ความสัมพันธ์แม่ลูก การเมือง และอำนาจปิตาธิปไตย ที่ยังคอยย้ำเตือนอยู่ในช่วงเวลาของ ‘อย่ากลับบ้าน’

*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของซีรีส์* เพื่อไม่ให้เป็นการเสียอรรถรสสำหรับคนที่อยากรับชม ‘อย่ากลับบ้าน’ ซีรีส์ออริจินัลสัญชาติไทยเรื่องล่าสุดของ Netflix คงต้องเรียนให้ผู้ที่เข้ามาอ่านบทความไปชมซีรีส์เรื่องนี้ก่อนโดยไม่ต้องรับรู้ข้อมูลใดๆ ยิ่งรู้น้อยเท่าไหร่ยิ่งดีที่สุด เพราะว่ากันตามตรง อย่ากลับบ้าน เป็นซีรีส์ที่เล่นกับความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับเรื่องราวลึกลับที่เก็บงำซ่อนเอาไว้เป็นไม้เด็ด ซึ่งหากรับรู้เรื่องราวมากเกินไป ความตั้งใจที่ตัวซีรีส์พยายามจะสร้างความรู้สึกคาดไม่ถึงแก่ผู้ชมก็อาจหายไปโดยพลัน แต่หากต้องเล่าเรื่องย่อให้คนที่อยากรู้จริงๆ เนื้อเรื่องคร่าวๆ ของ อย่ากลับบ้าน นั้นเล่าถึง ‘วารี’ (นุ่น วรนุช) หญิงสาวผู้มีใบหน้าฟกช้ำและคราบน้ำตากำลังเดินทางหอบลูกสาววัย 5 ขวบชื่อ ‘มิน’ (เจแปน พลอยปภัส) เดินทางกลับสู่บ้านเก่าของครอบครัว ณ อำเภอตะกั่วป่าที่เธอเติบโตในวัยเด็ก บ้านหลังนี้มีชื่อว่า ‘บ้านจารึกอนันต์ 2475’ เป็นบ้านเก่าทรงยุโรปกลางป่าที่เก็บซ่อนความลึกลับพิศวงของอดีตเอาไว้ และยังเชื่อมโยงไปถึงเหตุผลที่แม่ลูกทั้งสองเดินทางหนีบางสิ่งบางอย่างมาสู่สถานที่แห่งนี้ ที่ซึ่งนำไปสู่เหตุผลและความหมายของคำว่า ‘อย่ากลับบ้าน’ หลังจากนี้จะเป็นการพูดถึงเนื้อหาที่จะเปิดเผยเรื่องราวสำคัญในซีรีส์ อย่ากลับบ้าน แล้ว ด้วยวิธีการเล่าท่าทีล่อหลอกผู้ชมให้เชื่อไปในทางหนึ่ง ในที่นี้คือหลอกให้หลงเชื่อว่านี่คือซีรีส์แนว ‘สยองขวัญ’ ว่าด้วยผีวิญญาณร้ายที่สิงสถิตอยู่ในบ้านร้างและหลอกหลอนตัวละครสองแม่ลูก หลังจากหลอกตีหัวคนดูเข้าบ้านได้ด้วยแนวทางที่เหมาะสมแก่การเป็นซีรีส์ฉายในคืนวันฮาโลวีน จากนั้นเรื่องราวจะพาคนดูหัวหมุนตีลังกาด้วยความสงสัย ก่อนพลิกผันเฉลยตัวตนที่แท้จริงว่าเป็นแนว ‘ไซไฟ’ ในภายหลัง เป็นการเล่นกับความคาดหวังสงสัยใคร่รู้ของคนดูอย่างน่าตื่นเต้น หากแต่สิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ในซีรีส์เรื่องนี้ไม่ได้มีเพียงลูกเล่นที่เล่นกับการคาดเดาของคนดูเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความหมายซุกซ่อนอยู่ในเอเลเมนต์ต่างๆ ที่สะท้อนประเด็นสังคมได้อย่างน่าค้นหา ค่านิยมของสังคมที่วนลูปและไม่เคยหายไป การผันตัวเองจากความคาดหวังว่าจะได้ชมซีรีส์สยองขวัญแนวผีๆ ไปสู่การเป็นซีรีส์แนวไซไฟย้อนเวลาของ […]

