‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟของคนอุบลฯ ที่อยากส่งสารคาเฟอีนเสิร์ฟคู่การเมือง ดนตรี และศิลปะ

ในฐานะลูกหลานคนอุบลฯ เราคุ้นเคยกับ ‘ย่านเมืองเก่า’ ในตัวอำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นอย่างดี เพราะครอบครัวและคนรู้จักหลายคนต่างอาศัยอยู่ในย่านนี้มานาน จึงเรียกว่าเติบโตมากับย่านนี้ก็ว่าได้  ป๊าเคยเล่าว่า ในอดีตย่านเมืองเก่าเปรียบเสมือนศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมืองอุบลฯ ร้านค้า ผู้ประกอบการ และธุรกิจต่างๆ มารวมตัวกันอยู่ที่นี่อย่างคึกคัก เต็มไปด้วยผู้คนที่ออกมาท่องเที่ยว และจับจ่ายใช้สอยทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่ช่วง 20 – 30 ปีที่ผ่านมา ย่านนี้ก็ซบเซาลงเพราะร้านรวงและธุรกิจต่างๆ กระจายตัวออกไปเติบโตบนพื้นที่อื่นในเมือง จึงมีไม่กี่ร้านเท่านั้นที่ยังเปิดกิจการ ส่วนที่เหลือก็เป็นบ้านพักหรือตึกปล่อยเช่า กลายเป็นเมืองเก่าที่เหลือไว้แต่เรื่องราวในอดีต  ปีนี้เรามีโอกาสกลับไปโอลด์ทาวน์อีกครั้ง เพื่อพบกับ ‘เป็ด-ยุทธนา ดาวเจริญ’ คนอุบลฯ รุ่นใหม่ผู้ก่อตั้ง ‘Songsarn Coffee & Home Roaster’ หรือ ‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟที่ตั้งอยู่บนซอยเล็กๆ ที่เคยร้าง มืด และเงียบเหงา ทว่าตอนนี้ทั้งคึกคัก สนุก และมีกาแฟรสชาติถูกปากให้ผู้มาเยือนเลือกสรร เป็ดเป็นมนุษย์ Active จัดอีเวนต์ทอล์กเรื่องการเมือง เสวนาเรื่องศิลปะที่ขายบน NFT และเอาวงแจ๊สฟิวชันอีสานจากนักดนตรีสายเลือดอุบลฯ มาเพอร์ฟอร์ม กิจกรรมเหล่านี้ลบภาพจำของซอยนี้ที่เคยเป็นแค่ทางลัดสำหรับกลับรถ ส่วนตอนกลางคืนเป็นซอยมืดเปลี่ยวที่มีรถจอดเต็มถนน แต่ทุกวันนี้ในซอยเล็กๆ […]

“เด็กฝึกงานคือแรงงานในอนาคต” ซีเรียสเรื่องการฝึกงานและความเป็นธรรมกับสมัชชาIntern

