Coldplay วงป็อปร็อกจากอังกฤษที่ทัวร์คอนเสิร์ตสุดกรีน และผลักดันความยั่งยืนแบบรอบด้าน

ถ้าถามถึงวงดนตรีสากลที่คอเพลงชื่นชอบที่สุด เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยต้องมีชื่อวงป็อปร็อกสัญชาติอังกฤษอย่าง Coldplay ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของลิสต์แน่ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแนวดนตรีที่มีเมโลดี้สุดยูนีก เนื้อเพลงความหมายลึกซึ้งที่ฟังเมื่อไหร่ก็รีเลตได้ทันที จึงไม่แปลกใจที่ผลงานของ Coldplay ช่วยปลอบประโลมและเยียวยาจิตใจของแฟนๆ ทั่วโลกได้นานถึง 26 ปี แต่ในปี 2022 วงดนตรีระดับโลกเจ้าของ 7 รางวัลแกรมมี่ (Grammy Awards) และ 9 รางวัลบริต (BRIT Awards) ไม่ได้หยุดอยู่แค่การถ่ายทอดความสุขให้แฟนเพลงผ่านเสียงดนตรีเท่านั้น แต่ยังยกระดับตัวเองให้เป็นแนวหน้าของวงการเพลงระดับโลกที่เปลี่ยนทัวร์คอนเสิร์ตให้มี ‘ความยั่งยืน’ และ ‘เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ย้อนไปเมื่อปี 2019 Coldplay ได้ประกาศยกเลิกเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมตอัลบั้ม Everyday Life เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนที่โลกของเรากำลังเผชิญ โดยทางวงให้เหตุผลว่าจะใช้ช่วงเวลาที่หยุดพักหาแนวทางการทัวร์คอนเสิร์ตที่ยั่งยืน ดีต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างผลกระทบทางบวกให้สังคม สองปีผ่านไป วงดนตรีจากเมืองผู้ดีคัมแบ็กพร้อมคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ด้วยการประกาศทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้มใหม่ Music of the Spheres World Tour 2022 ที่มีเป้าหมายปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) รวมถึงแนวทางที่ส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนอีกเพียบ ครอบคลุมเกือบทุกมิติของการจัดคอนเสิร์ตที่วงดนตรีวงหนึ่งจะทำได้ […]

‘เสนาฯ’ จับมือ ‘ฮันคิวญี่ปุ่น’ เปิดโมเดลบ้านพลังงานเป็นศูนย์จากแนวคิด Geo Fit+ ที่เหมาะกับสิ่งแวดล้อมและชีวิตของคนไทย

ในยุคที่ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยมากขึ้นจากปัจจัยเรื่องมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ทำให้ฟังก์ชันของ ‘บ้าน’ ต้องเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ความชอบส่วนตัว ซึ่งนั่นควบรวมถึงความจำเป็นในการออกแบบที่รองรับทุกความต้องการและสถานการณ์ไม่คาดฝันในอนาคต ที่สำคัญตัวบ้านยังต้องช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้คนอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว เพราะเหตุนี้ ‘เสนาดีเวลลอปเมนท์’ จึงจับมือกับพันธมิตรจากญี่ปุ่นอย่าง ‘ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป’ เปิดตัวโมเดล ‘SENA HHP Zero Energy House’ หรือ ‘บ้านพลังงานเป็นศูนย์’ โดยใช้แนวคิด Geo Fit+ นวัตกรรมการออกแบบที่เหมาะกับความต้องการในทุกๆ ด้านของชีวิต เน้นความสะดวกสบาย รวมถึงจัดการพลังงานในบ้านได้ดีขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยิ่งกว่าเดิม โดยทางเสนาฯ และฮันคิวญี่ปุ่น จะนำร่อง ‘SENA HHP Zero Energy House’ ด้วย 2 โครงการต้นแบบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว เสนา แกรนด์โฮม บางนา กม. 26 และคอนโดมิเนียม ที่ปรับฟังก์ชันให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย ใส่ใจรายละเอียดรักษ์โลกแบบครบวงจร และมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน พร้อมเฉิดฉายในปี 2566  เท่านั้นยังไม่พอ […]

Forest Green Rovers สโมสรฟุตบอลที่รักโลกพอๆ กับฟุตบอล จนได้เป็นเบอร์ 1 ด้านความยั่งยืนของโลก

