได้เช่นเดียวกัน โดย G. Keith Still ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของฝูงชนและศาสตราจารย์รับเชิญด้านวิทยาศาสตร์ฝูงชนที่มหาวิทยาลัย Suffolk ประเทศอังกฤษ ได้อธิบายว่า Crowd Crush […]

Expectation VS Reality ชีวิตวุ่นๆ ในเมืองกรุงของหนุ่มขี้เหงากับภารกิจตามหารักแท้แบบฉบับหนังรัก

สวัสดีครับ เหล่าคนเหงาในเมืองใหญ่ทุกคน  ผม ‘แทน แทนทะเล’ นะครับ หลายคนอาจจะเห็นหน้าค่าตาผมจากรายการ ‘Urban เจอนี่’ มาบ้าง แต่วันนี้ผมไม่ได้จะมาชวนไปดูรายการหรือทำอะไรประหลาดๆ หรอกนะ แค่เห็นว่าวีกนี้ Urban Creature เขาทำคอนเทนต์ธีม ‘Bangkok Zombie Town’ ที่ตีแผ่ชีวิตสุดห่วยในเมืองกัน ผมเลยอยากนำเสนอชีวิตหนึ่งวันในฐานะของผู้ชายขี้เหงาคนหนึ่งที่ก็อาศัยอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้ ‘คนเดียว’ มานานกับเขาบ้าง หลังจากปัด Tinder จนนิ้วด้าน โหลดแอปฯ เดตติงจนความจำในโทรศัพท์เต็ม ผมก็ฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำให้หัวใจเจ้ากรรมที่เริ่มด้านชากลับมามีสีสันมากขึ้น ผมจึงตัดสินใจว่า “วันนี้แหละที่เราจะไปปฏิบัติการตามหารักแท้ในเมืองด้วยตัวเอง เอง เอง” (ใส่เอกโค่เพิ่มความดราม่า) แต่แหม จะให้ไปตามหาคนในฝันแบบธรรมดาๆ ก็ดูไม่ค่อยเหมาะกับพิธีกรรายการดังแบบผมเท่าไหร่ ด้วยความที่เป็นอดีตนักเรียนฟิล์มและชอบดูหนังมากๆ ผมเลยขอหยิบเอาหนังรักโรแมนติกมาใช้เป็น Reference สร้างซีนประทับใจในหนึ่งวันที่ผมออกไปเจอเธอสักหน่อย จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยว่า ‘เมืองกรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ แบบเมืองในหนังรักกับเขาได้ไหม รับบทเป็นธีโอดอร์ ใน Herมองเมืองแบบเหงาๆ คิดถึงเขาทำไงดี ก่อนออกไปตามหารักแท้ในเมืองใหญ่ ผมก็ขอทำตัวเลียนแบบ ‘ธีโอดอร์’ ในหนังคนเหงาเรื่อง ‘Her’ […]

District Cooling System ทางออกการลดอุณหภูมิแบบรักษ์โลกของสิงคโปร์  

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสาเหตุมาจากการสะสมความร้อนของเมือง อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง ทำให้แต่ละเมืองเริ่มมองหาเครื่องมือหรือนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาให้ความร้อนในเมืองลดลง หนึ่งในนั้นคือ ‘สิงคโปร์’ ที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งโครงการ ‘Cooling Singapore’ ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2017 เพื่อแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนโดยตรง ผ่านการออกแบบเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และนำนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘District Cooling System (DCS)’ เข้ามาช่วย ดับร้อนด้วย Cooling Singapore ปรากฏการณ์ UHI ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเป็นทุนเดิม มีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากการเพิ่มจำนวนป่าคอนกรีตบริเวณใจกลางเมือง จนทำให้อุณหภูมิในตัวเมืองสิงคโปร์สูงกว่านอกเมืองถึง 7 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก 1.4 – 4.6 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกด้วย ซึ่งถ้าสิงคโปร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ หมายความว่าผู้คนอาจต้องใช้พลังงานในการสร้างความเย็นมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น ดังนั้นสิงคโปร์จึงต้องหาวิธีควบคุมอุณหภูมิเมืองไม่ให้ร้อนขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด สิงคโปร์จึงจัดตั้งทีมวิจัยสำหรับดำเนินโครงการ […]

เปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ใช้งานได้จริง

จะดีแค่ไหนถ้ากรุงเทพฯ มี ‘พื้นที่สาธารณะ’ ให้ผู้คนเข้าถึงและใช้งานได้มากกว่านี้ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะได้รับฉายาว่ามหานครที่ไม่เคยหลับใหล เพราะเต็มไปด้วยแสงสี ความสว่างไสว และความคึกคักจากกิจกรรมของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว แต่ถ้าสังเกตดีๆ เมืองหลวงแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้าง ว่างเปล่า หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ แถมหลายแห่งยังขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยน ความหลอน จนน้อยคนนักจะกล้าไปเยือน สิ้นเดือนนี้ก็จะถึงเทศกาลฮาโลวีนแล้ว คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ที่ซุกซ่อนอยู่ตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่มากขึ้น มีหลากหลายไอเดียตั้งแต่การปรับปรุงตึกร้างให้เป็นสวนแนวตั้ง ไปจนถึงเปลี่ยนสุสานเครื่องบินให้เป็นพื้นที่ศิลปะเท่ๆ ก็มี ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนไปล่าท้าผี เอ้ย! ไปสำรวจการออกแบบสนุกๆ พร้อมกันตอนนี้เลย เปลี่ยน ‘ตึกสาธรยูนีค’ ให้เป็น ‘สวนแนวตั้ง’ ที่ชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไม่อั้น หากใครเดินทางไปบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นตึกร้างสูง 49 ชั้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกตกทอดจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ถึงแม้ว่าจะสร้างเสร็จไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ต้องหยุดชะงัก ไม่เสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานได้อย่างที่หวัง ตึกหลังนี้มีชื่อว่า ‘ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์’ หรือที่ต่างชาติต่างขนานนามให้เป็น […]

Omegaverse โลกสมมติที่ผู้ชายท้องได้ เมื่อหยิบมานำเสนอ ทำไมถึงเป็นปัญหา

การหยิบเอา ‘นวนิยาย’ หรือ ‘วรรณกรรม’ มาดัดแปลงเป็นละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมวงการบันเทิง ไม่ว่าจะที่ต่างประเทศหรือในไทยเองก็ตาม แน่นอนว่ามีหลายเรื่องที่ดังเป็นพลุแตก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่โดนวิพากษ์วิจารณ์ จนเกิดกระแสแง่ลบตามมาทันทีหลังเริ่มฉาย หรือกระทั่งถูกตั้งข้อกังขาตั้งแต่ยังไม่เริ่มผลิตผลงานออกสู่สายตาของผู้ชมด้วยซ้ำ อาจเป็นเพราะความคาดหวังของแฟนวรรณกรรม ตัวเนื้อเรื่องที่เป็นปัญหา รวมไปถึงบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาก็เป็นได้ ล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสต่อต้านการหยิบเอานวนิยายมาทำเป็นซีรีส์อีกครั้ง หลังจากผู้จัดซีรีส์เจ้าหนึ่งได้ประกาศเตรียมสร้างซีรีส์เรื่องใหม่โดยหยิบเอานิยายเรื่อง ‘อย่าบอกป๊านะม๊า Midnight Fortune’ ที่มีบริบทเป็น ‘โอเมกาเวิร์ส (Omegaverse)’ มาทำเป็น ‘ซีรีส์วาย (BL Series)’ ทำเอาหลายคนที่ไม่รู้จักจักรวาลโอเมกาเวิร์สถึงกับงงไปตามๆ กัน ส่วนฟากคนที่รู้จักนั้นก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำสิ่งนี้เป็นสื่อกระแสหลัก Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโอเมกาเวิร์ส ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ และทำไมการหยิบเอาแนวคิดนี้มาทำเป็นซีรีส์ที่คนแสดงถึงอาจกลายเป็นปัญหาในสังคมของเรา จุดเริ่มต้นของโอเมกาเวิร์ส ก่อนจะไปรู้จักกับจักรวาลโอเมกาเวิร์สในนิยายวาย เรามาปูพื้นฐานเกี่ยวกับนิยายวายกันก่อนดีกว่า แม้ว่านิยายวายส่วนใหญ่จะใช้เรียกรวมแนวการเขียนที่มีตัวเอกของเรื่องเป็น ‘คู่ชายรักชาย’ แต่ความจริงแล้วคำว่า ‘วาย’ เป็นคำเรียกที่ย่อมาจากคำในภาษาญี่ปุ่น 2 คำ คือ ‘Yaoi’ ที่หมายถึงชายรักชาย และ ‘Yuri’ ที่ใช้เรียกหญิงรักหญิง โดยปัจจุบันคำเรียกนี้ถูกเปลี่ยนมาใช้คำว่า ‘Boy’s […]

The Alphabet Book Café ดื่มกาแฟ จิบค็อกเทล อ่านวรรณกรรม ที่สอดแทรกไปด้วยอุดมการณ์คนทำหนังสือ