ไม่ได้ค่าตอบแทน ไม่มีสวัสดิการ ไม่ได้เครดิต พี่เลี้ยงให้ทำแต่งานง่ายๆ บาดเจ็บจากการฝึกงาน โดนบริษัทเอารัดเอาเปรียบ หรือทำงานหนักข้ามวันข้ามคืน เราเชื่อว่าปัญหาเหล่านี้ต่อให้คุณไม่มีประสบการณ์ฝึกงานมาก่อนก็คงเคยสัมผัสมาบ้าง ไม่ว่าเสียงบ่นระบายจากคนรอบข้าง คนในโซเชียลมีเดีย ข่าวสารสื่อออนไลน์ หรือเรื่องเล่าต่อกันมา เกิดเป็นแนวคิดการฝึกงานคือการหาประสบการณ์ อย่าไปคาดหวังเงินหรือสวัสดิการตอบแทนนัก บริษัทสอนงานให้ก็ดีแล้ว เป็นต้น ทั้งที่ถ้าพิจารณาตามความจริงแล้ว นี่คือสิทธิที่เด็กฝึกงานพึงได้รับ และไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพียงผู้เดียว เพราะรัฐเองก็ควรเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจด้วย เราไม่รู้ว่าคุณมองเรื่องการฝึกงานยังไง แต่อย่างน้อยมีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นความสำคัญของประเด็นนี้ และหยิบยกขึ้นมาสื่อสารในนามของ ‘สมัชชาIntern’ ซึ่งประกอบด้วย สุดปรารถนา ชาตรี, ภูริภัทร ณ สงขลา และนภเศรษฐ์ ผลจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “อย่างแรกต้องเชื่อก่อนว่าเราเป็นแรงงานคนหนึ่ง ต้องเชื่อในสิทธิมนุษยชนที่เราพึงได้ก่อนที่จะตั้งคำถามถัดไป” นี่คือแนวคิดที่สมัชชาIntern ต้องการนำเสนอกับสังคม โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้องเข้าฝึกงาน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิและเสียงของตัวเอง ให้กล้าตั้งคำถาม ต่อรอง และเรียกร้องกับผู้เกี่ยวข้อง คุณภาพชีวิตของเด็กฝึกงานไทยจะได้ดีขึ้นกว่านี้ มากไปกว่านั้น พวกเขายังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฝึกงาน โดยทำหน้าที่พูดคุยกับผู้ประกอบการและสื่อสารข้อเสนอสู่สังคม ทำให้นักเรียนนักศึกษาจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ พร้อมเอ่ยตรงกันว่า “ในที่สุดก็มีสิ่งนี้เสียที”  เพราะเคยตั้งคำถามกับการฝึกงานมาเหมือนกัน เราจึงนัดคุยกับสุดปรารถนาและภูริภัทร […]

พุทธคือยาฝิ่น จึงใช้คอมมิวนิสต์ดับทุกข์ คุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้ปลดจีวรมาจับค้อนเคียว

“ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำว่าข้าพเจ้าคือคฤหัสถ์ ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำไว้ว่าข้าพเจ้าคือคอมมิวนิสต์” ประโยคส่งท้ายการลาสิกขาของอดีตสามเณรโฟล์ค เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาสร้างความงุนงงให้เราไม่น้อย ขณะที่กระแสสังคมส่วนใหญ่กำลังต่อสู้เรียกร้องเพื่อ ‘ประชาธิปไตย’ (จะมีคำสร้อยห้อยท้ายว่า “อันมีพระ…” หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นทีมกี่ข้อ)  แต่นักกิจกรรมวัย 21 ปีผู้นี้ประกาศตนว่าเขาเป็น ‘คอมมิวนิสต์’ จะเรียกว่าเป็นความกล้าหาญคงไม่ผิด แต่ในมุมมองของเรา สัดส่วนที่มากกว่าคงเป็นความบ้าบิ่น  ในเมื่อสังคมไทยยังคงถูก ‘ผีคอมมิวนิสต์’ หลอกหลอนอยู่ และยังไม่ลืมกันใช่ไหมว่าเพิ่งสี่สิบกว่าปีที่แล้วเองที่พระสงฆ์รูปหนึ่งเปล่งวจีกรรมว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เพราะเช่นนี้ เราจึงหอบหิ้วความสงสัยไปคุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้บัดนี้ละผ้าเหลือง ไม่ใช่สามเณรใต้ร่มกาสาวพัสตร์​ แต่เป็น ‘สหรัฐ สุขคำหล้า’ คอมมิวนิสต์ผู้เชื่อมั่นว่าแนวทางแบบ Buddhist Marxism จะช่วยให้ประชาชนไม่ว่าศาสนาใดพ้นทุกข์อันเกิดจากความไม่เท่าเทียม อัปเดตชีวิตก่อนดีกว่า หลังจากสึกมาได้ประมาณสิบวัน คุณเป็นอย่างไรบ้าง ประเด็นแรกเลยซึ่งเป็นเรื่องแซวกันเล่นๆ ในหมู่เพื่อนผม คือการใส่กางเกงในครั้งแรกมันรู้สึกแปลกมาก เพราะมันอึดอัด และผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับผม เดี๋ยวนะ ปกติพระไม่ใส่กางเกงในกันจริงๆ เหรอ ไม่ใส่ครับ ไม่ใส่ มันจะโล่งๆ สบายๆ ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ก็เลยแก้ปัญหาตัวเองโดยซื้อบ็อกเซอร์กับกางเกงในรัดรูปมาสองแบบ  ประสบการณ์ซื้อกางเกงในครั้งแรกเป็นอย่างไร ผมเรียกคนขายว่าโยม (หัวเราะ) […]

