
LATEST
‘4D-Knit Dress’ ชุดเดรสแห่งอนาคต ที่ปรับขนาดให้พอดีได้ด้วยความร้อน เพื่อลดขยะในการผลิตและสต๊อกส่วนเกิน
กว่าจะมาเป็นเดรสสักตัวที่วางขายตามหน้าร้านเสื้อผ้า เบื้องหลังการผลิตล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยเศษผ้าเหลือทิ้งและสต๊อกของชุดแต่ละไซซ์ที่จำเป็นต้องผลิตออกมาเพื่อให้ครอบคลุมการสวมใส่ จนเกิดเป็นขยะเสื้อผ้าจำนวนมาก เพื่อลดจำนวนขยะเสื้อผ้าเหลือทิ้งจากการผลิต นักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้ร่วมมือกับ Ministry of Supply แบรนด์แฟชั่นเครื่องแต่งกายสัญชาติอเมริกัน ผลิต ‘4D-Knit Dress’ ชุดเดรสจากเส้นด้ายพิเศษที่สามารถปรับขนาดให้พอดีกับทรวดทรงผู้สวมใส่ได้ด้วยความร้อน 4D-Knit Dress สร้างขึ้นจากเส้นใยไนลอนที่ผสมกับเส้นใยวิสโคส (Viscose) และโพลีเอสเตอร์ (Polyester) ที่ได้รับการพัฒนาโดย Self-Assembly Lab ให้สามารถปรับแต่งขนาดชิ้นงานได้จากการกระตุ้นด้วยความร้อน อีกทั้งยังมีการขึ้นรูปเสื้อผ้าด้วยการถักแบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่คล้ายกับการพิมพ์แบบ 3 มิติ ที่จะแตกต่างจากการสร้างเสื้อผ้าโดยทั่วไปในอดีตที่ขึ้นแพตเทิร์นแบบ 2 มิติ ก่อนนำมาตัดเย็บให้กลายเป็น 3 มิติในภายหลัง จึงทำให้เกิดขยะส่วนเกินตามมา 4D-Knit Dress จะวางขายที่หน้าร้านของแบรนด์ Ministry of Supply ในกรุงบอสตัน ในลักษณะชุดเดรสท่อนยาวแบบตรงๆ ที่ไม่โค้งรับกับสัดส่วนการสวมใส่ แต่เมื่อมีการซื้อขาย ชุดเหล่านี้จะถูกนำไปผ่านความร้อนที่ปล่อยจากแขนหุ่นยนต์ เพื่อสร้างชุดเดรสตัวเก่งให้เหมาะสมกับสรีระและความต้องการของผู้สวมใส่อย่างสมบูรณ์แบบ ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดขยะจากผ้าและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตเสื้อผ้า นอกจากนี้ ผู้สวมใส่ยังไม่ต้องกังวลในการสวมใส่ซ้ำ เนื่องจากชุดที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุณโดยเฉพาะจะยังคงสภาพได้เป็นอย่างดี และซักด้วยน้ำเย็นเพื่อนำมาใส่ซ้ำได้แบบไม่รู้จบ […]
จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก
‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]
พระราชวังพญาไท ฉลอง 101 ปี ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน พร้อมโชว์แสงสีเสียง 14 ก.พ. – 16 มี.ค.
