Sunny Bear ขนมปังแฮนด์คราฟต์ที่เกิดจากศิลปะและการทดลอง

‘Sunny Bear Coffee Roasters & Hand Craft Bread Baker’ ขนมปังและกาแฟแฮนด์คราฟต์ ที่ผสานทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันจนออกมาเป็นของกินแสนอร่อย โดยกลิ่นอายของร้านนี้เกิดจากความชอบกินขนมปังและกาแฟเป็นพื้นฐานเดิม ค่อยๆ ศึกษาและทำออกมาในรูปแบบตัวเอง จะเห็นได้ว่าทั้งขนมและกาแฟมีความเรียบง่าย สะท้อนความเป็นตัวตนของทั้งสองคนได้อย่างชัดเจน | ชอบกินขนมปังและชอบดื่มกาแฟกลายเป็นจุดเริ่มต้นของร้านนี้ ร้านเล็กๆ หลังสีขาวที่ตัดกันอย่างลงตัวกับสีน้ำตาล มองผ่านกระจกบานใสก็สามารถเห็นข้างในร้านได้อย่างชัดเจน อดไม่ได้ที่จะขอเปิดประตูเข้าไปคุยจึงได้รู้ถึงจุดเริ่มต้นที่ดูเป็นสิ่งเล็กๆ เพียงแค่ชอบกินขนมและชอบดื่มกาแฟเป็นทุนเดิม ค่อยๆ ออกเดินทางไปกินตามที่ต่างๆ มีถูกใจบ้างและไม่ถูกใจบ้าง จึงลองหันกลับมาทำเองในรสมือที่ตัวเองชื่นชอบ ทำให้ทั้ง ‘พี่เอซ นิลบล และพี่ไผ่-กอไผ่ ปาณินท์’ สองสามีภรรยาเจอรสสัมผัสที่ใช่และรสชาติที่ชอบ ทำให้เกิดร้าน Sunny Bear Coffee Roasters & Hand Craft Bread Baker ขึ้นมา พร้อมเสิร์ฟขนมปังและกาแฟโฮมเมดให้คนที่มีจริตเดียวกันได้ลิ้มรส ซึ่งกว่าจะเจอรสที่ใช่ทั้งคู่ได้ลงมือทดลองทำหลายแบบแล้วหลายแบบเล่า… | เกิดความหลงใหลจนต้องศึกษาอย่างเอาจริงเอาจัง เมื่อทั้งสองคนเริ่มรู้ตัวเองว่าชอบอะไร จึงค่อยๆ ศึกษามาเรื่อยๆ ต้องขอบอกว่า ก่อนหน้านี้ทั้งสองหลงรักการทำอาหารมาก ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผักสวนครัวเอง ทำไข่เค็มเอง […]

ตะลุยกินอินเดียเท่าที่รู้

ท้ามา ก็กล้าลอง ! หลังจากที่มีคนคอมเมนต์อยากให้ Urban Eat ไปลองชิมอาหารอินเดีย รสชาติพิเศษทั้งกลิ่นของเครื่องเทศ และแป้งที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่เคยลิ้มรสความถึงใจนี้ เราจึงไม่รอช้า หาพิกัดตะลุยเส้นทางสายเครื่องเทศ ไม่ว่าจะเป็นเมนูของคาวหรือของหวาน ที่มือใหม่หัดชิมก็กินได้ ! แต่จะเจอศึกหนักเบาขนาดไหน เตรียมสะบัดส่าหรีแล้วเตรียมท้องไปพร้อมกัน !