ช่วงปลายปีนี้ คอฟุตบอลทั้งหลายคงกำลังตื่นเต้นและตั้งตารอการแข่งขันรายการใหญ่อย่าง ‘ฟุตบอลโลก 2022’ (FIFA World Cup 2022) ซึ่งจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการที่ประเทศกาตาร์ในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ โดยที่ผ่านมาก็มีโปรแกรมแข่งขันระดับสูงสุดของอังกฤษอย่าง ‘พรีเมียร์ลีก’ (Premier League) ให้แฟนบอลยอมอดหลับอดนอน เฝ้าหน้าจอเพื่อลุ้นเอาใจช่วยทีมโปรดกันแบบตัวโก่ง หลายๆ คนคงรู้จักสโมสรดังๆ ในพรีเมียร์ลีกอยู่แล้ว แต่วันนี้ Urban Creature อยากพาทุกคนขยับไปยังดิวิชันที่เล็กลงมาอย่าง ‘อีเอฟแอลลีกวัน’ (EFL League One) เพื่อทำความรู้จักกับสโมสร ‘Forest Green Rovers (FGR)’ ที่นอกจากเป็นทีมฟุตบอลเก่าแก่อายุกว่า 133 ปี ที่นี่ยังได้รับการรับรองให้เป็น ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก’ โดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ รวมถึง ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของโลก’ โดยสหประชาชาติ Forest Green Rovers ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมเกือบทุกมิติ ตั้งแต่ตัวสนามฟุตบอลที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ เมนูอาหารที่เป็นวีแกนทั้งหมด จนถึงเสื้อนักกีฬาที่ผลิตจากกากกาแฟ ที่สำคัญ ทีมฟุตบอลเล็กๆ จากเมือง Nailsworth […]

Sustainable Market Event จัดอีเวนต์อย่างไรให้ยั่งยืนและดีต่อโลก

เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มเห็นอีเวนต์ต่างๆ จัดขึ้น เตรียมให้เราได้ไปเดินเล่นและร่วมสนุกกันแทบทุกสัปดาห์ ซึ่งอีเวนต์ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งมักจะเป็น ‘Market Event’ ที่มีทั้งโซนขายของ โซนอาหาร มาพร้อมสินค้าที่หลากหลายและน่าสนใจตามธีมของแต่ละงาน ทว่าการจัดอีเวนต์แต่ละครั้ง ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การสร้างขยะภายในงาน การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มลภาวะจากการเดินทาง ฯลฯ เพราะกังวลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอนาคต หลายอีเวนต์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักถึงความรับผิดชอบในมิติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นอีกโจทย์สำคัญของผู้จัดงานต่างๆ ว่าจะมีวิธีและทิศทางการจัดงานแบบไหนบ้าง ที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คอลัมน์ Urban Sketch วันนี้จึงขอจำลองวิธีการจัด Sustainable Market Event ที่ทุกคนยังคงเพลิดเพลินกับกิจกรรมได้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือแนวทางเรื่องความยั่งยืน สำหรับจัดอีเวนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆ กัน 1) บูททำจากวัสดุธรรมชาติ ลดการใช้อุปกรณ์ยึดโครง– Market Event คือการรวมตัวของบูทร้านค้ามากมาย ซึ่งปกติแล้วโครงสร้างของบูทจะทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม แต่เพื่อให้ตัวงานเกิดความยั่งยืนมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างที่ทำจากไม้ทั้งหมด และเลี่ยงการใช้ตะปูหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวไม้ เมื่อจบงานแล้วก็สามารถถอดเก็บไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในอนาคต  2) ใช้ป้ายลบได้เพื่อเก็บไว้ใช้ซ้ำ – ยกเลิกการใช้ป้ายต่างๆ ภายในงาน เช่น […]

จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อย Carbon Footprint 400,000 ตัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต่างตื่นตัว เพราะสภาพแวดล้อมทุกวันนี้อยู่ในช่วงวิกฤต โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนัก (Climate Change) ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของทุกสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมทุกพื้นที่แปรเปลี่ยนไปตามๆ กัน คำว่า ‘ทั่วโลกตื่นตัว’ ในที่นี้ ไม่ใช่แค่เรื่องใหญ่ระดับชาติที่เหล่าผู้นำประเทศกังวลเท่านั้น แต่มันยังลงลึกไปถึงหน่วยย่อยในทุกอุตสาหกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน เพราะทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการผลิต การบริการ หรือสิ่งบันเทิงอย่าง ‘คอนเสิร์ต’ ก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดโลกร้อนไม่แพ้กัน ยิ่งหลังผ่านพ้นช่วงกักตัว คอนเสิร์ตก็กลับมาจัดขึ้นบ่อยครั้ง และมีคนให้ความสนใจจำนวนมาก เพราะทุกคนต่างโหยหากิจกรรมและความบันเทิงนอกบ้านที่ห่างหายไปนานหลายปี ในทางกลับกัน ปัญหาโลกร้อนยังคงมีอยู่และเกิดสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหนักจากฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 400,000 ตัน ปัจจุบันหลายองค์กรในอุตสาหกรรมพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงตามเป้าหมายที่กำหนด จึงต้องมีค่ากลางในการประเมิน และเกิดการจัดทำ ‘Carbon Footprint’ หนึ่งวิธีการวัดและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยขององค์กร โดยคิดตั้งแต่การผลิต การใช้งาน และการกำจัดของเสีย คำนวณออกมาเป็นตัวเลขหน่วยกรัม กิโลกรัม หรือตัน เพื่อนำผลลัพธ์ไปจัดการและบริหารการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในองค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รายงาน Tyndall […]

แคลิฟอร์เนียผ่านกฎหมายใหม่ เปลี่ยนร่างมนุษย์เป็นปุ๋ยหมักได้ อีกทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันกลุ่มคนที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเริ่มหันหลังให้กับการกำจัดศพแบบเดิมๆ อย่าง ‘การเผา’ เพราะเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานเยอะ แถมยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกเผชิญภาวะโลกร้อน ส่วน ‘การฝัง’ เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงเป็นอันดับต้นๆ ทั้งค่าโลงศพ พื้นที่ การเคลื่อนย้าย รวมถึงพิธีกรรมอื่นๆ เพราะเหตุนี้หลายประเทศจึงเพิ่มทางเลือกในการกำจัดศพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและราคาถูกลง หนึ่งในนั้นคือ ‘รัฐแคลิฟอร์เนีย’ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ล่าสุดได้ผ่านร่างกฎหมายรับรองการเปลี่ยนร่างของมนุษย์ให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก (Human Composting) เพื่อเป็นทางเลือกที่รักษ์โลกและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ขั้นตอนการฝังศพรูปแบบใหม่คือ ร่างผู้เสียชีวิตจะถูกบรรจุไว้ในโลงเหล็กขนาด 8 ฟุต และใส่วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพอื่นๆ เข้าไปภายใน เช่น เศษไม้หรือดอกไม้ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ราว 30 – 60 วันให้ร่างกายเข้าสู่กระบวนการย่อยสลาย ก่อนที่บริษัทจะนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้คืนให้ครอบครัวเป็นขั้นตอนสุดท้าย สำหรับค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนร่างมนุษย์เป็นดินมีราคาระหว่าง 5,000 – 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 190,000 – 265,000 บาท) ใกล้เคียงกับค่าฝังศพแบบดั้งเดิมในรัฐแคลิฟอร์เนียที่มีราคาราว 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 227,000 บาท) แต่ก็ยังถูกกว่าพิธีเผาที่มีราคาราว 7,225 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว […]

Masterplan Esbjerg Strand โปรเจกต์สร้างอาคารการเรียนรู้แห่งใหม่ของเดนมาร์ก ที่ส่งเสริมการใช้ชีวิตและสร้างระบบนิเวศยั่งยืน

