Mass Table โต๊ะอเนกประสงค์สีสดใส ที่นั่งได้เป็นกลุ่ม ครอบคลุมผู้พิการ มีปลั๊กในตัว แถมเสียบ USB ได้

วันนี้จะขอพาไปดูไอเดียการออกแบบโต๊ะอเนกประสงค์ที่เรียบง่าย แต่ดึงดูดสายตา และเป็นได้มากกว่าเฟอร์นิเจอร์สำหรับนั่งเล่น โดยโต๊ะตัวนี้ชื่อว่า ‘Mass Table’ เป็นหนึ่งในคอลเลกชันของ Derlot แบรนด์เฟอร์นิเจอร์จากออสเตรเลีย ซึ่งได้รับการออกแบบโดย ‘Alexander Lotersztain’ นักออกแบบชาวออสซีที่นำเอาลักษณะของโต๊ะปิกนิกในสวนมาดัดแปลงเป็นโต๊ะเรียบๆ ที่มีเอกลักษณ์เป็นสีเหลืองเรืองแสง ผลิตจากการผสมผสานระหว่างเหล็กเคลือบสีฝุ่นและอะลูมิเนียมที่แข็งแรง Mass Table นั้นได้รับการออกแบบให้มีขนาดเล็ก ทนทาน และร่วมสมัย ความสวยงามนั้นค่อนข้างเรียบง่ายแบบที่ไม่มีสิ่งใดระเกะระกะ แต่เน้นไปที่ฟังก์ชันการใช้งานอย่างเต็มขั้นและหลากหลาย จะนอกบ้านหรือในบ้าน สวนสาธารณะ สวนหย่อม ภายในอาคาร ก็นำโต๊ะตัวนี้ไปวางตั้งและใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย การใช้งานที่น่าสนใจคือ สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานได้สูงสุดแปดคน รวมถึงผู้พิการที่ใช้รถเข็นก็ร่วมโต๊ะได้ ซึ่งเป็นการออกแบบที่ค่อนข้างครอบคลุมสำหรับคนทุกกลุ่ม ส่วนการประกอบโต๊ะยังทำได้ง่ายและรวดเร็วไม่ถึงชั่วโมง ทั้งยังสามารถติดตั้งโต๊ะพร้อมปลั๊กไฟและช่องเสียบ USB ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถชาร์จและเชื่อมต่อได้ทุกที่อย่างสบายใจ และที่สำคัญ เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน โต๊ะตัวนี้ก็ยังสามารถรีไซเคิลได้อีกด้วย  Source :Yanko Design | bit.ly/3LsjlI4

Better Public Transport Station สร้างสถานีขนส่งสาธารณะใหม่ ฉบับนึกถึงหัวใจคนเดินทาง

ภาพสถานีขนส่งโทรมๆ คลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทั่วทุกสารทิศที่ต้องการเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดที่ตนจากมา บ้างนั่งรอรถโดยสารอย่างใจจดใจจ่อ บ้างก็นอนพักรอให้เวลาเดินทางมาถึง บรรยากาศเหล่านี้กลายเป็นภาพที่เราเห็นกันจนคุ้นชิน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวของทุกๆ ปี แต่ภายใต้ความคุ้นชิน กลับไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสะดวกสบายให้กับบรรดาผู้โดยสารที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงภายในสถานีขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นความแออัดวุ่นวาย สภาพแวดล้อมที่มืดและสกปรก โครงสร้างที่ทรุดโทรม ไหนจะป้ายบอกทางที่สับสน รวมถึงฟังก์ชันต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้บริการเอาเสียเลย วันนี้ Urban Creature จึงขออาสาดีไซน์สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่ ที่มาพร้อม 4 พื้นที่ใช้งานซึ่งเกิดจากแนวคิดที่นึกถึงหัวใจคนเดินทางเป็นหลัก มีตั้งแต่จุดซื้อตั๋วที่สะดวกรวดเร็ว ไปจนถึงการขึ้นลงรถโดยสารที่สะดวกและไม่วุ่นวาย ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าการออกแบบเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่คงจะน่าใช้งานและตอบโจทย์ผู้โดยสารกว่าเดิมเยอะเลย 01 | One-stop Booking Serviceจองตั๋วรถง่ายด้วยปลายนิ้ว เคยเจอปัญหาที่ไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋วรถโดยสารสาธารณะจากที่ไหนไหม พอไปซื้อที่สถานีล่วงหน้า เขาก็บอกให้รอซื้อวันเดินทางจริง พอถึงวันเดินทางจริง พนักงานกลับบอกว่าทำไมไม่ซื้อออนไลน์ แต่พอจะเข้าจองออนไลน์ก็งงเข้าไปใหญ่ เพราะเสิร์ชเข้าไปเจอเป็น 10 เว็บไซต์ แล้วอย่างนี้ต้องจองตรงไหนกันแน่ จะปล่อยให้คนเดินทางปวดหัวแบบนี้ต่อไปคงไม่ไหว เราเลยขอเปลี่ยนระบบการจองใหม่ให้เป็น ‘One-stop Booking Service’ เว็บไซต์กลางสำหรับจองตั๋วที่ไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์หรือรถตู้ค่ายไหน ก็จองได้ง่ายผ่านเว็บไซต์เดียว ไม่ต้องค้นหากันให้วุ่นวาย แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกซื้อตั๋วผ่านออนไลน์ ในสถานีก็จะมีตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และบริการจำหน่ายตั๋วโดยเจ้าหน้าที่บริเวณเคาน์เตอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ไม่คุ้นชินกับการจองออนไลน์ หรือมีเหตุให้ต้องเดินทางแบบกะทันหัน 02 […]

‘The Penny Piggy Bank’ กระปุกออมสินหมูแม่เหล็ก ที่ทุบแตกกี่ครั้ง ก็ประกอบใหม่ได้

ถ้าถามถึงความเศร้าหนึ่งที่เราต้องเผชิญในวัยเด็ก คงเป็นการหยอดกระปุกออมสินหมูมานานแรมปี แต่เมื่อต้องทุบหมูเซรามิกเพื่อเอาเหรียญที่หยอดไว้ออกมากลับทำใจไม่ได้ซะอย่างนั้น เพื่อให้ฝันของเด็กไม่ต้องสลายไป ‘Dario Narvaez’ จึงได้ออกแบบกระปุกออมสินหมูขึ้นมาใหม่ โดยมีความพิเศษคือสามารถทุบเพื่อนำเศษเหรียญออกมา และประกอบกระปุกออมสินเข้าด้วยกันใหม่ได้ โดยตั้งชื่อให้การออกแบบนี้ว่า ‘The Penny Piggy Bank’ กระปุกออมสินหมูสีขาวล้วนที่เผยให้เห็นพื้นผิวที่แตกร้าวแทนที่จะปกปิดไว้อย่างแนบเนียน เป็นกิมมิกเล็กๆ ของ The Penny Piggy Bank ที่ Dario Narvaez ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาด้วยทองและยางไม้ ที่รู้จักกันในชื่อ ‘คินสึงิ (Kintsugi)’ เมื่อออกแรงทุบไปที่ The Penny Piggy Bank รอยแตกร้าวดังกล่าวจะแบ่งตัวกระปุกออมสินหมูออกเป็นชิ้นส่วน PVC ทั้งหมด 12 ชิ้น ที่ทนทานต่อแรงกระแทกสูง ทนต่อรอยขีดข่วนที่เกิดจากการทุบกระปุกออมสินซ้ำๆ และสามารถประกอบขึ้นใหม่ได้ตลอดการใช้งานด้วยแม่เหล็กที่ถูกซ่อนไว้ภายใน นอกจากนี้ The Penny Piggy Bank ยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการสำหรับเด็กผ่านการประกอบกระปุกออมสินขึ้นมาใหม่ เพราะโครงสร้างที่ไม่เหมือนใครของกระปุกออมสินจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถประกอบขึ้นในรูปแบบใหม่ได้หลายพันวิธี ผ่านการจัดเรียงหรือหมุนชิ้นส่วนบางชิ้นในลักษณะต่างๆ คล้ายตัวการ์ตูน Mr. Potato Head ในเรื่อง Toy […]

ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

ทำไมไทยฮิตแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์ เพราะตามกระแสหรือโหยหาเมืองที่ดี?

“เที่ยวญี่ปุ่นในไทย ไม่ต้องไปไกลก็เหมือนอยู่แดนซากุระ”  ประโยคสุดคุ้นตาที่มักจะเห็นในคอนเทนต์รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวสไตล์ญี่ปุ่นในประเทศไทย พักหลังหลายสถานที่ท่องเที่ยวก็นิยมสร้างเลียนแบบสถานที่สำคัญในญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ‘เที่ยวญี่ปุ่นทิพย์’ เช่น การจำลองหมู่บ้านญี่ปุ่นสมัยเมจิ ปราสาทฮิโนกิที่มาจากเมืองเกียวโต วัดอาซากุสะ ทางลงบันไดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน  และล่าสุดบางจังหวัดมีไอเดียจะทำย่านถนนคนเดินญี่ปุ่นให้เหมือนกับอยู่ที่นั่นจริงๆ (แต่ในสภาพแวดล้อมไทย) จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมบ้านเราถึงฮิตสร้างแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์กันมากนัก? สร้างญี่ปุ่นทิพย์ เอาใจคนญี่ปุ่นและถูกใจคนไทย จุดเริ่มต้นความญี่ปุ่นทิพย์ต้องย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยชาวญี่ปุ่นชอบเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคเหนือ เนื่องจากบ้านเรามีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นที่มีมาช้านานก็ช่วยส่งเสริมการตลาดให้คนญี่ปุ่นสนใจมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยมากกว่าแต่ก่อน สิ่งสำคัญที่ทำให้พวกเขาอยากมาท่องเที่ยวบ่อยๆ คือ การสร้างสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ญี่ปุ่น รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้ออำนวย เช่น ป้ายต่างๆ ควรมีภาษาญี่ปุ่นอธิบายกำกับไว้ หรือพนักงานควรสื่อสารภาษาพื้นฐานได้ จึงทำให้เจ้าของธุรกิจสมัยนั้นต้องปรับตัวสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้มีบรรยากาศญี่ปุ๊นญี่ปุ่น เพื่อจูงใจลูกค้าแดนซากุระให้มาอุดหนุนบ่อยๆ ขณะเดียวกัน คนไทยเมื่อ 5 ปีก่อน (และปัจจุบัน) ก็ชื่นชอบไปญี่ปุ่นมากที่สุดกว่า 1 ล้านคน/ปี หรือประมาณ 1.4 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยทั้งหมด ด้วยสภาพแวดล้อมที่สวยงามจากการออกแบบเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งระบบการขนส่งสาธารณะสะดวกสบาย การดีไซน์อาคารทันสมัย อากาศดี ถ่ายรูปตรงไหนก็สวย และคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย จึงทำให้ชาวไทยหลายคนติดใจประเทศญี่ปุ่นอย่างทวีคูณ ตัดภาพมาช่วงที่ไม่ได้บินต่างประเทศ กลับสู่ชีวิตจริงในเมืองไทยที่ต้องเจอกับปัญหารถติดขัด มลพิษบนท้องถนน น้ำคลองเน่าเสีย […]

Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

The Female Gaze นิทรรศการโปสเตอร์หนังที่ออกแบบผ่านสายตาผู้หญิง

ในโลกนี้มีอุตสาหกรรมและสายงานที่ถูกครอบงำโดยผู้ชายอยู่จำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ เห็นได้ตั้งแต่ผู้กำกับ ตากล้อง และทีมโปรดักชัน มากไปกว่านั้นบนเวทีรางวัลน้อยใหญ่คณะกรรมการก็มักเป็นผู้ชาย และถ้าสังเกตสักหน่อยคุณคงเห็นผู้ได้รับรางวัลที่มักเป็นผู้ชายด้วยเช่นเดียวกัน วงการคนทำงานออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์เองก็ไม่ต่างกัน ถ้าไปไล่ดูรายชื่อนักออกแบบบรรดาโปสเตอร์ภาพยนตร์ทั้งฟอร์มใหญ่ฟอร์มเล็กที่ผ่านๆ มา จะพบว่านักออกแบบมักเป็นผู้ชายเสียส่วนมาก บวกกับด้วยความที่นักออกแบบชายยึดสนามงานนี้มาอย่างเนิ่นนาน ทำให้นักออกแบบหญิงมักถูกละเลยมองข้ามไป Eileen Steinbach หรือที่รู้จักในชื่อ SG Posters นักออกแบบและนักวาดภาพประกอบจากเยอรมนีที่มีลูกค้าตั้งแต่ผู้สร้างภาพยนตร์อินดี้ไปถึงสตูดิโอใหญ่ๆ อย่าง Disney และ Pixar ทั้งยังคลุกคลีกับคอมมูนิตี้ศิลปินคนอื่นๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นประจำ จึงคิดไอเดียทำโปรเจกต์โปสเตอร์ภาพยนตร์ชื่อ THE FEMALE GAZE ขึ้น เธอเล่าว่าเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนที่ได้เข้ามาในคอมมูนิตี้คนทำโปสเตอร์ภาพยนตร์ เธอเจอนักออกแบบผู้หญิงน้อยมาก อีกนัยหนึ่งคือสายงานนี้เป็นสนามที่ผู้ชายครอบงำ จนเมื่อไม่นานมานี้ เธอได้เห็นผู้หญิงเริ่มเข้ามาทำงานในสายงานนี้มากขึ้น “มันเป็นความรู้สึกดีจริงๆ ที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง จนในที่สุดก็จุดประกายฉันให้เกิดไอเดียโปรเจกต์โปสเตอร์นี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเฉลิมฉลองให้ศิลปินเจ๋งๆ เหล่านี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเหล่าผู้หญิงผู้แข็งแกร่งในโลกภาพยนตร์ ทั้งต่อหน้าและลับหลังกล้อง” THE FEMALE GAZE คือโปรเจกต์ออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้นักออกแบบผู้หญิงส่งผลงานออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ (ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่ตัวเอกเป็นผู้หญิง) มาจัดแสดงในเว็บไซต์ poster-project.com พร้อมกับคำอธิบายถึงตัวเองและช่องทางในการติดต่อ แม้จำนวนโปสเตอร์ภาพยนตร์จะยังไม่เยอะมากนัก […]

Bangkok Suit ชุดล้ำๆ ที่จะทำให้ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ อย่างไม่หวั่นแม้วันหนักมาก

จะดีแค่ไหนถ้าเราจะเริ่มที่ตัวเองด้วยการทำชุดที่สวมแล้วเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ในกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ เราได้ชม Dune ภาพยนตร์ Sci-Fi ฟอร์มยักษ์ ที่กำกับโดยเดนิส วิลล์เนิฟ นอกจากเนื้อเรื่องอันเข้มข้นที่ว่าด้วยการแก่งแย่งชิงดีของเหล่าผู้มีอำนาจ ผสมผสานกับเกมการเมืองที่ทำเอานึกถึงสถานการณ์บ้านเราแล้ว สิ่งที่ทำให้เราจดจำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มากขึ้นคือ องค์ประกอบต่างๆ อย่างดาวแห่งทะเลทราย หนอน การต่อสู้สุดเจ๋ง ไปจนถึงชุดสูทสุดเท่ Stillsuit ชุดสูทนี้มีที่มาจากสภาพแวดล้อมบนดวงดาวที่ไม่มีแหล่งน้ำบนผืนดินเลย จึงกลั่นน้ำเสียจากร่างกายมนุษย์ให้เป็นน้ำดื่มได้ ทั้งยังมีเกราะหุ้มรักษาน้ำไม่ให้ระเหยออกจากร่างกายง่ายๆ พอเห็นแบบนั้น เราก็หวนนึกถึงสภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯ ที่ชวนให้ต้องปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการที่ฝนตกไม่นานน้ำก็ท่วมถึงเข่า อากาศที่ร้อนจนเกินทน ฝุ่นควันมลพิษจากรถติด ทางเท้าที่ไม่เอื้อให้คนเดิน ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์อะไรนิดหน่อยก็โดนตั้งข้อหา คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอลองออกแบบ ‘Bangkok Suit’ บอดี้สูทสำหรับเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ยุคนี้ดูซะหน่อย 1) กันน้ำได้ แห้งไว – จากปัญหาฝนตกน้ำท่วมขังที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานนม เราเลยออกแบบให้ชุดมีคุณสมบัติกันน้ำได้ แถมแห้งไวซะเลย คราวนี้ต่อให้ฝนจะตกเบา-หนักแค่ไหนประชาชนตัวเล็กๆ อย่างเราก็รับมือได้ ต่อให้ต้องตากฝนไปเรียนหรือทำงานก็บ่ยั่น 2) นวัตกรรมที่ทำให้ใส่แล้วเย็นสบาย – จะมีอะไรตอบโจทย์เมืองไทยไปกว่าเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเย็นเหมือนติดแอร์ บอดี้สูทของเราจึงพร้อมรับมือกับอากาศร้อนทุกเลเวลกับนวัตกรรมพลังงานแอร์ปรับความเย็นได้ที่ติดตั้งในชุด ยังไม่พอในเมื่อแดดเมืองไทยแรงสุดๆ เราเลยออกแบบให้แขนเสื้อยืด-หดได้ด้วย รับรองว่าเย็นฉ่ำแม้จะต้องเดินในเมืองที่ต้นไม้น้อยกว่าตึกแบบกรุงเทพฯ […]

Anstalten ดีไซน์เรือนจำให้เป็นมิตร เพื่อเยียวยาผู้ต้องขังกลับสู่สังคม

Schmidt Hammer Lassen (SHL) ออกแบบ ‘Anstalten’ เรือนจำที่มีความปลอดภัยสูงสุดในเกาะกรีนแลนด์ให้เหมือนหมู่บ้านขนาดย่อมที่รองรับนักโทษได้ 76 คน

Trombia Free รถเก็บขยะไฟฟ้าไร้คนขับคันแรกของโลก ลด CO2 ประหยัดพลังงาน และทำงานได้ในทุกสภาพอากาศ

ขยับเข้าใกล้โลกอนาคตที่เราฝันถึงกันอีกนิด ด้วย ‘Trombia Free’ รถเก็บขยะไฟฟ้าไร้คนขับแบบเต็มรูปแบบคันแรกของโลก นวัตกรรมใหม่ล่าสุดจาก ‘Trombia Technologies’ บริษัทผลิตเครื่องมือทำความสะอาดถนนสัญชาติฟินแลนด์ที่นอกจากทำความสะอาดถนนแล้ว รถคันนี้ยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ถึงปีละ 3 ล้านเมตริกตันอีกด้วย! Trombia Free ทำงานได้ในทุกสภาพอากาศ และมีชั่วโมงทำงานรวมกันทั้งปีมากถึง 500 ชั่วโมงติดกัน ทั้งยังประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องกวาดถนนทั่วไปถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเทคโนโลยีทำความสะอาดใหม่ล่าสุดที่ไม่ได้ใช้น้ำ แต่ใช้ระบบกรองฝุ่นแบบ ‘Cyclone’ การทำงานแบบ ‘Aerodynamic’ รวมกับวิธีการเพิ่มความชื้นในการกรองฝุ่น ซึ่งเมื่อเทียบชั่วโมงทำงานและการใช้พลังงานของเครื่องกวาดถนนทั่วไปถือว่า Trombia Free ใช้พลังงานได้คุ้มค่ากว่าถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังเสียงเบากว่า เหมาะแก่การใช้งานตอนกลางคืนหรือในบ้านอีกด้วย  นอกจากนี้ ‘Trombia Free’ ยังติดตั้งระบบเผื่อระยะปลอดภัยรอบคันรถ ที่จะทำให้รถหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับสิ่งที่เข้าใกล้ ถึงในปี 2021นี้ ‘Trombia Free’ ยังจะอยู่ในช่วงทดสอบ แต่ภายในต้นปี 2022 เราจะได้ใช้รถเก็บขยะไฟฟ้าไร้คนขับนี้กันอย่างทั่วถึงแน่นอน Source : Yanko Design | https://tinyurl.com/w6fe5j54

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.