จะเลือกตั้งใหญ่แล้ว #ทราบแล้วโหวต งาน BANGKOK THROUGH POSTER ชวนออกแบบโปสเตอร์ วันนี้ – 7 เม.ย. 66

หลังจากจัดงานมาแล้ว 3 ปี ครั้งนี้ BANGKOK THROUGH POSTER กลับมาพร้อมกับโปรเจกต์พิเศษต้อนรับการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในนิทรรศการ ‘#ทราบแล้วโหวต’ ภายใต้ความร่วมมือกับ iLaw โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน นิทรรศการ #ทราบแล้วเปลี่ยน จะจัดขึ้นในวันที่ 29 – 30 เมษายน 2566 ที่แกลเลอรี KINJAI CONTEMPORARY แต่ช่วงนี้ทีมงานกำลังเปิดรับผลงานการออกแบบโปสเตอร์จากศิลปิน นักออกแบบ คนทำงานสร้างสรรค์ทุกแขนง และผู้ที่สนใจ ทั้งบุคคลและองค์กร เพื่อมาร่วมแสดงใน BANGKOK THROUGH POSTER 2023 กับคอนเซปต์ ‘รณรงค์ให้ทุกคนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งปี 2566’ โดยครั้งนี้จะมีการคัดเลือกและจัดแสดงชิ้นงานทั้งหมด 66 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยผลงานจากนักสร้างสรรค์ที่ได้รับเชิญ ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ นักวาด ศิลปิน องค์กร หรือนักสร้างสรรค์ประเภทอื่นๆ จำนวน 33 ชิ้น และผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากรอบ Opencall อีกจำนวน 33 ชิ้น อีกทั้งชิ้นงานทั้งหมดจะมีการนำไปโพสต์และทำแคมเปญส่งต่อให้ประชาชนได้นำไปใช้ประชาสัมพันธ์ผ่าน Hashtag […]

ปลุกความสร้างสรรค์ที่ย่าน ‘เจริญรัถ’ แหล่งค้าหนังและอุปกรณ์งานคราฟต์ของกรุงเทพฯ

ถ้าอยากทำกระเป๋าหนังสักใบ หรือหาอะไหล่นำกลับไปทำงาน DIY ที่บ้านในวันที่ไอเดียพรั่งพรู เหล่านักประดิษฐ์ตัวยงหรือดีไซเนอร์มือฉกาจต่างแนะนำเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘เจริญรัถ’ คือคำตอบชนิดที่มาครบจบในที่เดียวได้ ย่านเจริญรัถ ใกล้กับวงเวียนใหญ่ ในฝั่งธนบุรี เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมกิจการร้านค้างานหนังแบบครบวงจรที่ขึ้นชื่อลือชามานานหลายสิบปี ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหนังแท้และหนังเทียม สารพัดอุปกรณ์ตัด ตอก หรืออะไหล่ตกแต่งกระเป๋าให้สวยเก๋ ไปจนถึงร้านลับคมกรรไกรที่แทบไม่ค่อยเห็นแล้วในทุกวันนี้ ต่างแทรกตัวอยู่บนถนนเจริญรัถทั้งสิ้น คอลัมน์ Neighboroot ชวนสาวเท้าก้าวตามเจ้าของโรงเรียนสอนทำกระเป๋าบนถนนเจริญรัถ ฟังความเป็นมาของย่าน ทำความรู้จักร้านขายหนังและสารพัดอุปกรณ์รุ่นเก๋าที่เด็ดดวงสุดในย่าน จากปากของคนพื้นที่ที่คัดสรรมาให้แล้ว   MHA Art & Craft : โรงเรียนสอนทำกระเป๋าหนังแห่งย่านเจริญรัถ “เคยพูดเล่นๆ ว่า ถ้าหาหนังแล้วที่อื่นไม่มี และที่นี่ก็ไม่มี ก็ไม่ต้องหาละ” เจ้าของ MHA Art & Craft โรงเรียนสอนทำกระเป๋าอย่าง ‘พี่แบงค์-บุญชัย บุญนพพรกุล’ บอกอย่างติดตลก ถึงนิยามความเป็นย่านเจริญรัถ ย่านค้าหนังอันเลื่องชื่อของไทย  บทสนทนานี้เกิดขึ้นใต้ชายคาของตึกแถวที่เป็นทั้งโรงเรียนสอนทำกระเป๋า คาเฟ่ และประตูบานแรกก่อนเข้าสู่ถนนเจริญรัถ จากปากของทายาทโรงงานทำกระเป๋าหนังส่งออกและเจ้าของโรงเรียน เวิร์กช็อปสเปซสำหรับผู้สนใจและหลงใหลในงานหนัง ซึ่งเข้าสู่ขวบปีที่สิบแล้วในวันนี้ “ช่วงนั้นเกิดปรากฏการณ์ใหม่ คนสร้างแบรนด์เองง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย จังหวะนั้นก็เลยเกิดโรงเรียนของเรา […]

