11 ลาย 11 อัตลักษณ์ เพิ่มมูลค่าท้องถิ่น จากกางเกงช้าง สู่ ‘กางเกงลายประจำจังหวัด’

ในช่วงที่ผ่านมา ‘กางเกงช้าง’ กลายเป็นแฟชั่นยอดนิยมของคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จนทำให้กางเกงช้างในรูปแบบผ้าสกรีนลาย สวมใส่สบาย กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และจากกระแสความนิยมในกางเกงช้างนี่เอง ที่ทำให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดหลายแห่ง เกิดไอเดียโปรโมตการท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าให้จังหวัดของตัวเองผ่าน ‘กางเกงประจำจังหวัด’ ซึ่งเป็นการนำรูปแบบของกางเกงช้างเดิมมาเปลี่ยนลวดลายใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงของดีประจำถิ่นของตัวเองเข้าไป ว่าแต่กางเกงประจำจังหวัดที่น่าสนใจและกำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้จะมีหน้าตาอย่างไร และมีของจังหวัดอะไรบ้าง Urban Creature ขออาสาพาทุกคนไปดู 11 ลายกางเกงประจำจังหวัดกัน กางเกงแมว (โคราช) ‘กางเกงแมว’ เป็นหนึ่งในผลงานจากผู้เข้าประกวดโครงการ KORAT Monogram ที่ต้องการผลักดัน Soft Power ภายในจังหวัด จนออกมาเป็นกางเกงลายโมโนแกรมที่รวมอัตลักษณ์เด่นๆ ของโคราช ทั้งสัตว์ประจำจังหวัดอย่าง ‘แมวสีสวาด’ หรือที่เรียกกันเล่นๆ ในพื้นที่ว่าแมวโคราช เจ้าเหมียวสีเทาเงางามที่ใครเห็นก็ต้องหลงรัก รวมถึงดอกสาธร ปราสาทหิน ผัดหมี่โคราช และประตูชุมพล สอบถามรายละเอียดการสั่งซื้อที่ : แมวโคราช กางเกงปล้าง (PLA.PLA TOO.TOO สมุทรสงคราม) ‘กางเกงปล้าง’ เกิดจากการรวมคำระหว่าง ‘กางเกงลายช้าง’ และ ‘กางเกงลายปลา’ เข้าด้วยกัน เป็นผลงานการออกแบบของ ‘ปาป้า-ทูทู่ สตูดิโอ’ […]

จำลองสถานการณ์แบบไทยๆ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘Gate’ จากเรื่อง Solo Leveling เปิดขึ้นใจกลางกรุงเทพฯ

เอาล่ะ เหล่า ‘ฮันเตอร์’ ผู้ถูกปลุกพลังทั้งหลาย ในช่วงที่ฮันเตอร์จินอูและสมุนเงาในเรื่อง Solo Leveling กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง หลังจากมันฮวาสุดฮิตของ KAKAO WEBTOON กลายเป็นแอนิเมชันฉายทาง Netflix และ TrueID งานนี้ Urban Creature เลยขออิเซไกไปในโลกสุดแฟนตาซี ลองคิด Scenario ขึ้นเล่นๆ ว่า ถ้าอยู่ดีๆ เกิดเหตุประตู ‘เกต’ (Gate) เปิดขึ้นใจกลางเมืองกรุงเทพฯ เชื่อมระหว่างโลกของเรากับ ‘ดันเจี้ยน’ อีกฝั่งที่เต็มไปด้วยเหล่า ‘มอนสเตอร์’ เหมือนในเรื่อง ‘Solo Leveling’ ขึ้นมาจริงๆ จะเป็นยังไงกันนะ Step 1 ปรากฏการณ์ไทยมุง แม้ไม่มีเกาหลีมุงเหมือนในมันฮวา แต่ประเทศไทยเรามี ‘ไทยมุง’ กับเขาแน่นอน อันนี้รับประกัน แถมยิ่งเป็นเกตระดับสูงเท่าไหร่ เชื่อว่าคนจะมามุงเยอะเท่านั้น เพราะสิ่งที่ตามมาคือฮันเตอร์แรงก์สูงสุดเท่น่ะสิ! งานนี้จะได้มีเรื่องไปเมาท์กับเพื่อนต่อยาวๆ Step 2 ทวิตเตอร์ (X) คือแหล่งข่าวชั้นดี ว่าแต่จะไปเมาท์ที่ไหนดี […]

Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map ลายแทงตามหาร้านอร่อยในย่านหัวลำโพง พร้อมเก็บตัวปั๊มคำอวยพรจากคนในย่าน

‘หัวลำโพง’ เป็นอีกหนึ่งย่านน้องใหม่น่าจับตามองประจำงานเทศกาล Bangkok Design Week 2024 จาก ‘เครือข่ายชาวหัวลำโพง’ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ประกอบการ คาเฟ่ โฮสเทล ร้านค้า บ้านศิลปิน นักออกแบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่ โดยมีหมุดหมายที่ต้องการสร้างการจดจำใหม่ให้กับย่านและสร้างสรรค์ให้พื้นที่แห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายสายรถไฟและพนักงานเกือบทั้งหมดไปยังสถานีกลางบางซื่อ ในธีมง่ายๆ อย่าง ‘การเปิดบ้าน’ เพื่อสื่อถึงการเปิดบ้านต้อนรับคนใหม่ๆ และโอกาสใหม่ๆ รวมไปถึงการเปิดประตูบ้านของชุมชนให้มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันด้วย และหนึ่งในกิจกรรมที่เราหยิบยกมาชวนทุกคนไปสำรวจกันคือ ‘Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map’ แผนที่ตามหาความอร่อย ซึ่งเป็นหนึ่งส่วนเล็กๆ แสนสำคัญที่เปิดโอกาสให้เจ้าบ้านย่านหัวลำโพงได้เปิดบ้านต้อนรับกลุ่มคนใหม่ๆ เพื่อทำความรู้จัก รับฟังเรื่องเล่า และกระตุ้นให้ย่านกลับมามีสีสันอีกครั้ง เพราะนอกจากจุดจัดเทศกาลกว่า 10 จุดทั่วทั้งย่านแล้ว ภายในหัวลำโพงยังประกอบไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารรสเลิศจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจีน อาหารอีสาน อาหารฮาลาล ไปจนถึงเครื่องดื่มและของหวาน เปิดให้บริการทั่วทั้งซอยพระยาสิงหเสนีและชุมชนตรอกสลักหิน ยาวไปจรดถนนเจริญเมือง นอกจากตัวแผนที่ที่มาพร้อมกับหมุดร้านอาหาร 15 แห่งในพื้นที่และจุดจัดกิจกรรมในเทศกาลฯ ต่างๆ แล้ว เรายังจะได้รับสติกเกอร์องค์ประกอบย่านหัวลำโพงและกระดาษรูปโคมจีนสำหรับบันทึกคำอวยพรจากร้านค้า ที่ไม่ว่าไปเยือนร้านไหนก็จะมีตราปั๊มคำอวยพรที่แตกต่างกันไป รอให้เราเดินไปปั๊มเก็บเป็นที่ระลึก […]

