รวมบทแก๊งคอลเซ็นเตอร์มิจฉาชีพ จับไต๋กลโกง ไม่โดนหลอกเอาเงิน

แก๊งคอลเซ็นเตอร์และ SMS มิจฉาชีพ น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่คนไทยเจอบ่อยที่สุดในช่วงที่ผ่านมานี้ บางคนอาจแค่รู้สึกรำคาญเวลามีสายโทรหรือ SMS เข้ามา แต่กับบางคนอาจโดนหลอกเสียเงินไปหลายหมื่นหลายแสน ถึงขนาดหมดตัวเลยก็มี แม้ว่าจะมีทั้งหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนออกมาให้ความรู้และเตือนถึงกลวิธีของมิจฉาชีพเหล่านี้แล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะช่วยป้องกันประชาชนได้ เพราะมิจฉาชีพเองก็มีหลายขบวนการ รวมถึงมีวิธีหลอกลวงใหม่ๆ มาใช้อยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนมารู้เท่าทันกลโกงของแก๊งมิจฉาชีพ และเข้าใจว่าเวลาหน่วยงานหรือบริษัทที่มักถูกมิจฉาชีพใช้ชื่อแอบอ้างอยู่บ่อยๆ มีนโยบายการติดต่อผู้ใช้งานอย่างไร จะได้ระแวดระวัง ไม่ถูกหลอกกัน มิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทขนส่ง DHL มุกนี้น่าจะเป็นหนึ่งในมุกคลาสสิกที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้เลยก็ว่าได้ จนคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้คุ้นเคยกับบริษัทขนส่ง DHL Express นัก ต่างติดภาพจำไปแล้วว่าชื่อบริษัทนี้คือชื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการขนส่งจริงๆ DHL Express เป็นที่รู้จักในแง่ของบริการขนส่งด่วนและบริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งนี่อาจทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้อุบายทำนองว่ามีพัสดุจากต่างประเทศติดศุลกากร หลอกว่าคุณได้รับรางวัลและของอยู่ในระหว่างจัดส่ง กล่าวหาว่าคุณส่งของผิดกฎหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องมีการขอข้อมูลส่วนตัว รวมถึงตรวจสอบเงินในบัญชีแล้วจะคืนให้เมื่อสอบสวนแล้วพบว่าบริสุทธิ์ ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ มียอดผู้เสียหายจากการหลอกลวงประเภทนี้กว่าร้อยคนแล้ว รวมมูลค่าความเสียหายเกือบ 40 ล้านบาท ถึงจะมีการให้ความรู้จาก DHL Express และเป็นข่าวใหญ่มาแล้วหลายครั้ง แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังตกเป็นเหยื่อ จากข้อมูลการประกาศเตือนภัย DHL Express แจ้งว่าไม่มีนโยบายติดต่อลูกค้าผ่านระบบอัตโนมัติและไม่ให้ลูกค้าแอดไลน์ ใครที่ได้รับสายแนวนี้ […]

