Japan Again ในวันที่แสงแดดอบอุ่น

ขึ้นปีใหม่เลยคิดถึงเรื่องเก่า เปิดลิ้นชักออกมาแล้วไม่เจอเครื่องไทม์แมชชีนย้อนเวลาเหมือนในห้องของโนบิตะ วิธีเดียวที่ใช้นึกถึงวันที่ผ่านมาให้จดจำได้มากที่สุดคงไม่พ้นการดูภาพถ่าย ภาพแทนสายตาที่บันทึกไว้เป็นเครื่องกันลืมว่าครั้งหนึ่งเราเคยรู้สึกอย่างไรต่อช่วงเวลาเหล่านั้น ‘เซโตะอุจิ’ เป็นอาณาจักรทะเลที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น แวดล้อมไปด้วย 7 จังหวัดที่มีสไตล์ต่างกันออกไปตามแต่ละวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ แต่สิ่งที่ไม่ต่างกันคือการจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยอย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะชนบท ชุมชนริมฝั่ง หรือในเมืองใหญ่ ทุกวิถีชีวิตล้วนดำรงด้วยความเป็นระเบียบ สะอาดตา มองแล้วไม่มีอะไรเกะกะ มีแต่ความสบายใจ ประเทศโลกที่สามกับประเทศโลกที่หนึ่งช่างแตกต่าง ญี่ปุ่นครั้งแรกของเราในฐานะผู้มาเยือนจึงมีแต่ภาพแปลกใหม่ สิ่งรอบตัวไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สำคัญมากหรือน้อย ล้วนแล้วแต่มีรายละเอียดราวกับชิ้นงานศิลปะให้ชวนมอง เป็นเมืองที่คนเดินได้แบบไม่ต้องกังวล ปั่นจักรยานไปทำงานได้อย่างปลอดภัย ผู้สูงอายุเองก็ยังยืนหลังตรงทำมาหากินได้จำนวนไม่น้อย เกือบทุกคนแข็งแรงจนมีกล้ามขาเป็นมัดๆ  อีกความดึงดูดของญี่ปุ่นคือ ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมตึกสูงต่ำลดหลั่นกันไป ประกอบกับเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยความร่วมสมัยและยังคงผสานความดั้งเดิมไว้อย่างลงตัว แสงแดดอบอุ่นที่ญี่ปุ่นช่วยให้กล้องโลหะตัวเก่าที่เราพกติดตัวไปบันทึกภาพความทรงจำออกมาได้อย่างถูกต้องที่สุดเทียบเท่าที่เคยได้มองเห็น  ญี่ปุ่นเมื่อสี่ปีที่แล้วกลายเป็นภาพจำเลือนๆ ตามขวบปีที่เพิ่มขึ้น ไม่รู้ว่าหลังจากยุคโรคระบาด ที่นั่นจะเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มปีใหม่ที่คนบนโลกสามารถเดินทางทั่วถึงกันได้แล้วแบบนี้ ยิ่งทำให้รู้สึกอยากจองตั๋วเครื่องบินขึ้นมา แต่เปิดลิ้นชักอีกทีคราวนี้ก็พบว่า ยังไม่มีตังค์นี่หว่า ดูท่าคงต้องทำงานเก็บเงินก่อน หวังว่าจะได้พบกันอีกนะ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

‘ญี่ปุ่น’ กับการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมการเดินทาง ‘ระบบรถไฟ’

‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์และความก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน วัฒนธรรมอาหารที่โด่งดังไปทั่วโลก รวมถึงสวัสดิการและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างรอบด้าน จนทำให้แดนปลาดิบติดท็อป 10 ประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลกแทบทุกปี หนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกของญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรมากที่สุดคือ ‘เครือข่ายรถไฟ’ ที่มาพร้อมชื่อเสียงเรื่องความทันสมัย ความสะอาด และการตรงต่อเวลา ขนาดที่ว่าถ้ารถไฟขบวนไหนออกเร็วหรือช้าแค่หลักวินาที ทางบริษัทรถไฟจะรีบออกแถลงการณ์ขอโทษผู้โดยสารทันที จากความสะดวกสบายของระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้ชีวิตของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับการเดินทางด้วยรถไฟ เห็นได้จากสัดส่วนผู้โดยสารที่ใช้งานระบบรถไฟในกรุงโตเกียวที่มีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมหานครนิวยอร์กและกรุงลอนดอน ที่มีสัดส่วนดังกล่าวประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ และ 19 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ชวนไปสำรวจว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในเครือข่ายรถไฟที่ดีที่สุดในโลก โดยพาผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายปลายทางได้เกือบทุกที่ทั่วประเทศ แถมยังครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทุกกลุ่ม เปลี่ยนให้เอกชนดูแลเครือข่ายรถไฟ ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ผู้ดูแลบริหารเครือข่ายรถไฟทั่วเกาะญี่ปุ่นคือ ‘กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น’ หรือ ‘Japan Railways Group (JR Group)’ ที่แต่เดิมรัฐเป็นเจ้าของ แต่เมื่อปี 1987 รัฐบาลได้ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) โอนกิจการให้เอกชนเข้ามาดูแล เพื่อแก้ไขสองปัญหาหลักๆ ได้แก่ การเป็นองค์กรขนาดใหญ่อุ้ยอ้ายจนบริหารงานยาก และการดำเนินงานภายใต้อิทธิพลทางการเมืองจนสร้างความเสียหายให้องค์กร อย่างการสร้างเส้นทางรถไฟที่ไม่ทำกำไรเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง […]