5 ดีไซน์เล้าไก่ คนสุขใจ ไก่อารมณ์ดี

“บ้าน” คงเป็นที่ซุกตัวและชาร์ตพลังได้ดี เวลาที่ชีวิตในเมืองทำเอาเราแบตหมดง่ายไปดื้อๆ และหากได้เลี้ยงสัตว์คู่ใจคงจะดีไม่ใช่น้อย บางบ้านคงเลี้ยงสุนัข แมว หรือปลา แต่บางบ้านหากมีพื้นที่เหลือลองเลี้ยงไก่ดูไหม ? เพราะมีไข่ให้กินอยู่ตลอดแน่นอน เราจึงหอบงานดีไซน์เล้าไก่กว่า 5 แบบมาให้เลือกสรร ที่จะเนรมิตเล้าไก่ธรรมดาที่เป็นภาพติดตามาโดยตลอด ให้ดูมีสไตล์ที่เรามองทีไร ก็สุขใจ และไก่คงจะแฮปปี้ไม่แพ้กัน | เล้าไก่ไม้โอ๊ค แบ่งเป็นสัดส่วน บ้านเดี่ยวสำหรับไก่ที่อยู่รวมกันได้ถึง 800 ตัว ออกแบบโดย SO สตูดิโอ โดยมี Kutluğ Ataman เป็นศิลปินที่ช่วยออกแบบ ซึ่งเล้าไก่นี้อยู่ที่ฟาร์มในประเทศตุรกี ซึ่งถูกสร้างด้วยวัสดุเรียบง่าย ซุ้มของเล้าทำจากไม้โอ๊คอัด แผงโลหะออกซิไดซ์ และหลังคาโลหะลูกฟูก หากวันข้างหน้ามีจำนวนไก่ที่เยอะขึ้น ก็จะมีพื้นที่สำหรับต่อเติมโครงสร้างเพื่อขยายเล้าได้ ส่วนตัวหลังคาจะลาดเอียง เพื่อทำให้เกิดร่มเงาภายใต้อาคาร สำหรับไก่ที่ต้องการพักผ่อนจะรู้สึกสบายตัว แม้วันนั้นอากาศจะร้อนแค่ไหนก็ตาม วัสดุที่เลือกจะเป็นไม้ซะส่วนใหญ่ เนื่องจากง่ายต่อการรักษา ไม้จึงเป็นทางเลือกที่เป็นวัสดุธรรมชาติ สำหรับที่พักอาศัยของสัตว์ ส่วนถึงเวลาเก็บไข่ คนเลี้ยงก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไป เพราะในเล้าจะมีช่องสำหรับให้คนเก็บไข่ และส่วนด้านในจะมีช่องไม้ทอดยาว แบ่งโซนชัดเจนเพื่อเป็นที่ให้ไก่เตรียมฟักไข่ ซึ่งเล้าไก่หลังนี้ยังใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อย อย่างการสำรวจพฤติกรรมของไก่ และคนในท้องถิ่นที่เคยดูแลไก่มาแล้ว จึงรู้ว่า “ถ้าไก่ไม่ชอบบ้านของตัวเอง […]

9 เรื่องปัง ปัง

ปัง ปัง ปัง เดือนนี้มีแต่ขนมปัง ! ขนมปังเป็นศาสตร์ที่รวมทั้งศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ใส่ลงไปให้ขนมปังชิ้นนั้นสมบูรณ์แบบ จนทำให้ขนมปังถูกแตกแขนงออกไปเป็นหลายประเภท หรือกลายเป็นตัวบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ได้เลย เราจึงขอทยอยเสิร์ฟเรื่องขนมปังอุ่นๆ ร้อนๆ ให้ทุกคนได้ลิ้มรสตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม แต่ตอนนี้อยากปูพื้นฐานไปพร้อมๆ กันก่อน กับความจริง 9 เรื่องปังปัง ของเหล่าขนมปังหอมกรุ่น  | ขนมปังเกิดจากความไม่ตั้งใจของคนในอดีต ? เพราะความไม่ได้ตั้งใจนี่แหละ เลยทำให้มนุษย์เกือบทั่วโลกมีขนมปังกิน ! ย้อนกลับไปเล่าให้ฟัง ขนมปังมีให้มนุษย์ได้ลิ้มลองมากว่า 30,000 ปีมาแล้วหรือมากกว่านั้น ซึ่งมีชาวเมโสโปเตเมียและชาวอียิปต์ ได้ลองนำเมล็ดข้าวสาลีมาตำในครกหิน จากนั้นนำไปผสมกับน้ำ และเทลงในบนแผ่นหินร้อนๆ ให้แป้งสุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ แถมยังมาพร้อมกับรสชาติที่อร่อยอีกด้วย กลายเป็นขนมปังโบราณที่มีชื่อว่า ‘Flatbread’ ซึ่งเป็นขนมปังที่มีส่วนประกอบอยู่แค่ไม่กี่อย่าง แถมยังไม่ใช้ผงฟูและยีสต์อีกด้วย ในตอนนั้นมีหลักฐานสำคัญเป็นภาพวาดจิตรกรรมคนถือขนมปังบูชาเทพพระเจ้าในสุสานหลายแห่ง ทั้งยังค้นพบหินโม่แป้งและเตาอบขนมปังที่ทำมาจากดินอีกต่างหาก การทำขนมปังถือว่าต้องใช้ทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้ามารวมกัน หลังจากนั้นเริ่มมีการใช้ยีสต์กันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ขนมปังฟู และเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้  | ครัวซองไม่ใช่ขนมปัง ? บางคนไปร้านเบเกอรี่มักจะเหมารวมว่าหลายๆ อย่างนั้นคือขนมปัง […]

