แคลิฟอร์เนียผ่านกฎหมายใหม่ เปลี่ยนร่างมนุษย์เป็นปุ๋ยหมักได้ อีกทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันกลุ่มคนที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเริ่มหันหลังให้กับการกำจัดศพแบบเดิมๆ อย่าง ‘การเผา’ เพราะเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานเยอะ แถมยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกเผชิญภาวะโลกร้อน ส่วน ‘การฝัง’ เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงเป็นอันดับต้นๆ ทั้งค่าโลงศพ พื้นที่ การเคลื่อนย้าย รวมถึงพิธีกรรมอื่นๆ เพราะเหตุนี้หลายประเทศจึงเพิ่มทางเลือกในการกำจัดศพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและราคาถูกลง หนึ่งในนั้นคือ ‘รัฐแคลิฟอร์เนีย’ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ล่าสุดได้ผ่านร่างกฎหมายรับรองการเปลี่ยนร่างของมนุษย์ให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก (Human Composting) เพื่อเป็นทางเลือกที่รักษ์โลกและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ขั้นตอนการฝังศพรูปแบบใหม่คือ ร่างผู้เสียชีวิตจะถูกบรรจุไว้ในโลงเหล็กขนาด 8 ฟุต และใส่วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพอื่นๆ เข้าไปภายใน เช่น เศษไม้หรือดอกไม้ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ราว 30 – 60 วันให้ร่างกายเข้าสู่กระบวนการย่อยสลาย ก่อนที่บริษัทจะนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้คืนให้ครอบครัวเป็นขั้นตอนสุดท้าย สำหรับค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนร่างมนุษย์เป็นดินมีราคาระหว่าง 5,000 – 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 190,000 – 265,000 บาท) ใกล้เคียงกับค่าฝังศพแบบดั้งเดิมในรัฐแคลิฟอร์เนียที่มีราคาราว 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 227,000 บาท) แต่ก็ยังถูกกว่าพิธีเผาที่มีราคาราว 7,225 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว […]

Masterplan Esbjerg Strand โปรเจกต์สร้างอาคารการเรียนรู้แห่งใหม่ของเดนมาร์ก ที่ส่งเสริมการใช้ชีวิตและสร้างระบบนิเวศยั่งยืน

หนึ่งในบริษัทสถาปนิกไฟแรงชื่อดังระดับโลกอย่าง ‘Bjarke Ingels Group’ หรือ ‘BIG’ ได้เปิดเผยโปรเจกต์การออกแบบ ‘วิทยาเขตการศึกษาแห่งใหม่’ หรือ ‘New Education Campus’ บนเกาะเอสบีเยร์ (Esbjerg) เมืองท่าทางทะเลของประเทศเดนมาร์ก โดยมีเป้าหมายสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองและพื้นที่แคมปัสเพื่อรองรับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ๆ รวมถึงเปลี่ยนระบบการศึกษาแบบเดิมของประเทศด้วย โครงการนี้ตั้งใจดำเนินการบริเวณพื้นที่ท่าเรือที่เดิมมีขนาด 15,000 ตารางเมตร โดยสถาปัตยกรรมแห่งใหม่นี้จะใช้พื้นที่เพียง 13,700 ตารางเมตร เนื่องจาก BIG ตั้งใจออกแบบอาคารโดยเหลือพื้นที่บริเวณโดยรอบไว้สำหรับสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่จะช่วยปกป้องผู้คนในแคมปัสจากลมแรงและเสียงรบกวน ทั้งยังเหมาะกับการนั่งชมทิวทัศน์ของท่าเรือและทะเลด้วย  แคมปัสแห่งใหม่บนเกาะเอสบีเยร์แห่งนี้จะมีความสูงทั้งหมด 7 ชั้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวอาคาร ส่วนรูปทรงของตึกจะมีรูปทรงคล้ายคลื่นที่มีความสูงไม่เสมอกัน ซึ่งแนวคิดการออกแบบนี้จะช่วยลดเสียงรบกวน ปรับสภาพลมทั้งบนพื้นดินและบนหลังคาให้เหมาะสม รับแสงแดดให้ได้มากที่สุด และเอื้อให้ทุกคนสามารถมองเห็นวิวของท้องทะเลได้  ที่สำคัญ บริเวณหลังคายังสร้างเป็นสวนดาดฟ้าความยาวหนึ่งกิโลเมตรที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด ส่วนพื้นที่ตรงกลางอาคารจะเปลี่ยนให้เป็นสวนที่เต็มไปด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบร่มรื่นภายในแคมปัส ค่อนข้างแตกต่างจากบรรยากาศของอุตสาหกรรมท่าเรือภายนอกมากเลยทีเดียว ไอเดียออกแบบอาคารที่น่าตื่นเต้นของ BIG ชิ้นนี้คือส่วนหนึ่งของแผนการขับเคลื่อนเมืองอย่าง Esbjerg of the Future Vision 2025 ที่มีเป้าหมายเพิ่มประชากรในพื้นที่และผลักดันให้เอสบีเยร์กลายเป็นเมืองที่โดดเด่นด้านการศึกษา โดยมีการอ้างว่าแผนดังกล่าวจะทำให้เมืองนี้มีตำแหน่งแรงงานฝีมือ (Skilled Labor) ที่รองรับทุกคน กลายเป็นผู้ผูกขาดทางพลังงานยั่งยืน […]

