


‘กลิ่นฉี่ในเมือง’ มลภาวะทางกลิ่นในกรุงเทพฯ ที่ทำให้หลายพื้นที่ไม่น่าใช้งาน

เปิดมุมมองงานดีไซน์ไปกับ ‘วัสดุตกแต่ง’ จาก COTTO งานสถาปนิก’68 และ COTTO LiFE ดอนเมือง 29 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2568

ตามแม่มาวัดยังไงไม่ให้เบื่อ ออกแบบพื้นที่ภายในวัด ให้โอบรับคนรุ่นใหม่ ใกล้ชิดศาสนามากขึ้น

เรียนรู้เหตุการณ์แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ รับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างไรบ้าง

Emergency Go Bag ออกแบบกระเป๋าฉุกเฉินขนาดกะทัดรัดแบบไทยๆ ไว้ใช้งานในช่วงฉุกเฉิน
POPULAR
สวนสาธารณะบึงน้ำลาดพร้าว 71 พื้นที่ออกกำลังกาย พักใจให้เต็มอิ่ม ด้วยสวนลอยน้ำบนพื้นที่กว่า 21 ไร่
กำลังมองหาที่ออกกำลังกายใกล้บ้านกันอยู่หรือเปล่า วันนี้ Urban Creature อยากแนะนำ สวนสาธารณะบึงน้ำลาดพร้าว 71 ให้ชาวลาดพร้าวและละแวกใกล้เคียงได้สัมผัสพื้นที่สีเขียวดีๆ อีกหนึ่งแห่งของกรุงเทพฯ ที่นี่เป็นสวนลอยน้ำ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายขนาดใหญ่กว่า 21 ไร่ ใจกลางย่านลาดพร้าว มีทั้งสนามเด็กเล่น บึงขนาดใหญ่ พร้อมอาหารปลาขายเพียงขวดละ 10 บาท ให้มาให้อาหารปลากันได้ แถมยังมีลานหินนวดเท้า เรือนเพาะชำ สนามหญ้าเทียมลอยน้ำขนาดกว้าง ให้เด็กๆ มาวิ่งเล่นได้เต็มที่ พร้อมด้วยเครื่องออกกำลังกายหลากหลายแบบ และเส้นทางเดิน-วิ่ง ให้มาออกกำลังกายกันทั้งเช้าและเย็น สวนแห่งนี้เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 21.00 น. จะขับรถยนต์มาก็ได้ มีที่จอดให้พร้อม หรือหากเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลงที่สถานีลาดพร้าว 71 ต่อมอเตอร์ไซค์เข้ามาอีกประมาณ 10 นาทีเท่านั้น (maps.app.goo.gl/7Yon6e6a9kuDcLeg9) Source :Greener Bangkok | tinyurl.com/2xwrc8vh
‘กลิ่นฉี่ในเมือง’ มลภาวะทางกลิ่นในกรุงเทพฯ ที่ทำให้หลายพื้นที่ไม่น่าใช้งาน
เคยไหม เวลาเดินไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ บ้านบางหลังจะแขวนป้ายหรือไวนิลไว้หน้าบ้านทำนองว่า ‘ห้ามฉี่’ ถึงจะดูเป็นเรื่องตลก แต่ปัญหาเหล่านี้กลับสร้างความกวนใจให้เจ้าของบ้านมากๆ รวมถึงคนที่เดินผ่านไปผ่านมาก็ต้องคอยรับผลกระทบจากมลภาวะทางกลิ่นไปด้วย การติดป้ายอาจช่วยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นการแก้ปัญหาของประชาชนและเอกชน ส่วนพื้นที่สาธารณะกลับไม่ค่อยเห็นการห้ามในลักษณะนี้เท่าไหร่ ทั้งที่ก็เป็นพื้นที่คอยรองรับปริมาณฉี่ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเสาไฟ พื้นทางเท้า หรือต้นไม้ ยิ่งเฉพาะบริเวณใต้ทางด่วนที่อับสายตาผู้คน ส่งผลให้บรรยากาศโดยรอบไม่น่าอภิรมย์เอาเสียเลย กลิ่นฉี่ทำลายทั้งบรรยากาศและโครงสร้างต่างๆ ทั้งๆ ที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคนพลุกพล่าน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวหรือผู้อยู่อาศัย แต่ในหลายๆ พื้นที่ที่เดินเท้าได้กลับมีกลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างกลิ่นฉี่หมักหมม ส่งกลิ่นโชยออกมาให้ต้องรีบจ้ำอ้าวหนี และหากบริเวณไหนที่มีกลิ่นอยู่แล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งดึงดูดให้คนมาฉี่เพิ่ม กลายเป็นพื้นที่สำหรับรองรับของเสียไปโดยปริยาย ส่งผลให้หลายๆ เส้นทางไม่น่าใช้งาน มากไปกว่าเรื่องของกลิ่นฉุน หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ฉี่ยังสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่โดยรอบ และเป็นการทำลายทรัพย์สินทั้งของสาธารณะและส่วนตัว เพราะในฉี่ของมนุษย์มียูเรียซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดที่ทำลายทั้งคอนกรีต เหล็ก และโลหะ หากปล่อยให้เกิดการสะสมของฉี่เป็นเวลานานก็อาจส่งผลต่อโครงสร้าง ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นๆ เสียหาย เหตุผลของคนเลือกฉี่ข้างทาง นอกเหนือจากความมักง่ายของคนแล้ว เป็นไปได้ว่าด้วยจำนวนห้องน้ำสาธารณะที่มีค่อนข้างน้อยและหายากในหลายๆ พื้นที่ จึงทำให้คนเลือกปลดปล่อยของเหลวส่งกลิ่นตามพื้นที่ข้างทางมากกว่า หรือต่อให้เป็นห้องน้ำกึ่งสาธารณะที่เรามองว่ามีจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วไปในเมือง เช่น ในห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน หรือสวนสาธารณะ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลาเปิด-ปิด ที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะคนที่ทำงานเป็นกะ หรือทำงานทั้งวันทั้งคืนอย่างแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ […]
ชวนไปตรวจงานผู้ว่าฯ กทม. ที่ BKK Expo 2025 นิทรรศการรวบรวมผลงานตลอดสามปีมาให้สัมผัสถึงการเปลี่ยนแปลงของเมือง
