สเปนเปลี่ยนเรือนจำให้กลายเป็นพื้นที่ชุมชน โรงอาหาร และที่พักพิงของคนไร้บ้าน

หลายครั้งที่สถานที่เก่าแก่ทั่วโลกถูกปรับปรุงและเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เช่นเดียวกับ ‘El Roser Social Center’ ในเมืองทาร์ราโกนา ประเทศสเปน ที่อดีตเคยเป็นเรือนจำสำหรับคุมขังนักโทษตั้งแต่ปี 1929 จากนั้นถูกดัดแปลงเป็นอาคารเรียนในปี 1979 และล่าสุดในปี 2022 เรือนจำแห่งนี้ถูกเปลี่ยนอีกครั้งโดย ‘Josep Ferrando Architecture’ สตูดิโอสถาปัตยกรรมของบาร์เซโลนา ให้กลายเป็นพื้นที่ชุมชนใจกลางเมือง เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนในเมืองให้มากขึ้น Josep Ferrando Architecture เข้ามามีส่วนช่วยในการดูแลและฟื้นฟูให้เรือนจำกลับมาอยู่ในสภาพดังเดิมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเผยให้เห็นถึงโครงสร้างและรูปแบบการก่อสร้างเรือนจำในอดีต อีกทั้งยังมีการออกแบบโครงสร้าง และมองหาวัสดุเพิ่มเติม เพื่อเปลี่ยนให้พื้นที่เรือนจำเดิมสามารถรองรับการใช้งานที่มีจุดประสงค์ใหม่ในการเป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชน โรงอาหาร และสถานที่พักพิงของคนไร้บ้านได้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจในท้องถิ่น และรวมอยู่ในคลังมรดกทางสถาปัตยกรรมของเมือง Tarragona ทำให้สตูดิโอต้องดำเนินงานการซ่อมแซมฟื้นฟู และต่อเติมส่วนอื่นๆ เข้าไปอย่างระมัดระวัง  โดยประตูทางเข้าและทางเดินของเรือนจำยังถูกรักษาคงสภาพไว้ดังเดิม แตกต่างไปเพียงตัวกำแพงทึบรอบลานเรือนจำที่ถูกรื้อถอนออกไป และแทนที่ด้วยโครงเหล็กสีแดงเพื่อให้ความรู้สึกโล่งโปร่งสบาย ลบภาพความอึมครึมของเรือนจำในอดีต กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนในเมืองสามารถเข้ามาใช้สถานที่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนโครงสร้างภายในเรือนจำถูกออกแบบให้กลายเป็นโรงอาหารขนาดใหญ่ของเมืองที่เปิดให้ประชาชนและคนไร้บ้านรับประทานอาหารภายในได้ฟรีเช่นกัน นอกจากนี้ ในส่วนของห้องพักภายในเรือนจำเดิม ยังถูกเปลี่ยนเป็นที่พักพิงสำหรับคนไร้บ้านในเมือง พร้อมติดตั้งระบบทำความร้อนที่ได้ประสิทธิภาพสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ทำให้ El Roser Social Center ถือเป็นสถานที่แห่งแรกในสเปนที่รวบรวมบริการทางสังคมที่หลากหลายและครอบคลุมไว้ใต้หลังคาเดียวกัน ซึ่งทาง […]

Notre Dame’s New Landscape โปรเจกต์ออกแบบพื้นที่นอกมหาวิหารนอเทรอดาม ที่เต็มไปด้วยต้นไม้และฟังก์ชันเพื่อคนเมือง

