‘La Libreria’ ห้องสมุดโปร่งแสงใน Venice Architecture Biennale ถอดออกประกอบ เคลื่อนย้ายได้ สร้างบรรยากาศให้ผู้คนอยากเข้ามาอ่านหนังสือ

ลืมภาพห้องสมุดทึบๆ ที่มีหน้าต่างให้แสงลอดผ่านแค่บางส่วนไปได้เลย เพราะ ‘La Libreria’ คือห้องสมุดที่จะสร้างภาพจำใหม่ เคลื่อนย้ายไปตั้งที่ไหนก็ได้ ขนาดกะทัดรัด แถมรูปแบบของผนังยังเป็นแบบโปร่งแสงใกล้ชิดกับธรรมชาติรอบนอก La Libreria เป็นผลงานของสตูดิโอจากนิวยอร์ก ‘Diller Scofidio + Renfro’ และเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล ‘Venice Architecture Biennale’ ตั้งอยู่ใน ‘Giardini della Biennale’ สวนสาธารณะในเวนิส ที่เป็นเจ้าภาพจัดงานเทศกาลศิลปะ Venice Biennale โครงสร้างห้องสมุดนี้ทำขึ้นจาก Structural Transparent Fluorinated Envelope (STFE) สิ่งทอทางสถาปัตยกรรมคุณภาพสูง ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับพื้นที่กว้างด้วยวัสดุที่น้อยที่สุด ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบาและไม่ได้ยึดกับพื้นเอาไว้ แต่ด้วยน้ำหนักของหนังสือที่วางเรียงอยู่บนชั้นตลอดความยาว 24 เมตรของพื้นที่ ทำให้โครงสร้างแห่งนี้มีความมั่นคง รวมไปถึงตัวโครงสร้างเองยังถอดออกเพื่อประกอบขึ้นใหม่ได้ และด้วยความที่ผนังเป็นวัสดุโปร่งแสง จึงเป็นการสร้างประสบการณ์แบบใหม่ให้ผู้ใช้งาน เช่น ในช่วงกลางวันจะทำให้คนที่อยู่ภายใน La Libreria รู้สึกราวกับว่ากำลังอ่านหนังสืออยู่ภายใต้ธรรมชาติและต้นไม้ที่ล้อมรอบอยู่ด้านนอก แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางคืน La Libreria จะทำหน้าที่เสมือนว่าเป็นโคมไฟในสวน ที่จะดึงดูดให้ผู้คนเดินเข้ามาเลือกชมหนังสือภายในห้องสมุด Venice […]

‘Guānghuá Bào LETTER Press by Poontany’ ไปส่องโฆษณาเก่าในหนังสือพิมพ์จีนเจ้าใหญ่ ทำความเข้าใจบริบทของยุคสมัยและกรุงเทพฯ ผ่านการออกแบบ