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้ เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว ช้ะช้ะ… ห่างช่วงไหนใกล้เวลาที่ข้าวจะอุ้มท้องทุ่งนาส่องแสงสีเหลืองอร่ามมาแต่ไกล ซึ่งหลังเกี่ยวข้าวมักเหลือฟาง บ้างก็อัดก้อนขาย บ้างก็มักเผาทิ้ง แต่ส่วนใหญ่นิยมเผาซะมากกว่าเพราะต้นทุนไม่มากนัก แน่นอนล่ะ ว่าต้องเกิดควันโขมงที่ชั้นบรรยากาศอาจได้รับผลกระทบ เมื่อเป็นแบบนี้ ลองเปลี่ยนกันดีไหม ‘เปลี่ยนจากฟางที่ไร้ค่า มาเป็น “จาน” สร้างรายได้ให้ชุมชนกัน’ ‘ครูเต้ย-ดาธิณี ตามเติ้ง’ และ ‘พี่ออ-นาถลดา เข็มทอง’ คือสองหญิงหัวเรือหลักผู้ริเริ่มและเป็นประธานของศูนย์ฝึกมีชีวิตกศน. อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รวบรวมสิ่งรอบตัวของชาวบ้านที่มีอยู่ในมือแต่มักมองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็นผักตบชวา ฟางข้าว หรือเปลือกสับปะรด มาทำเป็นภาชนะใส่อาหารทั้งแห้งและน้ำ อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ | ฟางข้าวที่ไม่ไร้ค่า ‘ถ้าเริ่มต้นดี ขั้นตอนต่อไปจะไม่เหนื่อย’ พี่ออพูดก่อนเริ่มต้นทำจานข้าวฟาง ฟางหนึ่งก้อนราคาอยู่ที่ 25 บาท ขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ หากบ้านใครมีฟางอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อเลย นำฟางมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จะใช้กรรไกร มีดอีโต้ หรือมีดพร้าก็ได้ เพื่อความรวดเร็วขึ้น โดยขั้นตอนนี้มีความสำคัญเสมือนย่อยให้ฟางเล็กลง เพื่อช่วยร่นระยะเวลาตอนนำไปต้ม | ต้มจนยุ่ย 12 ชั่วโมง เจ้าขั้นตอนนี้แหละที่จะช่วยร่นระยะเวลามากขึ้น […]

‘ปลูกปั่น’ ทีมปั่นจักรยานส่งน้ำผลไม้ 5 สี เสิร์ฟสุขภาพดีทุกเช้า

กริ๊งๆ กริ๊งๆ ‘ทีมปลูกปั่น’ ส่งเสียงกริ่งจักรยานปลุกลูกค้าให้ลงมารับน้ำผักผลไม้ 5 สีในยามเช้าตรู่ โดยมี ‘คุณจัง-ศิริลักษณ์ มหาจันทนาภรณ์’ เป็นผู้บุกเบิกร้านปลูกปั่น และคิดโมเดลการส่งน้ำผลไม้ด้วยจักรยาน ซึ่งคุณจังเคยถูกสารพัดโรครุมเร้าตั้งแต่อายุยังไม่มากนัก จึงตั้งเป้าปรับการกินซะใหม่หมด เริ่มจากการกินผลไม้ครบ 5 สี ซึ่งสูตรก็ลองผิดลองถูกอยู่สักพักใหญ่ ในที่สุดก็เกิดเป็น ‘ปลูกปั่น’ ที่ปั่นน้ำผักผลไม้สด ส่งถึงมือลูกค้าอย่างทันควันในทุกๆ เช้า จนตอนนี้มีลูกค้าแตกแขนงออกไปเป็นวงกว้าง ที่ตั้งตารอคอยให้จักรยานคันเล็กๆ มากดกริ่งเรียกหน้าบ้าน