การจะพัฒนาเมืองให้ดี มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่การโฟกัสเพียงแค่สิ่งปลูกสร้างหรือนโยบายต่างๆ เท่านั้น แต่ยังต้องสร้างสรรค์เมืองให้เหมาะสมกับคนทุกวัย ตั้งแต่วัยแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ เพราะผู้คนถือเป็นกำลังสำคัญในการพาให้เมืองของเราเติบโตไปอย่างดีด้วย สำหรับปีนี้ งาน Bangkok Expo 2025 มาพร้อมธีม ‘We Work, BKK Work เมืองประสิทธิภาพ คนสร้างอนาคต’ โดยเป็นนิทรรศการเมืองผลงานจากนโยบายตลอด 3 ปี ที่รวบรวมเอาไว้ให้ทุกคนได้ชมกัน ซึ่งนิทรรศการจะแบ่งออกเป็น 3 โซน คือ เมืองสะดวกปลอดภัย : ชมการบริหารความปลอดภัยเมืองตลอด 24/7 ชั่วโมง ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและสร้างประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านศูนย์บัญชาการเมืองจำลอง (Command Center) ที่จะทำให้เห็นการทดลองบริหารเมืองหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงบริการตรวจสุขภาพ คาเฟ่น้องแมวและน้องหมาด้วย เมืองยั่งยืน : ชมกระบวนการสร้างเมืองสีเขียวในทุกฤดูกาล และสำรวจโครงสร้างการบริหารเมืองเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ผ่านการโชว์กระบวนการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เรียนรู้พลังงานหมุนเวียนแหล่งใหม่กับมหานครโซล่าร์ และกิจกรรมเดินสำรวจนิเวศ เรียนรู้ธรรมชาติไปพร้อมกับความยั่งยืนของเมือง เมืองสร้างสรรค์ : ชมภาพเมืองแห่งความสร้างสรรค์ผ่านนิทรรศการมากมายอย่างการจำลองห้องเรียนปลอดฝุ่น ดิจิทัลคลาสรูม เพื่อต่อยอดความสร้างสรรค์และการศึกษา โลกความสร้างสรรค์นอกห้องเรียน โดยพื้นที่เล่นอิสระ […]
แวะไปนั่งอ่านหนังสือที่ ‘ฮ่งนั่งเล่น’ ร้านหนังสือและห้องสมุดเล็กๆ ที่ซ่อนตัวในคาเฟ่ ซอยเจริญกรุง 50
นอกจากเจริญกรุงจะเป็นย่านเก่าสุดชิกที่เต็มไปด้วยร้านค้าและคาเฟ่น่าสนใจแล้ว ในซอยเจริญกรุง 50 บนตึกแถวชั้น 3 ของร้านเสื้อผ้ามือสอง Bad County ยังมี ‘Early Day Cafe’ คาเฟ่เล็กๆ ที่เป็นที่ซ่อนตัวของร้านหนังสือและห้องสมุดสุดจิ๋วในชื่อ ‘ฮ่งนั่งเล่น’ อยู่ด้วย ฮ่งนั่งเล่น คือร้านหนังสืออิสระออนไลน์หน้าใหม่ ที่จุดประกายจากการที่เจ้าของร้านอย่าง ‘ป๊อปจัง’ พบห้องสมุดสาธารณะเมืองและร้านหนังสือหลายแห่งในช่วงที่เธอเรียนคอร์สระยะสั้นที่ประเทศออสเตรเลีย และเมื่อครั้งไปออกงาน Comitia ที่ประเทศญี่ปุ่น ภาพที่เห็นทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจ อยากสร้างร้านหนังสือและห้องสมุดที่ไม่ได้มีแต่หนังสือตัวอักษรหรือคอมิก แต่เป็นพื้นที่ที่รวบรวมสิ่งพิมพ์สนุกๆ ตั้งแต่อาร์ตบุ๊ก ซีน ใบแผ่นพับแจกฟรี ไปจนถึงสูจิบัตรแกลเลอรีที่จัดไปแล้ว เพื่อให้คนที่มาได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งพิมพ์เหล่านี้ อีกทั้งที่นี่ยังเปิดโอกาสให้นักวาด นักเขียน และสำนักพิมพ์เล็กๆ ได้มีที่วางขายผลงาน โดยมีฮ่งนั่งเล่นเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนองานของศิลปินทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ให้คนได้รู้จักมากขึ้น เพื่อช่วยผลักดันวงการนี้ในทางหนึ่ง ส่วนชื่อ ‘ฮ่งนั่งเล่น’ มาจากคำว่า ‘本’ (hon) ที่อ่านออกเสียงว่า ‘ฮ่น’ หรือ ‘ฮ่ง’ แปลว่าหนังสือในภาษาญี่ปุ่น บวกกับคำว่า ‘นั่งเล่น’ ด้วยความตั้งใจที่อยากทำให้คนที่เข้ามาในพื้นที่รู้สึกเหมือนมานั่งอ่านหนังสือในห้องนั่งเล่นของตัวเอง อีกทั้งคำว่า ฮ่ง ยังออกเสียงคล้ายเสียงเห่าของสุนัข ทำให้เธอปิ๊งไอเดีย […]
เรียนรู้วิธีการเดินให้สนุก สุขภาพดี และบำบัดจิตกับ ‘52 Ways to Walk อัศจรรย์แห่งการเดิน’ เลือกเลยว่า อยากเดินเมือง เดินป่า หรือเดินหลงทาง
ย้อนไปเมื่อตอนเด็กๆ หรือวัยเยาว์ เรามักจะเดินผจญภัยตามเมือง เข้าออกตรอกซอกซอย หรือกระทั่งบุกป่าฝ่าดงในสวนแถวบ้าน แต่พอโตขึ้น เข้าวัยทำงาน เราก็เดินน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยจากทำงาน อากาศร้อน มีรถยนต์ส่วนตัว ไปจนถึงความสะดวกสบายของบริการเดลิเวอรี ‘52 Ways to Walk อัศจรรย์แห่งการเดิน’ คือหนังสือที่เขียนโดย Annabel Abbs นักจิตภูมิศาสตร์ นักเขียน และนักเดิน ว่าด้วยการชักชวนให้เรากลับมา ‘หัดเดิน’ อีกครั้ง ผ่านสารพัดวิธีเดินถึง 52 วิธี ไม่ว่าจะเป็นการเดินเมือง เดินอาบป่า เดินแบกสัมภาระ เดินทำงาน เดินถอยหลัง เดินดมกลิ่น ไปจนถึงเดินแบบแรนดอม ปล่อยตัวเองให้หลงทาง เพราะอย่าลืมว่าทุกครั้งที่เราเดินก็เท่ากับเราช่วยลดมลภาวะทางอากาศและเสียง ทั้งยังป้องกันไม่ให้ที่ดินในเมืองกลายเป็นที่จอดรถ ถนน หรือศูนย์การค้า ขณะเดียวกัน การเดินทางด้วยวิธีนี้ยังเป็นการบำรุงรักษาดูแลเมืองให้สะอาด ปลอดภัย รื่นรมย์ ใกล้ชิดกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมในแบบที่ได้กลิ่นต้นไม้ใบหญ้า หรือแวะทักทายเล่นกับน้องหมาน้องแมว ไถ่ถามถึงความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านได้ นอกจากวิธีการเดินให้สนุกอย่างการเดินชมทัศนียภาพ เดินเพลินไปกับกลิ่นเมือง เดินท่ามกลางแสงแดด เดินลุยฝน ฯลฯ ใน 52 […]
GUMP’s Cross เจริญนคร สเปซใหม่เอาใจชาวธนบุเรียน ที่พาทุกคนข้ามมาเชื่อมต่อไลฟ์สไตล์กัน
หากใครได้แวะเวียนไปย่านเจริญนคร อาจจะเคยเห็นสเปซใหม่ของชาวธนบุเรียนอย่าง GUMP’s Cross เจริญนคร ตึกสีขาว ดีไซน์เก๋ที่เป็นคอมมูนิตี้สเปซในฝั่งธนฯ ที่ผ่านมาถ้าได้ยินชื่อ GUMP หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับพื้นที่สวยๆ ในย่านอารีย์ แต่ตอนนี้เขาขยับขยายข้ามฝั่งมายังธนบุรีเป็นที่เรียบร้อย ด้วยแนวคิด Crossing Lifestyle Space ที่ตั้งใจเป็น ‘พื้นที่กลาง’ ให้ทุกคนข้ามมาเชื่อมต่อกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต ทำงาน เดินเล่น หรือปล่อยใจสบายๆ ในพื้นที่นี้อย่างไม่มีจุดหมายก็ได้เช่นกัน 👧 ไฮไลต์สำคัญของที่นี่คือ give.me.museums ในรูปแบบ Pop-up Installation ที่จะพาทุกคนเข้าไปอยู่ในโลกของ ‘น้องดื้อ’ ตัวละครภาพจำของแบรนด์ น่ารักจนอยากชวนมาถ่ายรูปเลยละ 🖼️ Canvas & Co. Pop-up Gallery นิทรรศการย่อมๆ จากศิลปินและนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ ทำให้พื้นที่ของชั้น 3 มีสีสันกว่าเดิม 🎨 Soft Corners นิทรรศการกลุ่มของ Timmylilly, Jayaway, Caracream และ Passaraphorn ที่บอกเล่าความรู้สึกละมุนละไม […]