ห้องสมุดออนไลน์สำหรับชาว กทม. ยืมอ่าน E-Book ในแอปฯ Hibrary ฟรี

เพื่อเป็นการต้อนรับเทศกาลการอ่านและหนังสือกรุงเทพฯ (Read & Learn) ในเดือนมีนาคมนี้ กรุงเทพมหานครร่วมกับภาคีเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน จัดกิจกรรมการอ่านและสิ่งพิมพ์ตลอดทั้งเดือน หนึ่งในนั้นคือ ‘อีบุ๊กฟรี อยู่เขตไหน อ่านได้ทุกที่’ ร่วมกับทาง Hibrary โครงการนี้เป็นการเปิดให้บริการห้องสมุดออนไลน์แก่ประชาชนในกรุงเทพฯ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้ามายืมอ่านอีบุ๊กได้ฟรีจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนววรรณกรรม ประวัติศาสตร์ จิตวิทยา หรือพัฒนาตนเอง รวมถึงมีอีบุ๊กในรูปแบบ E-PUB ที่รองรับสำหรับกลุ่มที่มีปัญหาในการอ่าน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างเท่าเทียม โดยคาดหวังว่าจะมีเป้าหมายผู้ใช้บริการมากกว่า 200,000 บัญชี ยังไม่พอเท่านั้น ทางแอปฯ ยังเปิดให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการคัดเลือกอีบุ๊กเข้าระบบให้บริการในเดือนถัดๆ ไปด้วย ใครอยากอ่านเล่มไหนแล้วในแอปฯ ยังไม่มี ก็ส่งชื่อหนังสือไปได้ วิธีการลงทะเบียนก็ง่ายๆ แค่โหลดแอปฯ แล้วเลือกห้องสมุด BKK x Hibrary กรอกอีเมลและเลือกสมัครสมาชิก หลังจากกรอกข้อมูลครบเรียบร้อยก็เข้าถึงอีบุ๊กได้แบบฟรีๆ แล้ว โดยสมัครอ่านบนระบบ iOS ได้ที่ apple.co/3a7veQs ระบบ Android bit.ly/3uEZrzw หรือทางเว็บไซต์ bkk.hibrary.me

Bangkok Dating Routes เส้นทางเดินเดตที่ได้ทั้งชมเมืองและคุยกับเธอ

เวลาดูหนังรักที่ตัวละครเดินเดตกันท่ามกลางเซตติงที่เป็นประเทศหรือเมืองน่ารักๆ เราเชื่อว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยอยากมีโมเมนต์เดินชมบรรยากาศเมือง พูดคุยกันแบบ Deep Talk และแวะกินดื่มที่ร้านอาหารหรือผับบาร์เจ๋งๆ ระหว่างทาง แม้กรุงเทพฯ จะไม่ได้เป็นเมืองที่โรแมนติกนัก แต่ใช่ว่ามันจะไม่มีพื้นที่ให้เราชวนคนใกล้ตัวไปเตร็ดเตร่ใช้เวลาร่วมกันแบบนี้ซะทีเดียว จากที่เราใช้ชีวิตและทำงานเรื่องเมืองมาไม่น้อย ก็ค้นพบว่ากรุงเทพฯ ยังมีย่านและเส้นทางน่ารักๆ ให้ไปเดินเล่นสำรวจเมืองเพื่อชุบชูหัวใจได้เสมอ ตั้งแต่เส้นทางเขตเมืองเก่า ย่านใจกลางเมืองที่มีแต่อะไรสนุกๆ ให้แวะเวียน ไปจนถึงตรอกซอกซอยที่เป็นสถานที่เดตประจำ ในเดือนแห่งความรักนี้ ถ้าอยากเปลี่ยนแนวจากชวนคนใกล้ตัวไปเดินห้างฯ หรือนั่งจุมปุ๊กอยู่ที่ไหนสักแห่งนานๆ มาเป็นเดินเดตรับลมในเมือง Urban Creature ทำคัมภีร์รวมรูตเดตจากผู้ใช้งานจริงที่อยากแบ่งปันมาให้แล้ว คอมฟอร์ตโซน ถนนพระสุเมรุเส้นทางเดต : ป้อมมหากาฬ-ร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้ออร่อยเด็ด-สวนสันติชัยปราการระยะทาง : 2.1 กิโลเมตรชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Senior Content Creator ด้วยความที่พักอยู่แถวราชเทวี-พญาไท ซึ่งเป็นย่านใจกลางเมือง เดินทางได้หมดทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า และเรือ เราที่เอียนกับการไปสยามเต็มที ก็มักเลือกพาคนใกล้ตัวไปเดตที่รูตคอมฟอร์ตโซนของเรา เพราะนอกจากจะเดินทางง่าย ไปได้ทั้งรถเมล์และเรือคลองแสนแสบแล้ว มันยังเป็นพื้นที่ที่ไปกี่รอบก็ไม่เคยเบื่อ เนื่องจากความน่ารักของบรรยากาศเมืองเก่าที่ผสมผสานกับสถานที่เจ๋งๆ ของเมืองอย่างร้านหนังสือ แกลเลอรี มิวเซียม และสวนสาธารณะ รูตคอมฟอร์ตโซนของเรามักเริ่มต้นที่ท่าเรือสะพานผ่านฟ้าฯ […]