หนึ่งในบริษัทสถาปนิกไฟแรงชื่อดังระดับโลกอย่าง ‘Bjarke Ingels Group’ หรือ ‘BIG’ ได้เปิดเผยโปรเจกต์การออกแบบ ‘วิทยาเขตการศึกษาแห่งใหม่’ หรือ ‘New Education Campus’ บนเกาะเอสบีเยร์ (Esbjerg) เมืองท่าทางทะเลของประเทศเดนมาร์ก โดยมีเป้าหมายสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองและพื้นที่แคมปัสเพื่อรองรับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ๆ รวมถึงเปลี่ยนระบบการศึกษาแบบเดิมของประเทศด้วย โครงการนี้ตั้งใจดำเนินการบริเวณพื้นที่ท่าเรือที่เดิมมีขนาด 15,000 ตารางเมตร โดยสถาปัตยกรรมแห่งใหม่นี้จะใช้พื้นที่เพียง 13,700 ตารางเมตร เนื่องจาก BIG ตั้งใจออกแบบอาคารโดยเหลือพื้นที่บริเวณโดยรอบไว้สำหรับสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่จะช่วยปกป้องผู้คนในแคมปัสจากลมแรงและเสียงรบกวน ทั้งยังเหมาะกับการนั่งชมทิวทัศน์ของท่าเรือและทะเลด้วย  แคมปัสแห่งใหม่บนเกาะเอสบีเยร์แห่งนี้จะมีความสูงทั้งหมด 7 ชั้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวอาคาร ส่วนรูปทรงของตึกจะมีรูปทรงคล้ายคลื่นที่มีความสูงไม่เสมอกัน ซึ่งแนวคิดการออกแบบนี้จะช่วยลดเสียงรบกวน ปรับสภาพลมทั้งบนพื้นดินและบนหลังคาให้เหมาะสม รับแสงแดดให้ได้มากที่สุด และเอื้อให้ทุกคนสามารถมองเห็นวิวของท้องทะเลได้  ที่สำคัญ บริเวณหลังคายังสร้างเป็นสวนดาดฟ้าความยาวหนึ่งกิโลเมตรที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด ส่วนพื้นที่ตรงกลางอาคารจะเปลี่ยนให้เป็นสวนที่เต็มไปด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบร่มรื่นภายในแคมปัส ค่อนข้างแตกต่างจากบรรยากาศของอุตสาหกรรมท่าเรือภายนอกมากเลยทีเดียว ไอเดียออกแบบอาคารที่น่าตื่นเต้นของ BIG ชิ้นนี้คือส่วนหนึ่งของแผนการขับเคลื่อนเมืองอย่าง Esbjerg of the Future Vision 2025 ที่มีเป้าหมายเพิ่มประชากรในพื้นที่และผลักดันให้เอสบีเยร์กลายเป็นเมืองที่โดดเด่นด้านการศึกษา โดยมีการอ้างว่าแผนดังกล่าวจะทำให้เมืองนี้มีตำแหน่งแรงงานฝีมือ (Skilled Labor) ที่รองรับทุกคน กลายเป็นผู้ผูกขาดทางพลังงานยั่งยืน […]

Havfarm ฟาร์มแซลมอนกลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบเพื่อประมงยั่งยืน

ประเทศไหนส่งออก ‘ปลาแซลมอน’ มากที่สุดในโลกกันนะ? คำถามนี้เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่เราสังเกตเห็นกระแสการกินปลาแซลมอนในไทยและทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมดูไม่มีท่าทีลดลงเลย เมื่อลองหาข้อมูลจึงพบว่า ‘นอร์เวย์’ คือประเทศอันดับหนึ่งที่ผลิตและส่งออกเจ้าปลาเนื้อสีส้มมากที่สุด หรือคิดเป็น 47.2 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกแซลมอนทั่วโลก นอกจากจะยืนหนึ่งในตลาดส่งออกปลาแซลมอน นอร์เวย์ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนโยบายและกฎระเบียบด้านการประมงที่เข้มงวดที่สุดในโลก ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดโควตาการจับปลา การปกป้องลูกปลาวัยอ่อน รวมไปถึงการส่งหน่วยลาดตระเวนตรวจสอบกิจกรรมการตกปลา เพื่อรักษาระบบนิเวศและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล วันนี้ Urban Creature จะพาทุกคนไปรู้จัก ‘Havfarm’ ฟาร์มปลาแซลมอนขนาดใหญ่กลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบจากแนวคิดและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าฟาร์มปลานอกชายฝั่งแห่งนี้จะเป็น Game Changer ของอุตสาหกรรมปลาแซลมอนในนอร์เวย์ ที่มุ่งเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แนวคิดเบื้องหลังการออกแบบ Havfarm คืออะไร และโปรเจกต์นี้จะมีส่วนในการปฏิวัติอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์อย่างไรบ้าง เราขอชวนทุกคนขึ้นเรือมุ่งหน้าออกทะเลไปสำรวจพร้อมๆ กัน ทำไมต้องฟาร์มแซลมอนกลางทะเล? ย้อนไปเมื่อปี 2015 Nordlaks บริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเก่าแก่ของนอร์เวย์มีแนวคิดริเริ่มโครงการ Havfarm เพื่อเตรียมรับมือกับความต้องการบริโภคสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ ซึ่งรายงานจากโครงการ Blue Food Assessment ได้คาดการณ์ว่า ความต้องการบริโภคสัตว์น้ำทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วงราว 3 ทศวรรษต่อจากนี้ (ระหว่างปี […]

บินลัดฟ้ากับ 8 สนามบินดีไซน์ล้ำที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