จัดอันดับจุดเช็กอิน ‘รถติด’ ในกรุงเทพฯ

ถนนกรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งเคยขึ้นชื่อเรื่องรถติดที่สุดในโลกมาแล้ว ไม่ว่าใครก็ปวดใจหากอยู่ในสถานการณ์ติดไฟแดงบนถนนเป็นเวลาหลายชั่วโมง มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนถนนไปทั้งหมดเฉลี่ย 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเต็มเลยทีเดียว ถนนกรุงเทพฯ ทั้งจราจรติดขัดและเสียเวลารอนาน จึงไม่แปลกใจถ้าจะมีคนหัวร้อนกับรถติดบนถนน แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นทางเดียวที่จะระบายความอัดอั้นในใจก็คงมีแค่กดเช็กอินสถานที่และแชร์ความรู้สึกออกไปผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และแน่นอนว่า ถนนที่เป็นขวัญใจมหาชนที่เจอรถติด ได้แก่… ‘ถนนลาดพร้าว’ กับประโยคที่ว่า ‘รถติดนรกแตก แดงชาตินี้ เขียวชาติหน้า’ รวมจำนวนคนเช็กอิน ‘รถติดถนนลาดพร้าว’ จาก Facebook ทั้งหมดประมาณ 92,000 ครั้ง รองลงมาเป็นถนนพระราม 2 ทางด่วนพระราม 9 ถนนเพชรเกษม และถนนประชาอุทิศ 9 (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พ.ย. 2565) ซึ่งสาเหตุที่ถนนเหล่านี้รถติดจนคนต้องพูดถึง เป็นเพราะอะไรตามไปหาคำตอบกัน  ถนนเส้นหลักเส้นเดียว เชื่อมหลายย่าน  สาเหตุที่ถนนดังกล่าวขึ้นชื่อเรื่องรถติดสุดเรื้อรัง ส่วนใหญ่มีลักษณะถนนเป็นเส้นวิ่งตรงยาวๆ ทำหน้าที่เป็นเส้นหลักเพียงเส้นเดียวที่เชื่อมต่อย่านอื่นๆ […]

‘ปิดถนน ห้ามเดิน ขอผ่านทาง’ 3 ประเทศเจ้าภาพกับมาตรการการเดินทางสำหรับการประชุมนานาชาติ

ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนลากยาวจนมาถึงสัปดาห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการประชุมระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มกันที่ ASEAN Summit ประเทศกัมพูชา ตามมาด้วย G20 ประเทศอินโดนีเซีย และล่าสุดคือ APEC ที่ประเทศไทยได้กลับมาเป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง เมื่อมีบุคคลสำคัญจากหลายประเทศมาร่วมงาน การเดินทางจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด ทางเจ้าบ้านต้องหาวิธีจัดการดูแลเรื่องนี้ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่หลังจากที่มีการแจ้งแผนจำกัดการใช้งานถนนและเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ก่อนวันงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไหนจะการประกาศปิดถนนกับข้อห้ามมากมายที่ออกมาระหว่างช่วงที่จัดการประชุม ก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมายถึงความเดือดร้อนต่อการเดินทางของคนทำงานและผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น ที่ต้องแบกรับผลกระทบเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ คอลัมน์ Curiocity ชวนไปติดตามกันว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่มีการประชุมทั้งในกัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย สามประเทศเจ้าภาพนี้มีมาตรการการจัดการจราจรเพื่อต้อนรับแขกสำหรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างไร แล้วใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ASEAN Summit กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การประชุม ‘ASEAN Summit’ หรือ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ เป็นการประชุมประจำปี ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 40 และ 41 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน […]

