ธีสิส ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘กรุงเทพฯ’ จมน้ำเร็วกว่าที่เราคาดคิด

“กรุงเทพฯ อาจกลายเป็นเมืองจมน้ำถาวรภายใน พ.ศ. 2593” หากพูดถึงน้ำท่วมกรุงเทพฯ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่แม้เป็นวิกฤตใหญ่กินเวลาหลายเดือน แต่เมื่อน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกคนก็กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ถ้าในอนาคตไม่ใช่แบบนั้นล่ะ? เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรถูกมองข้าม ‘เอิร์น-อรญา คุณากร’ และ ‘ไอ่ไอ๊-อนวัช มีเพียร’ นิสิตจากภาควิชาการจัดการการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์โปรเจกต์ธีสิสชื่อ ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ ธีสิสนี้เกิดขึ้นในรูปแบบนิทรรศการที่ Slowcombo สามย่าน เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้โจทย์ Livable Community ที่ต้องการสื่อสารปัญหาเมืองและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้คนตระหนักว่า หากไม่ใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่รุนแรงและแปรปรวนตอนนี้ บ้านในฝันของใครหลายคนอาจอยู่ใต้น้ำพร้อมกับระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ‘Global Warming’ จุดเริ่มต้นของ NIMBY ‘NIMBY’ ในชื่อธีสิสของเอิร์นและไอ่ไอ๊ คือสิ่งที่พวกเธอทั้งสองคนหยิบยืมมาจากวลี ‘Not in my Backyard’ ที่มักถูกใช้ในการประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา เมื่อประชาชนออกมาร่วมคัดค้านโครงการพัฒนาเมืองที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบกับชุมชนอย่างการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อสื่อว่า ‘การพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ […]

ทำดีมีรางวัล โคเปนเฮเกนไอเดียแจ๋ว แจกอาหารฟรี ให้พายเรือฟรี หากเป็นนักท่องเที่ยวที่รักษ์โลก

ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมนี้ หากคุณไปเที่ยวที่โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก แล้วเดินทางไป The National Museum ด้วยรถโดยสารสาธารณะหรือจักรยาน คุณจะได้รับไอศกรีมฟรี หากคุณช่วยเก็บขยะในลำน้ำ คุณจะได้พายเรือคายักฟรี และหากคุณไปช่วยปลูกพืช พรวนดิน ทำสวน คุณก็จะได้กินอาหารกลางวันฟรี! นี่เป็นเพียงกิจกรรมบางส่วนเท่านั้นจากโครงการ ‘CopenPay’ โครงการจากองค์การส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองโคเปนเฮเกน (Wonderful Copenhagen) ที่เชิญชวนให้นักเดินทางอัปเลเวลตัวเองเป็นนักเดินทางชั้นดีที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในโครงการนี้ สถานที่ท่องเที่ยวกว่า 24 แห่งรอบเมือง จะมาพร้อมกับสิทธิพิเศษที่มอบให้กับนักท่องเที่ยวผู้ทำกิจกรรมรักษ์โลก ยกตัวอย่าง CopenHill โรงเผาขยะซึ่งมีเนินสกีด้านบน ที่ให้เวลาสกีเพิ่ม 20 นาทีแบบฟรีๆ หากเดินทางมาด้วยขนส่งสาธารณะหรือจักรยาน หรือ Copenhagen Surf School ที่มีอาหารกลางวันฟรีให้กับนักเดินทางที่ร่วมทำความสะอาดชายหาดหลังเซิร์ฟเสร็จ โดยโครงการจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 11 สิงหาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วง High Season ของการท่องเที่ยวโคเปนเฮเกน เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมหาศาล UN Environment เคยประเมินในรายงาน ‘Green Economy’ ว่า […]

‘Footpath Zoning’ ใช้กระเบื้องจัดโซน ฟื้นฟูย่านบรรทัดทอง แก้ปัญหาความวุ่นวายบนทางเท้า

