Rock Paper Scissors ช็อปของเนิร์ดแมกกาซีนที่ขายนิตยสาร กาแฟ และไอเทมที่ช่วยให้การอ่านรื่นรมย์

ในยุคที่ใครๆ ต่างบอกว่านิตยสารตาย (ไปนาน) แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าเราจะได้เห็นร้านนิตยสารอิสระร้านใหม่ที่ทำให้เรากลับมาใจเต้นกับสื่อสิ่งพิมพ์ได้อีกครั้ง Rock Paper Scissors Store คือร้านที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ ‘ย้วย-นภษร ศรีวิลาศ’ และ ‘เฟิม-เฟื่องฟู จิรัฐิติวณิชย์’ คู่รักผู้เป็นเนิร์ดแมกกาซีนอินดี้ที่เชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังไม่ตาย (ที่ตายน่ะคือสื่อสิ่งพิมพ์ที่น่าเบื่อเท่านั้นแหละ) เลยเสาะหาซีนน่าสนใจจากหลายประเทศทั่วโลกที่คนทำก็เนิร์ดเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ต่างจากพวกเขา ทว่าสิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ แต่ละเล่มถูกชูด้วยคอนเซปต์ที่เราฟังแล้วต้องถามว่า ‘แบบนี้ก็มีด้วยเหรอ ทำได้ด้วยเหรอ ต้องรู้ด้วยเหรอ’ เช่น นิตยสารบ้านที่เชื่อว่า Interior ที่ดีที่สุดของบ้านคือชีวิตของผู้อยู่อาศัย หรือนิตยสารจากโคเปนเฮเกนที่หน้าตาเหมือนหนังสือแฟชั่น แต่จริงๆ แล้วเล่าเรื่องธุรกิจได้อย่างเข้มข้น สนุกสนาน ด้วยกระบวนท่าใหม่ นอกจากซีนเจ๋งๆ ในร้านของย้วยกับเฟิมยังเต็มไปด้วยสารพัดสิ่งที่ช่วยยกระดับประสบการณ์การอ่านให้รื่นรมย์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกาแฟดริปฝีมือเฟิม คาเนเลหอมอร่อย หรือไอเทมต่างๆ ที่คนไม่ซื้อนิตยสารก็ช้อปได้อย่างสะดวก อย่างแว่นกันแดดที่พกไปอ่านหนังสือในที่เอาต์ดอร์ โคมไฟแสงอุ่นสุดชิก หรือแก้วกาแฟที่นำของเหลือจากกากกาแฟมาทำน้ำเคลือบให้ได้เทกซ์เจอร์การดื่มที่พิเศษขึ้น ช็อปที่ชูคอนเซปต์ Magazine/Things/Coffee ของทั้งคู่เกิดขึ้นได้ยังไง คอลัมน์ Urban Guide ตอนนี้อาสาพาทุกคนลัดเลาะซอยสุขุมวิท 39 ไปหาพวกเขาที่ร้านกัน Zine Lover แค่ช่วงเริ่มบทสนทนาเราก็เซอร์ไพรส์แล้ว เพราะย้วยบอกว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเป็นเนิร์ดแมกกาซีนทุกวันนี้ไม่ใช่แมกกาซีนเล่มไหน แต่เป็นแฮร์รี่ […]

Healthy Space Forum ทีมนักออกแบบที่อยากดีไซน์พื้นที่เมืองให้คนแข็งแรง และย่านคึกคัก

