‘ยังธน’ กลุ่มคนวัย Young ที่รวมพลังพัฒนาฝั่งธนฯ ด้วยความสนุก ตั้งแต่จัดเตะบอลไปจนถึงสร้างเกมที่ทำให้คนอยากมาตามรอย

การพัฒนาเมือง ฟังแล้วเป็นเรื่องแสนยิ่งใหญ่ การเสกโครงสร้างพื้นฐานสุดอลังการ การขุดลอกคูคลอง เอาสายไฟลงใต้ดิน ปรับระดับพื้นทางเดินให้เรียบเกลี้ยง การวางวิสัยทัศน์เมือง ตั้งเป้าหมายมุ่งไปข้างหน้าอีกหลายสิบปี แต่จะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะพัฒนาเมืองด้วยการจัดงานเตะบอลหรือการสร้างเกมขึ้นมาสักอัน ฟังดูแปลก เหนือความคาดหมาย แต่นี่คือสิ่งที่ ‘ยังธน’ ทำมาแล้วจริงๆ ยังธน เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี บ้างก็เกิดและเติบโตในพื้นที่นี้จนเรียกธนบุรีว่าบ้าน แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน บางคนเป็นสถาปนิก บางคนเป็นอาจารย์ แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม แทนที่การพัฒนาเมืองจะเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง ยังธนแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนธรรมดาก็สามารถรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ และมี ‘ความสนุก’ เป็นสารตั้งต้นของการพัฒนาเมืองได้เหมือนกัน ในตึกแถวสีเทาปูนเปลือยริมถนนอิสรภาพ เราได้เจอกับ ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ สี่สมาชิกกลุ่มยังธนที่รอคอยต้อนรับด้วยความยินดี หลังจัดแจงห้องและเก้าอี้ให้เรียบร้อย เตรียมพร้อมกับการสัมภาษณ์ ทั้งหมดก็นั่งประจำที่ แล้วบอกเล่าถึงความฝันของคนตัวเล็กๆ อย่างพวกเขาที่อยากเห็นเมืองที่ดี การขับเคลื่อนย่านธนบุรีเกือบสิบกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงจุดเริ่มต้นของคำว่า ‘ยังธน’ ที่เริ่มต้นในห้องสี่เหลี่ยมสีเทาที่เรานั่งพูดคุยกันอยู่ห้องนี้ กลุ่ม […]

‘AriAround’ แพลตฟอร์มเพื่อชาวอารีย์ ที่เชื่อว่าการเชื่อมโยงระหว่างกันจะทำให้ย่านและพื้นที่รอบๆ ดีขึ้นได้

เมื่อลองพิมพ์คำค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่า ‘ย่านอารีย์’ ผลลัพธ์บนหน้าจอย่อมปรากฏรีวิวคาเฟ่และร้านอาหารขึ้นเต็มไปหมด จึงไม่น่าแปลกใจที่ย่านนี้จะเป็นจุดหมายเบอร์หนึ่งของเหล่าคนชิกๆ แต่นอกจากจะเป็นย่านคนเก๋แล้ว อารีย์ยังมีความน่าสนใจอีกหลายประการที่คนในย่านเองยังไม่รู้ด้วยเช่นกัน ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ คือชาวอารีย์ที่อยากให้ความน่าสนใจเหล่านั้นในย่านได้รับการค้นพบ และให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ทั้งผู้อยู่อาศัย มาทำงาน หรือมาท่องเที่ยว ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาย่าน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้คนได้เชื่อมโยงกัน โดยเธอได้ร่วมมือกับเพื่อนๆ สร้าง ‘AriAround’ แพลตฟอร์มสื่อกลางสำหรับเชื่อมคนย่านอารีย์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงคนกับชุมชน เป็นสื่อในการให้ข้อมูลของย่านในเชิงลึก ทั้งมิติประวัติศาสตร์ หรือกิจกรรมที่ทำให้คนได้มีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงกับย่านอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงมิติสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่คนในย่านอยากเห็น เพราะคนในย่านมีความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ และคนนอกย่านก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ย่านได้เติบโต คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองจึงอยากชวนทุกคนจับรถไฟฟ้าลงสถานีอารีย์ ตามไปพูดคุยกับ AriAround ถึงการทำงานของแพลตฟอร์มที่ยกให้คนเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างย่านให้น่าอยู่ โดยมี AriAround เป็นตัวกลางในการเชื่อมคนในชุมชนให้เข้าถึงกันและกันได้ง่ายขึ้น เพราะชื่นชอบจึงอยากทำให้ย่านอารีย์ดีกว่าเดิม ปกติแล้วหากจะมีการพัฒนาพื้นที่ใดสักพื้นที่หนึ่ง เรามักคิดว่าคนที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงคงต้องเป็นคนที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เกิด แต่กับ ‘AriAround’ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะความจริงแล้วอรุณีเองไม่ใช่คนในพื้นที่แต่ดั้งเดิม เพียงแต่เธอมีความสนใจในย่านอารีย์ และเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่น่าจะลงมือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ “AriAround มีความเป็นมาจากการที่เราชอบย่านนี้ และเราก็อยากทำอะไรบางอย่างกับย่านนี้” อรุณีบอกกับเรา ส่วนความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงย่านของเธอนั้นเกิดจากการที่ได้เดินทางไปใช้ชีวิตต่างประเทศในระยะหนึ่ง ทำให้ได้เห็นการทำงานร่วมกันของชุมชน และการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จนเธอรู้สึกว่าอยากจะเห็นมูฟเมนต์เหล่านั้นเกิดขึ้นที่ประเทศไทยบ้าง  ประกอบกับงาน Bangkok Design Week […]

‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนที่อยากให้คนเห็นย่านหัวลำโพงในมุมใหม่ๆ ด้วยการ Reconnect คนในและคนนอกเข้าด้วยกัน

ภาพของย่าน ‘หัวลำโพง’ ในความทรงจำของหลายๆ คนอาจหยุดอยู่แค่ที่ ‘สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ ยิ่งเมื่อมีการย้ายเส้นทาง​​การเดินรถไฟบางส่วนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) ภาพจำเกี่ยวกับย่านหัวลำโพงจึงเลือนรางตามไปด้วย แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การเข้ามาของกลุ่ม ‘RTUS-Bangkok ริทัศน์บางกอก’ ทำให้เราเห็นย่านหัวลำโพงในมุมมอง มิติ รวมถึงสถานที่ใหม่ๆ มากขึ้น ผ่านการบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชน พร้อมกับกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และชาวบ้านในชุมชนเอง ตามคอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองไปพูดคุยกับ ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ แก๊งเพื่อนที่ร่วมกันทำกิจกรรมในย่านหัวลำโพงในนามของริทัศน์บางกอกกันว่า หัวลำโพงในมุมมองของพวกเขาและคนในย่านเป็นอย่างไร และในฐานะคนรุ่นใหม่ต่างถิ่นที่เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ พวกเขาทำอย่างไรถึงเชื่อมคนในและคนนอกย่านเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว รวมตัวคนรุ่นใหม่ที่อยากลบภาพจำหัวลำโพงแบบเดิมๆ “ตอนแรกชาวบ้านเขาไม่เข้าใจว่าเรามาทำอะไร ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ แล้วเขาได้อะไร ทำให้มีการปิดกั้นเล็กน้อย แต่ตอนนี้เวลาเราไปลงพื้นที่ เขาจะต้อนรับแบบเอาน้ำไหม จะจัดกิจกรรมอะไรอีกไหม” คำบอกเล่าจากปกรณ์วิศว์ในวันที่ริทัศน์บางกอกทำงานในพื้นที่ชุมชนย่านหัวลำโพงมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ทำให้เราเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงและการโอบรับของผู้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าทั้ง 3 คนจะไม่มีใครเกิดและเติบโตในย่านหัวลำโพงมาก่อนเลยก็ตาม จุดเริ่มต้นของริทัศน์บางกอกไม่ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ในชุมชนเพื่อสื่อสารความเป็นตัวตนสู่สายตาคนภายนอกเหมือนอย่างย่านอื่นๆ แต่เป็นการรวมกลุ่มกันของเด็กวัยรุ่นที่มีความสนใจเรื่องเมืองคล้ายๆ […]

‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ พัฒนาย่านทรงวาดให้กลับมาคึกคัก

หากนึกถึงถนนทรงวาดในอดีต เชื่อว่าทุกคนคงนึกถึงภาพถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้าของเหล่าอากงอาม่ากับบรรยากาศเงียบๆ ที่ผสมผสานความคลาสสิกของสถาปัตยกรรมมากมาย แต่ด้วยมนตร์เสน่ห์ของถนนทรงวาดที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิมและกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองครั้งนี้ จะพามารู้จักกับ ‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนที่ทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง จากการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงขึ้น รวมไปถึงจับมือกันโปรโมตย่านนี้ผ่านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันจนดึงดูดให้คนนอกอยากเข้าไปสัมผัสย่านนี้สักครั้ง รวมตัวผู้ประกอบการและโปรโมตย่าน ‘ทรงวาด’ คือหนึ่งย่านเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางเชื้อชาติอันหลากหลายที่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ แม้ในมุมของคนนอกอย่างเรานั้นอาจจะมีภาพจำว่าย่านนี้เป็นย่านแห่งการค้าขาย แต่ความจริงแล้วทรงวาดยังมีเสน่ห์อื่นๆ ซุกซ่อนอยู่อีกมากมายที่รอให้หลายคนเข้าไปค้นหา ด้วยกลิ่นอายของความเก่าแก่และความน่าสนใจของย่านนี้ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนที่ทั้งเกิด เติบโต หรือตั้งถิ่นฐานในย่านนี้มานานอยากตอบแทนทรงวาดด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่พวกเขารักให้ดีขึ้น ผู้ประกอบการเหล่านั้นรวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ […]

โรงแรมรักษ์โลกใกล้กรุงเทพฯ ‘neera retreat hotel’ ที่อยากให้คนปลีกวิเวกจากความวุ่นวายมาพักกายพักใจริมแม่น้ำท่าจีน

คนทำงานในเมืองมักมีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา บางทีความเหนื่อยล้าจากการทำงานก็ทำให้คนอยากหาเวลาอยู่กับตัวเอง และเริ่มมองหาที่พักผ่อนบรรยากาศดีๆ ที่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก โรงแรมรีทรีต ‘neera retreat hotel’ ดูจะตอบโจทย์คนทำงานที่กำลังหาเวลามาพักผ่อนเงียบๆ คนเดียว เพราะดีไซน์ของโรงแรมแห่งนี้ได้รับการออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน จากบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่สีเขียวสุดร่มรื่น มองเห็นกระแสน้ำของแม่น้ำท่าจีน มีสายลมเย็นๆ พัดผ่าน ชวนคนให้หยุดตัวเองจากความเร่งรีบและหันหน้าเข้าหาธรรมชาติมากขึ้น และนอกจากจะเป็นโรงแรมที่ชวนพักผ่อนแล้ว ที่นี่ยังเป็นโรงแรมรักษ์โลกที่สร้างประโยชน์ให้สิ่งแวดล้อมด้วย คอลัมน์ Urban Guide ขอพาไปทำความรู้จักกับ neera retreat hotel พร้อมพูดคุยกับเหล่าผู้ก่อตั้ง ‘ซอย-วริวรรณ์ วิทยฐานกรณ์’, ‘ซาน-วิชฌ์ วิทยฐานกรณ์’ และ ‘ซาว-ศิษฎ์ศิริ วิทยฐานกรณ์’ สามพี่น้องครอบครัว ‘วิทยฐานกรณ์’ ถึงแนวคิดการสร้างโรงแรมรีทรีตสีเขียว ที่จะทำให้ผู้มาเยือนรักษ์โลกและเข้าใจตัวเองมากขึ้น แนวคิดที่อยากริเริ่มโรงแรมรักษ์โลก ด้วยความที่โรงแรมตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐมที่อยู่ติดกับเมืองกรุงเทพฯ ใช้เวลาขับรถเพียงชั่วโมงนิดๆ ก็ถึงที่หมาย ทำให้ที่นี่เหมาะกับการเป็นพื้นที่พักใจในวันหยุดสุดสัปดาห์ของคนเมืองที่มีเวลาพักน้อยนิดและไม่อยากเดินทางไกล และเมื่อเดินเข้ามาเรื่อยๆ ในโรงแรม พบกับจุดนำสายตาที่มองเห็นวิวแม่น้ำท่าจีนและธรรมชาติที่อยู่รอบๆ โรงแรม ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายราวกับได้ถอดปลั๊กออกจากความวุ่นวาย ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้เพราะความตั้งใจของสามผู้ก่อตั้งที่อยากให้ผู้เข้าพักทุกคนได้รับสิ่งนี้เป็นสิ่งแรกจากที่นี่ เพราะพวกเขา ได้แก่ ซอย พี่สาวคนโตที่มีประสบการณ์ด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี และการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซาน พี่ชายคนกลาง […]

Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระที่รวบรวมซีนจากทั่วโลก และอยากเป็นพื้นที่ทดลองให้นักทำซีน

ตามประสาคนที่ชอบบันทึกความรู้สึกตัวเองลงไดอารี ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่บันทึกของเรามีวันที่ยิ้มแฉ่งและหน้าบูดบึ้งผสมกันไป แต่จำได้ว่าวันที่เราไปเยือน Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระเล็กๆ ของ วิว-วิมลพร รัชตกนก และ ภูภู่-วิศรุต วิสิทธิ์ นั้นเป็นวันที่เราเขียนหน้ายิ้มลงบนกระดาษ อากาศดีนั่นก็หนึ่งเหตุผล เพราะตอนที่ก้าวเข้าร้านฝนกำลังหยุดตก อุณหภูมิเย็นได้ที่ แถมในร้านยังมีกระจกที่มองออกไปเห็นสีเขียวของต้นไม้ด้านนอกที่กำลังเอนไหวไปตามแรงลม อีกหนึ่งเหตุผลคือการได้นั่งคุยกับวิว ผู้เปิดโลกแห่งสิ่งพิมพ์อิสระให้เราเห็นว่า ซีนนั้นสนุก สดใหม่ และเป็นอะไรมากกว่าที่เราเคยคุ้น แน่นอนว่าถ้าหากเอ่ยถามคนในวงการซีนเมืองไทย วิวและ Spacebar Design Studio น่าจะเป็นชื่อที่ใครหลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่การได้มาที่ Spacebar ZINE แห่งใหม่นี้เป็นเหมือนการก้าวเข้ามาสู่บ้านของวิวและภูภู่ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่พวกเขาหลงใหล ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์คัดสรรจากหลายประเทศทั่วโลก ไปจนถึงการเป็นพื้นที่ให้นักทำซีนหน้าใหม่เข้ามาทดลองทำซีนของตัวเองในหนึ่งวัน ตลอดบทสนทนา เรายังเห็นพลังของคนทำสิ่งพิมพ์ในแววตาของวิวเต็มเปี่ยม สิ่งนี้ยืนยันประโยคหนึ่งที่เราได้ยินคนพูดกันมากมาย Print is not dead, but boring print will. หญิงสาวที่โตมากับซีน “เราเป็นคนชอบงานเขียน งานวาด และงานภาพถ่ายอยู่แล้ว บังเอิญว่าเราเติบโตมากับสำนักพิมพ์ a book เคยทำงานในเครือ daypoets […]