‘พระราชวังพญาไท’ เป็นหนึ่งในพระราชวังของไทยที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน นอกจากจะเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงแรมชั้นหนึ่ง สถานีวิทยุกระจายเสียง ปัจจุบันยังกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชมความงดงามของสถานที่แห่งประวัติศาสตร์นี้อีกด้วย ในปีนี้ พระราชวังพญาไทจะมีอายุครบ 101 ปี จึงมีการเฉลิมฉลองกับงาน ‘101 ปี พระราชวังพญาไท’ (THE GLORY OF SIAM) โดยถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้รับชมความงามของพระราชวังพญาไทในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน (Night Museum) ที่เต็มไปด้วยการแสดง แสง สี เสียง และศิลปะอันสวยงามในพื้นที่ต่างๆ ของพระราชวัง ไม่ว่าจะเป็น Architecture Lighting, Interior Lighting, Projection Mapping และ Lighting Installation งาน 101 ปี พระราชวังพญาไท จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 16 มีนาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 21.30 น. ณ […]
สัมผัสเส้นทางประวัติศาสตร์ไปพร้อมเพื่อนใหม่ที่ไม่รู้จัก ในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ กับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ 2.0’
นัดเพื่อนเก่ากินข้าวว่ายากแล้ว นัดไปเดินสำรวจเมืองด้วยกันคงเป็นเรื่องยากกว่า งั้นจะง่ายกว่าไหม ถ้าเราลองไปเดินดูเมืองกับเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยพบหน้าค่าตามาก่อน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเข้าร่วม ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ 2.0’ ที่มีคอนเซปต์เก๋ไก๋ด้วยการพาไปพบเจอเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนแต่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน กิจกรรมนี้เกิดจากการจับมือกันระหว่าง ‘ไอแอลไอยู’ และ ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่เพิ่งจบไป เกิดเป็นทริปในรูปแบบ ‘Self-guided Tour Manual’ หรือการเดินเที่ยวเองตามคู่มือโดยไม่มีไกด์นำทัวร์ เพื่อเป็นการเชิญชวนผู้คนที่ชอบท่องเที่ยวให้ลองซอกแซกเข้าซอยนู้น โผล่ซอยนี้ได้อย่างอิสระ ไปพร้อมๆ กับเพื่อนร่วมทางแปลกหน้า รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์ย่านในมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อน หลังจากได้รับผลตอบรับที่ดีในปีที่ผ่านมา ทำให้ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ จากเดิมที่มีเพียงการสุ่มสถานที่เท่านั้น กลับมาอีกครั้งในเวอร์ชัน 2.0 โดยเพิ่ม 4 เส้นทางตัวแทนเรื่องราวในย่าน ไม่ว่าจะเป็น Nameless Street Food เส้นทางนักกิน, Back to the 90s เส้นทางบันเทิง, Caffeine Calling เส้นทางกาแฟ และ History Nerds เส้นทางประวัติศาสตร์ ในครั้งนี้เราและเพื่อนใหม่ถูกสุ่มให้เจาะเวลาเดินทางย้อนไปในเส้นทาง History Nerds […]
ชวนคนทำงานสร้างสรรค์ยืนยันความเป็นเจ้าของผลงานด้วยเรียลไทม์แสตมป์ ผ่าน ‘Creative Asset Platform’
ปัจจุบันผู้คนต่างให้ความสำคัญกับคำว่า ‘สิทธิ’ มากขึ้น เพื่อเป็นการปกป้องและรักษาผลประโยชน์ที่เราควรได้รับ โดยเฉพาะกับคนที่ทำงานในสายอาชีพที่ต้องใช้ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ควรมีการรักษาสิทธิในผลงานของตัวเอง เพื่อไม่ให้ถูกอ้างสิทธิ์ในผลงานและนำไปต่อยอดทางพาณิชย์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดแพลตฟอร์มใหม่ ‘Creative Asset Platform’ หรือ ‘CAP’ ให้กับเหล่านักสร้างสรรค์ได้ใช้ยืนยันสิทธิในผลงานหรือชิ้นงานของตนเอง