eslite UNDERGROUND R79 ร้านหนังสือใต้ดินที่ยาวที่สุดในไต้หวัน เริ่มที่สถานี Zhongshan จบที่ Shuanglian
ถ้าใครมีโอกาสแวะไปที่ Zhongshan ย่านฮิปๆ ของวัยรุ่นชาวไต้หวัน คงคุ้นเคยกับภาพร้านรวงตลอดสองข้างทาง และ Xinzhongshan Linear Park หนึ่งในพื้นที่สาธารณะแนวยาวกลางเมืองไทเป ที่แม้พื้นที่จะเล็กเพียง 500 เมตร แต่ก็มีทุกอย่างครบถ้วน เชื่อมทิศเหนือ-ใต้ระหว่าง MRT Zhongshan และ MRT Shuanglian ซึ่งในช่วงสุดสัปดาห์จะเนืองแน่นไปด้วยบูทงานคราฟต์ของศิลปินชาวไต้หวัน แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจาก Xinzhongshan Linear Park ที่มีคนใช้บริการอย่างล้นหลามแล้ว บริเวณใต้ดินตลอดแนวยาวต่างก็คึกคักไม่แพ้กัน ด้วย ‘Zhongshan Underground Book Street’ ถนนหนังสือที่เหล่าหนอนหนังสือเห็นจะต้องว้าว เพราะนอกจากทางเดินเชื่อมระหว่าง MRT Zhongshan และ MRT Shuanglian และพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับหนังสือแล้ว ถนนแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ ‘eslite UNDERGROUND R79’ ร้านหนังสือสัญชาติไต้หวันที่วางตัวทอดยาวตลอดทั้งถนนใต้ดินสายนี้ ด้วยระยะทางประมาณ 500 เมตร หรือเทียบง่ายๆ กับการเดินทางในกรุงเทพฯ คือ จาก BTS สถานีสยาม […]
เปิดมุมมองงานดีไซน์ไปกับ ‘วัสดุตกแต่ง’ จาก COTTO งานสถาปนิก’68 และ COTTO LiFE ดอนเมือง 29 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2568
เรามักเห็นการออกแบบใหม่ๆ จาก ‘COTTO’ แบรนด์และผู้นำอุตสาหกรรมกระเบื้อง ก๊อกน้ำ และสุขภัณฑ์ของไทยอยู่เสมอในงานจัดแสดงและอีเวนต์ต่างๆ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชันการใช้งาน คุณภาพ หรือดีไซน์หรูหรามีระดับ ปีนี้ก็เช่นกัน COTTO ได้นำสินค้าคุณภาพดีมาจัดแสดงที่ ‘สถาปนิก’68 : งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 37’ ภายใต้แนวคิด ‘Reimagine Living Refinement’ ที่อยากให้นักออกแบบและผู้ที่สนใจมองไปยังจุดเริ่มต้นของการออกแบบ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์แบบ ทั้งด้านรูปลักษณ์ การใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความพิเศษคือ COTTO เปิดตัวไลน์วัสดุตกแต่ง (Decorative Materials) เพื่อเป็นการยกระดับและแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอีกขั้นของแบรนด์ จากเดิมที่นำเสนอเพียงกระเบื้องและสุขภัณฑ์ ก็มีการเพิ่มเติมส่วนวัสดุตกแต่งระดับไฮเอนด์ ที่มีจุดยืนเป็นอุตสาหกรรมรักษ์โลกเข้ามาอีกด้วย ภายในงานสถาปนิก’68 ทุกคนจะได้พบกับสินค้าไฮไลต์ทั้ง COTTO The Surface และ COTTO Bathroom ภายใต้การออกแบบบูทในลักษณะสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ที่สื่อถึงการเชื่อมต่อทุกพื้นที่ผ่านหลากหลายมุมมองใหม่ในทุกมิติแบบรอบด้าน ขณะเดียวกัน ทางแบรนด์ยังมีอีกหนึ่งงานแสดงที่จัดขึ้นพร้อมกันที่โชว์รูม ‘COTTO LiFE ดอนเมือง’ ภายใต้คอนเซปต์เดียวกันให้เป็นอีกตัวเลือกไปเยี่ยมเยียน สำหรับ COTTO […]
LATEST
MUGCUPGUY ศิลปินที่บันทึกเรื่องราวของเมือง ผู้คน และวิถีชีวิตลงบนแก้วหนึ่งใบ
หากใครเคยเห็นคลิปวิดีโอของคนคนหนึ่งที่ถือแก้วสีขาวธรรมดาๆ หนึ่งใบคู่กับปากกาเมจิกสีดำแท่งใหญ่ไปไหนมาไหน แล้ววาดรายละเอียดน่ารักๆ ของเมืองลงบนแก้วใบนั้น เขาคือ MUGCUPGUY ศิลปินอิสระผู้เดินทางท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ทั้งโซล เกาหลีใต้ ที่มีผลงานอย่างประตูหนึ่งร้อยบาน ห้องสมุด หรืออะพาร์ตเมนต์ในโซล และล่าสุดเขาได้เดินทางมาที่กรุงเทพฯ พร้อมวาดบรรยากาศของเมือง ผู้คน รวมถึงน้องแมวที่เดินไปเดินมามากมาย รวบรวมไว้ในแก้วเพียงหนึ่งใบ เรียกได้ว่าเป็นมุมในการมองเมืองที่แตกต่างและน่าสนใจมากๆ จากรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างสิ่งของ ผู้คน หรือกรอบเล็กๆ ที่คนทั่วไปอาจมองข้าม แต่เขามองเห็นมันและยังบันทึกโมเมนต์นั้นๆ ลงบนแก้วหนึ่งใบที่ถือได้ในมือเดียวอีกด้วย ใครสนใจลองไปติดตามการเดินทางผ่านงานน่ารักๆ ที่รวบรวมบรรยากาศและความทรงจำของเมืองได้ที่ Instagram : mugcupguyy
แวะไปนั่งอ่านหนังสือที่ ‘ฮ่งนั่งเล่น’ ร้านหนังสือและห้องสมุดเล็กๆ ที่ซ่อนตัวในคาเฟ่ ซอยเจริญกรุง 50
นอกจากเจริญกรุงจะเป็นย่านเก่าสุดชิกที่เต็มไปด้วยร้านค้าและคาเฟ่น่าสนใจแล้ว ในซอยเจริญกรุง 50 บนตึกแถวชั้น 3 ของร้านเสื้อผ้ามือสอง Bad County ยังมี ‘Early Day Cafe’ คาเฟ่เล็กๆ ที่เป็นที่ซ่อนตัวของร้านหนังสือและห้องสมุดสุดจิ๋วในชื่อ ‘ฮ่งนั่งเล่น’ อยู่ด้วย ฮ่งนั่งเล่น คือร้านหนังสืออิสระออนไลน์หน้าใหม่ ที่จุดประกายจากการที่เจ้าของร้านอย่าง ‘ป๊อปจัง’ พบห้องสมุดสาธารณะเมืองและร้านหนังสือหลายแห่งในช่วงที่เธอเรียนคอร์สระยะสั้นที่ประเทศออสเตรเลีย และเมื่อครั้งไปออกงาน Comitia ที่ประเทศญี่ปุ่น ภาพที่เห็นทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจ อยากสร้างร้านหนังสือและห้องสมุดที่ไม่ได้มีแต่หนังสือตัวอักษรหรือคอมิก แต่เป็นพื้นที่ที่รวบรวมสิ่งพิมพ์สนุกๆ ตั้งแต่อาร์ตบุ๊ก ซีน ใบแผ่นพับแจกฟรี ไปจนถึงสูจิบัตรแกลเลอรีที่จัดไปแล้ว เพื่อให้คนที่มาได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งพิมพ์เหล่านี้ อีกทั้งที่นี่ยังเปิดโอกาสให้นักวาด นักเขียน และสำนักพิมพ์เล็กๆ ได้มีที่วางขายผลงาน โดยมีฮ่งนั่งเล่นเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนองานของศิลปินทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ให้คนได้รู้จักมากขึ้น เพื่อช่วยผลักดันวงการนี้ในทางหนึ่ง ส่วนชื่อ ‘ฮ่งนั่งเล่น’ มาจากคำว่า ‘本’ (hon) ที่อ่านออกเสียงว่า ‘ฮ่น’ หรือ ‘ฮ่ง’ แปลว่าหนังสือในภาษาญี่ปุ่น บวกกับคำว่า ‘นั่งเล่น’ ด้วยความตั้งใจที่อยากทำให้คนที่เข้ามาในพื้นที่รู้สึกเหมือนมานั่งอ่านหนังสือในห้องนั่งเล่นของตัวเอง อีกทั้งคำว่า ฮ่ง ยังออกเสียงคล้ายเสียงเห่าของสุนัข ทำให้เธอปิ๊งไอเดีย […]