เราได้ยินชื่อ Healthy Space Forum หรือศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง ครั้งแรกจากพอดแคสต์ Unlock the City ที่ ‘รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา’ ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังภาคและเมืองเป็นโฮสต์เจ้าประจำ ด้วยความเข้าใจว่า Healthy Space Forum คือหน่วยงานที่ต่อยอดมาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจารย์พนิตเป็นหนึ่งในผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนมีสนามฝึกปรือฝีมือ นำความรู้ที่ใช้มาออกแบบงานเพื่อใช้งานจริงๆ ไม่ผิดไปจากความเข้าใจเท่าไหร่ สิ่งที่เซอร์ไพรส์คือ เมื่อเราได้นั่งคุยกับอาจารย์พนิตและทีมนักออกแบบของ Healthy Space Forum ความเข้าใจว่าพวกเขาออกแบบพื้นที่ออกกำลังกายเพื่อความ ‘เฮลตี้’ ของคนเมือง จริงๆ ถูกผลักเพดานไปไกลกว่านั้น  สิ่งที่พวกเขาทำนับตั้งแต่ Day 1 ในปี 2554 ไม่เพียงแต่ออกแบบพื้นที่ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด แต่ยังหมายรวมถึงการตีความพื้นที่ในแบบใหม่ๆ ไปจนถึงการบริหารจัดการชุมชนให้คึกคักขึ้นมา  บรรทัดต่อจากนี้คือเรื่องราวการเดินทางตลอด 12 ปีของ Healthy Space Forum และความเชื่อเบื้องหลังการออกแบบของพวกเขาที่ล้วนเป็นไปได้ภายใต้หนึ่งเป้าประสงค์ นั่นคือการผลักดันให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี พื้นที่ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อบริหารร่างกายเท่านั้น 12 ปีก่อน Healthy Space […]

‘นินจา 4MIX’ การเป็นตัวเองในวงการบันเทิง ที่อยากให้มองคนที่ความสามารถ

“ทุกคนพิสูจน์ตัวเองได้ แต่ต้องไม่ใช่เรื่องเพศ เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ทุกคนก็เป็นคนเหมือนกัน ไม่อยากให้น้อยใจว่าฉันเกิดมาเป็นแบบนี้มันติดลบ” ในวันที่ T-POP กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ในฐานะ T-POP Stan คนหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวง ‘4MIX’ ถือเป็นไอดอลวงแรกๆ ของยุคนี้ที่เป็นคนจุดประกายความหวังของเราขึ้นอีกครั้ง ทั้งยังดังไกลติดตลาดจนมีแฟนคลับจำนวนมากจากฝั่งลาตินอเมริกา ความน่าสนใจของ 4MIX ไม่ใช่แค่วงไอดอลมากความสามารถที่มีเพลงติดหูคนไทยตั้งแต่เพลงแรกที่เดบิวต์สเตจและครองใจใครต่อใครด้วยความเป็นตัวเอง แต่หนึ่งในสมาชิกอย่าง ‘นินจา-จารุกิตต์ คําหงษา’ ก็ยังเป็นคนในคอมมูนิตี้ LGBTQ+ ที่พยายามผลักดันเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมมาโดยตลอด ก่อนส่งท้าย Pride Month เราได้นัดหมายพูดคุยกับ ‘นินจา 4MIX’ ถึงตัวตนของศิลปินคนนี้ ผ่านเรื่องเล่าชีวิตวัยเด็ก เส้นทางศิลปินในปัจจุบัน รวมไปถึงการค้นหาความหวังในอนาคตผ่านบทสัมภาษณ์คอลัมน์ Think Thought Thought ก่อนจะมาเป็นนินจาในวันนี้ ชีวิตวัยเด็กของคุณเป็นอย่างไร นินเป็นเด็กบ้านนอกมาก แบบที่ไม่ใช่แค่อยู่ต่างจังหวัดแต่มันคือต่างอำเภอและอยู่นอกตัวอำเภอออกไปอีก แต่ดีหน่อยที่มีคุณแม่เป็นคุณครู เลยค่อนข้างมีโอกาสมากกว่าหลายๆ คนในหมู่บ้าน เพราะเวลามีงานต่างๆ ในโรงเรียน แม่ที่เป็นครูจะเอาลูกตัวเองไปเต้นไปรำ จากสิ่งนี้ทำให้เราซึมซับมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นเด็กที่ขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมล้วนๆ อย่างตอนที่เราสอบติดโรงเรียนประจำอำเภอ 2 โรงเรียนพร้อมกัน โรงเรียนหนึ่งเป็นเลิศด้านวิชาการกับอีกโรงเรียนที่เน้นกิจกรรม […]

