City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

Shenzhen Nanshan Sky Park เปลี่ยนที่ว่างบนดาดฟ้าสถานีรถไฟเป็นสวนสาธารณะ

จะเป็นอย่างไรถ้ารัฐยอมเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้? Shenzhen Nanshan Sky Park คือสวนสาธารณะลอยฟ้าแห่งใหม่ในเขตหนานซาน เมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เป็นโครงการที่นำโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่มีอยู่แต่เดิมมาปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์จากภูมิทัศน์ของเมืองอย่างเต็มที่ โครงการนี้ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Crossboundaries เป็นโปรเจกต์ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2018 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานในปี 2021 เป็นโครงการที่เปลี่ยนดาดฟ้าขนาดใหญ่ของอาคารโรงจอดและโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าของรัฐให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยออกแบบให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า มีความยาว 1.2 กม. และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการออกกำลังกายกลางแจ้งไว้บริการ เปิดให้ประชาชนเข้ามาออกกำลังกายหรือใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ เพราะบนสวนลอยฟ้าแห่งนี้ถือเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น เห็นเส้นขอบฟ้าของเมืองเซินเจิ้นเป็นฉากหลัง และมองไปสุดปลายสะพานจะเห็นฮ่องกงอยู่ไม่ไกลนัก เพราะตั้งอยู่ใกล้กับสะพานเซินเจิ้น-ฮ่องกง  Hao Dong ผู้ร่วมก่อตั้ง Crossboundaries กล่าวว่า “ในประเทศจีนโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมมักจะเป็นของรัฐบาล และเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้ใช้งานเพื่อสาธารณประโยชน์เลย โดยเฉพาะหลังคาของอาคารแห่งนี้ที่มีศักยภาพมหาศาลในการเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะที่ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้ในวงกว้างมากขึ้น ทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองโดยรอบสวยงามมากยิ่งขึ้นอีกด้วย” สวนลอยฟ้าแห่งนี้ออกแบบพื้นที่ให้เหมาะกับคน 3 กลุ่ม คือประชาชนทั่วไป โรงเรียนในละแวกใกล้เคียง และคนที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา พื้นที่นี้จึงไม่ได้สร้างแค่สวนเปล่าๆ แล้วจบไป แต่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา ตั้งแต่สนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอลแบบ 5 คน ไปจนถึงสนามเทนนิสระดับมืออาชีพพร้อมที่นั่งสำหรับผู้ชม และเส้นทางวิ่งระยะทาง 1.2 กม. […]

อ่างแก้วใหม่ในสายตา ‘เบิ้ล นนทวัฒน์’ สถานที่เยียวยาจิตใจในประเทศที่มีแต่เรื่องหัวค*ย

‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ด้วยโปรเจกต์งานสารคดีเรื่อง ‘ดินไร้แดน’ ‘ดอยบอย’ และอื่นๆ ที่ทำให้เขาต้องเดินทางมาทำงานที่นี่บ่อยๆ นอกจากลงพื้นที่ทำหนัง เวลาที่เบิ้ลต้องใช้ความคิดหรือเขียนบทเกี่ยวเนื่องกับโปรเจกต์ หรือในบางครั้งที่เขาอยากมาพักใจเฉยๆ เชียงใหม่กลายเป็นปลายทางหนึ่งที่เบิ้ลมาเยี่ยมเยียนแทบตลอดมา และช่วงที่เขาอยากพักผ่อนจากงานตรงหน้า ‘อ่างแก้ว’ คือหนึ่งใน Public Space ปรับปรุงใหม่ที่เขามีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียน ในฐานะผู้กำกับหนังและช่างถ่ายภาพ เขาจึงใช้กล้องที่พกติดตัวไปทุกที่ บันทึกภาพสิ่งที่เขาเห็นแล้วชอบกลับมาให้เพื่อนๆ ได้ดู แน่นอน เราแอบขอภาพเขาบางส่วนมาแบ่งปันทุกคนด้วย