5 ไอเดียห่ออาหารด้วย ‘ขี้ผึ้ง’ จากธรรมชาติ

ทำไมต้องแรปขี้ผึ้ง ?  ความโดดเด่นที่ต้องหยิบยกขึ้นมาพูด คือเราสามารถใช้แรปขี้ผึ้งซ้ำได้หลายครั้ง โดยหลังจากใช้เสร็จเพียงนำไปล้าง แล้วผึ่งแดด นอกจากนี้ยังมีหลากหลายไซซ์ แต่ร้านที่ไปเลือกซื้อ จะมีตั้งแต่ 6×6 – 14×14 นิ้ว ดังนั้นเลือกใช้ให้ถูกกับภาชนะ หรือวัตถุดิบที่เราต้องการห่อ โดยวิธีห่อนั้นไม่ยากเลย เพียงแค่ใช้อุ้งมืออุ่นๆ ของเราเองค่อยๆ แรปไปจนกว่าผ้าแรปจะติดและอยู่ตัว วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมาแรปชามสลัด, ขวดน้ำผลไม้ฝาจีบ, ผักสด, บักเก็ตใส่ขนมสำหรับกินหน้าทีวี และแรปขนมปัง หากบางเวลากินไม่หมดภายในครั้งเดียว หรืออยากนำไปห่อวัตถุดิบเวลาไปตลาดสดก็สามารใช้ได้เลย | แรปชามสลัด  บางครั้งสลัดชามใหญ่กินครั้งเดียวอาจจะไม่หมด ดังนั้นควรเลือกแรปขี้ผึ้งที่ใหญ่กว่าปากชามสลัดเล็กน้อย 1. เช็ดปากชามให้แห้ง 2. จากนั้นวางแรปลงไป 3. ใช้ความอุ่นจากอุ้งมือกดแรปให้ชนกับขอบชาม เรื่อยๆ จนกว่าเนื้อแรปจะแนบติดกับชาม ข้อระวังคือภาชนะต้องแห้ง และหากอยู่ในห้องแอร์หรือที่อากาศเย็นต้องใช้เวลาติดแรปมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นอาจจะต้องใจเย็นๆ | ขวดฝาจีบ ขวดฝาจีบที่เปิดกินแล้ว อาจจะไม่ได้สนใจฝาอีกต่อไป และเมื่อดื่มไม่หมดเอาเข้าตู้เย็นเลย บางครั้งเครื่องดื่มมีกลิ่นอาหารติดมาด้วย ดังนั้นควรหาแรปผ้าขนาดที่ใหญ่กว่าปากขวดเล็กน้อย 1. ใช้อุ้งมือกดแรปลงไปให้แนบกับคอขวด 2. รอสักพักให้แรปอยู่ตัว เพียงเท่านี้ก็แช่ในตู้เย็นได้แล้ว โดยกลิ่นอาหารจะไม่มารวมกับรสชาติน้ำที่อร่อยๆ ของเรา | […]