“มันเป็นสถานที่ที่เล็กและธรรมดาเกินไปสำหรับคนในแวดวงสังคมชั้นสูง และก็เงียบเกินไปสำหรับผู้ที่โปรดปรานแสงสีและเสียงอึกทึกแห่งอารยธรรมสมัยใหม่” ประโยคจากหนังสือ ‘The Awakening (การฟื้นตื่นของเอ็ดน่า)’ โดย Kate Chopin (เคต โชแปง) ที่ ‘เอก-เอกสิทธิ์ เทียมธรรม’ ผู้จัดการร้าน ‘The Alphabet Book Café’ และบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ‘สมมติ’ เลือกให้เป็นคำนิยามที่อธิบายภาพบรรยากาศของคาเฟ่หนังสือแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี สำหรับเรา คาเฟ่หลังสีดำแซมไปด้วยสีเขียวของต้นไม้หลังนี้ คือสถานที่หลบภัยชั้นดีของผู้ที่ต้องการหลีกหนีความวุ่นวายในเมือง เพื่อใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เสียงเพลง และหนังสือสักเล่ม ก่อนกลับไปลุยงานต่อในวันถัดไป แม้จะอยู่ไกลจากตัวเมืองเสียหน่อย แต่รับประกันว่ามาแล้วไม่รู้สึกเสียเที่ยวอย่างแน่นอน จาก ‘สมมติ Book Café’ สู่ ‘The Alphabet Book Café’ ถึงแม้ว่าร้าน The Alphabet Book Café จะเพิ่งเปิดได้ไม่นาน แต่ความจริงแล้วแนวคิดเรื่องการทำ Book Café ภายใต้สำนักพิมพ์สมมตินั้นถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว “จุดที่เห็นได้ชัดเลยคือเมื่องานหนังสือปี 2558 เราพยายามดีไซน์ตัวบูทขายหนังสือ ให้ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ขายหนังสือเพียงอย่างเดียว” เอกเล่าถึงช่วงเริ่มต้นที่ไอเดียเรื่องนี้เริ่มออกมาเป็นรูปเป็นร่าง […]

ค่า Ft คืออะไร ทำไมใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

ถัดจากปัญหาฝนตกหนักน้ำท่วมขังที่หลายคนกังวลอยู่ในช่วงนี้ ก็คงเป็นเรื่อง ‘ค่าไฟ’ นี่แหละที่จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถาโถมใส่ชาวไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันดับต่อไป อัตราค่าไฟฟ้าส่อแววเป็นปัญหาน่าปวดหัว หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับ ‘ค่า Ft’ ของงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม ปี 2565 ขึ้นเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย จากเดิม 24.77 สตางค์/หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 4 เท่า นี่ยังไม่รวมถึงไตรมาสเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2566 ที่จะถึงนี้ที่จะมีการปรับขึ้นเป็น 98.27 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิมหรือน้อยลง พวกเขาก็อาจต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ดี หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ทำไมถึงเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการคิดค่าไฟ วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักส่วนประกอบสำคัญของบิลค่าไฟฟ้าอย่างค่า Ft ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และทำไมการขึ้นค่า Ft ของ กกพ. ถึงทำให้ค่าไฟแพงขึ้นขนาดนี้ เผื่อจะช่วยไขข้อข้องใจของใครหลายคน และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อวางแผนการใช้ไฟในอนาคตได้ บิลหนึ่งใบ ค่าไฟหนึ่งเดือน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของ […]