ช่วงนี้เรารู้สึกว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เข้าโซเชียลมีเดียทีไรก็ต้องเห็นเพื่อนๆ และคนรอบตัวแพ็กกระเป๋า เช็กอินสนามบิน โบกมือลาด้วยเอเนอร์จีตื่นเต้น ก่อนจะบินลัดฟ้าไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือบางคนก็ไปไกลถึงต่างประเทศ ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการบินที่กลับมาฟื้นตัวในรอบหลายปีถือเป็นสัญญาณดีว่าภาคธุรกิจจะกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการบินนั้นโดนวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างหนักจากหน่วยงานและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมานานหลายปีแล้ว เพราะเป็นหนึ่งในวงการที่ทำให้โลกของเราเผชิญ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ ที่เป็นแบบนั้นเพราะ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกมาจากอุตสาหกรรมนี้ และเมื่อรวมก๊าซอื่นๆ บวกกับไอน้ำสีขาวที่เครื่องบินพ่นออกมา ซึ่งมีส่วนทำโลกเผชิญภาวะโลกร้อนมากถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาแบนการเดินทางด้วยเครื่องบิน และเลือกที่จะเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ อย่างรถไฟแทน เพื่อแสดงจุดยืนและตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น  ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินยังคงเป็นตัวเลือกที่คนส่วนใหญ่มองว่าจำเป็น คอลัมน์ Urban’s Pick จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจสนามบินจากทั่วทุกมุมโลกที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และพยายามดีไซน์พื้นที่ ติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหามลพิษและร่วมสร้างโลกที่ยั่งยืน 01 | Dock A at Zurich Airport สนามบินแห่งแรกที่เราอยากพาไปสำรวจก็คือ ‘Zurich Airport’ ตั้งอยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1948 แต่ในปี 2032 ที่นี่กำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสาร (Terminal) แห่งใหม่ชื่อว่า […]

‘โคเปนเฮเกน’ จากเมืองอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยมลพิษ สู่เมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลก

จะดีแค่ไหนถ้าได้อยู่ในเมืองที่น่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี แถมยังรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ท่ามกลางวิกฤต ‘การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ หลายเมืองทั่วโลกเดินหน้าผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในเมืองที่ยืนหนึ่งด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ ก็คือ ‘โคเปนเฮเกน’ เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก นิตยสาร Time Out ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 27,000 คนจากหลายร้อยเมืองทั่วโลก เพื่อหาคำตอบว่าเมืองใดคือเมืองที่ ‘ยั่งยืนที่สุดในโลก’ ประจำปี 2021 โดยผลการสำรวจชี้ว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจยกให้ ‘โคเปนเฮเกน’ เป็นเมืองที่ครบเครื่องเรื่องความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าโคเปนเฮเกนจะกลายเป็นเมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลกได้ อากาศในเมืองหลวงแห่งนี้เคยเต็มไปด้วยมลพิษ ส่วนแหล่งน้ำก็ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ขยะ และสิ่งปฏิกูล Urban Creature จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า โคเปนเฮเกนทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมที่เข้มแข็ง จนกลายเป็นเมืองที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนได้ 01 | Public and Private Sectors : เมืองที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชน ก่อนอื่นต้องอธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า รัฐบาลเดนมาร์กบริหารงานแบบ ‘กระจายอำนาจการปกครอง’ […]

10 ธุรกิจดังที่ผันตัวมาเป็นผู้ฟื้นฟูโลก

ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หลายครั้งที่เรามักโฟกัสกับนโยบายระดับประเทศ แต่ในขณะเดียวกันยังมีคนอีกมากที่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นองค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ที่เริ่มออกมาแสดงจุดยืนและเข้าร่วมขบวนรักษ์โลก

‘Orkney’ หมู่เกาะในสกอตแลนด์ ต้นแบบเมืองพลังงานไฮโดรเจน

สาธารณูปโภคพื้นฐานที่กลายเป็นปัจจัยในการใช้ชีวิตและการขับเคลื่อนเมืองไปข้างหน้า อย่างหนึ่งคือ ‘ไฟฟ้า’ ในอดีตไฟฟ้าคือตัววัดความเจริญที่บ้านไหนเมืองไหนไฟฟ้าเข้าถึงถือว่าพัฒนาแล้ว ทุกวันนี้ความต้องการใช้พลังงานของคนทั้งโลกมากขึ้นทุกปี แต่การผลิตกระแสไฟฟ้านั้นมีส่วนสำคัญที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.