ถ้าต้อง ‘เวฟพิซซ่า’ ยอมกินเย็นๆ ดีกว่าไหม

พิซซ่านั้นหาทานได้ง่าย แค่กดโทรศัพท์ก็ได้กินแล้ว แต่ถาดเดียวมาทีหลายๆ ชิ้น หากเอาความเป็นจริงบางคนแค่ 2 ชิ้นก็เกือบเต็มท้องแล้ว ทำให้การเก็บพิซซ่าแช่ในตู้เย็นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาไปเลย พอถึงวันถัดไปบางคนชอบอุ่นกินอีกครั้ง แต่กว่าจะได้กินต้องทำการอุ่นกันสักหน่อย บ้างก็จับเข้าไมโครเวฟ หรือเตาอบเสียเลย แต่รู้หรือเปล่าว่า แบบนั้นไม่ควรทำ ! เว็บไซต์ Eater ได้ออกมาแนะนำแล้วว่า การที่เอาพิซซ่าเข้าไมโครเวฟนั้นจะทำให้เนื้อสัมผัสเปียกเกินไป หรือหากเอาไปใส่เตาอบกว่าเตาจะร้อนและอุ่นให้เรากินได้ ก็ใช้เวลาเกือบ 10 นาที อาจจะทำให้พิซซ่าแข็งและแห้งเกินไปด้วยซ้ำ ความชุ่มฉ่ำซอสเหรอ ไม่ต้องหวังกันแล้ว  แล้วจะทำอย่างไรกันดีล่ะ ? ที่พอจะมีทางออกให้เรานั้นอุ่นแป้งโดว์ ชีส และซอสออกมายังอร่อยอยู่ สิ่งที่ต้องเตรียมคือกระทะ และฝาปิด จากนั้นเปิดไฟต่ำๆ วอร์มกระทะให้อุ่นเล็กน้อย นำพิซซ่าลงไปวางและหยดน้ำลงไปสัก 2-3 หยด ให้เสียงกระทะนั้นดังฉ่าขึ้นมา จากนั้นปิดฝากระทะลงเพื่อให้ไอน้ำนั้นค่อยๆ ก่อตัวและช่วยละลายชีส ที่ก่อนหน้านี้อาจจะแข็งและเหมือนแผ่นพลาสติกไปแล้ว เมื่อชีสกลับมาเหนอะหนะเหมือนเดิม ประมาณ 5-7 นาที ให้เอาฝาปิดออกแล้วปล่อยให้ก้นกระทะอุ่นแป้งพิซซ่าให้ชุ่มอีกสักหน่อย จากนั้นปิดไฟ แค่นี้ก็ได้กินพิซซ่าทำสดๆ ใหม่ๆ  การทำให้ร้อนแบบนี้ไม่ใช่ทางลัดหรือเคล็ดลับมือโปรขนาดนั้น แต่เขาได้ลองเวฟพิซซ่ามากว่า 20 ปี นอกจากจะได้ยินเสียงแป้งกระทบกับจานอบแล้ว […]

‘Triple BEEs Wrap’ แรปขี้ผึ้งห่ออาหาร ช่วยลดพลาสติก

เจ้าผึ้งตัวจิ๋วที่โบยบิน และหลายคนนั้นมักจะรู้สึกว่ามันมีหน้าที่แค่ผสมเกสร หรือมีน้ำผึ้งแสนหวานให้เราได้กินเกือบทั้งฤดูกาล แต่ใครจะไปรู้ล่ะว่า รังของมันนั้นมีไขผึ้งหรือขี้ผึ้งที่มนุษย์ชอบนำมาใช้ทำเป็นเครื่องสำอาง หรือเทียนไข และวันนี้เจ้าผึ้งน้อยได้โบยบินมาช่วยลดการใช้พลาสติกให้กับโลกของเรา ด้วยการปันไขผึ้งให้เราทำเป็น ‘ผ้าห่ออาหารจากไขผึ้ง’ เชื่อว่าบางคนนั้นยังไม่คุ้นหูกันอย่างแน่นอน เนื่องจากงานแฮนด์เมดผ้าไขผึ้งมาจากต่างประเทศ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งตอนนี้ในบ้านเราเอง ก็ลงมือทำมาติดๆ และลองใช้กันบ้างแล้ว ช่วงเช้าในวันหยุดเราเลยมานั่งล้อมวงคุยกันกับ ‘Triple BEEs Wrap’ แบรนด์ผ้าแรปขี้ผึ้งสัญชาติไทยที่เริ่มทำใช้กันภายในบ้านของตัวเอง โดยมี โบ – สายวรี, บัว – วรรณประภา และบอน – ภาวินี ตุงคะสมิต สามพี่น้องเป็นแรงสำคัญที่อยากให้คนที่บ้านนั้นลดใช้แรปพลาสติก | หลงใหลการเดินเล่นในร้านผ้า และทำงานเย็บปักถักร้อยเป็นทุนเดิม  เริ่มต้นด้วยคำถามที่สงสัยว่าเจ้าแรปผ้าขี้ผึ้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร พี่น้องทั้งสามคนถึงกับยิ้มแป้น พร้อมกับค่อยๆ ยอมรับว่า ทั้งสามคนหลงใหลและชื่นชอบในงานเย็บปักถักร้อย งาน DIY เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และเห็นว่าความชื่นชอบนั้นตรงกันมากๆ คือการเดินเลือกซื้อผ้า ที่เวลาไปต่างประเทศมักจะมีกระเป๋าใบเฉพาะ เพื่อไปใส่ผ้าหลาลวดลายต่างๆ กลับมาเก็บไว้ และแน่นอนว่าเป็นธรรมดาที่คนสายนี้มักจะค้นหาไอเดียใหม่ๆ เสมอ รวมถึงเมื่อย้อนกลับไปเมื่อสองปีก่อน กระแสเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ตื่นตัวเอามากๆ “เราเจอผ้า Bee Wrap […]