‘ศิลปะบนฝาท่อ’ คืนพื้นที่ทางเดินเท้าด้วยฝีมือคนในชุมชนและนักออกแบบกลุ่มเมืองยิ้ม

การนำศิลปะเข้าไปรวมอยู่กับสิ่งเล็กๆ ที่หลายคนมองข้าม อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของเมืองให้มากขึ้น ยกตัวอย่าง ‘ศิลปะบนฝาท่อ’ ของประเทศญี่ปุ่น ที่หยิบเอาสถานที่หรือสัญลักษณ์ในประเทศมาออกแบบและสื่อถึงเอกลักษณ์สำคัญๆ บนฝาท่อ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของย่านหรือเมือง จนเป็นเหมือนแบรนด์ดิงของพื้นที่นั้นๆ ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับการเดินเท้า มองหาศิลปะตามเส้นทาง และใช้เวลาเอนจอยกับระหว่างทางมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เองก็เคยมีศิลปะบนฝาท่อในย่านคลองโอ่งอ่างมาก่อนหน้านี้ และในตอนนี้มีอีกหนึ่งพื้นที่อย่างบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ที่เราอาจนึกไม่ถึงว่านอกจากตลาดโบ๊เบ๊ที่เป็นสถานที่ใกล้เคียงแถวนั้นแล้ว จะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างฝาท่อสีสันสดใสวางเรียงรายตามทางเท้าด้วย คอลัมน์ Art Attack ขออาสาพาทุกคนไปเดินชมฝาท่อที่ถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะจากจินตนาการและการใช้ชีวิตของเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านความร่วมมือระหว่าง ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ และกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น และคืนพื้นที่ทางเท้าให้กับผู้คนในย่านได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกันมากกว่าเดิม กลุ่มนักออกแบบที่อยากมอบรอยยิ้มให้ผู้คน ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ เกิดจากการรวมตัวกันของสามสมาชิกที่ทำงานด้านการออกแบบหลากหลายแขนง ได้แก่ ‘ดิว-วรรธนะ ทรงเพ็ชร์มงคล’ นักวิจัยผังเมืองและนักออกแบบ, ‘ธาม ศรีเพริศ’ นักออกแบบภายใน และ ‘ลอนทราย กังขาว’ สถาปนิก ทั้งสามสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมาด้วยกัน แต่ด้วยความที่เรียนคนละสาขา ทำให้ตลอดระยะเวลาการเรียนพวกเขายังไม่เคยมีโอกาสร่วมงานกันมาก่อน หรือกระทั่งเข้าสู่ช่วงทำงานแล้วทั้งหมดก็ยังไม่เคยลงมือทำโปรเจกต์ใดๆ ด้วยกันเลย ถึงจะเรียนคนละสาขา และต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่ถนัดของตัวเอง ทั้งสามคนก็มีความสนใจร่วมกันอยู่ นั่นคือ การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถมอบรอยยิ้มให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนำมาสู่การรวมตัวกันและเป็นที่มาของชื่อกลุ่มเมืองยิ้มที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ปี […]

ลัดเลาะ ‘ท่องธน’ ผจญภัยล่าขุมทรัพย์ ที่ซ่อนอยู่ใน ‘บางกอกใหญ่’