ตามรอยการเดินทางกว่าจะเป็น ‘ปาป้า-ทูทู่’ มาสคอตหน้างอคอหักที่พาทุกคนไปตกหลุมรักแม่กลอง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในอวกาศอันเวิ้งว้าง มียานอวกาศจากดาว ‘แมกแมกเคอเคอเรลเรล’ อันไกลโพ้นลอยตุ๊บป่องมุ่งหน้าสู่โลกมนุษย์ เพื่อสำรวจทรัพยากรบนดาวเคราะห์อันอุดมสมบูรณ์ บนยานอวกาศคือสิ่งมีชีวิตหน้างอ คอหัก ที่เพ่งดูแผนที่โลกอย่างตั้งใจ เจ้าเอเลียนไล่สายตาอย่างช้าๆ บนแผนที่โลกเพื่อหาจุดหมายในการสำรวจ ทันใดนั้นมันก็สะดุดเข้ากับจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเล็กๆ ติดอ่าวไทยในภาคกลางของไทยที่มีรูปร่างเขตแดนเล็กปุ๊กปิ๊ก ขาเล็ก หัวใหญ่ หน้าตาเหมือนพ่อตัวเองไม่มีผิด หัวใจเต้นรัว ดวงตาเบิกโพลง เจ้าเอเลียนรู้ตัวทันทีว่า นี่แหละ คือจุดหมายในการสำรวจของมัน ไม่รอช้าให้เสียเวลา เอเลียนหน้างอผละสายตาออกจากแผนที่ หันขวับไปจับจ้องที่กระจกหน้ายาน สองมือกำพวงมาลัยแน่น เหยียบคันเร่ง นำยานอวกาศพุ่งตรงลงมาที่จังหวัดสมุทรสาคร นี่คือเรื่องราวของ ‘ปาป้า-ทูทู่’ ตัวละครน่ารักน่าหยิกที่ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ และ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยหวังว่าสักวันมันจะกลายเป็นมาสคอตของจังหวัด สร้างสีสันให้เมือง เหมือนอย่างจังหวัดคุมาโมโตะในญี่ปุ่น ที่มีหมีคุมะมงอันโด่งดังเป็นมาสคอตประจำตัว ถึงจะหน้าตาเหมือนปลาทูไม่มีผิด แต่ทั้งคู่บอกว่า ที่จริงแล้วปาป้า-ทูทู่คือการรวมตัวกันของเอเลียนหน้าตาเหมือนปลาทูแม่กลองชื่อ ‘ปาป้า’ และหุ่นยนต์สีเหลืองตัวเล็กเหมือนกลองบนหัวชื่อ ‘ทูทู่’ ภารกิจของปาป้า-ทูทู่คือการซอกแซกสำรวจจังหวัดสมุทรสงคราม และแบ่งปันของดีของเด็ดในจังหวัดมาให้ทุกคนได้ชื่นชมกัน ซึ่งเรื่องราวการเดินทางของปาป้า-ทูทู่ก็ถูกบันทึกลงในเพจ ‘Plaplatootoo’ ที่ทั้งสองคนช่วยปลุกปั้นกันขึ้นมา ในวันนี้ ปาป้า-ทูทู่เป็นชื่อที่รู้จักกันดีของคนแม่กลองรวมถึงคนไทยจำนวนไม่น้อย แถมเคยนั่งแท่นเป็นมาสคอตประจำ […]