Havfarm ฟาร์มแซลมอนกลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบเพื่อประมงยั่งยืน

ประเทศไหนส่งออก ‘ปลาแซลมอน’ มากที่สุดในโลกกันนะ? คำถามนี้เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่เราสังเกตเห็นกระแสการกินปลาแซลมอนในไทยและทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมดูไม่มีท่าทีลดลงเลย เมื่อลองหาข้อมูลจึงพบว่า ‘นอร์เวย์’ คือประเทศอันดับหนึ่งที่ผลิตและส่งออกเจ้าปลาเนื้อสีส้มมากที่สุด หรือคิดเป็น 47.2 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกแซลมอนทั่วโลก นอกจากจะยืนหนึ่งในตลาดส่งออกปลาแซลมอน นอร์เวย์ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนโยบายและกฎระเบียบด้านการประมงที่เข้มงวดที่สุดในโลก ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดโควตาการจับปลา การปกป้องลูกปลาวัยอ่อน รวมไปถึงการส่งหน่วยลาดตระเวนตรวจสอบกิจกรรมการตกปลา เพื่อรักษาระบบนิเวศและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล วันนี้ Urban Creature จะพาทุกคนไปรู้จัก ‘Havfarm’ ฟาร์มปลาแซลมอนขนาดใหญ่กลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบจากแนวคิดและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าฟาร์มปลานอกชายฝั่งแห่งนี้จะเป็น Game Changer ของอุตสาหกรรมปลาแซลมอนในนอร์เวย์ ที่มุ่งเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แนวคิดเบื้องหลังการออกแบบ Havfarm คืออะไร และโปรเจกต์นี้จะมีส่วนในการปฏิวัติอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์อย่างไรบ้าง เราขอชวนทุกคนขึ้นเรือมุ่งหน้าออกทะเลไปสำรวจพร้อมๆ กัน ทำไมต้องฟาร์มแซลมอนกลางทะเล? ย้อนไปเมื่อปี 2015 Nordlaks บริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเก่าแก่ของนอร์เวย์มีแนวคิดริเริ่มโครงการ Havfarm เพื่อเตรียมรับมือกับความต้องการบริโภคสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ ซึ่งรายงานจากโครงการ Blue Food Assessment ได้คาดการณ์ว่า ความต้องการบริโภคสัตว์น้ำทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วงราว 3 ทศวรรษต่อจากนี้ (ระหว่างปี […]

บินลัดฟ้ากับ 8 สนามบินดีไซน์ล้ำที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