3 เมืองในไทยครองแชมป์ หมุดหมายที่นักท่องเที่ยวหนาแน่นที่สุดในโลก

ปัจจุบันการที่สถานที่ใดสถานที่หนึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนจำนวนมาก อาจไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป  เพราะถ้าเลือกได้ หลายคนก็คงอยากไปสถานที่สวยๆ ที่มีความเป็นส่วนตัวขึ้นมาหน่อย จะได้ไม่ต้องไปเบียดกับฝูงชนจำนวนมาก และมีมุมถ่ายรูปสุดเอ็กซ์คลูซีฟไว้ลงโซเชียลมีเดียของตัวเอง แม้ว่าในเชิงเศรษฐกิจ การมีจำนวนนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจำนวนมหาศาล อาจเท่ากับว่าพวกเขากำลังนำเม็ดเงินจำนวนมากมาสู่ประเทศเราด้วยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเรามองดูในมิติอื่นๆ การเข้ามาของนักท่องเที่ยวที่มากเกินไปจนล้นเมืองหรือที่เรียกว่า ‘Overtourism’ อาจทำให้จุดหมายปลายทางยอดนิยมเหล่านั้นได้ไม่คุ้มเสีย ไม่เว้นแม้กระทั่ง ‘ประเทศไทย’ ของเราเอง นักท่องเที่ยวมากอาจไม่ใช่เรื่องดี ในอดีตการที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาในประเทศจำนวนมาก อาจเป็นการการันตีว่าประเทศเหล่านั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม อันนำมาซึ่งรายได้ที่เติบโตตาม แต่การที่นักท่องเที่ยวเหล่านั้นมีมากจนเกินกว่าจะควบคุม ก็อาจตามมาซึ่งผลกระทบจำนวนมากได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพสูงขึ้น สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเสื่อมโทรมลง ระบบสาธารณูปโภคเกิดปัญหา เนื่องจากไม่เพียงพอในการรองรับนักท่องเที่ยว จนทำให้ความประทับใจของบรรดานักเดินทางลดลง อีกทั้งการมีอยู่ของนักท่องเที่ยวที่มากเกินไปอาจสร้างความรบกวนให้กับคนท้องถิ่น จนความเป็นอยู่ของพวกเขาต้องเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาเหล่านี้ทำให้รัฐบาลหลายประเทศต้องกุมขมับ จนต้องสร้างมาตรการต่างๆ ที่จะมาควบคุมให้จำนวนนักท่องเที่ยวสมดุลกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เพื่อปกป้องแหล่งท่องเที่ยวไปพร้อมกับดูแลคนท้องถิ่นของตัวเอง อาทิ การปิดอ่าว ‘มาหยา’ ที่หมู่เกาะพีพีของประเทศไทย หลังจากภาพยนตร์ชื่อดัง The Beach จุดกระแสให้ชาวต่างชาติแห่มาเที่ยวจนทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลถูกทำลาย และมาตรการลดจำนวนนักท่องเที่ยวในเวนิส ด้วยการจำกัดจำนวนเรือสำราญที่เข้ามาเทียบท่า และคิดค่าปรับกับนักท่องเที่ยวที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ไปจนถึงการเรียกเก็บภาษีนักท่องเที่ยว (Tourist Tax) ในหลายประเทศรวมถึงไทยเอง นโยบายต่างๆ เกิดขึ้นหลังจากหลายเมืองทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหานักท่องเที่ยวล้นเมือง จนทำให้สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศที่ใครหลายคนเคยอยากไปเยือน กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่คนจำนวนไม่น้อยอยากหลีกเลี่ยงมากที่สุด เมืองที่นักท่องเที่ยวหนาแน่นที่สุดในโลก […]

‘Siradasue’ นักวาดเว็บตูน ที่อยากเห็นคนอ่านรักย่านเมืองเก่ามากขึ้น ถึงขนาดทำทริปเดินตามรอยโลเคชันในเรื่อง

