จะเป็น ‘มนุษย์ที่มีศีลธรรม’ หรือเป็น ‘ลูกน้องที่ดี’ ในประเทศ ‘นายสั่งมา’

ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐใช้แก๊สน้ำตาสลายผู้ชุมนุมที่เรียกร้องประชาธิปไตยโดยไม่ประกาศก่อน“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐมีสิทธิ์ทำร้ายทีมแพทย์อาสาในม็อบ“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐสามารถจับ ซีรอส วีรภัทร เยาวชนอายุ 17 ปี และ โตโต้ ปิยรัฐ แกนนำการ์ดวีโว่ โดยไม่มีหมายศาลได้“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐถึงขับรถคุมขังชนสิ่งกีดขวางได้โดยไม่กลัวใครได้รับบาดเจ็บหรือข้าวของเสียหาย“นายสั่งมา” 9 มีนาคม ปี 2564 เวลา 14.00 น. ฉันพกประโยค “นายสั่งมา” คำตอบที่เจ้าหน้าที่รัฐพูดในหลายเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ปีที่แล้วยันปีนี้ ไปคุยกับ ผศ. ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเบื้องหลังประโยคดังกล่าว การกระทำรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ สามัญสำนึกความเป็นมนุษย์ ทางเลือกทางศีลธรรมกับหน้าที่การงาน อำนาจนิยม ความกลัว และพลังของประชาชนที่เชื่อในหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบันที่ยังคงร้อนระอุ และความหวังในอนาคตที่ไม่มีใครพูดว่า ‘นายสั่งมา’ อีก นายสั่ง…ต้องทำ ระบบติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ ป้อนคำสั่ง กดปุ่ม และรอให้ทำตามคำสั่ง เป็นระบบที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ามันเกิดขึ้นจริงใน ‘หุ่นยนต์’ ไร้ชีวิต ไร้หัวใจ และไร้สมองในการวิเคราะห์แยกแยะ สั่งอะไรมาผมทำตามหมด! ทว่าความน่ากลัวอยู่ที่ […]

กัญชา ยังไงกัญแน่ | NOW YOU KNOW

กัญชาปลดล็อกแล้ว? จะสูบได้หรือยัง? จะขายได้หรือเปล่า? เอามารักษาโรคแล้วจะโดนตำรวจจับไหม? . รายการ Now You Know จะมาสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการปลดล็อกกัญชา เพราะถึงจะมีประกาศอย่างเป็นทางการออกมาแล้ว แต่ด้วยรายละเอียดที่ยิบย่อยเต็มไปหมด ทำให้หลายคนยังไม่มั่นใจว่า ตกลงแล้วการปลดล็อกกัญชาที่ว่านี่มันปลดล็อกขนาดไหน Sources : Hfocus | https://bit.ly/3rhpR7Uกรุงเทพธุรกิจ | https://bit.ly/2Ol81lYคุณชัยวัฒน์ บานใจ แอดมินเพจ @กัญชาชน

อแมนด้า ออบดัม สาวภูเก็ตผู้เคยรับบทผู้ป่วยโรคคลั่งผอม และนางงามผู้รับบทนักฟัง

10 นาทีก่อนเปิดเครื่องบันทึกเสียง อแมนด้า-ชาลิสา ออบดัม ผู้ครองตำแหน่งนางงามเวที Miss Universe Thailand ปี 2020 วางแก้วกาแฟราคา 25 บาทของเธอลงบนโต๊ะ พร้อมบอกว่านี่คือสิ่งที่กินแทบทุกเช้าให้ตาตื่น สักพักสาวภูเก็ตลูกครึ่งไทย-แคนาดาวัย 27 ก็เริ่มจัดระเบียบผมของเธอหลังนั่งวินมอเตอร์ไซค์มาสถานที่นัดหมาย อีกทั้งยังพูดปนขำกับฉันว่า ตั้งใจแต่งหน้ามาเป็นพิเศษเพื่อวันนี้! ก่อนเม้ากันถึงสารคดี 3 เรื่องใน Netflix ที่เธออยากแนะนำให้ดู ได้แก่ Crime Scene: The Vanishing at the Cecil Hotel, Evil Genius และ I Am A Killer ซึ่งล้วนเป็นสารคดีแนวสืบสวนที่ชวนสำรวจพฤติกรรมตัวละครว่าใครโกหก ใครร้าย ใครเห็นอกเห็นใจ ทำไมตัวละครถึงทำแบบนั้น มีปมอะไรอยู่เบื้องหลังจิตใจกันแน่ “สารคดีทำมาจากเรื่องจริง และชี้ให้เห็นว่าคนน่ากลัวกว่าผีซะอีก” ฉันพยักหน้าตามคำพูดเล่นๆ แต่จริงจังของอแมนด้า บางคนร้องขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครฟัง บางคนฟังหูซ้ายทะลุหูขวา แล้วย้อนกลับมาพูดเรื่องตัวเอง หรือบางคนฟังปัญหาแล้วตอบกลับมาว่า “คนอื่นเขาเจอเรื่องแย่กว่าเธออีก” […]