ตั้งแต่ระดับไอเดีย ร่างแบบ ไปจนถึงผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ โดยผู้ใช้งานสามารถประทับเวลา (Timestamp) และออกใบรับรอง (Certificate) เพื่อรับรองเวลาให้กับผลงานสร้างสรรค์ ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน (ฺBlockchain) ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองต่อคู่กรณีหรือศาล เมื่อเกิดกรณีพิพาทในอนาคต รวมถึงใช้เป็นหลักประกันในการต่อยอดเชิงธุรกิจด้วย ผู้สนใจเข้าใช้บริการประทับเวลาทางเว็บไซต์ได้แบบไม่จำกัด ผ่านวิธีการที่ง่ายและสะดวกทั้ง 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) สมัครเข้าใช้และยืนยันตัวตนผ่าน www.cap.cea.or.th2) อัปโหลดไฟล์ชิ้นงานหรือผลงานสร้างสรรค์ (รองรับผลงานทั้งที่เป็นไฟล์ภาพ เอกสาร วิดีโอ)3) บันทึกเวลา (Timestamp) และบริหารจัดการงานสร้างสรรค์ผ่าน Dashboard4) ดาวน์โหลดใบรับรอง (Certificate) ไปใช้ยืนยันสิทธิ์ได้ทันที
Harmony of Thai-Chinese ไทยจีนสัมพันธ์
นอกจากวันแห่งความรัก เดือนนี้ก็นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน เพราะมีวันตรุษจีนให้ระลึกถึงบรรพบุรุษที่จากไป มากไปกว่าตรุษจีนที่เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นภาพแทนของความเป็นไทยเชื้อสายจีน ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันมาตั้งแต่อดีต จึงเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่เราจะพบเจอศิลปวัฒนธรรมจีนในไทย ตั้งแต่สเกลเล็กๆ อย่างบนร่างกายผู้คน ในอาคารสถานที่ ไปจนถึงระดับเมือง และหากให้นึกถึงพื้นที่ที่เป็นตัวแทนความเป็นจีนในกรุงเทพฯ ย่อมหนีไม่พ้นย่านเยาวราชอยู่แล้ว ในฐานะที่อดีตผมเคยเป็นคนในพื้นที่ ภาพของผู้คนที่พากันมาซื้อของและขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาล วัตถุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบของฟอนต์ภาษาจีน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของอาคารและวิถีชีวิต ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นนับว่าเป็นสิ่งที่เห็นจนชิน เมื่อเวลาผ่านมาจนผมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้กลับมาในบริเวณนี้อีกครั้งพร้อมกับกล้องถ่ายรูปคู่ใจ ผมย่อมรู้สึกต่างไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เคยมองความเป็นจีนในไทยจนชินตา เมื่อเวลาผ่านไปกลับน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่อะไรก็หมุนไวไปหมด ทำให้อดไม่ได้ที่จะบันทึกเป็นภาพชุดนี้ขึ้นมา
‘Shenzhen People’s Park’ เปลี่ยนทางเข้าสวนสาธารณะให้เป็นงานศิลปะ พร้อมใช้งานได้หลากหลายขึ้น
ใครจะไปคิดว่าทางเข้าสวนสาธารณะก็สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ประชาชนที่เข้าไปใช้งานได้ด้วย เพราะปกติภาพทางเข้าสวนสาธารณะส่วนใหญ่มักเป็นประตูเหล็กทั่วๆ ไป เพื่อทำหน้าที่เป็นทางผ่านให้เราเข้าไปเจอพื้นที่สีเขียวด้านใน‘Shenzhen People’s Park’ เปลี่ยนทางเข้าสวนสาธารณะให้เป็นงานศิลปะ พร้อมใช้งานได้หลากหลายขึ้น สวนสาธารณะประชาชนในเซินเจิ้น ที่ต้องการเพิ่มประโยชน์การใช้งานของพื้นที่สวนให้มากขึ้นและเหมาะสมกับผู้ใช้บริการ ได้จัดทำโครงการปรับปรุงพื้นที่โดยเปลี่ยนทางเข้าฝั่งตะวันออกของสวนสาธารณะให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้น ผ่านการออกแบบทางเข้าด้านทิศตะวันออกใหม่โดยบริษัทสถาปนิก REFORM ทั้งการปรับปรุงรูปลักษณ์ของทางเข้าสวนให้ดูทันสมัย ขยายพื้นที่บันไดกลางแจ้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้คนเดิน รวมถึงติดตั้งบันไดเลื่อนและลิฟต์ที่จะพาคนทุกเพศทุกวัยเข้าสู่สวนได้ง่ายขึ้น