EAT

‘SizzlerToGo’ เพิ่ม 7 สาขา สั่งง่าย กินง่าย ไม่ต้องเข้าร้าน

‘ซิซซ์เลอร์ ทูโก’ พร้อมขยาย 7 สาขา หลังจากได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากสาขาแรกที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลาแดง ที่ทั้งกินง่ายและสะดวกในเวลาเร่งรีบ พร้อมเพิ่มเมนูใหม่ที่หลากหลายให้เลือกลิ้มลอง ส่วนการบริการในร้านนั้นก็ปรับเปลี่ยนใหม่ให้เป็น ‘New Sizzler New Normal’ ที่เน้นความสะอาดและปลอดภัยให้กับลูกค้า

ชาวญี่ปุ่นยอมจ่ายภาษีท้องถิ่น แลกของดีประจำเมืองที่รัฐจัดส่งถึงหน้าบ้าน

‘เสียภาษี’ ได้ยินคำนี้ทีไรเป็นต้องทำหน้ามุ่ย เพราะว่าบางคนก็ต้องยอมควักเงินจ่ายในอัตราที่สูง แม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน เขามีการเก็บภาษีคนในเมืองเพื่อบำรุงท้องถิ่น ซึ่งอัตราน่าจะสูงกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำ ประชาชนรู้ และรัฐบาลก็รู้ดีว่าคนจ่ายนั้นทรมานใจแค่ไหน รัฐบาลจึงคิดหาวิธีว่า จะทำอย่างไรดีที่จะทำให้ชาวเมืองนั้นรู้สึกดีขึ้นเมื่อจ่ายภาษี รัฐบาลญี่ปุ่นจึงคิดระบบ ‘Furusato Nozei’ หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘ภาษีบ้านเกิด’ ที่รัฐบาลจะนำเงินไปพัฒนาถิ่นกำเนิดที่โตมา หรือหากเรายินดีจ่ายไปยังเมืองอื่นๆ ก็ย่อมได้  ซึ่งเป็นส่วนที่จ่ายเพิ่มเติมจากการเสียภาษีปกติ โดยความน่ารักของชาวญี่ปุ่น คือเมื่อเราจ่ายภาษีบ้านเกิดให้กับทางเมืองนั้นๆ ไป เขาจะส่งของดีประจำท้องถิ่นมาให้เราถึงหน้าบ้านแทนคำขอบคุณ  โดยของขอบคุณนั้นช่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นที่เรายอมควักเงินจ่ายภาษีไป ไม่ว่าจะเป็นองุ่นเขียวจากเมืองยามานาชิ เนื้อหมูสไลด์อย่างดี 4 กิโลกรัมจากเมืองโทกาจิ ฮอกไกโด และปูขนจากเมืองยาคุโมะ ฮอกไกโด นับว่าเป็นสินค้ายอดนิยมของการเสียภาษี นอกจากนี้ยังมีข้าวสาร ผักดอง กุ้งหวาน กุ้งทะเล เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเมล่อนพันธุ์ดี ซึ่งสินค้าบางอย่างถ้าไปซื้อเองอาจจะมีราคาสูง แต่พอจ่ายภาษีและได้สินของเหล่านี้กลับมาตอบแทน พวกแม่บ้านญี่ปุ่นจึงรู้สึกว่าคุ้มค่า ทำให้ตอนนี้แม่บ้านญี่ปุ่นจ่ายภาษีเสมือนการชอปปิงกันเลย เพราะมีบริษัทเอกชนเข้ามาทำเว็บไซต์ เพื่อตอบโจทย์การจ่ายภาษีที่สะดวกขึ้น คือสามารถคลิกได้เลยว่าจะจ่ายภาษีให้บ้านเกิดตัวเองหรือท้องถิ่นอื่นๆ ที่ไหน และจะได้ของตอบแทนเป็นอะไรบ้าง เมื่อเลือกแล้วสามารถจ่ายภาษีผ่านบัตรเครดิตได้เลย เป็นไงล่ะเสมือนชอปปิงของออนไลน์ไม่มีผิด วิธีของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นเป็นการใช้แนวคิดที่มีความเห็นอกเห็นใจเป็นพื้นฐานสำคัญ โดยผลลัพธ์ที่ได้ช่างคุ้มค่า นอกจากจะได้เก็บภาษีมากขึ้นโดยคนจ่ายนั้นรู้สึกสบายใจเปราะหนึ่งแล้ว อีกทางคือเป็นการช่วยอุดหนุนเกษตรกรในเวลาเดียวกัน  […]