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2562 เกิดเหตุไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม (Notre Dame) ศาสนสถานอายุ 850 ปีในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่สร้างความตกใจและความเสียดายให้คนทั่วโลก เพราะเพลิงที่ลุกไหม้สร้างความเสียหายให้ศาสนสถานอายุหลายศตวรรษแห่งนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างส่วนใหญ่ทำจากไม้ หลังจากเกิดเหตุ ฝรั่งเศสก็เริ่มแผนซ่อมแซมบูรณะตัวอาคาร ซึ่งคาดว่าอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานถึง 5 ปี ควบคู่ไปกับการเปิดประกวดแข่งขันด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมหรือบริเวณโดยรอบมหาวิหารขึ้นมาใหม่ โดยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการได้ประกาศรางวัลผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งคือ โปรเจกต์การออกแบบที่พัฒนาโดยภูมิสถาปนิก Bas Smets, บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมือง GRAU และบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านมรดกทางสถาปัตยกรรม Neufville-Gayet  การออกแบบพื้นที่โดยรอบมหาวิหารนอเทรอดามของทีมนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเชื่อมโยงสถานที่ทางประวัติศาสตร์ กับแม่น้ำแซนที่โอบล้อมมหาวิหารให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น จัตุรัสที่อยู่หน้ามหาวิหารถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง ช่วยให้ด้านหน้าของอาคารสูงเด่นเป็นสง่ากว่าเดิม และเพิ่มต้นไม้สีเขียวขจีที่รายล้อมอาคารและให้ร่มเงาแก่พื้นที่นั่งเล่น  ส่วนบริเวณด้านหลังของมหาวิหารจะถูกรวมเข้ากับสวนที่อยู่ติดกัน เปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะริมแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ทอดยาว 400 เมตร และจะมีการปลูกต้นไม้ใหม่เพิ่มถึง 131 ต้น กลายเป็นพื้นที่สีเขียวที่เหมาะแก่การเดินเล่นหรือนั่งพักผ่อนหย่อนใจเป็นที่สุด นอกจากนี้ ผู้ออกแบบยังติดตั้งระบบระบายความร้อนให้แก่พื้นด้วยการใช้ม่านน้ำความหนาเพียง 5 มิลลิเมตร ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิได้หลายองศาฯ อีกทั้งยังทำให้กำแพงโดยรอบมหาวิหารสะท้อนแสงแวววับ และกลายเป็นจุดถ่ายรูปสวยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวด้วย อีกหนึ่งการออกแบบที่น่าสนใจคือ การเปลี่ยนลานจอดรถที่อยู่ใต้จัตุรัสด้านหน้ามหาวิหารให้เป็นสถานที่ต้อนรับแขกขนาดใหญ่กว่า […]

กำปงกู พื้นที่สาธารณะที่ทำโดยประชาชน ไม่มีเวลาเปิดปิด ไม่จำกัดกิจกรรม และเติบโตไปพร้อมผู้ใช้งาน