นอกจากการออกแบบสถาปัตยกรรมหรือชิ้นงานใหญ่ๆ ที่บ่งบอกถึงแนวคิด บริบท และเทรนด์ในยุคนั้นๆ ได้ งานออกแบบชิ้นเล็กๆ ที่อยู่บนหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ก็บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองและสังคมในช่วงเวลาที่ตีพิมพ์ได้เช่นเดียวกัน หลังจากเปิดขายสินค้าของเด็ดของดีในกรุงเทพฯ มาหลายเดือน ห้างซัพสินค้าของคนรักกรุงเทพฯ อย่างเนเบอร์มาร์ท ขอเติมสีสันเปิดลานกิจกรรมไว้ภายในร้านด้วยการชวน ปุณณ์ พจนาเกษม นักออกแบบสื่อสารข้อมูล (Information Designer) ทายาทรุ่นที่ 3 ของหนังสือพิมพ์จีน กวงฮั้วป่อ ผู้ชุบชีวิตสิ่งพิมพ์ของครอบครัวขึ้นมาอีกครั้ง หลังหลับใหลมา 66 ปี ในชื่อ กวงฮั้ว แอนด์ ดอว์น มาจัดนิทรรศการขนาดย่อมของตัวเอง ภายในนิทรรศการนี้ เราจะได้พบกับโฆษณาเก่าในหนังสือพิมพ์จีนเจ้าใหญ่ ใครที่เกิดทันก็น่าจะตื่นเต้นมากๆ กับการได้เห็นเศษเสี้ยวความทรงจำของยุคสมัยนั้นอีกครั้ง ส่วนใครเกิดไม่ทัน แค่ลองสำรวจชิ้นงานก็สนุกแล้ว หลายชิ้นน่ารักจนนึกไม่ถึงเลยว่า นี่คืองานออกแบบที่ใช้โฆษณาในหนังสือพิมพ์จริงหรือนี่ มากไปกว่านั้น ใครที่อินเรื่องเมืองและสังคม ลองหยิบเอาอุปกรณ์แว่นขยายในนิทรรศการมาส่องดูบริบทของยุคสมัยและกรุงเทพฯ ผ่านตัวอักษร ฟอนต์ที่ใช้ วิธีการโฆษณา และภาษาภาพแบบใกล้ๆ ได้เลย เพราะทั้งหมดนี้อยู่ในยุครุ่งเรืองของหนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลในหมู่ชุมชนชาวจีนบางกอกยุคก่อนสงครามเย็น แถมชมนิทรรศการเสร็จแล้วยังอุดหนุนชิ้นงานและแสตมป์สติกเกอร์ตัวอักษร A–Z ที่ปุณณ์ออกแบบและหยิบยืมแรงบันดาลใจจากหน้าหนังสือพิมพ์กวงฮั้วป่อได้อีกด้วย ใครเพิ่งรู้ข่าวแล้วอยากตามไปชมนิทรรศการ Guānghuá Bào LETTER Press […]

จินตนาการถึงผลงานศิลปะกลางแจ้งบนพื้นที่สาธารณะของกรุงเทพฯ แรงบันดาลใจจากเหล่าสัตว์ในเมือง

ถ้ากรุงเทพฯ มีประติมากรรมขนาดยักษ์แบบไทยๆ ตั้งบนพื้นที่แลนด์มาร์กบ้าง จะเป็นยังไงกันนะ คิดว่าหลายคนน่าจะได้ไปชม KAWS:HOLIDAY THAILAND งานศิลปะในรูปแบบรูปปั้นขนาด 18 เมตรตรงบริเวณท้องสนามหลวงแล้ว  นอกจาก KAWS:HOLIDAY THAILAND จะเป็นการร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ที่ผสมผสานระหว่างศิลปะร่วมสมัยและพื้นที่ที่มีความเป็นมาอันยาวนานทางประวัติศาสตร์ ในเลนส์ของการพัฒนาเมือง โปรเจกต์นี้ยังทำหน้าที่เป็น Public Art หรือศิลปะสาธารณะชั่วคราว ที่สร้างมุมมองใหม่ เติมสีสันให้เมือง กระตุ้นให้ผู้คนและนักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัสประสบการณ์ศิลปะในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่วันที่ 25 พฤษภาคม อีเวนต์นี้ก็จะสิ้นสุดแล้ว คอลัมน์ Urban Sketch เลยอยากชวนคิดสนุกๆ ต่อยอดว่า ถ้าในอนาคตกรุงเทพฯ จะมี Public Art เป็นรูปปั้นยักษ์จัดแสดงอีก หน้าตาของชิ้นงานจะออกมาเป็นยังไง และควรตั้งตรงพื้นที่ไหนบ้าง เพื่อสะท้อนความเป็นไทยร่วมสมัยที่ใครๆ ก็รู้สึกร่วมได้ Mr.Pigeon Postmanหน้าอาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก รูปปั้นแรก เราดีไซน์เป็นคุณลุงนกพิราบผู้ส่งจดหมาย ที่อยากให้เป็นนกที่ดูมีอายุหน่อย ล้อไปกับไปรษณีย์ไทยที่อยู่คู่ประเทศไทยมานาน มีเครื่องประดับเป็นกระเป๋าจากขอบขนมปังที่คนบิโยนให้กิน ขณะเดียวกัน นกพิราบยังเป็นสัตว์คู่เมืองใหญ่ แถมเอาตัวรอดเก่งสุดๆ เดินไปไหนก็เจอแทบทุกที่ ให้มาตั้งประจำการที่ลานหน้าอาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ก็ดูสอดคล้องกับคอนเซปต์ดี […]