บอกลาถุงแกง ! 3 ทริคห่ออาหารด้วยใบตอง

เชื่อว่าใบตองหาซื้อได้ไม่ยากนัก หรือบ้านไหนที่ปลูกต้นกล้วยอยู่แล้วยิ่งสบายไปใหญ่ คงจะคุ้นเคยได้เห็นย่ายายทำขนมกันมาบ้าง เอาล่ะได้ใบตองมาแล้วนั้นให้ฉีกเป็นแผ่น ตามขนาดที่ต้องการใช้ จากนั้นนำไปตากแดดสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าใครไม่มีพื้นที่ก็สามารถเปิดเตาแก๊สและนำไปลนไฟได้เหมือนกัน เพื่อเพิ่มความเหนียวให้กับใบตอง เวลานำไปห่อใบตองจะไม่แตกออกจากกัน และสามารถห่ออาหารได้อยากมีประสิทธิภาพ พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย ห่อตามทั้งหมด 3 ทริคง่ายๆ ที่เราเอามาฝาก กระทงใบตอง – กระทงทรงกลม ใส่ของได้จุ อิ่มอร่อยอย่างสบายใจ ตัดใบตองเป็นวงกลมเท่ากันๆ กัน 2 ใบ โดยหาชามที่ปากกว้างๆ วางทาบลงไปเพื่อเป็นทรงสำหรับใช้ตัดเป็นตัวช่วยอีกแรง วางใบตองซ้อนกัน โดยวางให้เส้นของใบไปคนละทาง เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกระทง  มือใหม่หัดห่อ หาถ้วยน้ำจิ้มหรือปากแก้วมาไว้ตรงกลาง  จากนั้นจับใบตองหนึ่งมุมพับเข้ามาให้ติดกับขอบแก้ว และพับจีบเพื่อสร้างมุมให้กระทง โดยใช้มือขวาจับจีบพับใบตองเข้าข้างใน จากนั้นใช้มือซ้ายกดอีกฝั่งให้พับอยู่ข้างนอกให้มาจีบประกบกันพอดี จากนั้นเอาแก้วออก  เมื่อได้มุมที่ดี ให้กลัดมุมด้วยไม้กลัดจากด้านใน จะทำให้กระทงมีปากที่บานออกและสวยงาม  จีบจับมุมถัดไป แต่มีทริคมาบอกว่าควรเริ่มจากจีบฝั่งตรงข้ามมุมที่กลัดไม้กลัดไปอันแรก  ทำให้ครบ 4 มุม จะได้กระทงใบตองที่ใส่อาหารแห้งได้เลย ไม่ว่าจะเป็นผัดไท ขนมครก หรือขนมไทย ข้าวห่อใบตอง – […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.