‘ตรอกสลักหิน’ ย่านชาวจีนหลังหัวลำโพงที่ขับเคลื่อนชุมชนด้วยวัฒนธรรมและศิลปะ

ระยะนี้ชื่อของ ‘ชุมชนตรอกสลักหิน’ ในโซเชียลมีเดียน่าจะผ่านตาของใครหลายคน เมื่อสปอตไลต์ฉายไปยังชุมชนกลางเมืองที่บางคนอาจยังไม่รู้จัก จนเป็นเหมือนแม่เหล็กดูดคนจากต่างถิ่นให้ปักหมุดมายังตรอกเล็กๆ หลังสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แห่งนี้ ถัดจากด่านเก็บเงินทางพิเศษศรีรัช ขนาบข้างด้วยทางรถไฟ เดินไปตามถนนรองเมือง ไม่ทันไรก็มาถึงใต้ชายคาบ้านไม้สองชั้นที่แปรเปลี่ยนหน้าที่เป็นมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สถานที่พักใจของเด็กๆ ในวันหยุดด้านหลังวัดดวงแข วันนี้เป็นวันธรรมดา มูลนิธิไร้เงาเด็กน้อยเพราะไปเรียนหนังสือ เสียงจอแจเงียบหายไปเหมือนเสียงหวีดรถไฟที่ซาลงไปไม่กี่ปีมานี้ แต่จุดประสงค์ของเราไม่ใช่เยาวชนชาวตรอกสลักหิน ทว่าเป็นเบื้องหลังของกลุ่มเด็ก เพื่อฟังเรื่องราวจากปากชาวชุมชนที่ผลักดันให้เกิดทริปนี้ขึ้นมา แหล่งอโคจรยุคอันธพาลครองเมือง “ผมเห็นตั้งแต่ชุมชนไม่มีอะไร จนมูลนิธิฯ เข้ามาพัฒนา เอาศิลปะมาลง” ‘ปีโป้-เศรษฐศักดิ์ จตุปัญญาโชติกุล’ เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เริ่มต้นเล่าถึงตรอกสลักหินที่เขารู้จัก “เมื่อก่อนใครจะเข้าชุมชนก็โดนตี ในช่วงอันธพาลครองเมือง ยาเสพติด การพนัน ค้าประเวณี” ในช่วงปี 2499 ยุคอันธพาลครองเมือง บริเวณตรอกสลักหินและพื้นที่รอบๆ มีกลุ่มเจ้าถิ่นดูแลอยู่ตลอด เป็นพื้นที่อโคจรที่เต็มไปด้วยสิ่งผิดกฎหมาย ชื่อของตรอกเป็นที่รู้จักของคนวัยเก๋าในฐานะบ้านเกิดของ แดง ไบเลย์ หนึ่งในอันธพาลตัวเอ้ของพระนคร ย้อนไปในอดีต ด้วยระยะทางที่ใกล้กับขนส่งมวลชนสำคัญในขณะนั้น ทำให้ผู้คนจากหลากที่มาต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ในตรอกสลักหินเพื่อพักผ่อน เช้าก็ออกไปประกอบอาชีพรองรับผู้เดินทาง เช่น แม่ค้าส้มตำที่หาบจากในตรอกไปนั่งรอลูกค้าด้านหน้าสถานีหัวลำโพง จนเป็นเหมือนสัญลักษณ์ในวันวานที่หลายคนคุ้นตา “บางคนก็อาศัยอยู่ในนี้ บางคนก็อาศัยในชุมชนวัดดวงแข มีห้องเช่าทั้งรายวัน รายเดือน […]

สำรวจความวายป่วงของสัตว์ป่า ที่เข้ามาทำซ่าในเมืองมนุษย์

ในปี 1659 ตัวแทนจาก 5 เมืองตอนเหนือของอิตาลีรวมตัวกันพิจารณาคดีโดยมีจำเลยเป็น ‘หนอนผีเสื้อ’ ที่ถูกชาวบ้านร้องทุกข์ว่า หนอนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่และลักทรัพย์จากสวนผลไม้ โดยมีการออกหมายให้หนอนผีเสื้อมารายงานตัวกับศาล แน่นอนว่าไม่มีหนอนตัวไหนมาตามนัด แต่คดีก็ยังดำเนินการต่อไป และศาลตัดสินยอมรับสิทธิ์ให้หนอนผีเสื้อใช้ชีวิตอย่างอิสรเสรีและมีความสุข โดยจะต้อง ‘ไม่เบียดเบียนความสุขของมนุษย์’ นี่คือหนึ่งตัวอย่างของคดีจากคำนำหนังสือ ‘ป่วนปุย เมื่อธรรมชาติทำผิดกฎมนุษย์’ ผลงานจาก ‘แมรี โรช’ นักเขียนขายดีของ The New York Times ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวความซับซ้อนในปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ จากกระบวนการยุติธรรมที่แปลกประหลาด กับการใช้กฎหมายของมนุษย์ตัดสินการกระทำของเหล่าสัตว์ที่ไม่มีทางเข้าใจเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือศีลธรรมอันดี ไปจนถึงคดีลักทรัพย์ ก่อกวน หรือการฆาตกรรม ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกจากสิ่งมีชีวิตผู้ไร้เดียงสา หากจะลดความอุกฉกรรจ์ลงมาหน่อย ก็คงเป็นปัญหาที่พบเจอได้ทั่วไปอย่างปัญหาสัตว์ที่ไม่ยอมข้ามถนนบนทางม้าลาย นกนางนวลที่ทำลายทรัพย์สินสาธารณะอย่างไม่มีเหตุผล สัตว์ฟันแทะที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าลิงที่ฉลาดในการกลั่นแกล้งมนุษย์ เมื่อเหตุร้ายเกิดจากสัตว์ป่าแสนน่ากลัว มนุษย์บางคนก็ลุกขึ้นจับอาวุธทำร้ายสัตว์เหล่านั้น โดยไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันใช่ผู้ร้ายตัวจริงหรือไม่ แมรีจึงพาเราเข้าสู่กระบวนการสืบสวนด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการตามหาสัตว์ร้ายผู้กระทำความผิด และทวงคืนความยุติธรรมให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ แกะรอยสืบสาวหาสัตว์ร้ายและทวงคืนความยุติธรรม พบศพชายคนหนึ่งนอนตายอยู่ริมถนน สภาพศพเละเทะ เสื้อผ้าฉีกขาด คาดว่าเกิดจากการถูกสัตว์ป่าโจมตี คดีทำนองนี้มักเกิดขึ้นในตอนเหนือของประเทศแคนาดาและอเมริกาที่คุณพบสัตว์ป่าได้เป็นเรื่องปกติ แต่สัตว์ร้ายตัวไหนกันที่ก่อเหตุอุกฉกรรจ์ขึ้นกลางเมืองแบบนี้ ก่อนจะมาเขียนหนังสือเล่มนี้ แมรีเข้าอบรมหลักสูตร ‘WHART หรือ […]