FYI

“สกาลา ต้องเป็น Public Space ไม่ใช่ห้างฯ” เนติวิทย์ ชวน Save ลมหายใจของสกาลา

คนไทยโบกมือลา ‘สกาลา’ โรงหนังสแตนด์อะโลนอายุ 52 ปี แห่งเดียวที่หลงเหลือในกรุงเทพฯ ไปแล้ว 1 ปีเต็ม เนื่องจากผู้บริหารทนสู้ต่อไปไม่ไหว ยิ่งไปกว่านั้นคือการขาดรายได้ช่วงโควิด-19 เพราะรัฐบาลสั่งปิดพื้นที่แบบไร้ซึ่งมาตรการเยียวยา ส่งผลให้อุตสาหกรรมหนังไทยทั้งองคาพยพต้องสั่นคลอน ซ้ำร้ายยังบงการประชาชนให้อยู่บ้าน อย่าการ์ดตก ในขณะที่ผู้คนและผู้ประกอบการพยายามกุมลมหายใจเฮือกสุดท้ายของตัวเองไม่ให้ถูกพรากไป เก่งแต่สั่งห้าม แต่ไม่ยอมส่งต่อความเจริญให้ประชาชนทุกคนสักที แม้สกาลาปิดม่านลงอย่างถาวร แน่นอน ความทรงจำของผู้คนที่ตบเท้าเข้ามาซื้อตั๋วหนัง หรือเดินผ่านต่างจดจำได้ว่าอาคารนี้มีเสน่ห์ล้นเหลือ และเป็นแลนด์มาร์กสำคัญที่อยู่คู่สยามมายาวนาน Philip Jablon เจ้าของเพจ The Southeast Asia Movie Theater Project ผู้ออกเดินทางตามล่าความทรงจำเกี่ยวกับโรงหนังสแตนด์อะโลนทั่วภูมิภาค ยังยกย่องให้สกาลาเป็นโรงหนังที่งดงามที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าวันนี้สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าสไตล์ Art Deco และพื้นที่ความทรงจำแห่งนี้กำลังจะสูญหายไปตลอดกาล ‘สกาลา’ อาจจะจากไปแบบไม่มีวันหวนกลับ หากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่หยุดโครงการรื้อ ทุบ และพัฒนาอาคารแห่งนี้โดยปราศจากการให้คนในสังคมมีส่วนร่วมตัดสินใจ สกาลาอาจกลายเป็นห้างฯ แห่งใหม่ ที่มีอยู่รอบจุฬาฯ จำนวนมาก ในขณะที่ประเทศแทบจะไม่มีพื้นที่สาธารณะรองรับชีวิตประชาชน อืม…แล้วจะหยุดสร้างห้างฯ ได้หรือยัง? หรือเห็นว่าประชาชนมีพื้นที่สาธารณะเพียงพอแล้ว คุยกับ เนติวิทย์ […]

ปี 2025 โซลจะมีสวนวัฒนธรรมริมน้ำที่ตอบโจทย์ทุกคน

กรุงเทพฯ มี ‘โอ่งอ่าง’ คลองที่สวยที่สุดในเมืองกรุง แต่ในปี 2025 ‘โซล’ เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้กำลังจะมีสวนสาธารณะวัฒนธรรมริมน้ำ ที่มีสามดีเทลสำคัญเป็นหัวใจหลักของการดีไซน์พื้นที่ หนึ่ง. ศิลปะ  สอง. วัฒนธรรม สาม. สเปซที่เชื่อมต่อทั้งย่าน Seongdong เข้าด้วยกันให้เดินไปมาหาสู่กันได้แบบทะลุปรุโปร่ง  ทั้งสามรายละเอียด ถูกคิดค้น ออกแบบเพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตของคนเมืองให้ทุกคนเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และได้พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดทั้งร่างกายและจิตใจกันถ้วนหน้า ทั้งนี้ในปี 2025 เรากำลังจะได้ยลโฉมสเปซบริเวณลำธาร Jungnangcheon (중랑천) ซึ่งจะถูกแปลงโฉมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนเกาหลีได้มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมริมน้ำแห่งใหม่ ซึ่งผสมผสานระหว่างศิลปะและการพักผ่อนหย่อนใจเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว  คลองหรือลำธารจุงนังเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำฮัน มีต้นกำเนิดมาจากหุบเขา Dorak ใน Yangju จังหวัด Gyeonggi ซึ่ง Cheonggyecheon ก็เป็นลำน้ำสาขาของ Jungnangcheon ลุ่มน้ำทั้งหมดมีพื้นที่ 299.9 ตารางกิโลเมตร ลำธารส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอึยจองบูและกรุงโซล อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาลโซล (The Seoul Metropolitan Government) ครั้งนี้จะมีการสร้างถนนใต้ดินระหว่างสะพาน Changdonggyo และสะพาน Sanggyegyo ภายใต้ลำธาร […]