ไปคลองโอ่งอ่างเยี่ยมบ้านเชฟ ชิมอาหารรสต้นตำรับแห่งทวีปเอเชียใต้แบบไม่ต้องนั่งเครื่อง

‘โอ่ง’ ใส่น้ำ ใส่น้ำให้เต็มโอ่ง ใส่น้ำให้เต็มโอ่ง แล้วเชฟจะชื่นใจ แล้วเชฟจะชื่นใจ‘อ่าง’ ใส่น้ำ ใส่น้ำให้เต็มอ่าง ใส่น้ำให้เต็มอ่าง แล้วเชฟจะชื่นใจ แล้วเชฟจะชื่นใจ ไม่ได้ชวนมาโยกย้าย ส่ายสะโพก โยกย้าย บั้นท้ายโยกย้าย เฮ้ย! พอ! แต่ชวนมาแคะ แกะ หาคำตอบจากเนื้อเพลงที่เปลี่ยนไปข้างต้นว่า ‘เชฟ’ จากอินเดีย เนปาล ภูฏาน ปากีสถาน และไทย-มุสลิม ทั้ง 4 คน จาก 4 ร้านอาหารริมคลองโอ่งอ่างว่า ทำไม้ ทำไม ถึงย้ายรกรากมาเปิดร้านอาหารประจำชาติที่ ‘ชุมชนคลองโอ่งอ่าง’ ประเทศไทยแทนประเทศบ้านเกิด ความตั้งใจแรกคืออะไร ทำไมเชฟทั้งสี่ถึงตั้งชื่อเล่นให้ชุมชนแห่งนี้ว่า ‘ชุมชนความหลากหลายทางวัฒนธรรม’ อย่างพร้อมเพรียง ไปฟังเรื่องเล่าจากปากพวกเขา ที่อาจทำให้คุณสนิทกับอาหารทั่วทวีปเอเชียใต้และรู้จักคลองโอ่งอ่างมากขึ้น (แล้วก็อาจจะหิวตามไปด้วย) 01 | อุ่นเครื่องเซย์ฮายคลองโอ่งอ่าง ‘คลองโอ่งอ่าง’ ถูกขุดเมื่อปี 2328 เป็นคลองเล็กๆ ที่แบ่งระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ และเป็นหนึ่งในคลองรอบกรุง โดยมีต้นน้ำเป็น […]

ค้นหาทางออกเพื่อให้เรารอดจากขยะพลาสติก ผ่านการนำขยะมาทำเป็นธุรกิจ | City Survive EP.1

“สำหรับปัญหาขยะพลาสติก หากเราไม่ได้จัดการหรือร่วมมือกันแก้ไขทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบ ทุกฝ่ายยังทำแบบที่ทำกันอยู่ ใน ค.ศ. 2050 คาดการณ์ว่าจะมีขยะพลาสติกมากกว่าปลาในทะเล” นี้คือหนึ่งในบทสัมภาษณ์จากสารคดี City Survive ทางรอดขยะพลาสติก ผ่านธุรกิจขยะ City Survive รายการสารคดีที่ว่าด้วยเรื่องการแก้ปัญหาเมืองอย่างสร้างสรรค์ ในตอนแรกนี้เราจึงหยิบยกปัญหาขยะพลาสติกขึ้นมาบอกเล่าและตีแผ่ถึงปัญหา และร่วมหาทางรอดไปพร้อมกัน กับหนึ่งทางออกอย่างสร้างสรรค์คือการนำขยะเหล่านี้มาทำเป็นธุรกิจ ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน มนุษย์ได้ ภาคธุรกิจได้ โลกได้ สิ่งแวดล้อมได้ และความยั่งยืนได้ รวมไปถึงคำถามที่ว่าพลาสติกนั้นผิดจริงๆ หรือหากไม่มีผิดถูกเราจะอยู่ร่วมกับพลาสติกอย่างไรให้ทั้งเราและโลกไปต่อได้ หลายคำตอบรวมอยู่ในสารคดีทางรอดขยะพลาสติก ผ่านธุรกิจขยะนี้