ชวนไปตรวจงานผู้ว่าฯ กทม. ที่ BKK Expo 2025 นิทรรศการรวบรวมผลงานตลอดสามปีมาให้สัมผัสถึงการเปลี่ยนแปลงของเมือง
การจะพัฒนาเมืองให้ดี มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่การโฟกัสเพียงแค่สิ่งปลูกสร้างหรือนโยบายต่างๆ เท่านั้น แต่ยังต้องสร้างสรรค์เมืองให้เหมาะสมกับคนทุกวัย ตั้งแต่วัยแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ เพราะผู้คนถือเป็นกำลังสำคัญในการพาให้เมืองของเราเติบโตไปอย่างดีด้วย สำหรับปีนี้ งาน Bangkok Expo 2025 มาพร้อมธีม ‘We Work, BKK Work เมืองประสิทธิภาพ คนสร้างอนาคต’ โดยเป็นนิทรรศการเมืองผลงานจากนโยบายตลอด 3 ปี ที่รวบรวมเอาไว้ให้ทุกคนได้ชมกัน ซึ่งนิทรรศการจะแบ่งออกเป็น 3 โซน คือ เมืองสะดวกปลอดภัย : ชมการบริหารความปลอดภัยเมืองตลอด 24/7 ชั่วโมง ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและสร้างประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านศูนย์บัญชาการเมืองจำลอง (Command Center) ที่จะทำให้เห็นการทดลองบริหารเมืองหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงบริการตรวจสุขภาพ คาเฟ่น้องแมวและน้องหมาด้วย เมืองยั่งยืน : ชมกระบวนการสร้างเมืองสีเขียวในทุกฤดูกาล และสำรวจโครงสร้างการบริหารเมืองเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ผ่านการโชว์กระบวนการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เรียนรู้พลังงานหมุนเวียนแหล่งใหม่กับมหานครโซล่าร์ และกิจกรรมเดินสำรวจนิเวศ เรียนรู้ธรรมชาติไปพร้อมกับความยั่งยืนของเมือง เมืองสร้างสรรค์ : ชมภาพเมืองแห่งความสร้างสรรค์ผ่านนิทรรศการมากมายอย่างการจำลองห้องเรียนปลอดฝุ่น ดิจิทัลคลาสรูม เพื่อต่อยอดความสร้างสรรค์และการศึกษา โลกความสร้างสรรค์นอกห้องเรียน โดยพื้นที่เล่นอิสระ […]
เรียนรู้วิธีการเดินให้สนุก สุขภาพดี และบำบัดจิตกับ ‘52 Ways to Walk อัศจรรย์แห่งการเดิน’ เลือกเลยว่า อยากเดินเมือง เดินป่า หรือเดินหลงทาง
ย้อนไปเมื่อตอนเด็กๆ หรือวัยเยาว์ เรามักจะเดินผจญภัยตามเมือง เข้าออกตรอกซอกซอย หรือกระทั่งบุกป่าฝ่าดงในสวนแถวบ้าน แต่พอโตขึ้น เข้าวัยทำงาน เราก็เดินน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยจากทำงาน อากาศร้อน มีรถยนต์ส่วนตัว ไปจนถึงความสะดวกสบายของบริการเดลิเวอรี ‘52 Ways to Walk อัศจรรย์แห่งการเดิน’ คือหนังสือที่เขียนโดย Annabel Abbs นักจิตภูมิศาสตร์ นักเขียน และนักเดิน ว่าด้วยการชักชวนให้เรากลับมา ‘หัดเดิน’ อีกครั้ง ผ่านสารพัดวิธีเดินถึง 52 วิธี ไม่ว่าจะเป็นการเดินเมือง เดินอาบป่า เดินแบกสัมภาระ เดินทำงาน เดินถอยหลัง เดินดมกลิ่น ไปจนถึงเดินแบบแรนดอม ปล่อยตัวเองให้หลงทาง เพราะอย่าลืมว่าทุกครั้งที่เราเดินก็เท่ากับเราช่วยลดมลภาวะทางอากาศและเสียง ทั้งยังป้องกันไม่ให้ที่ดินในเมืองกลายเป็นที่จอดรถ ถนน หรือศูนย์การค้า ขณะเดียวกัน การเดินทางด้วยวิธีนี้ยังเป็นการบำรุงรักษาดูแลเมืองให้สะอาด ปลอดภัย รื่นรมย์ ใกล้ชิดกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมในแบบที่ได้กลิ่นต้นไม้ใบหญ้า หรือแวะทักทายเล่นกับน้องหมาน้องแมว ไถ่ถามถึงความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านได้ นอกจากวิธีการเดินให้สนุกอย่างการเดินชมทัศนียภาพ เดินเพลินไปกับกลิ่นเมือง เดินท่ามกลางแสงแดด เดินลุยฝน ฯลฯ ใน 52 […]
‘RUBIX SQUARE’ พื้นที่สาธารณะที่ตั้งใจให้คนออกกำลังกาย ผ่านการออกแบบจากแนวคิดเรขาคณิต
Rubix Square ตั้งอยู่ในย่านที่อยู่อาศัยของเมืองฝูโจว ประเทศจีน ผลงานจากสตูดิโอสถาปัตยกรรม 100architects รังสรรค์ปรับปรุงพื้นที่สาธารณะธรรมดาๆ ให้กลายเป็นพื้นที่สร้างเสริมจินตนาการจากเหล่าเรขาคณิต ประกอบด้วย 5 ส่วนหลักที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกีฬาและกิจกรรมต่างๆ โดยมี ‘Rubix Square’ เป็นประติมากรรมขนาดยักษ์ที่เข้าไปใช้งานได้จริงตั้งอยู่ใจกลางลานกว้าง อาคารรูปทรงแปลกนี้เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่จำลองมาจากลูกบาศก์รูบิก มีพื้นที่สามชั้นที่ผู้คนเข้าไปสำรวจและเล่นได้ ซึ่งข้างในก็มีความสูงที่แตกต่างกัน เหมาะสำหรับปีนป่าย ฝึกการเคลื่อนไหวของเด็กๆ และยังทำให้ได้เห็นวิวที่ต่างกันออกไปในแต่ละมุม รวมถึงสไลเดอร์และ Tic-tac-toe ขนาดใหญ่ให้ได้เล่น XO กันบนกระดานที่ทั้งสูงและกว้าง The Hashtag ที่คล้ายเขาวงกตธรรมดาๆ แต่กลับแทรกลูกเล่นไว้มากมาย ทั้งรูปร่างต่างๆ อย่างวงกลม กากบาท ให้เด็กๆ แทรกตัวเข้าไป มีชิงช้าซ่อนไว้แอบๆ หรือจะสไลด์ลงมาผ่านท่อขนาดใหญ่ก็ยังได้ รวมถึง Basket Triangle ที่มีห่วงบาสเกตบอลที่จัดเรียงอย่างสวยงาม หมดปัญหาแย่งกันโยนลงห่วงเดียว เพราะที่นี่มีห่วงนับสิบเรียงรายเป็นรูปสามเหลี่ยม นอกจากนั้นยังมี Wall Ball กำแพงที่มีเป้าสำหรับฝึกซ้อมฟุตบอล และ Heli-Skate สวนสเกตขนาดเล็ก สำหรับคนที่เริ่มๆ ฝึกสเกตให้มีพื้นที่ฝึกซ้อมที่ทั้งกว้างและไม่อันตรายเกินไป พื้นที่ทั้งหมดถูกออกแบบด้วยพื้นสีสันสดใส ไม่ว่าจะเหลือง เขียว […]
