SATI Foundation : ‘สติ’ มูลนิธิที่อยากให้เด็กใช้ชีวิตอย่างมีสติ

เด็กน้อยน่ารักที่เราเห็นหน้าแล้วอยากหยุดเวลาตรงนั้นไว้ สักวันก็ต้องเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ แต่จะเติบโตไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะครอบครัวหรือสภาพแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กในทุกวันนี้ก็มีอยู่มากมายเหลือเกิน “มูลนิธิสติ” จึงเกิดขึ้นมา เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้เด็กน้อยอย่างมีสติ

Qatar Airways X เชฟเอียน ผู้รังสรรค์เมนูสุดพิเศษ

เร่งมือครับ!  ประโยคนี้พอจะคุ้นหูกันบ้างไหมว่าเชฟคนไหนชอบพูด คงหนีไม่พ้น “เชฟเอียน – พงษ์ธวัช เฉลิมกิติชัย” ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในรายการแข่งขันทำอาหารยอดนิยมของไทยอย่างมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ครั้งนี้ไม่ได้มาในบทบาทของกรรมการตัดสินผู้ที่มีเสียงดุ หรือมุกตลกเรียกเสียงหัวเราะแต่อย่างไร โดยครั้งนี้มาในนามของเชฟปรุงอาหารบนเครื่องบินที่รังสรรค์เมนูออกมากกว่า 24 เมนู ต้องบอกก่อนเลยว่าบางคนที่เดินทางโดยเครื่องบินบ่อยๆ มักจะรู้สึกว่าอาหารบนเครื่องมีรสชาติแตกต่างออกไป ไม่เหมือนอาหารที่เรากินบนภาคพื้นดิน อาจจะรู้สึกว่ามันจืดชืด ไม่ค่อยมีชีวิตชีวา แต่เดี๋ยวนี้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น การปรับให้เครื่องบินมีความดันอากาศน้อยลง รสชาติของอาหารบนเครื่องจึงรับผลพลอยได้ไปด้วยคือยังคงความสดใหม่ ให้รสชาติที่ดีอยู่เสมอ และครั้งนี้ถือเป็นความโชคดีของเราที่มีโอกาสได้ลิ้มลองรสมือของเชฟเอียน โดยคอนเซปต์ของอาหารทุกเมนูนั้นเป็นการดึงจุดเด่นของอาหารแต่ละภาคออกมาอย่างครบรส และถึงเครื่อง เริ่มจากเมนูหลักก่อนเลย คือ “แกงระแวงเนื้อ” เป็นแกงไทยโบราณที่มีสายเลือดมาจากชวามีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ซึ่งถูกยกให้เป็นอาหารจานเด่นจากภาคใต้ โดยมีตะไคร้และขมิ้นเป็นตัวชูโรงเรื่องกลิ่น เชิญชวนให้ต้องตักข้าวสวยร้อนๆ มากินคู่กัน บางคนเข้าใจผิดว่าเป็นพะแนง แต่แกงระแวงจะมีน้ำแกงที่ขลุกขลิก กึ่งแกงกึ่งผัด ถัดมาจะเป็น “ฉู่ฉี่กุ้ง” มีน้ำที่เข้มข้นขลุกขลิกเช่นกัน รสชาติจะออกหวานนำแต่เชฟเอียนทำออกมาได้กลมกล่อม โดยกลิ่นใบมะกรูดจะแซงนำมาก่อนใคร ซึ่งคำว่าฉู่ฉี่ยังไม่ได้บอกชัดเจนว่ามาจากอะไร แค่คาดกันไว้ว่าเวลาผัดจะมีเสียงของพริกแกงเดือดในกะทิจนมีเสียงดังฉู่ฉี่ๆ จบอาหารจานหลักไปแล้ว ยังมีการเสิร์ฟเป็นคอร์ส เริ่มต้นที่ “ยำเนื้อ” “สลัดฟัวกรา” และ “แสร้งว่ากุ้ง” โดยสลัดฟัวกราใช้ตับห่านและทำซอสราดสไตล์อีสาน ให้อารมณ์เหมือนเมนูตับหวานของคนอีสานบ้านเรา ซึ่งจัดว่าเด็ดทั้ง 3 เมนู แต่ที่น่าสนใจคือ […]

‘พนัสนิคม’ ตำบลที่เริ่มจากศูนย์ สู่เมืองยั่งยืนระดับประเทศ

รู้หรือไม่ว่า ‘พนัสนิคม’ ตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เคยติดอันดับ 1 ใน 1,000 เมืองระดับโลกที่มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพคนเมืองดีใน พ.ศ. 2553

เข้าใจสัจธรรม และดงกัญชาบาน ผ่านจังหวะเรกเก้ของ ‘วิน-ศรีราชาร็อคเกอร์’

แม้กัญชาในประเทศไทยจะเพิ่งเริ่มนำมาใช้ทางการแพทย์ แต่ก็เป็นการเปิดโลกให้คนไทยได้รู้จักด้านประโยชน์ของกัญชามากขึ้น และทำให้กัญชามีที่ยืนในสังคม วงเรกเก้สายเขียว “ศรีราชาร็อคเกอร์” จึงหยิบเอากัญชามาใส่ในเนื้อเพลงใหม่ล่าสุด “ดงกัญชาบาน”

Age Difference and Love รักต่างวัย อายุห่างไกลแต่ใจใกล้กัน

รักต่างวัยจะไปกันรอดไหม ? ต้องอายุห่างกันขนาดไหน ทุกคนถึงยอมรับ ? ระยะห่างของอายุมีความสำคัญต่อชีวิตคู่มากหรือเปล่า ? ถ้าเสิร์ชข้อมูลเกี่ยวกับ ‘ความรักต่างวัย’ ในอินเทอร์เน็ต มักจะต้องมีคำถามที่เราพูดถึงข้างต้นโผล่ขึ้นมาเสมอ ความหมายที่แฝงไปด้วยความกังวล และไม่มั่นใจในระยะห่างของตัวเลข หากย้อนไปในสมัยก่อนรุ่นพ่อแม่ ความสัมพันธ์รูปแบบนี้อาจจะเป็นที่พูดถึงในสังคมด้วยภาพลักษณ์ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ จนเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ที่ดูเหมือนจะเปิดกว้างกับรูปแบบความรักมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเปิดใจทุกคนเสมอไป แต่ความรักต่างวัย ก็ถือว่าเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ดีอย่างหนึ่ง เราจึงอยากเผยมุมมองความรักเกี่ยวกับ ‘ระยะห่างของวัย’ ให้ทุกคนได้เข้าใจกันมากขึ้น และบอกเล่าให้ฟังถึงความสุขของความสัมพันธ์รูปแบบนี้ | ‘รักต่างวัย’ ความสัมพันธ์ระยะห่างด้วย ‘ตัวเลข’ ในสมัยนี้ เป็นเรื่องปกติที่ผู้ชายจะมีแฟนที่อายุมากกว่าตน หรือผู้หญิงบางคนก็มีสามีวัยเท่าพ่อ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องแปลกเหมือนสมัยก่อน สาเหตุที่มีความรักต่างวัย คงจะเป็นเหมือน ความสัมพันธ์ที่ ‘ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย’ นั่นหมายถึงทั้งคู่ต่างเติมเต็มส่วนที่ขาดให้เข้ากันอย่างลงตัว เช่น ชายสูงวัยจะชอบสาวรุ่นเด็ก เพราะทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย และเหมือนย้อนกลับไปสู่วัยหนุ่มอีกครั้ง ส่วนในมุมของผู้หญิงที่รักผู้ชายที่มีอายุ อาจเป็นเพราะต้องการความเป็นผู้ใหญ่ มั่นคง รู้สึกวางใจที่จะพึ่งพิงได้ ถึงแม้ผลสำรวจจากนักวิจัย Emory University ในรัฐ Atlanta จะกล่าวว่า คู่รักที่ห่างกันแค่ปีเดียว มีโอกาสหย่าร้างกันน้อยสุดถึง 3% ถ้าห่างกันประมาณ […]

หมวกเชฟ เครื่องหมายพรางตัวที่มาพร้อมกับเกียรติยศ

กว่าจะเอ่ยกับใครว่าตัวเองเป็น  “เชฟ” คงจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอาชีพนี้ต้องเก็บชั่วโมงบินมากพอสมควร ต้องเคยผ่านทุกอย่างในครัว ตั้งแต่ล้างของ หั่นผัก ยกหม้อ ตามที่หัวหน้าเชฟได้กำหนดไว้แล้ว จะเถียงหรืออธิบายเหตุผลก็คงเป็นไปได้ยาก นอกจากจะตอบกลับได้อย่างเดียวว่า YES, CHEF!!!  สิ่งที่เรียกได้ว่าขึ้นหิ้งเกี่ยวกับงานในครัว คงเป็นเรื่องของประเพณีความเป็นมา ตั้งแต่เทคนิคการเตรียม ปรุงอาหาร ไปจนถึงชุดเครื่องแบบของเชฟ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี อย่างหมวกเชฟที่ชื่อว่า Toque Blanche ที่เราคุ้นตากับหมวกรูปทรงกระบอกสูงสีขาว โดยหมวกเป็นตัวบ่งบอกประสบการณ์ของเชฟคนนั้นๆ อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงความเคารพนับถือในอาชีพของพวกเขาเองอีกด้วย ชุดพ่อครัวในแบบดั้งเดิม ชุดเชฟเกิดขึ้นเมื่อกลางศตวรรษที่ 19  เมื่อ Marie-Antoine Careme เชฟชาวฝรั่งเศสที่ในช่วงนั้นทุกคนรู้จักเขาเป็นอย่างดี ได้ใช้ชุดเพื่อเป็นเกียรติแก่การทำงานของเชฟมืออาชีพ และสีขาวเป็นสีที่เขาเลือก เนื่องจากเป็นการบ่งบอกถึงความสะอาดในครัว และความมีคุณธรรม มุ่งสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกค้าที่มาร้าน ชุดจึงจะประกอบด้วย หมวกทรงสูงจีบรูปทรงกระบอก เสื้อแจ็คเก็ตกระดุมสองแถว ผ้าพันคอผูกคอ ผ้ากันเปื้อน และกางเกงหลวมๆ ลายทางเพื่อความคล่องตัว  กว่าจะเป็นหมวกเชฟ ขอพาทุกคนย้อนกลับไปเมื่อศตวรรษที่ 15 ช่วงนั้นเกิดการล้มล้างจักรวรรดิไบแซนไทน์ ปัญญาชนถูกข่มเหง เชฟทั้งหมดโดนกวาดล้างต้องลี้ภัยไปอาศัยอยู่ในโบสถ์กรีกออร์โธดอกซ์ เชฟจึงต้องแต่งกายให้เหมือนกับพระเพื่อพรางกายให้กลมกลืน โดยใช้หมวกเป็นสีขาวขณะที่พระใช้สีดำ เมื่อการล้มล้างจบสิ้นเชฟก็ยังพากันใช้หมวกแบบนี้จนถึงทุกวันนี้ […]

SAVE PAPERS SAVE TREES ยุคไร้กระดาษ เพื่อโลกสีเขียวที่ใกล้เป็นจริง

รู้หรือไม่ ปีหนึ่งเราจะใช้กระดาษกันมากที่สุดกี่แผ่น ? จากผลศึกษาโครงการกระดาษเพื่อต้นไม้ โดยมูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา พบว่าเฉลี่ยหนึ่งคนใช้กระดาษไป 12,000 แผ่น/ปี หมายความว่าเราต้องตัดต้นไม้ประมาณ 18 ต้น/คน และถ้ารวมทั้งประเทศต้องตัดต้นไม้มากถึง 66.3 ล้านต้น/ปี ดูจากตัวเลขแล้วเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ต้องสูญเสียทรัพยากรสีเขียวเพื่อตอบสนองการใช้งานของคน ก่อนที่จะเป็น ‘กระดาษ’ ที่ใช้กันทุกวันนี้ ทุกคนคงทราบกันดีว่ามาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนมากขึ้น แต่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เราสามารถลดการใช้กระดาษในชีวิตประจำวันได้มากกว่าที่เคย อย่างการสแกน QR Code ชำระสินค้า, ซื้อของออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือการพรีเซนต์งานบนสไลด์แทนการพิมพ์เอกสาร ทุกประเทศต่างนำสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้มาปรับใช้กับชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งช่วยทำให้การใช้กระดาษน้อยลงและรู้จักใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่ามากขึ้น เราไปดูกันดีกว่า ว่าพวกเขามีแนวทางการลดใช้กระดาษกันอย่างไร ‘กระดาษ’ เกี่ยวอะไรกับ ‘สภาวะโลกร้อน’ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า สภาวะโลกร้อนคือ ชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสารพิษอื่นๆ สะสมอยู่ในอากาศของเรา หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ ‘ก๊าซเรือนกระจก’ นั่นเอง จับตัวกันเหมือนชั้นผ้าห่มหนาๆ ยิ่งได้รับความร้อนจากแสงแดดมากเท่าไหร โลกที่อยู่ใต้ชั้นผ้าห่มผืนนี้ก็จะมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย ทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน ฤดูกาลผิดเพี้ยนไปจากปกติที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต โดยสาเหตุหลักของการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้มาจากสิ่งใกล้ตัวและความคุ้นชินในปัจจุบันอย่าง การเผาขยะในครัวเรือน การปล่อยสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมจากฝีมือมนุษย์ที่ค่อยๆ ทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง […]

ไขความลับ ‘ห้องเสื้อบรอดเวย์’ ร้านสูทเก่าแก่ หนึ่งในผู้ตัดชุดทหารรักษาพระองค์ในงานพระราชพิธี


ฝีมือช่างที่บรรจงเย็บลงบนผ้ากว่าจะออกมาเป็นสูทหนึ่งตัวนั้น ต้องผ่านกระบวนการสุดปราณีตที่ต้องใช้ความชำนาญและผ่านการฝึกฝน อาชีพช่างตัดเสื้อที่มีความเฉพาะตัวของครอบครัว “หอมศิลป์กุล” เริ่มต้นจากรุ่นทวดที่อาศัยครูพักลักจำและก้าวขึ้นมาเป็นช่าง ถ่ายทอดความพิถีพิถันกันมารุ่นสู่รุ่นจนเกิดเป็น “ห้องเสื้อบรอดเวย์” บนถนนตรีทองแถวโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง กลายเป็นตำนานห้องเสื้อที่เฟื่องฟูในยุคนั้น เมื่อผ่านกาลเวลาจึงเปลี่ยนทำเลที่ตั้งมาเป็นห้องเสื้อปัจจุบันบนถนนเพรชบุรี เรามีโอกาสได้ฟังเรื่องราวอันมีเสน่ห์ ผ่านคำบอกเล่าของ “คุณภูมินทร์ หอมศิลป์กุล” เจ้าของห้องเสื้อรุ่นที่ 2 โดยมีทายาทอย่าง “คุณป่าน-ภาวันต์ หอมศิลป์กุล” และ “คุณแพร-สิริชนา หอมศิลป์กุล” มารับช่วงต่อธุรกิจที่ถือเป็นมรดกของครอบครัว  | สายใยครอบครัวสู่เส้นทางธุรกิจ จริงๆ แล้วอาชีพช่างโดยเฉพาะช่างตัดเสื้อสำหรับบ้านเราเนี่ย ไม่มีการสอนอย่างเป็นรูปแบบ ไม่มีตำรา หรือวิธีการทำ ซึ่งในสมัยก่อนต่างประเทศเขามีอยู่แล้ว แต่คนที่ประกอบอาชีพนี้ในบ้านเรา ส่วนใหญ่จะเรียนรู้จากครูพักลักจำ และประสบการณ์ชีวิตของตัวเอง วิธีการสอนก็เลยเป็นวิธีถ่ายทอดจากประสบการณ์ ผมเองก็ได้รับการถ่ายทอดจากคุณพ่อเหมือนกัน สำหรับคุณพ่อผมถือว่าท่านเป็นคนที่เก่งมาก เรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ด้วยตัวเอง ต่อสู้มาตั้งแต่สมัยเป็น ‘เด็กตึ๊ง’ หรือที่เข้าใจง่ายๆ ก็เด็กฝึกงานนั่นแหละ คอยรับใช้อาจารย์ไปซื้อข้าว ไปซื้อน้ำ ไปส่งของ ในเวลาเดียวกันก็เรียนรู้จากอาจารย์ จดจำรายละเอียด แล้วก็ไปฝึกเองตอนเลิกงาน เก็บกระดาษหนังสือพิมพ์เก่าๆ เอามาฝึกสร้างแพทเทิร์น จนชำนาญก็ออกมาเป็นช่างเอง แล้วก็มาถึงช่วงรอยต่อระหว่างผมกับคุณพ่อ ซึ่งผมเองก็ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกเดินทางนี้ต่อจากท่าน แต่ว่าผมก็ทำไม่ได้ […]

New Zealand Road Trip Part II: พาเที่ยว Glenorchy ประตูสู่สวรรค์ของคนรักธรรมชาติใกล้ Queenstown

หลังจากพาร์ทที่แล้วที่เราพาไปเที่ยวชมวิวดูดอกไม้กันพอหอมปากหอมคอแล้วไปจบที่ทะเลสาบ Wanaka ชม #thatwanakatree อันโด่งดังไปแล้ว คราวนี้เราขอไม่พูดพร่ำทำเพลงเดินรีบทางเข้า Queenstown เพื่อไปชมธรรมชาติสวยๆ ที่ Glenorchy กันต่อเลย

EAT

The Journey of Grains : เรื่องราวของ ‘อัลมอนด์ โอ๊ต ถั่วเหลือง’ ที่คนรักสุขภาพต้องถามหา

“You are what you eat” เรากินอะไรเข้าไป เราก็จะเป็นแบบนั้น ประโยคเตือนใจเมื่อเวลาจะหยิบจับอะไรเข้าปาก ต้องขอชั่งใจสักนิดว่า สิ่งที่เราทานอยู่นั้น ดีต่อสุขภาพไหม ? เพราะในสังคมปัจจุบันนี้ ให้ความสำคัญกับการกินที่เป็นผลดีต่อร่างกาย ถ้าเลือกของที่เป็นประโยชน์ สุขภาพเราก็จะแข็งแรงตามไปด้วย แต่ถ้ารับของที่ไม่มีประโยชน์เข้าไปในร่างกาย ก็อาจจะส่งผลเสียต่อตัวเองได้ในภายหลัง จึงไม่แปลกใจที่ทุกวันนี้ใครๆ ก็จริงจังเกี่ยวกับการเลือกกิน เห็นได้ชัดจากการเข้ามาของเทรนด์อาหารคลีน ซีเรียลธัญพืช หรือเครื่องดื่มน้ำตาลน้อย ที่มีมากมายตามท้องตลาด หากพูดถึงอาหารสุขภาพที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ส่วนใหญ่มักจะมีส่วนผสมของธัญพืชอยู่ด้วยเสมอ เพราะให้พลังงานสูง ไขมันต่ำและเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เราจึงมีเรื่องราวของ 3 ธัญพืชตัวเด็ดที่สำคัญอย่าง “อัลมอนด์ โอ๊ต และถั่วเหลือง” มาเล่าให้ฟัง | “อัลมอนด์” ราชาแห่งถั่ว อุดมไปด้วยสารอาหารบำรุงหัวใจ รู้หรือไม่ว่า “อัลมอนด์” ได้รับตำแหน่งอาหารที่อุดมไปด้วยโภชนาการมากที่สุดอันดับ 1 จากนักวิทยาศาสตร์ศึกษาอาหารมากกว่า 1,000 ชนิด ของผลการศึกษา Uncovering the Nutritional Landscape of Food ตีพิมพ์ในวารสาร Plos […]

หญ้าทะเล ป่าโกงกาง วิถีธรรมชาติเพื่อบำบัดธรรมชาติของ “ชุมชนบ้านมดตะนอย”

รักทะเลเวลามีเธอด้วย ‘เธอ’ สำหรับเราในที่นี้ หมายถึง มนุษย์และธรรมชาติรอบผืนน้ำสีครามที่อยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย เหมือนที่ ‘ชุมชนบ้านมดตะนอย’ ชุมชนเล็กๆ ในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งอบอวลไปด้วยกลิ่นอายทะเล เกลียวคลื่น หาดทรายสะอาด และระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เลือกใช้วิธี ‘ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ’ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ให้ธรรมชาติ | บำบัดธรรมชาติ ความสวยงามของทะเลที่โอบล้อมชุมชนบ้านมดตะนอย คือสิ่งที่เราประทับใจทุกครั้งเมื่อได้มาเยือน รวมถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่เป็นกันเอง และอยู่อย่างเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งถึงแม้ก่อนหน้านี้ชุมชนบ้านมดตะนอย จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน จนเกิดภัยแล้งที่รุนแรงและยาวนานกว่าปกติ แต่ปัญหานี้ก็ได้รับการเยียวยาด้วยวิธี ‘ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ’ ผ่านความร่วมมือของเอสซีจี หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน และเครือข่ายจิตอาสา จ.ตรัง ร่วมมือกันใช้ธรรมชาติรอบตัวอย่าง ‘หญ้าทะเล’ และ ‘ป่าโกงกาง’ มาบำบัดภัยแล้ง และภาวะโลกร้อน เอสซีจียังจัดโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ตลอดจนปลายน้ำ มาเป็นแนวทางดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องกว่า 10 ปี ช่วยให้ชุมชนแก้ปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี พร้อมชวนจิตอาสามาร่วมสืบสาน […]

ศิลปินชาวออสซี่ ‘Jack Irvine’ อดีตเด็กมือบอน เบื้องหลังปกอัลบั้มวง Skegss

‘เด็กมือบอน’ คำสบประมาทในวัยเด็กผลักดันให้เขาเป็นศิลปิน เบื้องหลังงานปกอัลบั้มของ ‘Skeggss’ วงร็อกขวัญใจวัยรุ่นชาวออสซี่ที่มีฐานแฟนเพลงทั่วโลก

1 313 314 315 316 317 347

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.