‘บาเลนเซีย’ เมืองหลวงการออกแบบแห่งใหม่ ที่ใช้ Art&Design พัฒนาเมืองและดึงดูดนักลงทุน

World Design Capital เป็นรางวัลที่จัดขึ้นเพื่อยกย่องเมืองที่สามารถนำเอาการออกแบบ มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเมือง ทั้งในภาคเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ซึ่งรางวัลดังกล่าวจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ 2 ปี เริ่มต้นตั้งแต่เมืองตูริน (2008) โซล (2010) เฮลซิงกิ (2012) เคปทาวน์ (2014) ไทเป (2016) เม็กซิโกซิตี้ (2018) และ ลิลล์ (2020) ในปี 2022 ที่กำลังจะมาถึง ‘บาเลนเซีย’ เมืองศิลปะของประเทศสเปน ได้รับเลือกให้เป็น ‘เมืองหลวงแห่งการออกแบบแห่งใหม่’ จากเหตุผลที่ว่า ดินแดนแห่งนี้ อุดมไปด้วยผลงานทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมาย ที่มีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของภาครัฐเองก็ผลักดันในด้านต่างๆ ตั้งแต่สนับสนุนวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ จัดนิทรรศการ โชว์ผลงาน และการประชุมในทุกเดือน โดยจะมีเนื้อหาสนุกๆ เช่น จะออกแบบอย่างไร เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การออกแบบเพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศ ประวัติของการออกแบบ การพัฒนาอุตสาหกรรมการออกแบบและธรรมชาติ ไม่เพียงเท่านี้ บาเลนเซียยังเปิดอบรมเพื่อเสริมทักษะให้เหล่านักออกแบบ ทั้งยังจัดกิจกรรมโดยใช้การออกแบบมาโปรโมตย่านต่างๆ ในเมือง เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวและนักออกแบบจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมาที่นี่ […]

City in Bloom – ปลอมในจริง

เมื่อปลูกต้นไม้จริง ไฉนเลยผลและดอกที่ออกกลับกลายเป็น ‘สิ่งไร้ชีวิต’ ที่มองแล้วดูคุ้นตา จนเกิดเป็นภาพความลงตัวที่ไม่ลงตัวแบบไทยๆ ราวกับว่าธรรมชาติเบ่งบานออกดอกออกผลเป็นสิ่งนั้นจริงๆ ทำให้ต้องเหลียวมอง พร้อมตั้งคำถามถึงความแปลก และประโยชน์ใช้สอยทุกครั้งที่เดินผ่าน “บานเป็นขวดสีใส” “บานเป็นขวดหลากสี” “บานเป็นเปลือกไข่” “บานเป็นซีดี” “บานเป็นดอกไม้พลาสติก” “บานเป็นขวดคละสี” “บานเป็นดอกกระดาษ” “บานเป็นถุงพลาสติก” (แอบมีพวงมาลัย)

กำเนิด ‘วินมอเตอร์ไซค์’ แรกของกรุงเทพฯ เส้นเลือดฝอยของคนเมืองที่ต้องพึ่งความแว้นไว

ย้อนรอยประวัติศาสตร์วินมอเตอร์ไซค์แห่งแรกของกรุงเทพฯ สู่อัศวินผู้ทำหน้าที่พาเราไปทุกแห่งหน

กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 5 เมืองที่พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวได้ดีที่สุดในโลก ในช่วงการระบาดของ COVID-19

ในขณะที่การระบาดของโควิด-19 ทำให้โลกหยุดชะงักทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือประชากรโลกเอง ทุกอย่างเดินต่อด้วยความยากลำบาก แต่หลายเมืองก็ใช้ช่วงเวลานี้พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่บางส่วนที่เคยวางแผนไว้จนสำเร็จ  World Economic Forum สภาเศรษฐกิจโลกจัดอันดับ 5 เมืองที่มีการพัฒนาและฟื้นฟูสวนสาธารณะในช่วงมีการระบาด ซึ่งแต่ละเมืองก็พัฒนาแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ปารีส ฝรั่งเศส : ปรับปรุง Champs-Élysées ให้กลายเป็นสวนสาธารณะ ลดพื้นที่รถยนต์ เปลี่ยนถนนเป็นทางเดินเท้า และเพิ่มอุโมงค์ต้นไม้เพื่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น 2. กรุงเทพฯ ไทย : มีแผนสร้างสวนสาธารณะเพิ่ม 11 แห่งในเมือง รวมถึงอุทยานเชิงนิเวศที่มีป่าชายเลน เพิ่มเส้นทางสีเขียวระยะทาง 15 กิโลเมตร และเมื่อมิถุนายน 2563 สวนใหม่ที่เปิดให้เราได้ใช้บริการกันก็คือ ‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ 3. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา : เพิ่มต้นไม้ใน Union Square Park และเปลี่ยนเป็นเขตปลอดรถยนต์  4. ไนโรบี เคนยา : มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงที่มีการระบาด […]