‘Davis Center’ ศูนย์กลางกิจกรรมแห่งใหม่ใน Central Park เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจภายใต้ธรรมชาติได้ทุกฤดู
สวนสาธารณะที่เรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติขนาดใหญ่กลางกรุงนิวยอร์กอย่าง Central Park ไม่ได้มีแค่พื้นที่สีเขียวที่ชวนให้ผู้คนอยากมาออกกำลังกาย ปิกนิก หรือแม้แต่นั่งอ่านหนังสือภายใต้ร่มเงาสีเขียวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ที่นี่ยังมีศูนย์กิจกรรมที่เปิดต้อนรับผู้คนให้เข้ามาใช้งานพื้นที่ด้วย โครงการ ‘Davis Center’ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวนิวยอร์ก Susan T Rodriguez ร่วมกับ Mitchell Giurgola ตั้งอยู่ที่ Harlem Meer ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของ Central Park และเป็นหนึ่งในจุดหมายยอดนิยมที่ขึ้นชื่อเรื่องความงดงามของทิวทัศน์และกิจกรรมที่มีให้ทำมากมาย ก่อนหน้านี้ บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ Lasker Rink and Pool ลานสเกตน้ำแข็งและสระว่ายน้ำเก่าที่เปิดให้ใช้งานมาอย่างยาวนาน และมีปัญหาในเรื่องการปิดทางน้ำไหลระหว่าง Ravine และ Harlem Meer ทำให้เดินผ่านพื้นที่ได้ยาก ส่งผลให้บริเวณที่เคยสวยงามนั้นถูกมองข้ามไป การปรับปรุงพื้นที่แห่งใหม่ให้เป็น Davis Center นอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจใหม่แล้ว ยังช่วยฟื้นฟูธารน้ำให้กลับมาไหลได้ พร้อมให้คนที่เข้ามาใช้พื้นที่ไปเดินเล่นชมความสวยงามอีกครั้ง ศูนย์กิจกรรมแห่งนี้อยู่ต่ำลงมาด้านล่างเหมือนกับซ่อนตัวอยู่ภายใต้ธรรมชาติ ตัวหลังคาของอาคารทอดยาวกลมกลืนไปกับพื้นที่รอบข้าง และสามารถเดินชมธรรมชาติได้ มีกำแพงกระจกหันหน้าออกไปทางสระว่ายน้ำ โปร่งสบาย ทำหน้าที่คล้ายกับระเบียง ส่วนอีกฝั่งเป็นกำแพงหินโค้งที่ด้านหลังมีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องน้ำ ห้องให้เช่า และร้านกาแฟขนาดเล็ก สระว่ายน้ำแห่งใหม่นี้จะกลายเป็นลานสเกตน้ำแข็งในฤดูหนาว […]
‘กลิ่นฉี่ในเมือง’ มลภาวะทางกลิ่นในกรุงเทพฯ ที่ทำให้หลายพื้นที่ไม่น่าใช้งาน
เคยไหม เวลาเดินไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ บ้านบางหลังจะแขวนป้ายหรือไวนิลไว้หน้าบ้านทำนองว่า ‘ห้ามฉี่’ ถึงจะดูเป็นเรื่องตลก แต่ปัญหาเหล่านี้กลับสร้างความกวนใจให้เจ้าของบ้านมากๆ รวมถึงคนที่เดินผ่านไปผ่านมาก็ต้องคอยรับผลกระทบจากมลภาวะทางกลิ่นไปด้วย การติดป้ายอาจช่วยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นการแก้ปัญหาของประชาชนและเอกชน ส่วนพื้นที่สาธารณะกลับไม่ค่อยเห็นการห้ามในลักษณะนี้เท่าไหร่ ทั้งที่ก็เป็นพื้นที่คอยรองรับปริมาณฉี่ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเสาไฟ พื้นทางเท้า หรือต้นไม้ ยิ่งเฉพาะบริเวณใต้ทางด่วนที่อับสายตาผู้คน ส่งผลให้บรรยากาศโดยรอบไม่น่าอภิรมย์เอาเสียเลย กลิ่นฉี่ทำลายทั้งบรรยากาศและโครงสร้างต่างๆ ทั้งๆ ที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคนพลุกพล่าน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวหรือผู้อยู่อาศัย แต่ในหลายๆ พื้นที่ที่เดินเท้าได้กลับมีกลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างกลิ่นฉี่หมักหมม ส่งกลิ่นโชยออกมาให้ต้องรีบจ้ำอ้าวหนี และหากบริเวณไหนที่มีกลิ่นอยู่แล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งดึงดูดให้คนมาฉี่เพิ่ม กลายเป็นพื้นที่สำหรับรองรับของเสียไปโดยปริยาย ส่งผลให้หลายๆ เส้นทางไม่น่าใช้งาน มากไปกว่าเรื่องของกลิ่นฉุน หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ฉี่ยังสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่โดยรอบ และเป็นการทำลายทรัพย์สินทั้งของสาธารณะและส่วนตัว เพราะในฉี่ของมนุษย์มียูเรียซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดที่ทำลายทั้งคอนกรีต เหล็ก และโลหะ หากปล่อยให้เกิดการสะสมของฉี่เป็นเวลานานก็อาจส่งผลต่อโครงสร้าง ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นๆ เสียหาย เหตุผลของคนเลือกฉี่ข้างทาง นอกเหนือจากความมักง่ายของคนแล้ว เป็นไปได้ว่าด้วยจำนวนห้องน้ำสาธารณะที่มีค่อนข้างน้อยและหายากในหลายๆ พื้นที่ จึงทำให้คนเลือกปลดปล่อยของเหลวส่งกลิ่นตามพื้นที่ข้างทางมากกว่า หรือต่อให้เป็นห้องน้ำกึ่งสาธารณะที่เรามองว่ามีจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วไปในเมือง เช่น ในห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน หรือสวนสาธารณะ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลาเปิด-ปิด ที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะคนที่ทำงานเป็นกะ หรือทำงานทั้งวันทั้งคืนอย่างแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ […]
eslite UNDERGROUND R79 ร้านหนังสือใต้ดินที่ยาวที่สุดในไต้หวัน เริ่มที่สถานี Zhongshan จบที่ Shuanglian