เดินเล่น-ชิม-ชม ที่ ‘ยมจินดา’ ย่านเมืองเก่าใจกลางจังหวัดระยอง 

เมื่อพูดถึง ‘ระยอง’ หลายคนอาจนึกถึงอีเวนต์สนุกๆ อย่างฟูลมูนปาร์ตี้ที่เกาะเสม็ด ราชินีผลไม้อย่างมังคุด น้ำปลาแท้รสเด็ดที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ไปเยือน หรือแม้กระทั่งอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดนี้ แต่นอกจากจุดเด่นต่างๆ ที่เรายกตัวอย่างมา ระยองยังมีอีกหนึ่งมนตร์เสน่ห์อย่าง ‘ยมจินดา’ ย่านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังวางตัวขนานไปกับแม่น้ำระยอง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนมากว่า 100 ปี  หากพูดง่ายๆ ‘ยมจินดา’ เปรียบได้กับย่าน ‘เจริญกรุง’ ของกรุงเทพฯ เนื่องจากยมจินดาเป็นถนนสายแรกของระยอง ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แหล่งที่ดินทำกินของชาวจีนโพ้นทะเล รวมไปถึงที่ตั้งของบ้านขุนนางและคหบดีในอดีต ทำให้ตลอดระยะทางกว่า 600 เมตรของถนนสายนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรม อาหาร และศิลปะพื้นถิ่นที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ แต่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างกลมกลืน วันนี้ คอลัมน์ Neighboroot จึงขอพาทุกคนออกนอกกรุงเทพฯ ไปอีกนิด เลยชลบุรีไปอีกหน่อย มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองระยองเพื่อร่วมกันสำรวจย่านยมจินดา ผ่านกิจกรรม ‘Co-Create YOMJINDA’ ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ซึ่งเป็นกิจกรรมทดลองพัฒนาพื้นที่ ต่อยอดให้ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ก้าวเข้าสู่การเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะทำให้การเดินทางมาระยองของใครหลายๆ คน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าแค่การมาทะเล ศาลเจ้าแม่ทับทิมระยอง | พื้นที่แห่งศรัทธาของคนไทยเชื้อสายจีน […]

Aviva Spirit แบรนด์ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ส่งต่อศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธาสู่คนรุ่นใหม่ 

ทำไมตี่จู้เอี๊ยะถึงไม่เป็นสีแดงรูปทรงที่โมเดิร์นจะถูกหลักฮวงจุ้ยไหมรูปปั้นมังกรกับตุ๊กตาอากงหายไปไหน เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่แบรนด์ ‘Aviva Spirit’ ต้องพบเจอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่เปิดดำเนินการมา เนื่องจากตี่จู้เอี๊ยะของทางร้านถูกแปลงโฉมให้โมเดิร์นกว่าในอดีต ทั้งสี รูปร่าง และรูปทรง จนมีลักษณะผิดแปลกไปจากที่คนส่วนใหญ่คุ้นตา ในฐานะลูกครึ่งจีนคนหนึ่งที่พบเห็นตี่จู้เอี๊ยะไม้ทาสีแดงแบบดั้งเดิมมาทั้งชีวิต เราจึงไม่รอช้าขอพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบเกี่ยวกับตี่จู้เอี๊ยะสมัยใหม่พร้อมกัน ผ่านการพูดคุยกับครอบครัว ‘วิวัฒนะประเสริฐ’ ทั้งเรื่องของฮวงจุ้ย การดีไซน์ตัวเรือนตี่จู้เอี๊ยะ หรือแม้กระทั่งรูปแบบการไหว้ ที่ทำให้เรื่องของการไหว้เจ้าที่เป็นเรื่องง่าย เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของแบรนด์ ‘สุภชัย วิวัฒนะประเสริฐ’ ซินแสฮวงจุ้ยผู้เป็นหัวเรือใหญ่ของแบรนด์ ‘Aviva Spirit’ และเจ้าของเพจ ‘Fengshui Balance – ฮวงจุ้ย สมดุลแห่งธรรมชาติ’ เล่าว่า สมัยก่อนที่ไปดูฮวงจุ้ยให้ลูกค้าที่บ้าน หลายรายมักถามว่ามีตี่จู้เอี๊ยะรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตี่จู้เอี๊ยะแบบเก่าให้เลือกไหม เพราะอยากได้ศาลเจ้าที่เข้ากับบ้านของเขา ทำให้สุภชัยเห็นถึงความต้องการของลูกค้าที่คำนึงเรื่องรูปลักษณ์และความทันสมัยมากขึ้น แม้ว่าตี่จู้เอี๊ยะจะเป็นที่ต้องการและมีผู้ค้าลงเล่นในตลาดนี้จำนวนมาก แต่รูปทรงของเรือนก็ยังไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือเป็นเรือนไม้สีแดง แกะสลักเป็นรูปมังกร รูปสิงห์ และมีตุ๊กตาอากงอยู่ภายใน ไม่สอดคล้องกับการตกแต่งภายในที่เน้นความเรียบง่ายของบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบัน  เขาจึงเริ่มมองหาการออกแบบใหม่ๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันก็ต้องถูกหลักฮวงจุ้ยด้วย  “พอมีหลายคนถามหาเยอะขึ้น เราก็เลยตัดสินใจเริ่มศึกษาการทำตี่จู้เอี๊ยะหินอ่อนที่มีลักษณะโมเดิร์นขึ้นมา” สุภชัยกล่าว “โดยอยู่ภายใต้คอนเซปต์ ‘ศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธา’ […]

‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด

หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้  เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น  แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]

1 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.