อวสานชิแม็ก เมื่อโซลห้ามกินไก่กับเบียร์ที่ริมน้ำฮัน

ใครที่เคยดูซีรีส์ หนัง หรือไปเยี่ยมเยียนประเทศเกาหลีใต้บ่อยๆ น่าจะคุ้นเคยกับ วัฒนธรรมการกิน Chimaek (치맥) กันดี ชิแม็กคือการตัดคำสองคำมาชนกัน คำแรกหมายถึงไก่ ส่วนคำหลังหมายถึงเบียร์ เข้าใจง่ายๆ ก็คือการกินไก่ทอดเกาหลีที่มีให้เลือกหลากหลายรสชาติแกล้มกับเบียร์เย็นๆ ถ้าเคยได้ลิ้มลองกัน ก็จะรู้ว่าเป็นส่วนผสมที่อร่อยเด็ด ตัดเลี่ยนกันได้อย่างลงตัว นอกจากจะนิยมกินกันในร้าน บาร์ หรือบ้าน สถานที่ฮอตฮิตอีกหนึ่งแห่งในโซลก็คือสวนสาธารณะริมแม่น้ำฮัน ลองจินตนาการดูสิว่าถ้าได้จิบเบียร์แกล้มไก่ทอดรสโปรด นั่งคุยชิลๆ กับเพื่อนๆ และชมวิวในพื้นที่สาธารณะที่มีทั้งต้นไม้ แม่น้ำ และคนหนุ่มสาวมากมายมันฟินซะขนาดไหน ดังนั้น เลยไม่น่าแปลกใจหรอกว่าทำไมคนเกาหลีถึงเลือกเมนูชิแม็กเวลาไปปิกนิกนอกบ้าน แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าคิดว่าจะไปเที่ยวโซลคราวหน้า แล้วมีแพลนจะทำอะไรแบบนี้ ก็คงต้องพับแผนไปทำอย่างอื่นแทน เพราะล่าสุดรัฐบาลกรุงโซลเริ่มสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์เกี่ยวกับการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะเมื่อช่วงกลางๆ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุขช่วงปลายเดือน สำหรับการแก้ไขกฎเหล่านี้ รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดและห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนพื้นที่สาธารณะของเมือง ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะ รถไฟใต้ดิน ป้ายรถบัส หรือสถานศึกษา และสถานพยาบาล เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไร้ระเบียบและทำลายสุขภาพของประชาชน ซึ่งผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษด้วยการปรับเงินสูงถึง 100,000 วอน (เกือบ 2,800 บาทไทยในตอนนี้) ภาครัฐเกิดความกังวลอย่างสูง เพราะประชาชนในเมืองนิยมชักชวนกันไปดื่มในพื้นที่สวนจำนวนมาก นั่นอาจเพราะสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้ทั้งบาร์และร้านอาหารปิดเร็วขึ้นกว่าเดิม […]

Tempelhof สวนสาธารณะเบอร์ลินจากสนามบินสมัยสงครามโลก

พื้นที่สาธารณะในเบอร์ลิน เมืองหลวงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นั้นมีมากมาย ทั้งสวนสาธารณะ ทางจักรยาน ไปจนถึงสเปซคนเดิน เพื่อรองรับประชากรเกือบ 4 ล้านคนให้มีที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยหนึ่งในพื้นที่ซึ่งนำมาเปลี่ยนเป็นพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองคือ สถานที่รกร้าง เราเลยชวนทุกคนมาสำรวจพื้นที่สาธารณะในเมืองเบอร์ลิน ที่ถือกำเนิดขึ้นจากการคืนชีวิตให้พื้นที่รกร้างมีลมหายใจอีกครั้ง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชาวเบอร์ลิน Tempelhof สวนบนสนามบินร้าง เท็มเพลโฮฟ (Tempelhof) คือชื่อของสนามบินที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ในเขตเท็มเพิลโฮฟ-เชอเนอแบร์ค ทางใต้กลางของกรุงเบอร์ลิน ซึ่งในอดีตนั้นยิ่งใหญ่ในฐานะสนามบินหลักของเมืองเบอร์ลิน มีอาคารผู้โดยสารที่เคยใหญ่ที่สุดในยุโรป รวมถึงเป็นสนามบินแรกของเยอรมนีซึ่งใช้เป็นพื้นที่สำหรับปล่อยเครื่องบินขึ้นไปถ่ายภาพทางอากาศ และปล่อยบอลลูนที่เป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ไม่เพียงเท่านั้น ความที่สุดของสนามบินเท็มเพลโฮฟคือสองพี่น้องตระกูลไรต์ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกของโลก เคยมา Take Off เครื่องบินที่นี่และทำสถิติใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับวงการการบินในเยอรมนี มากไปจนถึงเคยเป็นส่วนหนึ่งของการรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา สนามบินเท็มเพลโฮฟปิดตัวลงเมื่อ ค.ศ. 2008 และได้รับการปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่ไม่เหมือนที่ไหน เพราะมีทางทอดยาว และกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่เปิดที่มีขนาดใหญ่มากของโลก ซึ่งชาวเบอร์ลินถูกใจกับสิ่งนี้ไม่น้อย และมักออกไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่สวนสาธารณะเท็มเพลโฮฟ ไม่ว่าจะเป็นเล่นสเก็ต เล่นว่าว ขี่จักรยาน และยังมีสวนกว้างใหญ่สองข้างทางให้ชาวเมืองได้มานั่งปิกนิกรับแดด […]