‘Nang Loeng-BKKDW 2023’ เอนจอยกับแสงสี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ย่านนางเลิ้ง

ปีนี้ ‘ย่านนางเลิ้ง’ ได้ร่วมเป็นอีกหนึ่งย่านใหม่ของเทศกาล Bangkok Design Week 2023 ด้วย นอกจากการเป็นต้นตำรับความอร่อยและบรรยากาศชุมชนเก่า ย่านนี้ยังมีอะไรอีกมากมายให้ไปทำความรู้จักและเรียนรู้ กว่าสิบกิจกรรมในย่านนางเลิ้งเกิดขึ้นโดยคนในชุมชน ศิลปิน ผู้ประกอบการภายในย่าน ไปจนถึงหน่วยงานมากมายที่มุ่งมั่นอยากทำให้ย่านนี้มีชีวิตชีวามากขึ้น รวมถึงทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้พื้นที่ที่อุดมไปด้วยชุมชนเก่าและสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่า กิจกรรมที่ว่ามีตั้งแต่นิทรรศการศิลปะ การแสดงศิลปะชุมชนผสมผสานกับละครชาตรี การจัดแสดงแสงสีกับพื้นที่ของเมืองและอาคารเก่า การสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะเมืองรูปแบบต่างๆ ไปจนถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อนำเสนออาหารในย่าน ใครที่เลือกไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะไปย่านไหนในงานนี้ดี แถมเวลาก็เหลืออีกไม่กี่วันแล้ว ตามลิสต์นี้มาได้เลย ชื่นชมความงามของสถาปัตยกรรมเก่า ที่บ้าน Bangkok 1899 เริ่มต้นกันที่บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ที่มีอายุมากกว่าร้อยปี และออกแบบโดย ‘มาริโอ ตามัญโญ (Mario Tamagno)’ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ปัจจุบันที่นี่ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นศูนย์กลางทางด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม โดยประกอบไปด้วยที่พักสำหรับศิลปินนานาชาติ คาเฟ่ พื้นที่จัดนิทรรศการ และพื้นที่สวนสาธารณะ ภายใต้ชื่อโครงการ Bangkok 1899 นอกจากความสวยงามของสถานที่แล้ว ที่นี่ก็มีนิทรรศการ ‘A New Thai Alphabet Typography’ โดย Elvire Bonduelle […]

ตึกสูงที่ถูกทิ้งร้างในเมือง ส่งผลอะไรกับการใช้ชีวิตของคนเมืองบ้าง

‘ตึกร้าง’ มักเป็นสถานที่อันดับต้นๆ ที่ใช้เป็นโลเคชันประจำในรายการแนวลึกลับ กับการเข้าไปทำภารกิจพิสูจน์ความลี้ลับของอาคารเก่าทรุดโทรม ไม่ว่าจะเป็นตึกร้างชื่อดังหรือตึกร้างโนเนม เพราะทุกที่มีเรื่องเล่าทั้งสิ้น แต่นอกเหนือจากเรื่องผีๆ ที่เชื่อมโยงกับตึกร้างแล้ว ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีตึกร้างเยอะแยะนัก เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปย่านไหนก็มักพบเห็นตึกสูงที่ปล่อยทิ้งร้างเอาไว้แทบทุกที่ ทั้งๆ ที่มีข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในตึกร้างมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบถึงเรื่องนี้ พร้อมกับสำรวจว่าการมีอยู่ของตึกร้างพวกนี้ส่งผลเสียอะไรกับเมืองและผู้คนบ้าง เบื้องหลังตึกสูงที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเฟื่องฟูและพัฒนา ส่งผลให้เกิดโครงการก่อสร้างอาคารจำนวนมากในเมือง โดยส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัยในทำเลทองต่างๆ เพื่อรองรับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมือง  แต่ขณะที่การก่อสร้างกำลังดำเนินไป ก็เกิดวิกฤตการเงินปี 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เศรษฐกิจพังพินาศ สถาบันการเงินหลายแห่งถูกสั่งปิดจนทำให้ต้องยุติการกู้เงิน โครงการก่อสร้างต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยังไม่เสร็จดีก็ตาม ทำให้มีอาคารที่ถูกปล่อยทิ้งร้างมากกว่า 200 แห่ง เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี หลายตึกได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นตึกใหม่ใช้งานได้แล้ว แต่บางตึกก็ยังถูกปล่อยทิ้งไว้ด้วยหลายเหตุผล ตั้งแต่ปัญหาเงินทุนที่นายทุนยังไม่สามารถหามาเดินหน้าโครงการต่อได้ การรอเจ้าของคนใหม่มารับช่วงต่อในการก่อสร้าง การฟ้องร้องค่าเสียหายจากการหยุดปล่อยเงินกู้จนผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการจนแล้วเสร็จได้ ติดคดีความเกี่ยวกับการสร้างอาคารผิดแบบหรือโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง และอีกเหตุผลสำคัญคือค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารที่อาจสูงกว่าการเดินหน้าสร้างต่อ นายทุนหลายเจ้าจึงเลือกวิธีการปล่อยอาคารทิ้งไว้เฉยๆ ให้เก่าไปตามกาลเวลา ดีกว่าต้องมาเสียเงินก้อนโต นอกจากนี้ อาคารบางแห่งที่ถูกหน่วยงานรัฐฟ้องร้องเนื่องจากก่อสร้างโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร […]

เจอเพื่อนใหม่ผ่านเส้นทางแบบไร้ไกด์กับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้’ โดย ILI.U ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ 11 – 12 ก.พ. 66

โอกาสเจอเพื่อนใหม่ในยุคนี้ช่างแสนยาก ส่วนเพื่อนเก่าที่มีก็นัดเจอลำบากเหลือเกิน เราจึงอยากชวนทุกคนไปเดินสำรวจเมืองกับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้’ ที่จะสุ่มให้ทั้งเส้นทางเดิน เพื่อนใหม่ และภารกิจที่มาพร้อมประสบการณ์สุดพิเศษ มิตรสหายรักเมืองของเรา ‘ไอแอลไอยู’ จับมือกับ ‘Bangkok Design Week 2023’ จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา เพื่อพาคนที่ชอบและอยากลองท่องเที่ยวในเมืองไปซอกแซกเข้าซอยนู้นโผล่ซอยนี้ใน ‘ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์’ รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์ย่านในมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อน  ความแปลกใหม่ของการเดินทางครั้งนี้คือ ทางไอแอลไอยูจะทำหน้าที่สุ่มเพื่อนร่วมเดินทาง และออกแบบวิธีเที่ยวให้คุณทดลองใช้ชีวิตหนึ่งวันกับเพื่อนใหม่ พร้อมกับทำความรู้จักย่านนี้ในมุมใหม่ๆ ไปด้วยกัน การ ‘สุ่มเพื่อน’ ที่ว่าคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นหนึ่งกลุ่มเล็กๆ ผ่านการเดินเที่ยวย่าน แวะชิมของอร่อย ลัดเลาะเข้าร้านต่างๆ หรือต่อให้จบทัวร์แล้วจะไปเที่ยวกันยาวๆ อีกก็ยังได้ ส่วนการ ‘สุ่มทาง’ คือ แต่ละกลุ่มจะได้รับเส้นทางแบบสุ่มที่ผู้จัดเตรียมไว้ให้ใน ‘Self-Guided Tour Manual คู่มือเดินทัวร์แบบสุ่มสี่สุ่มให้ ในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์’ ภายในเล่มประกอบด้วยเส้นทางที่ออกแบบมาให้ผู้ร่วมทัวร์ได้สุ่มทำความรู้จักย่าน ผ่านประวัติศาสตร์ฉบับย่อโดยไม่ต้องมีไกด์ พร้อมภารกิจสนุกๆ ที่จะสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้เฉพาะผู้ร่วมทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้เท่านั้น ทัวร์มีให้เลือก 2 วัน ได้แก่ วันเสาร์ที่ 11 และวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 […]

