The Old Men and The Park สูงวัยในสวนสาธารณะ

ในเมืองใหญ่แห่งนี้มีพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้มาพบปะ สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกันค่อนข้างน้อย จะมีก็แต่สวนสาธารณะที่ดูเข้าถึงง่ายหน่อย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักออกมาทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง รำมวยจีน เต้นลีลาศ หรือแอโรบิก บางคนมาเป็นประจำทุกวันจนกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ตอนเกษียณจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 10 – 20 ปี แต่หากพูดถึงการเดินทางมาสวนสาธารณะ เราได้พูดคุยกับผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่มาสวนเป็นประจำ ได้รับคำตอบว่า เพราะสวนอยู่ใกล้บ้านมากๆ ทำให้พวกเขาเดินเท้ามาได้เลย ถึงอย่างนั้นกับบางคนก็ใช้ระยะเวลาในการเดินทางค่อนข้างนาน มีความยากลำบากอยู่ไม่น้อย แต่พวกเขาก็ยอมเดินทางมา เพราะพื้นที่สวนสาธารณะในกรุงเทพฯ ไม่ได้มีตัวเลือกมากมายขนาดนั้น เราคิดว่า ถ้ามีสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ มากขึ้นกว่านี้ก็คงดี เพราะนอกจากส่งผลดีต่อผู้สูงอายุในแง่พื้นที่การออกกำลังกายและนัดหมายพบปะเพื่อนฝูงแล้ว ยังทำให้วัยรุ่นและวัยทำงานได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แถมยังเป็นหนทางปลีกตัวออกจากสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย แล้วมาผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติ หากไปดูในต่างประเทศ ทุกชุมชนล้วนมีสวนสาธารณะขนาดย่อมตั้งอยู่ ทำให้ใครๆ ต่างอยากออกมาเดินเล่นและพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก หรือในบางประเทศที่ออกแบบสวนสาธารณะได้สวยงามมากๆ ก็ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ด้วย

‘The new form of imprisonment’ ธีสิสทัณฑสถานเปิดในแนวตั้ง ที่อยากให้นักโทษและคนทั่วไปใช้พื้นที่ร่วมกัน

จะเป็นอย่างไรถ้ามีสถานที่หนึ่งที่เปิดให้ ‘นักโทษ’ และ ‘บุคคลทั่วไป’ ได้ทำกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นักโทษปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก ก่อนที่จะถูกปล่อยตัวตามกำหนดเวลา เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีเต็มๆ ที่ ‘บีม-ธัญลักษณ์ ตัณฑรัตน์’ อดีตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ปลุกปั้นธีสิสจบของตัวเองในชื่อ ‘การคุมขังรูปแบบใหม่ของทัณฑสถานไทย (The new form of imprisonment)’ จุดประสงค์คือต้องการทำให้คนในสังคมเข้าใจและเปิดใจให้นักโทษที่กำลังจะพ้นโทษมากขึ้น ผ่านสถาปัตยกรรมที่จะมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ จากการศึกษาว่าระบบของเรือนจำมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ต้องขังอย่างไร และการกักขังแบบไหนที่จะทำให้นักโทษได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ไม่ถูกลืมจากคนภายนอก และไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำเมื่อพ้นโทษ คอลัมน์ Debut ชวนไปดูจุดตั้งต้นของธีสิสนี้ และค้นหาพร้อมกันว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมและช่วยเหลือผู้ต้องขังให้ได้ทดลองใช้ชีวิตก่อนออกสู่สังคมภายนอกได้อย่างไร ทัณฑสถานไทยไม่เอื้อต่อการกลับตัว “ธีสิสนี้เป็นการออกแบบเรือนจำให้เหมาะกับนักโทษที่เตรียมการก่อนปล่อยตัวออกสู่สังคม เพราะจากการหาข้อมูลเราพบว่า สาเหตุหนึ่งที่นักโทษกลับไปทำผิดซ้ำๆ เนื่องจากหลังการพ้นโทษผู้ต้องขังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนไปได้” บีมเล่าให้เราฟังว่า ก่อนหน้าที่จะทำธีสิสนี้ เธอมีความสนใจเกี่ยวกับสถาปัตย์และการออกแบบที่สามารถเข้ามากำหนดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์อยู่แล้ว และเพื่อทำให้ฟังก์ชันของการออกแบบที่ช่วยควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เห็นภาพได้ชัดขึ้น เธอจึงเลือกทำธีสิสในรูปแบบของ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘เรือนจำ’ หลังจากพบว่าในปี 2562 มีปริมาณนักโทษที่กลับมากระทำผิดซ้ำภายใน 1 ปีมากที่สุดถึง 21,187 คน […]