‘I-peel.org’ เว็บไซต์ชวนมองสิ่งรอบตัวจากน้ำตาล งานบ้าน สมาร์ตโฟน ให้เห็นความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจการเมืองโลก

I-peel.org เว็บไซต์ที่ชวนมองสิ่งรอบตัวเล็กๆให้เห็นความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจการเมืองโลก

รมต.ตูวาลู ปราศรัย COP26 ในทะเล ย้ำวิกฤตประเทศจมน้ำ

Simon Kofe รัฐมนตรีต่างประเทศของตูวาลู หวังว่าการกล่าวสุนทรพจน์ของเขาจะชี้ให้ทุกคนเห็นถึงข้อเท็จจริงว่า ประเทศตูวาลูเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมากลำดับแรกๆ ของโลก รัฐมนตรี Kofe ได้อัดวิดีโอบันทึกปราศรัยให้การประชุมสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติในเมืองกลาสโกว์ ด้วยการยืนอยู่ในน้ำทะเลระดับเข่า เพื่อเน้นว่าประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกที่อยู่ต่ำ กำลังอยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก วิดีโอกลางทะเลของ Simon Kofe ที่ตั้งโต๊ะแถลงในชุดสูท ผูกเนกไท และสวมกางเกงพับขา ได้รับการแชร์อย่างกว้างขวางในสื่อออนไลน์ และสามารถดึงความสนใจคนทั้งโลกไปที่ประเด็นการต่อสู้ของตูวาลูกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ Kofe ย้ำสถานการณ์จริงที่ตูวาลูเผชิญผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เพื่อเน้นย้ำถึงการดำเนินการที่ประเทศแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน วิดีโอนี้ถ่ายทำโดยสถานีโทรทัศน์ TVBC บริเวณปลายสุดของ Fongafale เกาะหลักของเมืองหลวง Funafuti โดยฉายคลิปในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศในวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ผู้นำระดับภูมิภาคผลักดันการดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อจำกัดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่จำนวนมากได้ให้คำมั่นว่าจะลดปริมาณคาร์บอนลงในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า โดยมีเป้าหมายหยุดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่ผู้นำในเกาะแปซิฟิกเรียกร้องให้มีการดำเนินการทั้งหมดทันที โดยชี้ให้เห็นว่าความอยู่รอดของประเทศที่พื้นที่แผ่นดินอยู่ระดับต่ำกำลังอยู่ในความเสี่ยงสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางช่วงโควิด-19  หนึ่งในสามของรัฐและดินแดนที่เป็นเกาะขนาดเล็กในแปซิฟิกจึงไม่สามารถส่งตัวแทนรัฐบาลของตนไปยังสุดยอดการประชุม COP26 ในกลาสโกว์ได้  ฉะนั้นการขาดตัวแทนระดับสูงของประเทศเสี่ยงจมน้ำสูงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความกังวลว่า พวกเขาจะไม่ได้รับการนำเสนอข้อมูลปัญหาและหาหนทางแก้ไขอย่างเหมาะสม ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รายงานของธนาคารโลกเผยว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้อาจทำให้หมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งเป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือที่อยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและออสเตรเลียเสียหายได้  หมู่เกาะแห่งนี้มีประชากร 59,000 คน และมีเนื้อที่เพียง 180 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 1,156 […]