เชื่อว่านิยามคำว่า ‘ฝั่งธนฯ’ ของแต่ละคนมีความแตกต่าง แต่ไม่ว่าอาณาเขต ‘ธนบุรี’ ในความรู้สึกนึกคิดของคุณจะกว้างใหญ่เพียงใด เพียงแค่ฟากซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ไกลจรดทะเลบางขุนเทียน หรือยาวไปถึงชายแดนกรุงเทพฯ ติดปริมณฑลอย่างบางแค-หนองแขม ก็ตามที รู้หรือไม่ว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้เริ่มที่ย่านบางกอกใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองของกรุงธนบุรี ราชธานีเก่าของเมืองไทย คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้เลยขออาศัยไกด์บุ๊กนำทางติดกระเป๋า พร้อมแอปพลิเคชันเกม ‘ท่องธน’ (Game of Thon) สวมบทนักผจญภัย โดยมีสมาชิกกลุ่มยังธนและผู้พัฒนาเกมเป็นคนนำทีม เปิดแมปฝั่งธนฯ ตะลุยบางกอกใหญ่ ในชุมชนวัดนาคกลาง หาขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ทั้งโบราณสถาน ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่สัญลักษณ์เมืองไทยอย่างพระปรางค์วัดอรุณฯ แต่ยังรวมไปถึงผู้คนริมคลองมอญและร้านรวงของคนในย่านที่เป็นเสมือน Hidden Gem หากอยากลองชิมลางร่วมตี้ แค่โหลดเกมและจัดทีมก็ออกมาร่วมสนุกได้ หรือหากอยากรู้จักฝั่งธนฯ แบบทะลุปรุโปร่ง หยิบไกด์บุ๊กท่องธนใส่กระเป๋าแล้วออกย่ำเท้าไปพร้อมกัน เมื่อจบภารกิจท่องธนครั้งนี้แล้ว ไม่แน่ว่าคำนิยามและความรู้จักของคุณที่มีต่อฝั่งธนฯ อาจเปลี่ยนไป เรานั่งย้อนเขียนถึงเรื่องราวการผจญภัยนี้ที่ฝั่งพระนคร มองย้อนออกไปริมแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องไปไม่ไกลคือ ‘วังเดิม’ ศูนย์กลางการปกครองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวของกรุงธนบุรี ที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของกองทัพเรือ ติดกับวัดอรุณราชวรารามฯ หากอ้างอิงตามประวัติศาสตร์กระแสหลัก ภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาสิ้นสภาพไป เกิดการสถาปนาเมืองแห่งใหม่ขึ้นมาไม่ไกลจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา ราชธานีแห่งนี้ตั้งอยู่ได้ประมาณ 15 ปี ก่อนเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญที่ทำให้มีการย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำ […]

Wastic Thailand แบรนด์แว่นตากันแดดอัปไซเคิลที่เชื่อว่าเรามีไลฟ์สไตล์ชิกๆ ได้พร้อมกับการช่วยโลก

Wastic Thailand คือแบรนด์สินค้าอัปไซเคิลจากขยะพลาสติกที่อยากหลุดออกจากกรอบเดิมๆ ของสินค้ารักษ์โลก ตั้งแต่ชื่อ Wastic ที่มาจากคำว่า Waste กับ Plastic ตั้งใจให้อ่านออกเสียงว่า วาส-ติก ไม่ใช่ เวส-ติก เพราะไม่อยากให้ลูกค้านึกถึงภาพขยะเมื่อได้ยิน นอกจากชื่อ ผู้ก่อตั้งทั้ง 4 อย่าง กมลชนก คล้ายนก, รสลิน อรุณวัฒนามงคล, สินีนาฏ จารุวาระกูล และ อริสรา พิทยายน ยังเชื่อว่า สินค้ารักษ์โลกไม่จำเป็นต้องมีดีไซน์เรียบง่ายหรือดูออกว่าทำจากวัสดุอะไรเสมอไป แต่สามารถชิกได้ เปรี้ยวได้ เป็นสินค้าที่ให้สายแฟฯ สวมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ แว่นกันแดดของ Wastic คือตัวอย่างที่ยืนยันความเชื่อนั้นได้ดี ซึ่งก็ไม่ได้สักแต่ว่าจะดีไซน์ให้เก๋ไก๋ แต่สินค้าตัวแรกของพวกเธอยังสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ในตัวมันเอง อย่างสีทั้ง 3 ของตัวแว่นกันแดดเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจากบรรยากาศของทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกมากที่สุด คอลัมน์ Sgreen คราวนี้ ชวนคุณไปคุยกับกมลชนก หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ ฟังเธอเล่าเบื้องหลังการคิดค้นสินค้าที่เลอค่าทั้งรูปลักษณ์และเป้าหมาย ขั้นตอนกว่าจะเป็นแว่นกันแดดอันแรก ไปจนถึงความเชื่อที่ว่าสินค้าอัปไซเคิลก็ชิกได้ ใส่แล้วไม่อายใคร From Plastic to […]

