A Katanyu Comedy Club คลับของคนรักเสียงหัวเราะ ที่ต้องการให้ Comedian รุ่นใหม่ได้มีที่ซ้อมมือ

‘อยากดู Stand-up Comedy ต้องไปที่ไหน’ สำหรับคำถามนี้ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงหยุดคิดไปหลายนาที เพราะ ‘Stand-up Comedy Club’ ในไทยที่พอจะรู้จักหรือหาข้อมูลได้ส่วนใหญ่เป็นคลับที่แสดงโดยชาวต่างชาติอย่าง ‘The Comedy Club Bangkok’ หรือ ‘Khaosan Comedy Club’ นั่นแปลว่าถ้าคุณจะชมการแสดงประเภทนี้ ต้องฟังภาษาอังกฤษออก และเข้าใจมุกตลกของพวกเขา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา คงเป็นวันที่เราพูดได้เต็มปากว่าหากต้องการดูโชว์ตลกในรูปแบบ ‘Stand-up Comedy’ โดยนักแสดง Stand-up Comedian ชาวไทย ให้คุณเดินทางไปที่โครงการ Space & Co หลังห้างสรรพสินค้าสามย่านมิตรทาวน์ แล้วคุณจะพบกับ ‘A Katanyu Comedy Club’ คลับเล็กๆ ของคนรักเสียงหัวเราะที่ซ่อนตัวอยู่บนชั้น 2 โดยมี ‘ยู-กตัญญู สว่างศรี’ เป็นหัวหอกสำคัญในการเนรมิตขึ้นมา จากความตั้งใจเดิมที่แค่ต้องการย้ายทำเลร้านกาแฟ Katanyu Coffee กลับกลายเป็นการปรับคอนเซปต์ครั้งใหญ่สู่ A Katanyu […]

‘Happy Left Hander’s Day’ 10 นวัตกรรม ที่ทำมาเพื่อคนถนัดซ้าย

**เนื้อหาและกราฟิกของบทความนี้ทำขึ้นโดยเหล่ามนุษย์ถนัดซ้าย ไหนใครถนัดซ้ายบ้าง ยกมือซ้ายขึ้น! ตอนนี้ได้เวลายืดอกแล้วบอกกับคนอื่นไปอย่างมั่นใจว่าเรา ‘ถนัดซ้าย’ แล้ว  เพราะวันนี้หรือวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันคนถนัดซ้ายสากล’ เพื่อเฉลิมฉลองให้คนที่ถนัดซ้ายทั่วโลก และบอกกับสังคมว่าเราไม่ได้แตกต่างไปจากคนทั่วไปที่ถนัดขวาเลย ในฐานะที่เป็นคนถนัดซ้ายมาตลอดทั้งชีวิต การถนัดซ้ายถือเป็นเรื่องแสนจะน่าภูมิใจสำหรับเรา เพราะการใช้ชีวิตด้วยอุปกรณ์ของคนถนัดขวา ที่สร้างโดยคนถนัดขวา เพื่อคนถนัดขวา มันช่างชาเลนจ์การใช้ชีวิตประจำวันเสียเหลือเกินเชื่อว่าชาวถนัดซ้ายหลายคนคงจะมีวิธีพลิกแพลง หรือทริกสนุกๆ สำหรับการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเราอย่างถูกต้องกันอยู่ไม่น้อย ช่วงแรกอาจจะหงุดหงิด ไม่ชินมือกันบ้าง แต่สักพักก็ใช้งานได้เป็นปกติ แต่จะดีกว่าไหม ถ้ามีของที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของคนถนัดซ้ายจริงๆ โดยไม่ต้องลำบากคิดวิธีใช้ใหม่ให้ยุ่งยาก วันนี้เราจึงขอหยิบ 10 นวัตกรรมของใช้ในชีวิตประจำวันที่ออกแบบมาสำหรับคนถนัดซ้ายมาฝากกัน เผื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้คนถนัดซ้ายรู้สึกว่าโลกนี้ไม่โหดร้ายกับเราจนเกินไป 10 นวัตกรรมสำหรับคนถนัดซ้ายที่เราคัดสรรมามีอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! ปากกาน้ำหมึกแห้งไว | ออกแบบตามสรีรศาสตร์ ตั้งแต่เด็กจนโต สิ่งที่ดูเป็นปัญหาสำหรับคนถนัดซ้าย ที่ใครหลายคนตอบเป็นเสียงเดียวกันคือ ‘ปากกา’ ไม่ว่าจะเป็นปากกาแบบไหน ลูกลื่น หมึกเจล หรือหมึกซึม คนถนัดซ้ายก็ทะเลาะด้วยมาแล้วเกือบทั้งนั้น เพราะปากกาที่โฆษณาว่าหมึกแห้งไว ก็ยังไม่ไวเท่ากับสันข้อมือของเราอยู่ดี การเห็นหมึกสีน้ำเงินบ้าง แดงบ้าง ดำบ้าง ติดอยู่ที่มือกลายเป็นเรื่องปกติของชาวถนัดซ้าย แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะปัจจุบันมีปากกาสำหรับพวกเราโดยเฉพาะแล้ว […]