ต่อชีวิตหอศิลป์กรุงเทพฯ ผ่าน ‘Art in Postcards’ นิทรรศการโปสต์การ์ด จาก 12 ศิลปินไทย

หอศิลป์กรุงเทพฯ หรือ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สถานที่จัดแสดงงานศิลปะเจ๋งๆ ใจกลางกรุงเทพฯ ที่เปิดให้เราเข้าชมฟรีมาตลอดหลายปี เป็นที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คน ในเดือนสิงหาคมนี้จะเปิดให้บริการครบ 10 ปีพอดี

เพื่อนใหม่ของฉันชื่อ ‘บอนไซ’ ฟูมฟักต้นไม้แห่งชีวิตลงกระถาง

ก่อนหน้าเวิร์กช็อปทำ ‘บอนไซ’ ฉันรู้จักมันคร่าวๆ ว่าเป็นการเพาะเลี้ยงต้นไม้จากกระถางใหญ่สู่กระถางเล็ก ฟังดูไม่ต่างจากการที่โดเรมอนใช้ไฟฉายย่อส่วนต้นไม้ในสวนใหญ่ให้เป็นสวนขนาดกะทัดรัด ถ้าให้เปรียบเปรยแบบติดตลก นิยามความสัมพันธ์ของฉันกับบอนไซไม่ต่างจากเพื่อนที่ไม่สนิท รู้จักกันผ่านๆ ทักทายบ้างตามโอกาส แต่แอบไปกระซิบบอกคนสนิทบ่อยๆ ว่าเจ้าบอนไซนี่น่ารักใช่ย่อยนะ! จนมาถึงวันที่ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปปลูกบอนไซกับ พี่ปัน-ปัญจพล นาน่วม ผู้หลงใหลบอนไซมาแล้ว 6 ปี ณ สตูดิโอ Tentacles N22 แหล่งรวบรวมเวิร์กช็อปศิลปะและงานคราฟต์ ที่ทำให้ฉันได้รู้จักบอนไซแบบลึกซึ้งมากขึ้น เพราะการทำมันแต่ละขั้นตอนต้องพิถีพิถันไปอย่างช้าๆ และเรียบง่าย (ก็ไม่ง่ายมากแต่ก็ไม่ยากขนาดนั้น) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับฉันระหว่างทำความรู้จักบอนไซกลับน่าประหลาดใจเพราะ ‘บอนไซ แกทำให้คนฟุ้งซ่านอย่างฉันมีสมาธิขึ้นได้ว่ะ’ สายตาที่จดจ่อบอนไซตั้งแต่ลงมือปลูก ลงมือตัดแต่ง ลงมือย้ายกระถาง และลงมือดูแลมัน ทำให้ฉันไม่แปลกใจว่าสมญานามของบอนไซที่เป็น ‘ต้นไม้แห่งจิตวิญญาณ’ มาได้อย่างไร เพราะมากกว่าเป็นต้นไม้สง่างามในกระถาง กลับใส่วิญญาณของคนทำลงไปด้วยอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อบทความชิ้นนี้เผยแพร่แล้ว ฉันหวังลึกๆ ว่าคุณจะได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อ ‘บอนไซ’ ผ่านเวิร์กช็อปนี้ และหาความสงบเล็กๆ ให้ตัวเองได้ 01 BON = กระถาง, SAI = ต้นไม้ “อาจารย์คนแรกที่สอนผมทำบอนไซคือหลวงพี่ในวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เพราะครั้งแรกที่ผมรู้จักบอนไซคือตอนบวชหลังจากเรียนจบใหม่ๆ เมื่อมีเวลาว่างหลังจำวัด […]