คนกรุงเทพฯ เสียเวลาชีวิตกับการเดินทางไปทำงานนานถึง 2 ชั่วโมง/วัน

ช่วงเวลาเช้า-เย็นในวันทำงาน ถือเป็นโมเมนต์สุดเร่งรีบของคนเมือง ที่ทุกคนต้องแข่งขันกับการจราจรแสนติดขัด หรือต่อแถวขึ้นขนส่งสาธารณะสุดหนาแน่น  อ้างอิงข้อมูลจาก Baania องค์กรที่รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยเผยว่า ส่วนใหญ่คนเมืองใช้เวลาเดินทางไปทำงานเฉลี่ย 2 ชั่วโมง/วัน หรือประมาณนั่งเครื่องบินไปสิงคโปร์ได้ 1 เที่ยว มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนท้องถนนไปทั้งหมดเฉลี่ยแล้ว 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเลยทีเดียว ตามหลักสากลที่ควรจะเป็น ผู้คนควรใช้เวลาเดินทางไป-กลับจากธุระนอกบ้านไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยแต่ละเที่ยวไม่เกิน 30 นาที หากเราต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับที่ทำงานวันละหลายชั่วโมง ก็คงต้องคิดหนักและเริ่มมองหาที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงานมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่เดินทางสะดวกแทนน่าจะดีกว่า  แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อชาวเมืองต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงน่าตั้งคำถามไม่ใช่น้อยว่า อะไรคือต้นตอที่ทำให้คนต้องใช้เวลาบนท้องถนนมากขนาดนี้ และทำไมปัญหานี้ถึงเกิดขึ้นมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้สักท งานกระจุกในเมือง หนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเดินทางคือ การเสียเวลากับรถติด เนื่องจากระบบและจำนวนเส้นถนนในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่อย่างจำกัด สวนทางกับปริมาณรถที่วิ่งขวักไขว่เต็มท้องถนน แต่หากมองลึกลงไปถึงต้นตอของปัญหา ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเมืองต้องกัดฟันทนฝ่ารถติดให้ไปถึงที่หมายทุกวันนั้นเกิดจาก ‘แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกในเมือง’ กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง แต่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหลักของไทยที่มีแหล่งงานมากมายเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี […]

Wander Around ระหว่างทางของเส้นทางชีวิต

ภาพถ่ายชุดนี้บันทึกสิ่งที่เราพบเจอระหว่างการเดินทางจากประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ เราพาตัวเองออกไปเจอสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ให้ลองเดินหลงไปในย่านที่ไม่รู้จัก ลองทักทายคนแปลกหน้าแบบที่ตอนอยู่ไทยคงไม่กล้าทำ แล้วกดถ่ายรูปแบบไม่ต้องคิดอะไร นอกจากมองหาสิ่งที่ตัวเองชอบ

กำเนิด ‘วินมอเตอร์ไซค์’ แรกของกรุงเทพฯ เส้นเลือดฝอยของคนเมืองที่ต้องพึ่งความแว้นไว

ย้อนรอยประวัติศาสตร์วินมอเตอร์ไซค์แห่งแรกของกรุงเทพฯ สู่อัศวินผู้ทำหน้าที่พาเราไปทุกแห่งหน

หยุดยืนหรือแบ่งช่องเดิน? ใช้บันไดเลื่อนยังไงให้ว่องไวและปลอดภัยที่สุด

ช่วงเวลาไพร์มไทม์บนสถานีรถไฟฟ้าของมนุษย์เงินเดือน ต้องเข้าแถวเรียงเดี่ยวชิดขวา ปล่อยบันไดเลื่อนฝั่งซ้ายโล่งโจ้งเพื่อเป็นช่องทางเร่งด่วนให้คนรีบทำเวลา แต่การแบ่งฝั่งให้คนยืนและเดินช่วยเคลื่อนย้ายคนได้เยอะจริงหรือเปล่า ความน่าสนใจของข้อสันนิษฐานนี้ คือข้อมูลจากเอกสารวิชาการ ‘Estimation of Capacity of Escalators in London Underground’ โดย Paul Davis และ Goutam Dutta ที่ลงพื้นที่สำรวจสถานีรถไฟใต้ดิน ‘Holborn Station’ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้งานมากถึงปีละ 56 ล้านคน พบว่ามีการแบ่งฝั่งบันไดเลื่อนสำหรับการเดินและยืน คำนวณจากความยาวบันไดเลื่อน 24 เมตร ฝั่งเดินใช้เวลา 46 วินาที และฝั่งยืนใช้เวลา 138 วินาที เพื่อไปถึงที่หมาย  Paul Davis และ Goutam Dutta สองนักวิจัยไหว้วานให้นายสถานีขอความร่วมมือผู้โดยสารให้ยืนทั้งสองฝั่งบันไดเลื่อน ถึงแม้จะมีบางส่วนที่ยังเผลอยืนแบ่งฝั่งด้วยความเคยชินก็ตาม แต่ผลสรุปของพวกเขาพบว่า การยืนทั้งสองฝั่งใช้เวลา 59 วินาทีเพื่อไปถึงที่หมาย นั่นหมายความว่าฝั่งคนเดินจะเสียเวลาเพิ่ม 13 วินาที แต่คนยืนจะลดเวลาได้มากถึง 79 […]