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ กับ Mylovecondo

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ ผ่านการทำงานตามแบบ Mylovecondo

‘เข้าใจสิ่งใหม่ และไม่ลืมสิ่งเก่าที่มีประโยชน์’ จี๊บ เทพอาจ ผู้ร่วมชุบชีวิตลิโด้

“เราไม่ค่อยปล่อยโอกาสเท่าไหร่ ถ้ามีอะไรที่ทำได้หรือรู้สึกว่าทำแล้วไม่ขัดกับตัวเอง ส่วนใหญ่จะทำหมด” ‘จี๊บ-เทพอาจ กวินอนันต์’ บอกเล่าให้เราฟัง เมื่อถามว่าทำไมผู้บริหารในแบบฉบับของเขาถึงมีสารพัดสิ่งที่ต้องจัดการเต็มไปหมด จี๊บเล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้เขาแบ่งการงานของชีวิตเป็นสองส่วนหลักๆ หนึ่งคือ ฝั่งเครื่องดื่ม ที่มีทั้งการดูแลในส่วนที่อิมพอร์ตเข้ามา อาทิ Budweiser, Hoegaarden ฯลฯ และสร้างโรงงานผลิตสุรา Thai Spirit Industry Co.,Ltd. ที่ผลิตคราฟต์เบียร์ยี่ห้อขุนแผน และมีบริษัท รอยัล เกทเวย์ จำกัด ดูแลการจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม Full Moon, โซจูยี่ห้อคอมเบ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนสอนต้มเบียร์อุดมคติ รวมถึงธุรกิจร้านอาหาร HOBS เป็นต้น การงานส่วนที่สองคือ ฝั่งงานเอนเตอร์เทนเมนต์ เขาทำงานบริหาร 8 ค่ายเพลง นำโดย LOVEiS Entertainment และอีก 7 ค่าย ได้แก่ marr, LIT Entertainment, kiddo records, PROM+, Juicey, HolyFox, […]

Little Stove & Little Stump สนามเด็กเล่นและคาเฟ่ที่อยากให้ครอบครัวใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน

กลิ่นขนมปังอบสดใหม่ลอยจางๆ ในอากาศ ลาเต้ร้อนแก้วหนึ่งวางอยู่ตรงหน้า เรายกขึ้นจิบเชื่องช้า ละเลียดรสขมจากกาแฟที่เบลนด์กับความหวานของน้ำผึ้งได้พอดี ความง่วงงุนจากการออกเดินทางแต่เช้าหายเป็นปลิดทิ้ง “เดือนนี้มีวันพิเศษคือวันผึ้งโลก เราอยากให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าผึ้งเป็นสัตว์ที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสนามเด็กเล่นจะมีเวิร์กช็อปที่สอนเด็กๆ เรื่องนี้ ส่วนคาเฟ่ก็จะทำเมนูที่อินสไปร์ควบคู่ไปด้วยกัน” หญิงสาวคนคิดเมนูอธิบายให้ฟัง หญิงสาวคนนี้คือ ‘พีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ’ หุ้นส่วน ‘คาเฟ่’ ที่เสิร์ฟกาแฟให้เรา ส่วนที่นั่งข้างกันคือ ‘พราว พุทธิธรกุล’ หุ้นส่วน ‘สนามเด็กเล่น’ ที่เพิ่งถูกพูดถึง Little Stove & Little Stump คือชื่อของคาเฟ่และสนามเด็กเล่นแห่งนี้ และถึงแม้จะตั้งชื่อแยกกันชัดเจน ทว่าทั้งสองร้านตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน นั่นคือลานกว้างริมคลองบางมดในย่านพระราม 2 ที่มีต้นไทรเก่าแก่ตั้งอยู่เด่นหรา รายล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ไม่ผิดแน่ว่าเป็นความตั้งใจ พวกเธออยากให้ทุกคนในครอบครัวได้มีพื้นที่ใช้เวลาร่วมกันได้ แต่มากกว่านั้น-ในฐานะแม่ของลูก-พวกเธออยากให้ผู้ใหญ่ไม่พลาดโมเมนต์สำคัญของเด็ก เช้าวันนี้ที่ไร้เสียงเจี๊ยวจ๊าวของน้องๆ เราเอ่ยปากขอให้พวกเธอพาทัวร์คาเฟ่และสนามเด็กเล่นพร้อมกับเล่าเรื่องราวเบื้องหลัง ท่ามกลางกลิ่นขนมปังอบสดใหม่และสีเขียวของพรรณไม้ Little Bond ย้อนกลับไปหลายปีก่อน พีชกับพราวรู้จักกันผ่านสามีที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่เจอกันบ่อยจนกลายเป็นเพื่อนสาวคนสนิท แชร์ความชอบ ความฝัน และเรื่องราวในชีวิตประจำวันให้กัน ยิ่งได้มีลูกในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันก็ยิ่งเข้าอกเข้าใจกันและกันมากขึ้น หนึ่งในความฝันที่ทั้งสองคนแชร์กันบ่อยๆ คือ ถ้ามีลูก […]