‘Thainal Destination’ ใช้ชีวิตประจำวันแบบระวังตัวแทบตาย จู่ๆ ก็กลายเป็นผู้ประสบภัย ชะตาขาดไม่รู้ตัว

เพราะอันตรายมีอยู่ทุกที่  คำคำนี้ดูไม่เกินจริง เมื่อเราได้ดูภาพยนตร์แฟรนไชส์ Final Destination ที่แต่ละภาคล้วนดำเนินเรื่องผ่านการใช้ชีวิตทั่วๆ ไปของเหล่าตัวละคร ทว่าในความทั่วไปนั้นกลับมีเหตุการณ์บางอย่างที่พาให้ชะตาชีวิตของพวกเขาถึงจุดจบอย่างน่าสยดสยอง หลังจากทิ้งห่างไปกว่า 14 ปี ตอนนี้ Final Destination กลับมาอีกครั้งกับคอนเซปต์ที่ยังคงทำเอาคนดูอย่างเราๆ หวาดเสียวไปกับสิ่งรอบตัว จนต้องมองซ้ายมองขวาคอยใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง คอลัมน์ Urban Isekai อยากชวนมาลองคิดเล่นๆ ว่า หากเซตติ้งใน Final Destination เป็นกรุงเทพฯ จะมีเหตุการณ์อะไรบ้างที่ทำให้เราใช้ชีวิตอยู่ดีๆ ก็ชะตาขาดไม่รู้ตัว ขับรถอยู่ดีๆ ก็มีชิ้นส่วนก่อสร้างร่วงหล่นจากท้องฟ้า สถานการณ์ที่ทำให้คนไทยรู้สึกเหมือนใช้ชีวิตอยู่ใน Final Destination ตลอดเวลา คงหนีไม่พ้นการขับรถผ่านเส้นทางที่กำลังมีโครงการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสะพาน โดยเฉพาะเส้นพระรามที่สองที่ไม่จบไม่สิ้นสักที ยิ่งนานวันไปแทนที่โครงสร้างสะพานจะแข็งแรงพร้อมใช้งาน กลับมีข่าวอุบัติเหตุเศษนั่นเศษนี่ร่วงลงบนถนนตลอดเวลา ส่งผลให้คนที่ใช้รถใช้ถนนเส้นทางนั้นต้องเสี่ยงดวงทุกครั้ง เพราะไม่รู้ว่าวันดีคืนดีจะหวยออกที่รถของเราไหม ทำได้เพียงแค่รีบเหยียบคันเร่งพร้อมสวดมนต์ให้สบายใจว่าจะปลอดภัยไปตลอดทาง ตามหลังรถกระบะอยู่ดีๆ ก็มีเหล็กเส้นพุ่งเข้ามาในรถ ไม่ใช่แค่ต้องคอยระวังแผ่นปูนจากฟากฟ้า แต่ยังมีรถกระบะร่วมทางที่ทำเอาต้องเว้นระยะห่างเกินกว่า 5 เมตร เพราะหลายคันมักท้าทายความสามารถในการขนของ ด้วยการวางเรียงสินค้าสูงเกินหลังคารถจนโอนไปเอียงมา เสี่ยงว่าจะร่วงลงมาขวางถนนหรือไม่ก็ทับรถที่ขับตามหลัง และบ่อยครั้งที่เราเจอก็มักเป็นเหล็กเส้นยาวที่มีผ้าสีแดงผูกเอาไว้เป็นสัญลักษณ์ให้คันหลังคอยระวังอันตราย แต่แหม…ทั้งหัวและท้ายของเหล็กกลับยื่นเกินออกมาจากตัวรถ แถมอุปกรณ์ยึดเหล็กก็ดูไม่แข็งแรงเท่าไหร่ ทำให้รถยนต์ทั้งข้างหน้าและตามหลังต้องหวาดระแวงว่าเหล็กเส้นเหล่านั้นจะหลุดออกมาพุ่งทะลุกระจกรถตัวเองหรือไม่ แค่คิดก็น่ากลัวแล้ว […]

Langfang Beifengdao Garbage Transfer Station สถานีขนถ่ายขยะขนาด 2 คันรถ ต้องการลบอคติด้วยภาพลักษณ์ใหม่ที่ยั่งยืน

