De LAPIS Charan 81 : จงเลือกใช้ชีวิตบนเหตุผลของคุณ

ความหมายของการใช้ชีวิตคืออะไร? บางคนอาจหมายถึงความสำเร็จในเป้าหมายที่ตัวเองเคยตั้งไว้ หรือการได้รับค่าตอบแทนสูงๆ แต่สำหรับบางคนอาจเป็นเพียงแค่การได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกับคนที่คุณรักในพื้นที่ส่วนตัว ‘บางพลัด’ จึงเป็นอีกหนึ่งย่านที่ตอบคำถามของการใช้ชีวิตที่ยังคงเสน่ห์ของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในแบบฉบับคนฝั่งธนฯ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว

CHART SUCHART ‘ชาติ สุชาติ’

URBAN PEOPLE : ชวนขึ้น ‘บันไดเลื่อน’ ไปคุยกับ ‘ชาติ สุชาติ’ เปิดกระเป๋าใบเท่ ที่ไม่มี ‘มือถือ’ อยู่ในนั้น.ในวันที่มือถือเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของมนุษย์ แต่พี่ชาติกลับไม่พกติดตัวเหมือนใครเขา ด้วยเหตุผลง่ายๆว่า “มันโล่งดี ไม่ต้องกังวล”.อะไรที่พี่ชาติพกใส่กระเป๋าเข้ากรุงครั้งแรกกันบ้าง? ทุกวันนี้ยังพกอยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า? มากดเปิดวิดีโอ พร้อมเปิดกระเป๋าพี่ชาติ คลอไปกับเพลง ‘บันไดเลื่อน’ แบบสดๆ กันเลย

เมื่อ Juli Baker and Summer หยิบประเด็นกรุงเทพฯ มาเล่าผ่านลายเส้นเด็กๆ และสีฉูดฉาด

เดรสสีเขียวอ่อน ตัดกับกระเป๋าถักสะพายข้างและรองเท้าสีเหลือง การแต่งตัวแบบคู่สีสดใสพร้อมแว่นกลมๆ ที่ประดับอยู่บนใบหน้ายิ้มแย้มผ่านมาทักทายสายตา เรารู้ทันทีว่าคนที่เรานัดไว้

Life of Huatakhe : วิถีชีวิตริมน้ำ “ชุมชนหัวตะเข้”

หลายคนอาจเคยโหยหาธรรมชาติอยากย้อนเวลากลับไปในอดีตเพราะชีวิตในเมืองเราอยู่กับความเร่งรีบและความเครียดที่สะสมลองใช้ชีวิตให้ช้าลงเพื่อเพิ่มความสุขให้มากขึ้นกับพื้นที่ที่ยังคงอนุรักษ์เสน่ห์ของวิถีชีวิตคนริมน้ำ “ชุมชนหัวตะเข้” ภาพบ้านเรือนแถวไม้โย้เย้ริมคลองหลังคาสังกะสีผุเก่าหากจะบอกว่าเป็นความสวยงามก็คงไม่ใช่แต่ถ้าบอกว่าเป็น ‘เสน่ห์’ น่าจะเหมาะกว่า เพราะความเก่าแก่ใช่ว่าจะหมายถึงความทรุดโทรมผุพังเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการผ่านร้อนผ่านหนาวและผ่านเรื่องราวมากมายที่หากมองข้ามความผุพังทรุดโทรมเข้าไปให้ลึกก็จะเห็นเสน่ห์ในความเก่านั้น | คน + น้ำ = ชีวิต ชุมชนหัวตะเข้ หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ ชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม ที่หลายคนอาจสงสัยว่า “ที่นี่คือที่ไหนต่างจังหวัดหรือเปล่า ?” แต่ชุมชนนี้อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลในเขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานครนี่เองซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนริมน้ำ ‘คลองประเวศบุรีรมย์’ อายุกว่า 100 ปี ที่ยังคงวิถีชีวิตริมน้ำไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งประวัติการขุดคลองนี้มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการขุดในครั้งนี้เพื่อเป็นการเชื่อมต่อการคมนาคมทางน้ำจากคลองพระโขนงไปยังปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ระหว่างที่ขุดคลองนั้นมีการขุดค้นพบหัวจระเข้ใหญ่อยู่กลางสี่แยกซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ‘สี่แยกคลองหัวตะเข้’ และหัวจระเข้ที่ขุดได้มานั้นชาวบ้านสมัยนั้นเชื่อว่าเป็นจระเข้ศักดิ์สิทธิ์จึงได้นำหัวจระเข้ขึ้นมาบูชาโดยคนสมัยก่อนจะเรียก ‘จระเข้’ แบบสั้นๆว่าตะเข้จึงเพี้ยนมาเป็นคำว่า “หัวตะเข้” จึงกลายเป็นชื่อชุมชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิถีชีวิตของชาว ‘ชุมชนหัวตะเข้’ ทำให้ย้อนนึกไปถึงสมัยก่อนเราผูกพันกับคลองโดยเห็นได้จากการปลูกบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งคลองและอาศัย ‘น้ำ’ เพื่อความสะดวกในการทำมาหากินหาสัตว์น้ำด้วยอุปกรณ์พื้นบ้าน เช่น  “การยกยอ” หรือ “ทอดแห” การเดินทางไปมาหาสู่กันด้วยเรือเป็นหลักและที่เป็นเอกลักษณ์เลยคือการขายของบนเรือไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวเรือป๊อกๆ(ที่เรียกว่าป๊อกๆเพราะมาจากเสียงเคาะเรียกให้คนออกออกมาซื้อนั่นเอง) หรือเรือขายของชำของจิปาถะทุกอย่างที่มีมาให้เลือกตามใจชอบรวมไปถึงการเติบโตของสัตว์หายากที่อาศัยอยู่เฉพาะริมน้ำที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น ทั้งหมดนี้กลายเป็นสายใยที่สานความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ยังคงใช้ชีวิตอยู่ริมน้ำอย่างสงบและเรียบง่ายตลอดมา และอีกพื้นที่สำคัญที่ทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตริมน้ำอย่างชัดเจนมากขึ้นนั่นคือ ‘ศาลาท่าน้ำ’ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่อเนกประสงค์ของคนที่อยู่บ้านริมน้ำคล้ายกับชานของบ้านที่สมาชิกทุกคนในบ้านจะมารวมกันที่นี่เหมือนเป็นพื้นที่ต้อนรับเพื่อนบ้าน นั่งสังสรรค์กินข้าว ตกปลา สนทนา พักผ่อนนอนกลางวันบางคนก็นั่งอยู่ทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดบ่ายทั้งการซื้อของกินของใช้จากพ่อค้าแม่ค้าที่พายเรือมาขายตลอดวัน […]

SEAC : พื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่ ใจกลางกรุงเทพฯ

พื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่ ที่สามารถรองรับ “ความคิด” ขณะกำลังโลดแล่นได้ทุกมิติ ด้วยนวัตกรรมการออกแบบควบคู่กับเทคโนโลยีการดีไซน์อันทันสมัย เปิดตัวใจกลางกรุงเทพมหานคร SEAC อัดแน่นด้วยนวัตกรรมทางด้านการเรียนรู้ ตั้งแต่หลักสูตร รูปแบบการเรียนรู้ไปจนถึงห้องเรียน ห้องประชุม ห้องสัมมนาที่นำความทันสมัยของเทคโนโลยีมาเข้ามารองรับการใช้งานจริง เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ทางเลือกที่แตกต่าง พร้อมมอบประสบการณ์ใหม่อันทันสมัยบนพื้นที่กว่า 4,550 ตารางเมตรขนาด 3 ชั้น บนตึก FYI Center (ซึ่งออกแบบมาให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานตามมาตรฐาน LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งภายใน 3 ชั้นสามารถเชื่อมต่อรับส่งสัญญาณภาพ และเสียงจากทุกพื้นที่ทั่วโลกอย่างไร้ขีดจำกัด ลงตัวด้วยการดีไซน์ที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Unfolding Paper การคลี่กระดาษ” Unfolding Paper | การพับกระดาษแบบโอริงามิสู่งานดีไซน์ โอริงามิคือ ศิลปะการพับกระดาษของญี่ปุ่นเน้นการเริ่มต้นจากกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัส พัฒนาตามยุคสมัยใหม่ขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดรูปแบบต่างๆ มากมายเสมือนเป็นนวัตกรรมบางอย่าง ซื่งรูปแบบการดีไซน์ศูนย์พัฒนาผู้นำและ ผู้บริหารระดับสูงที่ครบวงจรแห่งนี้เกิดจากแนวความคิด “Unfolding Paper การคลี่กระดาษ” จัดอยู่ในดีเทลเล็กๆในแต่ละชั้นที่บอกเล่าเรื่องราวว่า เมื่อคนเราต้องการคิดค้นไอเดียและนวัตกรรมใหม่ๆ […]

URBAN SOLUTIONS 04 : 6 แผนดูแลคอนโดให้ปลอดภัย หยุดสงกรานต์อย่างสบายใจไร้กังวล

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาที่หลายคนรอคอยที่จะได้ใช้ช่วงเวลาหยุดยาวอยู่กับคนที่คุณรัก และออกเดินทางท่องเที่ยวผ่อนคลายหลังจากเหน็ดเหนื่อยกับการทำงานมา แต่ก่อนจะก้าวขาออกไปสนุกสนานรื่นเริงคนเมืองอย่างเราต้องรู้จักการวางแผนดูแลคอนโดให้ปลอดภัยหยุดสงกรานต์อย่างสบายใจไร้กังวล 01| Keep the door close ……ประตูหน้าต่างปิดล็อคลงกลอนให้ดี ตรวจสอบประตูหน้าห้องว่าปิดสนิทล็อคแน่นหนาก่อนออกจากห้อง แม้บางคอนโดที่ใช้อุปกรณ์ช่วยปิดประตู(Door Stopper) ที่เป็นการปิดแบบอัตโนมัติก็ต้องตรวจสอบให้เรียบร้อยอีกครั้ง เพราะสิ่งไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้ เช่น หากมีอะไรไปขัดประตูจะทำให้ประตูไม่ปิดสนิทและทำให้ตัวล็อคไม่ทำงานได้ ในส่วนของหน้าต่างควรสำรวจและปิดให้สนิททุกบาน เพราะการอาศัยอยู่ในคอนโดอาจทำให้หลายคนชะล่าใจ เพราะคิดว่ามีประตูเข้าออกเพียงทางเดียวจึงละเลยการเปิดประตูหน้าต่างหรือระเบียงทิ้งไว้ ซึ่งเป็นการกระทำที่เสี่ยงมากรวมถึงอาจก่อให้เกิดความเสียหายเล็กๆน้อยๆ ได้ เช่น มีฝนสาดเข้ามาภายในห้องทำให้เกิดความเสียหายต่อข้าวของเครื่องใช้ได้ หรืออาจเป็นช่องทางของขโมยให้เข้ามาเอาทรัพย์สินของมีค่าไปซึ่งกว่าเราจะรู้ตัวก็อาจจะสายเกินไป 02 | Check electrical system …….เช็คระบบไฟฟ้าและดึงปลั๊กป้องกันการเกิดไฟไหม้และไฟฟ้าลัดวงจร ปัจจุบันเรามักหลงลืมเรื่องเล็กน้อยเช่นการ ‘ดึงปลั๊ก’ แต่รู้หรือไม่? มันส่งผลกระทบอย่างไม่คาดคิดเลยทีเดียว หากเกิดการช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ซึ่งเมื่อเราอยู่ในคอนโดความเสียหายไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่ในพื้นที่ห้องของเราอีกต่อไปแต่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ดังนั้นควรเช็คระบบไฟฟ้าและดึงปลั๊กที่ไม่ใช้ในห้องออกให้หมดเหลือไว้เฉพาะที่จำเป็นต้องเสียบไว้จริงๆเท่านั้น เพราะการที่เราเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้จะทำให้กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านเข้าไปในเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรถอดปลั๊กทุกครั้งที่เลิกใช้งานซึ่งจะส่งผลดีทั้งในเรื่องการประหยัดพลังงาน ช่วยลดค่าไฟฟ้า ป้องกันการเสื่อมสภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า และนอกจากการดูแลดึงปลั๊กแล้วการเลือกใช้ปลั๊กพ่วงก็สำคัญเช่นกันควรตรวจสอบการใช้งานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ 03 | Turn off water faucet ……..ปิดก๊อกน้ำป้องกันการรั่วไหล น้ำเป็นทรัพยากรสำคัญที่เราทุกคนต้องใช้กันทุกวันในชีวิตประจำวัน ดังนั้นก่อนออกเดินทางควรตรวจดูก๊อกน้ำ ฝักบัว เครื่องซักผ้า หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำต่างๆ หากพบว่าเมื่อปิดสนิทไม่มีการใช้น้ำแล้ว แต่ยังมีการรั่วซึมออกมาเปียกนองที่พื้นอยู่ตลอดเวลาหรือมีน้ำผุดให้เห็นแสดงว่ามีการแตกรั่วของท่อประปาให้รีบทำการซ่อมแซมทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาได้ […]

‘โรงรูปเงา-ลาวเจริญรามา’ เงาสะท้อนเมืองเก่า สะหวันนะเขต ณ แดนลาว

จากนักอ่านตัวยงสู่การเป็นนักเขียน “โรงรูปเงา-ลาวเจริญรามา” ผู้ชุบชีวิตเมืองเก่า สะหวันนะเขต แดนลาว ที่ได้แรงบันดาลใจจากความทรงจำในวัยเด็ก และบันทึกการเดินทาง “ฮอยอันหวานเย็น”

Photo Diary : งานบอลลูน International Balloon Fiesta 2018

งานบอลลูนนี้นับได้ว่าเป็นงานหนึ่งที่ถ่ายสนุกเลยเหมือนกัน เพราะเจ้าหน้าที่เค้าอนุญาตให้คนนอกเข้าไปถ่ายบอลลูนกันได้อย่างใกล้ชิด แค่พยายามอย่าไปรบกวนเจ้าหน้าที่และทีมงานมากนักก็พอ เวลาเราเข้าไปถ่ายก็เลยจะต้องคอยมองหน้ามองหลังบ่อยๆ ต้องมองดีๆ ต้องเรียนรู้ว่าขั้นตอนเค้ากำลังทำออะไรอยู่และจะทำอะไรต่อไป อย่างถ้าเค้ากำลังจะจุดไฟเป่าลมร้อนเข้าไปในบอลลูนแล้วเราไปขวางทางก็จะอันตรายหน่อยๆ นะครับ … จริงๆ ก็ไม่หน่อยหรอก อันตรายได้เลย เพราะงั้นเราต้องรู้จักอยู่ให้เป็น นอกจากเรื่องนั้นแล้วเรามาลองดูกันเลยดีกว่าว่าจะลุยไปถ่ายรูปยังไงกันดี ในงานบอลลูนนี้เค้าจัดขึ้นที่ไร่บุญรอด (สิงห์ปาร์ค) จังหวัดเชียงราย ครั้งนี้ผมตั้งใจจะไปเพื่องานนี้โดยเฉพาะอยู่ในงานเต็มๆ 3 วัน (จริงๆ ก็ไม่เต็มเท่าไหร่ พอเริ่มดึกแล้วต้องกลับก่อน) ผมไปถึงตั้งแต่ประมาณบ่าย 3 โมงครึ่ง เดินๆ อยู่ในงาน ก็ลองเดินรอบงานเลยว่าเค้ามีอะไรจัดกันที่ไหน มองหามุมที่พอจะมี potential (ความน่าจะเป็นไปได้) ในการปั้นซีน แล้วก็สอบถามว่าเค้าจะมีอะไรแสดงโชว์เมื่อไหร่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เนี่ยมันจะเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้รู้ว่าเราควรจะอยู่ตรงไหน จุดไหน ไม่ต้องคอยวิ่งไปมาฉุกละหุกมากนัก บวกกับปีที่แล้วผมเคยมาแล้วครั้งนึงแล้วแค่วันเดียวเองด้วย ก็พอจะรู้ว่าเค้าคงมีอะไรพวกนี้ตรงนี้ๆ ด้วย ก็พอจะมีมุมในใจอยู่บ้างแล้วล่ะ ทีนี้ตอนผมเดินสำรวจไปโซนของเด็กๆ อยากรู้ว่าปีนี้เค้าจะมี Balloon Playground ให้เด็กๆ เข้าไปวิ่งเล่นในบอลลูนเหมือนปีที่แล้วรึเปล่า เพราะนี่คือเหตุผลหลักๆ ที่อยากมาเลย (ผมเอาลูกมาด้วยไง ปีที่แล้วเค้ายังเล่นไม่สะใจอยากเล่นอีก เลยต้องมาเล่นให้ได้ในปีนี้ อ่ะก็เอาเลยลูกเต็มที่!) ตอนนั้นก็สี่เย็นโมงนิดๆ มีพี่เจ้าหน้าที่ก็เริ่มเปิดพัดลมเป่าลมเย็นใน […]

Passion For Better : เสน่ห์วิถีชาวประมงจังหวัดตรัง ที่เราอยากให้คุณไปสัมผัส

เสียงคลื่นกระทบฝั่ง หาดทราย สายลม ชวนให้นึกถึงบรรยากาศอันสวยงามของท้องทะเลไทย แต่คนเมืองอย่างเรากว่าจะหาโอกาสไปสัมผัสบรรยากาศทะเลแบบฟินๆก็ยากอยู่เหมือนกันเนอะ จนเรามีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมของทาง SCG กับโครงการ “รักษ์น้ำจากภูผา สู่มหานที” โดยโครงการนี้เป็นการดูแลตั้งแต่ต้น กลางถึงปลายน้ำกันเลยทีเดียว ซึ่งครั้งนี้เรามากันที่ปลายน้ำชุมชนบ้านมดตะนอย อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และเมื่อนึกถึงทะเลก็ต้องคู่กับ ‘ชาวประมง’ ซึ่งอาชีพการทำประมงนั้นนับเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของชุมชนริมทะเลโดยการไปทำกิจกรรมครั้งนี้ทำให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และเห็นถึงความงดงามของวิถีชีวิตอันแฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์ที่เราอยากให้คุณไปสัมผัส 01| วิถีชีวิตชาวประมง ก้าวแรก..เมื่อมาถึงที่ชุมชนบ้านมดตานอยแล้วต้องขอบอกเลยว่าสวยมากสวยเกินคำบรรยายรูปภาพคงจะบอกเล่าเรื่องราวได้ดีกว่าซึ่งที่นี่ยังเป็นชายหาดที่มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ ถ้ามีโอกาสอยากให้ลองมาสัมผัสด้วยตัวคุณเองแล้วคุณจะหลงรักเสน่ห์ความเรียบง่าย และวิถีชีวิตของชาวบ้านแบบใกล้ชิดแบบหายใจรดต้นคอ สนิทกันเหมือนญาติคล้ายกับพี่น้องที่คลานตามกันออกมาเลยล่ะ ซึ่งวิถีชีวิตของคนที่นี่คือ ‘การทำประมงพื้นบ้าน’ โดยจะทำมาหากินออกหาสัตว์น้ำจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา แถบชายฝั่งทะเลเป็นการทำประมงแบบวันเดียว และต้องทำมาหากินตามฤดูกาล โดยใช้เครื่องมือประมงแบบง่ายๆที่ทำขึ้นเอง ดังนั้น ‘ทะเล’ จึงเปรียบเสมือนลมหายใจของชาวบ้านที่คอยหล่อเลี้ยงและผูกพันกับ ‘วิถีชีวิตชาวประมง’ ตั้งแต่เกิดจนเติบโตซึ่งดูเป็นชีวิตที่เรียบง่ายและพอเพียงแต่เปี่ยมไปด้วยความสุข จึงทำให้เรารู้ว่าพื้นที่ทำมาหากินแห่งนี้เป็นที่รักและหวงแหน เพราะอนาคตทั้งหมดได้ฝากไว้กับชายฝั่งซึ่งเป็นที่พึ่งแรกและที่พึ่งสุดท้ายของชาวประมง แต่วิถีชีวิตประจำวันคือการทำประมงเพียงอย่างเดียวนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อช่วงเวลาที่เกิดมรสุมและการหาปลาที่เน้นปริมาณมากจนเกินไปจึงส่งผลกระทบอย่างหนักต่อชาวบ้าน ดังนั้นเพื่อให้ทะเลอันเป็นแหล่งวิถีชีวิตและบ้านของพวกเขายังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่นั้นการทำประมงอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นมิตรต่อท้องทะเลนี่เองคือทางออกของการปกป้องทรัพยากรทางทะเลของไทย 02 | รักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที รู้หมือไร่? เอ้ย! รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งดีที่สุดแห่งหนึ่งเพราะมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและมีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายพอเพียงแก่การดำรงชีวิตโดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ เช่นกันถ้าไม่มีน้ำก็ไม่มีชาวประมงเหมือนฉันต้องคู่กับเธอ มีเพียงแต่เธอ แค่เธอเท่านั้นประมาณนี้เลยแหละ SCG […]

มุมมอง “เมืองกรุงเทพฯ” ที่ซ่อนอยู่ในเนื้อเพลง

อย่างที่ว่ากันว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ฯ เป็นเมืองที่ไม่ว่าใครก็ต่างอยากจะเข้ามาสัมผัส ทั้งคนไทยเองและชาวต่างชาติ ก็มักจะบอกเล่าถึงกรุงเทพฯ ในหลายๆ แง่มุม ทั้งผ่านตัวอักษร ภาพถ่าย เรื่องเล่าแบบปากต่อปาก ที่เป็นตัวกลางสื่อสาร #ความกรุงเทพ และ สตอรี่ของชาว #bangkokian นอกจากสิ่งที่เรากล่าวถึงมาด้านบนแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสื่ออย่าง “บทเพลง” ที่ช่วยเปิดมุมของเมืองกรุง ให้เรามองและทำความรู้จักกันได้ดีไม่น้อยกว่าสื่ออย่างอื่น เราจึงมี 5 บทเพลงคุ้นหู ที่เชื่อว่าหลายคนต้องเคยฟังหรือร้องตามได้ นำมาถอดรหัสเรื่องราวของกรุงเทพฯ ที่ซุกซ่อนอยู่ในเนื้อเพลงมาฝากกัน เพลงชาติBNK 48 by BNK 48 | ส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ “นี่คือบางกอกแดนศิวิไลซ์ เมืองที่ใครต่อใครต้องมา” เมื่อปลายปี 2560 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น เปิดผลสำรวจดัชนีจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกประจำปี 2017 (2017 Global Destination Cities Index) โดยมาสเตอร์การ์ด ได้ยกให้ “กรุงเทพมหานคร” เป็นเมืองที่ชาวต่างชาติ ยกเป็นเมืองฮอตฮิตที่ต้องมาเที่ยว ขอบอกว่าครองแชมป์ ชนะขาดลอยคู่แข่งจาก 132 เมืองทั่วโลกมา […]

The Story of Hawaii Shirt เรื่องราวของ “เสื้อฮาวาย”