8 ต้นแบบลานกีฬาวัฒนธรรมชุมชน ที่บ่งบอกอัตลักษณ์และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง

‘พื้นที่สาธารณะ’ เปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ของเมืองที่มาเติมเต็มคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น เพราะคนในเมืองควรมีพื้นที่อิสระในการใช้ชีวิต และจะดีขึ้นไปอีกหากพื้นที่เหล่านี้มาจากความต้องการของคนในพื้นที่ ให้พวกเขารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง และคนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้

จากพื้นที่ว่างสู่ลานกีฬาชุมชนศูนย์รวมใจของคน ‘บ้านแหลม’

จะดีไหม ? หากเรามีพื้นที่สาธารณะให้ทุกคนสามารถออกมาใช้งานร่วมกันอย่างไม่มีข้อจำกัดใดๆ ไม่ว่าจะออกกำลังกาย นั่งพักผ่อนหย่อนใจ พาลูกหลานมาเที่ยว จัดกิจกรรมกลางแจ้งร่วมกัน เพราะหลายครั้งที่พื้นที่ร้างกลายเป็นพื้นที่ซึ่งถูกปล่อยทิ้งร้างจนกลายเป็นปัญหาจากเล็กไปจนใหญ่ ทั้งจากมุมของผู้คนทั่วไปจนถึงคนในชุมชน

‘มิวนิก’ เมืองที่เป็นมิตรกับคนเดิน นักปั่น และมีพื้นที่สาธารณะดีจนคนอยากใช้ชีวิตนอกบ้าน

วิธีการจัดการระบบขนส่งสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะของเมื่อมิวนิค ประเทศเยอรมนี ที่ทำได้ดีและเป็นมิตรกับคนเมืองจนชาวมิวนิคกว่า 66% ออกมาใช้รถสาธารณะ เดินเท้า และปั่นจักรยาน รวมทั้งนั่งเล่นที่สวนกลางเมืองกันอย่างสุขใจ

‘Tainan Spring’ คืนชีพอาคารร้างเก่าให้กลายเป็นสวนน้ำสาธารณะกลางแจ้งแห่งแรกของไต้หวัน

หนึ่งในพื้นที่สาธารณะของประเทศใต้หวันที่เราหมายมั่นตั้งใจว่าต้องมาให้ได้สักครั้งหนึ่งไหนๆ ก็ยังกลับประเทศไทยไม่ได้เราเลยแวะไปสำรวจ ‘Tainan Spring’ สวนน้ำสาธารณะใจกลางเมืองไถหนัน ผลงานการออกแบบล่าสุดของ MVRDV สตูดิโอสถาปัตยกรรมสัญชาติดัตช์สวนสาธารณะที่สร้างความตื่นเต้นและฮือฮาให้ชาวไต้หวัน (รวมถึงเราเองด้วย) ไม่น้อยเลย เราอาจเรียก Tainan Spring ว่าเป็นสวนน้ำกลางแจ้งในเมืองแห่งแรกของไต้หวันก็ว่าได้ โครงการฟื้นฟูพื้นที่ T-Axis ทางฝั่งตะวันออกของเมืองไถหนันนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 เมื่อสำนักงาน Urban Development Bureau เทศบาลเมืองไถหนัน (Tainan City Government) ต้องการสร้างพื้นที่สาธารณะที่ให้คนในเมืองมารวมตัวกัน ช่วยกระตุ้นการเดินเท้าในย่าน Haian Road ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อเมืองกับคลองไถหนัน (Tainan Canal) ซึ่งระบบคลองถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมืองไถหนันมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์ชิงในช่วงปี ค.ศ. 1800 และยังเป็นแหล่งสร้างงานสร้างอาชีพผ่านธุรกิจประมงและธุรกิจท่องเที่ยวในเมือง Tainan Spring ยังคงคอนเซปต์การรีโนเวตอาคารเก่าร้างมาแปลงใหม่เป็นพื้นที่สาธารณะตามสไตล์ที่ไต้หวันเขาถนัด ทั้งยังสะท้อนแนวคิด Circular Economy อีกด้วยนะ เพราะเดิมพื้นที่นี้คือ Tainan China Town Mall แหล่งช้อปปิ้งยอดฮิตของชาวไถหนันที่สร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983 จนเวลาผ่านเลยไป ความคึกคักก็น้อยลงจนต้องปิดตัวลงไปเมื่อปี […]