หากพูดถึงย่านที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ คงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจาก ‘บรรทัดทอง’ ย่านเก่าใจกลางเมืองที่กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในรูปแบบของย่านสตรีทฟู้ด เดิมทีบรรทัดทองเป็นที่รู้จักในฐานะย่านขายอะไหล่รถยนต์และอุปกรณ์กีฬา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นจุดสนใจของเหล่านักกินและนักท่องเที่ยวมากมาย ถึงจะเป็นย่านป็อปขนาดไหน แต่ถ้าใครเคยไปเดินเล่นแถวนี้จะพบว่า ‘ทางเท้า’ บรรทัดทองทรุดโทรมและไม่มีการจัดการอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่การรอคิวของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ลูกค้าต้องยืนรอหน้าร้านกีดขวางทางเท้า ไม่มีโซนสำหรับรอรถยนต์รับ-ส่งอย่างชัดเจน ปัญหาทิ้งขยะจากร้านค้า ไม่มีการจัดระบบระเบียบ ทำให้ตามมาด้วยทางเท้าที่สกปรก อีกทั้งตัวถนนบรรทัดทองเองแม้จะมีการเชื่อมกับพื้นที่สำคัญให้เดินถึงกันได้ แต่กลับไม่มีการบอกเส้นทางที่ชัดเจน ส่งผลให้หลายคนสับสน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเดินทางไปเยือน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียจัดการพื้นที่ย่านบรรทัดทองใหม่ให้มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้ทางเท้าและเป็นระเบียบมากขึ้น โดยใช้สิ่งที่หลายคนคุ้นตาอย่าง ‘แผ่นกระเบื้อง’ มาจัดสรรพื้นที่ และปรับให้ทางเท้าย่านบรรทัดทองครอบคลุมทุกการใช้งานของคนในย่าน พื้นที่สำหรับคนเดินเท้า ปัจจุบันสภาพทางเท้าในย่านบรรทัดทองยังไม่สามารถรองรับคนทุกกลุ่มได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางและไม่มีพื้นที่รองรับสำหรับผู้พิการ เราจึงขอกำหนดขอบเขตบนทางเท้าให้ชัดเจนด้วย ‘กระเบื้องสีเทา’ เพื่อเป็นตัวบ่งบอกว่า บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทางเดินเท้าที่มีขนาดกว้างมากพอสำหรับคนเดินเท้า และผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์  รวมไปถึงการติดตั้ง ‘Braille Block’ สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ถูกต้องตามหลักการใช้งานตลอดทั้งเส้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ใช้ทางเท้าที่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น พื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า แต่การจะทำให้กระเบื้องสีเทาในข้อก่อนหน้าใช้ได้จริง จำเป็นต้องจัดการปัญหากีดขวางเส้นทางการเดินเท้าจากการรอคิวหน้าร้านค้าต่างๆ ให้ได้ก่อน เพราะหลายครั้งที่พื้นที่รองรับลูกค้าหน้าร้านไม่เพียงพอต่อจำนวนคนที่มารอ ทำให้มีคนยืนหรือนั่งออหน้าร้าน จนคนอื่นๆ สัญจรไปมาไม่สะดวก เราเลยหยิบเอากระเบื้องที่มีอยู่แล้วมาเปลี่ยนเป็น ‘กระเบื้องสีแดง’ กันไปเลย เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า พร้อมบอกคิวผ่านตัวเลขบนกระเบื้อง เพื่อช่วยให้ลูกค้าและไรเดอร์มีพื้นที่ของตนเองชัดเจน […]

Heineken ลดขยะจากขวดเบียร์ด้วยการดัดแปลงเป็นของแต่งบ้านและเครื่องประดับที่สวมใส่ได้

การเฉลิมฉลองในแต่ละครั้ง แน่นอนว่า ‘ขวดแก้ว’ จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักจะเป็นขยะที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก แบรนด์เครื่องดื่มอย่าง Heineken ที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นขวดแก้วจึงเล็งเห็นปัญหาจากการสร้างขยะนี้ Heineken South Africa เปิดตัวโครงการ Fields Green With Grass, Not Glass ที่ตั้งใจจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนและปรับปรุงพื้นที่เมืองให้สวยงามด้วยการใช้ขวดแบบคืนได้ และสร้าง Green Zone พื้นที่สีเขียวให้กับเมืองต่างๆ สำหรับแคมเปญล่าสุดมีชื่อว่า ‘Waste to Wear’ ที่รีไซเคิลขวดแก้วให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง จากการรวบรวมขวดจากแหล่งต่างๆ มาทำเป็นสินค้าชิ้นใหม่ ด้วยความช่วยเหลือของเอเจนซีโฆษณา Sonic State และการร่วมมือกับ Matthew Edwards และ Deji Dada นักออกแบบท้องถิ่น ในการผลิตแหวนกว่า 3,000 วง เหรียญรางวัล ชุดอาหารค่ำ รวมไปถึงโคมไฟแขวนที่นำมาใช้งานภายในบ้านได้ โดยของตกแต่งทุกชิ้นล้วนแล้วแต่มีรอยประทับที่แสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่ใส่ใจและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/42wy5mhxFamous Campaigns | tinyurl.com/y2zz7yvyHeineken | tinyurl.com/2sazmbw6