พาไปดู ‘เวียนนา’ เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกประจำปี 2023

‘เวียนนา’ คือเมืองที่หลายคนยกให้เป็นเมืองที่โรแมนติกที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ใครที่เคยดูหนังเรื่อง Before Sunrise คงพอจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก โดยเฉพาะซีนที่คู่พระนางเดินเที่ยว พูดคุยกัน และกระโดดขึ้นลงรถแทรม โดยมีความคลาสสิกของกรุงเวียนนาเป็นฉากหลัง ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย ขนส่งมวลชนที่สะดวกสบาย และตัวเมืองที่รายล้อมไปด้วยแลนด์มาร์กทางประวัติศาสตร์ ก็ไม่ได้มีให้เห็นกันแค่ในหนังเท่านั้น แต่ในโลกแห่งความจริง ทั้งหมดนี้คือส่วนประกอบหลักที่ทำให้เวียนนาเป็นหนึ่งในต้นแบบของเมืองที่มีมาตรฐานและคุณภาพชีวิตดีที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดในปี 2023 กรุงเวียนนาถูกยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง หลังจาก Economist Intelligence Unit (EIU) ยกให้เมืองหลวงของประเทศออสเตรียเป็น ‘เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก’ ติดต่อกันเป็นปีที่สอง จากการจัดอันดับทั้งหมด 173 เมืองทั่วโลก เวียนนาได้คะแนนสูงที่สุดถึง 98.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยได้คะแนนความน่าอยู่ยอดเยี่ยมทั้งด้านความมั่นคง โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพ การศึกษา รวมถึงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บ้านเมืองที่มีเสถียรภาพ ข้อแรกที่ทำให้เวียนนากลายเป็นเมืองตัวท็อปด้านความน่าอยู่คือ ‘เสถียรภาพและความมั่นคง’ (Stability) ที่ได้ 100 คะแนนเต็ม ซึ่งความมั่นคงที่ว่านี้ประเมินจากหลายปัจจัย ได้แก่ ค่าแรง ค่าเช่าบ้าน ความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นคงทางการเมือง […]

พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น เปลี่ยนสำนักงานธนาคารเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่สาธารณะ แลนด์มาร์กใหม่ของคนขอนแก่น

หากพูดถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน จังหวัดแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิดหลายคนคงหนีไม่พ้นจังหวัด ‘ขอนแก่น’ เมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมแห่งอีสานที่รอให้ผู้คนไปค้นหา โดยล่าสุดขอนแก่นยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เปิดใหม่บริเวณใจกลางเมือง ซึ่งรายล้อมไปด้วยโรงเรียน ตลาด แหล่งชุมชน และที่อยู่อาศัย ที่ได้ ‘Plan Motif’ มาเป็นผู้ออกแบบนิทรรศการ ‘Plan Architect’ มาช่วยดูแลในส่วนงานสถาปัตยกรรมการปรับปรุงอาคาร และได้ ‘GLA Design Studio’ เข้ามาดูในส่วนของงานภูมิสถาปัตยกรรม จนออกมาเป็น ‘พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น’ (The Treasury Museum Khonkaen) พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่นเกิดขึ้นหลังจากที่พื้นที่ถูกเปลี่ยนมือกลับสู่ ‘กรมธนารักษ์’ อีกครั้ง เนื่องจาก ‘ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ’ ที่ใช้พื้นที่อยู่เดิมได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานไปยังบริเวณอื่น ทำให้ทางกรมธนารักษ์ที่ได้พื้นที่คืนมาตัดสินใจส่งต่อพื้นที่นี้ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนในเมืองขอนแก่นต่อไป ภายใต้ความตั้งใจของกรมธนารักษ์และ Plan Architect ที่ต้องการเปลี่ยนอาคารสำนักงาน บ้านพักพนักงาน และแผนกธนบัตรที่ถูกรื้อถอนเดิม ให้กลายเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ พื้นที่จัดแสดง ศาลาอเนกประสงค์ สวนสาธารณะ และสำนักงานที่สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่จะรับรองการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองขอนแก่นให้ได้มากที่สุด ซึ่งแต่ละส่วนถูกออกแบบใหม่โดยใช้ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นผสมผสานกับเอกลักษณ์ของยุคสมัยใหม่ เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของขอนแก่นที่ไม่ใช่แค่การฟื้นฟูอาคารเดิมให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง แต่ผู้ใช้งานยังต้องได้รับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ผ่านการใช้งานด้วย โดยในอาคารหลักบริเวณชั้น 1 ได้รื้อผนังทึบสูงเดิมออกเพื่อให้แสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารได้มากขึ้น เพื่อรองรับการเป็นพื้นที่ส่วนกลางและโซนห้องสมุด […]