ภาคีSaveบางกลอย ชวนระดมอาหารช่วยคนบางกลอยที่ขาดสารอาหารอย่างหนัก

ชาวหมู่บ้านบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีบ้านอยู่ใน ‘ใจแผ่นดิน’ แถบจุดศูนย์กลางของป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งแต่เดิมทุกคนอาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลาร่วม 100 ปี ก่อนการเป็นอุทยานแห่งชาติ ด้วยวิถีการเกษตรที่มีความเกื้อกูลกันระหว่างคนและป่า แต่ในตอนนี้ชาวบางกลอยกลับถูกรัฐขับไล่ให้ออกจากบ้านที่เคยอยู่กันมาชั่วชีวิต ด้วยการให้เหตุผลว่าคนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่ป่า จนต้องย้ายมาอยู่ที่บางกลอยล่าง และบ้านโป่งลึก สถานที่ที่ปลูกพืชไม่ได้ ทำเกษตรกรรมไม่ได้ ทำให้ชาวบางกลอยตัดสินใจเดินทางกลับบ้านที่เคยอยู่ ในขณะที่รัฐตอบโต้ด้วยวิธีการที่แข็งกร้าว และดำเนินคดีกับพี่น้องบางกลอยโดยไม่ใส่ใจมิติทางวัฒนธรรม ซึ่งแม้ช่วงต้นปี 2564 ชาวบางกลอยจะลุกขึ้นมาเรียกร้องความยุติธรรมให้ตัวเอง แต่จนปัจจุบันจะสิ้นปีแล้ว ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ และแน่นอน ทุกคนยังคงมีชีวิตที่ยากลำบาก เพราะไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีรายได้ ไม่มีอาหาร นำมาสู่การตกงาน และการเข้ามาดิ้นรนในเมืองแต่กลับได้เงินค่าตอบแทนน้อยมาก  ที่สำคัญคือภาวะการขาดสารอาหารของคนในชุมชน โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อนที่ไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กจึงมีภาวะผอมหัวโต ทำให้สถานการณ์ต่างๆ อยู่ในระดับวิกฤติ และเมื่อมีความป่วยไข้ทั้งจากภาวะขาดสารอาหารหลักร้อยคน และจากการเกิดโรคระบาดตามฤดูกาล แต่พวกเขากลับเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากมากอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่ ภาคี Saveบางกลอย ชวนทุกคนให้มาช่วยระดมอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อสถานการณ์วิกฤติในตอนนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แม้ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาลูกโซ่ที่รัฐไม่แก้ให้เหมาะสมสักทีก็ตาม  สิ่งที่ชาวหมู่บ้านบางกลอยจำเป็นต้องใช้อย่างมากก็คือ 1. ข้าวสาร 2. อาหารแห้ง จำพวกอาหารทะเลแห้ง ปลาแห้ง และหมูแห้ง เป็นต้น 3. นมผงสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก […]

ขออนุญาต Educate นะคะอีเก่งกิจ : ฉอดเรื่อง Political Correctness กับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“เขียนชื่อผมลงไปเลยนะว่าอีเก่งกิจ เออ อีเก่งกิจนั่นแหละ เขียนแบบนั้นเลย”  รศ. ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นเสียงบอกเราอย่างยียวน หลังจากการพูดคุยกันเรื่องความถูกต้องทางการเมือง PC หรือ Political Correctness จบลงสดๆ ร้อนๆ สารภาพว่าหลังจากได้ติดตามการตั้งประเด็นทางสังคมและการโต้ตอบความคิดอันดุเดือดของเขาบนโลก Twitter มาตั้งแต่ต้นปี 2564 เมื่อได้เข้าไปเยือนพื้นที่ของ @Kengkij2 วลีหนึ่งที่ผุดขึ้นมาบนหัวคือ ‘ปังสัส’ ไม่อยากจะสปอยล์ แต่อยากให้ไปหาอ่านเอาเอง เพราะตั้งแต่ไล่สายตาอ่าน Bio ของเขาที่ระบุว่า ‘ทวิตเตอร์มีไว้ด่า ไม่ได้มีไว้คุยวิชาการ #คอมทวิต non-pc’ เราก็สนใจตัวตนบนโลกออนไลน์ของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยไบโอมันๆ และความสับในโลกนกฟ้า ซึ่งค่อนข้างตรงกันข้ามกับบทบาทอาจารย์และนักวิชาการ ยิ่งทำให้เราสนใจในวิธีคิด เพราะเก่งกิจเขวี้ยงหมวกนักวิชาการทิ้งถังขยะ แล้วใช้คีย์บอร์ดฉอดยับสับแหลก ดีเบตเผ็ดแซ่บจนนักฉอดทวิตต้องรีพลายกันร่างแหลกกันไปข้าง อีหน้าไหนจะมา War เป็นต้องเจอสรรพอาวุธสุดจะปังของเขา ด้วยฝีปากกล้าท้ารบ จบทุกสกิลในคนเดียวชนิดที่ว่า Non Stop ความ Non PC เราเลยตัดสินใจคุยเรื่องความ PC […]