‘Low Carbon Skies by Bangkok Airways’ ส่องกลยุทธ์ลดคาร์บอนของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เพื่อมุ่งสู่สายการบินที่ยั่งยืน

การสั่งสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คือตัวการที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวน อุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อคนทุกภาคส่วน ด้วยเหตุนี้เอง หลายองค์กรจึงหันมาจริงจังกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ‘บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)’ หรือ ‘สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส’ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยโครงการ ‘Low Carbon Skies by Bangkok Airways’ ที่มาพร้อมกลยุทธ์ลดการปล่อยคาร์บอนในการดำเนินธุรกิจทั้งระบบ การบินแต่ละครั้งต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนมากในการขับเคลื่อนเครื่องบิน ซึ่งโดยปกติแล้ว เชื้อเพลิงอากาศยานจะผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มี Carbon Footprint สูง เพื่อติดปีกสู่การเป็นสายการบินโลว์คาร์บอน บางกอกแอร์เวย์สจึงจับมือกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR มาใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel (SAF) SAF ที่บางกอกแอร์เวย์สใช้ เป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว หรือที่เรียกว่า UCO (Used Cooking Oil) โดย SAF […]

ทำความเข้าใจ #saveทับลาน ประเด็นปรับปรุงแนวเขตพื้นที่อุทยานฯ กับปัญหาที่ดินทับซ้อน 2.6 แสนไร่ 

จากกรณีที่สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเรื่องการปรับปรุงแนวเขตพื้นที่อุทยานฯ กับปัญหาที่ดินทับซ้อน 2.6 แสนไร่ ผ่านช่องทางออนไลน์ภายในวันที่ 12 ก.ค. 2567 จนเกิดกระแสในโซเชียลมีเดียขึ้นช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายคนสงสัยว่า ‘#saveทับลาน’ คืออะไร #saveทับลาน มาจากปัญหาที่เกิดขึ้นใน ‘อุทยานแห่งชาติทับลาน’ ป่าลานที่ขึ้นเองตามธรรมชาติแห่งสุดท้ายของประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติโดยยูเนสโก ตั้งแต่ปี 2548 ภายใต้ชื่อ ‘กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่’ ที่ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครราชสีมาและปราจีนบุรี  แต่เมื่อวันที่ ​​25 มกราคม 2567 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้รับมติ ครม. ที่เห็นชอบข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) เรื่อง ‘การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (ONE MAP)’ คือการเสนอให้กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานใหม่ ตามแนวเขตที่เคยทำการสำรวจไว้ในปี 2543 โดยแนวเขตที่ถูกเสนอมานี้จะส่งผลให้พื้นที่ของอุทยานฯ หายไปกว่า 265,286.58 ไร่ ประเด็นดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงของคนหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่อุทยาน ชาวบ้าน และประชาชนที่สนับสนุน-ไม่สนับสนุนการปรับแนวเขตใหม่ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีเหตุผลสนับสนุนของตนเองที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนต่างกันออกไป เพราะพื้นที่กว่า […]

ชวนดูเตียงรักษ์โลกในโอลิมปิก 2024 เตียงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนอนหลับสบาย

อีกไม่นาน งานโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ในกรุงปารีส ก็จะปะทุตัวขึ้นแล้ว ความพิเศษของโอลิมปิกครั้งนี้คือการมุ่งเป้าเป็นโอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุด ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ลง 50 เปอร์เซ็นต์จากการจัดงานครั้งก่อนๆ เพราะฉะนั้นเราเลยเห็นกลยุทธ์มากมายที่ผู้จัดงานงัดมาเพื่อให้ถึงเส้นชัยอันแสนทะเยอทะยาน และความยั่งยืนก็เริ่มต้นตั้งแต่เตียงนอนของนักกีฬา เตียงนอนนี้เป็นเตียงจากบริษัทเครื่องนอนญี่ปุ่น ‘Airweave’ ซึ่งเคยทำเตียงมาให้ก่อนแล้วในงานโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียว เตียงนอนกว่า 16,000 หลัง ประกอบด้วยเฟรมเตียงนอนกระดาษแข็ง พร้อมด้วยผ้าปูเตียงและฟูกที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล ฟูกใช้เส้นใยพิเศษชื่อ airfiber® ที่นำไปล้างทำความสะอาดได้โดยไม่เสียสภาพการใช้งาน หลังมหกรรมกีฬาปิดฉากลง เฟรมกระดาษแข็งจะถูกนำไปรีไซเคิลต่อ ส่วนผ้าปูและฟูกจะถูกส่งต่อไปยังองค์กรต่างๆ ทั่วฝรั่งเศส ไม่ได้มีดีแค่ความรักษ์โลก Airweave ยังคิดดีเทลของฟูกมาเป็นอย่างดีเพื่อให้นักกีฬาหลับเต็มตื่น แต่ละเตียงจะมีฟูกสามบล็อก และแต่ละด้านของบล็อกฟูกจะมีความนุ่มแข็งต่างกัน นักกีฬาสามารถสลับสับเปลี่ยนฟูก พลิกด้าน เพื่อให้ได้ที่นอนอุดมคติของตัวเอง ทาง Airweave ยังมีนวัตกรรมให้นักกีฬาป้อนข้อมูลน้ำหนัก เพศ อายุ และข้อมูลร่างกาย เพื่อให้ได้ฟูกที่เข้ากับตัวเองอีกด้วย ส่วนเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าเตียงออกแบบมาไม่ให้นักกีฬามีเซ็กซ์ เพราะรับน้ำหนักคนได้เพียงคนเดียว ต้องขอบอกว่าเป็นเฟกนิวส์ เพราะ ‘Motokuni Takaoka’ ผู้ก่อตั้ง Airweave ออกมาโต้ในตอนเปิดตัวเตียงเมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 ว่าเตียงนี้แข็งแรงพอที่จะรองรับ ‘คนหลายคนบนเตียงได้’ […]

‘One Day Trip with Paul Smith’ ออกท่องเที่ยวหนึ่งวันในกรุงเทพฯ กับดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ดังจากอังกฤษ

เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ดัง ‘Paul Smith’ ได้เดินทางมายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมงานเปิดแฟลกชิปสโตร์สาขา Central Embassy ซึ่งก็ไม่ได้มาแค่ร่วมเปิดแฟลกชิปสโตร์เท่านั้น แต่การมาครั้งนี้ Paul Smith ยังออกไปท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า พร้อมเปิดมุมต่างๆ ในกรุงเทพฯ ผ่านสายตาของเขาออกมาในรูปแบบของภาพยนตร์สั้นอีกด้วย แม้ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้มีความยาวเพียง 2 นาที แต่ภายในนั้นทำให้เราได้เห็นมุมมองต่างๆ ของกรุงเทพฯ ผ่านการเดินทางและสายตาของ Paul Smith ที่อัดแน่นไปด้วยสีสันและชีวิตของผู้คนที่เริ่มต้นกันตั้งแต่เช้า ไม่ว่าจะเป็นภาพพ่อค้าแม่ค้าที่ตื่นแต่เช้าออกมาจัดเรียงดอกไม้, ภาพคนเข็นรถ คอยบริการลูกค้าที่มาเลือกซื้อดอกไม้, ภาพเรือที่แล่นผ่านสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยที่เชื่อมโยงกับสายน้ำ, ภาพแสงแดดสีส้มยามเช้า นกกำลังบินเลียบแม่น้ำ คนกำลังเข็นรถข้ามสะพานพุทธฯ พระสงฆ์ออกบิณฑบาต รถเมล์ รถตุ๊กตุ๊ก ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร ทั้งหมดล้วนสื่อถึงการเริ่มต้นเช้าวันใหม่และวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยในเมืองหลวงแห่งนี้ Paul Smith มองว่าย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ เป็นเหมือนการผสมผสานระหว่างโปสเตอร์เก่าๆ ตึกแปลกๆ ที่มีสิ่งสวยงามแทรกอยู่ อย่างดอกไม้ ที่จู่ๆ ก็เหมือนผุดขึ้นมา ราวกับเป็นสถานที่ที่สอดคล้องกับสิ่งที่เขาพูดอยู่เสมอว่า เราสามารถมองหาแรงบันดาลใจได้จากทุกสิ่ง หากยังหาไม่เจอก็ลองมองใหม่อีกครั้ง ออกไปท่องเที่ยวกับ Paul Smith ผ่านภาพยนตร์สั้นได้ทาง : youtu.be/orneNpJdyXY?si=OMqC4PzXucpOG705