ย้อนกลับไปในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสไปเดินทริปตามรอยการ์ตูนเรื่อง ‘Moonlight Serenade’ ที่นำโดยนักวาดเว็บตูนลายเส้นเป็นเอกลักษณ์อย่าง ‘Siradasue’ หรือ ‘โบว์-ศิรดา สื่อไพศาล’ ซึ่งก่อนหน้านี้เธอเคยฝากฝีไม้ลายมือกับเรื่อง Blooming Days การ์ตูนแนว Slice of Life ที่พูดถึงเรื่องราวความรักและช่องว่างระหว่างวัยของเหล่าตัวละครจนถูกใจใครหลายคน แม้จะเป็นทริปเล็กๆ จบในหนึ่งวัน แต่ก็ถือเป็นประสบการณ์แสนอบอุ่นหัวใจ ที่พาเราเริ่มต้นเดินตามรอยความทรงจำของลิลี่และฟรานซิสในย่านตลาดน้อย-ทรงวาด เพื่อเยือนสถานที่จริงที่ใช้เป็นแรงบันดาลใจในการวาดภาพสถาปัตย์เรื่อง Moonlight Serenade แถมยังได้เรียนรู้เรื่องราวสถาปัตยกรรมของตึกแถว และการค้าขายกับต่างชาติของย่านเมืองเก่าในอดีต และต่อให้ทริปเดินตามรอยจะจบลง แต่ลิลี่ ฟรานซิส และตัวละครอื่นๆ ของโบว์ก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในย่านตลาดน้อย-ทรงวาดภายใต้ลายเส้นการ์ตูนของเธอต่อไป จากความประทับใจในทริปครั้งนี้ Urban Creature ขอถือโอกาสยืมตัวนักวาดคนเก่งมาสนทนากันถึงเรื่องราว แนวคิด และประสบการณ์ในชีวิต ที่ทำให้อดีตกราฟิกดีไซเนอร์หันมาจับปากกาวาดลวดลาย จนกลายเป็นนักวาดการ์ตูนชาวไทยที่ได้มีผลงานตีพิมพ์ลงหน้าหลักของ LINE WEBTOON ที่มียอดวิวรวมมากกว่า 4.4 ล้านวิว และได้เรตติงสูงถึง 9.9 เต็ม 10 ดาว เดบิวต์ในฐานะนักวาด นามปากกา Siradasue ของโบว์เกิดขึ้นง่ายๆ จากการนำชื่อจริงของเธอมารวมเข้ากับพยางค์แรกของนามสกุล อาจไม่ได้มีความหมายลึกซึ้ง […]

ต่อเติมดัดแปลงห้องคอนโดฯ ทำได้เลยหรือต้องขออนุญาตก่อน

ช่วงนี้กระแสการซื้อคอนโดฯ เก่าเพื่อรีโนเวตใหม่ค่อนข้างมาแรงในหมู่คนที่ต้องการมีที่พักเป็นของตัวเอง เนื่องจากสู้ราคาที่สูงขึ้นของคอนโดฯ ใหม่ไม่ไหว แถมหลายๆ แห่งยังได้ตารางเมตรน้อยลงอีกต่างหาก เกิดเป็นข้อสงสัยในกลุ่มชาวคอนโดฯ ถึงกรณีการต่อเติมหรือดัดแปลงห้องคอนโดฯ ในครอบครองว่า เราสามารถทำอะไรกับห้องของเราได้บ้าง ทำเองได้เลยไหม หรือต้องไปขออนุญาตใครก่อน คอลัมน์ Curiocity อาสามาไขข้อข้องใจว่า หากต้องการต่อเติมดัดแปลงห้องคอนโดฯ แบบไหนที่ทำได้บ้าง และในระหว่างทางมีขั้นตอนอะไรที่ต้องดำเนินการขออนุญาต ต่อเติมดัดแปลงได้ ถ้าอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบคอนโดฯ เชื่อว่าหลายคนที่ซื้อคอนโดฯ เป็นของตัวเอง คงมีความคิดอยากตกแต่งปรับเปลี่ยนรูปแบบภายในห้องให้แสดงออกถึงตัวตนของเรามากที่สุด เพราะเป็นสถานที่ที่เราต้องใช้ชีวิตทุกๆ วันนับต่อจากนี้ หากเป็นเพียงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ หมุนโซฟา เปลี่ยนฮวงจุ้ย ก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เนื่องจากสามารถทำได้เองโดยไม่ส่งเสียงดังรบกวนห้องอื่นในบริเวณใกล้เคียง หรือถ้ามีความจำเป็นต้องเจาะผนังหรือทำเสียงดังขึ้นมาหน่อย หลายคนคงรู้อยู่แล้วว่าต้องแจ้งทางนิติฯ และทำในวันและเวลาที่ทางคอนโดฯ กำหนด แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ใหญ่กว่านั้น อันนำมาซึ่งการต่อเติมดัดแปลงที่อาจกระทบต่อตัวโครงสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการทุบผนังกั้นห้อง เพิ่มประตูหน้าต่าง หรือต่อเติมระเบียงให้กลายเป็นห้องด้วยแล้ว เจ้าของห้องอย่างเราๆ อาจต้องตรวจดูดีๆ ว่าการดำเนินการนั้นขัดต่อ ‘พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551’ รวมไปถึง ‘ระเบียบของห้องชุด’ ของคอนโดฯ แต่ละแห่งหรือไม่ เพราะที่พักอาศัยประเภทคอนโดฯ ถือเป็นที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมากมาอยู่รวมกัน การปรับเปลี่ยนต่อเติมในบริเวณห้องพักจึงไม่สามารถทำได้ตามใจ เนื่องจากจำเป็นต้องคำนึงถึงส่วนรวมด้วย […]

สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่

‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว  นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]

กรุงเทพฯ ติดจังหวัดรั้งท้ายที่ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการได้น้อยที่สุด

จากรายงานข้อมูลสถิติสุขภาพจิตของ ‘องค์การอนามัยโลก (WHO)’ พบว่า ทุกๆ 8 คนของประชากรบนโลกนี้จะมี 1 คนที่ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพจิต ขณะเดียวกันกลับมีผู้ป่วยสุขภาพจิตกว่า 71 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้เข้ารับบริการด้านสุขภาพจิต เมื่อหันกลับมามองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรายังพบว่า ประเทศไทยมีความชุกของผู้ป่วยสุขภาพจิตในประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ โรคทางระบบประสาท การใช้สารเสพติด และการทำร้ายร่างกายติด 1 ใน 3 อันดับแรกเสมอ จนทำให้เราต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยมีผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ City by Numbers ขอหยิบข้อมูลสัดส่วนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 จากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) มาให้ดูกัน กรุงเทพฯ รั้งท้าย ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการน้อย จากการรวบรวมข้อมูลของ ‘ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ’ Health Data Center (HDC) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพที่รวบรวมข้อมูลสาธารณสุขของสถานบริการภายใต้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง พบว่าร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 […]

รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์แบบไหนปลอดภัย สังเกตง่ายๆ ดูได้จากท้ายรถ

เวลาขับรถแล้วเจอรถบรรทุกที่มาพร้อมตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ หลายคนคงใจตุ๊มๆ ต่อมๆ คิดจินตนาการกันไปไกลถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเราเป็นฉากๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ความกังวลใจยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้น เพราะที่ผ่านมาเรามักเห็นข่าวการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกที่ตู้คอนเทนเนอร์พลัดหลุดร่วงลงมาทับรถเล็กข้างๆ อยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงการได้รับข่าวสารมาว่าส่วนใหญ่รถบรรทุกเหล่านี้มักไม่มีการล็อกตู้คอนเทนเนอร์ให้ติดกับตัวรถ เพราะเชื่อว่าหากเกิดอุบัติเหตุจะทำให้รถพลิกคว่ำ จากความอันตรายนี้ก่อให้เกิดความสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่แล่นอยู่ข้างหน้าเรานั้นมีการล็อกตู้บรรทุกสินค้าอย่างแน่นหนาหรือไม่ เพื่อความสบายใจของการขับขี่บนท้องถนน คอลัมน์ Curiocity มีทริกการสังเกตรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่ปลอดภัยแบบง่ายๆ ดูได้จากท้ายรถมาฝากกัน กฎหมายการขนส่งทางบก (พยายาม) คุมเข้ม แม้จะมีข่าวตู้คอนเทนเนอร์ร่วงหลุดจากรถบรรทุกอยู่บ่อยครั้ง แต่ความเป็นจริงแล้วใน ‘พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522’ ได้มีการเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า รถบรรทุกที่มีการบรรทุกของนั้นต้องมีอุปกรณ์ตัวล็อกอย่างแน่นหนา และคลุมสิ่งของเหล่านั้นด้วยผ้าที่มีสีทึบ เพื่อไม่ให้ของที่บรรทุกมานั้นตกหล่น ปลิว หรือกระเด็นใส่รถคันอื่นๆ และตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นมา กรมการขนส่งทางบกก็ได้ออกโรงประกาศชัดอีกครั้งว่า รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จดทะเบียนใหม่ทุกคันต้องติดตั้ง ‘Twist-lock’ หรืออุปกรณ์ยึดตรึงตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถบรรทุกทุกคันจำเป็นต้องติดตั้ง Twist-lock ไม่น้อยกว่า 4 จุดต่อ 1 ตู้บรรทุกสินค้า และต้องอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้การกระจายน้ำหนักบรรทุกมีความเหมาะสม รวมถึงติดแผ่นสะท้อนแสงหรือสีสะท้อนแสงสีขาว เหลือง และแดง ในรูปสี่เหลี่ยมขนาดไม่น้อยกว่า 50×50 มม. หรือรูปวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า […]

