Act on Art เมืองอาร์ตได้เมื่อกฎหมายผลักดัน

หากพูดถึงการชมงานศิลปะในไทย ภาพแรกที่ผุดขึ้นอาจเป็นภาพแกลเลอรีในห้องแอร์ เงียบสงัด ผนังสีขาวโล่งขับชิ้นงานให้เด่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เต็มไปด้วยชิ้นงานหลายยุคสมัยพร้อมป้ายอธิบายยาวเหยียด หรือห้องโถงที่มีประติมากรรมตั้งอยู่ตรงกลางให้เราคอยเดินเพ่งพิจารณา แต่ที่ประเทศเกาหลีใต้เขาไม่ทำกันแค่นั้น การติดตั้งผลงานศิลปะในประเทศนี้เกิดขึ้นได้ตามท้องถนน จากการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงการจัดโครงการเพื่อจ้างศิลปิน หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ผู้ขอรับการส่งเสริมเท่านั้น แต่ยังมีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารการออกแบบเมือง ที่สนับสนุนผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้อีกด้วย ในทริปเมืองโซลที่ผ่านมา เราพักอยู่ในย่านกังนัม ถนนซัมซอง ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ (CBD : Central Business District) ของเมืองหลวงประเทศเกาหลีใต้ ทำให้ริมถนนใหญ่ย่านนี้เต็มไปด้วยอาคารใหม่ๆ ทั้งสำนักงานใหญ่ ธนาคาร โรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์การค้า รวมไปถึงศูนย์ประชุมและนิทรรศการขนาดใหญ่อย่าง COEX Convention & Exhibition Center โดยย่านนี้อยู่ติดกับถนนเทเฮรัน (Teheran-ro, 테헤란로) ซึ่งเป็นย่านที่เทียบได้กับ Silicon Valley และบริเวณถนนโอลิมปิก ที่เชื่อมต่อไปสู่ โซล โอลิมปิก ปาร์ก (Seoul Olympic Park) เมื่อมองปราดแรกไปตามข้างถนน จะเห็นแค่ระนาบอาคารที่ร่นระยะเปิดทางเท้ากว้างจนตั้งแถวเดินเป็นบอยแบนด์ยุค 80 ได้ แต่พอสังเกตดีๆ จะเห็นประติมากรรมน้อยใหญ่ตั้งอยู่หน้าอาคารเหล่านี้ […]

จับตา สว. โหวต ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ ในวาระ 2 และ 3 หลังสภาให้ไฟเขียวในวาระ 1 พรุ่งนี้ 18 มิ.ย. 67 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป

หนึ่งประเด็นทางการเมืองที่น่าจับตามองคงหนีไม่พ้น ‘ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ที่ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา หลังผ่านร่างกฎหมายในสภาไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ด้วยคะแนน 147 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ถือเป็นก้าวสำคัญของความเท่าเทียม หลังจากมีการถกเถียงและเรียกร้องกันมาอย่างยาวนาน โดยจุดสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การแก้ไขให้บุคคลสองคนทุกเพศ รวมถึงคนที่มีเพศเดียวกัน สามารถสมรส จัดการทรัพย์สิน และรับบุตรบุญธรรมได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งในกรณีของการรับบุตรบุญธรรม การกำหนดอายุและบริบทของสังคมยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่ในสภา จึงเป็นเรื่องที่เหล่านักออกกฎหมายต้องแก้ไขกฎหมายให้ครอบคลุมมากกว่าเดิมแบบไม่มีช่องว่าง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าหลังจากที่มีการโหวตผ่านโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ไปก่อนหน้า แต่ขั้นตอนการพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียมยังไม่จบอยู่เพียงเท่านี้ เพราะในวันที่ 18 มิถุนายน ร่างกฎหมายฉบับนี้จะถูกพิจารณาอีกครั้งในที่ประชุมโดยสมาชิกวุฒิสภา (สว.) และจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก สว.ชุดรักษาการ โดยมีเสียงเห็นชอบทั้งฉบับลงมติชี้ขาดในที่ประชุม ถึงจะส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ แต่หากไม่เห็นชอบ ร่างกฎหมายจะถูกยับยั้งและส่งกลับไปยังสภาผู้แทนฯ ก่อนร่างกฎหมายจะถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้หลังพ้นไปแล้ว 180 วัน หากกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่าน นี่จะเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของทุกคนต้อนรับเดือน Pride Month อย่างแน่นอน เพราะถือเป็นอีกหนึ่งขั้นในระยะทางยาวนานกว่า 12 […]

ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีปัญหารถเก่าใช้งานไม่ได้ทิ้งตามรายทางอยู่เต็มไปหมด

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรต่อพื้นที่หนาแน่นมากที่สุดในประเทศไทย ทุกพื้นที่มีความสำคัญและมูลค่าที่ทุกคนต้องแย่งชิง ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ของรถยนต์ ด้วยระบบขนส่งมวลชนของบ้านเราที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อรถยนต์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบาย บ้านบางหลังมีรถยนต์มากกว่าหนึ่งคันแต่กลับไม่มีที่จอด เราจึงพบเห็นผู้จอดรถไว้ตามริมทางได้ทั่วเมือง บางคันเป็นรถเก่าที่ไม่มีที่เก็บและปล่อยทิ้งไว้เลยตามเลยจนกลายสภาพเป็น ‘ซากรถ’ ซากรถจำนวนมากถูกทิ้งด้วยความมักง่าย เกิดเป็นปัญหาสะสมที่ขัดขวางทั้งทางคนเดินและทางเดินรถ อีกทั้งยังเป็นแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยสร้างความสกปรกให้กับพื้นที่ ถึงอย่างนั้น ต้นตอของปัญหาซากรถเต็มเมืองอาจมีมากกว่าจิตสำนึกของคน เพราะกฎหมายและนโยบายการจัดการซากรถเองก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงต้นตอของปัญหาการทิ้งซากรถ ทั้งค่าใช้จ่ายจุกจิกในการกำจัดรถ ขั้นตอนการดำเนินการที่มากมาย และนโยบายการแก้ไขที่ทางภาครัฐกำลังทำอยู่ ขั้นตอนมากมายกับค่าใช้จ่ายท่วมหัวในการกำจัดรถ คงไม่มีเจ้าของรถคนไหนอยากปล่อยรถของตนทิ้งไว้ริมทาง แต่ด้วยค่าซ่อมแซมที่มากโขในช่วงเศรษฐกิจซบเซา หรือจะขยายพื้นที่ทำที่จอดรถก็จำเป็นต้องใช้เงินสูง ส่งผลให้บางคนเลือกปล่อยเลยตามเลยทิ้งรถไว้ริมทางโดยไม่สนใจผลกระทบต่อสาธารณะ ครั้นจะเป็นพลเมืองดีนำรถไปกำจัด พอเห็นค่าใช้จ่ายและขั้นตอนก็ทำเอาหลายคนถอดใจไปก่อน ประกันภัยรถยนต์เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับการกำจัดรถที่น่าสนใจ เพราะหากรถยนต์คันหนึ่งเสียหายหนัก ต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทุนประกัน เจ้าของรถสามารถเลือกขายซากรถคันนั้นให้ทางบริษัทประกัน เพื่อรับค่าชดเชยทุนประกันได้ทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีประกันภัยรถยนต์ซึ่งรถเก่าส่วนใหญ่มักไม่มีอยู่แล้ว เจ้าของรถจำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งเรียกรถมายก ตรวจสภาพ ดำเนินเรื่องซื้อขายกับอู่ที่รับซื้อ และเตรียมเอกสารแจ้งกับทางขนส่ง ซึ่งแน่นอนว่าทุกขั้นตอนจำเป็นต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ทำให้หลายคนเลือกปล่อยทิ้งซากรถเหล่านั้นไว้ริมถนนเพราะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด แต่สำหรับผู้มีทุนทรัพย์ที่พร้อมจ่ายค่าดำเนินการต่างๆ ก็ใช่ว่าจะทำได้สะดวกสบาย เพราะยังต้องพบเจอกับปัญหาสุสานรถยนต์หรือสถานที่กำจัดรถอย่างถูกต้องที่มีไม่เพียงพอ จนกลายเป็นการสร้างมลพิษจากการกำจัดรถยนต์ที่ไม่ถูกวิธี ขาดแคลนสถานที่กำจัดซากรถ แถมยังสร้างมลพิษ สถานที่ในการกำจัดรถยนต์ส่วนใหญ่มักตั้งอยู่นอกเมือง เพราะต้องใช้เนื้อที่กว้างขวางในการปฏิบัติงาน แค่ลำพังการหาพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ก็เป็นเรื่องยากระดับหนึ่ง แต่การได้รับการยินยอมจากชาวบ้านในพื้นที่อาจยากยิ่งกว่า […]