การปรับปรุงนี้มีแรงบันดาลใจจากดอกกุหลาบภายในสวน ทำให้ออกมาเป็นโครงสร้างหลังคาที่มีส่วนโค้งเว้าคล้ายกลีบดอกไม้ นอกเหนือจากความสวยงามแล้ว เส้นโค้งเหล่านี้ยังเป็นการเลี่ยงการรบกวนต้นไม้ใหญ่อีกด้วย ตัวหลังคาที่ลาดเอียงนั้นได้รับการแต่งแต้มสีเขียวจากต้นไม้หลากหลายชนิด ดูกลมกลืนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ รวมไปถึงด้านล่างที่เป็นทางเข้าออกก็ออกแบบให้คล้ายกับถ้ำ ส่วนหลังคานั้นช่วยป้องกันเศษใบไม้ไม่ให้ร่วงใส่บันไดเลื่อน รวมไปถึงป้องกันแสงแดดและฝนให้กับผู้ที่ใช้ทางเข้าสวนสาธารณะแห่งนี้ มากไปกว่านั้น การออกแบบให้คล้ายถ้ำยังทำให้เมื่อลงบันไดเลื่อน ภาพของทิวทัศน์ด้านหน้าจะค่อยๆ กว้างขึ้นจนเห็นวิวทะเลสาบเต็มตาเมื่อลงมาจนสุดทาง เช่นเดียวกันกับเวลาขึ้นไปยังด้านบน ทิวทัศน์จะค่อยๆ ชัดขึ้นเมื่อผ่านโครงสร้างนี้ไปจนถึงพื้นสวน กลายเป็นภาพต้นไม้และหมู่เมฆบนท้องฟ้าที่สวยงาม Sources :Designboom | tinyurl.com/yck3jmvpREFORM | tinyurl.com/wtycuavy
ชื่อบ้านนามตรอกรอบ ‘ซอยวานิช 1’ เส้นเลือดใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเล ในโมงยามที่ชื่อย่านรางเลือน
หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ แทนที่ด้วยภาษาไทยสำเนียงแปร่งปร่าจากปากชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเข้ามา พร้อมกับป้ายร้านอักษรไทยฟอนต์ Tahoma และอักขรวิธีการสะกดคำที่อ่านแสนยาก ซึ่งนั่นหมายความว่ารากเหง้าของจีนเก่าที่มาก่อนก็กำลังถูกลบเลือนหายไปด้วยเช่นกัน เทศกาลตรุษจีนนี้ คอลัมน์ Neighboroot นัดพบกับพ่อค้าเชือกและนักประวัติศาสตร์ประจำย่านอีกครั้ง ชวนคุยเรื่องเก่าในละแวกบ้าน โดยมีแผนที่การค้าเก่าที่ปีนี้อายุครบร้อยปีพอดีเป็นตัวช่วยชี้ทาง เพื่อตามหาชื่อบ้านนามเมืองในสำเพ็งที่ทยอยหล่นหายไปตามเวลา ถนนคนเดินเบียดเสียด ละลานตาไปด้วยแสงไฟ อาหารสตรีทฟู้ดหลากหลาย กลายเป็นภาพจำของ ‘ไชนาทาวน์’ เมืองไทย ผู้คนจากทั่วสารทิศมาเยือนถนนสายมังกรด้วยเป้าหมายต่างกันออกไป ไม่น้อยเป็นคนไทยที่มาหาของกินยามค่ำ ไม่น้อยเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแลนด์มาร์กต่างบ้านต่างเมือง และก็มีไม่น้อยที่เป็นกลุ่มทุนจีนใหม่ที่เข้ามาทำธุรกิจ เพื่อกอบโกยเม็ดเงินกลับไปยังต้นทาง หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ […]
Moon Crayon ร้านหนังสืออิสระและเกสต์เฮาส์ในเมืองแพร่ ที่ต้องการสร้างประสบการณ์ให้คนอยากอ่านหนังสือมากขึ้น
ถ้าถามว่าสถานที่หรือบรรยากาศแบบไหนที่จะทำให้เรารู้สึกอยากหยิบหนังสือเล่มโปรดขึ้นมาอ่าน สำหรับเราคงเลือก ‘Moon Crayon’ ร้านหนังสืออิสระและเกสต์เฮาส์ในจังหวัดแพร่ แห่งนี้แหละ เพราะทุกอย่างใน Moon Crayon ล้วนแล้วแต่ถูกคิดมาเป็นอย่างดีโดย ‘เพชร-เพชรฟ้า ภาคพิชเจริญ’ สาวแพร่และคนรัก ด้วยจุดประสงค์ที่อยากชวนให้ผู้คนหันมาอ่านหนังสือกันมากขึ้น “จริงๆ เราอยากทำร้านหนังสืออยู่แล้ว คิดไว้ว่าคงทำตอนเกษียณ แต่พอตัดสินใจกลับมาอยู่แพร่และทำเกสต์เฮาส์ เราเลยคิดว่าเกสต์เฮาส์กับร้านหนังสือมันน่าจะไปด้วยกันได้” เพชรเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ตัดสินใจทำร้านหนังสือควบคู่กับเกสต์เฮาส์ ร้านหนังสือเล็กๆ บรรยากาศน่ารักแสนอบอุ่นแห่งนี้ ประกอบไปด้วยหนังสือประเภทปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมต่างประเทศ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหนังสือประเภทที่เพชรและแฟนสนใจเป็นทุนเดิม “ที่เลือกหนังสือประเภทเหล่านี้เพราะเราสนใจและพอที่จะแนะนำได้ เพราะจะมีลูกค้าบางคนที่เข้ามาแล้วถามว่า ถ้าจะเริ่มอ่านหนังสือควรเป็นเล่มไหนดี เราก็ให้คำแนะนำได้” เพชรมองว่า Moon Crayon ไม่ใช่ร้านหนังสือสำหรับนักอ่านโดยเฉพาะ แต่เป็นร้านหนังสือที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเพื่อนนักอ่าน ที่คอยดึงคนที่สนใจอยากลองหาหนังสือสักเล่มอ่าน เข้ามาในวงจรของการอ่านมากกว่า “หลายคนที่ตอนนี้เป็นลูกค้าประจำ เขาก็เริ่มจากการเป็นคนไม่เคยอ่านหนังสือมาก่อน โดยเริ่มจากเล่มง่ายๆ แล้วค่อยๆ ไต่ขึ้นไป แค่นี้เราก็รู้สึกดีใจแล้ว” เพชรเล่าด้วยรอยยิ้ม และหนึ่งสิ่งที่เพชรเลือกใช้สร้างบรรยากาศให้คนอยากหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านคือ การหยิบเอากระดาษลายน่ารักๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้แรงบันดาลใจมาจากตอนไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นมาใช้ห่อหนังสือ รวมไปถึงกิมมิกเล็กๆ อย่างการ์ดเขียนมือจากสีธรรมชาติ ที่ทางร้านจะเขียนแนบไปกับตัวหนังสือที่ลูกค้าซื้อ หรือใครอยากจะเขียนด้วยตัวเองก็ได้เช่นกัน ไม่ใช่แค่หนังสือเท่านั้น แต่ […]
URBAN UNTOLD | เรื่องราวและมุมมองลูกหลานคนจีนที่อาจไม่เคยได้ยิน
TW : เนื้อหาในคลิปมีการพูดถึงความรุนแรงจากครอบครัว การทำร้ายร่างกาย และภาวะซึมเศร้า วันตรุษจีน คือวันที่คนไทยเชื้อสายจีนไหว้บรรพบุรุษของตัวเองเพื่อระลึกถึงอากงหรืออาม่าที่จากไป เป็นวันที่เราจะได้นั่งกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวด้วยอาหารไหว้ที่หลากหลายและพูดคุยอย่างมีความสุข ส่วนเด็กๆ จะได้รับแต๊ะเอียตามธรรมเนียมของวันตรุษจีนเพื่อเป็นคำอวยพรอีกด้วย แต่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะสุขสันต์เช่นนั้น เพราะการเลี้ยงดูโดยมีวัฒนธรรมจีนอยู่ในสายเลือดของแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน จนอาจทำให้บางคนมีปมหรือเรื่องราวประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการเติบโตมาในครอบครัวเชื้อสายจีนก็เป็นได้ และเรื่องราวเหล่านั้นก็ถูกซ่อนไว้ลึกข้างในโดยไม่ได้มีใครให้รับฟัง ประเดิมตอนแรกของรายการ Urban Untold กับการพาไปรับรู้เรื่องราวส่วนตัวของลูกหลานคนจีนที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน เพื่อนำมาเป็นบทเรียนของชีวิตและเดินก้าวต่อไปให้ไม่ซ้ำรอยกับเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้น
ตรุษจีนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลองอย่างไรให้รักทั้งโลกและบรรพบุรุษ
‘ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้’ วันตรุษจีนวนกลับมาอีกครั้ง โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี ครอบครัวชาวจีนจะมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเสื้อผ้าสวยๆ เพื่อส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ล่วงลับบนสวรรค์ รวมไปถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ หลายคนตั้งตารอคอย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ประเพณีที่ทำกันอยู่เป็นประจำนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นแฝงอยู่ในกิจกรรมที่หลายคนทำตั้งแต่เด็กจนโตโดยอาจนึกไม่ถึงกัน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ในฐานะของลูกหลานชาวจีนที่มองว่าเราสามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่ซื้อเสื้อแดงตัวใหม่ แต่ใส่ตัวเก่าในลุคใหม่ๆ เข้าปีใหม่ก็ต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ อย่างเสื้อสีแดงตัวใหม่ แต่ถ้าจะให้ซื้อเสื้อใหม่ทุกปีก็คงสิ้นเปลืองไปหน่อย