หลังกล้องของ ‘วิฬารปรัมปรา’ เพจหนังสั้นสยองขวัญที่ตั้งต้นจากแมว ความฝัน และความกลัวร่วมกันของคนในสังคม

[คำเตือน : ภาพประกอบในบทความมีความน่ากลัวและอาจสร้างความตกใจให้ผู้อ่าน] หากคุณเป็นทั้งทาสแมวและคนรักหนังสยองขวัญเป็นชีวิตจิตใจ วิฬารปรัมปรา คือเพจที่เหมาะสมกับคุณด้วยประการทั้งปวง เพราะเพจนี้เน้นทำหนังสั้นที่ส่วนใหญ่มีเจ้าแมว ‘วิฬาร’ เป็นตัวดำเนินเรื่อง พาไปสำรวจเรื่องลี้ลับที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวันของคนในสังคม และถึงแม้จะเป็นคลิปสั้นๆ ไม่กี่นาทีแต่ดูแล้วหลอนได้ใจ หลายคลิปของวิฬารปรัมปรากลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน อาจเพราะสะท้อนความกลัวที่หลายคนมีร่วมกัน ซึ่งความกลัวที่ว่านั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผีหรือสิ่งมีชีวิตประหลาด แต่เป็นความกลัวที่ถูกตีความในมิติที่มากกว่านั้น ไม่ว่าจะกลัวความจนและกลัวการสูญเสียคนรัก ในบ่ายที่เงียบเชียบวันนี้ เราชวน อี่-วรันย์ ศิริประชัย และ บอล-ประพนธ์ ตติยวรกุลวงษ์ มาบอกเล่าเรื่องราวหลังกล้องของหนังสั้นสยองขวัญของพวกเขา คุยกันตั้งแต่ไอเดียตั้งไข่กว่าจะเป็นหนังสักเรื่อง ไปจนถึงกระบวนการคิดมุกหลอกผีที่กลายเป็นไวรัล ฝัน, ผู้กำกับ แม้จะทำงานในแวดวงโฆษณามาหลายปี แต่จริงๆ ความฝันของวรันย์คือการเป็นผู้กำกับ “ตอนเด็กๆ เราชอบดูหนังจากวิดีโอ ชอบเข้าร้านเช่าหนัง ชอบดูหนังมากจนเก็บเอาไปฝันว่าเป็นผู้กำกับ ขึ้นเวทีได้รับรางวัลใหญ่” หญิงสาวนึกย้อนถึงอดีต แววตาเป็นประกาย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ทำตามความฝัน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในครอบครัวฐานะไม่ค่อยดีอย่างวรันย์ เธอเปรียบวัยเด็กของตัวเองว่าไม่ต่างจากหนังสั้นเรื่อง ‘หนีหนี้’ ที่เธอทำ เล่าเรื่องครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่พ่อแม่โดนเจ้าหนี้ไล่ตามอย่างน่ากลัว สิ่งที่แตกต่างกันคือชีวิตเธอไม่จบด้วยโศกนาฏกรรมแบบในหนัง วรันย์ไม่ได้ตายแบบลูกสาวในเรื่อง แต่เธอเติบโตมาพร้อมกับเส้นทางชีวิตที่ต้องหนีหนี้นอกระบบ เห็นพ่อแม่ทำงานหนักเพื่อใช้หนี้ และทำให้เธอจำเป็นต้องหันไปเรียนคณะบริหารธุรกิจที่มองว่าหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ และเก็บความฝันของการเป็นผู้กำกับลงในซอกหลืบลึกสุดในใจ วรันย์บอกว่า ของเล่นชิ้นเดียวที่ติดตัวเสมอไม่ว่าจะย้ายที่อยู่ไปไหนคือกล้องถ่ายหนังพลาสติกที่แม่ซื้อให้เป็นของขวัญ ระหว่างเรียนจนถึงจบการศึกษา […]