ป้ายบอกทางพื้นเขียวฟอนต์ขาว ดูยังไงว่าถูกกฎหมายหรือไม่

การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะเปิดดูตาม Google Maps แล้วก็ตาม แต่ถ้ามีป้ายบอกทางสักหน่อยก็คงจะทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้ไม่คุ้นชินเส้นทางสบายใจไม่น้อยเลยทีเดียว ในบรรดาป้ายที่เราเห็นกันมักจะเป็น ‘ป้ายบอกทาง’ (Guide Sign) ที่มีลักษณะเป็นป้ายสีเขียวตัวหนังสือสีขาว หรือป้ายสีขาวตัวหนังสือสีดำ เหมือนกับป้ายบอกทางบนถนนหลวงทั่วไป แต่บางป้ายก็ติดตั้งกีดขวางทางเดิน ทำให้ไม่เหลือพื้นที่บนทางเท้าราวกับไม่ได้รับอนุญาต หรือบางครั้งก็ดูแตกต่างจากป้ายอื่นๆ ทั่วไป จนทำให้เกิดคำถามว่า แล้วป้ายทั้งหมดที่เราเห็นตามทางเหล่านี้ถูกกฎหมายหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity อาสาพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับป้ายบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆ ว่า ป้ายแบบไหนที่ผิดกฎหมายบ้าง และถ้าต้องติดตั้งป้ายแบบไหนถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ป้ายแบบไหนที่ไม่สามารถติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีป้ายทั้งหมด 7 ประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้ง คือ ป้ายเกาะกลางถนน ป้ายบนสะพานลอย ป้ายหน้าปากซอย ป้ายที่อยู่ในเขตทาง ป้ายอวยพรในเทศกาลต่างๆ ป้ายติดตามผนังกำแพงบ้านเรือนประชาชน และป้ายลอกเลียนแบบ กทม. อ่านๆ ดูป้ายประเภทอื่นๆ ก็พอเข้าใจได้ แต่ป้ายลอกเลียนแบบ กทม. คืออะไร ทุกคนสงสัยไหม ป้ายประเภทนี้เรามักพบเห็นได้ทั่วไป จนแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนคือป้ายที่ถูกกฎหมาย หรืออันไหนคือป้ายเลียนแบบเพื่อเลี่ยงภาษีป้าย โดยปกติแล้วหากมีผู้พบเห็นและแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ ทาง กทม.ก็จะรื้อถอนหากไม่มีเจ้าของป้ายมาแสดงตน แต่ถ้าในกรณีที่ป้ายติดตั้งในพื้นที่เอกชน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาเจ้าของว่าได้เสียภาษีป้ายอย่างถูกต้องตาม […]

รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์แบบไหนปลอดภัย สังเกตง่ายๆ ดูได้จากท้ายรถ