แดดสี่โมงเย็นของยังคงส่องแสงแรงกล้า ช่วงเวลาที่ตะวันยังไม่คล้อยต่ำ บรรยากาศของเมืองปัตตานีมีลมพัดเป็นระลอก ที่ลานสเก็ตก็มีเพียงหนุ่มน้อยจากชุมชนบือตงกำปงกูสามนาย ที่มาพร้อมกับสเก็ตบอร์ดหนึ่งแผ่นเดินเข้ามาทักทาย บอกว่าเดี๋ยวอาจารย์อาร์ม-ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ที่นัดกันไว้ก็จะมาแล้ว  คุยไปไถเล่นไปโชว์ลีลาไปไม่นานเท่าไหร่ เสียงเครื่องยนต์ที่คุ้นเคยก็ดังขึ้นจากทางเข้ากำปงกู นักกีฬาสามคนหมดความสนใจสเก็ตอันจิ๋ว วิ่งไปเปิดท้ายรถซีดานสีเขียวแก่อย่างคุ้นเคยก่อนจะช่วยขนทั้งสเก็ตบอร์ด เซิร์ฟสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลดออกมาคอยท่าเพื่อนๆ  ตัวเล็กเหล่านี้จะรู้จักกำปงกูกันในฐานะลานสเก็ตประจำชุมชน ที่ข้างในเป็นห้องสมุดเปิดให้เข้าไปอ่านหนังสือ นั่งเล่น นอนเล่นกันได้ แต่เราขอนิยามที่นี่ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่จัดทำโดยประชาชนดีกว่า เป็นที่สาธารณะที่ไม่ได้มีไว้เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้ใช้งาน ไม่มีเวลาเปิด-ปิด ไม่มีค่าใช้จ่าย จะมาใช้งานตอนไหนก็ไม่ว่ากัน  01 ชุมชนบือตงกำปงกู เวลาผ่านไปไม่นานนัก ชาวแก๊งมากันเต็มลาน บางคนเหมือนจะเพิ่งเริ่มหัดยืนบนกระดานได้ไม่นาน บางคนดรอปอินลงมาจากแลมป์อย่างคล่องแคล่ว ส่วนบางคนก็ถนัดที่จะดูเพื่อนมากกว่า หลังจากทักทายและเซย์ฮายกันเรียบร้อย เราชวน อ.อาร์ม เข้าร่มไปยังบริเวณห้องสมุดที่ยังอยู่ในสภาพกึ่งทางการ คือบางมุมก็เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่บางจุดก็ยังรอการจัดการอยู่ “ทีแรกเป็นร้านชาบูมาก่อน เสร็จแล้วพอโควิดมันเล่นงานคนเช่าก็เลยเลือกที่จะเปลี่ยนลุคใหม่ไปเลย แล้วตอนนี้เขาก็เลิกทำไปก่อน ทุบทั้งหมดออกแล้วเหลือเศษกระจกไว้ให้เราดูต่างหน้า (ยิ้ม) ทีแรกเราตั้งใจทำแค่ลานสเก็ตข้างหลังนี้แหละ ก็เลยเริ่มจากการเคลียร์พื้นที่ด้านหลังที่เคยเป็นป่ามาก่อน กะว่าจะลาดปูนเฉยๆ เพราะเท่านี้ก็ไถสเก็ตได้แล้ว แล้วถ้าเกิดว่างๆ ก็อาจจะมาทำตลาดทำอะไรก็ว่าไป เราคิดแค่นั้นเอง “แต่ว่าในช่วงที่เราเข้ามาดูพื้นที่กันก็เห็นคนเข้ามาซื้อขายยาเสพติด ทั้งที่เราก็ยืนอยู่ตรงนั้นนะแต่เขาก็ทำธุรกรรมกันได้ (หัวเราะ) เราก็รู้สึกว่ามันทำให้พื้นที่ตรงนี้ฮาร์ดคอร์เกินไปหน่อย ก็เลยคุยกับทางทีมดีไซเนอร์แล้วบอกให้เขาออกแบบลานสเก็ตให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลยดีกว่า บังเอิญว่าคนออกแบบก็เล่นไม่เป็นด้วย […]

Ban Phru Cemetery Park ธีสิสเปลี่ยนสุสานบ้านพรุในหาดใหญ่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนเมือง

เมษายนคือช่วงเวลาที่ลูกหลานชาวจีนจะได้กลับมาเจอกันอีกครั้งใน ‘วันเช็งเม้ง’ ประเพณีสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จะต้องไปเคารพและทำความสะอาดหลุมศพของบรรพบุรุษทุกๆ ปี  แต่เคยคิดกันไหมว่าพื้นที่สุสานที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ นอกจากวันเช็งเม้งแล้ว พื้นที่หลายร้อยไร่ที่เราไปทุกปีได้ถูกใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาอื่นบ้างไหม? โดยเฉพาะสุสานที่อยู่ในย่านชุมชน อยู่ใกล้เมือง มีคนพลุกพล่าน ที่มีทั้งคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพในการใช้งานมากกว่าแค่ปีละครั้ง จะดีกว่าไหมถ้าสุสานที่อยู่ใกล้เมืองหลายแห่งถูกพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายโอกาส และเปิดให้คนภายนอกได้เข้าไปใช้งานนอกจากวันเช็งเม้งบ้าง  เก่ง-ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือลูกหลานชาวจีนในหาดใหญ่ที่ไปเช็งเม้งที่ ‘สุสานบ้านพรุ’ เป็นประจำทุกปี และมองเห็นความเป็นไปได้ของพื้นที่นี้มากกว่าการมาเช็งเม้ง จึงออกมาเป็นธีสิส ‘Ban Phru Cemetery Park’ โครงการพัฒนา ‘สุสานบ้านพรุ’ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนในเมือง เพื่อให้คนในหาดใหญ่ได้เข้าถึงพื้นที่สีเขียว มีกิจกรรมนันทนาการ มีพื้นที่เชิงวัฒนธรรม และที่สำคัญคือช่วยเพิ่มยอดขายหลุมฝังศพบนพื้นที่ที่เหลืออยู่ให้กับสุสานบ้านพรุได้อีกด้วย ธีสิสที่เริ่มจากการไปเช็งเม้ง เก่งเล่าให้ฟังว่า เหตุผลที่เลือกสุสานบ้านพรุมาทำธีสิสเพราะที่นี่คือที่ที่เขาและครอบครัวต้องไปเช็งเม้งเป็นประจำทุกปี จึงมีความคุ้นเคยและผูกพันกับสุสานนี้เป็นพิเศษ “​​แรงบันดาลใจของธีสิสนี้มาจากตอนปี 4 ได้เรียนวิชา Intro to Urban Architecture ซึ่งมีไฟนอลโปรเจกต์ให้ทำ ตอนนั้นสนใจเกี่ยวกับพื้นที่สุสานในเมืองอยู่แล้ว และสนใจเรื่องการนำมาปรับใช้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ จึงได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสุสานแต้จิ๋วในสาทร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณแปดสิบห้าไร่ และเปิดเป็นพื้นที่ให้ประชาชนโดยรอบเข้ามาใช้งานในเชิงสันทนาการได้ตั้งแต่ปี 2539 เป็นสุสานแรกๆ ที่เปิดให้คนเข้ามาใช้ทำกิจกรรมอย่างอื่นได้นอกจากพิธีธรรม” […]

กลุ่มเชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ ทำ Data เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่พื้นที่สาธารณะ ที่ดิน โรงพยาบาล และข้อมูลจำเป็นอื่นๆ

โปรเจกต์ ‘เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ’ เกิดจากการรวมพลังกายและใจของทีมดูแลเพจห้าคน ทำงานร่วมกับภาคีร่วมอื่นๆ ที่ช่วยกันดูแลพื้นที่เมืองเชียงใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน พื้นที่รวมพลังอันแสนอบอุ่นแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิจัย ‘การพัฒนากระบวนการเพื่อขับเคลื่อนประชาคมเมืองเชียงใหม่’ แผนงานคนไทย 4.0  นอกจากทีมจะมีกิจกรรมและข่าวสารดีๆ มากมายมาส่งต่อให้คนเมืองได้รับรู้และแสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่างไม่ขาดสาย ล่าสุดทางกลุ่มก็ได้ปล่อย City Data หรือ ข้อมูลเมือง ที่ทั้งเป็นประโยชน์และน่าสนใจมากๆ สำหรับชาวเมืองเผยแพร่ออกมาแบบสดๆ ร้อนๆ  ในพื้นที่เมืองหนึ่ง มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อย มีทั้งประโยชน์และปัญหาสะสมต้องแก้ไข Data เมืองที่สำรวจ รวบรวม และจัดทำออกมาเป็นแผนที่และตัวเลขเหล่านี้ จึงไม่ได้แค่ช่วยให้ข้อมูล แต่ช่วยในแง่การนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อได้ ข้อมูลที่ว่า ถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ https://chiangmaiwecare.com/citydata  ข้อมูลเมืองที่ปรากฏ มีทั้งหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องคน วัฒนธรรม และเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความหนาแน่นของแหล่งกำเนิดการจราจร ซึ่งชี้ให้เห็นความหนาแน่นมาก-น้อยตามระดับจากสูงไปสู่ระดับต่ำ  จำนวนการเช็กอินในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นเลยว่า จุดไหนเป็นจุดยอดฮิตที่มีคนใช้โซเชียลมีเดีย เช็กอิน หรือไปรวมตัวกันมากที่สุด  พื้นที่สาธารณะที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการระยะทาง 400 เมตรจากร้านกาแฟ ที่ดึงเอาจุดเด่นของเมืองกาแฟและคาเฟ่แบบเชียงใหม่ ออกมาจัดทำชุดข้อมูลเชื่อมโยงกับพื้นที่สาธารณะของเมืองได้อย่างน่าสนใจ ตำแหน่งอาคารเก่าทรงคุณค่าและอาคารสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ทรงคุณค่ากับรูปแบบการใช้ประโยชน์อาคารในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ซึ่งทำให้เรามองเห็นความสนใจของทีมผู้จัดทำที่มุ่งประเด็นโฟกัสไปที่การอนุรักษ์ และการปรับใช้สถาปัตยกรรมภายในเมือง เพื่อพัฒนาเมืองอย่างจริงจัง ข้อมูลและสถิติที่มากถึง […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