ชวนดูซีรีส์ Servant of the People ที่ ปธน.ยูเครน รับบทผู้นำประเทศ รับชมได้ทาง Netflix ครบทั้ง 3 ซีซันแล้ว

“พวกคุณเป็นข้ารับใช้ของประชาชนนะ ตรงไหนบ้างที่บอกว่า ข้ารับใช้ควรจะอยู่ดีมีสุขกว่าเจ้านายของตน หรือบางทีคุณอาจจะแค่สับสนและดันไปรับใช้เจ้านายคนอื่น แทนที่จะรับใช้ประชาชน” นี่คือประโยคจาก ‘Servant of the People’ ซีรีส์ตลกสัญชาติยูเครนที่ ‘โวโลดีมีร์ เซเลนสกี’ ประธานาธิบดียูเครนคนปัจจุบันแสดงนำและร่วมสร้าง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าก่อนที่เซเลนสกีจะก้าวเข้ามาเป็นผู้นำของประเทศ เขาเคยเป็นนักแสดงตลกที่โลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิงของยูเครนนานเกือบ 20 ปี ซึ่ง Servant of the People คือหนึ่งในผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากที่สุด และยังเป็นซีรีส์ที่ปูทางสู่เส้นทางการเมืองในชีวิตจริงให้เขาด้วย Servant of the People คือซีรีส์ตลกเสียดสีการเมืองและสังคม ที่เล่าเรื่องราวของ ‘เปโตรวิช โกโลโบรอดโก’ (รับบทโดย โวโลดีมีร์ เซเลนสกี) คุณครูประวัติศาสตร์โรงเรียนมัธยมปลายธรรมดาๆ ที่จับพลัดจับผลูได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของประเทศ หลังจากมีนักเรียนแอบอัดคลิปเขาขณะด่าการเมืองในประเทศอย่างออกรส ก่อนจะแชร์ลงโลกออนไลน์ จนคลิปของโกโลโบรอดโกกลายเป็นไวรัลชั่วข้ามคืน  แม้จะเป็นซีรีส์ที่เต็มไปด้วยซีนตลกโปกฮาและความวุ่นวายที่อาจจะเกินจริงไปสักหน่อย แต่ก็มีหลายฉากที่สะท้อนความจริงและพูดแทนใจของประชาชนที่เบื่อหน่ายกับนักการเมืองและการคอร์รัปชันได้อย่างตรงไปตรงมา เช่น ฉากที่โกโลโบรอดโกพูดถึงเหล่ารัฐมนตรีที่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย มีรถหรูให้นั่ง มีบ้านหลังใหญ่ให้อยู่ ทั้งๆ ที่เงินเหล่านั้นสามารถเอาไปทำประโยชน์แก่ประชาชนที่กำลังเผชิญความยากจนข้นแค้นได้  รวมไปถึงฉากที่โกโลโบรอดโกย้ำถึงนิยามของคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ที่อำนาจอธิปไตยสูงสุดต้องเป็นของประชาชน นักการเมืองต้องรับใช้ประชาชน ไม่ใช่เหล่านายทุนหรือศักดินา เป็นประเด็นการเมืองและความเหลื่อมล้ำในสังคมที่ผู้ชมจากหลายประเทศน่าจะคุ้นชินและอินตามได้ไม่ยาก  […]

วงการสตรีมมิงออนไลน์เริ่มอยู่ยาก Netflix เตรียมปรับกลยุทธ์เพิ่มรายได้ หลังยอดสมาชิกลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี

เมื่อพูดถึงแพลตฟอร์มสำหรับดูซีรีส์และภาพยนตร์ หลายคนคงนึกถึงชื่อ ‘Netflix’ เป็นอันดับต้นๆ เพราะตอนนี้ Netflix เป็นบริการสตรีมมิงที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก หรือกว่า 221 ล้านคน แม้จะเป็นบริการสตรีมมิงเจ้าใหญ่ของโลก แต่ไม่ได้หมายความว่าการทำธุรกิจของ Netflix จะราบรื่นเหมือนโรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 Netflix เปิดเผยว่ายอดสมาชิกทั่วโลกลดลงกว่า 200,000 คนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีที่บริษัทสูญเสียฐานผู้ใช้บริการ ข้อมูลจากสำนักข่าวหลายแห่ง เช่น BBC, The Guardian, NRP และ VOX สรุปได้ว่า Netflix เสียสมาชิกนับแสนรายในช่วงสามเดือนแรกของปี 2565 เพราะสามสาเหตุหลัก ได้แก่ 1) จำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น : แม้คอนเทนต์ของ Netflix จะขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพของภาพและเสียง อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่ไม่สามารถรับชมได้จากที่อื่นอย่างเช่น Netflix Originals แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Netflix ต้องเจอความท้าทายจากคู่แข่งใหม่ๆ ที่ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมสตรีมมิง เช่น Disney+, Apple […]