Rainy Day Mood ติดฝน

ภาพเซตนี้ได้แรงบันดาลใจจากการที่เราติดฝนหลังเลิกงานบ่อยๆ ด้วยนิสัยที่เราเป็นคนพกกล้องตลอดเวลาและชอบสังเกต ทำให้เห็นว่าซีนรอบๆ ตัวมีหลายอารมณ์ ทั้งเหงา โรแมนติก ชุลมุน และวุ่นวาย แต่ก็มีเสน่ห์ในตัวของมันไปอีกแบบ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ชวนมาตกหลุมรัก ‘พระโขนง’ ย่านเปี่ยมมนตร์เสน่ห์ ที่น่าอยู่ น่าหลงใหล ไม่เคยเปลี่ยน

ไม่แปลกใจที่ ‘พระโขนง’ จะเป็นย่านที่ใครหลายคนตกหลุมรัก และอยากฝากชีวิตมาอยู่ในย่านแห่งนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระโขนงคือย่านในฝั่งสุขุมวิทที่รองรับการขยายตัวต่อมาจากย่านทองหล่อ เอกมัย เพราะเป็นย่านที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ย่านนี้จึงโดดเด่นด้วยไลฟ์สไตล์ทั้งเก่าและใหม่ที่อยู่ร่วมกันอย่างงดงาม ในห้วงเวลาที่พระโขนงยังรายล้อมด้วยเรือกสวนไร่นา แม่น้ำลำคลอง พระโขนงคือชุมชนของชาวบ้านที่อยู่อาศัยอย่างเรียบง่ายกับสายน้ำ และเป็นตัวเลือกของคนเมืองที่อยากหลีกหนีความจอแจ มาใช้ชีวิตภายใต้บรรยากาศธรรมชาติอันร่มรื่น สงบเงียบ กาลเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป พระโขนงเปลี่ยนโฉมเป็นศูนย์กลางการค้าของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ย่านคึกคักด้วยห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ และตึกแถวที่วางเรียงรายสุดลูกหูลูกตา จนเดินหน้าสู่การเป็นย่านที่ชาวต่างชาตินิยมมาอยู่อาศัย หลั่งไหลต่อเนื่องมาจากทองหล่อและเอกมัย ซึ่งแขกบ้านแขกเมืองใหม่ๆ ก็ช่วยแต่งเติมสีสันให้กับย่านพระโขนงได้เป็นอย่างดี ถึงย่านพระโขนงจะเปลี่ยนไปตามเวลา แต่มนตร์เสน่ห์จากแต่ละยุคแต่ละสมัยยังหลงเหลือให้เห็นอย่างครบครัน ทั้งบรรยากาศอันเรียบง่ายของชุมชนริมน้ำ ตลาดสดที่พ่อค้าหอบผลผลิตสดใหม่ การตั้งแผงค้าขายตามตึกแถว และวิถีชีวิตเหล่านี้ ผสมผสานเข้ากันกับพระโขนงยุคใหม่ได้อย่างลงตัว คอลัมน์ Neighboroot เลยอยากชวนทุกคนไปลัดเลาะในย่านพระโขนง ออกไปค้นพบเสน่ห์หลากยุคสมัยของย่านที่ยังคงงดงามไม่เปลี่ยนไป จนมัดใจผู้คนเอาไว้ได้ไม่เปลี่ยนแปลง ชุมชนเกาะกลาง ชุมชนกลางเกาะกับวิถีชีวิตเรียบง่าย เคียงคู่สายน้ำ แม้เบื้องหน้าจะเป็นสะพานพระโขนงที่รถวิ่งว่อนทั้งวัน ข้างๆ คือทางด่วนที่ยกตัวสูง รถจอแจหนาแน่น แต่ในชุมชนเกาะกลาง บรรยากาศกลับเป็นไปอย่างแช่มช้า นิ่งงัน คงเป็นเพราะชุมชนตั้งอยู่บนเกาะที่ขนาบข้างด้วยสายน้ำ เป็นปราการธรรมชาติที่ลดทอนความวุ่นวายของโลกภายนอก เรารออยู่บนฝั่งใต้ทางด่วนไม่นาน ป้าอิ๋ว-จุไรรัตน์ เครือพิมาย ก็เดินออกมาต้อนรับด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม และพาเราขึ้นเรือข้ามฝั่งไปยังเกาะกลาง ชุมชนเกาะกลางเป็นชุมชนอายุหลายร้อยปีที่อยู่บนเกาะขนาดเล็กจ้อยเพียง […]