แปลงร่างตู้โทรศัพท์สาธารณะเก่าเป็น ‘ห้องสมุดจิ๋ว’ แลกเปลี่ยนหนังสือส่งต่อพลังบวก

ในปัจจุบันเมื่อโลกหมุนนำพาเราเข้าสู่ยุคดิจิตอล ที่มีสมาร์ทโฟนเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่เราเคยหยอดเหรียญโทรหากันเมื่อก่อน จึงกลายเป็นเพียงสิ่งคลาสสิก ตั้งตระหง่านตามริมถนน และแทบไม่มีใครกดใช้งานมันไปเสียแล้ว แต่ถ้าจะทำการรื้อถอนให้หมดเกลี้ยงก็น่าเสียดาย แถมยังเป็นการเพิ่มขยะให้โลกเราอีกต่างหาก จึงเกิดไอเดียสายกรีนสุดล้ำแปลงร่างตู้โทรศัพท์สาธารณะเก่าให้ฟื้นคืนชีพ กลายเป็นห้องสมุดจิ๋วที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม ตู้โทรศัพท์สาธารณะร้างหลายตู้ในกรุงปราก ถูกปรัับเปลี่ยนให้กลายเป็นห้องสมุดจิ๋วที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนหนังสือกัน โดยแต่ละตู้ถูกแปลงร่างด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงแค่ทำความสะอาด ต่อเติมชั้นวางหนังสือด้านใน ติดไฟเข้าไปสักดวง จากนั้นก็นำหนังสือที่เราอ่านแล้วเข้าไปวางเรียงในตู้ พร้อมให้นักอ่านได้เข้ามาเลือก หมุนเวียนแลกเปลี่ยนหนังสือกันอย่างเสรี เสมือนเป็นห้องสมุดที่เปิดให้เข้าฟรีตลอด 24 ชั่วโมง แถมยังสามารถยืมหนังสือได้ตามใจชอบ โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกอีกด้วย “ ห้องสมุดในมุมมองใหม่ที่เพลิดเพลินและเข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม ” ไอเดียการ REUSE แปลงร่างตู้โทรศัพท์สาธารณะเก่านี้ ไม่ได้เป็นเพียงไอเดียที่ช่วยลดขยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดมุมมองและภาพลักษณ์ใหม่ของคำว่า “ ห้องสมุด ” เพราะเมื่อก่อนหากเราพูดถึงห้องสมุด ใครหลายคนอาจนึกถึงความเงียบสงบ ความน่าเบื่อ และเป็นสิ่งที่อาจเข้าถึงยาก หรือบ้างก็มองว่าห้องสมุดเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความรู้ เหมาะสำหรับนักปราชญ์หรือนักศึกษาเกียรตินิยม เข้าไปหาข้อมูลงานวิจัยสุดซับซ้อนเท่านั้น แต่เมื่อห้องสมุดถูกแบ่งย่อยกลายเป็นตู้เล็กๆ หลายๆ ตู้กระจายอยู่ทั่วเมือง ทำให้การอ่านหนังสือกลายเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่ายสำหรับทุกคน จนเกิดเป็นมิติใหม่ของการเลือกอ่านหนังสือ ที่นอกจากจะเกิดความเพลิดเพลินแล้ว ยังสามารถลบภาพความน่าเบื่อให้หายไปได้อย่างสิ้นเชิง “ ความน่ารักมักซ่อนอยู่ในตู้ ” แน่นอนว่า ไอเดียที่เปิดโอกาสให้ทุกคนนำหนังสือมาวางแลกเปลี่ยนกันได้อย่างอิสระเช่นนี้ อาจไม่ทำให้เกิดระบบการแยกประเภทและหมวดหมู่ในการจัดเรียงหนังสือเหมือนห้องสมุดทั่วไป […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.