12 สถานที่พักผ่อนร่างกายและภายใน ฮีลตัวเองให้พร้อมลุยในวันต่อไป

ใกล้จบเดือนแรกของปี 2023 แล้ว ใครที่ตั้ง New Year’s Resolution เอาไว้ ทำสำเร็จกันไปกี่อย่างแล้วนะ ถ้ายังไม่ได้เริ่มหรือรู้สึกว่าอะไรหลายๆ อย่างดูไม่ค่อยเป็นใจให้ทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ ลองเริ่มจากอะไรง่ายๆ อย่าง ‘การพักผ่อน’ ก่อนไหม  การพักผ่อนที่ว่าไม่ได้หมายถึงนอนหลับเท่านั้น แต่รวมถึงการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านที่ช่วยให้เรารู้สึกถึงการพักผ่อนทั้งร่างกายและภายในอย่างเต็มอิ่ม ตามที่ ‘Dr.Saundra Dalton-Smith’ แพทย์และนักค้นคว้าเรื่องการพักผ่อนชื่อดังเคยเล่าไว้ว่า การพักผ่อนนั้นมีอยู่ 7 ประเภท ตั้งแต่การพักผ่อนร่างกายและจิตใจ การพักผ่อนผ่านประสาทสัมผัส ไปจนถึงการพักผ่อนโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ คอลัมน์ Urban’s Pick ขอรวบรวม 12 สถานที่ทั่วกรุงเทพฯ ที่เหมาะแก่การใช้เวลาพักผ่อนทั้งร่างกายและภายในมาให้ทุกคนไว้ใช้เป็นตัวเลือกในการเยียวยารักษาตัวเองกัน 01 | Physical Healingพักผ่อนร่างกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เราขอเริ่มหมวดหมู่แรกด้วยการพักผ่อนร่างกาย พูดอย่างนี้หลายคนคงคิดไปถึงฟิตเนสหรือการไปนวดคอบ่าไหล่แก้อาการ Office Syndrome แต่ความจริงแล้วในกรุงเทพฯ ยังมีสถานที่สำหรับพักผ่อนร่างกายอีกหลายแบบที่รอให้เข้าไปสัมผัสอยู่ Yunomori Onsen & Spa ‘Yunomori Onsen & Spa’ คือออนเซ็นและสปา ที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมการแช่บ่อน้ำแร่ร้อนแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นเข้ากับบริการสปาอันเลื่องชื่อของไทย […]

จากเด็กกลางกรุง สู่ผู้ใหญ่ที่อยากทำให้คนกลับมารักกรุงเทพฯ อีกครั้ง | คนย่านเดียวกัน EP.7

หลังจากที่ไปพูดคุยเรื่องถิ่นที่อยู่กับหลายตัวละคร วันนี้รายการ ‘คนย่านเดียวกัน’ ขอชวนคนใกล้ตัวแบบสุดๆ อย่าง ‘เตอร์-วันชนะ จิตต์การงาน’ Editor-in-chief & Co-founder แห่ง Urban Creature ผู้เติบโตในย่านกลางเมืองอย่างบางรัก-สี่พระยา มาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตที่ยึดโยงกับพื้นที่อยู่อาศัยกันบ้าง เพราะได้เห็นสิ่งต่างๆ มากมายทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงมีความเชื่อว่าเมืองดีกว่านี้ได้ ทำให้ชายคนนี้ปลุกปั้น Urban Creature ขึ้นมา เพื่อร่วมเป็นเสียงหนึ่งที่ทำให้ผู้คนกลับมารักเมืองอีกครั้ง และอยากทำให้มันดีขึ้น ติดตามฟัง ‘คนย่านเดียวกัน’ ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/1lLkwtAv3iY Spotify : http://bit.ly/4080Fmf Apple Podcasts : http://bit.ly/3XYU3Vt Podbean : http://bit.ly/3kOBkO7