ญี่ปุ่นสร้างปุ่มกดสาธารณะโฮโลแกรม ถอนเงิน ล้างมือ ขึ้นลิฟต์ และเปิดประตูได้ โดยไม่ต้องสัมผัสเชื้อโรค

ในหนังไซไฟ ตัวละครถอนเงินหน้าตู้เอทีเอ็มโดยไม่ต้องกดปุ่มอะไร ล้างมือในห้องน้ำสาธารณะโดยไม่ต้องจับก๊อก หรือขึ้นลิฟต์โดยไม่ต้องกดเลือกชั้น ไปจนถึงเปิดประตูโดยไม่ต้องใช้มือจับลูกบิดสักนิด เพราะมีโฮโลแกรมเด้งขึ้นมากลางอากาศให้สั่งการแทน เหล่านี้ดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวและไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่มาวันนี้เชื่อว่าคงเป็นเรื่องใหม่และน่าตื่นเต้นของผู้คนไม่น้อย เพราะญี่ปุ่นเขาทำให้เกิดขึ้นจริงแล้วและล้ำมาก! ‘Floating Pictogram Technology’ คือนวัตกรรมภาพลอยโฮโลแกรมที่ติดตั้งระบบอินเทอร์เฟซแบบไร้สัมผัสด้วยเซนเซอร์ ของสองบริษัทเทคโนโลยี Murakami Kaimeido และ Parity Innovations ซึ่งคำนึงถึงความเสี่ยงในการสัมผัสสิ่งของสาธารณะนอกบ้าน ที่อาจเป็นตัวการแพร่กระจายไวรัสโคโรนาเข้าสู่ร่างกายได้ การเปลี่ยนปุ่ม แผง ก๊อก หรือลูกบิด เป็น ‘ภาพลอย’ จึงทำให้ผู้ใช้สามารถเลื่อนนิ้วเหนือภาพที่ลอยอยู่โดยไม่ต้องสัมผัสเชื้อโรคเลยสักนิด ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวเริ่มผลิตออกมาเป็นสินค้าตัวอย่างและทดลองใช้งานจริงแล้ว ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลิตจำนวนมากเพื่อให้ชาวญี่ปุ่นได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในปี 2022 Source : http://bit.ly/3s642YZ 

น้าเปียก วิภาดา ตำนานเสียง ‘เซเลอร์มูน’ ภาคไทยหนึ่งเดียวผู้มีอุซางิเป็นครูชีวิต

“ฉันคือสาวน้อยน่ารัก ผู้พิทักษ์ความรักและความยุติธรรม เซเลอร์มูน”  ตากลมโต ผมทรงซาลาเปาคู่ ชุดกะลาสี รัดเกล้า และคทาคู่ใจ ปรากฏต่อหน้าเหล่าปีศาจ “ตัวแทนแห่งดวงจันทร์ จะลงทัณฑ์แกเอง!” สึคิโนะ อุซางิ หรือเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์เซเรนิตี้ แม้จะขี้แยบ่อยๆ หรือบ๊องๆ ไปบ้าง แต่เธอพกความกล้าในฐานะอัศวินเซเลอร์ ปกป้องคนที่เธอรักและผู้คนจากวายร้าย ‘อุซางิจัง’ ในคติของ อ.นาโอโกะ ทาเคอุจิ นักวาดการ์ตูนเซเลอร์มูน ไม่ได้เรียนเก่งแบบเซเลอร์เมอร์คิวรี่ ไม่ได้บู๊เก่งแบบเซเลอร์จูปิเตอร์ ไม่เห็นลางบอกเหตุล่วงหน้าเหมือนเซเลอร์มาร์ส หรือเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลแบบเซเลอร์วีนัส แต่เธอเป็นเธอที่ไม่เคยลังเลช่วยเพื่อน คนรัก หรือคนที่ตกอยู่ในอันตราย แถมนิสัยขายขำ ตลก โปก ของเธอยังทำให้คนรอบข้างอารมณ์ดีโดยไม่รู้ตัว น้าเปียก-วิภาดา จตุยศพร วัย 64 ปี ผู้พากย์เสียงภาษาไทย ‘เซเลอร์มูน’ ตั้งแต่ยุค 90 และเซเลอร์มูนคริสตัล ปี 2014 เป็นอีกคนที่รักอุซางิและยิ้มเสมอเมื่อได้สวมบทเป็นเซเลอร์มูน ทั้งยังบอกอีกว่า อยากเป็นนักพากย์จนกว่าจะพากย์ไม่ไหว เพราะได้เรียนรู้วิชาชีวิตและการมองโลกของหลากหลายตัวละครที่เป็นเหมือนอาจารย์สอนพิเศษตลอด 40 ปีในวงการ  อ.อุซางิ สอนให้ลูกศิษย์อย่างน้าเปียกรู้ว่า […]