นิวยอร์กกำลังจะเปลี่ยนถนนกว่า 20 สายให้เป็นเขตปลอดรถยนต์

‘ทางเท้ากว้างขวาง คนเดินถนนปลอดภัย มีร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่ตลอดทาง’ นี่ไม่ใช่คำขวัญของเมืองนิวยอร์กแต่อย่างใด แต่เป็นแผนการทำเมืองในฝันให้เป็นจริงที่ Downtown Brooklyn Partnership กำลังทำอยู่  โปรเจกต์นี้คือการร่วมมือกันของ Downtown Brooklyn Partnership บริษัทออกแบบ Bjarke Ingels Group และบริษัทสถาปนิกและออกแบบผังเมือง WXY เพื่อวาง Roadmap พัฒนาเมืองพลิกโฉมพื้นที่สาธารณะย่านดาวน์ทาวน์บรูกลินให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตคนเมืองมากยิ่งขึ้น ด้วยการเรียกคืนถนนกว่า 20 สายเพื่อให้คนเดินเท้าใช้งานได้มากขึ้น รวมถึงปรับปรุงพื้นที่สาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานโดยให้ความสำคัญกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เข้าถึงง่ายและใช้ได้จริง เพราะปัจจุบันการสัญจรทั้งทางเท้าและบนถนนในย่านดาวน์ทาวน์บรูกลินหนาแน่นมาก Downtown Brooklyn Partnership จึงต้องการเปลี่ยนดาวน์ทาวน์บรูกลินจากศูนย์กลางของย่านธุรกิจที่เน้นการใช้รถยนต์เป็นหลัก ให้เป็นเมืองที่เป็นผู้นำด้านการออกแบบที่ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตของผู้คนมากขึ้น เพราะนับตั้งแต่การแบ่งเขตในปี 2004 ดาวน์ทาวน์บรูกลินได้เติบโตกลายเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของนิวยอร์ก มีประชากรเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในจำนวน 5 เขตเลือกตั้ง และมีการใช้งานของผู้คนที่หลากหลาย มีทั้งที่อยู่อาศัย ที่ตั้งของธุรกิจใหม่ๆ และมีงานรองรับความหลากหลายของผู้คน สภาพถนนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงไม่ได้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานอีกต่อไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนเดินถนน นักปั่นจักรยาน หรือคนที่โดยสารขนส่งสาธารณะ  ปัญหาที่ย่านดาวน์ทาวน์บรูกลินเผชิญอยู่ในขณะนี้มีหลากหลายสาเหตุ เช่น ขาดพื้นที่สีเขียว ยานพาหนะแออัด ทางเท้าแคบและต่ำกว่ามาตรฐาน มีการละเมิดป้ายจอดรถ กริดของถนนที่มีอยู่ที่ชวนสับสน อีกทั้งภูมิทัศน์ถนนทางเดิน […]

