‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีส ได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ […]

คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

มุมมองการสร้าง ‘City Branding’ ผ่านสายตานักวิจัยจากคณะสถาปัตย์ที่ทำเรื่องนี้มานับไม่ถ้วน

ก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาสูงถึง 40 ล้านคนต่อปี นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มจับจ่ายใช้สอยมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นขาช้อปชาวจีนหรือนักท่องเที่ยวชาวยุโรปหนีอากาศหนาวมาพักตากอากาศที่ไทยเป็นเวลานาน พอโควิด-19 ระบาดอย่างหนักจนทำให้สนามบินปิด ชายแดนปิด คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่เคยครึกครื้นกลับซบเซา ร้านค้าถูกทิ้งร้าง ถนนคนเดินหลายเส้นเงียบเหงาจนน่าใจหาย ระยะเวลาผ่านไปสักปีกว่าๆ โควิด-19 ถูกประกาศว่าเป็นโรคประจำถิ่น นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง สายการบินเริ่มเพิ่มเที่ยวบินในประเทศและระหว่างประเทศมากขึ้น สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เตรียมพร้อมเปิดรับแขกอีกครา แต่คราวนี้ตลาดการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 แข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อดึงเม็ดเงินมาฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 อาจจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ที่เราไม่เคยรู้จักหรือสถานที่ท่องเที่ยวเก่าแต่ออกแบบเมืองใหม่ เหลาให้แหลมคมด้วยเครื่องมือชื่อ ‘City Branding’ Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อยากให้นิยาม City Branding ในเวอร์ชันของคุณทั้งสองคน อาจารย์อั๋น […]

‘ศรีเทพ’ ได้ขึ้นเป็นมรดกโลก แต่ ‘เวนิส’ เสี่ยงหลุดจากลิสต์ เหตุเพราะน้ำท่วมและนักท่องเที่ยว

ในวันที่ ‘เมืองศรีเทพ’ ของไทยได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นเมืองมรดกโลกแห่งล่าสุด ในช่วงเวลาเดียวกัน ‘เวนิส’ ได้รับคำเตือนว่าอาจจะขึ้นบัญชีดำที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกถอดออกจากรายชื่อมรดกโลก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะรัฐบาลอิตาลีและการปกครองท้องถิ่นเวนิสไม่ได้มีมาตรการหรือกลไกที่ผลักดันการปกป้องความอ่อนไหวของการมีสถานภาพเป็นเมืองมรดกโลก ที่ให้คนเข้าไปศึกษา ชื่นชม และเรียนรู้ จนอาจทำให้เกิดการสูญเสียความเป็นแก่นแท้ของสถานที่ นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของยูเนสโกก็ยังเสนอให้นำเมืองเวนิสไปอยู่ในลิสต์ของการเป็นมรดกโลกที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายอย่างไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ในสถานภาพของการเป็นมรดกโลก โดยมีเหตุผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในปี 2019 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเวนิส ไปจนถึงการเกิดปรากฏการณ์ Overtourism หรือปัญหานักท่องเที่ยวล้นทะลัก ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม และสภาพการเป็นเมืองมรดกโลก ถ้าย้อนไปดูตั้งแต่ปี 1987 ที่เวนิสได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก ยูเนสโกได้ส่งคำเตือนถึงประเด็นนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วจากการพัฒนาเมืองที่มากเกินไปเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมที่ทำให้อาคารเก่าแก่ทั้งหลายมีความเสี่ยงถูกทำลาย รวมถึงการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ที่ผ่านมารัฐบาลอิตาลีและเมืองเวนิสได้พยายามออกนโยบายและสร้างแผนการปกป้องเมืองด้วยการจำกัดไม่ให้เรือขนาดใหญ่แล่นผ่านคลองของเมือง เปิดใช้งานกำแพงกันน้ำท่วมอย่างเต็มรูปแบบเมื่อปี 2020 และมีแผนเก็บค่าธรรมเนียมการเดินทางของนักท่องเที่ยวด้วย แต่ถึงอย่างนั้น ยูเนสโกก็มองว่าทั้งหมดนี้ยังไม่เพียงพอต่อการรักษาสภาพของการเป็นเมืองมรดกโลกตามมาตรฐาน และจากปัญหานักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัย ทำให้คนเวนิสจำนวนไม่น้อยย้ายออกไปจากเมืองจนตอนนี้เหลือคนในพื้นที่เพียงห้าหมื่นคนเท่านั้น ซึ่งนั่นย่อมสั่นคลอนต่อสถานภาพการเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ของเวนิส Sources :APOLLO | tinyurl.com/2y7zwe4eBBC | tinyurl.com/283cvvg5Podcast : ‘เมือง-หมา-นุด’ EP.51 Venice กับความเสี่ยงถูกถอนออกจากเมืองมรดกโลก | tinyurl.com/2xwdvvwfTravel and […]