เวลาขับรถแล้วเจอรถบรรทุกที่มาพร้อมตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ หลายคนคงใจตุ๊มๆ ต่อมๆ คิดจินตนาการกันไปไกลถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเราเป็นฉากๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ความกังวลใจยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้น เพราะที่ผ่านมาเรามักเห็นข่าวการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกที่ตู้คอนเทนเนอร์พลัดหลุดร่วงลงมาทับรถเล็กข้างๆ อยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงการได้รับข่าวสารมาว่าส่วนใหญ่รถบรรทุกเหล่านี้มักไม่มีการล็อกตู้คอนเทนเนอร์ให้ติดกับตัวรถ เพราะเชื่อว่าหากเกิดอุบัติเหตุจะทำให้รถพลิกคว่ำ จากความอันตรายนี้ก่อให้เกิดความสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่แล่นอยู่ข้างหน้าเรานั้นมีการล็อกตู้บรรทุกสินค้าอย่างแน่นหนาหรือไม่ เพื่อความสบายใจของการขับขี่บนท้องถนน คอลัมน์ Curiocity มีทริกการสังเกตรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่ปลอดภัยแบบง่ายๆ ดูได้จากท้ายรถมาฝากกัน กฎหมายการขนส่งทางบก (พยายาม) คุมเข้ม แม้จะมีข่าวตู้คอนเทนเนอร์ร่วงหลุดจากรถบรรทุกอยู่บ่อยครั้ง แต่ความเป็นจริงแล้วใน ‘พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522’ ได้มีการเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า รถบรรทุกที่มีการบรรทุกของนั้นต้องมีอุปกรณ์ตัวล็อกอย่างแน่นหนา และคลุมสิ่งของเหล่านั้นด้วยผ้าที่มีสีทึบ เพื่อไม่ให้ของที่บรรทุกมานั้นตกหล่น ปลิว หรือกระเด็นใส่รถคันอื่นๆ และตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นมา กรมการขนส่งทางบกก็ได้ออกโรงประกาศชัดอีกครั้งว่า รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จดทะเบียนใหม่ทุกคันต้องติดตั้ง ‘Twist-lock’ หรืออุปกรณ์ยึดตรึงตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถบรรทุกทุกคันจำเป็นต้องติดตั้ง Twist-lock ไม่น้อยกว่า 4 จุดต่อ 1 ตู้บรรทุกสินค้า และต้องอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้การกระจายน้ำหนักบรรทุกมีความเหมาะสม รวมถึงติดแผ่นสะท้อนแสงหรือสีสะท้อนแสงสีขาว เหลือง และแดง ในรูปสี่เหลี่ยมขนาดไม่น้อยกว่า 50×50 มม. หรือรูปวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า […]

เจ้าของพื้นที่รู้ ผู้อยู่สบายใจ ตึกสูงแบบไหนถูกกฎหมายควบคุมอาคาร

‘กฎหมายควบคุมอาคาร’ อาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน ชนิดที่ว่าถ้าไม่ได้กำลังจะซื้อที่ดินสำหรับปลูกสิ่งก่อสร้างหรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ไหนสักแห่ง เราคงไม่มีทางหยิบตัวบทกฎหมายนี้ขึ้นมาศึกษาอย่างจริงๆ จังๆ แต่จากหลากหลายเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา เราเชื่อว่าหลายคนอาจกำลังสนใจตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างกันมากขึ้น เพราะเริ่มร้อนๆ หนาวๆ ว่าตึกสูงที่เรากำลังใช้ชีวิตกันอยู่ มีส่วนไหนที่ผิดเพี้ยนไปจากที่เขียนไว้ในข้อกฎหมายบ้างหรือไม่ วันนี้ Urban Creature ขออาสาขมวดย่อกฎหมายควบคุมอาคารในหมวด 1 ที่ว่าด้วยลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างภายนอกอาคารและแนวอาคารออกมาให้ทุกคนทำความเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น เผื่อเป็นเช็กลิสต์คร่าวๆ สำหรับคนที่กำลังจะเช่าหรือซื้อคอนโดฯ ในตึกสูงช่วงนี้ เข้าใจกฎหมายควบคุมอาคาร ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ‘พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร’ หรือที่ใครหลายคนเรียกกันจนติดปากว่า ‘กฎหมายอาคาร’ คืออะไร พ.ร.บ.ควบคุมอาคารที่เราใช้กันทุกวันนี้เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของความปลอดภัยของอาคาร เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร ถ้าพูดถึงอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในตัวกฎหมายจะใช้วิธีการแบ่งจากขนาดพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นได้ออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร และกรณีพื้นที่อาคารเกิน 30,000 ตารางเมตร ดูอาคารยังไง ออกแบบแบบไหนไม่ผิดกฎหมาย ใน 2 กรณีที่ว่านี้มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่ที่ขนาดของถนนสาธารณะที่ติดกับตัวพื้นที่ โดยกรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ถนนสาธารณะต้องมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร และยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรเช่นกัน […]

‘คนร่างไม่ได้เล่น คนเล่นไม่ได้ร่าง’ คุยปัญหา พ.ร.บ.เกมกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย

‘คนไทยมีความสามารถ แต่ขาดโอกาสและการผลักดันจากภาครัฐ’ น่าจะเป็นคำพูดคลาสสิกที่เรามักได้ยินอยู่บ่อยครั้ง และไม่เคยเลือนหายไปจากสังคมไทยแม้กาลเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน ยิ่งในวันที่บนโลกออนไลน์มีการพูดถึง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และเกมฉบับใหม่ ที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) จากคนในวงการภาพยนตร์และเกมไปได้ไม่นาน จนเกิดคำถามว่า การมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาคือการส่งเสริมหรือจำกัดเสรีภาพคนทำเกมอยู่กันแน่ เพราะกว่าจะวางขายเกม ทำโฆษณา หรือจัดเรตติงได้ ต้องรอทางกระทรวงวัฒนธรรมอนุมัติ ซ้ำร้ายหากมีการทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจก็ถือเป็นโทษอาญาที่จำคุกสูงสุดถึง 5 ปี เพื่อให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น เราขอฝ่าดันเจี้ยนบุกไปสนทนากับ ‘ป๊อป-เนนิน อนันต์บัญชาชัย’ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (Thai Game Software Industry Association : TGA) กันถึงออฟฟิศบริษัท EXZY Company Limited ที่ป๊อปเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง 4 ปีกับการดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมเกมไทยเป็นอย่างไรบ้าง สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย’ หรือ ‘TGA’ เป็นสมาคมการค้าไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งมานานกว่า 17 ปีแล้ว มีสมาชิกอยู่ประมาณ 50 บริษัท เป็นการรวมตัวกันของ ‘นักพัฒนาเกม’ (Game Developer) กับ ‘ผู้เผยแพร่เกม’ (Publisher) หรือที่เรียกรวมๆ […]

ร้านไหนเปิดถูกกฎหมาย ร้านไหนทุนจีน ดูได้จากการออกใบเสร็จ

หลังจากเกิดกระแสร้านชาบูหม่าล่าหม้อไฟและสายพานฮิตขึ้นมาแบบฉุดไม่อยู่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้มองไปทางไหนก็มีแต่ร้านหม้อไฟสไตล์จีนหลากหลายรูปแบบเต็มเมืองไปหมด โดยเฉพาะบริเวณห้วยขวางและถนนบรรทัดทองที่มีร้านอาหารทั้งที่เปิดแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายจากกลุ่มทุนจีนปะปนกันอยู่ตลอดสองฝั่งถนน จนบางคนถึงกับตั้งฉายาใหม่ให้เป็นไชนาทาวน์แห่งที่ 2 และ 3 ที่ดูเหมือนว่าจะมีแห่งที่ 4 5 หรือ 6 ตามมาในอนาคตอันใกล้ หากรัฐไม่มีมาตรการการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด ในอนาคตพื้นที่เหล่านี้อาจเต็มไปด้วยร้านอาหารทุนจีนผิดกฎหมาย เนื่องจากใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายในการลักลอบเปิด และทำให้ลูกค้าหลงเข้าไปใช้บริการโดยไม่รู้ตัว เห็นปัญหาแบบนี้แล้ว ถ้าเราอยากกินหม่าล่าขึ้นมา แต่ไม่อยากสนับสนุนร้านอาหารทุนจีนผิดกฎหมาย ต้องทำอย่างไรดี วันนี้ Urban Creature ขอแนะนำวิธีง่ายๆ ในการดูว่าร้านไหนเป็นร้านค้าปลีกที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนอย่างถูกต้องกับกรมสรรพากรผ่านบิลใบเสร็จที่เราจะได้รับหลังจากชำระค่าบริการ 🧾 ร้านแบบไหนต้องออกใบเสร็จให้ลูกค้าบ้าง ปกติแล้วบิลใบเสร็จที่เราได้มาทุกครั้งหลังซื้อของหรือกินอาหาร จะถูกเรียกชื่อเต็มๆ ว่า ‘ใบกำกับภาษีอย่างย่อ’ เป็นเอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วมีหน้าที่ต้องจัดทำและออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ โดยกิจการที่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในที่นี้คือกิจการที่เป็นการขายสินค้าในลักษณะ ‘ขายปลีก’ เช่น ร้านขายยา ร้านขายของชำ หรือห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงกิจการที่ให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม และกิจการประเภทซ่อมแซมทุกชนิดนั่นเอง ซึ่งใบกำกับภาษีอย่างย่อจะเกิดขึ้นได้หลังจากที่ผู้ประกอบกิจการยื่น ‘จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม’ และ ‘ยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษี’ ต่อ ‘กรมสรรพากร’ เท่านั้น 🧾 ใบเสร็จที่ถูกกฎหมายต้องเป็นอย่างไร แต่การที่ผู้ประกอบกิจการจะออกใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับเราได้ ลำพังเพียงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีต่อกรมสรรพากรคงไม่พอ […]