TOGO BOOKS nomadik คาเฟ่ร้านหนังสือในเมืองโอซาก้า สถานที่ที่หนังสือและอาหารมาบรรจบกัน

ด้วยความตั้งใจที่ต้องการเปลี่ยนพื้นที่พักอาศัยให้กลายเป็นร้านค้าเชิงพาณิชย์ที่หนังสือและมื้ออาหารจะเข้ามาช่วยเติมเต็มชีวิตประจำวัน ‘TOGO BOOKS nomadik’ จึงถือกำเนิดขึ้นในเมืองโนเสะ เมืองทางตอนเหนือของจังหวัดโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ที่นี่คือร้านคาเฟ่ไม้สไตล์ดั้งเดิมที่เสิร์ฟอาหารให้ลูกค้าได้ดื่มด่ำไปพร้อมกับหนังสือละลานตา และวิวสวยๆ แห่งนี้เกิดขึ้นด้วยฝีมือการออกแบบของ Coil Kazuteru Matumura Architects ที่เนรมิตบ้าน 2 ชั้นเดิมให้สอดคล้องไปกับความปรารถนาของเจ้าของ เริ่มตั้งแต่ทางเข้าที่มีหนังสือออกใหม่บนชั้นวางให้ลูกค้าได้เลือกหยิบอ่านตามความต้องการ ก่อนจะนำไปสู่พื้นที่ครัวแบบเปิดและพื้นที่สำหรับรับประทานอาหารภายในคาเฟ่ที่รายล้อมไปด้วยชั้นวางหนังสือสูงจรดเพดาน ให้ได้ซึมซับกับรสชาติอาหารและเพลิดเพลินไปกับเหล่าหนังสือที่คล้ายเป็นห้องสมุดขนาดย่อม ก่อนจะเข้าสู่สวรรค์ของนักอ่านบริเวณชั้น 2 ของบ้าน ที่มาพร้อมหนังสือและพื้นที่อ่านที่เงียบสงบ ให้ได้จมอยู่ในโลกแห่งหนังสือพร้อมทิวทัศน์ของเมืองที่ผสมผสานกับสวนสีเขียวเล็กๆ ของทางร้าน ทำให้ TOGO BOOKS nomadik กลายเป็นหนึ่งแลนด์มาร์กที่ห้ามพลาดสำหรับใครที่ต้องการรับประทานอาหารจากผลผลิตในชุมชน และมองหาหนังสือดีๆ สักเล่มอ่านเคล้าไปกับวิวธรรมชาติในเมืองโอซาก้า Sources : ArchDaily | t.ly/bQ-c3Coil KMA | t.ly/yhPLF

Acousticity | ภูมิจิต ชีพจร Live Session @ป้ายรถเมล์

‘เช้าที่ตื่นขึ้นมารีบขึ้นรถเมล์สาย 29 ยืนเบียดๆ เสียดๆ จุดหมายปลายทางคือหมอชิต กว่าจะลงรถก็ติดเหลือเกิน’ หนึ่งท่อนในเนื้อเพลง ‘ชีพจร’ ที่สะท้อนชีวิตและภาพของเมืองกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี ความวุ่นวายจากชีวิตที่ต้องตื่นเช้าไปทำงานในทุกวันที่หลายคนคงมีจุดร่วมกันภายใต้เมืองนี้ จนหลายๆ ครั้งเรามัวแต่เสียเวลาชีวิตไปกับการทำงาน จนหลงลืมความฝันหรือจุดหมายปลายทางที่ตัวเองเคยตั้งไว้ หากวันนี้พลังของคุณเหลือน้อยเต็มที เราอยากให้คุณลองฟังเพลงนี้ เพื่อหวังว่าชีพจรของคุณจะกลับมามีแรงอีกครั้งและก้าวเดินต่อไปอย่างมีพลัง วันนี้ Urban Creature ชวน ‘ภูมิจิต’ ศิลปินอิสระ มาบรรเลงเพลง ชีพจร ให้ทุกคนฟังกันที่ป้ายรถเมล์ย่านเอกมัย ในรายการ Acousticity รายการที่จะนำศิลปินมาเล่นเพลงในพื้นที่สาธารณะของเมือง พร้อมอบอวลไปด้วยเสียงบรรยากาศของพื้นที่นั้น และรับรู้เบื้องหลังภายใต้เสียงเพลงที่เราได้ยิน สามารถติดตามวงภูมิจิตได้ที่ : www.facebook.com/poomjitband และ www.instagram.com/poomjitband

1 2 3 4 5 341

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.