เมื่อพูดถึงรถขยะและสถานีขยะ มักมาพร้อมภาพจำของความสกปรกและกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลให้คนมีอคติโดยไม่รู้ตัว ‘Langfang Beifengdao Garbage Transfer Station’ คือสถานีขนถ่ายขยะในมณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน ที่สตูดิโอออกแบบ ‘Atelier Ingarden’ หยิบเอาพื้นที่มุมเมืองที่ถูกทิ้งร้างหลังการรื้อถอนหมู่บ้านกลับมาใช้งานอีกครั้ง โดยหวังเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อสถานีขนถ่ายขยะ ผ่านการออกแบบที่จะทำให้สถานีแห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์เมืองและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จากความตั้งใจนี้เกิดเป็นสถานีขนถ่ายขยะขนาด 2 คันรถ ที่ใช้แผ่นไม้ลามิเนตเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างแทนการใช้สังกะสีแบบเดิมๆ เกิดเป็นรูปลักษณ์ที่ช่วยลดอคติเชิงลบเกี่ยวกับการกำจัดขยะ ทำให้สถานีไม่แปลกแยกออกจากพื้นที่ และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้มากกว่าสถานีแบบเดิม อีกทั้งยังช่วยให้ลมพัดผ่านได้สะดวกและให้แสงสว่างทางอ้อมภายในอาคารจากการวางตัวไม้ในแนวเฉียง นอกจากนี้ สถานีขนถ่ายขยะ Langfang Beifengdao ยังมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดภายในพื้นที่จำกัด ทำให้สถานีแห่งนี้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ พื้นที่เก็บและขนถ่ายขยะ พื้นที่จอดรถบรรทุกขยะ และพื้นที่จัดเก็บเครื่องมือ บนพื้นที่ที่มีความกว้างเพียง 7.8 เมตรและยาว 12.6 เมตรเท่านั้น  เรียกได้ว่าเป็นสถานีขนถ่ายขยะที่ได้รับการออกแบบอย่างใส่ใจ และแสดงให้เห็นว่าการออกแบบมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในเมือง ทั้งในแง่ของการใช้งานและความสวยงาม อีกทั้งยังเปลี่ยนมุมมองของคนที่มีต่อสถานีขนถ่ายขยะด้วย Sources : ArchDaily | t.ly/_LSL6 UNI | t.ly/eKkKa 

‘Holy Water’ สระว่ายน้ำสาธารณะในโบสถ์เก่า ที่ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลายกิจกรรม

ปกติแล้วสถานที่ทั่วๆ ไปที่ไม่ได้ใช้งาน หากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็มักถูกปล่อยทิ้งร้างจนเสียหาย หรือถ้าอยู่ในพื้นที่ชุมชนก็อาจมีการรีโนเวตเพื่อทำธุรกิจใหม่ๆ แต่ถ้าหากเป็นสถานที่เก่าแก่ทางศาสนา มีประวัติศาสตร์และองค์ประกอบที่สวยงาม จะเปลี่ยนให้เป็นอะไรได้บ้าง โบสถ์ St. Francis of Assisi ใน Heerlen ประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างขึ้นในปี 1923 และเคยเป็นพื้นที่พบปะทางสังคม ทว่ากลับถูกปล่อยทิ้งให้ว่างเปล่า ไม่ได้ใช้งานมานานกว่าสองปีแล้ว สตูดิโอระดับโลกสัญชาติดัตช์ ‘MVRDV’ และ ‘Zecc Architecten’ จึงร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงให้โบสถ์เก่าแห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง Winy Maas ผู้ร่วมก่อตั้ง MVRDV มองว่า โบสถ์ที่ว่างและไม่ได้ใช้งานแบบนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เขาอยากสร้างสรรค์อาคารทางศาสนาเหล่านี้ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้ออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์ และพักผ่อนหย่อนใจ เกิดเป็นไอเดียของสระว่ายน้ำ ‘Holy Water’ ขึ้นมา ภายในอาคารแห่งนี้ประกอบด้วยสระว่ายน้ำซึ่งเป็นพื้นที่หลัก โดยความท้าทายในพื้นที่นี้คือ การให้ความร้อนแก่พื้นที่สระว่ายน้ำอย่างเพียงพอ และต้องระวังเรื่องความชื้นของสระว่ายน้ำที่จะทำปฏิกิริยากับวัสดุเก่าของโบสถ์ ดังนั้นการออกแบบจึงออกมาในลักษณะของผนังกระจกรอบสระว่ายน้ํา หลังคาของโบสถ์หุ้มฉนวนจากภายนอกเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนมากเกินไป ในขณะที่ยังคงมองเห็นอิฐเดิมจากด้านใน การออกแบบลักษณะนี้จะช่วยประหยัดพลังงานภายในอาคาร รวมถึงยังช่วยรักษาองค์ประกอบทางประวัติศาสตร์ของโบสถ์เอาไว้มากที่สุดด้วย เช่นเดียวกับม้านั่งเก่าที่นำกลับมาใช้งานสำหรับคนที่เข้ามาว่ายน้ำ มีที่นั่งด้านนอกบริเวณทางเดินที่มองเข้ามาเห็นสระว่ายน้ำได้ และโต๊ะร้านกาแฟซึ่งจะเป็นอีกส่วนหนึ่งภายในโบสถ์แห่งนี้ นอกจากสระและร้านกาแฟแล้ว พื้นของสระว่ายน้ำแห่งนี้ยังปรับขึ้น-ลงได้ เพื่อให้โบสถ์ใช้พื้นที่ได้หลากหลายมากขึ้น […]

