Sapphic Riot บาร์ของนักกิจกรรมที่อยากสร้างพื้นที่กิน-ดื่ม และเป็นตัวเองได้เต็มที่ให้ชาวแซฟฟิกในเชียงใหม่

ความมืดกำลังโรยตัวปกคลุมเชียงใหม่ ฉันก้าวขาจากรถลงเดินบนถนนสิงหราชที่นักท่องเที่ยวขวักไขว่ เปิดประตูเข้าร้านเล็กๆ ริมทางและปล่อยสายตาให้ได้ปรับตัวกับแสงไฟ อาจเป็นเพราะจังหวะเพลงที่พอโยกตัวได้ เสียงชงเครื่องดื่มเบาๆ จากบาร์ และป้ายประกาศซึ่งตั้งอยู่รอบร้านที่ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจ PRIDE, SISTERHOOD, RESPECT คือตัวอย่างคำที่ฉันปรายตาเร็วๆ แล้วสังเกตเห็น และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น อย่างไม่ต้องสงสัย Sapphic Riot คือบาร์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อชาวแซฟฟิก (Sapphic) โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร หมวย หญิงสาวเจ้าของบาร์ผู้กำลังนั่งอยู่ตรงหน้าฉันตอนนี้อธิบายว่า แซฟฟิกคือคอมมูนิตี้ของคนที่เป็นผู้หญิงและคนที่รักผู้หญิง ซึ่งไม่ได้นับรวมแค่คนที่นิยามอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเลสเบี้ยนเท่านั้น แต่ร่มของแซฟฟิกนั้นครอบคลุมไปถึงไบเซ็กชวล แพนเซ็กชวล ทรานส์เจนเดอร์ เควียร์ ไปจนถึงกลุ่มนอนไบนารี นี่คือบาร์แซฟฟิกแห่งแรกในเชียงใหม่ และนั่นคือสิ่งที่ชวนให้ฉันสนใจบาร์แห่งนี้ในทีแรก แต่พอได้นั่งคุยกับผู้ก่อตั้งจริงๆ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ความตั้งใจของหญิงสาวตัวเล็กๆ ที่อยากสร้างพื้นที่ที่เธอเสาะแสวงหามาทั้งชีวิต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนในคอมมูนิตี้ และพื้นที่ที่เธอกับเพื่อนชาวแซฟฟิกสามารถ ‘เป็น’ และ ‘ทำ’ อะไรได้โดยไม่ถูกตัดสินจากใคร Sapphic Pride “สิ่งที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับคอมมูฯ แซฟฟิกคืออะไร” ท่ามกลางเสียงเพลงในร้านที่ดังคลอ ฉันเปิดบทสนทนาด้วยการชวนหมวยครุ่นคิดเกี่ยวกับคอมมูนิตี้ของเธอ “คนส่วนมากจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศว่าเราต้องเป็นฝ่ายไหน ใครจะต้องเป็นฝ่ายเทกแคร์อีกคน ซึ่งจริงๆ มันค่อนข้างลื่นไหลมาก” หญิงสาวตอบชัดถ้อยชัดคำ “แต่ปัญหาหลักๆ เราคิดว่ามันคือการที่เราไม่ถูกมองเห็นโดยคนในสังคมมากกว่า […]

URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่ LGBTQIAN+ ไม่ได้เล่า

TW : เนื้อหาในคลิปมีการพูดถึงความรุนแรงจากการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ในเดือนมิถุนายนของทุกปี หากเราเห็นคนมากมายใส่เสื้อสีสันหลากหลายร่วมกันเดินขบวนพาเหรดโบกธงสีรุ้งอยู่บนถนนก็คงไม่แปลกใจนัก เพราะมันคือการเฉลิมฉลอง Pride Month ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน จากการต้องหลบซ่อนจากความเกลียดชังหรือการทำร้ายกันซึ่งเกิดจากเพศ การต่อสู้กว่าจะได้ซึ่งสิทธิของเพศหลากหลายเพื่อให้เคารพทุกคนได้เท่าเทียมกัน ‘เพศ’ ที่ในโลกเคยกำหนดไว้ผ่านแค่ ‘จู๋’ หรือ ‘จิ๋ม’ มีเพียงชายจริงหญิงแท้ ได้ถูกพัฒนาและซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเราพบว่า จริงๆ แล้วตัวตนของคนคนหนึ่งหรือเพศนั้นไม่ควรถูกกำหนดจากเพียงแค่อวัยวะเพศอย่างเดียว หากแต่มนุษย์คนหนึ่งล้วนมีความหลากหลายและซับซ้อนไปมากกว่านั้น แต่ความหลากหลายและความซับซ้อนนี้ หลายๆ ครั้งก็ทำให้สังคมอาจไม่เข้าใจว่าทำไมมันต้องยุ่งยากเสียเหลือเกิน และไม่ใช่แค่สังคมภายนอกเท่านั้น บางทีภายในคอมมูนิตี้ของพวกเขาเองก็ยังมองว่ายุ่งยากและมีปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วยเช่นเดียวกัน วันนี้ Urban Untold จึงขอไปสำรวจภายในคอมมูนิตี้ของเพศหลากหลายว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง Urban Creature ขอต้อนรับวาระผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วยเรื่องเล่าภายในสังคมความหลากหลายทางเพศที่ไม่ได้ถูกเล่า ผ่านตัวของพวกเขาเอง เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่า ไม่ได้มีเพียงแค่ปัญหาจากสังคมภายนอกเท่านั้น แต่สังคมหรือวัฒนธรรมภายในก็ควรเปลี่ยนด้วยเช่นกัน

7 สารคดีว่าด้วย ‘เซ็กซ์’ ที่ไม่ให้แค่ความเสียว แต่บอกเล่าความเชื่อ วัฒนธรรม และสังคมด้วย

เมื่อพูดถึง ‘เซ็กซ์’ หลายคนคงนึกถึงกิจกรรมทางเพศที่เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางร่างกายของมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์ยังอาจเชื่อมโยงกับอารมณ์ ความรู้สึก ค่านิยม วัฒนธรรม ฯลฯ มากไปกว่านั้น เซ็กซ์ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในแวดวงธุรกิจอย่างการผลิตหนังโป๊และสื่อลามกอนาจาร ที่สร้างรายได้มหาศาลและกระตุ้นความกระสันให้ผู้ชมนับล้าน คอลัมน์ Urban’s Pick รวบรวม 7 สารคดีดูสนุกว่าด้วยเรื่องเซ็กซ์แบบเน้นๆ ที่จะพาทุกคนไปเปิดโลกเรื่องเพศที่ไม่ได้มีแค่เรื่องลามก แต่ยังลงลึกถึงประวัติศาสตร์และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเพศศึกษา อิทธิพลของเซ็กซ์ต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไปจนถึงเบื้องหลังอุตสาหกรรมหนังโป๊ที่ไม่ได้สนุกและเร้าใจเหมือนเบื้องหน้าเสมอไป 01 | Hot Girls Wanted (2015) ชีวิตที่ไม่ง่ายของดาราหนังโป๊มือสมัครเล่น แม้ว่าปัจจุบันสังคมจะเริ่มยอมรับอาชีพ ‘Sex Creator’ มากขึ้น แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเบื้องหลังอุตสาหกรรมสื่อลามกก็ยังเต็มไปด้วยปัญหาสังคมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กสาวที่ตัดสินใจก้าวเข้าสู่วงการนี้เยอะขึ้นเรื่อยๆ ‘Hot Girls Wanted’ คือสารคดีที่บอกเล่าถึงความขื่นขมในอุตสาหกรรมหนังโป๊ขนาดเล็ก ที่ดึงดูดผู้หญิงวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยเข้ามาเป็น ‘ดาราหนังโป๊มือสมัครเล่น’ เพราะทำไม่ยากและรายได้ดี โดยเรื่องนี้จะพาผู้ชมไปดูตั้งแต่การเปิดรับสมัครเด็กสาวมาเล่นหนังโป๊ จนถึงช่วงที่พวกเธอเข้าวงการและเริ่มถ่ายทำหนังโป๊เป็นครั้งแรก มากไปกว่านั้น ตลอดเวลา 84 นาทีของสารคดียังพาไปทำความเข้าใจความคิดของเหล่าดาราหนังโป๊มือใหม่ รวมถึงตีแผ่ความยากลำบากที่พวกเธอต้องเผชิญ เช่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำหนังโป๊ ความบาดหมางกับสมาชิกในครอบครัว การโดนบุลลี่จากคนรอบตัว ฯลฯ รับชม Hot […]