‘อุตสาหกรรมดนตรีจะดีขึ้นกว่านี้ได้ ขนส่งมวลชนต้องดีก่อน’ คุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและคนดนตรีกับ ‘บอล Scrubb’ 

เราไม่ได้มองศิลปินและนักดนตรีต่างออกไปจากคนเมืองธรรมดาๆ อย่างตัวเองนัก เราคือคนทำงาน พวกเขาก็คือคนทำงาน ความเป็นไปของเมืองที่เราอยู่อาศัยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา กับศิลปินและนักดนตรีที่อยู่ในเมืองเดียวกันนี้ก็คงไม่ต่างกัน จากประสบการณ์ส่วนตัว เราจะสนใจอ่าน ฟัง หรือถกเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมือง ผ่านบทสนทนากับคนในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเมืองเสียมากกว่า และหลังจากได้ยินความตั้งใจของคนหลายๆ กลุ่มก้อนที่อยากผลักดันให้เมืองกรุงเทพฯ เป็น Music City หรือสนับสนุนให้ T-POP เป็นซอฟต์พาวเวอร์ เป็นหน้าเป็นตาของเมืองหรือประเทศ คำถามที่ปรากฏขึ้นในหัวเราในเวลาต่อมาคือ แล้วเมืองได้สนับสนุนอะไรกลับไปที่ศิลปินที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่หรือเปล่า กุมความสงสัยไว้กับตัวเองได้ไม่นาน เพราะวันนี้มีโอกาสได้เจอกับ ‘บอล Scrubb’ หรือ ‘ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ ศิลปินและผู้บริหารค่ายเพลงอย่าง ‘What The Duck’ และ ‘MILK! Artist Service Platform’ ที่ดูแลและสนับสนุนว่าที่ศิลปินหน้าใหม่ ซึ่งวันนี้ได้ขยับตัวเองมาเป็นค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง ‘MILK! BKK Music Label’ แล้วเรียบร้อย ชวนเจ้าตัวคุยแบบลึกๆ ไปเลยว่า ในเลนส์ของคนฟังเพลงและคนที่ทำงานกับอุตสาหกรรมดนตรีมายาวนาน (แถมทำมาแล้วหลายบทบาท) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับเมืองจะมีเรื่องที่อยากชมหรือเรื่องที่ขอบ่นแตกต่างไปจากเราอย่างไร ในฐานะศิลปินและคนทำค่ายเพลง นิยามคำว่า ‘เมือง’ ของคุณเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นเรื่องของความสะดวกสบายในการเข้าถึงศิลปะและดนตรี […]

Hard Light แรงงานกลางแดดจ้า

เดือนเมษายน-พฤษภาคม นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศร้อนที่สุด หลายๆ คนคงเบื่อหน่ายและเกลียดฤดูกาลนี้จนไม่อยากออกไปไหน ทว่าในสังคมเมืองที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการใช้ชีวิตมาอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานท่ามกลางแสงของดวงอาทิตย์ได้ และถึงแม้ร่างกายจะถูกแผดเผาจากแสงแดด แต่ก็ไม่อาจที่จะแผดเผาความหวังและความฝันของชีวิตได้ เนื่องในวันแรงงานที่เวียนมาบรรจบอีกครั้ง ผมในฐานะแรงงานคนหนึ่งเฝ้าฝันอยากเห็นภาพที่ทุกคนมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

1 2 3 4 5 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.