‘Multifunctional Station’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะ ที่ใช้งานบนพื้น เก็บลงใต้ดิน

‘ข้อจำกัดทางพื้นที่สาธารณะ’ คือหนึ่งในปัญหาที่เมืองใหญ่ทั่วโลกต่างประสบและพยายามหาหนทางแก้ไขกันอยู่ อย่าง ‘กรุงเทพฯ’ เมืองหลวงของเราก็มีพื้นที่สาธารณะที่ค่อนข้างน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คนในเมือง ด้วยเหตุนี้ เราจึงมองว่าการใช้พื้นที่ได้อย่างหลากหลายน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ทำให้พื้นที่สาธารณะอันน้อยนิดในเมืองเกิดการใช้งานได้อย่างคุ้มค่า คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำเสนอ ‘Multifunctional Station (MS)’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะที่จะมาช่วยทำให้พื้นที่สาธารณะในเมืองเกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการไม่จำกัดให้พื้นที่นั้นๆ ทำเพียงหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง แต่จะมีฟังก์ชันและรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งนอกจากทำให้เมืองได้ใช้พื้นที่สาธารณะอย่างคุ้มค่าแล้ว วิธีการใช้งานนวัตกรรมนี้ก็ไม่ยุ่งยาก แถมยังต่อยอดพัฒนาเป็นโมเดลต่างๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะใหม่ๆ ได้อีก MS Cabinet & Materialอยู่ใต้ดินเมื่อไม่ใช้งาน เรียกใช้งานบนพื้นดินผ่านแอปพลิเคชัน นวัตกรรม MS มีโครงสร้างหลักอยู่สองส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง เมื่อไม่ได้ใช้งานจะซ่อนอยู่ใต้ดิน โดยมี Cabinet หรือตู้ที่ทำหน้าที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนที่สองคืออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในตู้ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่จะถูกนำไปใช้งานเป็นสเตชันบนพื้นดิน ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นสเตชันสำหรับการขายอาหาร ภายในตู้จะมีช่องเก็บโต๊ะปรุงอาหาร ช่องเก็บเก้าอี้ ช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ฯลฯ หรือถ้าเป็นสเตชันสำหรับขายสินค้า ภายในตู้จะมีช่องใส่บาร์แขวนผ้า ตะแกรงแขวนสินค้า โต๊ะพับ อุปกรณ์ไฟตกแต่งร้านและเต้าเสียบ รวมถึงเสาและผ้าใบสำหรับประกอบเป็นโครงสร้างกางกันแดดและฝน เป็นต้น ตัว Cabinet นั้นสร้างขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรง […]

Healthy Space Forum ทีมนักออกแบบที่อยากดีไซน์พื้นที่เมืองให้คนแข็งแรง และย่านคึกคัก