Where Are We Now? 31 ประเทศเริ่ม ‘สมรสเท่าเทียม’ นานแล้ว ส่วน ‘ไทย’ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กำลังไปต่อ

‘มิถุนายน’ ของทุกปีคือเดือน ‘Pride Month’ ที่ทั่วโลกจัดงานเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลายทางเพศ ประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญกับสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQIA+ เห็นได้จากกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญรณรงค์ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ รวมไปถึงการเดินขบวนพาเหรดไพรด์ครั้งใหญ่ในรอบ 16 ปี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่มีชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมอย่างคึกคัก ทว่า หากประเทศไทยอยากให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หนึ่งในมูฟเมนต์ที่ควรเกิดขึ้นก็คือการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะ ‘กฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน’ หรือ ‘กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ซึ่งเป็นการสมรสระหว่างบุคคลสองคนที่มีเพศเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผลักดันให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิทางความรักและเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ เช่นเดียวกับการสมรสระหว่างชายและหญิง อย่างไรก็ตาม กฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นประเด็นถกเถียงที่หลายประเทศทั่วโลกพิจารณากันมาหลายทศวรรษ ปัจจุบันมีประเทศที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด 31 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนทั้งหมดนี้ หากแบ่งตามทวีป มีประเทศทวีปยุโรป 17 ประเทศ ทวีปอเมริกาใต้ 6 ประเทศ ทวีปอเมริกาเหนือ 4 ประเทศ ทวีปออสเตรเลีย 2 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศ […]

เฉลิมฉลอง Pride Month ที่กรุงเทพฯ ไพรด์พาเหรด BANGKOK NARUEMIT PRIDE จากวัดแขกสู่สีลม 5 มิ.ย. 65

เดือนมิถุนายนคือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ที่ผ่านมา มีหลายประเทศที่จัดงานเฉลิมฉลอง ‘Pride Month’ ในรูปแบบของขบวนพาเหรด และกิจกรรมอื่นๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางเพศ ในไทยเองก็มีความเคลื่อนไหวและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศอย่างเข้มข้น ซึ่งพิจารณาแล้วดูมีทิศทางที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปีนี้ ได้มีกลุ่มคนและเครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อความหลากหลายทางเพศ จัดไพรด์พาเหรดอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นในกรุงเทพฯ โดยใช้ชื่อว่า BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 (บางกอกนฤมิตไพรด์) ในวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 19.00 น. โดยเริ่มตั้งขบวนพาเหรดหน้าวัดแขกมุ่งหน้าสู่ถนนสีลม  จุดยืนของ BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 คือขบวนที่ต้องการสร้างสังคมใหม่ที่ผู้คนต่างร้อยเรียงอยู่ด้วยกันภายใต้การเคารพความหลากหลาย โดยขบวนพาเหรดจะเกิดขึ้นผ่านการร้อยเรื่องราวตามเฉดสีรุ้งที่เป็นธงสัญลักษณ์แห่งความหลากหลายทั่วโลก ผู้เข้าร่วมสามารถออกแบบป้ายรณรงค์ และชุดเครื่องแต่งกายตามที่บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง แล้วร่วมเดินไปกับขบวนแยกตามประเด็นและเฉดสีได้ โดยในขบวนจะมีการแบ่งสีช่วงขบวน เพื่อร่วมแสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศ และสื่อสารถึงประเด็นที่ผู้เข้าร่วมไพรด์พาเหรดอยากสนับสนุน ยกตัวอย่าง ขบวนสีแดงคือพื้นที่ของคนที่อยากขับเคลื่อนกฎหมายเพื่อชุมชนคนเพศหลากหลาย ขบวนสีส้มคือพื้นที่ของคนที่อยู่เคียงข้างและภาคภูมิใจที่จะสนับสนุนสวัสดิการเพื่อชาว LGBTQIAN+ ขบวนสีเหลืองสำหรับภาคธุรกิจ พรรคการเมือง ตัวแทนจากกลุ่มอาชีพ และผู้ปกครอง ที่ต้องการมายืนยันโอกาสในการมีอนาคตที่สดใสของเด็กๆ และเยาวชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี […]