Old Enough รายการญี่ปุ่นใน Netflix ที่มอบภารกิจให้เด็กอนุบาล ออกไปเรียนรู้และเอาตัวรอดนอกบ้าน

จำได้ไหมว่าคุณออกนอกบ้านคนเดียวครั้งแรกตอนอายุเท่าไหร่? ตอนเด็กๆ หลายคนต้องเคยได้รับมอบหมายภารกิจให้ไปซื้อน้ำปลา เอาของไปให้ญาติบ้านใกล้เรือนเคียง หรือฝากไปทำธุระเล็กๆ ละแวกบ้าน คุณจำครั้งแรกได้ไหมว่าตอนนั้นรู้สึกอย่างไร และอายุเท่าไหร่กันบ้าง? ‘Old Enough ผจญภัยวัยอนุบาล’ คือรายการเรียลลิตีครอบครัวจาก NTV ประเทศญี่ปุ่น ที่มอบภารกิจให้เด็กวัย 2 – 3 ขวบไปทำธุระใกล้ๆ บ้านให้พ่อแม่ เพื่อให้ได้เรียนรู้วิธีเอาตัวรอดนอกบ้าน เรียนรู้ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ช่วยเหลือตัวเองและช่วยงานพ่อแม่ได้มากขึ้น ถ้าคุณเคยเป็นแฟนรายการขำกลิ้งลิงกับหมา เราเชื่อว่าจะหลงรักรายการนี้ได้ไม่ยาก เพราะตลอดทั้งรายการจะได้เอาใจช่วยเด็กๆ ให้ทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วงไปได้ บางตอนทั้งขำทั้งซึ้งจนน้ำตาลไหลในความน่ารักใสซื่อของเด็กๆ ภารกิจที่เด็กๆ ได้รับมอบหมายไม่ใช่แค่ซื้อน้ำปลาแล้วกลับบ้านแน่นอน เพราะธุระที่พ่อแม่มอบหมายให้มีหลายจุด ทั้งไปซื้อของ เอาปลาไปแล่ที่ร้าน ไปรับเสื้อที่ร้านซักรีด แวะซื้อของให้แม่ จ่ายตลาด ส่งของให้ญาติ ฯลฯ มีธุระให้ทำทั้งขาไปขากลับ บางธุระมีน้ำหนักหลายกิโล แถมระหว่างทางยังมีอุปสรรคมากมาย บางคนต้องเดินระยะทางที่ไกล เดินขึ้นเขาบนทางชัน หรือเดินขึ้นบันไดศาลเจ้าหลายร้อยขั้นเพื่อไปทำภารกิจให้สำเร็จ ลองนึกดูสิว่าถ้าคุณเป็นเด็กวัย 2 – 3 ขวบจะทำภารกิจเหล่านี้ให้ลุล่วงได้โดยที่ไม่ร้องไห้ ไม่ว่อกแว่ก และไม่หลงทางได้อย่างไร แถมพ่อแม่ยังต้องใจแข็งมากๆ ด้วยที่ยอมปล่อยลูกวัยนี้ออกไปผจญภัยนอกบ้านด้วยตัวเอง รายการนี้จะทำให้เราได้ลุ้นและเอาใจช่วยเด็กๆ เรายังได้เห็นความสัมพันธ์ของครอบครัว […]

ผู้จัดซีรีส์ ‘แฮร์รี่ พอตเตอร์’ เตรียมหา นักแสดงข้ามเพศรับบทแม่ของแฮร์รี่ เพื่อความหลากหลายทางเพศและเชื้อชาติ