โซล เมืองคนเดินเท้าเป็นใหญ่ รัฐเพิ่มทางม้าลายซัปพอร์ตประชาชน

ถ้าเคยไปเยือนโซล ประเทศเกาหลีใต้ คุณน่าจะเคยได้สัมผัสทางเท้าที่มีคุณภาพ และการข้ามถนนที่แสนสะดวกสบาย แถมยิ่งนานวัน ระบบการสัญจรของเมืองก็ยิ่งพัฒนาขึ้น ล่าสุด ทางรัฐบาลกรุงโซล (The Seoul Metropolitan Government) รายงานว่า ได้ขยายการติดตั้งทางม้าลายใหม่ๆ ทั่วเมืองทั้งสิ้น 28 แห่งในปี 2021 โดยคำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมของทางเท้าที่ปลอดภัยต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแผนการที่จะติดตั้งทางม้าลายอีก 31 แห่งในปี 2022 ก่อนหน้านี้ รัฐบาลกรุงโซลดำเนินหลายๆ โปรเจกต์ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านนโยบายการจราจรบนยานพาหนะ จนกระทั่งนำมาสู่นโยบายการสัญจรทางเท้า โดยส่วนสำคัญของโครงการ คือการติดตั้งและขยายทางม้าลาย ซึ่งสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินถนนได้อย่างมาก และด้วยประสบการณ์ด้านบวก ที่ชาวเมืองได้รับจากการใช้งานได้ดีจริงๆ จึงทำให้โปรเจกต์นี้ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนในวงกว้าง ทั้งนี้ รัฐบาลกรุงโซลได้ติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยก 14 ทาง ในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง เพื่อบรรเทาความไม่สะดวกของคนเดินเท้า ที่เคยต้องเดินอ้อมเส้นทางไกลๆ ในช่วงก่อนหน้า ขณะเดียวกันก็สร้างสภาพแวดล้อมของทางข้ามที่ปลอดภัยสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และยังมีการอำนวยความสะดวกด้วยการติดตั้งทางม้าลายต่างๆ เพิ่มเติมในส่วนทางเดินเท้าที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับทางเดินอื่นๆ ด้วย สำหรับการขยายทางม้าลายอย่างต่อเนื่องในปี […]

คนไทยเสียเงินตรวจ ATK เกือบ 7 พันบาทต่อปี ราคาที่ต้องจ่ายเองเพื่อตอบว่า ‘กูติด (โควิด) ยัง?’ 

2 ปีแล้วที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การระบาดของโควิด-19 แม้มีการฉีดวัคซีนไปหลายพื้นที่ แต่ใช่ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีขึ้นมากนัก เพราะเชื้อไวรัสพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยๆ และจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังคงสูงอยู่ แม้สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง ‘โอไมครอน’ มีอาการไม่รุนแรงเท่าเดิมแต่คนก็ติดเชื้อง่ายขึ้นมาก ถึงสถานการณ์หนักหนาสาหัส แต่ทั้งผู้ประกอบการ คนค้าขาย และคนทำงานก็ไม่สามารถล็อกดาวน์หรือปิดร้าน โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐได้อีกแล้ว นั่นทำให้ประชาชนต้องหาหลักยืนยันความมั่นใจให้ตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานรอบตัวว่า เรายังไม่ติดโควิด-19 จึงไม่แปลกที่ช่วงนี้เราจะเห็นคนโพสต์ภาพชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) กันเยอะเป็นพิเศษ  แต่ใครจะรู้บ้างว่าเบื้องหลังราคาของการยืนยันความปลอดภัยนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ แน่นอนว่าบางบริษัทอาจจัดเตรียมชุดตรวจ ATK ให้พนักงานใช้ แต่บางบริษัทไม่เป็นแบบนั้น ยังไม่นับบางคนที่กังวลถึงความน่าเชื่อถือของผลตรวจ ทำให้ต้องซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจซ้ำเอง รวมราคาแล้วไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ได้ ตามปกติแล้วถ้ายึดตามระยะเวลา การตรวจ ATK จะมีรอบการตรวจที่ 3 – 5 วันต่อหนึ่งเทสต์ ถ้านับเป็นเลขกลมๆ เข้าใจง่ายเท่ากับว่าเราจะใช้ชุดตรวจ ATK 1 ชุดต่อ 1 สัปดาห์ ถ้าขยับมานับเป็นระยะเวลา 1 เดือน เราต้องใช้ชุดตรวจ ATK 4 […]

“เด็กฝึกงานคือแรงงานในอนาคต” ซีเรียสเรื่องการฝึกงานและความเป็นธรรมกับสมัชชาIntern

ไม่ได้ค่าตอบแทน ไม่มีสวัสดิการ ไม่ได้เครดิต พี่เลี้ยงให้ทำแต่งานง่ายๆ บาดเจ็บจากการฝึกงาน โดนบริษัทเอารัดเอาเปรียบ หรือทำงานหนักข้ามวันข้ามคืน เราเชื่อว่าปัญหาเหล่านี้ต่อให้คุณไม่มีประสบการณ์ฝึกงานมาก่อนก็คงเคยสัมผัสมาบ้าง ไม่ว่าเสียงบ่นระบายจากคนรอบข้าง คนในโซเชียลมีเดีย ข่าวสารสื่อออนไลน์ หรือเรื่องเล่าต่อกันมา เกิดเป็นแนวคิดการฝึกงานคือการหาประสบการณ์ อย่าไปคาดหวังเงินหรือสวัสดิการตอบแทนนัก บริษัทสอนงานให้ก็ดีแล้ว เป็นต้น ทั้งที่ถ้าพิจารณาตามความจริงแล้ว นี่คือสิทธิที่เด็กฝึกงานพึงได้รับ และไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพียงผู้เดียว เพราะรัฐเองก็ควรเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจด้วย เราไม่รู้ว่าคุณมองเรื่องการฝึกงานยังไง แต่อย่างน้อยมีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นความสำคัญของประเด็นนี้ และหยิบยกขึ้นมาสื่อสารในนามของ ‘สมัชชาIntern’ ซึ่งประกอบด้วย สุดปรารถนา ชาตรี, ภูริภัทร ณ สงขลา และนภเศรษฐ์ ผลจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “อย่างแรกต้องเชื่อก่อนว่าเราเป็นแรงงานคนหนึ่ง ต้องเชื่อในสิทธิมนุษยชนที่เราพึงได้ก่อนที่จะตั้งคำถามถัดไป” นี่คือแนวคิดที่สมัชชาIntern ต้องการนำเสนอกับสังคม โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้องเข้าฝึกงาน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิและเสียงของตัวเอง ให้กล้าตั้งคำถาม ต่อรอง และเรียกร้องกับผู้เกี่ยวข้อง คุณภาพชีวิตของเด็กฝึกงานไทยจะได้ดีขึ้นกว่านี้ มากไปกว่านั้น พวกเขายังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฝึกงาน โดยทำหน้าที่พูดคุยกับผู้ประกอบการและสื่อสารข้อเสนอสู่สังคม ทำให้นักเรียนนักศึกษาจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ พร้อมเอ่ยตรงกันว่า “ในที่สุดก็มีสิ่งนี้เสียที”  เพราะเคยตั้งคำถามกับการฝึกงานมาเหมือนกัน เราจึงนัดคุยกับสุดปรารถนาและภูริภัทร […]

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

หนี้สาธารณะ ภาระหนี้ที่ส่งผลต่อทุกคนตั้งแต่ลืมตาตื่น จนอาจยาวนานถึงหลับตาตาย

‘หนี้สาธารณะ’ คำคุ้นหูที่ทำหลายคนส่ายหัว และอาจมองเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่จำเป็นต้องรู้ แต่ถ้าบอกว่าสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อค่ารถสาธารณะที่เราใช้บริการทุกวัน หรือค่าอาหารกลางวันที่เรากินทุกมื้อ สิ่งเหล่านี้มีราคาต้องจ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ พูดง่ายๆ คือมีเงินเท่าเดิม แต่ของทุกอย่างกลับแพงขึ้น แล้วแบบนี้หนี้สาธารณะยังเป็นเรื่องไกลตัวอยู่ไหม?  หนี้สาธารณะกำลังอยู่รอบตัวเรา และอาจทำให้โปรเจกต์ใหญ่ๆ อย่างรัฐสวัสดิการ อินเทอร์เน็ตฟรีเพื่อประชาชน ระบบขนสาธารณะราคาถูก ระบบการศึกษาที่ดี อาจเกิดขึ้นไม่ได้ในประเทศไทยอีกต่อไป รายงานล่าสุดเมื่อมิถุนายน 2564 สะท้อนว่าปัจจุบันคนไทยกำลังใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับหนี้สาธารณะที่เกาะบนหลังจำนวนกว่า 8,825,097.81 ล้านบาท เมื่อเทียบสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดภายในประเทศ (GDP) จะอยู่ที่ 55.20 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขเหล่านี้ทวีความสำคัญกับชีวิตของเรามหาศาล เราจึงต้องรู้และเข้าใจข้อมูลชุดนี้แบบห้ามละสายตา  เรื่องยากๆ ชวนปวดหัวเหล่านี้ทำให้เราต้องไปพูดคุยกับ ‘ดร.เดชรัต สุขกำเนิด’ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อคลายข้อสงสัย และเปลี่ยนเรื่องหนี้ให้กลายเป็นเรื่องน่าเรียนรู้ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น หนี้สาธารณะ หนี้ที่ไม่ได้ร้องขอ แต่ทุกคนจำเป็นต้องช่วยจ่ายทุกสลึง กล่าวให้ง่ายที่สุด หนี้สาธารณะตอนนี้คือหนี้ที่รัฐบาลก่อ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่รัฐใช้เงินในแต่ละปีมากกว่ารายได้ที่หามา เรียกง่ายๆ ว่า ‘งบประมาณขาดดุล’ หรือภาษาชาวบ้านว่า เงินช็อต สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเงินไม่พอใช้ คือการที่รัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องกู้หนี้ยืมสินจากแหล่งเงินต่างๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อสร้างสมดุลของบัญชีรายรับ-รายจ่าย […]

เพราะหนังสือคือการเมือง การแปลจึงเป็นการเคลื่อนไหว : คุยกับแรงงานอักษรจาก Soi Squad

เราอยู่ในยุคสมัยแห่งความย้อนแย้ง ในขณะที่การตื่นตัวทางการเมืองเบ่งบาน วงการหนังสือคึกคักไปด้วยผู้คนที่สงสัยใคร่อ่านงานเขียน #เบิกเนตร ส่งให้บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง และหนังสือแปลแนววิชาการที่เคยเงียบเหงา กลายเป็นหนังสือขายดีที่พบได้ในมือวัยรุ่นหรือคนทำงานทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่าในระนาบเวลาเดียวกัน กลับมีข่าวตำรวจบุกเข้าไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อยึดหนังสือที่อ้างว่า ‘มีเนื้อหาผิดกฎหมาย’ (เล่มเดียวกับที่ขายดีนั่นแหละ) และมีหนังสือหลายเล่มถูกห้ามเผยแพร่แจกจ่ายในราชอาณาจักร ย้อนแย้งจริงไหมเล่า  หากประชาชนขวนขวายที่จะอ่าน รัฐบาลจะสั่งห้ามไปทำไม หน่วยงานที่มีอำนาจมากมายจะกลัวอะไรกับแค่หนังสือ ‘หนังสือ การแปล และถ้อยคำสัมพันธ์ สำคัญอย่างไรกันแน่กับการเมือง?’ เราทดคำถามนี้ไว้ในใจ  “ทีมซอยมองเห็นร่วมกันว่าการแปลและการตีพิมพ์เป็นการขับเคลื่อนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง การนำความคิดหรือตัวบทในภาษาหนึ่งมาพูดในอีกภาษามันได้พาเราข้ามผ่านพื้นที่ทางการเมืองในหลายมิติ” เป็นประโยคนี้ของเจน-จุฑา สุวรรณมงคล บรรณาธิการบริหารของซอย ที่ทำให้เรามั่นใจว่านี่แหละกลุ่มคนที่จะตอบคำถามให้เราได้! เราจึงรีบจดประโยคจากงานเสวนา บทจTalk ของสำนักพิมพ์บทจร แล้วอีเมลไปขอคุยกับทีมซอยทันที โชคดีของเราที่คำตอบของพวกเขาคือตกลง เรารู้จัก ‘ซอย | soi’ หรือ soi squad ครั้งแรกผ่านหนังสือ แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary) ผลงานเล่มบางๆ ที่พาคนอ่านไปครุ่นคิดเรื่องบรรทัดฐานทางเพศให้ลึกซึ้งผ่านเรื่องเล่าของผู้คนหลากหลาย ผลงานของ สำนักพิมพ์ซอย สำนักพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือแปลในประเด็นแสบๆ คันๆ ที่เป็นวาระสำคัญของยุคสมัย อย่างความหลากหลายทางเพศ […]

ไต้หวันสร้าง Hub อัจฉริยะให้นำถ่านใช้แล้วมารีไซเคิลได้แต้มซื้อของและใช้ขนส่งฟรีๆ

ทุกวันนี้คนไต้หวันใช้แบตเตอรี่เซลล์แห้ง จำพวกถ่านที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากถึง 11,000 ตัน หรือ 11,000,000 กิโลกรัมต่อปี สวนทางกับกำลังการรีไซเคิลของไต้หวันที่ทำได้แค่เพียง 4,000 ตันต่อปีเท่านั้น ด้วยสาเหตุนี้นี่เองทำให้เกิดสถานีรีไซเคิลแบตเตอรี่อัจฉริยะถึง 3 แห่ง ที่เปิดแบบไม่มีวันหลับใหลตลอด 24 ชั่วโมงในเมืองซินจู๋ (Hsinchu) ทั้งในพื้นที่สาธารณะ ร้านชานมไข่มุก และมินิมาร์ต ซึ่งแต่ละ Hub รับแบตเตอรี่เซลล์แห้งไปรีไซเคิลได้ถึง 7 ขนาดด้วยกัน เช่น ถ่านหรือแบตฯ D, C, AA, AAA และ AAAA รวมถึงแบตเตอรี่ 9 โวลต์  หลิน ฉือเจียน (Lin Chih-chien) ผู้ว่าเมืองซินจู๋ตัดสินใจจับมือกับบริษัทสตาร์ทอัปรีไซเคิลชื่อ Ecoco โดยตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันยังช่วยลดการสัมผัสระหว่างกันในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วย  แต่จะให้ทำโปรเจกต์เบาๆ ก็คงไม่สมชื่อซินจู๋ เมืองแห่งเทคโนโลยี ดังนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนเลยสร้างแรงจูงใจดีๆ เพื่อให้ผู้คนนำถ่านและแบตเตอรี่มารีไซเคิลกันมากขึ้น ด้วยการให้แบตฯ แต่ละก้อนสามารถแลกแต้มได้ 2 รูปแบบ ทั้งแต้มจาก […]

เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เมื่อรัฐจัดลำดับความสำคัญผิด

ราคาที่ถูกที่สุดในการรับมือคือการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนให้รวดเร็ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาล

ประเทศไทยวันนี้ : งบสิ่งแวดล้อมต่ำเตี้ย กองขยะสูงลิ่ว

Thailand หรือ ‘Trash’ land โควิด-19 ระลอก 3 ครานี้ อะไรที่ยังไม่เห็น ก็จะได้เห็น เช่น ขยะล้นประเทศ แต่รัฐบาลชุด พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หักงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในรอบ 5 ปี (อิหยังหว่า) ยอมรับว่าหลังจากเปิดร่างงบประมาณประจำปี 2565 ในวงเงิน 3.1 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ที่ผลการโหวตลงมติในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ‘ผ่านวาระ’ แล้ว เรารู้สึกตงิดใจอยู่พักหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็ดูไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลยที่งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมปี 2565 จะถูกหักจาก 16,143 ล้านบาท (ปี 2564) เหลือ 8,534 ล้านบาท หรือลดลงถึง 47.14 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับงบด้านอื่นๆ ที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญมากกว่าปกติในช่วงวิกฤตโรคระบาดก็ถูกลดลงเช่นกัน แม้รัฐบาลพร่ำบอกประชาชนเสมอว่า ‘การ์ดอย่าตก’ และโยนความผิดไปให้ประชาชนที่ต้องออกไปทำมาหากินเมื่อติดโควิด-19 (แต่ไม่มีมาตรการเยียวยาครอบคลุมทุกคน) หลายๆ บริษัทจึงกำหนดนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้านในระลอก 3 แน่นอนวัฏจักรชีวิตติดเดลิเวอรี่ของคนเมืองจึงวนอยู่แค่เข้าแอปฯ สั่งของ […]

‘หนี้สาธารณะ’ ภาระของใคร

การกู้ยืมเงินของรัฐบาล เราเรียกหนี้นั้นว่า ‘หนี้สาธารณะ’ เป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังกู้ยืม รวมทั้งหนี้รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่รัฐเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งส่วนใหญ่กู้เงินมาเพื่อพัฒนาประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนในโครงการต่าง

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.