ใครอยู่เขตไหน มาเช็กกัน กับที่สุดของ 10 อันดับเขตในกรุงเทพฯ

หลังจากนี้แทนที่เราจะอวดฐานะ กางไลฟ์สไตล์ให้ดูว่าใครกินหรูอยู่แพงกว่ากัน ชาวกรุงเทพฯ ลองเปลี่ยนมาบลัฟกันด้วยความน่าอยู่ของเขตที่อยู่อาศัยดีกว่าไหม เผื่อเขตไหนเขาอิจฉาจะได้ทำแบบเขตเราบ้าง แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเขตไหนน่าอยู่ ปัจจัยหลักๆ ที่ส่งเสริมเขตนั้นให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี วัดกันตั้งแต่ความเพียงพอของสวนสาธารณะ อากาศสะอาดแค่ไหน รถเมล์กี่สายวิ่งผ่าน โรงเรียนมีจำนวนสอดคล้องกับนักเรียนหรือเปล่า ไปจนถึงเรื่องขยะ น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมด้านบริการสาธารณะ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสวัสดิภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม แม้กรุงเทพฯ จะมีถึง 50 เขต แต่เขตที่ได้คะแนนภาพรวมเขตน่าอยู่ในอันดับสูงๆ หรือเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจากคะแนนทั้งหมด 50 คะแนน นับแล้วมีเพียง 27 เขตเท่านั้น ยิ่งถ้าไปดูเขตที่ได้คะแนนเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ขอบอกว่าไม่มีสักเขตเลย เขตไหนน่าอยู่ต้องสะดวก สะอาด ปลอดภัยไร้กังวล ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า เกณฑ์การให้คะแนนความน่าอยู่ของแต่ละเขตมีที่มาจากอะไรบ้าง Bangkok Index คือข้อมูลเพื่อดูว่าแต่ละเขตน่าอยู่มากน้อยแค่ไหน มีปัญหาด้านใดบ้าง โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน แต่ละด้านประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) ด้านบริการสาธารณะ ประกอบด้วย […]

KAWS:HOLIDAY แลนดิ้งที่ประเทศไทย กับงานศิลปะ COMPANION ขนาดยักษ์ เปิดให้ชมฟรีที่สนามหลวง