Dropout Crisis เทอม 1/2565 มีนักเรียน กทม. หลุดจากระบบการศึกษากี่คน

ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่ปัญหาเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษากลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่พบได้ตามข่าวสารทั่วไป ย้อนกลับไปในวัยเด็ก สมัยที่เราศึกษาอยู่ในรั้วโรงเรียน ก็เคยได้ยินว่ามีเพื่อนบางคนต้องหยุดเรียนหรือหลุดออกจากการศึกษากลางคัน เนื่องจากปัญหาทางการเงิน ปัญหาในโรงเรียน หรือปัญหาส่วนตัว แต่ในอดีตปัญหาเด็กไม่ได้เรียนต่อก็ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยเท่ายุคปัจจุบัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสังคมยุคนี้ถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤตรอบด้าน ทั้งความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ รวมไปถึงวิกฤตโรคระบาด ที่ทำให้หลายครอบครัวมีรายได้ลดลงหรือต้องหยุดงานชั่วคราว ขณะเดียวกัน พวกเขายังคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในครัวเรือน ซึ่งดูเหมือนจะมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ โดยค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ช่วงที่นักเรียนต้องเปลี่ยนไปเรียนออกไลน์ ครอบครัวที่ไม่ได้มีความพร้อมตั้งแต่แรกต้องเสียเงินเพิ่มกับค่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ค่าอินเทอร์เน็ต และค่าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ส่วนช่วงที่โรงเรียนกลับมาเปิดตามปกติ ก็ยังจะต้องเจอกับภาวะเงินเฟ้อ ที่ทำให้เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การเรียน และของอื่นๆ ที่จำเป็นต้องซื้อใหม่มีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย  เมื่อครอบครัวไม่มีความพร้อมทางการเงิน นักเรียนหลายคนจึงไม่ได้เรียนต่อ และต้องออกจากระบบการศึกษากลางคันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลสำรวจข้อมูลนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครทั้งหมด 258,124 คน ของภาคเรียนที่ 2/2564 พบว่า มีผู้ที่ไม่ได้รับศึกษาต่อในภาคเรียนถัดมาหรือภาคเรียนที่ 1/2565 มากถึง 2,582 คน จากเดิมที่มีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาเพียง 434 คนในภาคเรียนที่แล้ว  หมายความว่า ในช่วงระยะเวลาเพียงหนึ่งภาคเรียน มีเด็กกรุงเทพฯ ที่ไม่ได้เรียนต่อเพิ่มขึ้นถึง 5.8 […]

ตั๋วหนังราคาแพง เพราะต้นทุนสูงหรือถูกผูกขาด?