อ่างแก้วใหม่ในสายตา ‘เบิ้ล นนทวัฒน์’ สถานที่เยียวยาจิตใจในประเทศที่มีแต่เรื่องหัวค*ย

‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ด้วยโปรเจกต์งานสารคดีเรื่อง ‘ดินไร้แดน’ ‘ดอยบอย’ และอื่นๆ ที่ทำให้เขาต้องเดินทางมาทำงานที่นี่บ่อยๆ นอกจากลงพื้นที่ทำหนัง เวลาที่เบิ้ลต้องใช้ความคิดหรือเขียนบทเกี่ยวเนื่องกับโปรเจกต์ หรือในบางครั้งที่เขาอยากมาพักใจเฉยๆ เชียงใหม่กลายเป็นปลายทางหนึ่งที่เบิ้ลมาเยี่ยมเยียนแทบตลอดมา และช่วงที่เขาอยากพักผ่อนจากงานตรงหน้า ‘อ่างแก้ว’ คือหนึ่งใน Public Space ปรับปรุงใหม่ที่เขามีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียน ในฐานะผู้กำกับหนังและช่างถ่ายภาพ เขาจึงใช้กล้องที่พกติดตัวไปทุกที่ บันทึกภาพสิ่งที่เขาเห็นแล้วชอบกลับมาให้เพื่อนๆ ได้ดู แน่นอน เราแอบขอภาพเขาบางส่วนมาแบ่งปันทุกคนด้วย

ทางม้าลายเปลี่ยนไป Yinka Ilori เติมสีให้ถนนลอนดอนสนุก

ทางม้าลายลอนดอนเปลี่ยนไป๋ เมื่อ Yinka Ilori ดีไซเนอร์หนุ่มชื่อดังตัดสินใจพลิกโฉมทางม้าลายธรรมด๊า ธรรมดา 18 แห่งในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ให้เต็มไปด้วยสีสัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประจำปีอย่าง London Design Festival ปี 2021  Ilori ได้ลงมือเปลี่ยนแปลงแถบสีขาวและดำบริเวณทางแยก 11 แห่งบนถนน Tottenham Court ย่านใจกลางลอนดอนให้เต็มไปด้วยความสดใส ซึ่งแต่งแต้มด้วยสีน้ำเงิน ส้ม ชมพู ม่วง และเขียว นอกจากนี้ นักออกแบบหนุ่มยังได้แท็กทีมกับนักศึกษาจาก University of the Arts London เพื่อออกแบบทางแยกอีก 7 แห่ง โดยมีอาสาสมัครใจดีมาช่วยทาสีต่างๆ อย่างเต็มใจ ซึ่งแยกเจ็ดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ Queen Street นอกสำนักงานใหญ่ของ Bloomberg บริษัทผู้ให้ทุนสนับสนุนโครงการ  โปรเจกต์สุดน่ารักนี้เรียกว่า Bring London Together ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสุขสันต์ให้กับชาวเมืองลอนดอนหลายพันคนที่ใช้ท้องถนนทุกๆ วัน งานศิลปะแสนสนุกบนถนนในซีรีส์นี้ ไม่ได้มีแค่ทางเท้าหลากเฉดสีของ Ilori […]