ฟังเสียง 17 ปีความเจ็บปวดของคนสามจังหวัดชายแดนใต้

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นวันครบรอบ 17 ปี ของเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หนึ่งในโศกนาฏกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสร้างแรงกระเพื่อมให้กับชีวิตของผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นเวลากว่า 17 ปีแล้ว ที่สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ยังคงคุกรุ่นเสมอมา และ 17 คือจำนวนปีทั้งหมดที่รัฐไทยตัดสินใจใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ ก่อนปรับเป็นการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 ซึ่งยังคงถูกบังคับใช้ และต่ออายุทุกๆ 3 เดือนจนกระทั่งปัจจุบัน และช่วงเวลาอันยาวนานนี้เองที่ผู้คนในพื้นที่สามจังหวัดฯ ไม่เคยได้เลือกกำหนดชีวิตตัวเอง และอยู่ภายใต้ความ ‘ผิดปกติ’ จนกลายเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ นำมาสู่คำถามสำคัญที่ว่าเราทุกคนเคยรู้ไหมว่า #คนที่สามจังหวัดเป็นยังไงบ้าง ในมุมมองของคนเมืองอย่างเราๆ สิ่งที่นึกถึงเมื่อพูดถึงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือคำว่า ‘ความรุนแรง’ ที่เกือบทั้งหมดระบุไม่ได้ชัดเจนว่า ความรุนแรงนี้เกิดจากใคร? ฝ่ายใดเป็นผู้กระทำผิด? หรือควรมีทางออกร่วมกันอย่างไร? ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงอยู่ภายใต้พื้นที่สีเทาที่คลุมเครือ เพื่อให้สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกพูดถึง ทำความเข้าใจ และร่วมหาทางแก้ไขมากขึ้น ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ (Peace Resource Collaborative; PRC) จึงอยากให้ทุกคนเริ่มต้นรับฟัง […]

14 ตุลาฯ 16 เมื่อ 48 ปีที่แล้ว ดอกไม้ความหวังเคยผลิบาน

14 ตุลาคม 2564 วันนี้เมื่อ 48 ปีที่แล้ว ดอกไม้แห่งความหวังและเสรีภาพของประชาชนไทยเคยผลิบาน ดอกไม้ที่ว่าคือบริบทแวดล้อมของสังคมเสรีประชาธิปไตยที่ออกดอกออกผลหลังจากการ Rising ของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516สาเหตุที่เมล็ดพันธุ์ผลิบานอย่างเต็มที่ เพราะระบอบการปกครองคณาธิปไตยของกลุ่มทหารที่ควบคุมประเทศกระตุ้นให้ประชาชนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ และขับไล่รัฐบาลที่ปกครองและบริหารประเทศอย่างไร้ทิศทาง ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรี จอมพล ถนอม กิตติขจร ซึ่งเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชัน ทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ และค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ภายในระยะเวลายาวนานถึง 15 ปี ชนวนที่ทำให้เกิดการลุกฮือต่อต้านของผู้คนก็คือเหตุการณ์ล่าสัตว์ป่าที่ทุ่งใหญ่นเรศวร ของกลุ่มอภิสิทธิ์ชน คณะนายทหาร และตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดการชุมนุมประท้วงโดยเหล่านิสิต นักศึกษา และประชาชน ซึ่งออกมารวมตัวกันกว่าห้าแสนคนบริเวณถนนราชดำเนิน เพื่อเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญเต็มใบ และผลักดันให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง จนเกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างตำรวจและมวลชน กระทั่งบาดเจ็บนองเลือด ซึ่งเท่าที่มีการบันทึกไว้ได้ ภายหลังมีผู้เสียชีวิตจำนวนถึง 77 คน และมีผู้บาดเจ็บถึง 857 คน นำไปสู่การที่ จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร […]