เราได้ยินชื่อ Healthy Space Forum หรือศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง ครั้งแรกจากพอดแคสต์ Unlock the City ที่ ‘รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา’ ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังภาคและเมืองเป็นโฮสต์เจ้าประจำ ด้วยความเข้าใจว่า Healthy Space Forum คือหน่วยงานที่ต่อยอดมาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจารย์พนิตเป็นหนึ่งในผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนมีสนามฝึกปรือฝีมือ นำความรู้ที่ใช้มาออกแบบงานเพื่อใช้งานจริงๆ ไม่ผิดไปจากความเข้าใจเท่าไหร่ สิ่งที่เซอร์ไพรส์คือ เมื่อเราได้นั่งคุยกับอาจารย์พนิตและทีมนักออกแบบของ Healthy Space Forum ความเข้าใจว่าพวกเขาออกแบบพื้นที่ออกกำลังกายเพื่อความ ‘เฮลตี้’ ของคนเมือง จริงๆ ถูกผลักเพดานไปไกลกว่านั้น  สิ่งที่พวกเขาทำนับตั้งแต่ Day 1 ในปี 2554 ไม่เพียงแต่ออกแบบพื้นที่ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด แต่ยังหมายรวมถึงการตีความพื้นที่ในแบบใหม่ๆ ไปจนถึงการบริหารจัดการชุมชนให้คึกคักขึ้นมา  บรรทัดต่อจากนี้คือเรื่องราวการเดินทางตลอด 12 ปีของ Healthy Space Forum และความเชื่อเบื้องหลังการออกแบบของพวกเขาที่ล้วนเป็นไปได้ภายใต้หนึ่งเป้าประสงค์ นั่นคือการผลักดันให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี พื้นที่ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อบริหารร่างกายเท่านั้น 12 ปีก่อน Healthy Space […]

‘กลาสโกว์’ สู่การเป็น ‘เมืองเฟมินิสต์’ แห่งแรกของสหราชอาณาจักร ที่ออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม

เมือง ‘กลาสโกว์’ ประเทศสกอตแลนด์ คือหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะเป็นเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา มีแหล่งช้อปปิงและร้านค้ากระจายอยู่ทั่ว ที่สำคัญยังเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 3 ของสหราชอาณาจักร ที่มาพร้อมความเจริญเกือบทุกด้าน ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ จนทำให้กลาสโกว์มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทว่าความก้าวหน้าของกลาสโกว์ไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น เพราะล่าสุดเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ตั้งใจจะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นศูนย์กลางของการวางผังเมืองในทุกมิติ เพราะรัฐบาลของเมืองเชื่อว่า ‘การออกแบบเมืองที่ดีสำหรับผู้หญิง คือการออกแบบเมืองที่ดีสำหรับทุกคน’ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปทำความเข้าใจว่า ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ หรือ ‘Feminist City’ หน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมเจาะลึกถึงแผนการสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์แห่งแรกของสหราชอาณาจักร และท้ายที่สุดมูฟเมนต์นี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กลาสโกว์ในมิติไหนบ้าง จุดเริ่มต้นของการออกแบบเมืองเพื่อผู้หญิง เส้นทางสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์ของกลาสโกว์เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 หลังจากสภาเทศบาลเมืองกลาสโกว์มีมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ที่จะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นหัวใจสำคัญของการวางผังเมืองทุกมิติ โดยผู้ยื่นข้อเสนอนี้คือ ฮอลลี บรูซ (Holly Bruce) สมาชิกสภาจากพรรคกรีน (Green) ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์กลายเป็นเมืองแรกในสหราชอาณาจักรที่จะโอบรับ ‘แนวคิดการออกแบบเมืองแบบสตรีนิยม’ หรือ ‘Feminist Urbanism’ Feminist Urbanism หมายถึงการออกแบบเมืองที่ส่งเสริมการไม่แบ่งแยก และการรวมความหลากหลายของคนทุกกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน […]