เลาะชายแดนสวีเดน-นอร์เวย์ พบเผ่าต้นกำเนิด Elsa ฟังอดีตของวันที่ยังไม่มีเส้นแบ่งประเทศ

ย้อนกลับไปในช่วงเวลานี้ของปีที่แล้วพอดี ก่อนที่พายุโควิด-19 จะเคลื่อนตัวเข้าถล่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เรายังเป็นนักศึกษาปริญญาโทด้านการจัดการเพื่อความยั่งยืนอยู่ในมหาวิทยาลัยประจำเมืองมัลเม่อ (Malmö) ที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เมืองที่เรากับเพื่อนๆ คนไทยตั้งชื่อเล่นให้ว่า ‘หาดใหญ่สวีเดน’ เพราะมันเป็นเมืองใหญ่ที่มีทุกอย่างเหมือนเมืองหลวง แม้จะมีอย่างละนิดละหน่อย แต่เราไม่เคยรู้สึกว่าการใช้ชีวิตในมัลเม่อเหมือนขาดอะไรไป เว้นแค่อย่างเดียว… หิมะ จากบ้านที่เมืองไทยไปเรียนไกลถึงสวีเดน เราอดหวังไม่ได้หรอกว่าจะได้ใช้ชีวิตท่ามกลาง White Winter ได้เดินทางไปเรียนท่ามกลางหิมะฟูๆ นุ่มๆ ดูสักครั้ง แต่เอาเข้าจริงหาดใหญ่สวีเดนนั้นไม่ได้มีหิมะเยอะอย่างที่คิด ตามสถิติแล้วหิมะตกแค่ปีละไม่ถึง 10 วัน ซ้ำร้ายปี 2018 – 2019 ยังเป็นปีที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างหนักในภูมิภาค ในฤดูร้อนเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ แล้วจะเอาอะไรมาหวังว่าจะมีหิมะนุ่มๆ ในฤดูหนาว และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้เรากับเพื่อนสาวชาวเบลเยียมวางแผนมุ่งหน้าขึ้นเหนือเพื่อหวังไปนอนกอดหิมะให้สาแก่ใจ ปลายทางของทริปสองสาวนักศึกษาครั้งนี้อยู่ที่เมืองคีรูน่า (Kiruna) เมืองขนาดเล็กที่อยู่เหนือสุดของประเทศสวีเดน ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขาปกคลุมด้วยหิมะและป่าสน และเป็นเมืองชายแดนติดเมืองนาร์วิก (Narvik) ประเทศนอร์เวย์ นอกจากนี้ บริเวณที่ตั้งของเมืองคีรูน่ามีชื่อเรียกในหมู่นักเดินทางว่า Swedish Lapland ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโอกาสมองเห็นแสงเหนือในตำนานอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่ช่วงเวลาที่เราเดินทางไม่ใช่ฤดูกาลล่าแสงเหนือ จึงอดไปตามระเบียบ เราตั้งใจใช้สิทธิ์ความเป็นนักศึกษาให้เต็มที่ จึงจองทริปราคาประหยัดกับเอเจนซี่ที่ให้บริการทริปสำหรับนักเรียนโดยเฉพาะ ทำให้ได้ทริปที่มีหมุดหมายสมใจอยากในราคาน่ารักน่าเอ็นดู ทั้งการเล่นเลื่อนหิมะกับเหล่าน้องหมาฮัสกี้ เยี่ยมชมฟาร์มเรนเดียร์ของชนพื้นเมือง เดินชมเขตเหมืองเหล็กเก่าตั้งแต่สมัยสงครามโลก ข้ามชายแดนไปแช่ทะเลสาบที่ไม่มีวันเป็นน้ำแข็ง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.