ปี 2025 โซลจะมีสวนวัฒนธรรมริมน้ำที่ตอบโจทย์ทุกคน

กรุงเทพฯ มี ‘โอ่งอ่าง’ คลองที่สวยที่สุดในเมืองกรุง แต่ในปี 2025 ‘โซล’ เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้กำลังจะมีสวนสาธารณะวัฒนธรรมริมน้ำ ที่มีสามดีเทลสำคัญเป็นหัวใจหลักของการดีไซน์พื้นที่ หนึ่ง. ศิลปะ  สอง. วัฒนธรรม สาม. สเปซที่เชื่อมต่อทั้งย่าน Seongdong เข้าด้วยกันให้เดินไปมาหาสู่กันได้แบบทะลุปรุโปร่ง  ทั้งสามรายละเอียด ถูกคิดค้น ออกแบบเพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตของคนเมืองให้ทุกคนเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และได้พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดทั้งร่างกายและจิตใจกันถ้วนหน้า ทั้งนี้ในปี 2025 เรากำลังจะได้ยลโฉมสเปซบริเวณลำธาร Jungnangcheon (중랑천) ซึ่งจะถูกแปลงโฉมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนเกาหลีได้มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมริมน้ำแห่งใหม่ ซึ่งผสมผสานระหว่างศิลปะและการพักผ่อนหย่อนใจเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว  คลองหรือลำธารจุงนังเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำฮัน มีต้นกำเนิดมาจากหุบเขา Dorak ใน Yangju จังหวัด Gyeonggi ซึ่ง Cheonggyecheon ก็เป็นลำน้ำสาขาของ Jungnangcheon ลุ่มน้ำทั้งหมดมีพื้นที่ 299.9 ตารางกิโลเมตร ลำธารส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอึยจองบูและกรุงโซล อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาลโซล (The Seoul Metropolitan Government) ครั้งนี้จะมีการสร้างถนนใต้ดินระหว่างสะพาน Changdonggyo และสะพาน Sanggyegyo ภายใต้ลำธาร […]

เมื่อมังงะ ดวงรายเดือน พระ ทำให้รั้วไซต์ก่อสร้างเป็นมากกว่าที่กั้นและเซฟแบบคาวาอี้

นักท่องเที่ยวสายเสพงานศิลป์ เวลามาญี่ปุ่นน่าจะพุ่งไปงานนิทรรศการกรุบกริบต่างๆ ตามมิวเซียมเก๋อย่าง Mori Art Museum หรือ 21_21 DESIGN SIGHT จริงๆ แล้วถ้าสังเกตให้ดี ในเมืองแอบมีงานศิลปะน้อยใหญ่ซ่อนตัวอยู่ตามจุดต่างๆ มากมาย และจุดที่คนน่าจะมองข้ามกันมากที่สุดคือ ‘ไซต์ก่อสร้าง’ ตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นมาหลายปี ไม่มีวันไหนที่ออกจากบ้านแล้วไม่เจอการก่อสร้าง ภาพที่เห็นจนชินตามาพร้อมกับความชื่นชมเรื่องความสะอาด ความเงียบ และความเอาใจใส่ชุมชนรอบๆ เช่น มีการใช้แผ่นชีตเก็บเสียง เครื่องเก็บฝุ่น และล้างล้อรถที่ใช้ในการก่อสร้างทุกครั้ง เพื่อกันไม่ให้ความสกปรกหลุดออกมาภายนอก และมีพี่ รปภ. คอยโบกอำนวยความสะดวกให้ผู้สัญจร และในช่วงหลายปีมานี้ ไซต์ก่อสร้างพัฒนาความกรุบกริบด้วยการเติมความคาวาอี้ในหลายจุด จนต้องหยุดเดินหันมาถ่ายรูป ความเก๋ที่ว่านั้นมีหลากหลาย เช่น ผ้าใบลายเดียวกับสิ่งที่กำลังสร้าง รั้วกั้นเขตลายการ์ตูน (คนไทยน่าจะเคยเห็น AKIRA, ART OF WALL รั้วก่อสร้างลาย Akira ที่ชิบุยะ ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จก็จัดนิทรรศการแสดงผลงานเหล่านั้นต่อ แล้วเอารั้วก่อสร้างมาทำของเล่นขายด้วย) ผนังรั้วก่อสร้างผลงานออกแบบของศิลปิน รวมไปถึงกรวยเรืองแสง ไฟกะพริบลายดอกซากุระ บางครั้งเลยเถิดถึงขั้นเอาดวงรายเดือนตามราศีมาให้อ่านที่กำแพงด้วย แม้แต่ไซต์ก่อสร้างก็ยังคาวาอี้ ความเวรี่เจแปนนีสนี้มีที่มาอย่างไร ไปสำรวจที่มาความน่ารักเหล่านั้นกัน Animal Guard […]

‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.