ชวนฟังเสียงวัยรุ่นในดินแดง และชวนสมทบทุนให้คนทำสารคดีกับทีมแพทย์อาสา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลายคนคงได้ชม Prologue สารคดีรสชาติจัดจ้านเรื่อง Sound of ‘Din’ Daeng โปรเจกต์ล่าสุดที่กำลังสร้างและระดมทุนของ ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ผู้กำกับสารคดีหนุ่มชาวไทยที่เคยฝากผลงานประเด็นเชิงสังคมหนักๆ ไว้ในผลงานอย่าง ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง, สายน้ำติดเชื้อ, ดินไร้แดน และอื่นๆ ถ้าใครยังไม่ได้ดู Urban Creature แนะนำเลยว่าห้ามพลาด ท่ามกลางการชุมนุมทางการเมืองที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มในปัจจุบัน นนทวัฒน์ ตัดสินใจติดตามกลุ่มวัยรุ่นที่มาร่วมชุมนุมในย่านดินแดง ดินแดนที่ไร้แกนนำ ไร้การปราศรัย และไร้กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน แต่วัยรุ่นพลังล้นเหล่านี้ต่างพร้อมเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐแบบไม่หวั่นเกรงกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และพร้อมท้าทายความตายอย่างคนหลังชนฝา ซึ่งหลายคนรู้จักพวกเขาในชื่อ ‘ทะลุแก๊ซ (Thalugaz)’ “ผมโตมากับยุคที่มันเหมือนสลัมอะพี่ จุดหนึ่งเราไม่ค่อยมีเงินไปโรงเรียน ก็เลยไม่ได้ไป”  “ผมอยากให้ลูกผมไปอยู่ในที่ที่ดีกว่าเรา ถ้ามีลูก ผมไม่อยากให้เขาเจอแบบเรา อยากให้ลูกมีการงานที่ดี เรียนสูงๆ”  “เราแค่ออกมาส่งเสียงร้องเรียน ความจริงเราไม่ได้ตั้งใจจะมาต่อยตี แต่เขาเป็นฝ่ายทำเราก่อน”  จากบทสนทนาที่นนทวัฒน์พูดคุยและบันทึก สะท้อนให้เห็นว่าหลายคนมองพวกเขาเป็นเพียงกลุ่มวัยรุ่นเกเรขาลุยที่พร้อมบวกกับ คฝ. เพื่อสนองความสะใจเสียมากกว่าจะมีประเด็นทางการเมืองที่หนักแน่นจริงจัง แต่แท้จริงแล้วพวกคุณคิดว่าพวกเขาเป็นคนคิดตื้นๆ อย่างนั้นจริงๆ น่ะเหรอ? เมื่อทุกเสียงของคนในสังคมสำคัญ เสียงสะท้อนของวัยรุ่นที่มารวมตัวบริเวณแยกดินแดงจึงต้องได้รับการฟังไม่น้อยไปกว่าใครหน้าไหน Sound of ‘Din’ […]

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

ปลุกคน ผี ปีศาจ ผ่าน 5 พื้นที่ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ ในกรุงเทพฯ

5 สถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวและเลือดเนื้ออันเกี่ยวเนื่องกับวันที่ 6 ตุลาฯ 19 แม้การจดจำความเจ็บปวดอาจขื่นขม แต่การคืนความเป็นธรรมให้ทุกคนเป็นเรื่องจำเป็น เพราะนี่คือเรื่องราวที่เกิดจริง

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.