City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]

สำรวจงานสร้างสรรค์ในธีม ‘เมือง-มิตร-ดี’ กับงาน Bangkok Design Week 2023 9 ย่านหลักทั่วกรุงเทพฯ 4 – 12 ก.พ. 66

ใครที่อยากสำรวจงานสร้างสรรค์และหาแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น เราอยากชวนไปงาน ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566’ หรือ ‘Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023)’ ที่จะจัดขึ้นใน 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมนำเสนอกิจกรรมมากกว่า 550 โปรแกรม Bangkok Design Week ครั้งที่ 6 มาในธีม ‘urban ‘NICE’ zation เมือง-มิตร-ดี’ ที่เปิดพื้นที่สำหรับคนทำงานสร้างสรรค์จากสาขาต่างๆ ในการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ที่เน้นการออกแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยมีเป้าหมายหลักคือ ‘ทำให้เมืองดีขึ้น’ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพัฒนากรุงเทพฯ สำหรับวันข้างหน้า BKKDW2023 อาศัยหลักการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคน และสร้างคนที่เป็นมิตรต่อเมือง ครอบคลุม 6 มิติทางสังคม ได้แก่ 1) Nice for Environment เป็นมิตรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม2) Nice for Culture เป็นมิตรที่ดีต่อวัฒนธรรม3) Nice for Diversity เป็นมิตรที่ดีต่อทุกความหลากหลาย4) Nice for […]

เมืองเสียงดัง เราเสียงดัง กรุงเทพฯ ติดอันดับ 9 เมืองเสียงดังที่สุดในโลก

แดดยามสายฉายเข้ามาผ่านหน้าต่างห้องทำงาน กาแฟคั่วอ่อนเพิ่งดริปจบมาหมาดๆ ไออุ่นและกรุ่นคาเฟอีนช่วยออกแรงผลักให้สมองเริ่มประมวลผล แต่แล้วรถบรรทุกขนาดใหญ่ก็ถอยหลังเครื่องกระหึ่มเข้ามาอย่างช้าๆ พร้อมกับเสียงสัญญาณแหลมกวนประสาท ต่อด้วยเสียงเพื่อนพนักงานที่ตะโกนคุยกันระหว่างบุหรี่หลังมื้อเช้า อีกสักพักเสียงเคลื่อนย้ายสิ่งของก็ดังขึ้นต่อเนื่องนานกว่าชั่วโมง ความเงียบสงบเมื่อครู่พาสมาธิเตลิดไปไกลกว่าจะเรียกคืนมาได้ก็เสียเวลาอยู่หลายนาที  เหตุการณ์เช่นนี้เป็นปัญหามลภาวะทางเสียงรูปแบบหนึ่งในอีกหลายพันปัญหามลภาวะทางเสียงที่เราหลายคนต่างพบเจอ เมื่อต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันกับผู้คนในสังคม ปัจจุบันเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ มีประชากรมากเกือบถึงหกล้านคน พูดได้ว่านอกจากเสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติแล้ว เราต่างเป็นแหล่งกำเนิดเสียงภายในเมืองเช่นเดียวกัน ด้วยปัญหามลภาวะทางเสียงส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึก และปัญหาของเสียงที่ดังขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติเรื่อยไปเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองในระยะยาว ในวันที่เมืองยังมีเสียง คอลัมน์ City by Numbers ขอพาทุกคนไปสำรวจดูว่า ย่านไหนในกรุงเทพมหานครที่มีเสียงดังที่สุด ไปฟังกันว่าเสียงที่ได้ยินอยู่นั้นยังคงเป็นเสียงที่ดังปกติหรือเปล่า พื้นที่สาธารณะเสียงดังได้แค่ไหน ข้อมูลระดับเสียงที่อนุญาตจากองค์การอนามัยโลก (WHO) คือ 55 เดซิเบล (dB) สำหรับพื้นที่พักอาศัยกลางแจ้ง และ 70 dB สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์และที่ที่มีการจราจรติดขัด  หูของมนุษย์นั้นสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่ 0 dB ขึ้นไป เพื่อให้นึกระดับความดังของเสียงออกมากยิ่งขึ้น เราขอลองยกตัวอย่างเปรียบเทียบดังนี้  – ระดับเบามาก 0 – 20 dB เช่น เสียงกระซิบ เสียงลมหายใจ หรือเสียงในป่า– ระดับเบา […]

1 2 3 4 5 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.