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

‘จักรพรรดิพงษ์’ ถนนทางผ่านย่านโรงพิมพ์หนังสือ ที่กำลังถูกปลุกให้ตื่นจากหลับใหล

ในวันที่ย่านเก่าอย่างนางเลิ้งและหลานหลวง เป็นปลายทางของผู้คนที่หลั่งไหลมาฮอปปิงคาเฟ่ที่ผุดขึ้นมากมายในพื้นที่ คืนความคึกคักกลับเข้ามาในพื้นที่โอลด์ทาวน์แถบนี้อีกครั้ง ไม่ต่างกับยุครุ่งเรืองของตลาดนางเลิ้งเมื่อครั้งอดีตที่เป็นจุดหมายของเหล่าหนุ่มสาวชาวพระนครมายาวนาน ใกล้ๆ กันยังมีอีกชุมชนหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง ริมสองฝั่งของ ‘ถนนจักรพรรดิพงษ์’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมร้อยทั้งสองย่านที่ว่านี้เข้าด้วยกัน แม้วันนี้จะอยู่ในสถานะของทางผ่านจนหลายคนอาจมองข้ามไป หรือถูกเหมารวมไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของย่านข้างเคียง ทว่าจริงๆ แล้วตรงนี้ก็มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นไม่น้อย เพราะแต่ก่อน บนถนนสายนี้เคยเต็มไปด้วยโรงพิมพ์และร้านหนังสือการ์ตูนในวันที่สิ่งพิมพ์เฟื่องฟู มีร้านทำผมบาร์เบอร์และซาลอนยุคเก่าตั้งเรียงรายกว่าสิบร้าน ไปจนถึงภาพชินตาอย่างร้านกล้วยแขกหลากหลายสีเอี๊ยมที่เป็นสัญลักษณ์ประจำย่านนี้ ชวนย้อนความหลังฟังเรื่องเล่าจากหลายปากเสียงของชาวชุมชนจักรพรรดิพงษ์ ถึงบรรยากาศในอดีตของย่าน พัฒนาการของร้านค้าและชุมชน ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่กำลังปลุกให้ย่านทางผ่านที่หลับใหลค่อยๆ ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ถนนที่นำพระนามอันไพเราะของพระอนุชาของรัชกาลที่ 5 มาตั้งเป็นชื่อนั้น คือผลพวงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว โดยตัดแยกมาจากถนนบำรุงเมือง ถนนสายแรกๆ ในสยาม เชื่อมกับถนนราชดำเนิน เส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมระหว่างโซนเมืองเก่าตรงพระบรมมหาราชวังกับเมืองใหม่ (ในสมัยนั้น) แถบดุสิต แต่แรกเลยแถบนี้ยังเป็นพื้นที่สวนตามประสาบรรยากาศชานเมือง กว่าจะมีอาคารพาณิชย์ตลอดสองฝั่งถนนจักรพรรดิพงษ์แบบที่เห็นกัน ก็ต้องรอจนถึงประมาณช่วงทศวรรษ 2490 หลังจากนั้นจึงเริ่มเป็นย่านการค้าที่มีร้านรวงต่างๆ เข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อประกอบกิจการกันอย่างหลากหลาย นอกจากร้านทำผมแล้ว ก็มีร้านตัดเสื้อสูท ร้านทำฟันแบบโบราณ ทำแป้งประหน้า ร้านเอกซเรย์ ร้านขายเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งสลับสับเปลี่ยนเจ้าของอยู่ตลอด บ้างก็ย้ายไปที่อื่นแล้วในตอนนี้ บางห้องก็ยังมีลูกหลานอยู่กระทั่งปัจจุบัน ‘สุขศาลานางเลิ้ง’ อดีตสถานอนามัยของชาวกรุง “ชุมชนป้าไม่ใหญ่ แต่มีสตอรีเยอะ” ป้าจิ๋ว […]

Chook แอปฯ เดลิเวอรีที่เชื่อว่าอาหารโฮมเมดพิเศษ จนสร้างแพลตฟอร์มให้เชฟที่ไม่มีหน้าร้าน

วันนี้ ที่ออฟฟิศ Urban Creature มีข้าวกลางวันฟรี เป็นเมนูแกงเขียวหวานเนื้อของร้าน ‘บ้านศรีโบว์’ ที่นอกจากจะใช้เนื้อวัวที่ตุ๋นจนเปื่อยเป็นวัตถุดิบหลัก น้ำแกงยังมีสีเขียวกว่าแกงเขียวหวานทั่วไป ไม่ได้ปรุงพลาดหรือใส่เครื่องแกงเยอะเกินไป แต่เป็นสูตรลับเฉพาะของคนทำที่บอกว่า แกงเขียวหวานบ้านเขาต้องเขียวแบบนี้เท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ไม่ได้หาซื้อที่ไหนก็ได้ ถ้าไปเสิร์ชในแอปฯ สั่งอาหารทั่วไปคงไม่เจอ ยกเว้นแอปฯ เดียวที่ทางร้านเปิดขายชื่อ Chook Chook คือแอปฯ สั่งอาหารน้องใหม่ที่เปิดตัวในยุคที่ตลาดแอปฯ เดลิเวอรีแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่เอกลักษณ์ที่ทำให้ Chook โดดเด้งมากกว่าแอปฯ ไหน คือการเป็นแอปฯ ที่ขายเฉพาะเมนูโฮมเมดเท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในแอปฯ ยังมีเมนูและร้านอาหารจากครัวประจำบ้านอีกนับร้อยให้เลือกสรร ความน่ารักคือร้านเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าร้านจริงจัง และเชฟผู้ปรุงเมนูเหล่านั้นอาจไม่ได้ทำอาชีพเชฟจริงจัง แต่เป็นคนธรรมดาๆ ที่ทำอาหารอร่อย และอยากแชร์สูตรอาหารโฮมเมดในบ้านตัวเองให้คนอื่นกินบ้าง เบื้องหลังแอปฯ ที่ธรรมดาแต่พิเศษนี้เป็นยังไง Vincent Kao ผู้ก่อตั้งแอปฯ มีนัดกับเราที่ออฟฟิศ Urban Creature เพื่อเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง ไม่ใช่แค่เล่า แต่ชายหนุ่มยังขอเลี้ยงมื้อกลางวัน แน่นอนว่ามันคือเมนูแกงเขียวหวานร้านบ้านศรีโบว์ หนึ่งในเมนูอาหารโฮมเมดซึ่งเปิดขายในแอปฯ ที่เขาสร้างขึ้นมานั่นเอง อาหารประจำครอบครัว “ทุกคนมีเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารที่บ้านของตัวเอง” คือประโยคที่จุดประกายให้วินเซนต์ริเริ่มสตาร์ทอัปชื่อ Chook ไม่ต่างจากเราทุกคน […]

1 2 3 4 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.