Shivam นักมวยปล้ำดีกรีแชมป์กับชีวิตบนบัลลังก์มวยปล้ำไทย | Somebody Ordinary I EP.1

มวยปล้ำเป็นการแสดงแบบนี้เจ็บจริงหรือเปล่า? แบบนี้ก็หลอกคนดูสิ? อีกหลายข้อครหา หลากคำถามที่เกิดขึ้นไม่อาจลบความรักของกลุ่มคนที่รักมวยปล้ำลงได้ หนึ่งในคนเหล่านั้นคือ ศิวัม ทริพาธี แชมป์มวยปล้ำ SETUP Thailand Openweight ผู้ใช้ชีวิตจริงลงทุนไปกับการรับใช้ความฝันบนผ้านวมที่เขารักตั้งแต่เด็ก ปลุกกระแสมวยปล้ำในไทยขึ้นมา Somebody Ordinary รายการที่เชื่อในพลังของคนธรรมดาตอนแรกจะพาไปสำรวจชีวิต พูดคุยกับศิวัม ถึงการฝ่าฟันต่อสู้กว่าจะมีเข็มขัดแชมป์มาคาดเอว จนไปถึงมุมมองของตนที่มีต่อมวยปล้ำที่อยากส่งต่อให้คนภายนอกได้รับรู้ ศิวัมเกริ่นกับเราไว้ว่า “ใครจะว่ามวยปล้ำแสดงอะไรยังไง แต่วันที่กรรมการนับหนึ่ง สอง สาม ผมได้แชมป์ ทุกอย่างทุกความรู้สึกในตอนนั้น มันคือของจริง”

‘Izakaya Bottakuri’ ซีรีส์ญี่ปุ่นที่สอนให้รู้ว่า คุณค่าของอาหารคือรสชาติของชีวิต

ณ ตรอกที่อยู่ถัดจากถนนย่านการค้า มีร้านอิซากายะอยู่ร้านหนึ่ง ร้านนี้มีเครื่องดื่มดีๆ อาหารอร่อยๆ และกลุ่มคนที่มีหัวใจอบอุ่นยินดีต้อนรับเสมอ “อิรัชชัยมาเสะ” ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Izakaya Bottakuri ซีรีส์ญี่ปุ่นขนาดสั้นที่ถูกดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนในชื่อเดียวกัน บอกเล่าเรื่องราวร้านอาหารของสองพี่น้องมิเนะและคาโอรุ ที่คอยสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตา ให้ผู้คนในร้าน ผ่านเมนูอาหารจานพิเศษของร้านในแต่ละวัน ทำให้บรรยากาศภายในร้านแห่งนี้ตลบอบอวลไปด้วยความอบอุ่น ความสุข และความสัมพันธ์ ผ่านการปรุงอาหารด้วยหัวใจทุกจาน นอกจากจะเป็นซีรีส์ชวนหิว ยังชวนให้เราเข้าครัวในเวลาเดียวกัน ถ้าอยากรู้ว่าเป็นยังไง ต้องดูให้จบตอน! ซีรีส์ที่พาเราไปรู้จักวัฒนธรรมการกินแบบ Izakaya เมื่อพูดถึงดินแดนอารยธรรมอย่างญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจ Izakaya คือรูปแบบร้านกินดื่มประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากร้านเหล้าที่เราคุ้นเคยในประเทศไทย ด้วยเอกลักษณ์การเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควบคู่ไปกับอาหารประเภทต่างๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกินดื่มให้มีรสชาติมากขึ้น ส่วนบรรยากาศภายในร้านจะเน้นความอบอุ่นเป็นกันเอง เหมาะแก่การเป็นสถานที่สังสรรค์หลังเลิกงานเพื่อคลายเครียดและกระชับความสัมพันธ์กับผู้คนไปในคราวเดียวกัน รูปแบบการกินดื่มดังกล่าวได้รับความนิยมจนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น และค่อยๆ แพร่กระจายไปยังสถานที่อื่นทั่วโลก ‘Bottakuri’ ชื่อร้านที่หมายถึงการขูดรีด ความพิเศษของร้านแห่งนี้คงต้องเริ่มจากชื่อร้าน ‘Bottakuri’ ซึ่งหมายถึงการขูดรีด โดยมีที่มาจากความคิดของคุณพ่อเจ้าของร้านว่า การที่เรารับเงินจากการเสิร์ฟอาหารที่บ้านไหนก็มี บ้านไหนก็ทำได้ คงเหมือนการขูดเลือดขูดเนื้อผู้มาใช้บริการหรือเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ‘บตตากุริ’ กลายเป็นที่มาที่ไปของชื่อร้าน ถึงแม้ร้านแห่งนี้จะเสิร์ฟอาหารทั่วๆ ไป แต่ต่างตรงที่ความตั้งใจพิถีพิถันของคนปรุงซึ่งปรุงอาหารทุกจานด้วยหัวใจ และเมื่ออาหารสร้างรอยยิ้มบนใบหน้าของผู้คนได้ เมื่อนั้นลูกค้าก็จะไม่เสียดายเงิน ทุกคนที่ก้าวเท้าเข้ามาในร้านจึงพร้อมถูกขูดรีดอยู่เสมอ  เมนูนี้สอนให้รู้ว่า […]