กลับมาอีกครั้งกับ Reading Seoul Plaza ห้องสมุดกลางแจ้งบนพื้นที่สีเขียวในโซล ให้คนพักผ่อน ทำกิจกรรมฟรีถึงปลายปี

เมื่อปีที่แล้ว กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้ริเริ่มโปรเจกต์เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้กลายเป็นห้องสมุดกลางแจ้งสุดชิล พร้อมต้อนรับนักอ่านและนักกิจกรรมทุกเพศทุกวัย ซึ่งในปีนี้ทางรัฐบาลกรุงโซลก็นำกลับมาจัดกิจกรรมอีกครั้ง เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับเมือง ‘โซลพลาซา’ (Seoul Plaza) คือพื้นที่บริเวณลานกว้างที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นห้องสมุดกลางแจ้งขนาดใหญ่ในชื่อ ‘Reading Seoul Plaza’ ซึ่งโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) หลังจากได้รับกระแสตอบรับที่ดี รัฐบาลกรุงโซลได้อัปเกรดและปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ให้ดีขึ้นสำหรับประชาชนที่จะมาอ่านหนังสือ นอกจากบรรยากาศอันอบอุ่นแสนสบายที่มาพร้อมกับบีนแบ็กหลากสีสันและร่มกันแดด ปีนี้หนังสือจะมีให้เลือกหลากหลายประเภทขึ้น ทั้งยังเพิ่มโปรแกรมปรึกษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ชาวพนักงานออฟฟิศ ตลอดจนกิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กๆ มามีส่วนร่วมในวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย ใครที่มีแพลนไปเกาหลีช่วงนี้ อย่าลืมแวะไปอาบแดดอุ่นๆ อ่านหนังสือในพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ Reading Seoul Plaza กันนะ ห้องสมุดกลางแจ้งโซลพลาซาเปิดให้ประชาชนนั่งอ่านหนังสือชิลๆ ‘ฟรี’ ทุกวันพฤหัสบดี-วันศุกร์ เวลา 11.00 – 17.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17.00 น. ระหว่างวันที่ 23 เมษายน – 2 […]

ชวนไปเดินเล่นฟังเสวนาในสวนเบญฯ กับหัวข้อ ‘จับจังหวะพื้นที่สาธารณะ’ วันที่ 24 ก.พ. 66 เวลา 15.00 – 17.30 น.