12 โปรแกรมไฮไลต์ภายใต้ธีม ‘เมือง-มิตร-ดี’ จากเทศกาล Bangkok Design Week 2023

สุดสัปดาห์นี้จะเข้าสู่สัปดาห์ของ ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566’ หรือ ‘Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023)’ เทศกาลสุดสร้างสรรค์ระดับโลกที่นำเสนอผลงานสุดครีเอทีฟและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้กรุงเทพฯ เติบโตและกลายเป็นเมืองที่ดีขึ้น Bangkok Design Week ครั้งที่ 6 มาในธีม ‘urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี’ ที่เน้น ‘การออกแบบ’ เพื่อพัฒนา ‘คุณภาพชีวิต’ ของผู้คน โดยอาศัยหลักการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคน และสร้างคนที่เป็นมิตรต่อเมือง ผ่าน 6 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความหลากหลาย คนเดินทาง ธุรกิจ และชุมชน  งานครั้งนี้จัดขึ้นใน 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมกิจกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเมืองกว่า 550 โปรแกรม เช่น นิทรรศการ การบรรยาย เวิร์กช็อป ตลาดนัดสร้างสรรค์ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ฯลฯ เพราะรู้ว่าผู้อ่านคงไปไม่ครบทุกกิจกรรมแน่ๆ คอลัมน์ Urban’s Pick อาสาคัดเลือก 12 […]

Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO

‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม  เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย  1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]

‘เมืองลิง’ ออกแบบเมืองเก่าลพบุรี สร้างเมืองใหม่ให้ลิง เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า

ปี 2499 อันธพาลครองเมือง ส่วนปี 2564 ลิงครองเมืองลพบุรี  เหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นที่สี่แยกไฟแดงกลางเมือง บริเวณถนนรอบพระปรางค์สามยอด-หน้าศาลพระกาฬ แลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดลพบุรี  จ่าฝูงแก๊งลิงพระปรางค์สามยอดยกพวกจำนวนมากปีนรั้วลงถนน ทางด้านลิงจากฝั่งธนาคารออมสินและลิงถิ่นตลาด ก็ยกพวกทั้งหมดวิ่งกรูเข้ามาเตรียมเข้าปะทะกันท่ามกลางสายตาของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว เสียงดังอื้ออึงมาจากเสียงกรีดร้องเจ็บปวด เสียงตะโกนสร้างความฮึกเหิม รวมถึงเสียงบีบแตร เบิ้ลเครื่องยนต์ของชาวเมือง สงครามวานรครั้งนั้นทำให้ ตาต้า-ชญตา ลีวงศ์เจริญ นิสิตปริญญาตรีภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเรื่องขำกลิ้งลิงกับเมืองที่มีความตลกร้ายแฝงอยู่บนปัญหาระดับวิกฤตที่ยังหาทางแก้ไม่ตก มาใช้เป็นสารตั้งต้นกำหนดหัวข้อธีสิสที่ชื่อว่า ‘โครงการบูรณะพื้นที่เมืองเก่าลพบุรี เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า’ ในวันที่สงครามสงบลงแล้ว เราอยากพาไปดูหนึ่งในไอเดียการแก้ปัญหาลิงครองเมืองลพบุรี เพื่อที่อนาคตจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก แถมคนกับสัตว์อาจอยู่ร่วมกันในเมืองได้อย่างสันติ เรื่องมันเริ่มมาจากลิง ปัญหาใหญ่และหนักสุดระดับวิกฤตของจังหวัดลพบุรีคือ ‘ลิง’ เพราะจำนวนของพวกมันที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ปัจจัยหลักๆ คือการที่มนุษย์หยิบยื่นอาหารให้ลิงจนเป็นเรื่องปกติ ทำให้เดิมทีลิงที่หากินเองออกลูกได้ปีละตัว กลับออกลูกได้สองตัวต่อปี ปัญหาที่ตามมาจากการเพิ่มจำนวนดังกล่าวคือเจ้าหน้าที่จับลิงมาทำหมันได้ยากขึ้น ชาวบ้านบางคนถึงกับบอกว่า “ลิงมันสื่อสารกันรู้เรื่อง มันหนีทันตลอด” ปีนี้ผลสำรวจพบว่า ชุมชนลิงในเมืองลพบุรีมีจำนวนถึงห้าพันกว่าตัว และคาดว่าในอีกห้าปีข้างหน้าน่าจะขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มอีกเป็นหมื่นๆ ตัว  ตาต้าเล่าว่า ลิงเป็นสัตว์สังคมไม่ต่างจากมนุษย์ มีการจับกลุ่ม รวมแก๊ง แบ่งก๊กเป็น 7 พวกหลักๆ แบ่งเป็น 3 […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.