‘แฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter)’ ภาพยนตร์ในดวงใจของใครหลายคนกำลังจะถูกแปลงเป็น ‘ซีรีส์’ ซึ่งแฮร์รี่ พอตเตอร์เวอร์ชันใหม่เตรียมจะสร้างให้ตัวละครต่างๆ มีความหลากหลายมากขึ้น ผ่านนักแสดงที่มีความหลากหลายทางเพศและเชื้อชาติ Megan Mckelli ผู้สร้างโปรเจกต์ซีรีส์แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้กล่าวใน TikTok ของเธอว่า “พวกเราต้องการสะท้อนให้เห็นเรื่องความหลากหลายของฐานแฟนคลับในตัวละครที่เป็นที่รักเหล่านี้ ผ่านตัวละครผิวสี เรื่องราวของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และตัวละครที่มีความเชื่อต่างกัน” แผนการสร้างแฮร์รี่ พอตเตอร์ เวอร์ชันใหม่เกิดขึ้น หลังจาก เจ. เค. โรว์ลิง นักเขียนนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง เพราะเธอไม่ยอมรับบุคคลที่แปลงเพศเป็นผู้หญิง ว่าเป็น ‘ผู้หญิง’ ซึ่งการแสดงความคิดเห็นของนักเขียนชื่อดังทำให้หลายฝ่าย รวมไปถึงแฟนคลับและทีมนักแสดงจากภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ มองว่าเธอ ‘เหยียดเพศ’ เหล่าผู้อำนวยการสร้างซีรีส์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เปิดเผยว่า พวกเขากำลังเตรียมเปิดรับนักแสดงมาสวมบทบาทในซีรีส์แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งตัวละครในเรื่องนี้จะได้รับการถ่ายทอดโดยนักแสดงที่เป็น ‘คนข้ามเพศ’ (Transgender) หรือ ‘คนที่ไม่เห็นว่าเพศของตัวเองต้องจำกัดอยู่เฉพาะกับเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น’ (Non-binary) ทั้งนี้ ทางผู้จัดยังไม่ได้เจาะจงว่า พวกเขาต้องการให้ใครมารับบทเป็น ลิลี่ […]

Netflix Book Club รายการสำหรับนักอ่านที่ได้เห็นนิยายกลายเป็นหนัง

ตื่นเต้น เฝ้ารอ ประหลาดใจ มีความสุข กังวล คุณมีรีแอ็กชันแบบไหนเมื่อได้รู้ว่าหนังสือเล่มโปรด (หรือเล่มที่เพิ่งอ่านจบ) จะถูกสร้างเป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์ในเร็วๆ นี้ สำหรับเรา นอกจากการติดตามและลุ้นว่าหนังสือที่อ่านจะดัดแปลงไปเป็นอีกมีเดียมหนึ่งยังไงแล้ว เบื้องหลังการตีความและกระบวนการดัดแปลงบทก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทีมงานจะเก็บเอาใจความสำคัญ และดีเทลยิบย่อยที่แฝงในตัวอักษรบนหน้ากระดาษมาถ่ายทอดผ่านภาพ แสง สี เสียงได้ครบ ตรงใจกับจินตนาการคนอ่านส่วนใหญ่ แต่ในที่สุด เราก็ไม่ต้องรออีกต่อไป เพราะสตรีมมิงชื่อดัง Netflix ได้จับมือกับ Starbucks ทำ Netflix Book Club เล่าถึงเบื้องหลังและฮาวทูการแปลงร่างวรรณกรรมให้เป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์ชื่อดังที่ไม่ว่าใครก็ต้องพูดถึง ซีรีส์รายการนี้ชื่อ But Have You Read the Book? โดยได้พิธีกรดำเนินรายการเป็น Uzo Aduba นักแสดงจากซีรีส์ Orange Is the New Black ความพิเศษที่รายการนี้แตกต่างจากรายการบุ๊กคลับอื่นๆ คือ การชวนทีมนักแสดง ผู้เขียนบท นักเขียน รวมไปถึงทีมงานที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการดัดแปลงหนังสือไปสู่ภาพยนตร์หรือซีรีส์ มาพูดคุยเจาะลึกถึงตัวละคร ธีม เรื่องราวทั้งหมด ไปจนถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่คนดูภาพยนตร์หรือซีรีส์อย่างเดียวอาจไม่เคยรู้มาก่อน […]

Squid Game : หรือชีวิตคนจนจะเป็นได้แค่ของเล่นของคนรวย?