‘คนไทยขับรถไม่ดี เพราะนิสัยหรือความเหลื่อมล้ำบนท้องถนน’ คุยกับอ. ดร.เปี่ยมสุข สนิท

ย้อนกลับไปปี 2018 องค์การอนามัยโลกได้จัดทำรายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยพบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุดเป็นลำดับที่ 9 ของโลก โดยประมาณการผู้เสียชีวิต 32.7 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน แม้ว่าปีต่อมาสถานการณ์อุบัติเหตุไทยดีขึ้นเล็กน้อย แต่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดอันดับ 1 ในเอเชียและภูมิภาคอาเซียน ต่อมาในปี 2019 เป็นที่ฮือฮามากที่ The New York Times รายงานข่าวเป็นเวอร์ชันภาษาไทยครั้งแรก ในหัวข้อ ‘ถนนในเมืองไทยเป็นถนนที่อันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นคนจน’ และนั่นกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้หลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำบนท้องถนนที่คนจนตกเป็นเหยื่ออุบัติเหตุมากกว่าคนมีฐานะ จากระบบบัญชีข้อมูลด้านคมนาคม รายงานอุบัติเหตุปี 2564 เผยว่า อุบัติเหตุที่เกิดจากรถยนต์มีทั้งหมด 5,246 ครั้ง ส่วนอุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซค์ 2,069 ครั้ง แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เทมาที่ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ร้อยละ 41 ส่วนผู้ใช้รถยนต์เสียชีวิตแค่ร้อยละ 17 เท่านั้น นอกจากนี้ ข้อมูลจากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบกที่อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ระบุว่า ประเภทรถที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศคือ รถจักรยานยนต์ 22.2 ล้านคัน ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคล 11.9 […]

ไขข้อข้องใจ จอดรถบริเวณไหนผิดกฎหมายและเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

ปัญหาหนึ่งที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน โดยเฉพาะในตัวเมืองกรุงเทพฯ ต้องเจอบ่อยๆ คือการ ‘ไม่มีที่จอดรถ’ ไม่ว่าจะเป็นตอนไปกินข้าวตามร้านอาหาร ทำธุระ หรือแม้กระทั่งในซอยบริเวณบ้านของตนเองก็ตาม ถ้าเป็นเส้นทางหลักที่มีแถบสีของฟุตพาท แดง เหลือง หรือดำ กำกับไว้ ก็คงไม่ใช่เรื่องเข้าใจยากเท่าไหร่ แต่สำหรับพื้นที่ในตรอกซอกซอย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่ไหนจอดได้หรือไม่ได้บ้าง คอลัมน์ Curiocity พาไปไขข้อข้องใจเรื่องนี้ ด้วยการเปิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจอดรถ ตั้งแต่จอดตรงไหนผิดกฎหมายบ้าง ถ้าบังเอิญจอดในพื้นที่ผิดกฎหมายจะต้องเจอกับอะไร และถ้าเราเป็นผู้เดือดร้อนจากกรณีดังกล่าวจะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน จอดตรงไหนผิดกฎหมายบ้าง นอกจากการจอดยานพาหนะทางบกไว้ในพื้นที่ของตนเองที่มีรั้วรอบขอบชิด เพื่อความถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ตามกฎหมายผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีสิทธิ์จอดรถในทางสาธารณะหรือพื้นที่เอกชนโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะมีความผิดตาม ‘พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55’ ในหมวด 4 เรื่องการหยุดและจอดรถที่ว่าด้วยการมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถใน 7 กรณี ดังนี้ 1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง2) บนทางเท้า3) บนสะพานหรือในอุโมงค์4) ในทางร่วมทางแยก5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ6) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ7) ในเขตปลอดภัย พูดง่ายๆ ว่า ถึงแม้เราจะจอดรถในซอยหรือบริเวณหน้าบ้านตัวเองก็อาจผิดกฎหมายได้ หากมีลักษณะตรงตาม 7 กรณีที่กล่าวมาข้างต้น หากผิดกฎหมาย […]