หลังจากเดินทางไปโชว์ตัวมาหลายประเทศ ก็ถึงเวลาประเทศไทยเปิดพื้นที่ต้อนรับโปรเจกต์งานศิลปะเคลื่อนที่ระดับโลกอย่าง KAWS:HOLIDAY THAILAND บนพื้นที่ท้องสนามหลวง เราจะได้พบกับคาแรกเตอร์ Companion ซึ่งเป็นผลงานภาพจำของ KAWS หรือ Brian Donnelly ศิลปินร่วมสมัยชื่อดัง กับเจ้าตารูปกากบาทความสูงกว่า 18 เมตร นั่งอยู่บนโลกพร้อมโอบอุ้มดวงจันทร์ และมี Companion ขนาดจิ๋วอยู่บนตัก สะท้อนให้เห็นถึงระเบียบแห่งจักรวาล การเชื่อมโยงสรรพสิ่ง และการส่งต่อภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ณ พื้นที่แลนด์มาร์กของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทางศิลปินมองว่าเป็นจุดศูนย์กลางแห่งการพัฒนาเมือง  สำหรับการจัดแสดงศิลปะในครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันของ AllRightsReserved (ARR) ครีเอทีฟสตูดิโอจากฮ่องกง ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ของ KAWS, Central Embassy และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่อยากชวนทุกคนไปพักผ่อนจากความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน ​รวมถึงเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยว พร้อมทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงการเป็นพื้นที่ที่ต้อนรับงานศิลปะ และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้ร่วมสนุก คาเฟ่สำหรับเติมพลังกับเครื่องดื่มและขนมหวาน รวมไปถึงคอลเลกชันพิเศษที่คอลแลบกับแบรนด์ไทย โดยเป็นการนำคาแรกเตอร์มาใส่บนสินค้า ได้แก่ KAWS:HOLIDAY THAILAND Herbal Lozenges​ จากยาอมแก้ไอตราตะขาบ 5 ตัว และ KAWS:HOLIDAY […]

เมื่อเมืองเหงาจนเห็ดเรางอก! สำรวจความเหงาจากพื้นที่เมืองในโปรเจกต์ Otterlone.BKK

หลายคนอาจเคยได้ยินสังคมเหงาๆ และการแยกตัวอยู่คนเดียวแบบ ‘ฮนจก’ ซึ่งหมายถึงวัฒนธรรมการแยกตัวอยู่คนเดียวของเกาหลีใต้ หรือ Hitoribotchi ของสังคมญี่ปุ่นที่ Kazuhisa Arakawa ผู้เชี่ยวชาญด้านความโสดกล่าวถึงข้อมูลใน White Paper ของรัฐบาลญี่ปุ่น ปี 2020 ว่า ครัวเรือนญี่ปุ่นมีคนโสดเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 38 เปอร์เซ็นต์จากปี 1980 แถมในโตเกียวยังมีครัวเรือนที่อยู่คนเดียวเพิ่มขึ้นถึง 52 เปอร์เซ็นต์ แต่นอกจากเมืองญี่ปุ่นและเกาหลีใต้แล้ว ตอนนี้ประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ เองก็กลายเป็นเมืองที่มีความเหงาและการแยกตัวออกจากสังคมสูงไม่ต่างกัน Urban Creature เลยอยากแนะนำ ‘Otterlone.BKK’ ซีเนียร์โปรเจกต์ของ ‘ซันซัน-ณิชารีย์ ทรัพย์ประพฤทธิ์’ นิสิตภาควิชาการสื่อสารมวลชน สาขาวิชาการออกแบบและผลิตสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พูดถึงปรากฏการณ์ความเหงาของคนในเมือง ซึ่งอาจไม่ได้เกิดจากชีวิตส่วนตัวของเราอย่างเดียว แต่เป็นผลจากเมือง การขาดพื้นที่สาธารณะ หรือสภาพกรุงเทพฯ ที่ไม่ได้เอื้อให้เราคลายเหงาได้ง่ายขนาดนั้น โปรเจกต์นี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) Lonely Very Mush เว็บไซต์ Interactive หน้าตาน่ารักที่จะชวนทุกคนไปสำรวจตัวเองและชีวิตเหงาๆ […]

Khaokheow Zoo Application โปรเจกต์ของคนอยากลองออกแบบ UX/UI ให้คนไทยและนักท่องเที่ยวทัวร์สวนสัตว์ได้สะดวกขึ้น