หากลองสำรวจดู หลายคนคงมีเหตุผลในความผูกพันกับพื้นที่สาธารณะแตกต่างกันไป บางคนมองว่าเป็นที่ออกกำลังกายประจำ บางคนมีที่ไว้นั่งเล่นรับลมเย็นๆ พักผ่อนริมน้ำ หรือบางคู่ก็นั่งดูพระอาทิตย์ตกด้วยกันบนวิวสะพาน แต่ขณะเดียวกันก็มีอีกหลายคนที่ใช้พื้นที่สาธารณะน้อยลงทุกวัน งาน ‘The Rhythm of City’s Yard จับจังหวะพื้นที่สาธารณะ’ ชวนทุกคนไปนั่งเล่นในสวนฟังหัวข้อเสวนา ‘จับจังหวะพื้นที่สาธารณะ’ เพื่อกลับไปสำรวจดูชีวิตผู้คนที่ใช้ร่วมกับพื้นที่สาธารณะ ผ่านการพูดคุยสนุกๆ กับผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาเมืองทั้ง 3 คน ได้แก่ – ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร – ผศ. ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร – ขวัญชนก คงโชคสมัย ภูมิสถาปนิก ตัวแทนจาก we!park ดำเนินรายการโดย รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา หัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) และโฮสต์ประจำรายการพอดแคสต์ Unlock the City ภายในงานยังมีการเปิดตัวเว็บไซต์ ‘ห้องเรียนรู้พื้นที่สุขภาวะ’ ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะจากทั่วทุกมุมโลก และผลงานด้านพื้นที่สุขภาวะที่ผ่านมาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) […]

Park Pods พื้นที่สาธารณะเคลื่อนที่บนรถเข็นโรงงาน กับการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้สวนในเมือง

จบไปแล้วกับงาน Bangkok Design Week 2023 แต่หลากหลายกิจกรรมและนิทรรศการภายในงานยังคงมีส่วนร่วมในการส่งต่อความคิดเห็นที่จะร่วมด้วยช่วยกันเปลี่ยนแปลงเมืองแห่งนี้ให้กลายเป็น ‘เมือง-มิตร-ดี’ ขึ้นจริงในอนาคต หนึ่งในนั้นคือ ‘Park Pods’ พื้นที่สาธารณะเคลื่อนที่บนรถเข็นที่เคลื่อนย้ายการติดตั้งในแต่ละวันไปยังสถานที่ต่างๆ รอบย่านนางเลิ้งในช่วงที่งานจัดขึ้น ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ของการมีพื้นที่สาธารณะรูปแบบใหม่ๆ ใจกลางเมือง Park Pods เป็นผลงานการร่วมมือกันระหว่าง Weekend gardens, Precious Plastic, Weave Artisan และ Urban Studies Lab (USL) ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะขึ้นมาบนรถเข็นอุตสาหกรรม (Push Cart) จากโรงงานฟอร์ดที่ปลดระวางพลาสติกรีไซเคิลและเฟอร์นิเจอร์ใช้แล้ว เพื่อท้าทายบรรทัดฐานของพื้นที่สาธารณะแบบเดิมๆ ด้วยการสร้างพื้นที่สาธารณะที่มีตั้งแต่สวน ตู้หนังสือ ที่นั่ง ห้องหลบมุม ตาข่ายเอนตัว หรือแม้กระทั่งโต๊ะหมากรุกขึ้น แต่ละ Park Pods มีขนาดเพียง 10 ตารางเมตร แต่จะมีการพยายามใช้วัสดุรีไซเคิลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถอดประกอบได้ง่ายสำหรับการขนย้ายเมื่อเกิดปัญหาหรือจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ในระหว่างการจัดตั้งชิ้นงานประมาณ 9 วันในย่านนางเลิ้ง Park Pods ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งผู้เข้าร่วมงานและคนในชุมชนเอง ทำให้แม้ปัจจุบันมันจะถูกเก็บกลับมาเพื่อรอคอยการร่วมมือใหม่ๆ […]

Pink Lane : Ekkamai Pocket Park แนวคิดออกแบบสวนย่านเอกมัย แก้ปัญหาพื้นที่จำกัด เชื่อมคนเข้าหาพื้นที่สีเขียว