แถมยังเปลืองพื้นที่ตู้เสื้อผ้าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการซื้อเสื้อใหม่เป็นการใส่เสื้อตัวเก่า แต่มิกซ์แอนด์แมตช์ให้กลายเป็นลุคใหม่ที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้วแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้าตัวเก่าที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เปลี่ยนไปใช้ธูป/เทียนไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในวันไหว้คือธูปและเทียน ซึ่งควันที่เกิดจากธูปและเทียนนั้นถึงแม้ว่าดูมีปริมาณน้อยนิด แต่เมื่อนับรวมครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิกมากมายหลายบ้าน ปริมาณควันที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดปริมาณควัน ลองเปลี่ยนไปใช้ธูปและเทียนไฟฟ้าแทนดีไหม เพราะนอกจากจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยซื้อใหม่ทุกๆ ปีแล้ว ยังไม่ก่อฝุ่นควันให้คนในบ้านและพื้นที่รอบข้างต้องแสบตาแสบจมูกด้วย ใช้กระดาษสีเงินและสีทองธรรมดา ตามปกติแล้ว กระดาษเงินกระดาษทองที่นำมาใช้เผาในวันตรุษจีนนั้นมักเป็นกระดาษที่มีส่วนผสมจากโลหะหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับควันธูป ดังนั้นถ้าลองเปลี่ยนกระดาษเงินกระดาษทองที่จะส่งต่อไปให้บรรพบุรุษในอีกโลกไปเป็นการใช้กระดาษแบบธรรมดาที่สกรีนด้วยสีต่างๆ ที่ต้องการแทน ก็น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีบนกระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้กันทั่วไปได้ รวบรวมกระดาษจากหลายๆ บ้านไปเผาในเตาไร้ควัน การเผาเงิน ทอง เสื้อผ้า […]
แค่สแกน QR Code ก็รีไซเคิลได้ ด้วยป้ายเสื้อฮู้ด FOR TOMORROW ติดตามการเดินทางของสินค้าจนครบลูป
ขยะเสื้อผ้าจำนวนมากที่เกิดจากกระแสฟาสต์แฟชั่น มักลงเอยด้วยการเป็นขยะฝังกลบ ซึ่งไม่ใช่การกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและไม่ได้ถูกแก้ไขที่ต้นเหตุอย่างที่ควรจะเป็น คงจะดีไม่น้อยถ้าเรามีนวัตกรรมที่เข้ามาทำให้การทิ้งเสื้อผ้าไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยรีไซเคิลให้เสื้อผ้าเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีกครั้ง ‘SixR’ แพลตฟอร์มซื้อ-ขายเสื้อผ้าออนไลน์ จับมือกับวิทยาลัย ‘George Brown’ และสถาบัน ‘Brookfield Sustainability Institute’ เปิดตัวคอลเลกชันเสื้อฮู้ด ‘FOR TOMORROW’ ที่ออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับกระแสฟาสต์แฟชั่น โดยเสื้อในคอลเลกชันนี้จะถูกสกรีนคิวอาร์โค้ดลงบนป้ายเสื้อ เพื่อให้เราติดตามการเดินทางของฮู้ดตัวนั้นผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด ตั้งแต่แหล่งที่มาของวัสดุที่เลือกใช้ในการผลิต กระบวนการออกแบบและการผลิต ไปจนถึงการส่งสินค้าที่ไม่ต้องการใส่แล้วกลับคืนสู่แพลตฟอร์ม SixR อีกครั้ง และแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำสินค้าเหล่านี้กลับไปรีไซเคิลให้ แถมตัวผู้บริโภคเองยังติดตามสถานะการรีไซเคิลผ่านแพลตฟอร์ม พร้อมกับได้รับเงินส่วนลดเพื่อนำไปซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่ในครั้งต่อไป นอกจากนี้ SixR ยังมีความพยายามที่จะใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าคอลเลกชันอื่นๆ ภายในแพลตฟอร์ม เพื่อให้นำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความตั้งใจของแพลตฟอร์ม เสื้อฮู้ด FOR TOMORROW มีทั้งหมด 4 สี ประกอบด้วยสี Midnight, Sky, Moon และ Sand โดยมีไซซ์ให้เลือกตั้งแต่ XS ไปจนถึง 2XL ในราคา 69 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,400 บาท) […]