มะมะมะหมูเด้ง ยังจำฮิปโปแคระขี้โมโหตัวนี้กันได้อยู่หรือเปล่า ถ้าวันนี้เหนื่อย อยากเติมยีราฟ แมวน้ำ หรือหมูเด้ง แล้วปุบปับออกเดินทางไปสวนสัตว์ในไทยเลยโดยไม่ได้หาข้อมูลล่วงหน้า ก็อาจจะเจอปัญหาทั่วๆ ไปอย่างการไม่รู้ขนาดของสวนสัตว์ เดินไม่ถูก อยากไปดูคาปิบารา ต่อด้วยโคอาลา แต่ดันเลี้ยวซ้ายไปเจอลิงเสียอย่างนั้น หรือบางทีก็ไม่รู้ว่าตั๋วที่นี่ราคาแพงแค่ไหน ใช้บัตรนักเรียนนักศึกษาลดได้ไหม และอีกมากมายหลากหลายคำถามที่หาคำตอบไม่ได้สำหรับการเที่ยวสวนสัตว์ในไทย เมื่อเปรียบเทียบกับอีกหลากหลายสวนสัตว์ในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน หรืออเมริกา สวนสัตว์เหล่านั้นมีระบบการจัดการที่แม่นยำและเข้าใจง่ายกว่ามาก เช่น กดตั๋วเข้าสวนสัตว์ล่วงหน้าได้ มีแอปพลิเคชันดูโซนของสวนสัตว์ว่าห่างกันแค่ไหน หรืออยากหาจุดเติมน้ำ เข้าห้องน้ำก็ดูผ่านสมาร์ตโฟนได้เช่นกัน เนื่องจากสวนสัตว์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่นักเดินทางทั่วโลกมักไปเยี่ยมเยือน ไม่ใช่เพียงคนในประเทศเท่านั้น การพัฒนาระบบให้เข้าใจง่ายจึงเป็นหนึ่งในประเด็นที่จำเป็น คอลัมน์ Debut ขอชวนมารู้จักกับ ‘แมวน้ำ-ศิลปี กอบกิจวัฒนา’ และ ‘พัท-นนทพัทธ์ ชลวิทย์’ ที่ร่วมกันทำโปรเจกต์ UX/UI ออกแบบแอปพลิเคชันให้สวนสัตว์เปิดเขาเขียวเที่ยวง่ายและสนุกกว่าเดิม เปิดประตูสู่โลกของเหล่าสัตว์ โปรเจกต์นี้เริ่มต้นขึ้นจากการเดินทางไปเที่ยวที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียวของเขาทั้งสอง ด้วยแรงใจที่อยากจะไปเจอหมูเด้ง ฮิปโปแคระหน้าตาน่ารัก แก้มอมชมพู ผู้เป็นที่รักของคนทั่วโลก แต่การตัดสินใจไปเที่ยวที่นี่โดยไม่ได้หาข้อมูลให้ละเอียดก่อน ทำให้ทั้งคู่เจอปัญหาหลักๆ อย่างการไม่รู้เลยว่าบ้านของหมูเด้งอย่างสวนสัตว์เปิดเขาเขียวที่จังหวัดชลบุรีนี้มีขนาดใหญ่ถึง 5,000 ไร่ ซึ่งถ้าหากอยากดูสัตว์ให้ครบภายในหนึ่งวัน ย่อมเดินเท้าไปเรื่อยๆ […]

ย้อนไปอ่านกรุงเทพฯ ในยุคก่อน ผ่านตัวอักษรบนหนังสือพิมพ์จีนกวงฮั้วป่อ กับนิทรรศการศิลปะตัวอักษรจาก Poontany

หลังจากประสบความสำเร็จในการชวนคนเมืองมาร่วมกันซัพพอร์ตร้านค้าเล็กๆ ในกรุงเทพฯ ที่อาจถูกมองข้ามไป ‘Neighbourmart’ ก็มีโปรเจกต์ใหม่อย่าง NeighbourNextDoor เปิดพื้นที่ให้ศิลปิน นักเล่าเรื่อง และนักออกแบบที่สนใจความเป็นกรุงเทพฯ มาสร้างการพูดคุยผ่านนิทรรศการ ทอล์ก ทัวร์ หรือแม้แต่การเปิดโต๊ะเล่นบอร์ดเกมเองก็ตาม นิทรรศการแรกที่มาเปิดตัวในโปรเจกต์นี้คือ ‘光 華 報 Guānghuá Bào LETTER Press by Poontany’ นิทรรศการศิลปะตัวอักษรจาก ‘Poontany’ (ปุณณ์ พจนาเกษม) นักออกแบบสื่อสารข้อมูล (Information Designer) และทายาทรุ่นที่ 3 ของหนังสือพิมพ์จีน กวงฮั้วป่อ (光華報) 1 ใน 4 หนังสือพิมพ์จีนเจ้าใหญ่ที่สุดในพระนคร ตีพิมพ์ข่าวสาร โฆษณา และบทความสะท้อนชีวิตของชุมชนจีนและสังคมไทยในยุคนั้น โดยถูกสั่งปิดกิจการใน พ.ศ. 2501 โดยที่ปุณณ์เชื่อว่าข้อมูลและเรื่องราวต่างๆ ล้วนซ่อนตัวอยู่ในรายละเอียดเล็กๆ รอบตัว ปุณณ์เติบโตเป็นนักออกแบบสื่อสารข้อมูลและค้นพบกิจการดั้งเดิมของตระกูล เขาจึงปลุกหนังสือพิมพ์กวงฮั้วป่อขึ้นมาอีกครั้งในรอบ 66 ปี สู่สิ่งพิมพ์ Data Visualization […]

Mengzi NSAU Bookstore ชมวิวแบบวนลูปในร้านหนังสือใต้ทางเดิน ที่ผสานเข้ากับพื้นที่ประวัติศาสตร์อย่างลงตัว

ห่างจากคุนหมิงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 250 กิโลเมตร ในสวนสาธารณะริมทะเลสาบทางใต้ของเมืองหงเหอ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีร้านหนังสือแปลกตาตั้งอยู่ภายในสวน ‘Mengzi NSAU Bookstore of Librairie Avant-Garde’ คือร้านหนังสือที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ทางเดินชมวิวในสวนสาธารณะริมทะเลสาบ ที่ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยแห่งชาติภาคตะวันตกเฉียงใต้ (NSAU) ซึ่งเป็นสถานที่ทางวิชาการที่มีชื่อเสียงและหล่อเลี้ยงนักวิชาการจำนวนมากในช่วงสงคราม ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนวิทยาเขตเป็นสวนสาธารณะในเวลาต่อมา ส่งผลให้ร้านหนังสือแห่งนี้เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดเรื่องราวในครั้งนั้นให้คงอยู่ในรูปแบบที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น Mengzi NSAU Bookstore เกิดขึ้นภายใต้การออกแบบโดย ‘ZAO/standardarchitecture’ ที่อนุรักษ์อาคารเดิมบางส่วน และปรับปรุงด้านหน้าอาคารด้วยอิฐสีเทาในบริเวณโรงเตี๊ยมคอนกรีตและหอระฆังเดิม จนเกิดเป็นอาคารใหม่ที่มีลักษณะเด่น นั่นคือ ด้านบนหลังคาถูกสร้างเป็นทางเดินสำหรับชมวิวที่ไต่ขึ้นไปตามห้องโถงและหอระฆังที่มีอยู่เดิม และลาดลงมายังทะเลสาบในรูปแบบวนลูปไม่รู้จบ  อีกทั้งยังมีการนำวัสดุอย่างคอนกรีตหยาบและไม้ธรรมชาติมาออกแบบตัวร้านหนังสือ เพื่อเชื่อมต่อภูมิทัศน์ภายนอกเข้ากับสภาพแวดล้อมภายในได้อย่างไม่รู้สึกแปลกแยก แถมช่วยเสริมการออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดยลดขอบเขตระหว่างภายในร้านหนังสือและภายนอกลง ชักชวนให้ผู้คนเข้ามาสำรวจและใช้เวลาภายในร้านได้นานขึ้น Mengzi NSAU Bookstore ถือว่าเป็นตัวอย่างชั้นดีของการออกแบบร้านหนังสือเชิงสถาปัตยกรรม ที่ผสมผสานระหว่างมรดกทางประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ภายนอก และนวัตกรรมใหม่ได้อย่างลงตัว ผ่านการอนุรักษ์ที่ใส่ใจและจัดวางพื้นที่แบบไดนามิก ทำให้ร้านหนังสือแห่งนี้กลายเป็นพื้นที่ที่มอบประสบการณ์อันรุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมให้ผู้มาเยือน Sources : ArchDaily | t.ly/7e7rQ UNI | t.ly/yZZ21 

1 2 3 4 5 6 375

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.