ถ้าใครมีโอกาสแวะไปที่ Zhongshan ย่านฮิปๆ ของวัยรุ่นชาวไต้หวัน คงคุ้นเคยกับภาพร้านรวงตลอดสองข้างทาง และ Xinzhongshan Linear Park หนึ่งในพื้นที่สาธารณะแนวยาวกลางเมืองไทเป ที่แม้พื้นที่จะเล็กเพียง 500 เมตร แต่ก็มีทุกอย่างครบถ้วน เชื่อมทิศเหนือ-ใต้ระหว่าง MRT Zhongshan และ MRT Shuanglian ซึ่งในช่วงสุดสัปดาห์จะเนืองแน่นไปด้วยบูทงานคราฟต์ของศิลปินชาวไต้หวัน แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจาก Xinzhongshan Linear Park ที่มีคนใช้บริการอย่างล้นหลามแล้ว บริเวณใต้ดินตลอดแนวยาวต่างก็คึกคักไม่แพ้กัน ด้วย ‘Zhongshan Underground Book Street’ ถนนหนังสือที่เหล่าหนอนหนังสือเห็นจะต้องว้าว เพราะนอกจากทางเดินเชื่อมระหว่าง MRT Zhongshan และ MRT Shuanglian และพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับหนังสือแล้ว ถนนแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ ‘eslite UNDERGROUND R79’ ร้านหนังสือสัญชาติไต้หวันที่วางตัวทอดยาวตลอดทั้งถนนใต้ดินสายนี้ ด้วยระยะทางประมาณ 500 เมตร หรือเทียบง่ายๆ กับการเดินทางในกรุงเทพฯ คือ จาก BTS สถานีสยาม […]
เปิดมุมมองงานดีไซน์ไปกับ ‘วัสดุตกแต่ง’ จาก COTTO งานสถาปนิก’68 และ COTTO LiFE ดอนเมือง 29 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2568
เรามักเห็นการออกแบบใหม่ๆ จาก ‘COTTO’ แบรนด์และผู้นำอุตสาหกรรมกระเบื้อง ก๊อกน้ำ และสุขภัณฑ์ของไทยอยู่เสมอในงานจัดแสดงและอีเวนต์ต่างๆ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชันการใช้งาน คุณภาพ หรือดีไซน์หรูหรามีระดับ ปีนี้ก็เช่นกัน COTTO ได้นำสินค้าคุณภาพดีมาจัดแสดงที่ ‘สถาปนิก’68 : งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 37’ ภายใต้แนวคิด ‘Reimagine Living Refinement’ ที่อยากให้นักออกแบบและผู้ที่สนใจมองไปยังจุดเริ่มต้นของการออกแบบ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์แบบ ทั้งด้านรูปลักษณ์ การใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความพิเศษคือ COTTO เปิดตัวไลน์วัสดุตกแต่ง (Decorative Materials) เพื่อเป็นการยกระดับและแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอีกขั้นของแบรนด์ จากเดิมที่นำเสนอเพียงกระเบื้องและสุขภัณฑ์ ก็มีการเพิ่มเติมส่วนวัสดุตกแต่งระดับไฮเอนด์ ที่มีจุดยืนเป็นอุตสาหกรรมรักษ์โลกเข้ามาอีกด้วย ภายในงานสถาปนิก’68 ทุกคนจะได้พบกับสินค้าไฮไลต์ทั้ง COTTO The Surface และ COTTO Bathroom ภายใต้การออกแบบบูทในลักษณะสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ที่สื่อถึงการเชื่อมต่อทุกพื้นที่ผ่านหลากหลายมุมมองใหม่ในทุกมิติแบบรอบด้าน ขณะเดียวกัน ทางแบรนด์ยังมีอีกหนึ่งงานแสดงที่จัดขึ้นพร้อมกันที่โชว์รูม ‘COTTO LiFE ดอนเมือง’ ภายใต้คอนเซปต์เดียวกันให้เป็นอีกตัวเลือกไปเยี่ยมเยียน สำหรับ COTTO […]
ชาวลอนดอนใช้จักรยานเพิ่มขึ้น 50% ในสองปี จากการเพิ่มเส้นทางปั่นจักรยานใหม่ๆ ช่วยลดการใช้รถยนต์และมลพิษภายในเมือง
ลอนดอนเป็นเมืองใหญ่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน แถมยังเคยติดอันดับเมืองที่รถติดที่สุดในโลกเมื่อปี 2565 แต่ในปี 2567 ที่ผ่านมากลับมีสถิติใหม่ที่น่าสนใจ เพราะมีรายงานจาก City of London Corporation ว่า จากปี 2565 ถึง 2567 มีการใช้รถยนต์ในเมืองลอนดอนลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวเลขการเดินทางด้วยการปั่นจักรยานเพิ่มมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว นับว่าเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากในระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น หากเจาะไปในรายละเอียดจะพบว่า เดือนตุลาคม 2567 มีคนปั่นจักรยาน 139,000 คนต่อวันใน 30 สถานที่ เพิ่มขึ้นจาก 89,000 คนในปี 2565 และจำนวนคนขี่จักรยานคิดเป็น 56 เปอร์เซ็นต์ของการจราจรทั้งหมดในช่วงเวลาเร่งด่วนตอน 08.00 – 09.00 น. และ 18.00 – 19.00 น. ซึ่งจำนวนการปั่นจักรยานที่เพิ่มขึ้นนี้ยังส่งผลต่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นด้วย เห็นได้จากปี 2562 ที่มีค่าไนโตรเจนไดออกไซด์มากถึง 15 พื้นที่ในลอนดอน […]
สวนสาธารณะบึงน้ำลาดพร้าว 71 พื้นที่ออกกำลังกาย พักใจให้เต็มอิ่ม ด้วยสวนลอยน้ำบนพื้นที่กว่า 21 ไร่
กำลังมองหาที่ออกกำลังกายใกล้บ้านกันอยู่หรือเปล่า วันนี้ Urban Creature อยากแนะนำ สวนสาธารณะบึงน้ำลาดพร้าว 71 ให้ชาวลาดพร้าวและละแวกใกล้เคียงได้สัมผัสพื้นที่สีเขียวดีๆ อีกหนึ่งแห่งของกรุงเทพฯ ที่นี่เป็นสวนลอยน้ำ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายขนาดใหญ่กว่า 21 ไร่ ใจกลางย่านลาดพร้าว มีทั้งสนามเด็กเล่น บึงขนาดใหญ่ พร้อมอาหารปลาขายเพียงขวดละ 10 บาท ให้มาให้อาหารปลากันได้ แถมยังมีลานหินนวดเท้า เรือนเพาะชำ สนามหญ้าเทียมลอยน้ำขนาดกว้าง ให้เด็กๆ มาวิ่งเล่นได้เต็มที่ พร้อมด้วยเครื่องออกกำลังกายหลากหลายแบบ และเส้นทางเดิน-วิ่ง ให้มาออกกำลังกายกันทั้งเช้าและเย็น สวนแห่งนี้เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 21.00 น. จะขับรถยนต์มาก็ได้ มีที่จอดให้พร้อม หรือหากเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลงที่สถานีลาดพร้าว 71 ต่อมอเตอร์ไซค์เข้ามาอีกประมาณ 10 นาทีเท่านั้น (maps.app.goo.gl/7Yon6e6a9kuDcLeg9) Source :Greener Bangkok | tinyurl.com/2xwrc8vh
Simmons Hall ชวนไปส่องหอพักนักศึกษา MIT ที่ถูกโหวตให้เป็นตึกหน้าตาน่าเกลียดที่สุดในอเมริกา