เตรียมพบ ‘สะพานเขียวรูปแบบใหม่’ เพิ่มต้นไม้ แสงสว่าง และพื้นที่ใต้สะพาน เพื่อเชื่อมต่อชุมชนและเมืองเข้าด้วยกัน

‘สะพานเขียว’ ถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเท้าและจักรยานที่เชื่อมจากสวนเบญจกิติไปถึงสวนลุมพินีมานานกว่า 20 ปี ด้วยระยะทางประมาณ 1.3 กิโลเมตร ทำให้หลายคนค่อนข้างกังวลเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานช่วงกลางคืน เพราะมีแสงสว่างไม่เพียงพอ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สะพานเขียวที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และชุมชนภาคีเครือข่ายสถาปนิก 5 กลุ่ม โดยมีหน้าที่รับผิดชอบงานฟื้นฟู 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. The New City Landmarks ออกแบบ 3 จุดสำคัญบนสะพานเขียวให้สวยงาม โดดเด่น 2. The Sky Green Bridge ปลูกต้นไม้เพิ่มความเขียวให้สะพาน 3. The Learning Wetland ออกแบบโซนคลองไผ่สิงห์โตและโรงงานยาสูบเป็นสวนแห่งการเรียนรู้ 4. The New Common Space ฟื้นฟูพื้นที่ใต้สะพานเขียวเหนือคลองไผ่สิงห์โตเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ 5. The Bridge of Light เพิ่มแสงไฟบนสะพานให้ชุมชนและคนทั่วไปมาใช้ประโยชน์ช่วงกลางคืน การปรับปรุงสะพานเขียวในครั้งนี้ค่อนข้างน่าจับตามองมากๆ จากความร่วมแรงร่วมใจของ […]

Google และ Facebook สร้างสายเคเบิลใต้ทะเล จากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไปอเมริกาเหนือ เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

2 วันก่อน Google และ Facebook ประกาศแผนการเดินสายเคเบิลใต้ทะเลเพิ่มอีก 2 สาย เพื่อเชื่อมต่อสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และอเมริกาเหนือ เข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างภูมิภาค สายเคเบิลทั้งสองถูกเรียกว่า ‘Echo’ และ ‘Bifrost’ เพิ่มความจุของสัญญาณอินเทอร์เน็ตขึ้นประมาณ 70% โดย Echo จะถูกสร้างขึ้นโดย XL Axiata บริษัทโทรคมนาคมของ Google ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2023 ส่วน Bifrost ดำเนินการโดย Telin บริษัทย่อยของ Telkom ในอินโดนีเซียและกลุ่มบริษัท Keppel ของสิงคโปร์ ที่มีกำหนดสร้างเสร็จในปี 2024 สายหนึ่งจะเชื่อมจากอเมริกาเหนือไปสิงคโปร์ ส่วนอีกสายจะเชื่อมจากอเมริกาเหนือไปยังบางพื้นที่ของอินโดนีเซีย  การเกิดขึ้นของสายเคเบิลใต้ทะเลทั้งสองนี้ หลายฝ่ายมองว่าจะส่งผลดีต่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจในอินโดนีเซียและสิงคโปร์ แถมยังมีแนวโน้มว่าจะให้การแข่งขันทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงขึ้น เมื่อเราเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากฝั่งอเมริกาได้ดีกว่าเดิม Source : Reuters | reut.rs/2PIMyUB 

‘ต้นไม้’ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ไหม?

เมื่อฝุ่นอนุภาคจิ๋วยังคงลอยฟุ้งอยู่ทั่วอากาศไม่มีท่าทีจะจางหาย จนทำให้ต้องกลับมานั่งคิดว่า กรุงเทพฯ ยังพอมีทางเลือกไหนบ้าง ที่ทุกคนสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5

‘เราชนะ’ แล้วหรือยัง

ชวนตั้งคำถามกับรัฐบาลถึงโครงการต่างๆ ว่ามาตรการเหล่านั้นครอบคลุมทุกคนจริงหรือไม่ ข้อดีที่อยากชื่นชม และข้อบกพร่องที่อยากให้รัฐทบทวน

คืนชีวิตให้ ‘โรงหนังมหาราช’ กลางเมืองกระบี่ให้เป็นศูนย์การประชุม ที่จุคนได้ 1,000 คน

กระบี่เป็นเมืองที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว แต่โควิด-19 ทำให้เมืองท่องเที่ยวนี้เงียบเหงาลงในชั่วพริบตา จำนวนนักท่องเที่ยวน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด กระบี่จึงมีแผนฟื้นฟูย่านกลางเมือง เพื่อมารับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ โดยการเปลี่ยนโรงหนังมหาราชเป็นศูนย์การประชุมที่จุคนได้ประมาณ 1,000 คน แบ่งเป็นโรงละครเมืองกระบี่ และศูนย์การเรียนรู้กระบี่ หรือ Krabi Learning Center ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2567 – 2568 แม้ว่าการลงทุนในครั้งนี้จะขาดทุน แต่ในระยะยาว มันอาจมาช่วยเสริมการท่องเที่ยวในช่วง Low Season ได้ นอกจากนี้ยังมีแผนฟื้นฟูถนนมหาราช ระยะทาง 300 เมตร ให้กลายเป็นถนนคนเดิน แบ่งทางเท้าชั้นในประมาณ 2.5 เมตร เป็น Street Food และที่เหลืออีก 3.5 เมตร เป็นทางเท้าและที่นั่งริมทาง  โควิด-19 คงไม่มีทางหายไปในเร็ววัน แต่สิ่งที่เราทำได้คือการตั้งรับและปรับตัวไปพร้อมๆ กับมัน แล้ววันหนึ่งเราจะอยู่ร่วมกับมันได้อย่างแน่นอน Source : https://bit.ly/3c8XZMZ 

กฟผ. จับมือเรือด่วนเจ้าพระยา เตรียมทดลองให้บริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า

เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค่าฝุ่นละอองหลายพื้นที่ในประเทศไทยกลับมาอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกครั้ง ซึ่งสาเหตุของฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือที่เราคุ้นกันในชื่อ PM 2.5 มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือการเผาไหม้ที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งที่เราใช้กันทุกวัน  การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากการคมนาคมขนส่งก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่ว และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและคุณภาพของอากาศโดยรวม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงร่วมยกระดับคุณภาพการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ จับมือกับบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด นำเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. ออกทดลองให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ภายใต้แนวคิดการประหยัดพลังงานและลดมลพิษให้ได้มากที่สุด การทดลองเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้านี้จะให้บริการเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท่าเรือปากเกร็ด – พระราม 7 และท่าเรือพระราม 7 – สาทร เป็นเวลา 6 เดือน สำหรับผู้ที่สนใจ ติดตามวันและเวลาที่เริ่มให้บริการได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Chao Phraya Express Boat – เรือด่วนเจ้าพระยา Sources : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย https://bit.ly/3pW0Fm2กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม https://bit.ly/3qTGxlY

‘ซาอุดีอาระเบีย’ สร้างเมืองใหม่ ไร้รถยนต์ ไร้มลพิษ และขับเคลื่อนด้วย AI

เมื่อเทพเจ้าแห่งน้ำมันพยายามหาทางเอาตัวรอดจากวิกฤต จึงเกิดเป็นแนวคิดการสร้างแผนพัฒนาเมืองแห่งใหม่ของประเทศซาอุดีอาระเบีย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ไร้รถ ไร้มลพิษ ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI” และทุกพื้นที่จะเชื่อมต่อถึงกันด้วยการเดินเพียง 5 นาที ซึ่งมีชื่อว่า ‘The Line’

‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

1 3 4 5 6 7 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.