Sexploration ล้วงลับ จับปัญหาเรื่องเพศ ที่ทำอย่างไรไทยก็ไม่เปิดกว้างเสียที

ในขณะที่ประเทศไทยเรียกตัวเองว่าเป็น ‘เมืองพุทธ’ และกีดกัน ‘อบายมุข’ ทุกวิถีทาง แต่ต่างชาติกลับรู้จักไทยเพราะ ‘สถานเริงรมย์’ ชื่อดังที่มาจาก ‘การท่องเที่ยวทางเพศ (Sex Tourism)’  เพราะไม่ว่าจะเป็นย่านพัฒน์พงศ์ ซอยคาวบอย ซอยธนิยะ หรือพัทยา เหล่านี้ล้วนเป็นสถานที่สำหรับแสวงหาความสำราญในยามค่ำคืน มีเม็ดเงินสะพัด จนสร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศ แต่ไม่ว่าการท่องเที่ยวรูปแบบนี้จะทำรายได้มากแค่ไหน ตัวเลขเหล่านี้กลับไม่เคยถูกนับรวมเข้าไปในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เลยสักครั้ง เพราะการท่องเที่ยวทางเพศไปจนถึงการซื้อขายและเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร ยังถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทย และถูกมองในเชิงลบจากประชาชนบางกลุ่ม เนื่องจากได้รับการปลูกฝังและเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนผ่านมุมมองทางศีลธรรม ทำให้เรื่องเพศในไทยเป็นเสมือนเรื่องต้องห้ามที่ไม่สามารถพูดคุยได้อย่างเปิดเผย คอลัมน์ Overview ประจำเดือนกุมภาพันธ์ขอหยิบเอาอีกแง่มุมหนึ่งในสังคมอย่างปัญหาเรื่องเพศออกมาสำรวจกันอีกครั้ง พร้อมชวนหาคำตอบว่าทำไมไทยถึงไม่สามารถเปิดกว้างเรื่องเพศอย่างประเทศอื่นเขาได้เสียที  สถิติการท่องเที่ยวทางเพศในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องตลกร้ายอยู่ไม่น้อยที่สถานบริการทางเพศกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งคนไทยและต่างชาติรู้ดี แต่ตำรวจไทยกลับ (แกล้ง) ไม่รู้ จนถึงขนาดว่าในปี 2562 ตำรวจได้ลงพื้นที่สำรวจวอล์กกิ้งสตรีทที่พัทยา แต่กลับไม่พบว่ามีการขายบริการทางเพศในบริเวณนั้น ทั้งๆ ที่หากย้อนกลับไปเมื่อในปี 2557 เว็บไซต์ Havocscope ได้เก็บข้อมูลผู้ขายบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ประเทศไทยมีผู้ให้บริการทางเพศมากกว่า 250,000 คน จากทั้งหมดประมาณ 13.8 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ […]

ไทยติด 10 ประเทศอันตรายที่สุดในโลกสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติผู้หญิง

ผลสำรวจจาก World Population Review ปี 2022 เผยว่า ‘ประเทศไทย’ ติดอันดับ 10 เมืองอันตรายที่สุดในโลกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้หญิง จากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก โดยรวบรวมข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สำรวจความคิดเห็นผู้หญิงชาวอเมริกันที่เคยเดินทางท่องเที่ยวภายในหนึ่งปี ไม่ว่าจะไปคนเดียวหรือไปหลายคน ทั้งหมดประมาณ 32 ล้านคน  เกณฑ์การให้คะแนนพิจารณาจากสภาพแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก เช่น ความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน การเลือกปฏิบัติทางกฎหมาย ความรุนแรงทางเพศ ความไม่เท่าเทียมทางเพศ และทัศนคติต่อความรุนแรง ซึ่งคะแนนเต็มทั้งหมด 800 คะแนน โดยผลสรุป 10 อันดับแรกจากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ – อันดับ 1 แอฟริกาใต้ 772 คะแนน – อันดับ 2 บราซิล 624 คะแนน – อันดับ 3 รัสเซีย 593 คะแนน – อันดับ 4 เม็กซิโก […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว