เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เมื่อรัฐจัดลำดับความสำคัญผิด

ราคาที่ถูกที่สุดในการรับมือคือการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนให้รวดเร็ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาล

ประเทศไทยวันนี้ : งบสิ่งแวดล้อมต่ำเตี้ย กองขยะสูงลิ่ว

Thailand หรือ ‘Trash’ land โควิด-19 ระลอก 3 ครานี้ อะไรที่ยังไม่เห็น ก็จะได้เห็น เช่น ขยะล้นประเทศ แต่รัฐบาลชุด พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หักงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในรอบ 5 ปี (อิหยังหว่า) ยอมรับว่าหลังจากเปิดร่างงบประมาณประจำปี 2565 ในวงเงิน 3.1 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ที่ผลการโหวตลงมติในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ‘ผ่านวาระ’ แล้ว เรารู้สึกตงิดใจอยู่พักหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็ดูไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลยที่งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมปี 2565 จะถูกหักจาก 16,143 ล้านบาท (ปี 2564) เหลือ 8,534 ล้านบาท หรือลดลงถึง 47.14 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับงบด้านอื่นๆ ที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญมากกว่าปกติในช่วงวิกฤตโรคระบาดก็ถูกลดลงเช่นกัน แม้รัฐบาลพร่ำบอกประชาชนเสมอว่า ‘การ์ดอย่าตก’ และโยนความผิดไปให้ประชาชนที่ต้องออกไปทำมาหากินเมื่อติดโควิด-19 (แต่ไม่มีมาตรการเยียวยาครอบคลุมทุกคน) หลายๆ บริษัทจึงกำหนดนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้านในระลอก 3 แน่นอนวัฏจักรชีวิตติดเดลิเวอรี่ของคนเมืองจึงวนอยู่แค่เข้าแอปฯ สั่งของ […]

‘หนี้สาธารณะ’ ภาระของใคร

การกู้ยืมเงินของรัฐบาล เราเรียกหนี้นั้นว่า ‘หนี้สาธารณะ’ เป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังกู้ยืม รวมทั้งหนี้รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่รัฐเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งส่วนใหญ่กู้เงินมาเพื่อพัฒนาประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนในโครงการต่าง

ชีวิตดีๆ ที่ลงตัวเริ่มที่เราหรือรัฐ? | Soundcheck

เมืองที่ดีเกิดขึ้นได้ที่ตัวเราก่อนจริงหรือ ภาครัฐล่ะ
คำถามข้างต้นคงเป็นคำถามสำคัญแห่งยุคที่กำลังถูกหยิบยกมาพูดคุยกันอย่างกว้างขว้าง เพราะเมื่อเรากำลังจะพูดถึงการร่วมกันสร้างเมืองที่ดี เมืองที่ดีของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ตามสิ่งที่คนคนนั้นให้ความสำคัญ
แต่ในเชิงของเมืองที่ดี อย่างที่ควรเป็นเกิดขึ้นได้เพียงความต้องการของคนเดียวจริงหรือ หรือรัฐจะมีส่วนอย่างไร Soundcheck ตอนนี้เราจึงออกไปรับฟังเสียงเพื่อสะท้อนความในใจคนเมืองว่า เขาคิดเห็นกันอย่างไรต่อประเด็นนี้ ใน Soundcheck เมืองที่ดีใครสร้าง


‘เราชนะ’ แล้วหรือยัง

ชวนตั้งคำถามกับรัฐบาลถึงโครงการต่างๆ ว่ามาตรการเหล่านั้นครอบคลุมทุกคนจริงหรือไม่ ข้อดีที่อยากชื่นชม และข้อบกพร่องที่อยากให้รัฐทบทวน

ส่องมาตรการ ‘ไต้หวัน’ สู้ COVID – 19 ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงหน้ากากอนามัยอย่างเท่าเทียม

ตอนนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัยอย่างหนัก ถึงแม้ภาครัฐจะพยายามแก้ไขปัญหาแต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นผลเท่าไหร่นัก ไม่รู้เป็นเพราะผลิตไม่ทันหรือมีใครแอบกักตุนไว้เพื่อเอาไปขายเก็งกำไรก็ไม่แน่ใจ ปัญหานี้ไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศในแทบเอเชียก็ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส COVID – 19 ไปตามๆ กัน แต่สิ่งหนึ่งที่หลายประเทศแตกต่างจากเราคือ เขามีมาตรการควบคุม เพื่อทำให้ประชาชนในประเทศได้รับหน้ากากอนามัยอย่างทั่วถึงและซื้อได้ในราคาที่เป็นธรรม | ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก WHO แต่มีระบบประกันสุขภาพที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก อย่าง ‘ไต้หวัน’  เพื่อนบ้านไม่ใกล้ไม่ไกล ก็มีสิ่งน่าสนใจ คือเขามีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติที่เข้มแข็งมากๆ เห็นได้จากที่นิตยสารและสำนักข่าวระดับโลก อย่าง The Economist และ Bloomberg ต่างเคยจัดอันดับดัชนีการเข้าถึงและประสิทธิภาพทางสาธารณสุขของไต้หวันเป็นอันดับต้นๆ ทั้งๆ ที่ไต้หวันไม่ได้เป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ด้วยซ้ำ โดย ‘ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ’ หรือ National Health Insurance (NHI) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ 1995 ภายใต้การบริหารงานของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ NHI เป็นระบบประกันสุขภาพกองทุนเดียว และผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ต้องสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสุขภาพร่วมกับรัฐบาล อัตราเงินสมทบอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.69 ของรายได้ ปัจจุบันการเข้าถึงการรักษาพยาบาลครอบคลุมจำนวนประชากรได้ถึง 99%  “ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของไต้หวันได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในระบบประกันสุขภาพที่ดีที่สุดในโลก เมื่อเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส COVID […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.