“Alohaaaa” คำกล่าวทักทายอันทรงเสน่ห์ของชาวหมู่เกาะฮาวายแปลว่า สวัสดี หรือ ลาก่อนที่หลายคนรู้จัก เกาะฮาวายเป็นเกาะแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรอันไกลแสนไกล บนพื้นที่แห่งหนึ่งของโลกอยู่อย่างโดดเดี่ยวที่สุด เพราะห่างจากอเมริกาแผ่นดินใหญ่ถึง 4,000 กิโลเมตร และเกาะแห่งนี้ถือเป็นต้นกำเนิด “เสื้อเชิ้ตฮาวาย” ที่เป็นกระแสนิยมทั้งแต่ครั้งอดีตเรื่อยมาสู่แฟชั่นยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะหันมองไปทางไหนใครต่อใครก็ใส่กันทั้งนั้น เรามาทำความรู้จักกับ “เสื้อเชิ้ตฮาวาย” ว่ามีที่มาอย่างไรกัน l ทำความรู้จักกับเสื้อเชิ้ตฮาวายที่แสนจะเบาสบาย 1930 ณ เกาะฮาวาย จุดเริ่มต้นของเสื้อฮาวายโดยการตัดเย็บเสื้อฮาวายยุคก่อนด้วยการใช้ผ้ากิโมโนตามแบบฉบับของญี่ปุ่น มีสีสันสดใสและ พิมพ์ลายต่างๆ การตัดเย็บออกแบบให้สวมใส่เบาสบายในสไตล์ชาวตะวันตก มีต้นกำเนิดการผลิตจำหน่ายอย่างเป็นทางการจาก Mr. Kiochiro Miyamoto เจ้าของห้องเสื้อ Musa-Shiya the Shirtmaker ตัดเย็บเสื้อฮาวายในแบบ tailor made ในปี 1935 ซึ่งถือว่าเป็นผู้บุกเบิกเจ้าแรก และเจ้าเดียวบนเกาะฮาวาย ภายหลังมีร้านค้ารายอื่นๆ มากมายทยอยผลิตเสื้อฮาวายออกมาอย่างแพร่หลาย จนเมื่อปี 1936 นักธุรกิจ Ellery Chun ร่วมกับบริษัท King-Smith Clothiers จดทะเบียนการค้าเสื้อฮาวาย ภายใต้ชื่อ Aloha Shirt […]

Sick Building Syndrome : วันที่ฉันป่วยจากตึกสูง

เคยเป็นไหม? ในวันทำงานเรามักมีอาการป่วยแปลกๆ และเพื่อนในออฟฟิศก็เริ่มมีอาการคล้ายๆกัน หรือคุณอาจกำลังมีอาการของ ‘โรคภูมิแพ้ตึก Sick Building Syndrome (SBS)’  ภัยใกล้ตัวของเหล่าพนักงานออฟฟิศที่คุณอาจไม่รู้ตัว จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้การใช้ชีวิตของมนุษย์แตกต่างไปจากเดิมปัจจุบันเรามักถูกจำกัดด้านการใช้พื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมของคนเมืองที่ใช้ชีวิตอยู่แต่ในตึกทั้งวัน คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ แฟลต ตึกแถว หรือแม้แต่การอาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่มีพื้นที่ภายนอกตัวบ้านมากนัก ซึ่งการต้องทำงานหรืออยู่แต่ในตึกสูง อาคารที่เปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวันไม่เคยได้รับอากาศจากธรรมชาติเลย นั่นส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณโดยตรงอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ | ปีศาจร้ายบนตึกสูง กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงซึ่งเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของประเทศทำให้มีประชากรจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัย และเมื่อประชากรหลั่งไหลเข้ามาก็ย่อมไม่เพียงพอต่อการอยู่อาศัยซึ่งสมัยก่อนการอยู่อาศัยในบ้านเราจะเป็นแนวราบซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ในช่วง 5-7 ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนกรุงเทพฯได้เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นการอยู่อาศัยแบบแนวตั้งมากขึ้น อาทิเช่น ตึก คอนโดมิเนียม หอพัก เป็นต้น วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มักใช้เวลา 80-90% อยู่ภายในตึกหรือออฟฟิศที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอขาดการถ่ายเทที่ดี ซึ่งจะทำให้มีสิ่งปนเปื้อนสูงกว่าภายนอกอาคารที่โล่งแจ้งจึงทำให้เกิดอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลันซึ่งโรคนี้ไม่ใช่โรคที่เพิ่งเกิดใหม่โดยเป็นโรคที่ถูกยอมรับโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นเวลากว่า 34 ปีมาแล้ว หากคุณกำลังมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ ขณะอยู่ที่ทำงาน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคือง ตา จมูก หรือลำคอ จาม น้ำมูกไหล คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงานไวต่อกลิ่นมากขึ้น หดหู่ อ่อนเพลีย ง่วงนอน […]

1 334 335 336 337 338 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.