‘ย่านเอกมัย’ ที่มองจากภายนอกอาจดูเหมือนเต็มไปด้วยผู้คน ร้านอาหาร สถานบันเทิง และที่อยู่อาศัย แต่ความจริงแล้วบริเวณปากทางเข้าเขตเอกมัย ด้านหลัง ‘สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์’ สวนสาธารณะที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ก็มีพื้นที่สีเขียวขนาด 5.6 ไร่ ที่ในอดีตถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างอยู่เช่นกัน เพื่อดึงเอาพื้นที่สีเขียวให้เข้ามาใกล้ชิดกับผู้คนในย่านมากขึ้น ทาง ‘We!Park’ แพลตฟอร์มกลางของการมีส่วนร่วมพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กในเมือง ได้จัดงานประกวดออกแบบพื้นที่สวนป่าเอกมัย ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรุงเทพมหานคร สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย และสำนักงานเขตวัฒนา โดยมี ‘Pink Lane : Ekkamai Pocket Park’ ผลงานการออกแบบร่วมกันของบริษัทออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ‘REC : recreationbkk’ และนักออกแบบ ‘Ratio Trakoolsajjawat’ เป็นหนึ่งใน ‘Landscape Design Proposal’ ที่ส่งเข้าประกวด ‘Pink Lane : Ekkamai Pocket Park’ คือแนวคิดสวนสาธารณะในย่านเอกมัย ที่ต้องการทลายปัญหาข้อจำกัดด้านพื้นที่ และเชื่อมคนเข้าหาพื้นที่สีเขียวด้วยทางเดินยาวสีชมพู Pink Lane […]

Introvert’s City ถ้าเมืองนี้เป็นเมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต

จะดีแค่ไหนถ้าเมืองของเราออกแบบให้เข้ากับมนุษย์ ‘Introvert’ มากขึ้น เพื่อให้การท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ไม่สูบพลังชีวิต ต้องกลับมานอนติดห้องไปอีกหลายวัน จนหลายคนรู้สึกว่า เรานี่ช่างไม่เหมาะกับการออกไปข้างนอกซะเลย ทั้งที่ความจริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้การออกจากบ้านของประชากร Introvert สูญเสียพลังงานมากกว่าชาว Extrovert นั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเมืองของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้คำนึงถึงคนกลุ่มนี้เท่าไหร่นัก ทั้งที่ผลสำรวจของ The Myers-Briggs Company พบว่ามีผู้คนทั่วโลกมากถึง 56.8 เปอร์เซ็นต์เป็น Introvert ด้วยซ้ำ เพื่อให้การใช้ชีวิตในเมืองเป็นของทุกคน คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบ ‘เมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต’ ในรูปแบบของตัวเอง ที่ทำให้การออกจากบ้านของผู้คนกลุ่มนี้ไม่เป็นเรื่องยากจนเกินไป โดยเน้นที่การออกแบบพื้นที่ให้คำนึงถึงชาว Introvert มากขึ้น 01 | Private Zone in Public Space โดยปกติแล้ว พื้นที่สาธารณะหลายแห่งมักสร้างขึ้นเพื่อนำพาให้ผู้คนในสังคมออกมามีปฏิสัมพันธ์กัน แต่ถ้าหากเราอยากใช้พื้นที่สาธารณะไปพร้อมๆ กับความเป็นส่วนตัวและไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นมากจนเกินไปล่ะ สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องยากไม่น้อยเลยทีเดียว เราจึงขอหยิบเอาแนวคิด ‘Private Zone in Public Space’ ที่เป็นเหมือนหลุมหลบภัยเล็กๆ ในพื้นที่ใหญ่ๆ มาตอบโจทย์ชาว Introvert […]

ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

เปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ใช้งานได้จริง

จะดีแค่ไหนถ้ากรุงเทพฯ มี ‘พื้นที่สาธารณะ’ ให้ผู้คนเข้าถึงและใช้งานได้มากกว่านี้ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะได้รับฉายาว่ามหานครที่ไม่เคยหลับใหล เพราะเต็มไปด้วยแสงสี ความสว่างไสว และความคึกคักจากกิจกรรมของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว แต่ถ้าสังเกตดีๆ เมืองหลวงแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้าง ว่างเปล่า หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ แถมหลายแห่งยังขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยน ความหลอน จนน้อยคนนักจะกล้าไปเยือน สิ้นเดือนนี้ก็จะถึงเทศกาลฮาโลวีนแล้ว คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ที่ซุกซ่อนอยู่ตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่มากขึ้น มีหลากหลายไอเดียตั้งแต่การปรับปรุงตึกร้างให้เป็นสวนแนวตั้ง ไปจนถึงเปลี่ยนสุสานเครื่องบินให้เป็นพื้นที่ศิลปะเท่ๆ ก็มี ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนไปล่าท้าผี เอ้ย! ไปสำรวจการออกแบบสนุกๆ พร้อมกันตอนนี้เลย เปลี่ยน ‘ตึกสาธรยูนีค’ ให้เป็น ‘สวนแนวตั้ง’ ที่ชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไม่อั้น หากใครเดินทางไปบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นตึกร้างสูง 49 ชั้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกตกทอดจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ถึงแม้ว่าจะสร้างเสร็จไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ต้องหยุดชะงัก ไม่เสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานได้อย่างที่หวัง ตึกหลังนี้มีชื่อว่า ‘ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์’ หรือที่ต่างชาติต่างขนานนามให้เป็น […]