หลังจากกรุงเทพมหานครเริ่มจัดเทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ ตามสถานที่สาธารณะทั่วเมือง ปรากฏว่าเสียงตอบรับดีเกินคาด ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ ตบเท้าเข้าชมภาพยนตร์กลางแจ้งฟรีกันอย่างคึกคัก ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น กระแสจากการฉายหนังกลางแปลงครั้งนี้จึงอาจเป็นหนึ่งตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนไทยนิยมและชื่นชอบการดูภาพยนตร์กันมากเหมือนกัน แม้ว่าคนไทยจำนวนมากจะชอบการดูหนังบนจอขนาดยักษ์ แต่มันไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะยอมจ่ายเงินซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปดูหนังในโรง เพราะข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า คนไทยดูหนังในโรงภาพยนตร์เฉลี่ยคนละ 0.5 เรื่องต่อคนต่อปี และมีอัตราที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับจำนวนโรงหนังที่เพิ่มขึ้น  หนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเข้าโรงหนังน้อยลงอาจเป็นเพราะค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันตั๋วหนังหนึ่งที่นั่งมีราคาเฉลี่ยราว 220 – 280 บาทต่อเรื่อง หากรวมกับค่าเดินทางไปกลับ หรือซื้อน้ำดื่มและป็อปคอร์นเข้าไปกินในโรงหนังด้วย เผลอๆ แบงก์ 500 ก็ยังไม่พอจ่ายด้วยซ้ำ แม้มีความตั้งใจไปดูภาพยนตร์ในโรงสักเรื่อง แต่เมื่อเจอค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่สูงขนาดนี้ การดูหนังแต่ละทีจึงกลายเป็นความบันเทิงราคาแพงที่คนหาเช้ากินค่ำหรือเด็กจบใหม่ยากจะเอื้อมถึง เพราะค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ที่ระหว่าง 313 – 336 บาทต่อวัน แทบไม่ครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศไทย ที่ดัชนีอาหารจานเดียวเพิ่มสูงขึ้น 6.7 เปอร์เซ็นต์ จนราคาข้าวผัดกะเพราแตะจานละ 60 บาทเข้าไปแล้ว  วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคาตั๋วหนังในประเทศไทยแพงขนาดนี้ และเมื่ออ่านจบแล้ว เราอยากชวนทุกคนคิดต่อว่าสาเหตุเหล่านี้สมเหตุสมผลหรือไม่ และในอนาคตประเทศไทยควรทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนการดูหนังในโรงภาพยนตร์ให้กลายเป็นความบันเทิงที่คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ […]

รวม 5 ธุรกิจสายบุญยุคใหม่ อยู่ที่ไหนก็ทำบุญได้ ถ้าใจเราพร้อม

ชาวพุทธผู้รักการทำบุญต้องถูกใจสิ่งนี้! ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเวลาไปทำบุญเมื่อใจพร้อม เพราะหลายครั้งร่างกายก็อาจไม่พร้อม และธุระการงานแผนการณ์ครอบครัวก็อาจทำให้แพลนออกจากบ้านไปทำกิจกรรมทางพุทธศาสนาของหลายคนต้องหยุดชะงัก บุญก็อยากทำ แต่จะให้ออกจากบ้านก็ไม่สะดวกจริงๆ จะทำอย่างไรดีล่ะทีนี้ วันนี้ Urban Creature จึงรวบรวม 5 ธุรกิจสายบุญรูปแบบใหม่ ที่จะมาปฏิวัติวงการการทำบุญแบบเดิมๆ ก้าวเข้าสู่ New Normal แห่งพุทธศาสนา ให้ชีวิตคุณกับศาสนาใกล้กันแค่ปลายนิ้วสัมผัส ไม่ต้องไปถึงวัดก็สามารถทำกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการจัดหาออร์แกไนเซอร์จัดงานบุญ ตักบาตร กรวดน้ำ ถวายสังฆทาน หรือปล่อยปลา ได้ง่ายๆ  ธุรกิจเสริมบุญยุคใหม่ที่เราคัดสรรมามีอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! 01 | รักทำบุญ : ออร์แกไนเซอร์งานบุญ ประเดิมธุรกิจสายบุญแรกไปกับ ‘รักทำบุญ’ ธุรกิจออร์แกไนเซอร์ที่รับจัดงานบุญทุกรูปแบบครบวงจร ที่ Urban Creature ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ คุณเอ-ฐปนวัชร์​ วิศรุตธรรม เจ้าของกิจการมาก่อนหน้านี้ รักทำบุญได้ผันตัวจากออร์แกไนเซอร์งานแต่ง มาเป็นออร์แกไนเซอร์งานบุญ ที่จัดเตรียมตั้งแต่สถานที่ นิมนต์รับ-ส่งพระ รวมถึงจัดการขั้นตอนระหว่างการทำงานบุญ และงานเลี้ยงอาหารหลังจบพิธีการแบบ One Stop Service ครบจบในที่เดียว ไม่ต้องรบกวนที่บ้านให้ลำบากใจอีกต่อไป ที่สำคัญ […]

“หน้าที่ของเราคือต้องทำให้คนรู้สึกมีความหวังกับเมือง” รองผู้ว่าฯ ศานนท์ หวังสร้างบุญ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ Urban Creature ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับ ดร.ยุ้ย-ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญของทีมนโยบายของชัชชาติ รวมถึงพูดคุยกับชายผู้ควบตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในช่วงก่อนเลือกตั้งมาแล้ว ครั้งนี้ก็ถึงคราวของ ‘ศานนท์ หวังสร้างบุญ’ รองผู้ว่าฯ กทม. ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่จับพลัดจับผลูขึ้นมาดำรงตำแหน่งในวัย 33 ปี หลังได้รับการชักชวนจากชัชชาติในคืนวันประกาศผลเลือกตั้งที่คะแนนเริ่มทิ้งห่าง ให้ดูแลสำนักการศึกษา สำนักพัฒนาสังคม สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รวมไปถึงการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือเรียกรวมๆ ก็คือการดูงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นหลัก  ทว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ศานนท์ได้มาทำงานด้านนี้ เพราะหลายปีที่ผ่านมา เขาทำงานขับเคลื่อนเมืองและซัปพอร์ตชุมชนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคม SATARANA (สาธารณะ) ที่ทำงานเรื่องการพัฒนาเมือง และ Mayday กลุ่มผู้ออกแบบปรับปรุงป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่  ถึงอย่างนั้น การย้ายฝั่งจากภาคประชาสังคมเข้าสู่ระบบราชการก็ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายศานนท์เป็นอย่างมาก และทำให้เขาได้เข้าใจและมองเห็นสิ่งใหม่ๆ จากมันอยู่ไม่น้อย ทั้งข้อจำกัดของระบบราชการที่มีขั้นตอนยุ่งยากจำนวนมาก งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือการไม่มีเวลาปรับตัวเพราะต้องเริ่มต้นทำงานทันทีหลังจากได้รับตำแหน่ง คงไม่ผิดนักถ้าหากจะยกให้เป็นรองผู้ว่าฯ กทม. อีกคนที่ทำงานหนักไม่แพ้ผู้ว่าฯ กทม. เพราะขนาดช่วงที่เราขอสัมภาษณ์ ก็แทบต้องแย่งชิงเวลาอันน้อยนิดที่แน่นขนัดไปด้วยตารางการทำงานของเขา […]

Food Matter ธีสิสแพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกิน ที่อยากช่วยลด Food Waste ในแต่ละวัน

คุณรู้ไหมว่าอาหารที่ร้านผลิตเกินมาในแต่ละวันถูกจัดการอย่างไร?  สำหรับคนที่ชอบเดินซูเปอร์มาร์เก็ตช่วงค่ำๆ จะเห็นหลายร้านนำอาหารที่ยังคุณภาพดีเหล่านี้มาติด ‘ป้ายเหลือง’ และลดราคาในช่วงสุดท้ายของวัน แต่ก็ยังมีอีกหลายร้านเช่นกันที่แม้จะมีอาหารเหลือจำนวนมาก แต่พวกเขาเลือกที่จะทิ้งโดยเสียเปล่าเพราะเป็นมาตรการด้านความสะอาดและเพื่อรักษามาตรฐานของร้าน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การทิ้งอาหารที่ยังคุณภาพดีเหล่านี้ทำให้เกิด ‘ขยะอาหาร (Food Waste)’ ปริมาณมากในแต่ละวัน แค่ลองคิดเล่นๆ ว่าแต่ละร้านต้องทิ้งอาหารวันละ 1 กก. ทั้งเดือนก็ไม่ต่ำกว่า 30 กก. และถ้าทุกร้านมีขยะที่ต้องทิ้งทุกวัน กรุงเทพฯ จะมีขยะอาหารเยอะมากแค่ไหน? จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถนำอาหารส่วนเกินเหล่านี้มาทำเป็น ‘อาหารป้ายเหลือง’ และขายผ่านช่องทางเดลิเวอรีได้ ทำให้ผู้คนในเมืองนี้ได้เข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง และยังมีส่วนช่วยในการลดขยะอาหารที่เกิดขึ้นในทุกๆ วันได้อีกด้วย คอลัมน์ Debut สัปดาห์นี้เราจะพาไปรู้จักกับ ‘Food Matter’ แพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกินจากร้านอาหารที่ทำให้คนเมืองเข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง เหมือนได้เข้าไปเดินเลือกซื้ออาหารป้ายเหลืองในซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยตัวเอง  ธีสิสนี้ออกแบบโดย กรีน-เมธพร ทุกูลพาณิชย์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ CommDe (Communication design) กรีนเป็นผู้เห็นถึงปัญหาของอาหารส่วนเกินที่เหลือทิ้งจากร้านอาหารในแต่ละวัน เธออยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดขยะ และอยากทำให้ผู้บริโภคในเมืองนี้มีทางเลือกในการกินมากขึ้นด้วย จึงทำแอปฯ ฉบับทดลองใช้ 11 วันขึ้นมาเพื่อดูว่าจะช่วยลดขยะอาหารในเมืองนี้ได้มากแค่ไหน ทดลองใช้เว็บไซต์ได้ที่นี่ www.foodmatterth.com  […]

พาดูข้อควรระวัง หลังปลดล็อกกัญชา กิน 1 ครั้ง ควรรู้อะไรบ้าง?

หลังจากปลดล็อก กัญชา กัญชง ให้ประชาชนคนไทยบริโภคและปลูกใช้เองได้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา หลายคนอาจมีโอกาสได้ทดลองใช้กันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีหลายคนที่กล้าๆ กลัวๆ ไม่รู้ว่าฤทธิ์ของกัญชาเป็นแบบไหน ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ หรือแม้กระทั่งถ้าเกิดอาการเมากัญชาจะต้องทำอย่างไร  วันนี้ Urban Creature จึงรวบรวมข้อสงสัยและข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้กัญชา เพื่อช่วยให้คุณปลดล็อกข้อสงสัยไปพร้อมๆ กับการปลดล็อกกัญชาจากทางรัฐบาล กัญชา (Cannabis) เป็นพืชในวงศ์ Cannabaceae ที่มีสายพันธุ์ย่อย 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ซาติวา (Cannabis Sativa) อินดิกา (Cannabis Indica) และรูเดอราลิส (Cannabis Ruderalis) ลำต้นมีความสูง 6 เมตรโดยประมาณ จำนวนแฉกใบ 5 – 8 แฉก ปัจจุบันแม้ประเทศไทยจะปลดล็อกกัญชาให้บริโภคได้แล้ว แต่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น นั่นคือส่วน ‘ใบ’ แต่ ‘ช่อดอก’ และ ‘เมล็ด’ ยังถือเป็นสิ่งเสพติด ใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในการแพทย์ กัญชามีสาร […]

June Activities 10 อีเวนต์น่าไปเดือนมิถุนายน

ช่วงนี้กรุงเทพฯ มีงานอีเวนต์เยอะแบบไม่แคร์หน้าฝนกันเลย มีกิจกรรมดีๆ ให้ชาวกรุงได้วางแพลนเที่ยวกันเต็มไปหมด Urban Creature จึงถือโอกาสมาอัปเดตอีเวนต์น่าไปตลอดเดือนมิถุนายนให้ทุกคนได้ตามไปเที่ยวกัน เราอยากชวนทุกคนตามไป 10 อีเวนต์ที่ซ่อนตัวอยู่ตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ เอาใจตั้งแต่คอกาแฟ สายตะลุยเวิร์กช็อปและสัมมนา สาวกวิลเลียม เช็กสเปียร์ หนอนหนังสือและงานอาร์ต ไปจนถึงสายเลิฟงานนิทรรศการภาพถ่าย ที่ครอบคลุมทั่วเมืองกรุงเทพฯ อีเวนต์ที่เราเลือกมามีทั้งงานที่เริ่มจัดแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ใครเบื่อที่จะต้องนอนเหงาๆ อยู่ที่ห้อง ก็ตามไปอ่านรายละเอียดและปักหมุด เตรียมแต่งตัวออกไปเที่ยวกันได้เลย! 1. ​​The Coffee Calling 2022 by KINTO Thailand คอกาแฟห้ามพลาด! กับงานสนุกๆ จาก KINTO ประเทศไทย ที่อยากให้คนเปิดโลกกาแฟ ผ่านประสาทสัมผัสการชิมกาแฟจากกว่า 25 ร้านกาแฟและโรงคั่ว เพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งถึงรสชาติและเรื่องราวเบื้องหลังกาแฟแต่ละเบลนด์  โดยที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับแก้วชิมจาก KINTO สามารถชิมกาแฟได้ทุกร้านแบบจุกๆ รวมไปถึงพาสปอร์ตที่รวบรวมโปรไฟล์เมล็ดกาแฟแต่ละร้านเอาไว้ แบบที่ถ้าสนใจร้านไหนก็ซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านไปได้อีกด้วย และไม่เพียงแต่กิจกรรมชิมกาแฟเท่านั้น เพราะในงานเตรียมพบกับ ‘KINTO Home Brewer Cup 2022’ […]

1 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.