เกิดอะไรขึ้น ทำไมตึกตึกหนึ่งถึงถูกโหวตให้เป็นตึกที่น่าเกลียดที่สุดในอเมริกาประจำปี 2025 ได้ Simmons Hall คือหอพักขนาด 10 ชั้น ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ (MIT) ที่ออกแบบโดย ‘สตีเวน โฮลล์’ (Steven Holl) โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างและปรับปรุงรูปโฉมของ MIT ด้วยการสร้างอาคาร สิ่งอำนวยความสะดวก และศูนย์วิจัยต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ที่มาของการออกแบบอาคารคือ แนวคิด Modernism ที่ได้รับความนิยมในช่วงนั้น ทำให้ตึกมีรูปร่างแปลกตา มีรูพรุนคล้ายฟองน้ำทั่วทั้งอาคาร เพื่อให้แสงลอดผ่านช่องเปิดขนาดใหญ่หลายช่องเข้าไปภายใน อีกทั้งยังช่วยระบายและหมุนเวียนอากาศได้ดีขึ้น กล่าวคือ เมื่อมีแสงแดดส่องในฤดูหนาวจะทำให้ตัวอาคารอบอุ่น ในขณะที่โครงสร้างอาคารจะสร้างร่มเงาและถ่ายเทอากาศให้รู้สึกเย็นสบายในช่วงฤดูร้อน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป จากตึกที่ดูโดดเด่นจนหลายคนหยิบยกเป็นหนึ่งในหอพักที่สวยที่สุด ต่อมาในปี 2025 ก็กลับกลายเป็นผู้ชนะรางวัล International Aesthetic Atrocity Awards ที่คณะสถาปนิกและนักผังเมืองนานาชาติกลุ่ม Architectural Uprising ลงความเห็นว่าเป็นตึกที่น่าเกลียดที่สุดในอเมริกา สถาปนิกให้ความเห็นว่า เพราะ Simmons Hall เป็นตึกที่เต็มไปด้วยคุณลักษณะคลาสสิกของ Modernism ทำให้มีโครงสร้างที่ดูไม่สวยงาม และหน้าต่างที่วางอย่างไม่เป็นระเบียบ […]
VIDEOS
URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่ฟรีแลนซ์วงการสร้างสรรค์ไม่ได้เล่า
หลายคนอาจไม่รู้ว่า สื่อบันเทิงที่ให้ความสนุกและเอนจอยหลายครั้งต้องแลกมากับความไม่เป็นธรรมที่คนทำงานสร้างสรรค์ได้รับ รายการ Urban Untold อีพีนี้ชวนฟรีแลนซ์สื่อสร้างสรรค์ที่ใครๆ ก็บอกว่าได้เงินเยอะเพราะรับงานเท่าไหร่ก็ได้ แถมสบายเพราะเป็นเจ้านายตัวเอง มาบอกเล่าถึงปัญหาในการทำงานที่พวกเขาต้องเผชิญ ตั้งแต่เรื่องคอนเนกชันที่ทำให้คนทำงานบางส่วนถูกตัดโอกาส สัญญาที่ไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการตกลงกันปากเปล่า ไปจนถึงความไม่แน่นอนของรายได้ *วิดีโอชิ้นนี้ผลิตขึ้นโดยนักข่าวที่เข้าร่วมโครงการ UNDP Media Fellowship on Sustainable Development ในหัวข้อ Business and Human Rights*
เพิ่มมูลค่าขยะพลาสติกผ่านการดีไซน์
รู้หรือเปล่าว่า ไม่ว่าจะเป็นพระสติ, บอร์ดเกม Waste War, รูบิก Tactile Cube หรือปากกาวาดรูปจากไหมพรมในชื่อ เล่นเส้น ต่างก็เป็นผลงานของแบรนด์ ‘Qualy’ กันทั้งนั้น! ว่าแต่จุดเริ่มต้นของ Qualy ที่หยิบจับเอาพลาสติกรีไซเคิลมาออกแบบเป็นของใช้ดีไซน์สวยงามที่มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานสุดว้าว จนครองใจคนไทยมายาวนานกว่า 20 ปีได้ยังไง ตามไปคุยกับ ‘ใจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ Design Director และ Founder ของแบรนด์ Qualy ที่ยืนหยัดครองตลาด พร้อมสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านผลงานได้ในคลิปนี้
Acousticity | paiiinntt คืนที่ไม่มีจันทร์ Live Session @พระปกเกล้า สกายปาร์ค
ในเมืองที่มีผู้คนหลากหลาย อาจมีใครหลายคนที่กำลังเศร้าหรือไม่สมหวังกับความรัก บรรยากาศท่ามกลางแสงจันทร์ที่ส่องลงมาอาจทำให้ใครหลายคนนึกถึงวันที่เคยอยู่ด้วยกันกับคนรัก เมื่อจากกันไปแล้วก็ราวกับว่าแสงจันทร์นั้นไม่ส่องลงมาอีก วันนี้ Urban Creature เลยพา ‘paiiinntt’ ศิลปินจากค่าย ‘Kiddo Records’ มาเล่นเพลง ‘คืนที่ไม่มีจันทร์’ บนสวนลอยฟ้า ‘พระปกเกล้า สกายปาร์ค’ เพื่อให้แสงจันทร์สาดส่องให้ความรักนั้นกลับมาอีกครั้ง
Acousticity Playlist Season | 2024
เข้าสู่ช่วงเวลาสิ้นปี บรรยากาศของการเฉลิมฉลองปีใหม่ก็เริ่มมีให้เห็นทั่วทั้งเมือง หลายคนอาจอยากออกนอกบ้านเพื่อไปเฉลิมฉลอง แต่ก็มีอีกหลายคนที่อาจไม่ได้ชอบไปสังสรรค์ข้างนอกเท่าไหร่นัก หากเพื่อนๆ อยู่บ้านไม่ได้ไปไหน เราขอชวนให้มาฟังเพลงเพราะๆ จากรายการ Acousticity รายการที่จะนำศิลปินมาบรรเลงเพลงท่ามกลางเสียงของเมืองกรุงเทพฯ ก่อนปีใหม่กัน
เมืองที่เราอยู่เป็นแบบไหน? | Urban Creature
ในมุมมองของคุณ เมืองของเราเป็นเมืองแบบไหน เมืองของคนรุ่นใหม่ เมืองสีเขียว เมืองแห่งความวุ่นวาย หรือเมืองแห่งการเดินทาง Urban Creature ชวนทุกคนมา Wrap up มุมมองของเราที่มีต่อเมืองแห่งนี้ และหวังว่ามันจะช่วยให้ทุกคนอยากทำให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองที่น่าอยู่มากขึ้น ‘Let’s make a better city for better living.’
คุยเรื่องแสงไฟ ชีวิต และเมือง กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’
เมืองยามค่ำคืนเต็มไปด้วยแสงสว่างจากหลากหลายที่ จนหลายครั้งก็อาจเป็นมลภาวะทางแสงให้กับเราโดยไม่รู้ตัว จะดีกว่าไหมหากเมืองเรามีการออกแบบแสงสว่างที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยชีวิตเราได้ในทุกมิติ “การออกแบบแสงสำหรับเมือง มันก็จะมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาชุมชนเมืองอย่างยั่งยืนในทุกมิติ” Urban Creature คุยกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถึงเรื่องแสงสว่างที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราและควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน
URBAN PODCAST
REPORT
สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’
ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]
ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?
กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]
ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่
เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]
‘ทุกๆ สัปดาห์ เรากินไมโครพลาสติกคนละ 5 กรัม’ รู้จักภัยร้ายใกล้ตัวในยุคพลาสติกครองโลก ที่สร้างปัญหาให้เรามากกว่าที่คิด
‘ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ยุคพลาสติก’ หลังจากที่โลกของเราผ่านยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็กกันมา ปัจจุบันคงพูดได้อย่างเต็มปากว่าโลกของเราได้เข้าสู่ยุคพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน หยิบจับอะไร สิ่งเหล่านั้นก็มักมีส่วนผสมของพลาสติกไม่มากก็น้อย การใช้งานพลาสติกแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ล้วนแต่สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพมหาศาล เพราะพลาสติกหนึ่งชิ้นใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 450 ปี และในระหว่างการย่อยสลายก็สร้างปัญหามากมาย เกิดเป็นมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืช รวมถึงตัวเราเอง และอีกหนึ่งภัยร้ายของพลาสติกที่หลายคนเริ่มพูดถึงในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น ‘ไมโครพลาสติก’ (Microplastic) เศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่สร้างปัญหาไม่น้อยในปัจจุบัน วันนี้ Urban Creature เลยขอรับอาสามาแจกแจงถึงประเด็นไมโครพลาสติก ตั้งแต่คำอธิบาย ผลกระทบ ไปจนถึงวิธีการที่ช่วยลดการเกิดไมโครพลาสติก ทั้งเริ่มด้วยตัวเองและกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในหลากหลายประเทศ Intro Microplastic 101 เมื่อพูดถึงการแบ่งประเภทพลาสติก หลายคนอาจนึกถึงพลาสติก PET PVC PP หรือ PLA ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่ในความเป็นจริงเรายังจำแนกพลาสติกได้จากขนาดของมันด้วย โดยเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กตามขนาดของหน่วยเอสไอ (SI Unit) ที่ใช้สำหรับการวัดทางวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่พลาสติกทั่วไป ไปที่ไมโครพลาสติก (Microplastic) ที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเล็กลงไปถึงขนาดนาโนพลาสติก […]
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ ‘สาววาย’ กู้โลก การเดินทางของสื่อบันเทิงวายในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยที่มีทั้งได้และเสีย
Disclaimer : บทความนี้เขียนโดยคนที่เรียกตัวเองว่าสาววายในอดีต แต่ปัจจุบันนิยามตัวเองว่าผู้วิเคราะห์พฤติกรรมอันมีพิรุธของเด็กหนุ่มสองคน ถ้าข้อมูลตกหล่นขอให้ทักมาหยิกหลังกันก่อนได้ค่ะ แกๆ เป็นอะไรอะอ๋อ เป็นสาววาย ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่คำว่า ‘สาววาย’ กลายเป็นคำตอบของทุกสิ่งที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ใดก็ตามที่ดูไม่เมกเซนส์ให้ปิดจบได้ จนเกิดเป็นวลี ‘สาววายกู้โลก’ ที่ช่วยชุบชีวิตไทม์ไลน์สุดเคร่งเครียดให้มีสีสัน แต่กว่าสาววายจะเชิดหน้าชูตา พูดเล่นติดตลกได้อย่างทุกวันนี้ ก็ต้องล้มลุกคลุกคลานมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการหลบๆ ซ่อนๆ ส่งซิกรหัสลับกับคนขายหนังสือเหมือนลักลอบส่งของผิดกฎหมาย ต้องฟันฝ่ากับคำว่าไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ต้องเจอกับการตื่นรู้เพื่อข้ามผ่านจากสาววายสมองไหลมาเป็นสาววายคุณภาพ นอกจากตัวแฟนคลับที่เติบโตขึ้น สื่อบันเทิงในรูปแบบวายหรือสื่อที่นำเสนอภาพชายรักชายและหญิงรักหญิงก็เดินทางมาไกลไม่ต่างกัน จนตอนนี้นับเป็นภาพจำของประเทศไทยที่หลายคนมองว่านี่แหละคือ ‘ซิกเนเจอร์ เลเยอร์คัสตอม ซอฟต์พาวเวอร์ ออนเดอะร็อก เฮลตี้’ คอลัมน์ Report ประจำ Pride Month เลยขอชวนมาสมองไหล ส่องการเดินทางของอุตสาหกรรมวายที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ไปจนถึงการถกเถียงเรื่องข้อดีข้อเสียของการมีอยู่ของมัน เปิดไทม์ไลน์ สาววาย (พี่จะอยู่) ทุกยุค ‘สาววาย’ เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเสพสื่อประเภทชายรักชาย (Boys Love : BL) หรือหญิงรักหญิง (Girls Love : GL) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยถอดเอาตัวอักษรตัวแรกของคำว่า […]
Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส
ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]
จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024
เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]
สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่
‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]
ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่
เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]
‘ทุกๆ สัปดาห์ เรากินไมโครพลาสติกคนละ 5 กรัม’ รู้จักภัยร้ายใกล้ตัวในยุคพลาสติกครองโลก ที่สร้างปัญหาให้เรามากกว่าที่คิด
‘ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ยุคพลาสติก’ หลังจากที่โลกของเราผ่านยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็กกันมา ปัจจุบันคงพูดได้อย่างเต็มปากว่าโลกของเราได้เข้าสู่ยุคพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน หยิบจับอะไร สิ่งเหล่านั้นก็มักมีส่วนผสมของพลาสติกไม่มากก็น้อย การใช้งานพลาสติกแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ล้วนแต่สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพมหาศาล เพราะพลาสติกหนึ่งชิ้นใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 450 ปี และในระหว่างการย่อยสลายก็สร้างปัญหามากมาย เกิดเป็นมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืช รวมถึงตัวเราเอง และอีกหนึ่งภัยร้ายของพลาสติกที่หลายคนเริ่มพูดถึงในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น ‘ไมโครพลาสติก’ (Microplastic) เศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่สร้างปัญหาไม่น้อยในปัจจุบัน วันนี้ Urban Creature เลยขอรับอาสามาแจกแจงถึงประเด็นไมโครพลาสติก ตั้งแต่คำอธิบาย ผลกระทบ ไปจนถึงวิธีการที่ช่วยลดการเกิดไมโครพลาสติก ทั้งเริ่มด้วยตัวเองและกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในหลากหลายประเทศ Intro Microplastic 101 เมื่อพูดถึงการแบ่งประเภทพลาสติก หลายคนอาจนึกถึงพลาสติก PET PVC PP หรือ PLA ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่ในความเป็นจริงเรายังจำแนกพลาสติกได้จากขนาดของมันด้วย โดยเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กตามขนาดของหน่วยเอสไอ (SI Unit) ที่ใช้สำหรับการวัดทางวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่พลาสติกทั่วไป ไปที่ไมโครพลาสติก (Microplastic) ที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเล็กลงไปถึงขนาดนาโนพลาสติก […]
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ ‘สาววาย’ กู้โลก การเดินทางของสื่อบันเทิงวายในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยที่มีทั้งได้และเสีย
Disclaimer : บทความนี้เขียนโดยคนที่เรียกตัวเองว่าสาววายในอดีต แต่ปัจจุบันนิยามตัวเองว่าผู้วิเคราะห์พฤติกรรมอันมีพิรุธของเด็กหนุ่มสองคน ถ้าข้อมูลตกหล่นขอให้ทักมาหยิกหลังกันก่อนได้ค่ะ แกๆ เป็นอะไรอะอ๋อ เป็นสาววาย ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่คำว่า ‘สาววาย’ กลายเป็นคำตอบของทุกสิ่งที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ใดก็ตามที่ดูไม่เมกเซนส์ให้ปิดจบได้ จนเกิดเป็นวลี ‘สาววายกู้โลก’ ที่ช่วยชุบชีวิตไทม์ไลน์สุดเคร่งเครียดให้มีสีสัน แต่กว่าสาววายจะเชิดหน้าชูตา พูดเล่นติดตลกได้อย่างทุกวันนี้ ก็ต้องล้มลุกคลุกคลานมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการหลบๆ ซ่อนๆ ส่งซิกรหัสลับกับคนขายหนังสือเหมือนลักลอบส่งของผิดกฎหมาย ต้องฟันฝ่ากับคำว่าไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ต้องเจอกับการตื่นรู้เพื่อข้ามผ่านจากสาววายสมองไหลมาเป็นสาววายคุณภาพ นอกจากตัวแฟนคลับที่เติบโตขึ้น สื่อบันเทิงในรูปแบบวายหรือสื่อที่นำเสนอภาพชายรักชายและหญิงรักหญิงก็เดินทางมาไกลไม่ต่างกัน จนตอนนี้นับเป็นภาพจำของประเทศไทยที่หลายคนมองว่านี่แหละคือ ‘ซิกเนเจอร์ เลเยอร์คัสตอม ซอฟต์พาวเวอร์ ออนเดอะร็อก เฮลตี้’ คอลัมน์ Report ประจำ Pride Month เลยขอชวนมาสมองไหล ส่องการเดินทางของอุตสาหกรรมวายที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ไปจนถึงการถกเถียงเรื่องข้อดีข้อเสียของการมีอยู่ของมัน เปิดไทม์ไลน์ สาววาย (พี่จะอยู่) ทุกยุค ‘สาววาย’ เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเสพสื่อประเภทชายรักชาย (Boys Love : BL) หรือหญิงรักหญิง (Girls Love : GL) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยถอดเอาตัวอักษรตัวแรกของคำว่า […]
Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส
ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]
จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024
เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]
สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่
‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]
สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’
ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]
ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?
กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]