ช่วงนี้เรารู้สึกว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เข้าโซเชียลมีเดียทีไรก็ต้องเห็นเพื่อนๆ และคนรอบตัวแพ็กกระเป๋า เช็กอินสนามบิน โบกมือลาด้วยเอเนอร์จีตื่นเต้น ก่อนจะบินลัดฟ้าไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือบางคนก็ไปไกลถึงต่างประเทศ ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการบินที่กลับมาฟื้นตัวในรอบหลายปีถือเป็นสัญญาณดีว่าภาคธุรกิจจะกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการบินนั้นโดนวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างหนักจากหน่วยงานและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมานานหลายปีแล้ว เพราะเป็นหนึ่งในวงการที่ทำให้โลกของเราเผชิญ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ ที่เป็นแบบนั้นเพราะ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกมาจากอุตสาหกรรมนี้ และเมื่อรวมก๊าซอื่นๆ บวกกับไอน้ำสีขาวที่เครื่องบินพ่นออกมา ซึ่งมีส่วนทำโลกเผชิญภาวะโลกร้อนมากถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาแบนการเดินทางด้วยเครื่องบิน และเลือกที่จะเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ อย่างรถไฟแทน เพื่อแสดงจุดยืนและตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น  ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินยังคงเป็นตัวเลือกที่คนส่วนใหญ่มองว่าจำเป็น คอลัมน์ Urban’s Pick จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจสนามบินจากทั่วทุกมุมโลกที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และพยายามดีไซน์พื้นที่ ติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหามลพิษและร่วมสร้างโลกที่ยั่งยืน 01 | Dock A at Zurich Airport สนามบินแห่งแรกที่เราอยากพาไปสำรวจก็คือ ‘Zurich Airport’ ตั้งอยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1948 แต่ในปี 2032 ที่นี่กำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสาร (Terminal) แห่งใหม่ชื่อว่า […]

‘โคเปนเฮเกน’ จากเมืองอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยมลพิษ สู่เมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลก

จะดีแค่ไหนถ้าได้อยู่ในเมืองที่น่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี แถมยังรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ท่ามกลางวิกฤต ‘การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ หลายเมืองทั่วโลกเดินหน้าผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในเมืองที่ยืนหนึ่งด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ ก็คือ ‘โคเปนเฮเกน’ เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก นิตยสาร Time Out ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 27,000 คนจากหลายร้อยเมืองทั่วโลก เพื่อหาคำตอบว่าเมืองใดคือเมืองที่ ‘ยั่งยืนที่สุดในโลก’ ประจำปี 2021 โดยผลการสำรวจชี้ว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจยกให้ ‘โคเปนเฮเกน’ เป็นเมืองที่ครบเครื่องเรื่องความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าโคเปนเฮเกนจะกลายเป็นเมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลกได้ อากาศในเมืองหลวงแห่งนี้เคยเต็มไปด้วยมลพิษ ส่วนแหล่งน้ำก็ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ขยะ และสิ่งปฏิกูล Urban Creature จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า โคเปนเฮเกนทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมที่เข้มแข็ง จนกลายเป็นเมืองที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนได้ 01 | Public and Private Sectors : เมืองที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชน ก่อนอื่นต้องอธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า รัฐบาลเดนมาร์กบริหารงานแบบ ‘กระจายอำนาจการปกครอง’ […]

10 ธุรกิจดังที่ผันตัวมาเป็นผู้ฟื้นฟูโลก

ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หลายครั้งที่เรามักโฟกัสกับนโยบายระดับประเทศ แต่ในขณะเดียวกันยังมีคนอีกมากที่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นองค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ที่เริ่มออกมาแสดงจุดยืนและเข้าร่วมขบวนรักษ์โลก

‘Orkney’ หมู่เกาะในสกอตแลนด์ ต้นแบบเมืองพลังงานไฮโดรเจน

สาธารณูปโภคพื้นฐานที่กลายเป็นปัจจัยในการใช้ชีวิตและการขับเคลื่อนเมืองไปข้างหน้า อย่างหนึ่งคือ ‘ไฟฟ้า’ ในอดีตไฟฟ้าคือตัววัดความเจริญที่บ้านไหนเมืองไหนไฟฟ้าเข้าถึงถือว่าพัฒนาแล้ว ทุกวันนี้ความต้องการใช้พลังงานของคนทั้งโลกมากขึ้นทุกปี แต่การผลิตกระแสไฟฟ้านั้นมีส่วนสำคัญที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

เบื้องหลังโรงงานรีไซเคิลของ ‘พี่โหมว’ มือปราบขยะ

เคยคิดไหม ? ขวดน้ำที่อยู่ในมือเราตอนนี้เมื่อดื่มหมดแล้ว ขวดพลาสติกเปล่าที่เราเพิ่งทิ้งลงถังขยะจะเดินทางไปไหน ระหว่างบ่อขยะ เตาเผาขยะ หรือโรงงานรีไซเคิล เราสืบเสาะมาจนถึงปลายทางของบรรดาขวดพลาสติกผู้โชคดี ที่ได้มาอยู่โรงงานรีไซเคิลในจังหวัดปทุมธานี รอการรีไซเคิลนำกลับไปใช้ประโยชน์อีกครั้ง

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.