กฟผ. จับมือเรือด่วนเจ้าพระยา เตรียมทดลองให้บริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า

เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค่าฝุ่นละอองหลายพื้นที่ในประเทศไทยกลับมาอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกครั้ง ซึ่งสาเหตุของฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือที่เราคุ้นกันในชื่อ PM 2.5 มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือการเผาไหม้ที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งที่เราใช้กันทุกวัน  การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากการคมนาคมขนส่งก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่ว และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและคุณภาพของอากาศโดยรวม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงร่วมยกระดับคุณภาพการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ จับมือกับบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด นำเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. ออกทดลองให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ภายใต้แนวคิดการประหยัดพลังงานและลดมลพิษให้ได้มากที่สุด การทดลองเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้านี้จะให้บริการเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท่าเรือปากเกร็ด – พระราม 7 และท่าเรือพระราม 7 – สาทร เป็นเวลา 6 เดือน สำหรับผู้ที่สนใจ ติดตามวันและเวลาที่เริ่มให้บริการได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Chao Phraya Express Boat – เรือด่วนเจ้าพระยา Sources : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย https://bit.ly/3pW0Fm2กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม https://bit.ly/3qTGxlY

‘ซาอุดีอาระเบีย’ สร้างเมืองใหม่ ไร้รถยนต์ ไร้มลพิษ และขับเคลื่อนด้วย AI

เมื่อเทพเจ้าแห่งน้ำมันพยายามหาทางเอาตัวรอดจากวิกฤต จึงเกิดเป็นแนวคิดการสร้างแผนพัฒนาเมืองแห่งใหม่ของประเทศซาอุดีอาระเบีย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ไร้รถ ไร้มลพิษ ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI” และทุกพื้นที่จะเชื่อมต่อถึงกันด้วยการเดินเพียง 5 นาที ซึ่งมีชื่อว่า ‘The Line’

‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

‘ค่ารถไฟฟ้าทะลุ 100’ ทำอย่างไรให้ราคาไม่พุ่ง ทุกคนจ่ายไหว

ทุกปีจะปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าขึ้นไปเรื่อยๆ และไม่มีทางจะลดลงง่ายๆ จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า จะมีแนวทางไหนที่ช่วยลดค่ารถไฟฟ้าได้บ้าง

คนไทยทำไมไม่ดูหนังไทย เพราะน่าเบื่อหรือถูกปิดกั้นอิสระทางความคิด

ชวนตั้งคำถามหนังไทย ทำไมฉายแล้วไม่ปังเท่าหนังต่างประเทศ คงต้องมองกลับไปยังจุดเริ่มต้นของสภาพแวดล้อมการทำหนังในบ้านเรา ผ่านมุมมองของคนแวดวงหนังกับ ‘คุณมิ้ว – ศริญญา มานะมุติ’ หนึ่งในผู้ก่อตั้งโรงหนัง Bangkok Screening Room ที่จะมาฉายภาพกว้างของวงการหนังในบ้านเราให้เรารู้ว่า สาเหตุที่คนไทยไม่ดูหนังไทยเป็นเพราะอะไร ?

ไร้บ้านไม่ไร้ค่า หนึ่งวันกับ ‘คนไร้บ้าน’ ชีวิตที่อยากให้เข้าใจ

เรียนรู้ชีวิตคนไร้บ้านไปพร้อมกับ ‘พี่เอ๋-สิทธิพล ชูประจง’ หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนนที่พาเราไปเข้าถึงคนไร้บ้านอย่างเปิดใจให้ว่าง เพื่อทำความเข้าใจ รับฟังเรื่องราว รับรู้ปัญหา และถ่ายทอดสิ่งที่พบเจอให้ทุกคนได้สัมผัส ‘คนไร้บ้าน’ ในมุมมองใหม่

‘Roof Square’ เสกใต้สะพานร้าง เป็นพื้นที่เพื่อชุมชน

เราจะพาไปดู ‘Roof Square’ ที่เปลี่ยนพื้นที่ใต้สะพานลอยรกร้างขนาดใหญ่ที่ตัดขาดเมืองในเขตที่อยู่อาศัย Dongdaemun-gu ประเทศเกาหลีใต้ ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเมืองให้มีชีวิตชีวามากกว่าเคย ผ่านการดีไซน์สถาปัตยกรรมที่ช่วยดึงดูดให้คนอยากมาใช้งานทุกเวลา

ส่องมาตรการดัน ‘รถยนต์ไฟฟ้า’

ปริมาณรถบนท้องถนนกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในต้นตอของปัญหา PM2.5 สืบเนื่องไปถึงปัญหาที่ใหญ่กว่าอย่างสภาวะโลกร้อน เพราะ 14% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมาจากการคมนาคมขนส่ง การส่งเสริมให้ผู้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว

อาคิเต็ก (พาไป) เจอเมืองในมุมมองแบบไท้ยไทย

มองมุมเมืองสไตล์ไท๊ยไทย ท่ามกลางแสงแดดเจิดจ้า วันนี้โชคดีที่สายฝนไม่โปรยลงมาเลย เมื่อเราเดินทางมาถึง ‘Everyday Architect & Design Studio’ ที่แฝงตัวกลมกลืนอยู่ในย่านฝั่งธนบุรี

8 ต้นแบบลานกีฬาวัฒนธรรมชุมชน ที่บ่งบอกอัตลักษณ์และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง

‘พื้นที่สาธารณะ’ เปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ของเมืองที่มาเติมเต็มคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น เพราะคนในเมืองควรมีพื้นที่อิสระในการใช้ชีวิต และจะดีขึ้นไปอีกหากพื้นที่เหล่านี้มาจากความต้องการของคนในพื้นที่ ให้พวกเขารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง และคนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้

ถนน กทม. ดีพอให้เป็นทางรอดเมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือยัง

‘ถนน’ มีไว้ทำอะไร ? หน้าที่หลักของถนน คือ การเคลื่อนย้ายสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่งให้ถึงจุดหมายที่ไม่ใช่เเค่รถวิ่งเท่านั้น เเต่ยังทำหน้าที่เป็นเส้นทางอพยพคนไปยังจุดปลอดภัยอีกด้วย

เมื่อชาวสถาปนิกชวนชุมชนมาร่วมสร้าง ‘ลานกีฬาวัฒนธรรมชุมชน’ พื้นที่ในฝันที่ทุกคนเป็นผู้ออกแบบ

การจะประกอบสร้างสังคมให้น่าอยู่นั้น สิ่งสำคัญคือต้องวางรากฐานให้ ‘คนและชุมชน’ มีความมั่นคงและแข็งแรง ผ่านการพัฒนาชุมชน และกระบวนการส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น โดยคนในชุมชนเป็นผู้ริเริ่มหรือให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน

1 4 5 6 7 8 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.