เปิดใจ เปิดไมค์ เข้าใจประเด็นร้อนในสังคมผ่านพื้นที่ถกเถียงใน ‘That Mad Podcast’ Video Podcast จาก That Mad Woman

เราเชื่อว่าคุณน่าจะเคยเห็นหรือแชร์คอนเทนต์ของเพจ That Mad Woman บนสตอรีในอินสตาแกรมมาบ้างไม่มากก็น้อย That Mad Woman คือเพจเกี่ยวกับเฟมินิสต์ หรือความเท่าเทียมทางเพศ โดยรับหน้าที่ขยายและผลักดันพื้นที่กับเสียงของเพศทุกเพศที่โดนกดขี่ คอนเทนต์ของเพจมักถ่ายทอดออกมาเป็นอัลบั้มภาพสีจัดจ้านกับข้อความบรรยายที่อ่านง่าย ประเด็นที่เพจเลือกมาทำคอนเทนต์สื่อสาร มีทั้งเรื่องค่านิยมไทยที่กดทับเพศหญิง ผู้ลี้ภัยโรฮิงญากับการค้ามนุษย์ ความเป็นพิษของสถาบันครอบครัว รสนิยมทางเพศ ไปจนถึงการบอกเล่าถ้อยคำให้กำลังใจทุกคน พูดง่ายๆ ว่าคอนเทนต์ของ That Mad Woman มีความหลากหลาย ชวนติดตาม เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วที่เพจนี้ทำคอนเทนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศและประเด็นสังคมอื่นๆ มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด That Mad Woman ได้ทำคอนเทนต์ในรูปแบบ Video Podcast ออกมา ใช้ชื่อว่า ‘That Mad Podcast’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นสังคมต่างๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ภายใต้คอนเซปต์ ‘Unmute Yourself เปิดใจ เปิดไมค์ เข้าใจประเด็น’ ‘That Mad Podcast’ ได้ปล่อย EP.1 ออกมาแล้ว […]

สื่อไทยต้องกล้าเปลี่ยน : ‘พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ’ สื่อมวลชนที่อยากผลักดันเพศเท่าเทียม

กรกฎาคม 2021 Thaipublica.org รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตซีรีส์วายมากถึง 40 เรื่อง และในปีเดียวกันนั้น คาดว่าจะมีซีรีส์มากถึง 90 เรื่อง มองเผินๆ คุณคงคิดว่า ประเทศนี้เฟรนด์ลี่กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอามากๆ แต่เปล่าเลย นี่เป็นเพียงฟิกชันในหนังสือ และสื่อเพื่อเอนเตอร์เทนเมนต์ ไม่ใช่เรื่องจริง  เช่นเดียวกับมายาคติ ‘ไทยคือสรวงสวรรค์ของ LGBTQ+’ ที่ผลิตซ้ำพร่ำเพรื่อ แต่ในชีวิตจริงคือขั้วตรงข้าม คู่รักเพศเดียวกันยังลงเอยทางกฎหมายไม่ได้ มิหนำซ้ำชุมชนเพศหลากหลายยังคงเผชิญอคติ ถูกลิดรอนสิทธิซ้ำๆ โดยไม่มีกฎหมายหรือนโยบายมารองรับสิทธิที่ควรจะเป็น จนทุกวันนี้ สังคมไทยยังสะสมการกดทับนานหลายเจเนอเรชัน มีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมประเด็นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อความเท่าเทียมทางเพศไม่มีจริง การเรียกร้องเรื่องซ้ำๆ จึงเป็นสัจธรรมของรัฐแห่งการเพิกเฉย นั่นคือเหตุผลที่ผลักให้ อั้ม-พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ สื่อมวลชนรุ่นใหม่ เดินหน้านำเสนอประเด็นซัปพอร์ตสิทธิความเท่าเทียมทางเพศตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีด้านวารสารศาสตร์ อั้มเคยเขียนบทความสิทธิมนุษยชนจากประสบการณ์ส่วนตัวเรื่อง ประเทศไทย : ดินแดนสวรรค์ (หลอกๆ) ที่คนข้ามเพศถูกผลักออกได้ทุกวินาที จนได้รับรางวัล Writers that Matters : นัก (อยาก) เขียน […]