ฝนตกช่วงเลิกงาน ไม่ใช่พระพิรุณไม่เห็นใจ แต่เพราะความร้อนที่สูงไปของเขตเมือง

พอใกล้ถึงเวลาเลิกงานในช่วงหน้าฝนทีไร ถ้าเป็นไปได้ชาวออฟฟิศหลายคนคงอยากจะเคลียร์งานให้เสร็จก่อนเวลา แล้วรีบเดินทางกลับบ้านก่อนที่ฝนห่าใหญ่จะเทลงมาจนต้องติดแหง็กอยู่ที่ออฟฟิศหรือหาที่หลบฝนระหว่างทางจนเกือบค่อนคืน แต่ในระหว่างที่เราเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้กัน มีใครเคยสังเกตไหมว่า ทำไมฝนมักจะตกลงมาในตอนเย็นและลากยาวไปจนถึงดึกในแต่ละวัน เหมือนหลอกให้เราตายใจในตอนเช้า แล้วเล่นตลกกับเราในตอนเย็นอยู่เสมอๆ เลย แต่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์ฝนตกในช่วงเลิกงานแบบนี้ มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ มารองรับอยู่เหมือนกัน วันนี้คอลัมน์ Curiocity อยากพาทุกคนไขคำตอบไปพร้อมๆ กันว่า ปรากฏการณ์ UHI คืออะไร และเพราะอะไรเกาะความร้อนเมืองที่ว่านี้ถึงทำให้ฝนตกในช่วงเวลาเย็นเหมือนตั้งเวลาเอาไว้ ฝนตกเพราะเมืองร้อน อย่างที่หลายคนทราบดีว่า ฝนที่ตกในทุกๆ วันล้วนเกิดจากกระบวนการที่เราเรียนกันตั้งแต่เด็กอย่าง ‘วัฏจักรของน้ำ’ ที่น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ จะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปในอากาศ จากนั้นจะเกิดการกระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเป็นก้อนเมฆ ก่อนจะตกลงมาเป็นฝน วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งวัฏจักรนี้จะทำให้สถานการณ์ฝนตกในแต่ละพื้นที่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน และจะมีปริมาณฝนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นๆ ที่ก่อให้เกิดอัตราการควบแน่นบริเวณแหล่งน้ำที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางเมืองที่มีลักษณะฝนตกเป็นแพตเทิร์นซ้ำๆ คือตกหนักในช่วงเวลาเลิกงานแบบสั้นบ้างยาวบ้างในแต่ละวัน เหตุการณ์เช่นนี้เป็นผลมาจาก ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ ที่เกิดขึ้นในเขตเมือง จนทำให้พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง เมืองร้อนเพราะสมดุลเปลี่ยน ความร้อนของเมืองที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ UHI […]

เปลี่ยน ‘เรื่องตลก 69’ ให้ไม่ตลกร้าย ด้วยทางเลือกใหม่ที่ ‘ตุ้ม’ ทำได้

ถ้าชีวิตของคุณถูกโชคชะตาเล่นตลก ชนิดที่อยู่ดีๆ ก็ถูกเลิกจ้างงาน แถมจู่ๆ มีกล่องพัสดุปริศนาที่เต็มไปด้วยเงินสดมาวางอยู่หน้าประตูห้องแบบงงๆ คุณจะรับมือกับสถานการณ์แบบนี้อย่างไร หลายๆ สิ่งอาจดูเป็นเรื่องตลก แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นกับเราจริงๆ อาจจะทำเอาเราหัวเราะฮือๆ แทนฮาๆ ไม่แพ้ ‘ตุ้ม’ ในเรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ได้เหมือนกัน ด้วยโอกาสที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ถูกนำมารีเมกให้กลายเป็นซีรีส์ขนาดสั้น 6 ตอนที่กำลังฉายอยู่ใน Netflix โดยผู้กำกับเจ้าเดิมอย่าง ‘เป็นเอก รัตนเรือง’ คอลัมน์ Urban Isekai จึงขอหยิบบางช่วงบางตอนของซีรีส์มาลองคิดในมุมกลับ ปรับมุมมองเล่นๆ ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ วิธีการจัดการควรเป็นอย่างไร ถึงจะไม่เกิดเรื่องตลกร้ายแบบที่ตุ้มต้องเผชิญ ถ้า…การถูกเลิกจ้างไม่แย่เท่าที่ตุ้มคิด ในช่วงโควิดที่ผ่านมา หลายๆ คนอาจถูกเลิกจ้างเพราะพิษเศรษฐกิจไม่ต่างกับตุ้มในเรื่องตลก 69 แต่ถ้าเป็นการจับฉลากหาคนออกโดยไม่สนใจถึงผลการทำงานที่เรานั่งหลังขดหลังแข็งทำกันมาขนาดนี้ แค่คำว่าหัวร้อนคงไม่พอ นี่มันผิดกฎหมายแรงงานชัดๆ! ในกรณีนี้ สิ่งที่ตุ้มควรทำไม่ใช่การเก็บของลาออกอย่างจำยอม แต่ต้องเป็นการแบมือขอรับเงินชดเชยก้อนใหญ่ที่เราควรได้จากการบอกเลิกจ้างทันที เพราะหากตุ้มทำงานอยู่ที่นี่มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน เงินเหล่านี้เป็นเงินที่เธอควรได้รับตามกฎหมาย แถมในกรณีที่นายจ้างไล่ออกทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า 30 – 60 […]

ส่อง 6 สนามกีฬาในเมืองหางโจว ที่ทั้งสวย โดดเด่น และดีต่อสิ่งแวดล้อม สถานที่จัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19

ใกล้เข้ามาแล้วกับการแข่งขันกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอย่าง ‘เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19’ หรือ ‘Hangzhou 2022 Asian Games’ ที่ปีนี้ได้เมืองหางโจว ประเทศจีน เป็นเจ้าภาพอย่างยิ่งใหญ่จนมีประเทศเข้าร่วมกว่า 45 ประเทศ ชิง 482 เหรียญทองใน 40 ประเภทกีฬา โดยระหว่างการจัดการแข่งขันที่เข้มข้น หางโจวยังมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม และพยายามลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ หรือเปลี่ยนพิธีงานแบบเดิมๆ ที่ใช้พลุมาเป็นการแสดงด้วยโดรนบนท้องฟ้าแทน นอกจากนี้ หนึ่งสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือการที่หางโจวเลือกใช้ ‘สนามกีฬา’ หลากหลายรูปแบบ ทั้งที่มีอยู่เดิมและออกแบบใหม่เพื่อส่งเสริมให้การแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังคงสอดแทรกวัฒนธรรมดั้งเดิมของเมืองหางโจวไว้ในสเตเดียมเหล่านี้ได้อย่างลงตัว ก่อนการแข่งขันเอเชียนเกมส์จะเริ่มต้นขึ้น คอลัมน์ Re-Desire ขออาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 6 สนามกีฬาดีไซน์สวย ตอบโจทย์การใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่เหล่านักกีฬานานาประเทศจะใช้เป็นสถานที่แข่งขันในวันที่ 23 กันยายน – 8 ตุลาคมที่จะถึงนี้ China Hangzhou E-sports Centerศูนย์กีฬาอีสปอร์ตที่รวมกีฬาและสวนสีเขียวไว้ด้วยกัน เริ่มกันที่ศูนย์กีฬามาตรฐานแห่งแรกสำหรับการแข่งขัน E-sports อย่าง ‘China Hangzhou […]

1 2 3 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.