แคร์เก่ง อินเก่ง จนเหนื่อย ชวนค้นความรู้สึก “ทำไมบางคนถึงแคร์ทุกคนบนโลก”

ด็อกมี (แสดงโดย พัคมินยอง) จากซีรีส์ Her Private Life เบื้องหน้าเป็นภัณฑารักษ์ แต่เบื้องหลังเป็นติ่งเกาหลีที่ปิดบังความลับไม่ให้เจ้านายและเพื่อนร่วมงานรู้ เพราะกลัวโดนไล่ออกและถูกนินทา อนึ่งเธอแคร์สายตาเจ้านายและคนในสังคม ซอดัลมี (แสดงโดย ซูจี) จากซีรีส์ Start-Up โกหกพี่สาวและแม่แท้ๆ ที่ทิ้งเธอไปตั้งแต่เด็กว่ามีแฟนหล่อ รวย เป็นเจ้าของธุรกิจ และการงานมั่นคง ทว่าความจริงเป็นเพียงเรื่องแต่ง เพราะอยากให้ครอบครัวมองว่าเธอโชคดี อนึ่งเธอแคร์สายตาครอบครัว อิมจูกยอง (แสดงโดย มุนกายอง) จากซีรีส์ True Beauty ทิ้งระยะห่างกับแฟน เพราะไปรู้ว่าเพื่อนสนิทของเธอแอบชอบแฟนตัวเอง แต่สาวเจ้าไม่รู้จะทำอย่างไร จึงเก็บมาหน้านิ่วคิ้วขมวดเครียดคนเดียวที่บ้าน พลางให้แฟนสงสัยอีกว่าเธองอนอะไรกันแน่ อนึ่งเธอแคร์สายตาเพื่อนจน ‘เกินนนนนน’ ไป และลืมแคร์ความรู้สึกตัวเอง 3 ซีรีส์เกาหลีข้างต้นเป็นซีรีส์ที่สนุก ลุ้น ฟิน ได้ด้วยพล็อต นักแสดง และซาวนด์ประกอบ แต่ระหว่างทางกว่าจะถึงจุดไคลแมกซ์ หลายครั้งก็ต้องทุบหมอนตอนดูอยู่หลายครั้งเพราะคาแรกเตอร์นางเอ๊กนางเอกที่ ‘แคร์ทุกคนบนโลก’ แต่ ‘ไม่แคร์ตัวเอง’ ถูกใส่พานมาประเคนให้คนดูเอาใจช่วยและเผลอพูดใส่จออยู่เนืองๆ ว่า “ทำไมแคร์ทุกคนขนาดนี้” “ไม่แคร์บ้างก็ได้” […]

1 12 13 14 15 16 26

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.