City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

“ยังมีคนที่ไม่มีสิทธิ์รักใครได้อย่างเป็นทางการ” คุยเรื่องสมรสเท่าเทียมกับคนจัดม็อบ LGBTQ+

แม้หลายคนพร่ำบอกว่าประเทศไทยเฟรนด์ลี่กับ LGBTQ+ มาก แต่เชื่อไหมผ่านมาหลายสิบปี รัฐไทยยังไม่เคยคุ้มครองสิทธิที่พวกเขาจะรักกันได้อย่างเท่าเทียมเลยสักครั้ง ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสองปีก่อนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เรายังจดจำบรรยากาศและกิจกรรมของ ‘ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล’ ได้ดี ในฐานะที่เป็นม็อบที่มีสีสันมากที่สุด มีลูกล่อลูกชนมากที่สุด และครีเอทีฟที่สุดในประวัติศาสตร์การชุมนุมของประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งการต่อบทหนังเรื่อง ‘หอแต๋วแตก’ ที่บิดเอารายละเอียดประเด็นปัญหาทางการเมืองไทยมาสื่อสารอย่างลงตัว การใช้เพลงฮิตในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การแสดงออกอย่างเสรีผ่านเสื้อผ้าหน้าผมของผู้ชุมนุมที่สดใสจัดจ้าน การปรากฏของธงรุ้งงขนาดใหญ่โบกสะบัดสง่างามกลางถนน รวมถึงการปราศรัยรสแซ่บถึงรากปัญหาเพื่อเรียกร้องสิทธิและเป็นปากเสียงสื่อสารปัญหาใต้พรมที่ LGBTQ+ ต้องเผชิญมาแสนนาน กิจกรรมทั้งหมดสร้างสรรค์ได้อย่างมีลูกเล่นชวนอมยิ้ม แต่ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงหลักการอย่างหนักแน่น เพราะต้องการสนับสนุนจุดยืนของขบวนการประชาธิปไตยเต็มใบ รวมถึงต้องการเรียกร้องและผลักดันประเด็นความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงสักที ทำให้ แรปเตอร์–สิรภพ อัตโตหิ และเพื่อนสมาชิกกลุ่มเสรีเทยพลัส หยิบเอาไอเดียที่ตัวเองเสนอในแฮชแท็กทวิตเตอร์ #ไอเดียออกม็อบ มาเดบิวต์จัดม็อบแรกในชีวิต ในเวลานั้นประเด็นเรื่องเพศและมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม เริ่มมีกระแสพูดถึงอย่างแพร่หลายแล้ว ทว่าเมื่อเกิดม็อบที่โฟกัสถึงสิทธิของคนเพศหลากหลายขึ้น ทั้งยังมี ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ครั้งที่ 2 และอีกหลายๆ ม็อบตามมา ประกอบกับกลุ่มแอ็กทิวิสต์ที่ต่อสู้เรื่องเพศทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่เริ่มมีพื้นที่ เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็ยิ่งเสริมพลังให้การต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และขอบเขตบทสนทนาเรื่องนี้ให้ไปไกลกว่าที่เคย ล่าสุดมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างดุเดือดว่า ทำไมรัฐบาลไทยถึงยังไม่ให้ผ่านซะที (วะ) โดยที่แรปเตอร์เองก็ได้ร่วมจัดม็อบสมรสเท่าเทียมในนามเครือข่ายภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม […]

Gender-balance : สิทธิสตรีจะมีจริง ถ้าเกิดดุลยภาพทางเพศ?

สิทธิสตรีจะมีจริง ถ้าเกิดดุลยภาพทางเพศ? ไม่ใช่เพียงหัวข้อ Talk ครั้งนี้ของ Urban Creature กับ Unilever แต่เป็นการตั้งคำถามต่อสังคมที่สิทธิ การยอมรับ และความหลากหลาย ยังเป็นของหายาก Talk ครั้งนี้ภายใต้คำถามด้านบนนั้น ไม่เพียงมีขึ้นเพื่อวันสตรีสากลที่ผ่านมา เสียงจากส่วนผสม Speaker หลากหลายวงการ ทั้งองค์กรธุรกิจที่ประกาศสร้าง Gender-balance ตัวแทนจาก UN Women อธิบดีหญิงคนแรกของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ สตรีข้ามเพศผู้ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิของทุกเพศ Miss Universe 2020 และนักสื่อสารจาก Social Change Agency กำลังส่งออกมาเพื่อสร้างการตระหนักรู้ ให้สิทธิของเพศทุกเพศเป็นเรื่องธรรมดาที่คนทุกคนควรเข้าใจในทุกๆ วัน สุดท้ายแล้วสิทธิที่ว่าจะมีจริงหรือไม่ อย่างไร หาคำตอบพร้อมกันที่นี่

Asexuality ความสัมพันธ์ที่ฉันรักเธอ แต่ ‘ไม่ฝักใฝ่เซ็กซ์’

‘การมีเซ็กซ์เป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกายมนุษย์’ คือประโยคที่ได้รับรู้ผ่านการพร่ำสอน แต่ใครเล่าจะคิดว่าความปกติที่หล่อหลอม กลายเป็นส่วนสร้างบาดแผลชิ้นใหญ่ให้ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศรูปแบบ Asexuality หรือ ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น ที่ไม่ปรารถนาจะมีความสัมพันธ์ทางกายกับใคร  ชวนทำความเข้าใจ Asexuality หนึ่งในสีสันแห่งความหลากหลายทางเพศกับ ปาร์คเกอร์-ภารวี อากาศน่วม ผู้นิยามตัวเองว่า Aromantic Asexual Trans Masculine ซึ่งสิ่งที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อจากนี้ คือเสียงที่เขาอยากสะท้อนก้องสู่สังคมถึงการยอมรับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่า ‘มนุษย์’ P. Parkers เขาคือผู้กล้า “เรานิยามตัวเองว่าเป็น Asexual ที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับใคร และอยู่ในสเปกตรัมของ Aromantic ที่มีแรงดึงดูดทางใจกับคนอื่นน้อยมาก และไม่ได้รู้สึกว่าการมีคนรักเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และเราเป็น Trans Masculine ที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง แต่ไม่ได้ต้องการจะข้ามเพศไปเป็นผู้ชาย เพียงแค่อิงกับความเป็นชาย” เมื่ออยากนำเสนอคำว่า Asexuality ให้ถึงแก่น ปาร์คเกอร์ คือชื่อแรกที่ฉันนึกถึง นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเพจ Aro/Ace-clusionist: Aromantic & Asexual Exist ซึ่งมีความมุ่งมั่นเพื่อสร้างความเข้าใจตัวอักษร ‘A’ ใน LGBTQIA+ […]

“แม้แต่ในพจนานุกรมก็ยังเหยียดกัน” Oxford Dictionaries เปลี่ยนนิยามศัพท์ ‘ผู้หญิง’ เป็นใครสักคนที่รักเพศไหนก็ได้

Oxford Dictionaries เปลี่ยนนิยามศัพท์ ‘ผู้หญิง’ เป็นใครสักคนที่รักเพศไหนก็ได้

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.