สเปนเปลี่ยนเรือนจำให้กลายเป็นพื้นที่ชุมชน โรงอาหาร และที่พักพิงของคนไร้บ้าน

หลายครั้งที่สถานที่เก่าแก่ทั่วโลกถูกปรับปรุงและเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เช่นเดียวกับ ‘El Roser Social Center’ ในเมืองทาร์ราโกนา ประเทศสเปน ที่อดีตเคยเป็นเรือนจำสำหรับคุมขังนักโทษตั้งแต่ปี 1929 จากนั้นถูกดัดแปลงเป็นอาคารเรียนในปี 1979 และล่าสุดในปี 2022 เรือนจำแห่งนี้ถูกเปลี่ยนอีกครั้งโดย ‘Josep Ferrando Architecture’ สตูดิโอสถาปัตยกรรมของบาร์เซโลนา ให้กลายเป็นพื้นที่ชุมชนใจกลางเมือง เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนในเมืองให้มากขึ้น Josep Ferrando Architecture เข้ามามีส่วนช่วยในการดูแลและฟื้นฟูให้เรือนจำกลับมาอยู่ในสภาพดังเดิมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเผยให้เห็นถึงโครงสร้างและรูปแบบการก่อสร้างเรือนจำในอดีต อีกทั้งยังมีการออกแบบโครงสร้าง และมองหาวัสดุเพิ่มเติม เพื่อเปลี่ยนให้พื้นที่เรือนจำเดิมสามารถรองรับการใช้งานที่มีจุดประสงค์ใหม่ในการเป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชน โรงอาหาร และสถานที่พักพิงของคนไร้บ้านได้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจในท้องถิ่น และรวมอยู่ในคลังมรดกทางสถาปัตยกรรมของเมือง Tarragona ทำให้สตูดิโอต้องดำเนินงานการซ่อมแซมฟื้นฟู และต่อเติมส่วนอื่นๆ เข้าไปอย่างระมัดระวัง  โดยประตูทางเข้าและทางเดินของเรือนจำยังถูกรักษาคงสภาพไว้ดังเดิม แตกต่างไปเพียงตัวกำแพงทึบรอบลานเรือนจำที่ถูกรื้อถอนออกไป และแทนที่ด้วยโครงเหล็กสีแดงเพื่อให้ความรู้สึกโล่งโปร่งสบาย ลบภาพความอึมครึมของเรือนจำในอดีต กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนในเมืองสามารถเข้ามาใช้สถานที่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนโครงสร้างภายในเรือนจำถูกออกแบบให้กลายเป็นโรงอาหารขนาดใหญ่ของเมืองที่เปิดให้ประชาชนและคนไร้บ้านรับประทานอาหารภายในได้ฟรีเช่นกัน นอกจากนี้ ในส่วนของห้องพักภายในเรือนจำเดิม ยังถูกเปลี่ยนเป็นที่พักพิงสำหรับคนไร้บ้านในเมือง พร้อมติดตั้งระบบทำความร้อนที่ได้ประสิทธิภาพสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ทำให้ El Roser Social Center ถือเป็นสถานที่แห่งแรกในสเปนที่รวบรวมบริการทางสังคมที่หลากหลายและครอบคลุมไว้ใต้หลังคาเดียวกัน ซึ่งทาง […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.