ในโลกอุดมคติ “ความเท่าเทียม” คงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของใครหลายคน โลกที่แม้อำนาจทางเศรษฐกิจหรือตัวเลขในบัญชีอาจมีไม่เท่ากัน แต่คุณค่าความเป็นคนไม่มีใครต่ำต้อยกว่าใคร น่าเศร้าที่สิ่งนี้ยังเป็นได้เพียงอุดมคติ เพราะในโลกแห่งความเป็นจริง เราได้เห็นการที่คนมากมายถูกจัดวาง วาดภาพ หรือกดทับให้เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงเพราะพวกเขาเป็นคนที่อยู่ชั้นลำดับล่างของฐานเศรษฐกิจ จนก็ต้องอยู่อย่างเจียม จนก็เพราะขี้เกียจ ไม่พยายาม เป็นคนไม่ดี เอาแต่สบาย จนก็ต้องอยู่อย่างคนจน หรือดีสุดก็เป็นเพียงเครื่องรองมือรองเท้าของคนรวย บางครั้งการกดทับหรือบังคับขืนก็อาจเป็นไปอย่างแนบเนียน หรือเป็นเพียงทัศนคติคำพูดเหยียดหยามแต่โลกใน “Squid Game” ซีรีส์กระแสแรงแห่งบ้าน Netflix จากประเทศเกาหลีใต้ คือโลกที่จับคนชายขอบไร้ทางไปในสังคมเข้ากรง มาเล่นเกมเพื่อเอาชีวิตรอด ทั้งจากตัวเกม และจากนรกในชีวิตประจำวันที่พวกเขาต้องอาศัยอยู่ให้ได้เห็นกันแบบถึงเลือดถึงเนื้อ และถึงอารมณ์ สเตจเซตอัปสีสันสดใสไฮโปรดักชัน แอบหยอดเอเลเมนต์ของวัยเยาว์ให้เข้ากับธีมเกม เจ้าหน้าที่ในชุดสีชมพูช็อกกิ้งพิงก์พร้อมหน้ากากสกรีนรูปทรงสามแบบที่บ่งบอกถึงชนชั้นภายใน ความหวาดระแวงระหว่างกันอันนำไปสู่การเผยความดำมืดในจิตใจมนุษย์ เงินรางวัลที่มากเกินกว่าชั่วชีวิตของใครหลายคนจะกล้าแม้แต่ฝันถึง และเกมแบบเด็กๆ ที่การก้าวพลาดไม่ใช่แค่เข่าถลอกหรือได้แผลฟกช้ำ แต่หมายถึงความตายแบบศพไม่สวย ยิงเป็นยิง ตลอดเรื่องคือมหกรรมละเลงเลือดแบบที่คำอ้อนวอนใดๆ ก็ไม่อาจดังไปกว่าเสียงปืน เหล่านี้คือองค์ประกอบที่ทำให้ Squid Game เป็นซีรีส์ Survival Horror ที่ถึงเครื่องและตอบโจทย์ในแง่การกระตุ้นอะดรีนาลีนในกายให้หลั่งไหล เอาใจช่วย เห็นใจ เกลียดชัง สาปส่งตัวละครหลากสีสันหลายสันดาน แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีคอนเทนต์ที่รวบรวม “ช่องโหว่” ทั้งรายละเอียดที่ไม่สอดคล้อง ลอจิกที่ไม่ค่อยน่าซื้อสักเท่าไหร่ […]

5 หนังสะท้อนชีวิตผู้หญิงในศตวรรษที่ 19

“เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลําบาก” “มีลูกสาวเหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน” สำนวนสุดล้าหลังที่กล่าวโทษเพศกำเนิดเพียงแค่เกิดมาเป็นหญิง ค่านิยมที่ตีกรอบความเป็นสตรีเพศและบรรทัดฐานที่ขีดเส้นขึ้นโดยชาย

กอดตัวเองอย่างไรให้อุ่น ‘Butterfly Hug’ วิธีปลอบใจในวันที่ไม่มีใครเคียงกาย

เรียนรู้ผ่านซีรีย์เกาหลีแนวจิตวิทยา ที่สอนให้เรียนรู้เกี่ยวกับความ ‘เสียใจ’ ไม่ใช่เรื่องเเย่ และเมื่อไหร่ที่เกิดปัญหา บางคนอาจจะเลือกวิ่งหนี แต่ซีรีย์เรื่องนี้บอกให้เราสู้กับปัญหา และไม่ลืมที่จะปลอบใจตัวเองด้วยท่า Butterfly Hug ซึ่งเป็นวิธีที่ใครก็ สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย

Y จีน ? สาววายเต็มเมือง แต่ทำไมจีนยังคงปิดกั้น

ชวนทุกคนมาหาคำตอบ ว่าทำไมชาวจีนถึงชอบดูซีรีส์วาย ทั้งยังผลิตสื่อออกมามากมายแม้รัฐจะแบนก็ตาม

10 แง่คิดดีๆจากซีรี่ส์ตลกร้าย ‘The End of the F***ing World’ เราจะรับมืออย่างไร เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกที่แสนจะบ้าคลั่ง!!

หากใครพอมีเวลาว่างซัก 3 ชั่วโมง เราแนะนำให้นอนอยู่บ้าน ดูซีรี่ย์เรื่องใหม่บน Netflix ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ ‘The End of the F***ing World’ หนังวัยรุ่นภาพสวย ซาวน์แทร็กดีงาม ที่ทั้งตลกร้ายแสบสัน ดำเนินเรื่องฉับไว ลุ้นระทึก เต็มไปด้วยมุกจิกกัด แถมมีความโรแมนติกทะแม่งๆ ที่สำคัญยังแอบซ่อนแง่มุมต่างๆในสังคมให้เราได้ขบคิด เราลิสต์สิ่งที่ได้จากหนังมาให้แล้วถึง 10 ข้อ!

5 เหตุผลที่ควร Follow อินสตาแกรม Shay Mitchell สาวแซ่บสุดสตรองจากซีรีส์ Pretty Little Liars

วันนี้เราชวนสาวๆ ที่กำลังหาอินสไปเรชัน มาส่องไอจี Shay Mitchell นักแสดงสาวผิวแทนหน้าคม ลูกผสมสวยยูนีกผู้มีแม่เป็นชาวฟิลิปปินส์ และพ่อเชื้อสายไอริช เชย์เกิดและเติบโตที่แคนาดา ตอนไฮสคูลเธอคือเด็กเนิร์ดที่ไม่มีอะไรโดดเด่น กระทั่งมีโอกาสแคสติงนางแบบ เธอจึงได้เดินทางไปหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นบาร์เซโลนา ฮ่องกง รวมทั้งไทย ก่อนจะเปลี่ยนความสนใจมาเรียนแอ็กติง และแจ้งเกิดในซีรีส์เรื่องดัง Pretty Little Liars ซึ่งซีซันแรกเธอมีอายุเพียง 23 ปี ปัจจุบันเธอเป็นสาววัย 30 ที่นับวันก็ยิ่งสวย พร้อมบอกลาแฟนๆ และคาแรกเตอร์ที่เธอโตมากับมัน ด้วยซีซันส่งท้ายที่เพิ่งฉายครบไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Pretty Little Liars เล่าเรื่องราวสุดดาร์กหักมุมของห้าสาวตัวท็อปไฮสคูล พวกเธอถูกเปรียบเป็น Gossip Girl เวอร์ชัน ‘ฉาว’ โดยที่เพื่อนสี่ในห้าคนต่างมีความลับต่อกัน แต่หลังจากควีนบีของกลุ่มหายตัวไป พวกเธอกลับโดนแฉด้วยข้อความจากบุคคลลึกลับที่ใช้ตัวอักษรย่อ “A” PLL ฉายครั้งแรกเมื่อปี 2010 ล่าสุดซีรีส์เรื่องยาวนี้ดำเนินมาถึงซีซัน 7 เป็นบทสรุปที่เฉลยปมปริศนาว่านัง A ตัวดี นี่คือใครกันแน่! เชย์รับบท “Emily” สาวสวยนักกีฬาว่ายน้ำโรงเรียนที่ฮอตได้อีกเพราะในเรื่องเธอเล่นเป็นเลสเบี้ยน ส่วนชีวิตนอกจอเธอเลือกที่จะไม่ระบุรสนิยมทางเพศ เพราะเชื่อว่าเพศไหนไม่สำคัญขอเป็นคนที่เธอรักก็พอ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.